ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรามาช่วย "ไม่ให้ปลาหมอตาย..เพราะปาก" กันเถอะ(เอาบุญ)  (อ่าน 9044 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เรามาช่วย "ไม่ให้ปลาหมอตาย..เพราะปาก" กันเถอะ(เอาบุญ)

มาตรา ๓๒๖ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ในประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

หากหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จะมีโทษหนักขึ้นตามที่บัญญัติใน

มาตรา ๓๒๘ ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทกระทำด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพ หรือตัวอักษร ที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียงบันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือกระจายภาพ หรือกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท” 

นอกจากนี้ มีข้อยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาทว่า

มาตรา ๓๓๐  ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน


ที่มา http://www.oknation.net/blog/Smartlearning/2010/10/05/entry-1



   "ปลามีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ก็เพราะอาศัยปากเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็เพราะปากนั่นเอง ปลาจึงต้องติดเบ็ดเสียชีวิตโดยง่าย เช่นกัน คนเราจะประสบความสำเร็จได้รับความเจริญก้าวหน้าในชีวิตก็เพราะอาศัยวาจาสุภาษิตจากปาก แต่ก็เพราะวาจาทุพภาษิตจากปากเพียงคำเดียวบางครั้งแม้แต่ชีวิตก็ยากจะรักษาไว้ได้"

วาจาสุภาษิตคืออะไร ?

วาจาสุภาษิต หมายถึง คำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้วมิใช่สักแต่พูดอวัยวะในร่างกายของคนเรานี้ก็แปลก
      ตา มีหน้าที่ดูอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒  ตา
      หู มีหน้าที่ ฟังอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒ หู
      จมูก มีหน้าที่ดมกลิ่นอย่างเดียว ธรรมชาติให้มา ๒ รู


      แต่ปาก มีหน้าที่ถึง ๒ อย่าง คือทั้งกินและพูด ธรรมชาติกลับให้มาเพียงปากเดียว  แสดงว่าธรรมชาติต้องการให้คนดูให้มาก  ฟังให้มากแต่พูดให้น้อย ๆ ให้มีสติคอยระมัดระวังปากจะกินก็กินให้พอเหมาะ จะพูดก็พูดให้พอดี ลักษณะคำพูดที่พอเหมาะพอดี เป็นคุณทั้งแก่ตัวผู้พูดและผู้ฟังเรียกว่า วาจาสุภาษิต

 
องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต

    ๑. ต้องเป็นคำจริง ไม่ใช่คำพูดที่ปั้นแต่งขึ้นไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่บิดเบือนจากความจริง ไม่เสริมความ ไม่อำความต้องเป็นเรื่องจริง จริง จริง

     ๒. ต้องเป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดไพเราะที่กลั่นออกมาจากน้ำใจที่บริสุทธิ์ ไม่เป็นคำหยาบ คำด่า คำประชดประชัน คำเสียดสี คำหยาบนั้นฟังก็ระคายหู แค่คิดถึงก็ระคายใจ

     ๓. พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดผลดีทั้งแก่คนพูดและคนฟังถึงแม้คำพูดนั้นจะจริงและเป็นคำสุภาพแต่ถ้าพูดแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรกลับจะทำให้เกิดโทษ ก็ไม่ควรพูด

     ๔. พูดไปด้วยจิตเมตตา พูดด้วยความปรารถนาดี อยากให้คนฟังมีความสุข มีความเจริญยิ่ง  ๆขึ้นไป ในข้อนี้หมายถึงว่า แม้จะพูดจริง เป็นคำสุภาพ พูดแล้วเกิดประโยชน์ แต่ถ้าจิตยังคิดโกรธ มีความริษยาก็ยังไม่สมควรพูด

     ๕. พูดถูกกาลเทศะ  แม้ใช้คำพูดที่ดี เป็นคำจริง เป็นคำสุภาพเป็นคำพูดที่มีประโยชน์ และพูดด้วยจิตที่เมตตา แต่ถ้าผิดจังหวะไม่ถูกกาลเทศะผู้ฟังยังไม่พร้อมที่จะรับแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียได้เช่น จะกลายเป็นประจานกันหรือจับผิดไป
     - พูดถูกเวลา (กาล) คือ รู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนยังไม่ควรพูด ควรพูดนานเท่าไร  ต้องคาดผลที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย
     - พูดถูกสถานที่ (เทศะ) คือ รู้ว่าในสถานที่เช่นไร เหตุการณ์แวดล้อมเช่นไร จึงควรที่จะพูดหากพูดออกไปแล้วจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร เช่นมีความหวังดีอยากเตือนเพื่อนไม่ให้ดื่มเหล้าแต่ไม่เตือนขณะที่กำลังมาอยู่อย่างนี้นอกจากเขาจะไม่ฟังแล้ว เราเองอาจเจ็บตัวได้ "คนฉลาดไม่ใช่เป็นแต่พูดเท่านั้น ต้องนิ่งเป็นด้วย" "คนที่พูดเป็นนั้น ต้องรู้ในสิ่งที่ไม่ควรพูดให้ยิ่งกว่าสิ่งที่ควรพูด"




เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการพูด

   ลักษณะของทูตที่ดี (ทูตสันติ)
       ๑.ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ด่วนปฏิเสธ
       ๒.เมื่อถึงคราวพูด ก็สามารถทำให้ผู้อื่นฟัง
       ๓.รู้จักกำหนดขอบเขตของการพูดให้กะทัดรัด
       ๔.จำเนื้อความทั้งหมดที่จะพูด
       ๕.เข้าใจเนื้อความทั้งหมดโดยละเอียดตามความเป็นจริง
       ๖.ทำให้ผู้อื่นเข้าใจตามได้
       ๗.ฉลาดในการพูดที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
       ๘.ไม่ก่อการทะเลาะวิวาท


       "ผู้ใด เข้าไปสู่บริษัทที่พูดคำหยาบคาย ก็ไม่สะทกสะท้านไม่ยังคำพูดให้เสีย ไม่ปกปิดข่าวสาร พูดจนหมดความสงสัย และเมื่อถูกถามก็ไม่โกรธผู้นั้นย่อมควรทำหน้าที่ทูต"
       (วินัย จุลวรร 7/201)


     โทษของการด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์
     ผู้ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ คือ พระสงฆ์ และผู้ปฏิบัติธรรมติเตียน พระอริยเจ้า จะประสบควมฉิบหาย ๑๑ ประการ ต่อไปนี้
       ๑.ไม่บรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ
       ๒.เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว
       ๓.สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว
       ๔.เป็นผู้หลงเข้าใจว่าได้บรรลุสัทธรรม
       ๕.เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
       ๖.ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง
       ๗.บอกลาสิกขา  คือ สึกไปเป็นฆราวาส
       ๘.เป็นโรคอย่างหนัก
       ๙.ย่อมถึงความเป็นบ้า  คือ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
       ๑๐.เป็นผู้หลงไหลทำกาละ คือ ฆ่าตัวตาย
       ๑๑.เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติวินิบาต


     ถ้อยคำที่ไม่ควรเชื่อถือ
       ๑.คำกล่าวพรรณนาคุณ ศรัทธา ของบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา
       ๒.คำกล่าวพรรณนาคุณ ศีล ของบุคคลผู้ทุศีล
       ๓.คำกล่าวพรรณนาคุณ พาหุสัจจะ ของบุคคลผู้ไม่สดับ
       ๔.คำกล่าวพรรณนาคุณ จาคะ ของบุคคลผู้ตระหนี่
       ๕.คำกล่าวพรรณนาคุณ ปัญญา  ของบุคคลผู้โง่
       ทั้ง ๕  ประการจัดเป็นคำซึ่งไม่ควรฟัง ไม่ควรเชื่อ


     ลักษณะเสียงที่สมบูรณ์ของมหาบุรุษ
       ๑.แจ่มใส ไม่แหบเครือ
       ๒.ชัดเจน ชัดถ้อยชัดคำ  ไม่ติดขัด
       ๓.ไพเราะ อ่อนหวาน
       ๔.เสนาะโสต
       ๕.กลมกล่อม หยดย้อย
       ๖.ไม่แตก ไม่พร่า
       ๗.ซึ้ง
       ๘.มีกังวาน


    อานิสงส์การมีวาจาสุภาษิต
      ๑.เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นที่รักของชนทุกชั้น
       ๒.มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม
       ๓.มีวาจาสิทธิ์ ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่เจรจา
       ๔.ย่อมได้ยินได้ฟังแต่สิ่งที่ดีงาม
       ๕.ไม่ตกในอบายภูมิ


     "วาจาสุภาษิต ไม่ว่าจะพูดด้วยสำเนียงภาษาอย่างไรก็ตาม วาจานั้นย่อมเป็นวาจาชั้นสูง ความแก่การสรรเสริญของบัณฑิต ตรงกันข้ามวาจาทุพภาษิตแม้จะพูดด้วยภาษาใดสำเนียงดีแค่ไหน บัณฑิตก็ไม่สรรเสริญ"
    (พุทธพจน์)



อ้างอิง
มงคล ๓๘ ประการ จัดทำโดย โดย นพ.ฆฤณ เอมะศิริ(หมอpee)
http://mongkhol.cjb.net
http://geocitie.com/mongkol38/
http://dharma.school.net.th/cgi-bin/bd_list.pl
ขอบคุณภาพจาก
http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=44340
http://www.oknation.net/blog/Smartlearning/2010/10/05/entry-1
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/425672
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 14, 2012, 01:42:32 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ 
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๙. สูจิสูตรที่ ๒


(ข้ิิอ ๖๔๘ พระมหาโมคคัลลานะได้เล่าว่าท่านไปพบเปรตตนหนึ่ง)


           .... ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า

          "เมื่อผมลงมาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษมีขนเป็นเข็มลอยอยู่ในเวหาส เข็มเหล่านั้นของบุรุษนั้นเข้าไปในศีรษะแล้วออกทางปาก เข้าไปในปากแล้วออกทางอก เข้าไปในอกแล้วออกทางท้อง เข้าไปในท้องแล้วออกทางขาอ่อน เข้าไปในขาอ่อนแล้วออกทางแข้ง เข้าไปในแข้งแล้วออกทางเท้า ได้ยินว่า บุรุษนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง"


(พระพุทธเจ้าตรัสว่า)

          "ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้เป็นคนส่อเสียดอยู่ในพระนครราชคฤห์นี้เอง"

จบสูตรที่ ๙


 
****************

เรียบเรียงจาก
สูจิสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=6825&Z=6832&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=648
บันทึกการเข้า

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผลในปวัตติกาลของ มุสาวาท มี ๘ ประการ คือ

๑. พูดไม่ชัด ๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ

๒. ฟันไม่เป็นระเบียบ ๖. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้น และปลายปาก

๓. ปากเหม็นมาก ๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย

๔. ไอตัวร้อนจัด ๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต


  เห็นด้วยนะครับ อย่าตายด้วยปากกันเลยครับ


 :s_hi:

 
บันทึกการเข้า

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องวิบากกรรมจาก พระไตรปิฏก  อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279


วิบากกรรมของ อกุศลกรรมบถ ๑๐
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11188

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11191

๕. ปิสุณวาจา หมายถึงการพูดส่อเสียด เป็นการพูดที่มีเจตนาให้เกิดการแตกแยก รวมทั้งการพูดที่กล่าวพาดพิงถึงบุคคลอื่นในทางที่ไม่ดี องค์ประกอบที่จะตัดสินว่าเป็นการกระทำผิดอกุศลกรรมบถในข้อนี้คือ

๑) มีผู้ที่ถูกทำให้แตกแยก
๒) มีจิตมุ่งให้แตกแยกกัน
๓) มีความเพียรให้แตกแยกกัน หรือได้พูดออกไป
๔) คนฟังรู้ความ

เมื่อได้กระทำออกไป ผลที่จะได้รับในปวัตติกาล คือ

(๑) ชอบตำหนิตัวเอง เมื่อได้ทำอะไรผิดมักอุทานออกเป็นคำพูดที่ตำหนิตนเอง เช่น "บ้าจัง !" หรือ "แย่จริง ! " บางคนกลัวเพื่อนฝูงจะหยิบยืมเงินทองมักชอบพูดเป็นทำนองว่าตนเองไม่มีเงิน หรือบางคนชอบพูดว่าตนเองไม่ดีอย่างโน้น อย่างนี้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะอดีตชาติชอบตำหนิ และส่อเสียดผู้อื่นไว้ อำนาจนี้จึงทำให้ชาติต่อ ๆ ไปกล้าที่จะตำหนิตนเองซึ่งเป็นชีวิตที่เรารักที่สุดได้

(๒) มักถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นจริง หลายท่านอาจเคยประสบพบเห็นมาว่า เมื่อมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้น หรือมีข้าวของอะไรเสียหาย เด็กบางคนมักจะถูกพ่อแม่ดุเป็นประจำ ทั้ง ๆ ที่เด็กคนนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย หรือขณะที่เด็ก ๆ เล่นกันเมื่อมีเรื่องราวเกิดขึ้น เด็กบางคนต้องตกเป็นผู้เสียหาย ถูกฟ้องทั้งที่ตนเองเป็นฝ่ายถูก นั่นคือไม่ว่าจะมีความผิดใด ๆ เกิดขึ้น แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำ ก็จะถูกมองว่าเป็นคนผิด นักโทษที่ถูกตำรวจจับ และต้องถูกกักขัง บางรายก็ไม่ได้กระทำผิดจริง แต่กลับถูกส่งฟ้องเพราะสิ่งแวดลล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นหลักฐานสำคัญทำให้ถูกจับการถูกกักขังนั้นก็เป็นผลเนื่องจากอดีตชาติเป็นคนที่ชอบกักขังสัตว์มาก่อนนั่นเอง

(๓) ถูกบัณฑิตติเตียน นั่นคือไม่ว่าจะทำการงานอะไร แม้งานที่คิดว่าเสร็จสมบูรณ์ดีแล้วก็ยังมีช่องโหว่ทำให้ได้รับคำตำหนิจากหัวหน้างาน หรือเด็กบางคนที่ถูกพ่อแม่ ครูอาจารย์ดุเป็นประจำ

(๔) แตกกับมิตรสหาย บางคนมีพฤติกรรมบางอย่างที่ใคร ๆ ไม่ชอบ หรือเป็นคนที่เข้ากับใคร ๆ ไม่ได้ แม้มีเพื่อนก็มีเหตุทำให้ต้องมีเรื่องแตกแยกในที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะอดีตชาติได้เคยส่อเสียดคนอื่นเอาไว้มาก อำนาจนี้จึงทำให้ต้องได้รับผลคือไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย เป็นการแตกกับมิตรสหายนั่นเอง



อกุศลกรรมบถในข้อปิสุณวาจานี้ ถ้าพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว หลาย ๆ คนยังประพฤติและปฏิบัติกันอยู่ เช่น การกล่าวถึงบุคคลอื่นในทางที่ไม่ดี การกระทำนี้จะสร้างความสันทัดให้ติดตัวไปและในที่สุดจะผลักดันให้มีการกระทำทางวาจา เช่น หลาย ๆ คนเมื่อมีเสียงดังจากภาชนะที่ตกหล่น มักจะส่งเสียงร้องโทษแมว อันนี้เป็นผลของความสันทัดในการส่อเสียดเริ่มต้นจากการว่าแมวแล้วอาจส่อเสียดคนอื่น ๆ ต่อไปได้อีก เมื่อได้กระทำกรรมเช่นนั้น ผลก็ย่อมต้องได้รับดังที่กล่าวมาแล้ว

๗. สัมผัปปลาปะ หมายถึงการพูดเพ้อเจ้อ เป็นการกล่าววาจาหรือเรื่องราวอันหาสาระประโยชน์ไม่ได้ มีองค์ประกอบของการตัดสินว่าเป็นการพูดเพ้อเจ้อคือ

๑) มีเจตนากล่าววาจาที่ไม่มีสาระ ไม่เป็นประโยชน์
๒) ได้กล่าววาจานั้นออกมา

เมื่อได้กระทำออกไป ผลที่จะได้รับในปวัตติกาลคือ

(๑) เป็นอธรรมวาทบุคคล คือ เป็นคนที่พูดมากและเรื่องราวที่พูดนั้นไร้สาระ หาประโยชน์ไม่ได้ บางคนไม่ว่าใครจะพูดอะไรก็พูดกับเขาได้ทุกเรื่อง มีการเพลิดเพลินในการพูดคุยโดยไม่สนใจว่าคนอื่นเขาจะรู้สึกอย่างไร บางคนไม่ว่าใครจะทำอะไรหรือซื้ออะไรมา ก็ชอบไปพูดวุ่นวายทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องของตนเอง เช่น เขาซื้อผ้ามา ก็เที่ยวไปถามว่า "ซื้อเท่าไร? ซื้อที่ไหน?" และติว่าซื้อแพง เป็นต้น คนที่มีพฤติกรรมเช่นนี้เป็นเพราะความสันทัดจากการเป็นคนพูดเพ้อเจ้อในอดีตชาติติดตามมานั่นเอง

(๒) ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูด แม้จะพูดจริงก็ไม่มีใครเชื่อถือ สิ่งเหล่านี้เป็นผลที่ได้รับเพราะพูดเพ้อเจ้อมา คนที่พูดหาสาระไม่ได้ เมื่อพูดจริงคนก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่พูดนั้นเชื่อถือได้หรือไม่ เพราะสิ่งที่เขาพูดมีมากมาย และข้อความบางอย่างที่พูดก็ไม่มีประโยชน์เลย

(๓) เป็นคนไร้อำนาจ ถึงจะเป็นหัวหน้า ลูกน้องก็ไม่มีความยำเกรง เป็นพ่อแม่พูดจาสั่งสอน ลูกก็ไม่เชื่อฟัง เป็นครูอาจารย์ ลูกศิษย์ก็ไม่ให้ความเคารพ ทั้งนี้เพราะอดีตชาติเป็นคนเพ้อเจ้อ ไม่มีใครให้ความเชื่อถือมาก่อนนั่นเอง

(๔) วิกลจริต คนวิกลจริตบางครั้งนั่งพูดอยู่คนเดียวที่เป็นเช่นนี้เพราะอดีตเป็นคนพูดมาก ไร้สาระ ไม่มีใครอยากฟัง จิตจึงเก็บอำนาจนั้นไว้ ผลที่ตามมาจึงทำให้วิกลจริตกล้าพูดคนเดียว



ทั้ง ๔ ประการนี้จัดเป็นวาจาทุจริต เมื่อได้กระทำออกไปย่อมมีผลตามมามากมาย ดังนั้น ในการรักษาศีล ๕ ข้อ ๔ มุสาวาท ซึ่งหมายถึงเว้นจากการพูดทุจริต จึงรวมการพูดส่อเสียดพูดคำหยาบและพูดเพ้อเจ้อเข้าไปด้วย
-------------------------------------------------
สมาธิ - วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16060

เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062
====================================

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

สำนักปฏิบัติวิปัสสนาอ้อมน้อย
ต. อ้อมน้อย อ. กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร (ก.ม. ๒๔) โทร. ๐๒ - ๔๒๐๒๑๒๐

http://www.abhidhamonline.org/Omnoi/Omn2/Omn1.htm

-------------------------------------------

หลักการปฏิบัติ

http://abhidhamonline.org/OmNoi1.htm
นกการเวกสำคัญที่ เสียง
สตรีสำคัญที่  รูป
บุรุษสำคัญที่ วิทยาคุณ
นักพรตสำคัญที่ การอบรม
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาฯ สำคัญที่ ความเข้าใจ 



http://abhidhamonline.org/15Principle.htm
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

นิทานคุณธรรม – ตายเพราะปาก
Posted by admin in นิทานคุณธรรม
 
   ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุชื่อโกกาลิกะ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า

   กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ เมื่อเรียนจบศิลปะทุกอย่างจากเมืองตักกสิลา แล้วบวชเป็นฤาษี ได้เป็นอาจารย์ผู้ให้โอวาทแก่ฤาษี ๕๐๐ ตน
   ในที่นั้น มีฤาษีขี้โรคผอมเหลืองผู้หนึ่ง วันหนึ่ง ท่านกำลังนั่งฝ่าฝืนอยู่ ได้มีฤาษีปากมากผู้หนึ่งเข้ามานั่งใกล้ๆ แล้วพูดว่า
    "ท่านจงฟันอย่างนี้ จงฟันตรงนี้"
    ทำให้ฤาษีขี้โรคโกรธแล้วกล่าวว่า
    "ท่านไม่ใช่อาจารย์สอนศิลปะการฝ่าฟืนของผมนะ" จึงฟันดาบสนั้นเสียชีวิตด้วยมีดฝ่าฟืนนั่นเอง


    และในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของฤาษี มีนกกระทาตัวหนึ่งอาศัยอยู่ที่จอมปลวก
    ทุกเช้าเย็นมันจะขึ้นไปยืนขันเสียงดังลั่น อยู่บนจอมปลวกนั้นเป็นประจำทุกวัน
    เป็นเหตุให้พรานผู้หนึ่งมาจับมันไปเป็นอาหาร


    ฤาษีพระโพธิสัตว์ไม่ได้ยินเสียงมันขัน จึงถามหมู่ฤาษี เมื่อทราบเหตุการณ์นั้นแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ท่ามกลางหมู่ฤาษีว่า
    "คำพูดที่ดังเกินไป รุนแรงเกินไป และพูดเกินเวลา ย่อมฆ่าคนผู้มี ปัญญาทรามเสีย
    เหมือนเสียงฆ่านกกระทา ที่ขันดังเกินไป"

 
    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การพูดมากไม่ดี ควรพูดตามกาลเทศะ และพูดแต่ที่ดี



อ้างอิง
http://นิทาน.whitemedia.org
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/425672
ขอบคุณภาพจาก http://office.bangkok.go.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

กาพย์ยานี ๑๑ "ปลาหมอตายเพราะปาก"

               
ปลาหมอตายเพราะปาก  เหตุซ้ำซากฝากให้คิด
ทุกข์เข็ญเป็นเนืองนิจ     เหตุเพราะปากอยากอะไร
สุภาษิตคิดเถิด              จะบังเกิดผลเลิศไซร้
พังเพยเอยคิดไป           โบราณสอนวอนเตือนตน

ปลาหมอหนอพ่นน้ำ       ผุดว่ายดำนำภัยผล
เปรียบเปรยเอยปากคน   พูดพล่อยๆพลอยเป็นภัย
ทั้งปลาหนาทั้งคน          จงเตือนตนพ้นวิสัย
ตรึกตรองกรองวิจัย        ศีลข้อสี่นี้ควรจำ


ที่มา http://www.gotoknow.org/blogs/posts/425672
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/





ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ


(กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "นิราศภูเขาทอง")


อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ


(กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "เพลงยาวถวายโอวาท")


อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฎิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา


(กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี")



ที่มา http://poem.kapook.com/sunthonphu.php
ขอบคุณภาพจาก http://www.rakbankerd.com/,http://poem.kapook.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 15, 2012, 01:18:54 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว จริง ๆ นะคะ เพราะคนเราจะได้ดี หรือ ตกต่ำก็เพราะว่าปากนี้เป็นส่วนหนึ่ง นะคะ

 :25: :c017:
บันทึกการเข้า