ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะย่อมคุ้มครอง..'ผู้ประพฤติธรรม' - รู้โลก ไม่สู้รู้ตน  (อ่าน 1474 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29309
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ธรรมะย่อมคุ้มครอง..'ผู้ประพฤติธรรม' - รู้โลก ไม่สู้รู้ตน


นึกย้อนกลับไปเมื่อสมัยพุทธกาล ๒๖๐๐ ปีที่แล้วพอดิบพอดี พระพุทธองค์ตรัสรู้ที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ในแคว้นมคธ พระพุทธองค์ทรงเสวยวิมุติเป็นเวลา ๔๙ วัน (ที่พระอาจารย์ ว.วชิรเมธีเคยบอกว่า เป็นเหมือนกับการเรียบเรียงสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ให้เป็นหมวดหมู่)

จากนั้นใช้เวลาในการดำเนินด้วยพระบาทเป็นเวลา ๑๑ วันไปยังเมืองพาราณสี เพื่อแสดงธรรมแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ได้จากพระองค์ไปหลังจากที่พบว่าพระพุทธองค์หันมาฉันอาหารหลังจากที่เคยบำเพ็ญทุกรกิริยา


    การแสดงปฐมเทศนาจนกระทั่ง ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ บรรลุธรรม
    รวมทั้งบวชเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาทำให้องค์ประกอบทั้ง ๓ ของพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนาครบ ๓ องค์ในวันนี้ ที่พุทธศาสนิกชนเรียกว่าวัน “อาสาฬหบูชา”

ผมเองเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคยถามเสมอว่า ไฉนพระพุทธองค์จะต้องเริ่มต้นเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เมืองพาราณสี อันถือว่าเป็น ศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์ฮินดู (เพราะเป็นเมืองที่แม่น้ำคงคาไหลกลับจากทางใต้ขึ้นสู่ทางเหนือ อันทำให้ชาวฮินดู เลือกที่จะมาลอยศพกันที่นี่ เพราะเชื่อว่า แม่น้ำคงคาจะพาวิญญาณของผู้ตายไปยังสรวงสวรรค์ หรือขึ้นเหนือไปยังต้นแม่น้ำคงคาหรือแดนสวรรค์)

ได้เคยสนทนากับพระอาจารย์ ว. วชิรเมธี เมื่อคราวได้ไปอินเดียด้วยกัน พระอาจารย์ได้ให้อรรถาธิบายเอาไว้ว่า สังคมอินเดียในยุคนั้นเต็มไปด้วยการต่อสู้กันทางความคิด ความอ่านเชิงปรัชญาและศาสนา การถกเถียงของเจ้าลัทธิต่าง ๆ มีอยู่ทั่วไป การประกาศพุทธศาสนา ณ เมืองอันถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของพราหมณ์ฮินดู จึงเป็นเหมือนการสร้างแรงกระเพื่อมและนำไปยังการถกเถียงเรื่องของใจความปรัชญาจิตวิญญาณได้อย่างกว้างขวาง




จะเห็นได้ว่า ก่อนหน้าที่พระพุทธศาสนาปักหลักได้ในแผ่นดินที่มีพราหมณ์ฮินดูเป็นศาสนาหลักที่หยั่งรากลึกในทุก ๆภาคส่วนของสังคมอินเดียในยุคพุทธกาลนั้น พระพุทธองค์ต้องฝ่าฟันความยากลำบากมหาศาล ไม่ต้องอื่นไกล

การแสดงธรรมต่อปัญจวัคคีย์ที่ครั้งหนึ่งเคยตีตนออกห่างพระพุทธองค์ ให้หันมาสดับฟังธรรมจากพระพุทธองค์ก็ถือว่าท้าทายเพราะท่าทีเบื้องต้นของปัญจวัคคีย์ทั้งห้าก็ดูไม่เป็นมิตร (แต่ที่สุดปัญจวัคคีย์ก็เปิดใจเมื่อพระพุทธองค์ย้ำว่า พระองค์ไม่เคยกล่าวอ้างว่าตนบรรลุธรรมมาก่อน จวบจนวันนั้น)


จากนั้นพระองค์เดินทางทั่วไปในชมพูทวีป พบกับความท้าทายมหาศาล ใครอ่านพระพุทธประวัติจะรู้ว่า พระพุทธองค์ต้องผ่านความท้าทาย นับครั้งไม่ถ้วน หากใครนึกไม่ออกลองนึกถึง พระพุทธชัยมงคลคาถา หรือพระคาถา พาหุง ที่กล่าวถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ ๘ ครั้งคงจะทราบได้

วันนี้จึงถือได้ว่าเราควรจะแสดงออกซึ่งความกตัญญู ซาบซึ้งในพระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระกรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ ที่ทำให้เราได้มีโอกาสได้ศึกษาพระธรรมของพระองค์ในวันนี้

ที่เล่ามาทั้งหมดอยากจะบอกว่า “พระธรรม” ของพระพุทธองค์ เป็นสิ่งสูงค่า บริสุทธิ์ และนำไปสู่ความผาสุกของผู้ปฏิบัติธรรมและสังคม ยังได้รับการท้าทายโดยต่อเนื่อง...ประสาอะไรกับความถูกต้องในสังคมที่อาจจะได้รับความท้าทายจาก แนวคิดอกุศล สิ่งชั่วร้าย

    ..แต่ในฐานะของพุทธศาสนิกชน พระพุทธองค์ไม่เคยสอนให้เรายอมจำนนต่อความไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม แม้ว่าสิ่งนั้นจะก้าวร้าว ดุดัน คุกคามขนาดไหน
    ...หากเราเชื่อมั่นว่าเราเชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง วางอยู่บนธรรมแล้วละก็ เราต้องหนักแน่นและกล้าหาญในการเดินหน้า


    สำคัญเหนืออื่นใด ในฐานะพุทธศาสนิกชน
    “ธมมโม หเว รกขติ ธรรมจารี ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม”
    คำสอนนี้ ให้ผลได้ไม่จำกัดกาลแม้ว่า กาลเวลาจะล่วงมาแล้วถึง ๒๖๐๐ ปีในปีพุทธชยันตีนี้แล้วก็ตาม.


    ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน



ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.dailynews.co.th/article/630/146488
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ