องค์พระปฐมเจดีย์..เมื่อ 'ด้านข้าง..เป็นด้านหน้า'
องค์พระปฐมเจดีย์เมื่อ'ด้านข้างเป็นด้านหน้า-ด้านหน้าเป็นด้านข้าง'
ท่องไปในแดนธรรม เรื่องและภาพโดยไตรเทพ ไกรงู
พระปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ จ.นครปฐม นับเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในไทย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูตมาเผยแผ่พระศาสนา นักปราชญ์ทางโบราณคดีเห็นพ้องกันว่า
พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูตและมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอนที่นครปฐมเป็นครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ ๓ และได้สร้างพระเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ แบบเจดีย์สาญจิในประเทศอินเดียไว้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ขณะผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ทรงเห็นเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ สูง ๔๒ วา เมื่อทรงลาผนวช ได้เสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ.๒๓๙๖ ได้โปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ สูง ๑๒๐ เมตร กับ ๔๕ เซนติเมตร พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ งานไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคต
ต่อมารัชกาลที่ ๕ โปรดให้ปฏิสังขรณ์จัดสร้างหอระฆัง และประดับกระเบื้องจนสำเร็จ เมื่อถึงรัชกาลที่ ๖ ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่างๆ ไว้ที่ผนัง รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือ สร้างใหม่เพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร และรัชกาลที่ ๗ โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่ 
พระศรีสุทธิวงศ์ หรือพระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชญฺญู ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และ เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๔ บอกว่า
ด้านหน้าขององค์พระปฐมเจดีย์นั้น ไม่ใช่ด้านที่ประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ในปัจจุบัน
หากเป็นด้านที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์(จำลอง) ซึ่งเป็นด้านทิศตะวันออก(ถนนจากกรุงเทพฯ)
โดยในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้หล่อจำลองจากพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ในพระบวรราชวัง แต่ขยายให้ใหญ่กว่าองค์เดิม แล้วโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ซุ้มจระนำ ณ องค์พระปฐมเจดีย์ ด้านทิศตะวันออก ส่วนพระร่วงโรจนฤทธิ์ ประดิษฐานอยู่ทางทิศเหนือ ด้านที่ประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ในปัจจุบัน
พระพุทธสิหิงค์(จำลอง) ซึ่งเป็นด้านทิศตะวันออก
พระวิหารที่ประดิษฐานพระร่วงนั้น เดิมเรียกว่า วิหารพระประสูติ การกำหนดให้ด้านที่ประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นด้านหน้าน่าจะเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปชำรุด จมอยู่ในพื้นวิหารวัดโบราณ ในเมืองศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท ลงมายังกรุงเทพฯ
แล้วโปรดให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นให้บริบูรณ์เต็มพระองค์ ตั้งการพระราชพิธีหล่อที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ เสร็จแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในซุ้มพระวิหารทิศเหนือ ตรงบันไดใหญ่ ที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วได้มีพระบรมราชโองการโปรดให้ถวายพระนามพระพุทธปฏิมากรนี้ว่า “พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร”
อย่างไรก็ตามในรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานไว้ที่องค์พระปฐมเจดีย์หลายองค์ คือ
๑.พระประธานในพระอุโบสถ
๒.พระพุทธนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารด้านทิศตะวันออก หรือพระวิหารหลวง
๓.พระปางโปรดปัญจวัคคีย์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น นั่งขัดสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร ปางประทานปฐมเทศนา มีพระสาวก ๕ รูป นั่งล้อมอยู่ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารด้านทิศใต้ หรือพระวิหารปัญจวัคคีย์
๔.พระปางนาคปรก เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น นั่งขัดสมาธิ ประทับนั่งบนขนดพญานาค ๗ เศียร ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารปัญจวัคคีย์
๕.พระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ยาว ๑๗.๐๐ เมตร ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารด้านทิศตะวันตก หรือพระวิหารพระนอน
๖. พระพุทธปรินิพพาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน ยาว ๓.๐๐ เมตร และมีพระสาวก ๓ รูป นั่งล้อมอยู่ ประดิษฐานไว้ในพระวิหารพระนอน และ
๗.พระปางประสูติ เป็นพระปฏิมาปางพระกุมารประทับยืนบนดอกบัว หล่อด้วยโลหะ สูง ๘๐ เซนติเมตร และมีปฏิมาสตรีสองคนคอยดูแลรับใช้ เป็นพระปฏิมาเก่าแก่ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารทิศเหนือ หรือพระวิหารพระร่วง 
สำหรับ "เทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์" หรือชาวบ้านเรียกว่า "กลางเดือนสิบสอง" และ "งานองค์พระ" เป็นงานที่จัดขึ้นทุกๆ ปี ระหว่างวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ รวม ๙ วัน ๙ คืน
โดยในปี ๒๕๕๔ นี้จัดขึ้นระหว่างวัน โดยในปี ๒๕๕๕ นี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน-๓ ธันวาคม โดยเฉพาะก่อนงาน ๕ วัน หรือวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน เป็นงานวันพระร่วงโรจนฤทธิ์
ส่วนจุดประสงค์ของการจัดงานนั้น พระศรีสุทธิวงศ์ บอกว่า
เพื่อให้สาธุชนทั้งหลายได้น้อมรำลึกถึงพระคุณของพระอรหันต์ ซึ่งเป็นสมณทูต ๕ รูป คือ
พระโสณเถระ พระอุตตรเถระ พระฌานียเถระ พระภูริยเถระ พระมุนียเถระ พร้อมด้วยสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ร่วมคณะอีก ๓๘ คน ออกเดินทางจากเมืองปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย นำเอาพระพุทธศาสนา มาประกาศและประดิษฐานยังดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งก็คือ “นครปฐม” ในปัจจุบันนี้นั่นเอง
นอกจากนี้ยังเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงส่งสมณทูตพร้อมคณะ นำพระพุทธศาสนามาประดิษฐานยังดินแดนสุวรรณภูมิ และเป็นการรำลึกถึงพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี ที่ได้มีพระราชศรัทธาทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บำรุงองค์พระปฐมเจดีย์ตลอดมา
“พระพุทธรูปศิลาขาว”
หลวงพ่อประทานพร
“พระพุทธรูปศิลาขาว” เป็นพระพุทธรูปปางประทานปฐมเทศนา หรือปางประทานเอหิภิกขุ มีทั้งหมด ๔ องค์ สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (ระหว่าง พ.ศ.๑๑๐๐-๑๖๐๐ชาวบ้านมักจะเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อประทานพร”
ประวัติจากบันทึกของพระธรรมวโรดม (โชติ ธมฺมปฺปโชติกเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร กล่าวเอาไว้ว่า
“...ท่านพระปลัดทอง พระอธิการวัดกลางบางแก้ว (วัดคงคา) ได้มาเห็นวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ซึ่งเวลานั้นว่างจากเจ้าอาวาส กุฏิเสนาสนะชำรุดมาก ท่านจึงพร้อมกันกับ “สามเณรบุญ” (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระพุทธวิถีนายก ตำแหน่งพระราชาคณะชั้นสามัญ เจ้าอาวาสวัดบางแก้ว) ผู้เป็นศิษย์ได้มาช่วยบอกบุญขอแรงพระเณรและชาวบ้าน ต.พระปฐมเจดีย์ไปช่วยกันขนอิฐจากวัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง
ปรากฏว่าพบเห็นจอมปลวกขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่นั้น
โดยมีพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปโผล่พ้นยอดจอมปลวกขึ้นมา
คณะของท่านพระปลัดทองจึงได้ช่วยกันทำลายจอมปลวกนั้นออกก็พบ
พระพุทธรูปศิลาขาวขนาดใหญ่ องค์นี้ มีรอยต่อเป็นท่อนๆ จึงถอดรอยตามรอยต่อนั้นออก
แล้วนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔
ทั้งนี้ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ“พระพุทธรูปศิลาขาว สมัยทวารวดี” ว่าพระพุทธรูปศิลาเนื้อหินขาว ๔ องค์ ซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ ณ วัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุ จ.นครปฐม โดยพบ สถูปโบราณ สมัยทวารวดีองค์ใหญ่ มีร่องรอยว่ามีมุขประจำ ๔ ทิศ และในแต่ละมุขทิศเคยมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่นั่งห้อยพระบาทประจำอยู่นั้นขอบคุณภาพและบทความ
www.komchadluek.net/detail/20121109/144282/องค์พระปฐมเจดีย์เมื่อด้านข้างเป็นด้านหน้า.html#.UJ24-Wfvolhhttp://watphrapathomchedi.com/,http://www.dhammajak.net/