ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มข.สร้าง 'พระพุทธรูปไม้' องค์ใหญ่ที่สุดในอีสาน..รับวันสถาปนา  (อ่าน 1307 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29312
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


มข.สร้าง 'พระพุทธรูปไม้' องค์ใหญ่ที่สุดในอีสาน..รับวันสถาปนา

มหาวิทยาลัยขอนแก่น สร้างพระพุทธรูปไม้องค์ใหญ่ที่สุดในอีสาน ฉลองวาระ 50 ปีของการสถาปนามหาวิทยาลัย หวังอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน...

เมื่อวันที่ 18 ม.ค.56 รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายชุมชนสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า
     ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยในเรื่องพระพุทธรูปไม้ในภาคอีสานแล้ว ได้รู้ถึงรูปแบบคติสัญลักษณ์ที่ปรากฏ
     แต่สิ่งหนึ่งที่ได้เห็นและเป็นความรู้สึกถึงคุณค่าอย่างยิ่ง คือ การสร้างพระพุทธรูปไม้เกิดขึ้นจากการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน และฝ่ายสงฆ์ที่เรียกว่า "บวร" เกิดเป็นสัญลักษณ์ที่หลอมรวมใจ
     รูปลักษณ์ภายนอกคือพระพุทธรูปที่มีความงาม มีสุนทรียภาพตามแบบศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มองเห็น
     แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายในเกิดระหว่างกระบวนการสะท้อนให้เห็นความรักความสามัคคี ความศรัทธา เป็นอัตลักษณ์วิถีอีสาน


     นอกจากนี้ในความเชื่อของคนโบราณว่า การได้ลงมือด้วยตนเองในการสร้างสิ่งนี้ คือ
     อานิสงส์ผลบุญไม่น้อยกว่าการบวช ทั้งนี้เพราะการแกะพระพุทธรูปไม้นี้เท่ากับการถวายตนเป็นพุทธบูชาเช่นกัน



     ความคิดในการสร้างพระพุทธรูปไม้ ที่มีกระบวนการของการร่วมแรงคนในสังคม ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น เห็นถึงคุณค่าต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น ทั้งในด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และการมีสถานที่เพื่อเป็นศูนย์กลาง ยึดเหนี่ยวจิตใจทั้งของประชาชนและบุคลากร โดยถือฤกษ์วาระ 50 ปีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ใช้พื้นที่บึงสีฐานด้านตะวันตก เพื่อให้เชื่อมโยงต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างด้านวัฒนธรรม เช่น คุ้มสีฐาน หอศิลปวัฒนธรรมฯ

     รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ กล่าวอีกว่า พระพุทธรูปองค์นี้จะถูกสร้างด้วยมือของคนในชุมชนและบุคลากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยแท้ จะเชิญผู้ที่ศรัทธาได้มาลงมีดลงเครื่องมือสร้างอานิสงส์ด้วยตนเองตามวิถีโบราณ มาออกแบบองค์พระ และหอพระในแนวคิด พระพุทธรูปที่มีสถาปัตยกรรมอีสานล้านช้าง ตามต้นแบบหลวงพ่อพระใส ที่สร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งอาณาจักรล้านช้างศรีสัตนาคนหุต นำมาปรับรายละเอียดใหม่ให้เหมาะสม

    การสร้างพระพุทธรูปไม้ให้ระบือ นอกจากความสวยงาม ขนาดองค์ที่ต้องมีขนาดใหญ่กว่าที่ปรากฏ แล้ว การเลือกไม้ยังมีความสำคัญ ถ้าได้ไม้มงคลขนาดชิ้นเดียวขนาดใหญ่ที่มีอยู่แล้วจะเป็นสิ่งดี แต่ถ้าไม่สามารถหาได้ ก็เป็นการต่อไม้ สำหรับพระพุทธรูปไม้อีสานที่ใหญ่ที่สุดที่ยังเหลืออยู่ เป็นองค์เก่าความสูงประมาณ 3 เมตร ได้เก็บไว้ในหอศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อการศึกษาค้นคว้า

     ขณะนี้ก็ได้บอกต่อๆ กันไปยังผู้ศรัทธาที่จะบริจาคไม้ เช่น ไม้คูน ไม้ขนุน หรือไม้อื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่ที่ถูกเก็บไว้แล้ว หน้าตัดประมาณ 3 เมตร ไม่ใช่เป็นการตัดโค่นไม้ป่ามาทำ โดยจะสร้างองค์ให้ได้หน้าตักประมาณ 3 เมตร สูง 4.5 เมตร หากได้ไม้ชิ้นเดียวมาแกะสลักแล้ว จะเป็นองค์พระที่มองเห็นลายไม้สวยงาม แต่หากต้องเป็นการต่อไม้จากหลายชิ้นก็จะเป็นองค์ที่ลงรักปิดทองเพื่อปิดบังรอยต่อของไม้
     นอกจากนี้ตรงเกตุมาลาขององค์พระ ตั้งใจว่าจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุ ส่วนหอพระส่วนยอดจะมีลักษณะยอดบัวเหลี่ยม คล้ายองค์พระธาตุพนม ที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย


     ทั้งนี้ การออกแบบหอพระและการวางผังพื้นที่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีภาพร่างมาหลายแบบ เพื่อการพิจารณาจะเป็นหอพระที่ยื่นไปในบึงสีฐาน อีกทั้งได้ให้ความสำคัญโดยได้หารือกันถึงผลกระทบทางนิเวศวิทยาอีกด้วย คาดว่าโครงการจะเสร็จในกลางปีนี้.


 
ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/321085
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ