ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ชวนเที่ยว "สะดืออีสาน" พิสูจน์ "หินหล่อง" ลานหินทรายมหัศจรรย์  (อ่าน 2992 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29309
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



"สารคาม" ชวนเที่ยว "สะดืออีสาน"
พิสูจน์ "หินหล่อง" ลานหินทรายมหัศจรรย์

นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผวจ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จ.มหาสารคาม มีโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ อ.โกสุมพิสัย เพื่อส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่น ให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวในวงกว้าง เช่น บึงกุย แหล่งน้ำขนาดใหญ่นอกเขตชลประทาน บรรยากาศช่วงยามเย็นตะวันจะตกดินมีความสวยงามมาก มีนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายภาพกัน

    บึงแห่งนี้อยู่ติดถนนสายมหาสารคาม-ขอนแก่น และอีกแห่งที่ไม่ควรพลาด คือ
    จุดศูนย์กลางของภาคอีสาน หรือ"สะดืออีสาน" อยู่บริเวณทิศตะวันออกของโรงเรียนบ้านเขวา ต.เหล่า อ.โกสุมพิสัย
    โดยสร้างสัญลักษณ์ของสะดืออีสาน เพื่อให้ทราบว่าบริเวณนี้ คือ ศูนย์กลางของภาคอีสาน
    จากการสำรวจโดยกรมแผนที่ทหาร เมื่อปีพ.ศ.2534 ถือว่าเป็นอีกจุดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวชอบมาถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ว่าครั้งหนึ่งเคยมายืนอยู่ตรงศูนย์กลางของภาคอีสาน


    ผวจ.มหาสารคาม กล่าวต่อว่า เมื่อออกจากสะดืออีสาน มุ่งหน้าเข้าสู่ อ.โกสุมพิสัย สามารถแวะวนอุทยานโกสัมพี แหล่งอาศัยของลิงป่านับพันตัว โดยเฉพาะลิงแสมสีทองหายาก พบในป่านี้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
   จากนั้นแวะเข้าไปกราบนมัสการขอพรหลวงพ่อมิ่งเมือง ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าวนอุทยานโกสัมพี พระพุทธรูปสมัยทวารวดี แกะจากเนื้อหินทรายนับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาว อ.โกสุมพิสัย มานานตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน




อัปโหลดโดย omyim5566 เมื่อ 15 ก.ย. 2010


     นายวีระวัฒน์กล่าวอีกว่า อีกสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งที่ไม่ควรพลาด คือ
     การพิสูจน์หลุมหิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า"หินหล่อง" อยู่ห่างจาก อ.โกสุมพิสัย 20 กิโลเมตร บนเส้นทางโกสุมพิสัย-ขอนแก่น เมื่อถึงบริเวณปากทางบ้านเขื่อน ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนลาดยาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์

    ลักษณะเป็นลานหินทราย อยู่ในบริเวณป่าโคกบ้านโนนสูง ต.ดอนกลาง ตามพื้นลานหินจะมีหลุม
     มีลักษณะเป็นบ่อน้ำวงกลม วงรี ความกว้างแตกต่างกัน ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ กว่า 3 เมตร เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ


    อีกทั้งมีรอยเท้ามนุษย์โบราณยาวกว่า 50 เซนติเมตร ก้าวเท้ายาวเกือบ 2 เมตร
    ชาวบ้านในพื้นที่นับถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยจัดประเพณีบุญเดือน 7 ขึ้นทุกปีก่อนทำนา ทำไร่
    จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่สนใจ แวะมาท่องเที่ยวพักผ่อนสถานที่เหล่านี้ได้ตลอดปี



ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMGIzVXdNakV4TURnMU5RPT0=&sectionid=TURNeE9RPT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB4TVE9PQ==
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29309
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




สะดืออีสาน คือ อะไร และอยู่ตรงไหน..?

      ภาคอีสาน เดิมได้รับการเรียกขานจากคนกรุงเทพว่าหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก หรือหัวเมืองลาวพุงขาว ต่อมาได้เรียกว่ามณฑลลาวพวน มณฑลลาวกาว มณฑลลาวกลาง ใน พ.ศ.2437 เปลี่ยนมาเรียกว่ามณฑลอุดร มณฑลอีสาน แล้วมาเรียกเป็นมณฑลอุบลราชธานี มณฑลร้อยเอ็ด มณฑลนครราชสีมา   

     จนถึงปี พ.ศ.246 จึงได้รวมกันแล้วเรียกว่า ภาคอีสาน ในอดีตนั้น ดินนแดนบริเวณบริเวณนี้บางส่วนเคยตกอยู่ใต้อิทธิพลทางวัฒนธรรม ของขอม มอญ และลาว มาตามลำคับจนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดินแดนนี้จึงตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง ของราชอาณาจักรสยาม

     ในมุมมองทางภูมิศาสตร์ เรียกดินแดนนี้ว่า "ที่ราบสูงโคราช"
     มีชายขอบทางด้านตะวันตก กั้นไว้ด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ ์และเทือกเขาดงพะยาไฟ (เย็น)
     ส่วนทางด้านใต้กั้นไว้ด้วยเทือกเขาพนมดงรัก ทำให้พื้นที่ลาดเอียงไปทางตะวันออก ซึ่งมีแม่น้ำของ (คนกรุงเทพเรียกว่า "แม่น้ำโขง") เป็นแนวเขต ส่วนตอนกลางของภูมิภาคนี้
     มีเทือกเขาภูพานพาดผ่าน ทำให้แบ่งดินแดนนี้ออกเป็น 2 แอ่ง คือ
     ตอนบนเรียก "แอ่งสกลนคร" ตอนล่างเรียกว่า "แอ่งโคราช"

     หากพิจารณารูปร่างลักษณะของภาคอีสาน จากแผนที่สมัยก่อนๆ ก็จะเห็นรูปร่างผิดแปลกไป จากที่เราเคยเห็นในปัจจุบัน กล่าวคือ
     แผนที่ของฮอนดิอุส (Hondius) ชาวเบลเยียมเขียนไว้และตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ.1613(พ.ศ.2156)ก็ดี         
     แผนที่ที่เขียน โดย วิลเล็ม บลาว (Willem Blaeu) ชาวฮอลันดา ที่เขียนขึ้น สมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ ศ 2172-2199) ตอนปลายพุทศตวรรษที่ 22
     ตลอดจนแผนที่ของโลโปซอเรส (Lopo Soares) ที่ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากพิแอร์ ฟาน เดอร์อาร์ (Pierre Van Der Aa) ชาวฮอลันดา หรือแผนที่พิมพ์จำหน่ายในลอนดอน ในราวพุทธศตวรรษที่ 23 (ไม่ระบุชื่อผู้เขียน) และแผนที่ที่เขียนโดย เอมานูเอล โบเว่น (Emanuel Bowen) ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 23

แผนที่เหล่านี้ถึงแม้จะไม่เน้นเฉพาะประเทศสยามก็ตาม แต่พอจะบอกได้ว่า การรับรู้ (Preception) ของฝรั่งเหล่านี้ ให้ความสำคัญแก่ดินแดนที่ราบสูงโคราชอย่างผิวเผินมาก เพราะรูปร่างของ ที่ราบสูงโคราชหรืออีสานมีขนาดเล็ก แคบกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมาก เมืองสำคัญมีเพียงโคราช ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำของ (R.Mecor) เกินไป



สัญลักษณ์สะดืออิสานจำลอง อยู่ที่บึงกุย (ภาพจาก google earth)


    จากแผนที่ยุทธศาสตร์ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ซึ่งถ้าไม่พิจารณาให้ดีหากดูชื่อคงคิดว่าเป็นสมัยพระเจ้าอู่ทอง แต่ในเนื้อหาสาระจริง กลับเป็นสมัยต้นรัตนโกสินทร์นี่เอง จะเห็นว่าดินแดนแถบน ี้มีเส้นทางมุ่งสุ่พระธาตุพนมและเวียงจันทน์ และเริ่มปรากฎ เมืองสำคัญ เช่น ภูเขียว เชียงคาน “กาลสิน” ขุขัน อุบล ขอนแก่น โคราช
     และหัวเมืองที่เกี่ยวข้องกับ วิกฤตการณ์ เจ้าอนุวงษ์ ส่วนรูปร่าง ก็ไม่สอดคล้องถับความเป็นจริงนัก กลับไปให้ความสำคัญ แก่แม่น้ำของ (โขง) และแม่น้ำสาย สำคัญอื่น ๆ ถึงกระนั้นก็ให้รายละเอียดมากกว่าแผนที่รุ่นเก่า ๆ ที่ผ่านมา

     แผนที่ประเทศสยามและโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณภาคอีสานได้รับการเขียนขึ้นอย่างถูกหลักวิชาการครั้งแรกในสมัย เจมส์แมคคาถี (James Mc.Carthy) เข้ามาสำรวจและทำแผนที่ในนามราชสำนักสยามในข่วงปี พ.ศ. 2417 นี่เอง

     ถึงแม้จะมีแผนที่ประเทศไทย ในมาตราส่วนที่ละเอียดมากขึ้นแล้ว แต่ปัญหาเกี่ยวกับจุดศูนย์กลาง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน หรือที่ราบสูงโคราช ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บ้างก็บอกว่า อยู่ในเขตจังหัวดร้อยเอ็ด บ้างก็บอกว่าอยู่ในเขตกิ่งอำเภอฆ้องชัยจังหวัดกาฬสินธุ์
     แต่เสียงส่วนมาก เท่าที่เคยได้ยินมาคือ จังหวัดมหาสารคาม ทั้งยังระบุว่าอยู่ในเขตอำเภอบรบือ พอมีการแยกบางส่วนมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอกุดรัง ก็มีเสียงหลายกระแสบอกว่า จุดศูนย์กลางภาคอีสาน อยู่ที่อำเภอกุดรัง

    ด้วยความสงสัยและอยากจะทำให้ความจริงข้อนี้กระจ่าง ทั้งยังได้รับการกระตุ้นจากอธิการบดี สถาบันราชภัฏมหาสารคาม(รศ.ดร.สุวกิจ ศรีปัดถา) ผู้เขียนจึงได้นำเรื่องนี้ ไปหารือกับสภาวัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีเครือข่ายและสามารถขอความร่วมมือจากหลายฝ่ายได้สะดวก ผศ.ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด และคณะกรรมการเห็นด้วย

     จึงได้เริ่มดำเนินการแต่งตั้ง คณะกรรมการหาจุดศูนย์กลางภาคอีสานทางภูมิศาสตร์ หน่วยงานที่ให้แนวคิดและคำแนะนำมีทั้ง ผศ.บุญเลิศ สดสุชาติ ผศ.ไพบูลย์ หาญไชย จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์รณสิทธิ์ แสงสุวอ จากสถาบันราชภัฏมหาสารคาม โดยเฉพาะผังเมืองจังหวัด คุณประยูร หัตถศาสตร์ และคุณเนาวรัตน์ เคารพ จากการปรึกษาหารือ และใช้วิธีการต่าง ๆ แล้วก็เห็นว่าศูนย์กลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม





    แต่เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชา และได้รับการยอมรับ โดยทั่วไป คณะกรรมการเห็นว่า น่าจะให้กรมแผนที่ทหาร ซึ่งมีความรู้ความชำนาญ และมีเครื่องมือที่ได้มาตราฐาน ช่วยอนุเคราะห์ดำเนินการตามหลักวิชาการแผนที่ จนกระทั่งวันที่ 2 ธันวาคม 2543 กรมแผนที่ ทหารกองบัญชาการทหารสูงสุด จึงได้มีหนังสือที่ กห 0313/3330 มาถึงประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม ความว่า

... ตามที่สภาวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ขอความอนุเคราะห์ให้กำหนดจุดศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของภาคคะวันออกเฉียงเหนือ โดยระบุพิกัดและวิธีการดำเนินการโดยสังเขป กรมแผนที่ทหารได้ ทำการ ศึกษาและหาวิธีการกำหนดจุดศูนย์กลางดังกล่าว ดังนี้

    1. วิธีการที่เหมาะสมและเป็นวิธีที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ หลักการหาจุดศูนย์กลาง (Centroid) ของพื้นที่ โดยการสร้างรูปหลายเหลี่ยม (Polygon) ที่ครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เหมาะสมที่สุดแล้วทำการคำนวณหาจุดกึ่งกลางจากพิกัดจุดยอดมุมของรูปหลายเหลี่ยม (Polygon) ระบบพิกัดที่ใช้คำนวณคือ Uinversal Transverse Mercator Grid (UTM), Geodetic Datum คือ Indian 1975 และ Ellipsoid คือ Everest (Indian 1830)

    2. ผลการปฏิบัติพบว่า จุดศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่พอกัด Northing 1791706.14m. Easting 294091.9808m. หรือ Latitude 16๐ 11’ 54”.3209 N Longtitude 103๐ 04’ 24” .9818 E จุดนี้อยู่ด้านทิศใต้ของอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม…

   จึงเป็นที่น่าเชื่อถือ “โดยสุจริต” ว่า ศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ
   บริเวณใกล้บึงกูย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคามอย่างแน่นอน
   นับจากนี้ไป คงต้องมีงานใหญ่รออยู่ข้างหน้าว่า เมื่อพบศักยภาพของมหาสารคามด้านนี้แล้ว
   “ผู้คนบ้านนี้ เมืองนี้” จะทำอะไรต่อไป เพื่อให้สมกับคำว่า เมืองนี้คือ “สะดือ” อีสาน



ที่มา : สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎมหาสารคาม
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรชัย บุญมาธรรม
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.isan.clubs.chula.ac.th/para_norkhai/index.php?transaction=post_view.php&cat_main=2&id_main=41&star=0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ