กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
51
Facebook ธัมมะวังโส / นิมิตตัง สาธุ รูปานัง กตัญญูกตเวทิตา
« กระทู้ล่าสุด โดย dhammawangso เมื่อ มีนาคม 07, 2022, 04:24:59 pm »
นิมิตตัง สาธุ รูปานัง กตัญญูกตเวทิตา
ความกตัญญู เป็นสัญลักษณ์ของคนดี
ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาล รำลึกถึงพระคุณแม่ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายที่ลืมแม่ ให้ใส่ใจในแม่บ้าง ส่วนใครดูแลแม่อยู่ก็ขอให้พบกับความสุข อันเป็นเครื่องหมายของความดีกันทุกท่าน เข้าพรรษามา 2 วันแล้วก็ช่วงนี้เป็นช่วงนั่งกรรมฐาน ดังนั้นอาจจะต้องห่างหายจาก เว็บกันบ้าง ขอให้ทุกท่านมีความสุข ตั้งใจปรารถนาปฏิบัติภาวนาเพื่อสิ่งใด ก็ขอให้ลุล่วงในสิ่งนั้น ทุกท่าน
เจริญพร
52
ทุกคนมีช่วงสำคัญ กันทุกคน แต่ช่วงสำคัญ ที่สุดของชีวิต คือ อย่างไร ?
ช่วงสำคัญที่สุดคือ การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย สี่การนี้ เป็นช่วงสำคัญมาก ๆ ที่จะทำให้เรา ทุกข์ หรือ ไม่ทุกข์ ดังนั้นพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเห็นช่วงสำคัญนี้ในคราเสด็จเยี่ยมราษฏร พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัย ออกบวชเพื่อแสวงหาวิธีที่จะทำให้ช่วงสำคัญนี้ หมดสิ้นไปจากเรา 6 พรรษา ที่พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า ลำบากตรากตรำ ทรงทรมานพระวรกาย ต่าง ๆ เพื่อ วิโมกข์ แต่สุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ พระองค์จึงตัดสินพระทัยกลับมาตั้งอยู่ในความพอดี ในคค่ำคืนเดือน 6 วันเพ็ญ พระองค์จึงได้สำเร็จ ญาณทั้ง 3 นี่คือ ชัยชนะ ที่ผ่านมาแล้ว 2600 ปี ทีเป็นที่มาของ พุทธชยันตี
 เจริญธรรม / เจริญพร
53
กราบนมัสการครูบาอาจารย์ทุกองค์ครับ...สาธุ สาธุ สาธุ
54
มูลกรรมฐาน ทั่วไป / Re: 01-02 การให้ธรรมเป็นทาน ชนะ การให้ทั้งปวง - 01
« กระทู้ล่าสุด โดย popeye4964 เมื่อ กุมภาพันธ์ 21, 2017, 09:36:45 am »
กราบสาธุครับ....
55
มูลกรรมฐาน ทั่วไป / Re: 01-02 การให้ธรรมเป็นทาน ชนะ การให้ทั้งปวง - 01
« กระทู้ล่าสุด โดย Nhithis เมื่อ ธันวาคม 02, 2016, 11:07:03 am »
กราบสาธุครับ พระอาจารย์
56


ประเพณีลอยกระทง 14 พ.ย.59 ควรจะกระทำหรือไม่ ?
หลายคนแสดงความคิดเห็นว่า ช่วงนี้เป็นช่วงไว้อาลัยแด่พ่อแห่งแผ่นดินจึงไม่ควรจัดงาน วันลอยกระทง แต่ฉันคิดต่างไปสักเล็กน้อยว่า งานลอยกระทงควรจะจัดเพราะ แท้จริงของการลอยกระทงคนไทยมีสองความหมายเท่านั้นเองไม่ได้จัดเป็นงานรื่นเริง สามารถจัดงานลอยกระทงแบบสงบเงียบ ก็สามารถกระทำได้ อีกอย่าง พ่อ คงไม่อยากให้ลูกมานั่งหงอย นั่งเศร้า หรอกคนเป็นพ่อ รักลูก ก็อยากให้ลูกมีความสุข ดังนั้นการจัดงานลอยกระทงจึงเป็นเรื่องที่ควรทำเพราะเป็นประเพณีทีดีงาม

การลอยกระทงนั้น คนไทยชาวกสิกรรม ล้วนแล้วแต่ขอบคุณแม่น้ำจึงบูชาแม่น้ำด้วยวิธีการมอบเครื่องสักการะ แต่ทุกวันนี้กลายเป็นขยะมากไปเพราะใช้โฟม ใช้เคมี ดังนั้นจะเป็นประโยชน์แก่แม่น้ำก็ต้องใช้วัสดุธรรมชาต อาหารขนมปังก็พอได้ สัตว์น้ำได้กินเป็นทาน ทั้งยังทำให้คนอัตคัตมีกิน มีใช้จากเหรียญทานใส่กระทงด้วย และเป็นการรักษาวัฒนธรรมไว้ให้ลูกหลานเห็น คุณค่าทางจิตด้วยการให้ความเคารพ ต่อพระแม่คงคา

กระทงสร้าง ด้วยจิต มีสำนึก
เพราะระลึก คุณแห่งน้ำ ไม่สงสัย
แม่คงคา เลี้ยงชีวิต เส้นเลือดใจ
อันชนไทย บูชาคุณ "มหานที" เอย

ส่วนชาวพุทธก็ถือโอกาสใช้กระทงเป็นเครื่องบูชาสักการะพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาท นัมมทานที ในช่วงคืนเดือนเพ็ญนี้ อาศัย พวกนาค นำพาสักการะอันสมควรแก่ รอยพระพุทธบาท นัมมทานที ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทที่มีอยู่น้ำ ซึ่งมนุษย์ทั่วไปไม่สามารถลงไปกราบสักการะได้ คงต้องอาศัยจังหวะช่วงนี้เท่านั้นที่เรียกว่า น้ำหลากเดือนสิบสอง ความเป็นจริงแล้วก็เป็นมอบอามิสบูชาต่อ พระพุทธเจ้าส่วนหนึ่งตามความเชื่อ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย ก็ขึ้นอยู่วัดแต่ละวัดไปจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าไใจไปอย่างไร แต่บางทีก็เห็นว่า ลอยกระทงสวรค์ไปด้วย บูชา จุฬามณี กลายเป็นที่สนุกสนาน ผสมผสานงานบุญตามศรัทธาเลื่อมใส

ส่วนชาวพุทธ น้อมถึงคุณ พุทโธเจ้า
จึงเข้าเฝ้า รอยพระบาท นทีหลวง
น้อมกระทง แทนศรัทธา ใจหมื่นดวง
ให้ปลื้มทรวง ปีติลง "นัมมะทา มหานที" เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร
57
ความเข้าใจผิด อีกเรื่อง ของชาวพุทธคิดว่า ฆราวาส สำเร็จในบุรุษ 4 คู่ แล้วจะเรียกว่าพระ หรือเนื้อนาบุญไปด้วยอันนี้เข้าใจผิดไปอีก เดี๋ยวนี้สอนเลอะเทอะ สำหรับฆราวาสที่บรรลุธรรม ศัพท์ทางธรรมเรียกว่า อริยะ ไม่ได้เป็นพระ ให้เรียกว่า อริยะตามด้วยคุณธรรมที่บรรลุ เช่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี เรียกว่า ท่านสุทัตตะอริยะ อย่างนี้ถูกต้อง ไม่ใช่เรียกว่า ท่านพระอริยะสุทัตตะ อย่างนี้เรียกผิด
การที่จะเรียก อริยะว่าเป็นพระตามพระบรมพุทธานุญาตนั้น จะต้องถูกยกฐานะโดยสงฆ์ก่อน ถึงจะเป็น พระอริยะได้ ไม่งั้นสมัยก่อน พอสำเร็จธรรม ก็ต้องรีบมาบวช รีบขวนขวายความเป็นพระ แม้แต่ต่อหน้าพระพุทธเจ้า ผู้บรรพชาให้ ด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา อริยะอรหันต์ก็ยังต้องให้ความสำคัญ อย่างเช่น พระพาหิยะ บรรลุเป็นอริยะอรหันต์ แต่ไม่มีจีวร ก็ยังไม่มีฐานะทางสงฆ์ พระพุทธเจ้าให้ไปหาจีวร ไม่ใช่เป็นแล้ว จะได้รับการยอมรับแต่งตั้ง แต่พระองค์ยกย่องในคุณธรรมว่า ผู้สำเร็จโดยฉับพลัน
ดังนั้นบรรดาฆราวาส จะไปเรียกตัวเองว่าพระไม่ได้ ไม่ใช่ว่าพ้นบัญญัติ จะเป็นอะไรก็ได้ แต่งตั้งตนเองเป็นพระบวชเองเลยก็ได้อย่างนี้ไม่ได้ เพราะการเป็นพระสงฆ์ต้องสืบสายมาจากพระพุทธเจ้าตรงเท่านั้นท่านจึงให้มอบหมายการบรรพชา ด้วยการเป็นอุปัชฌาย์ และอุปัชฌาย์ก็ต้องสืบสานธรรมเนียม สมมุติบัญญัติอันนี้ว่า ด้วยวิธี จตุตถกรรมวาจาร มีสงฆ์เป็นพยาน ในมัชฌิมประเทศ ก็ 10 รูป รวมอุปัชฌาย์ คู่สวดเป็น 13 รูป ในประเทศใหญ่ ก็ 25 รูป ในชนบทมาก ก็ต้อง 13 รูปเช่นกัน
ดังนั้นการเป็นพระสำเร็จได้ด้วยการยกฐานะของสงฆ์ ด้วยการอุปสมบถเท่านั้น แต่การเป็นอริยะบุคคลสำเร็จได้ด้วยการภาวนา



58
ถามตอบเรื่องกรรมฐาน / สัพเพเหระ-อาหาร เนื้อนาบุญ ไทยทาน
« กระทู้ล่าสุด โดย dhammawangso เมื่อ พฤศจิกายน 04, 2016, 02:32:14 am »


อะไรชื่อว่า หนึ่ง ในสามเณรปัญหา ข้อแรกคำตอบก็คือ

อาหารชื่อว่าหนึ่ง บุคคลทุกวันนี้ที่วุ่นวายก็เพราะเรื่องอาหารเป็นหลักถ้าลองมีอาหารกินกันได้ไม่หมดทั้งชาติละก็ เขาก็จะไม่ต้องออกไปทำงานให้เหน็ดเหนื่อยกัน ไม่ต้องเสียเวลาเรียนอะไรทั้งนั้น ดังนั้นเรื่องปาก เรื่องท้องถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก

สำหรับพระสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน อาหารจัดเป็นเรื่องแรกที่ต้องจัดการ แต่พระสงฆ์ก็มีข้อห้าม ๆ ปรุงอาหารในสายวินัย ห้ามปลูกธัญญพิชเพื่อการเกษตรอีกหลายอย่าง เนื่องด้วย พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงมีพระปรีชาญาณแล้วว่า พระสงฆ์สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องทำงาน ดังนั้นให้พระสงฆ์เอาเวลาทำงานที่ชาวบ้านเหน็ดเหนื่อยนั้นมาเป็นเวลาพัฒนาตนให้เป็นเนื้อนาบุญที่ชาวบ้านลงทุนไปแล้ว จะได้ผลกำไรมากขึ้น ดังนั้นพระสงฆ์จึงไม่มีอาชีพอย่างชาวบ้าน แต่ดำรงตนเป็นเนื้อนาบุญ

ที่นี้พระสงฆ์ถ้าบวชเข้ามาแล้วไม่ภาวนา ไม่รักษาศีล เอาแต่สวดเสก แสวงลาภยศ เงินทองแบบชาวบ้าน ถามว่าพระสงฆ์แบบนี้จะเป็นเนื้อนาบุญได้อย่างไร นั่นแหละชาวบ้านเขา ๆ อย่างเรา ๆ ก็คิดเป็นดังนั้นก็เลยเลือกที่จะทำบุญกับพระอริยะสงฆ์

ที่นี้พระสงฆ์พวกนี้ก็ต้องดิ้นรนเพิ่มขึ้นต้องหาพระสูตรมาพูดยืนยันว่าทำบุญกับตนยังได้บุญไปสู่การสอนการทำบุญแบบพระอริยะ เรียกว่าทำบุญตรงไหนก็ไม่ได้บุญเท่ากับ ทำบุญสังฆทาน อย่างนี้เป็นต้น เรียกว่า ต้องรักษผลประโยชน์เอาไว้ก่อน ชาวบ้านก็หลงเชื่อ ยอมซื้อสังฆทานเวียนไปเวียนมา ดอกไม้ธูปเทียนเวียนปักไปปักมา ถามว่ามันจะได้บุญจริงหรือ นี่คือธรรมเนียมที่ผิด

พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสสอนว่าทำบุญสังฆทานจะดีกว่าทำบุญกับพระพุทธเจ้า แต่ที่ท่านตรัสก็คือให้เข้าใจขณะที่ทำบุญขณะนั้นมีโอกาสอะไรก็ทำตรงนั้นให้ดีที่สุด มันก็เป็นแบบนี้ พระสงฆที่พระพุทธเจ้ายกย่องว่าควรแก่สักการะ ควรแก่ไทยธรรม ในบทสังฆคุณ ไม่มีสมมุติสงฆ์ แต่ยกย่องว่า พระอริยสงฆ์ 4 คู่ คือ พระโสดาบัน จนถึงพระอรหันต์ นั่นแหละสมควรแก่สักการะ และไทยธรรมทั้งปวง แม้องค์เดียวก็ได้บุญมาก

วันนี้ฉันอยู่ได้ด้วยนมสี่กล่อง ก็คือนม ที่คุณ ณฐพลสรรค์ นำมามอบถวายไว้ ต้องรู้ใจหน่อย นมที่ฉันดื่มก็คือ นมเดนมากสระบุรี มีสองรสเท่านั้นคือ รสหวาน และ ช๊อกโกแลึค ส่วนนมจืดไม่ดื่มแต่จะนำมาทำอาหารประเภทแกงใส่ร่วมกับ กระทิ ดังนั้นถ้าไม่มีโครงการทำแกง หรือ กระทิ มานมจืดก็จะวางไว้อย่างนั้นไม่ได้ฉัน จนหมดอายุ

คุยกันพอได้สนทนาธรรม ไม่ได้มีอะไรในหัวข้อนี้
59

นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ
ข้าพเจ้าขอกราบขอขมา ต่อ สมเด็จพระสังฆราชพระญาณสังวร หลวงปู่สุก ไกเถื่อน และ ตลอดถึง หลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร อาจารย์ใหญ่ฝายกรรมฐาน คณะ 5 วัดราชสิทธาราม องค์ปัจจุบันผู้เรียบเรียงประวัติสมเด็จสุก โปรดอย่าได้เป็นโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยข้อความวันนี้เป็นข้อความตรงที่ ศิษย์ พยายามนำประวัติครูอาจารย์ มาแสดงแก่สาธุชน หากกล่าวพาดพิง เกิดเป็นการปรามาส โดยความประมาท ขอท่านทั้งสองโปรดยกโทษนั้นให้แก่ข้าพเจ้า ด้วยเถิด
อุปัชฌาอาจริยัง คุณัง วันทามิ
วันนี้จะได้มายกย่อง คุณแห่งครูอาจารย์ในสายกรรมฐาน มีหลวงปู่สุกเป็นปฐมาจารย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยจะยกประวัติคุณธรรมที่ยังความศรัทธาและความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นแก่สาธุชน ด้วยคำว่า สัมมา อรหัง สัมมา อรหัง สัมมา อรหัง อรหัง อรหัง อรหัง
ในสมัย พรรษาที่ 15 เป็นยุคกรุงธนบุรี หลวงปู่สุกยังอยู่ที่วัดท่าหอย มีใจความปรากฏในหนังสือ ประวัติหลวงปู่ โดยพระครูสิทธิสังวรเป็นผู้เรียบเรียง หน้า 167 มีการเล่าถึง การได้เรียน กรรมฐานพิเศษ เพื่อการตัดขันธ์ โดยพระอริยะที่เถราจารย์ที่มาสอนหลวงปู่ในนิมิตขณะนั้น หลวงพ่อพระครูได้ให้ชื่อ สมมุติบัญญัติว่า คำมา หรือถ้าเราจะเรียกก็ต้องเรียกว่าหลวงปู่คำมา ( ไม่ต้องหลวงทวด แค่หลวงปู่ก็เป็นการให้เกรียติสุด ๆ แล้ว ) ดังนั้ันข้าพเจ้าก็จะขอเรียกว่า หลวงปู่คำมา ซึ่งให้ความเคารพไม่ย่ิงหย่อนกว่า หลวงปู่สุกเช่นกัน สำหรับวิชาที่หลวงปู่คำมา นำมาสอนนั้น ท่านทั้งหลายสามารถอ่านรายละเอียดวิชาได้ทีหนังสือประวัติหลวงปู่ (ใครไม่มีก็ติดต่อขอซื้อได้ที่ คณะ 5 หรือ สนพ.สัปชัญญะ ราคา 250 บาท ) แต่ชือวิชาโดยตรง ก็คือ วิชาโลกุดรสยบมาร มีเนื้อหาใจความเป็นไปตามลำดับ ตั้งแต่เรื่องการตัดขันธ์ ตัวหลักวิชาการเดินจิต ผ่อนคลายจิต สยบเวทนา และ ฌานโลกุตร ซึ่งก็เป็นวิธีเดียวกันทั้งหมด แต่จุดประสงค์การเดินจิตตามหลักวิชานั้น ก็แตกต่างตามระดับที่ยกมาแสดง
ในที่นี้จะไม่พูดถึงหลักวิชา แต่จะพูดไปยาวเลยว่า วิชาโลกุดรสยบมาร หลวงปู่สุกท่านใช้บ่อยมาก ท่านใช้เพื่อการเข้าผลสมาบัติ และหลวงปู่เป็นพระภิกษุที่เข้าผลสมาบัติบ่อย ๆ การเข้าผลสมาบัติเป็นข้อยืนยัน ปฏิเวธ ดังนั้นคนที่เคารพศรัทธาหลวงปู่ ก็เพราะว่าเห็นการปฏิบัติ และ ปฏิเวธของท่าน ท่านเข้าผลสมาบัติบ่อยมากขนาดไหนก็ต้องกล่าวว่า เมื่อท่านมาสถิตย์ที่วัดพลับ หลังฉันภัตร์เสร็จ ก็เข้าผลสมาบัติในวันเลย นี่เป็นคุณอันยิ่งใหญ่อีกคุณหนึ่งแห่งคุณครูอาจารย์ที่แสดงปฏิเวธให้ปรากฏเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ ดังนั้นใครที่เรียนกรรมฐานเข้าประจักษ์แล้ว ไม่เข้าผลสมาบัติเลยภายในสองปี จึงเป็นเรื่องไม่สมควรเพราะปฏิเวธ เป็นสิ่งที่ต้องแสดงเหมือน ปริยัติ และ ปฏิบัตินั่นเอง ดังนั้นจะกล่าวว่า การเข้าผลสมาบัติเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำบ่อยไม่ถูกต้องเพราะครูอาจารย์ในสายกรรมฐานที่สืบทอดกันมานั้น ท่านเข้ากันแทบทุกอาทิตย์ทุกเดือนไม่ใช่ ปีหนึ่งทำครั้ง ดังนั้นป่วยการที่จะไปกล่าวไม่เข้า ไม่ทำเลย เป็นไปไม่ได้ เพราะ ปฏิเวธ เป็นสิ่งที่ต้องกระทำให้ประจักษ์เป็นการแสดงธรรม เช่น ปริยัติ และ ปฏิบัติ เช่นกัน
แถมท้าย เรื่องของคาถาพระยาไก่เถื่อน ( พญาไก่แก้ว ) อยู่ในหนังสือ ประวัติหลวงปู่ หน้าที่ 215 ผู้สอนคาถา คือ ครูบารุ่งเรือง สอนท่าน ในะระหว่างที่หลวงปู่ออกจากลำพูน กำลังจะถึงเชียงใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดอานุภาพ ในหนังสือหลวงพ่อพระครูสิทธิสังวรท่านได้เล่าไว้แล้ว
วันนี้จึงถือว่าเป็นโอกาสได้ยกครูอาจารย์มาเป็นแบบอย่างในการภาวนาให้ศิษย์ และท่านผู้มีศรัทธาในกรรมฐาน ได้มั่นคงในพระกรรมฐาน ภาวนากันอย่าได้ว่อกแว่ก มัวแต่ไปสอดรู้สอดเห็นเรื่องของคนอื่นกันมาก ให้หาเวลามาดูแลตนเองปรับปรุงจิตใจของเราให้ได้คุณธรรมให้เร็ว อย่าได้เป็นคนกลวง เป็นโมฆะบุรุษ ชื่อว่าได้เรียนธรรมของพระพุทธเจ้า มีครูอันเลิศ แต่หาคุณธรรมไม่ได้ เป็นคนกลวงอย่างนี้ไม่ดีเลย ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงใคร่ครวญแม้แต่ครูยังฉันยังยอมเสียเวลากักตนเองฝึกฝนภาวนา ไม่ยุ่งภาระกิจโลก เอาแต่ภาระกิจแห่งพรหมจรรย์ เวลาเราไม่รู้ว่าเหลือมาก หรือเหลือน้อย แต่เราจะใช้เวลานี้ ขณะนี้ ให้เป็นประโยชน์ในการดับกิเลส
เพราะการดับกิเลสไม่ได้ทำเพื่อให้คนอื่น มาสรรเสริญยกย่องบูชากราบไหว้ หรือมอบสักการะให้ แต่การดับกิเลสจะทำให้เราหนีจากความวุ่นวายของโลก ไม่ต้องมาเผชิญกับดีหรือชั่วต่อไป ในอนาคต แม้ที่สุดปัจจบันก็จะไม่ยุ่งกับโลกเป็นผู้อยู่เหนือโลก
สมดังพรรณนามานี้ เห็นว่าสมควรแก่คุณแห่งครูอาจารย์แล้ว จึงขอจบการอ้างอิงคุณแห่งครูอาจารย์ลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ โทษอันใดที่ข้าพเจ้าประมาทพลาดพลั้งเล่าผิด ไป ขอครูอาจารย์อย่าตำหนิเป็นโทษแก่ข้าพเจ้า ด้วยคุณแห่งข้าพเจ้าต้องการยกย่อง คุณแห่งครูอาจารย์เป็นที่ปรากฏให้มากขึ้น นั้นด้วย เทอญ
สัพพะ โสตถิ ภะวันตุเม ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพจ้า
เอวัง ก็มี ด้วยประการฉะนี้
60
วันนี้จำเป็นต้องมากล่าวเรื่องการทำ ทิฏฐิชุกัมม์ ( ทำให้ทิฏฐิให้ตรง ) หรือ สัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นถูกต้อง ) เพราะถ้าเห็นถูกต้อง ถึงจะชื่อว่า ดำเนินการภาวนาตาม มัชฌิมา

เนื่องด้วย ทิฏฐิ 62 ประการมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับ เจโตวิมุตติ เป็นส่วนใหญ่ เพราะเกิดจากประสบการณ์ ที่มีมาก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สืบเนื่องมาอย่างนั้นด้วยการเห็นอย่างนั้น จริง ๆ การเห็นชื่อว่าเห็นจริง เสมือนการเห็นท้องฟ้ากับทะเลติดกัน หรือ เห็นรางรถไฟปลายทางชนกัน การเห็นเป็นการเห็นจริง แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น เอาหัวข้อไว้ก่อนตอนนี้ คำบรรยาย จะมาแจกแจงไปเรื่อย ๆ ตามโอกาส ตามวาระ

ปุพพันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องต้น, ๑๘ ลัทธิ) -- อปรันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องปลาย, ๔๔ ลัทธิ)
- สัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกสัญญีวาท (๑๖ ลัทธิ)
- เอกัจจสัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกอสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
- อันตานันติกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
- อมราวิกเขปิกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกอุจเฉทวาท (๗ ลัทธิ)
- อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒ ลัทธิ - พวกทิฏฐธรรมนิพานวาท (๕ ลัทธิ)

ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นหรือทฤษฎีของพวกที่กำหนดขึ้น อาศัยส่วนของขันธ์ (เบญจขันธ์) อันเป็นอดีต แนวความคิดนี้อาศัยข้อมูลจากอดีตเป็นหลัก เป็นความรู้เกิดจากเจโตสมาธิ ย้อนสำรวจชาติในอดีตของตน โดยเอาตัวเองในปัจจุบันเป็นฐาน แล้วย้อนระลึกชาติกลับไปสู่อดีต โดยการสาวลึกและไกลไปเรื่อยๆ จนสุดกำลังญาณของตน สรุปว่า โลกแล้วอัตตาเป็นอย่างไร

(๑) หมวดเห็นว่าเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ) ๔
๑. เห็นว่า ตัวตน (อัตตา) และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ
๒. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้เป็นกัปป์ๆ ตั้งแต่กัปป์เดียวถึงสิบกัปป์
๓. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ ตั้งแต่สิบกัปป์ถึงสี่สิบกัปป์
๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่าโลกเที่ยง

(๒) หมวดเห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง (เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ เอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ) ๔
๕. เห็นว่า พระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง
๖. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยงพวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน (ขิฑฑาปโทสิกา)ไม่เที่ยง
๗. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่น (มโนปโทสิกา) ไม่เที่ยง
๘. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง ตัวตนฝ่ายจิตเที่ยง

(๓) หมวดเห็นว่ามีที่สุด และไม่มีที่สุด (อันตานันติกทิฏฐิ) ๔
๙. เห็นว่าโลกมีที่สุด
๑๐. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด
๑๑. เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบนกับด้านล่าง ส่วนด้านกว้าง หรือด้านขวาง ไม่มีที่สุด
๑๒. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่

(๔) หมวดพูดซัดส่ายไม่ตายตัวแบบปลาไหล (อมราวิกเขปิกทิฏฐิ) ๔
๑๓. เกรงว่าจะพูดปด จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ อย่างอื่นก็ไม่ใช่ มิใช่ (อะไร) ก็ไม่ใช่
๑๔. เกรงว่าจะยึดถือ จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑
๑๕. เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑
๑๖. เพราะโง่เขลา จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย

(๕) หมวดเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเอง ไม่มีเหตุ (อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ) ๒
๑๗. เห็นว่าสิ่งต่างๆ มีขึ้นเอง โดยไม่มีเหตุ เพราะเคยเกิดเป็นอสัญญีสัตว์
๑๘. นักเดา เดาเอาตามความคิดคาดคะเนว่า สิ่งต่างๆ มีขึ้นเองโดยไม่มี

อปรันตกัปปิกวาท ผู้ปรารภเบื้องปลาย ได้แก่ส่วนที่เป็นอนาคต มี ๕ กลุ่ม แบ่งย่อยออกเป็น ๔๔ สำนัก
(๑) กลุ่มสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตา หลังตายแล้วมีสัญญา (๑๖)
(๒) กลุ่มอสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว ไม่มีสัญญา (๘)
(๓) กลุ่มเนวสัญญีนาสัญญี พวกเห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (๘)
(๔) กลุ่มอุจเฉทวาท เห็นว่าสัตว์ตายแล้วสูญ (๗)
(๕) กลุ่มทิฏฐิธรรมนิพพานวาท เห็นว่าสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ตรงกับหลักการของลัทธิ Hedonism )
ใน ๕ กลุ่มของนักคิด สามกลุ่มแรกเห็นว่า อัตตา (อาตมัน) หรือวิญญาณ หลังตายแล้วยังมีอยู่ (อุทธมาฆาตนิกา) ในลักษณะเป็นทรัพย์ ( Substance ) เป็นตัวรองรับคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นตัวไปเกิดใหม่ สืบภพชาตินิรันดร (อโรคะ)

(๑) หมวดเห็นว่ามีสัญญา (สัญญีทิฏฐิ) ๑๖
๑๙. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๐. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๑. อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๒. อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
๒๓. อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๔. อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๕. อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๖. อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
๒๗. อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา
๒๘. อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา
๒๙. อัตตาที่สัญญาย่อมเยา ยั่งยืน มีสัญญา
๓๐. อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา
๓๑. อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
๓๒ อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
๓๓. อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา
๓๔. อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
ตนทั้ง ๑๖ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว ก็มีสัญญา คือความจำได้หมายรู้ทั้งสิ้น

(๒) หมวดเห็นว่าไม่มีสัญญา (อสัญญีทิฏฐิ) ๘
เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๓๕ ถึงข้อ ๔๒ ข้างต้น คือตนมีรูปจนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้วก็ไม่มีสัญญา คือไม่มีความจำได้หมายรู้

(๓) หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ) ๘
เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๔๓ ถึงข้อ ๕๐ ข้างต้น คือ ตนมีรูป จนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ทั้ง ๓ หมวดนี้ รวมเรียกว่า อุทธมาฆตตนิกา แปลว่า พวกที่มีความเห็นเกี่ยวกับสภาพเมื่อตายไปแล้ว จะเป็นอย่างไร

(๔) หมวดเห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗
๕๑. ตนที่เป็นของมนุษย์และสัตว์
๕๒. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ
๕๓. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากใจ
๕๔. ตนที่เป็นอากาสานัญจายตนะ
๕๕. ตนที่เป็นวิญญาณาสัญญายตนะ
๕๖. ตนที่เป็นอากิญจัญญายตนะ
๕๗. ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ทั้ง ๗ ประเภทนี้ เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก

(๕) หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ) ๕
๕๘. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน ๕๙,๖๐,๖๑,๖๒ เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน.

จบทิฏฐิ ๖๒

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร]
ทิฏฐิ ๖๒ สัสสตวาทะ ๔


หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10