กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
61
มูลกรรมฐาน ทั่วไป / ยินดีต้อนรับ สู่ บอร์ด กรรมฐาน
« กระทู้ล่าสุด โดย dhammawangso เมื่อ พฤศจิกายน 03, 2016, 10:28:02 am »
ยินดีต้อนรับ สมาชิกธรรม ที่เข้ามาสู่ ห้องพิเศษ ท่านเป็นผู้ที่ได้รับเลือกแล้วจึงได้เห็นข้อความ เพจนี้จะพูดและแสดงธรรมในเชิงลึก ซึ่งไม่สามารถนำไปกล่าวเป็นสาธารณะ ถ้าท่านไม่ต้องการรับทราบหรืออ่านก็ไม่จำเป็นต้องตอบรับใด ๆ เพราะข้อความที่นี่จะไม่เป็นสาธารณะ
วัตถุประสงค์ ของ เฟคนี้
1.ใช้สนทนาธรรมที่เกินขอบเขต สาธารณะให้แก่คนที่เลือกเข้ามาอ่านแล้ว ถึงท่านจะขอฉันเป็นเพือนตามระบบ ถ้าฉันอนุญาตก็เท่ากับยอมรับให้ท่านมีสิทธิ์อ่านเนื้อหา
2.ต้องการรักษาข้อความบางส่วนอันเกิดจากการที่ฉันละสังขารแล้วไม่มีใครดูแลเว็บ หรือต่ออายุ ไม่มีใครสานงานต่อจึงต้องทำข้อความบางส่วนไว้ให้มีอยู่สองชุด
เจริญธรรม / เจริญพร
ดังนั้นท่านที่เป็นเพื่อนตรงนี้ ที่มีสิทธิ์อ่านข้อความห้ามทำการสำเนาข้อความและภาพออกไปโดยมิได้รับอนุญาต จากฉันผู้เขียนข้อความและโพสต์ ไม่ว่าจะเป็นการถามตอบเป็นส่วนตัวก็ให้คงไว้ที่นี่ ฉันจะไม่รับผิดชอบข้อความที่อยู่นอกเฟค นอกกลุ่ม ดังนั้นถ้าฉันตรวจสอบด้วย App แล้ว่ามี Copy สำเนา หรือเห็นที่ไหนก็ตามที่มีคำพูดเหมือนกันและทราบว่าใครนำออกไปโพสต์ ให้ถือว่า มีการปรามาสฉันทันที และฉันจะลบท่านจากการเป็นสมาชิก ตามสมควร
62


วิชากรรมฐาน เป็นวิชา ที่มีจุดประสงค์เดียว คือ พระนิพพาน
คำว่า กรรมฐานเป็นคำใช้ในพระพุทธศาสนา สำหรับต่างศาสนา และ ลัทธิ นั้น คำว่ากรรมฐานเขาไม่ใช่ เขาใช้คำว่า โยคะบ้าง ตบะบ้าง เป็นต้น สำหรับในที่นี้ เฟคนี้ จะกล่าวแต่เรื่องกรรมฐานที่ เป็นไปในการสอนตามมูลกัจจายนะ เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันหลังจากได้ทำการตรวจสอบและศึกษา จากครูอาจารย์ ผู้ถ่ายทอดวิชา จึงทำให้ทราบว่า การสอนตามหลักมูลกรรมฐาน ยังมีเหลืออยู่หลายที่ แต่ที่มีการสอนรักษารูปแบบ ตอนนี้ก็คงเหลือที่ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ในชื่อว่า
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ หรือ กรรมฐาน โบราณ ซึ่งเป็นบัญญัติใหม่ ตามที่หลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ตั้งขึ้นมาเรียก ซึ่งในสมัยก่อน นิยมเรียกว่า มูลกรรมฐาน กัจจายนะ หรือ มูลกรรมฐาน เฉยๆ
ดังนั้นการเรียน มูลกรรมฐาน เป็นภาคสูงในสมัยก่อนเพราะจะเริ่มสอนวิชามูลกรรมฐาน ในขั้นเปรียญเอก ปัจจุบัน ระดับ ปธ 8 - 9 เขาก็ยังให้เรียนวิชาเกี่ยวกับกรรมฐานแต่ไปใช้ วิสุทธิมรรค แทน ซึ่ง ปธ 8 จะเรียนเข้มข้นมากกว่า ในเนื้อหาตำรา 3 ภาค
ดังนั้นในสมัยก่อน เปรียญตรี และ เปรียญโท จะต้องเรียน โยชนา กัจจายนะ ส่วนเปรียญเอกก็จะได้เรียน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ
ซึ่ง สมเด็จพระสังฆราช พระญาณสังวร องค์ที่ 4 ( หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ) ท่านได้เป็นผู้สืบทอดมาจาก กรุงศรีอโยธยา โดยไ้ด้รับมอบคัมภีร์เทศน์ลำดับธรรม ซึ่งเป็น คัมภีร์แสดง กรรมฐาน ที่จะต้องสอนให้กับผู้เรียน ตาม วาสนา จริต ตามความจำเป็นของบุคคลไป
ดังนั้นในยุคกรุงรัตนโกสิทร์ ต้องกล่าวว่า หลวงปู่สุก ไกเถื่อน เป็น ปฐมาจารย์ ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้สืบทอดต่อมาจาก กรุงศรีอโยธยา
ดังนั้นทุกท่านที่มาเรียนกรรมฐาน จงกล่าวคำนอบน้อมระลึกนึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณแห่งกรรมฐาน และคุณแห่งปฐมาจารย์ และ ครูผู้บอกกรรมฐาน นี้เถิด
อหัง คุณาจริยัง วันทามิ
สัมมา อรหัง สัมมา อรหัง สัมมา อรหัง
อรหัง อรหัง อรหัง
63


จากขวา ไปซ้าย
พระสุรวุฒิ สิริวัฒโก ,พระครูภาวนาอินทวงศ ,พระครูสิทธิสังวร ( พระอาจารย์ใหญ่ ) ,พระสนธยา ธมฺมวํโส ,พระธีรศักด์ ปญฺญาวชิโร ,พระนิพนธ์ ฉนฺทธมฺโม ,

ความสัมพันธ์ฉันท์ครูอาจารย์ กับ คณะ 5 มีมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2546 เดือน ม.ค.ในฤดูหนาว ดังนั้นได้ขึ้นกรรมฐาน ตรง กับพระครูสิทธิสังวร ในขณะนั้น แม้ไม่ได้เรียน กรรมฐาน กับท่านทั้งหมด แต่กรรมฐานที่ท่านสอนให้วันนั้น คือการ เดินจิต 10 กาย เริ่มตั้งแต่การเข้ากายละเอียด กายทิพย์ กายพระโสดาปัตติมรรค กายพระโสดาปัตติผล กายสกิทาคามิมรรค กายสกิทาคามิผล กายพระอนาคามิมรรค กายพระอนาคามิผล กายพระอรหัตตมรรค กายพระอรหัตตผล ใช้เวลาเรียน และทำตามโดยท่านเป็นผู้สอนตรงขณะนั้น 2.ชั่วโมง 40 นาที เริ่มเรียน 13.10 - 15.50 น.

ดังนั้น ท่านที่ขึ้นกรรมฐาน ก่อนฉันให้ถือว่าเป็นศิษย์ พี่ ส่วนท่านที่ขึ้นกรรมฐาน หลังฉัน ก็คือศิษย์น้อง หมายถึงต้องขึ้นกับหลวงพ่อพระครูสิทธิสังวรโดยตรง เท่านั้น

เจริญพรรับทราบตามนี้

ส่วนนี้ต้องการชี้แจงว่า กรรมฐานที่ฉันสอนนั้นไม่ได้สอนตามแนวทาง ของคณะ 5 แต่สอนตามแนวทาง มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ดังนั้น วิชาที่สอนอยู่นี้ไม่ได้มาจาก คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ให้ทำความเข้าใจ ให้ถูกต้อง จะได้ไม่ต้องมีผู้มาถามฉัน อย่างด้านนอกนี้ว่า จบกรรมฐาน กี่ห้องแล้ว ทำมาเป็นครูสอน

เพราะครูที่สอนฉันนั้น ท่านถ่ายทอดมูลกรรมฐาน ให้ฉันถ้ายังไม่เข้าใจให้ไปอ่านตรงนี้ก่อนอีกครั้ง เพื่อทำความเข้าใจว่า ใครเป็นครูฉันจริง ๆ

เล่า การฝึกกรรมฐาน ของ ธัมมะวังโส โดยย่อ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21601.0

พระอริยะ ไม่พูดขัดกัน และ ย่อมยกย่องซึ่งกันและกัน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20785.0
64

ใครฤา จะพ้นกรรมได้ แม้เป็นพระอรหันต์ ก็ใช่ว่าจะหนีกรรมได้

พวกเดียรถีย์ประชุมปรึกษาว่าเพราะเหตุไรลาภสักการะจึงบังเกิดมากมายแก่พระสมณโคดม.

เดียรถีย์คนหนึ่งบอกว่า ลาภสักการะเกิดขึ้นเพราะพระโมคคัลลานะชอบไปเที่ยวเทวโลก ถามถึงกรรมที่เหล่าเทวดากระทำ แล้วกลับมาบอกแก่พวกมนุษย์ว่า พวกเขาทำกรรมอะไรจึงได้สมบัติเช่นนี้ และถามกรรมของพวกที่เกิดในนรก แล้วกลับมาบอกแก่พวกมนุษย์ว่าพวกเขาทำกรรมอะไร จึงได้เสวยทุกข์เช่นนี้ มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังถ้อยคำของพระมหาโมคคัลลานะแล้ว จึงได้ถวายลาภสักการะใหญ่แก่พระสมณโคคมและพวกภิกษุ

แล้วเสนอความเห็นว่า ถ้าฆ่าพระโมคคัลลานะเสีย ลาภสักการะนั้นก็จักเกิดแก่พวกตน เดียรถีย์จึงชักชวนพวกอุปัฏฐากของตนให้รวบรวมเงินมาได้หนึ่งพันกหาปณะ แล้วเรียกโจรมาสั่งให้ไปฆ่าพระมหาโมคคัลลานะที่กาฬศิลา

พวกโจรได้เงินแล้วจึงไปล้อมสถานที่อยู่ของพระโมคคัลลานะ พระพระโมคคัลลานะรู้ว่าพวกโจรเหล่านั้นล้อมตนอยู่ จึงใช้ฤทธิ์ออกจากเสนาสนะ เวลาจำพรรษาผ่านไป ๒ เดือน ก็ยังทำอะไรพระเถระไม่ได้ เดือนสุดท้าย พระเถระรู้ว่าอกุศลกรรมที่เคยทำไว้จะติดตามทัน จึงไม่หลบหนี.

เมื่อพวกโจรจับท่านได้ พากันทุบตี ทำกระดูกของท่านให้มีขนาดเมล็ดข้าวสาร เมื่อคิดว่าพระเถระนั้นตายแล้ว จึงโยนร่างพระเถระไปหลังพุ่มไม้ แล้วหนีไป

พระโมคคัลลานะคิดว่า เราจักเฝ้าถวายบังคมพระศาสดาก่อน แล้วจึงจะปรินิพพาน จึงประสานร่างกายให้เหมือนเดิมด้วยฌาน แล้วเหาะไปยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ตนจักปรินิพพาน

พระพุทธเจ้าขอให้พระโมคคัลลานะกล่าวธรรมแล้วค่อยไป เพราะตั้งแต่นี้ไป จะไม่ได้เห็นสาวกเช่นพระโมคคัลลานะอีก

พระเถระถวายบังคมพระศาสดา เหาะขึ้นสู่อากาศ แสดงฤทธิ์แบบต่างๆ แล้วกล่าวธรรม ถวายบังคมลาพระศาสดาไปยังกาฬศิลา แล้วปรินิพพาน.

พิธีศพพระโมคคัลลานะ

ชาวเทวโลกทั้ง ๖ ชั้น เกิดโกลาหลว่า ข่าวว่า อาจารย์ของพวกเราปรินิพพานแล้ว ต่างถือของหอม มาลา ธูป เครื่องอบ และจันทน์จุรณอันเป็นทิพย์ ทั้งฟืนนานาชนิดมาประชุมกันแล้ว. สร้างจิตกาธารด้วยจันทน์แดง สูง ๙๙ ศอก

พระศาสดาประทับอยู่ใกล้ศพพระเถระ ตรัสสั่งให้จัดการปลงศพของพระโมคคัลลานะ รอบๆ สุสาน ฝนดอกไม้โปรยตกลงมา ในที่ประมาณโยชน์หนึ่ง มีมนุษย์ เทวดา ยักษ์ คนธรรพ์ นาค ครุฑ กินนรา กินนร ฉัตร สุวรรณจามร ธงชัย แผ่นผ้า. ผู้ที่มาประชุมทุกเหล่าต่างเล่นสาธุกีฬาอยู่ตลอดเจ็ดวัน.

พระศาสดาตรัสสั่งให้เก็บพระอัฐิธาตุของพระเถระมาทำเจดีย์บรรจุไว้ที่ซุ้มประตู พระเวฬุวันวิหาร.

เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูจับตัวคนร้ายและสมณะเปลือยทั้ง ๕๐๐ คนได้ ก็จับพวกโจรและพวกสมณเปลือยฝัง จากนั้นสุมด้วยฟางแล้วจุดไฟเผา แล้วให้เอาไถเหล็กไถซ้ำทำให้เป็นท่อนเล็ก ท่อนน้อย

บุพกรรมของพระโมคคัลลานะ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความตายของโมคคัลลานะ ไม่เหมาะสมแก่อัตภาพนี้ แต่เหมาะสมแท้แก่กรรมที่โมคคัลลานะนั้นทำไว้ในชาติก่อน

พระพุทธเจ้าจึงตรัสบุรพกรรมของพระโมคคัลลานะว่า

ในอดีตกาล มีกุลบุตรคนหนึ่งในนครพาราณสี ปฏิบัติดูแลบิดามารดาตาบอดด้วยตนเอง บิดามารดาก็เลยหาภรรยามาให้เพื่อช่วยงาน เมื่อภรรยาดูแลบิดามารดาได้ ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ไม่ปรารถนาจะเห็นคนทั้งสองอีก เวลาที่กุลบุตรออกไปข้างนอก นางจึงเอาชิ้นเปลือกปอและฟองข้าวยาคูมาโรยในที่ต่างๆ แล้วกล่าวว่าคนทั้งแก่ทั้งบอดเหล่านี้ ทำให้สกปรกไปทั่วเรือน นางไม่อาจอยู่ในที่เดียวกันกับคนเหล่านี้

เมื่อนางกล่าวอยู่บ่อย ๆ กุลบุตรผู้ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วก็แตกกับบิดา มารดา จึงกล่าวกับบิดา มารดาว่า พวกญาติที่อยู่ต่างหมู่บ้านต้องการให้ไปเยี่ยม เมื่อถึงกลางดง ก็ได้ทำเสียงให้เหมือนว่าเป็นพวกโจรดักปล้น ทุบตีพ่อแม่จนตาย โยนศพทิ้งในดงแล้วกลับมา.

ด้วยกรรมนี้ พระโมคคัลลานะไหม้อยู่ในนรกหลายแสนปี ด้วยผลวิบากที่เหลือ จึงเป็นผู้แหลกละเอียดเพราะทุบแล้วถึงความตายสิ้นร้อยอัตภาพ

พระโมคคัลลานะได้ความตายอันสมควรแก่กรรมของตนอย่างนี้ ฝ่ายพวกเดียรถีย์ ๕๐๐ กับโจร ๕๐๐ ประทุษร้ายบุตรของเราผู้ไม่ประทุษร้าย ก็ได้ความตายอันสมควรเหมือนกัน. เพราะผู้ประทุษร้ายในคนผู้ไม่ประทุษร้าย ย่อมถึงความพินาศเพราะเหตุ ๑๐ ประการ

บุคคลใดประทุษร้ายคนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้ไม่มีอาชญา ด้วยอาชญา ย่อมเข้าถึงฐานะ ๑๐ อย่าง อย่างใด อย่างหนึ่ง คือ

- ย่อมถึงเวทนาอันหยาบ ๑
- ความเสื่อม ๑
- ความแตกทำลายแห่งสรีระ ๑
- อาพาธหนัก ๑
- ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑
- ความขัดข้องแต่พระราชา ๑
- การกล่าวตู่อย่างร้ายแรง ๑
- ความสิ้นญาติ ๑
- ความผุพังแห่งโภคทรัพย์ ๑
- ไฟผู้ชำระย่อมไหม้เรือนของเขา ๑ เพราะกายแตกทำลาย คนปัญญาทรามนั้น ย่อมเข้าถึงนรก
65
1. พุทธานุสสติกรรมฐาน ( มัชฌิมา กรรมฐาน แบบลำดับ ) จบตรงนี้ต่อโดย อานาปานสติ

2.พุทธานุสสติกรรมฐาน ปฏิบัติคู่กับ อัปปมัญญากรรมฐาน

3.พุทธานุสสติกรรรมฐาน ปฏบัติคู่กับ วิปัสสนากรรมฐาน

4.มหาสติปัฏฐานสันโดด+กายคตาสติ

5.ฌานโลกียะ กสิณ10 อสุภะ10

6.อนุสสติ 7 ( สำหรับพระอริยะพระโสดาบันขึ้นไป )

7.โพชฌงค์ 7 ผลสมาบัติ สุญญาตาวิหารสมาบัติ ( สำหรับพระอริยะพระโสดาบันขึ้นไป )

66


สรุปว่าควรทำอย่างไร ในการภาวนา บ้าง
1.ควรขึ้นกรรมฐาน
- มอบตัวเป็นศิษย์
2.ควรขอขมา
-ชำระมลทิน
-กล่าวคำขอขมา
3.เลือกกรรมฐาน
4.ภาวนากรรมฐาน
5.ทบทวนการภาวนา เป็นเวลา 15 วัน
6.แจ้งกรรมฐาน ( การแจ้งกรรมฐานคือ วันที่ 15 )
ตอนนี้ ข้อ 1 - 2 นั้นอะไรทำได้ก่อน ก็ควรทำอันนั้น ถ้าไม่มีข้อ 1 - 2 ข้อที่ 6 จะไม่มี ดังนั้นในเฟคนี้ อนุญาตไว้ที่ไม่ได้เป็นศิษย์ คือข้อที่ 3 - 5 ก็มองด้วยปัญญา ก็น่าจะภาวนาได้ แต่มองตามธรรมเนียมก็น่าจะที่จะไม่ได้ ตราบในที่ยังไม่เป็นศิษย์ ดวงตาเห็นธรรม ก็ยังไม่เปิด
67
มูลกรรมฐาน ทั่วไป / 01-02 การให้ธรรมเป็นทาน ชนะ การให้ทั้งปวง - 01
« กระทู้ล่าสุด โดย dhammawangso เมื่อ พฤษภาคม 03, 2016, 01:05:25 pm »
ฟังไม่ทันส่วนไหน ละจ๊ะให้พระอาจารย์ พิมพ์เรื่อง 30 นาทีก็เยอะสิจ๊ะ
 
 สรุป เรื่องก็แล้วกัน ลองทำแบบกระทู้ดูนะ เพราะวันนี้เขาสอบธรรมศึกษากันนี่
 
 
 



สัพพะทานัง  ธัมมะทานัง ชินาติ     
การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
     
      บัดนี้จักบรรยายความตามกระทู้ พุทธศาสนสุภาษิต ที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้อง ต้นเพื่อเป็นแนวทางแห่งการภาวนาสืบต่อไป
     
     คำว่า "ทาน" แปลว่า  การให้ การมอบ ด้วยจุดประสงค์เพื่อต้องการบุญ คือ ความอิ่มใจ พอใจ และ  เต็มใจ ดังนั้นการให้ทาน จึงเป็นเรื่องของบุญกุศล เจตนา  และการให้ทานเป็นเครื่องหมายของคนฉลาดที่สั่งสมเสบียงไว้เพื่อกาลต่อไป  บุคคลที่ไม่ประมาท พึงสั่งสมเรื่องทานเป็นเรื่องแรก เพราะการให้ทานนั้น  เป็นเรื่องง่ายที่สุดของมนุษย์ ซึ่งต่างจากศีล เป็นต้นดังนั้น ผู้หวังในบุญ  และ เสบียงในภายภาคหน้า ก็พึงรักษาทาน ทำทาน สร้างทานไว้ มิให้ขาด  การให้ทานในพระพุทธศาสนาจำแนกรายละเอียดไว้ ถึง ขั้นละเอียดเลย  เป็นการให้ทานตั้งแต่พื้นฐานไป เรียวกว่า ทาน ๓ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐  ทานูปฏินิสัคคา ๘ เป็นต้น  หากกล่าวให้ละเอียดและเข้าใจนั้นเป็นเรื่องที่อาจจะต้องชี้แจงกันมาก  ดังนั้นขอสรุปแบบสำนวนไทย ๆ และจำง่าย ๆ ว่า การให้ทาน มีอยู่ ๓ แบบ
     
      การให้ทาน ๓ แบบนั้นเป็นไฉน ? การให้ด้วย วัตถุ ประการ ๑ การให้ด้วย น้ำแรง น้ำคำ และ น้ำใจ ๑ การให้ ธรรม เป็นทานอีก ๑                     
     
      การให้ด้วยวัตถุ เป็นไฉน ?  บุคคคลผู้รักบุญ เตรียมเสบียงพึงสละทรัพย์ อันเป็นวัตถุ  อันนี้เรียกว่าการให้ทานแบบพื้นฐาน ทรัพย์ คือ ปัจจัย ๔ อันประกอบ ด้วย  เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และ ยารักษาโรคการให้ทานพี้นฐาน  ก็มุ่งหวังให้ได้ได้บุญ เบื้องต้น ก็ประการนี้ ถึงแม้ขั้นสูง ก็ถึงกับ  สละอวัยวะ สละชีวิต เป็นทานเหมือนพระโพธิสัตว์ พระเวสสันดร เป็นต้น  การให้ทานแบบนี้เป็นเรื่องที่ต้องมีกำลังใจสูง  ทานนี้ต้องเป็นทานที่มีความบริสุทธิ์ ในทาน คือ จะให้สิ่งใดเป็นทาน  สิ่งนั้น ต้องประกอบด้วยความชอบ บริสุทธิ์ เป็นของตนจึงจักมีผลมาก  การให้ทานอย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เลือกผู้ให้ด้วย  จักได้บุญมากเช่นทำทานกับพระสงฆ์ ที่เป็นเนื้อนาบุญ  หรือการถวายสังฆทานเป็นต้น ทั้งหมดรวมเรียกว่า การให้ด้วยวัตถุ                   

     การให้ด้วย น้ำแรง น้ำคำ และ  น้ำใจ นั้นเป็นไฉน ? บุคคลที่มีกำลังใจสูง มีทรัพย์น้อย หรือมีมาก  แต่หากเห็นว่าการให้ทานที่เป็นวัตถุนั้น มีคนทำกันมากแล้ว หรือ  ไม่มากแต่อยากทำเพิ่มด้วยการสละแรงกาย แรงวาจา แรงใจ  ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนเป็นต้น ยกตัวอย่างเช่นอุทกภัยที่เกิด  มีคนสละทรัพย์กันมากมาย แต่ไม่มีใครขนไปดำเนินการให้  เห็นสมควรต้องช่วยเรียวแรง ก็ทำทานด้วย น้ำแรง น้ำคำ และ น้ำใจ อย่างนี้  เห็นบุคคลอื่นทำความดี ก็ร่วมกล่าวอนุโมทนา ดังนี้เป็นต้น อันนี้เรียกว่า  การให้ด้วยน้ำแรงคือ กายกรรม การให้ด้วย น้ำคำ คือ วจีกรรม การให้ด้วย  น้ำใจ คือ มโนกรรม               

     การให้ธรรมทาน เป็นไฉน ?  บรรดาการให้ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น  ไม่มีสิ่งใดเสมอได้เท่ากับการให้ธรรมะเป็นทาน เนื่องด้วย การให้วัตถุทาน  ไม่ได้เปลี่ยนให้คนเลว เป็นคนดีได้ การช่วยเหลือ ด้วยน้ำแรง น้ำคำ และน้ำใจ  ก็เช่นเดียวกัน แต่การให้ธรรมเป็นทาน นั้น สามารถเปลี่ยน คนเลวให้เป็นคนดี  เปลี่ยนคนดีให้เป็นเทวดา เปลี่ยนเทวดา ให้เป็นพรหม เปลี่ยนพรหม  เป็นพระอริยะ นับว่าการให้ธรรมะนั้นเป็นเรื่องประเสริฐ สุดยอดจริง ๆ  การให้ธรรมะ ก็คือการทำบุคคลตั้งมั่น อยู่ ในศีล อยู่ในสมาธิ และ  อยู่ในปัญญา  อันเป็นธรรมะนำทางสู่การสิ้นกิเลสไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิด  เพราะการให้ธรรมะ มีความประเสริฐอย่างนี้  พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสไว้รับรองว่า

         
สัพพะรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง
สัพพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะ ความยินดีทั้งปวง

       เพราะธรรมะ ย่อมมีรสชาด  ที่จิตรับได้ ตลอด นั่นคือความยินดี ความพอใจ ความอิ่มใจ จึงกล่าวได้ว่า  ธรรมะเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ไม่มีสิ่งใดประเสิรฐที่สุดกว่าธรรมะแล้ว  เพราะัธรรมะทำให้มีพระพุทธเจ้า เพราะธรรมทำให้เรามีที่พึ่ง  เพราะธรรมะทำให้เราสิ้นกิเลส หมดความทุกข์ อันธรรมดาบุคคล ได้ในวัตถุ  ย่อมมีความอิ่มใจ สุขใจ ที่ได้มีวัตถุ มีบ้าน มีรถ มีปราสาท มีเงิน มีทอง  แต่ความสุขในชีวิตนั้น ไม่ใช่อยู่ที่วัตถุ มีเพียงธรรมะเท่านั้น  ที่จะทำให้ถึงบรมสุข นี้ได้ ดังนั้นผู้ใดได้ทำทาน ก็พึงรักษา ทานทั้ง ๓  ไว้มิได้แต่เพียงให้ทำทานด้วยวิธีใด วิธีหนึ่ง แต่หากทานทั้ง ๓  นั้นต้องทำควบคู่กันไป ผู้ใดสร้างทานเป็นนิสัย ชีวิตย่อมมีความสุข  บริบูรณ์ด้วยโภคะ อันปรารถนา ชะรอยบรรดาคนที่เกิดมายากจนในปัจจุบันนี้  อาจจะเป็นเพราะไม่ได้สั่งสมการให้ทานจึงทำให้ชีวิต อัตคัตขัดสน  ก็เป็นที่ประจักษ์ดังที่ทราบ และถึงแม้ ร่ำรวยเป็นเศรษฐีพันล้าน หมื่นล้าน  หากแต่ขาดธรรมะ แล้ว เงินพันล้าน หมื่นล้าน  ก็มิได้สร้างความสุขให้อย่างแท้จริง

        สรุป การให้ธรรมเป็นทาน  นับได้ว่าเป็นความเลิศในทานทั้งปวง ผู้หวังในคุณงามความดี  มีสติปัญญาพึงมั่นสะสมทานไว้ให้ เพราะทานที่เป็นเลิศ  ประเสริฐที่สุดในทานทั้งปวง นั่นก็คือธรรมทาน  สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกไว้ในเบื้องต้นว่า

 
สัพพะทานัง  ธัมมะทานัง ชินาติ     
การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
       
     
      ดังวิสัชชนามาก็เห็นว่าสมควรแก่ ศรัทธา ความเชื่อ วิริยะความพากเพียร และ ปัญญา จึงขอยุติการแสดงธรรมไว้แต่เพียงเท่านี้  เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้ ฯ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10