« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2012, 10:57:08 am »
0
แก้ปัญหาโดยมาถอยหลังเข้าคลอง (ธรรม) กันดีกว่า “การแก้ไขวิกฤตทางศีลธรรมที่จะต้องกระทำอย่างเร่งด่วน คือ การปรับระบบกายและระบบจิตให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน โดยใช้ตารางชีวิตตามระบบใหม่ (สุริยคติ) นั่นคือ เพิ่มวันดีนอกเหนือจากวันพระ
โดยรัฐส่งเสริมให้วันจันทร์ – วันศุกร์เป็นวันพัฒนาระบบกาย (อาชีพหรือการศึกษา)
วันพระและวันอาทิตย์เป็นวันพัฒนาระบบจิต
“วัดและพระเปิดวัดวันอาทิตย์ - ประชาชนเข้าวัดวันอาทิตย์ เพิ่มคุณภาพชีวิตชาวพุทธ”
โดยจัดดำเนินการตามแบบวันพระเดิม แต่นำมาปรับประพฤติปฏิบัติเพิ่มเติมในวันอาทิตย์ เรียกว่า การจุดไฟบ้านรับไฟป่า
การจุดไฟบ้านรับไฟป่า เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัท ร่วมกันจุดไฟบ้านโดยการรีบปรับเปลี่ยนให้เกิดสายวัฒนธรรมเชื่อมโยงจนมีฐานวิถีชีวิตเดียวกันด้วยการนำเอาวันเสาร์มาเป็นวันครอบครัวสืบสานวัฒนธรรมของอริยชน วันอาทิตย์เข้าวัดปฏิบัติศาสนกิจตามหลักอริยธรรมที่เป็นอริยประเพณี การร่วมกันพัฒนาวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตพุทธบริษัทสี่ (เปิดวัดวันอาทิตย์ เพิ่มคุณภาพชีวิตชาวพุทธ) ถือว่าเป็นการจุดไฟบ้านรับไฟป่าอย่างถูกวิธีที่บรรพชนได้ให้แนวทางไว้
ร่วมกันสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เป็นสมบัติของอริยชน จนเกิดความเป็นพุทธบริษัทก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ถือว่าเป็นการพัฒนาแล้วจะได้อยู่ร่วมกันในความเป็นมนุษยชาติสืบไป โดยมีพระภิกษุสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้นำทางจิต ชี้นำบอกทางสวรรค์ให้กับพุทธบริษัท
โดยมีวัดเป็นองค์กรหลักในการทำหน้าที่เผยแผ่พุทธธรรมคำสอน จุดประทีปแสงสว่างทางปัญญา ส่องทางในการดำเนินชีวิตและพัฒนาจิตใจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยมาช้านาน
ดังคำกล่าวที่ว่า“สามัคคีร่วมชาติ พุทธศาสน์ร่วมใจ” วัดจึงทำหน้าที่เป็นพื้นที่ธรรม พื้นที่บ่มเพาะความดี สร้างวิถีแห่งความสุขตามหลักพุทธธรรม วัดจึงเป็นทุนสังคมวัฒนธรรมที่สำคัญในการสร้างสรรค์ความสุขสาธารณะตามพุทธภาษิตที่ว่า
“สุขา สังฆัสสะ สามัคคี: ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำสุขมาให้” ความสุขจึงมิใช่จำเพาะของผู้หนึ่งผู้ใด อย่าให้ความสุขเป็นของเราเลย แต่ให้เราเป็นส่วนหนึ่งของความสุขเถิด”
มูลนิธิวัดปัญญานันทารามจับมือสสส. พัฒนาวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติส่งเสริมคุณภาพชีวิต.!มูลนิธิวัดปัญญานันทาราม ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงมีเจตจำนงมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการพัฒนาวัดอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมสุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคมและสุขภาวะทางปัญญา สร้างความเข้มแข็งแก่วัดและบุคลากรของวัด โดยพัฒนาวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต เป็นวัดต้นแบบนำร่อง 60 วัดครอบคลุมทั้งสี่ภูมิภาคทั่วประเทศ พร้อมขยายผลสู่วัดเครือข่ายจำนวนไม่ต่ำกว่า 140 วัด รวม 200 วัดทั่วประเทศวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ เปิดวัดวันอาทิตย์ มีความหมายที่สำคัญอย่างน้อย ๒ ประการ 1) วัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ เปิดวัดวันอาทิตย์ หมายถึง โครงการบำเพ็ญบุญตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เฉลิมพระชนมายุ ๘๕ พรรษา โดยคัดเลือกวัดเข้าร่วมโครงการ 200 วัดทั่วประเทศ จำแนกเป็นวัดต้นแบบจำนวน 60 วัด และวัดเครือข่ายจำนวน 140 วัด
เน้นการเข้าวัดปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญกุศลวันอาทิตย์ ด้วยความรับผิดชอบไตรภาคี คือ มหาเถรสมาคม (มส.) โดยมี พระพรหมวชิรญาณ กรรมการ มหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ประธานอำนวยการโครงการฯ มีมูลนิธิวัดปัญญานันทาราม โดยมีพระปัญญานันทมุนี (ส.ณ.สุภโร) เป็นประธานดำเนินการโครงการฯ และนางลัดดาวัลย์ แก้วสว่าง ผู้จัดการโครงการฯ และวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ วัดวันอาทิตย์ ร่วมดำเนินการ และสนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
2) วัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ เปิดวัดวันอาทิตย์ หมายถึงการบำเพ็ญบุญในทางพระพุทธศาสนา ด้วยการให้ทาน รักษาศีล สวดมนต์ไหว้พระและเจริญภาวนาเป็นต้น ตามแบบวันพระเดิม (จันทรคติ) มาเป็นวันอาทิตย์ (สุริยคติ) ซึ่งมุ่งหวังให้เกิดวิถีชีวิตของพุทธบริษัท นั่นคือ
"วัดและพระ“เปิดวัดวันอาทิตย์ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตชาวพุทธ”
"อุบาสก อุบาสิกา“เข้าวัดวันอาทิตย์ เพิ่มคุณภาพชีวิตชาวพุทธ”
โดยประยุกต์การส่งเสริมคุณภาพชีวิตสู่การปฏิบัติด้วยกรอบแนวคิด 4 สบาย (สัปปายะ) เ
พื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่วัด พัฒนาให้วัดเป็นองค์กรสุขภาวะ เพื่อสร้างสรรค์ความสุขสาธารณะ และพัฒนาวัดให้มีขีดความสามารถเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต โดยกระตุ้นขับเคลื่อนให้วัดเปิดวัดวันอาทิตย์ บุคลากรมีสุขภาพที่ดีและพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในและรอบวัดให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพอันมีผลต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตพุทธบริษัทสี่
1) อาวาสสบาย จัดวัดให้สะอาด รื่นรมย์ร่มรื่น โดยการปลูกต้นไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ จัดพื้นที่สีเขียวในวัดพร้อมทั้งจัดอาวาสงามสู่อาราม ตามหลัก 5 ส. โดยคำแนะนำของสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น เป็นวิทยากรถวายความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์และอุบาสก อุบาสิกา
2) อาหารสบาย พินิจโภชนาและปานะ เพื่อ “สงฆ์ไทยไกลโรค” ข้อเสนอเพื่อเป็นแนวปฏิบัติสู่โภชนาการและสุขภาพดี ภายใต้การจัดการและการแก้ปัญหาด้านอาหารและโภชนาการของพระภิกษุสามเณรที่นำปสู่การป้องกันและแก้ไขการเกิดโรคเรื้อรังและการมีสุขภาวะที่ยั่งยืน เพื่อพัฒนา “สงฆ์ต้นแบบ โภชนาดีชีวียั่งยืน “และ “ฆราวาสเกื้อกูล หนุนโภชนาดี” พร้อมทั้งลดการบริโภคสิ่งส่วนเกิน เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น โดย รศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช เป็นวิทยากรถวายความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์และอุบาสก อุบาสิกา
3) บุคคลสบาย ส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมต่อสมณสารูป เช่น การเดินจงกรม การเดินเพื่อสุขภาพ และการฝึกโยคสมาธิ โดย พระมหาบัญญัติ ธมฺมสาโร เจ้าอาวาสวัดบ่อล้อ จ.นครศรีธรรมราช เป็นวิทยากรถวายความรู้
4) ธรรมะสบาย ส่งเสริมการเปิดวัดวันอาทิตย์ รณรงค์ให้ประชาชนเข้าวัดวันอาทิตย์ เพิ่มคุณภาพชีวิตชาวพุทธ โดยการนำรูปแบบกิจกรรมวันพระมาจัดทำเพิ่มในวันอาทิตย์ เช่น การสวดมนต์ การให้ทาน การรักษาศีล การบริหารจิตและเจริญปัญญา เป็นต้น
โครงการพัฒนาวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตพุทธบริษัทสี่ ได้ดำเนินงานโดยมีกระบวนวิธีการดำเนินงาน ดังนี้
1) สรรหาคัดเลือกวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 60 วัด เพื่อพัฒนาเป็นวัดต้นแบบตามแนวคิดคุณภาพชีวิต 4 สบาย โดยครอบคลุมทุกภูมิภาคเพื่อ ณ วัดปัญญานันทาราม ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
2) วัดต้นแบบ 60 วัดกลับไปดำเนินการพัฒนาวัดของตนเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวคิด4 สบายที่ได้รับการฝึกอบรมมา
3) เจ้าหน้าที่ส่วนกลางออกนิเทศเชิงกัลยาณมิตรเพื่อให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ ในการร่วมแก้ปัญหาและชื่นชมความดีทุกวัด ทุกพื้นที่ ทุกภูมิภาค
4) วัดต้นแบบขยายผลไปสู่วัดเครือข่าย จำนวน 2 – 3 วัด รวมทั้งสิ้น 140 วัด เพื่อเป็นพี่เลี้ยงและให้คำแนะนำในการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
5) จัดสัมมนาสัญจรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน 4 ภูมิภาค
6) จัดตั้งศูนย์ประสานการเรียนรู้ใน 4 ภูมิภาคเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลต่อไป
7) ถอดบทเรียนและการจัดการความรู้มิติการส่งเสริมคุณภาพชีวิตพุทธบริษัทสี่ด้วยกรอบแนวคิด 4 สบายขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20121111/144451/เปิดวัดวันอาทิตย์เพิ่มคุณภาพชีวิตชาวพุทธ.html#.UKBdo2fvolh http://www.linkloei.com/,http://kru.in.th/,http://www.watpanamjone.org/,http://www.watthaidc.org/