ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก  (อ่าน 10936 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก
ถึงแม้พระสงฆ์ รู้จักแล้ว ทำไมไม่ปฏิบัติ ตามหลักของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ผมเห็น และ ไปภาวนามาหลายที่
พระสงฆ์ส่วนใหญ่ จะส่ายหน้า บอกว่า สู้ มหาสติปัฏฐาน 4 ไม่ได้บ้าง
บางท่านถึงกับบอกว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ที่มา ที่ไป ไม่ชัดเจน ทั้งที่ มีหนังสือมากมาย

มีพระมหากษัตริย์ ถึง 4 พระองค์ในกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นศิษย์ มีพระสัีงฆราช ทำการเผยแผ่ ถึง 5 พระองค์

ทำไม กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงไม่แพร่หลาย และ ไม่เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

noppadol

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 144
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
0
บนเกาะหมุย บ้านผม ไม่มีพระวัดไหนรู้จักเลยครับ

ผมเองก็สงสัยเหมือนกัน

มีแต่รู้จัก แต่พ่อท่านคล้าย ครับ
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คำถามของคุณกิติศักดิ์เป็นคำถามที่ตอบยาก ผู้ตอบควรจะอยู่ในระดับผู้สืบทอดพระกรรมฐานมีความเข้าใจกรรมฐานมัชฌิมาเป็นอย่างดี และควรได้อ่านหนังสือทุกเล่มมาแล้ว

ตัวผมเองเพิ่งมาสนใจไม่กี่เดือนมานี่เอง หนังสือต่างๆก็อ่านเพียงเล็กน้อย การปฏิบัติยังอยู่ในห้อง
ปิติ ๕ แต่ในเมื่อคุณต้องการคุยเรื่องนี้ ผมเลยหาข้อมูลมาให้วิเคราะห์กัน

ขอคัดลอกบางตอนจากหนังสือ ตำนานการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแสดงดังนี้


พระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล ครั้งตติยสังคายนา
พุทธกาลล่วงแล้วได้ประมาณ  ๒๑๖ ปี  ก่อนตติยสังคายนา จึงหมดพระกรรมฐานแบบสันโดดคือ การเจริญพระกรรมฐานแบบกองใด กองหนึ่ง อย่างใด อย่างหนึ่ง ของพระมหาสาวกทั้งหลาย เหลือแต่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นพระกรรมฐานทางสายกลาง  ของพระราหุลเถรเจ้า

เหตุที่เรียกพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง เป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนาทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน เพื่อไม่ให้พระสมถะกรรมฐาน ๔๐กอง และพระวิปัสสนาทั้งมวล แตกกระจายสูญหายไปในทางปฏิบัติ (คือไม่เหลือ แต่ตำรา) อีกทั้งไม่ให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใด กองหนึ่ง
พระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นของ พระผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นเลิศทาง เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา คือ พระราหุลเถรเจ้า
--------------------------------------------------------

จากข้อความด้านบนจะเห็นว่า กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นการเรียนสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานทุกกองทุกฐานที่มีอยู่  จะไม่เลือกเรียนเฉพาะกองใดกองหนึ่ง หรือฐานใดฐานหนึ่ง   เหตุที่ต้องเรียนทั้งหมดเพราะ พระราหุลผู้ให้กำเนิดกรรมฐานนี้ เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา พูดง่ายๆก็คือ ชอบที่จะเรียนทุกอย่าง

ผู้ที่จะเรียนกรรมฐานทุกอย่างได้ ต้องใช้เวลานาน ต้องมีวาสนาบารมีมาก่อน และมีอัชฌาสัยที่จะเป็นอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิปัตโต อรหันต์ปฏิสัมภิปัตโตเป็นอย่างไร ขออธิบายดังนี้


ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค(เป็นคัมภีร์หนึ่งที่สืบทอดมาจากกรรมฐานมัชฌิมา) ได้แบ่งอรหันต์ตามอัชฌาสัยไว้ ๔ ประเภท คือ
-   สุกขวิปัสสก (ไม่มีฤทธิ์)
-   เตวิชโช (มีฤทธิ์ ๓ อย่าง)
-   ฉฬภิญโญ (มีฤทธิ์มากกว่าเตวิชโช)
-   ปฏิสัมภิปัตโต หรือ ปฏิสัมภิทาญาณ (มีฤทธิ์มากที่สุด)


พูดง่ายๆก็คือ แบ่งตามอิทธิฤทธิ์นั่นเอง หากต้องการมีฤทธิ์มากๆก็ต้องเป็นอรหันต์ปฏิสัมภิปัตโตอรหันต์ประเภทนี้ต้องเรียนกรรมฐานทุกกอง เมื่อต้องเรียนทุกอย่างแบบนี้ จึงเป็นสาเหตุให้ต้องใช้เวลาที่นานมาก

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่จะเข้าสู่นิพพานได้นั้น ไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีอิทธิฤทธิ์แต่ประการใด ดังเช่นอรหันต์ประเภทแรก คือ สุกขวิปัสสก อรหันต์ประเภทนี้ มีแนวปฏิบัติที่เรียบง่ายและลัดสั้น คือ จะเดินวิปัสสนาไปเลย โดยไม่มีการฝึกสมาธิ เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะได้สมาธิไปเองและเป็นอรหันต์ในที่สุด

   สำหรับเตวิชโชและฉฬภิญโญนั้นต้องเรียนกรรมฐานหลายกอง ฉฬภิญโญต้องเรียนกรรมฐานมากกว่าเตวิชโช(แต่น้อยกว่าปฏิสัมภิปัตโต) เนื่องจากต้องการมีอิทธิฤทธิ์ที่สูงกว่านั่นเอง

   ความเนิ่นช้า ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อถึงที่สุด ก็ขอเอาตัวรอดไปก่อน ด้วยเหตุนี้อรหันต์ปฏิสัมภิปัตโตจึงมีน้อยมาก เมื่อผู้ปฏิบัติได้มีน้อย จึงทำให้ผู้สืบทอดกรรมฐานมัชฌิมาน้อยลงไปด้วย

นั่นคือคำตอบของคำถามที่ว่าทำไมกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไม่เป็นที่แพร่หลาย

ขอให้ธรรมคุ้มครอง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
ผมลองวิเคราะห์ดูเหมือนกัน กับกลุ่มเพื่อน ๆ พอจะสรุปได้คร่าว ๆก่อน แต่ไม่รู้จะตรงใจเพื่อน ๆ กันหรือไม่

1.ในยุคนี้ เป็นยุคที่คนมุ่งการปฏิบัติไปตามความเข้าใจเป็นหลัก เพราะเป็นช่วงวัตถุนิยม ประกอบด้วยเครื่องล่อใจมากมาย ทำให้พื้นฐานคนปัจจุบัน มุ่งที่ความเข้าใจเป็นหลัก
2.การภาวนา ต้องมีความสงบ ในยุคนี้นั้น สื่อ ต่าง ๆ ไม่ได้ส่งเสริมเรื่องความสงบ
3.การทำงาน ประกอบอาชีพเป็นหลักนั้น ทำให้คนไม่มีเวลาภาวนา
4.ขั้นตอนกรรมฐาน มีการภาวนาที่ดูมากมาย ซึี่งคนทั่วไปยากที่จะจำหรือนำไปปฏิบัติ เช่น บอกให้ นำพุทโธ รวมที่จุด ฐานจิต นั้น คนทั่วไปเห็นว่ายาก แต่ถ้าผนวกกับลมหายใจ เห็นว่าทำมากกว่า
5.บางกลุ่ม มีการแอนตี้เรื่องสมาธิ เพียงกล่าวว่า ความสำคัญอยู่ที่ วิปัสสนา แค่ ขณิกะสมาธิ ก็เหลือเฟือ ในการวิปัสสนา
6.ผู้ปฏิบัติ ภาวนา มีจำนวนน้อยมาก
7.ผู้สืบกรรมฐาน ก็มีน้อยมากๆๆๆ

และอีกหลายสาเหตุ โดยรวมแล้ว เพื่อน ๆ ผมเห็นว่า ภาวนายาก กว่าการฝึกสติปัฏฐาน 4 หรือตามดูิจิต เป็นต้น
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

Program

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 22
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 1
                                หัวใจสมถกัมมัฏฐาน
        มีพระบรมพุทโธวาทประทานไว้ว่า  " สมาธึ  ภิกฺขเว  ภาเวถ
สมาหิโต  ยถาภูต  ปชานาติ"  ดังนี้  แปลความว่า  ภิกษุทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงยังสมาธิให้เกิด  ชนผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว  ย่อมรู้
ตามจริง.
        เพราะเหตุอะไร  พระศาสดาจึงทรงชักนำในอันบำเพ็ญสมาธิ.
เพราะในที่ได้รับอบรมดีแล้ว  ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใหญ่.  คน
เราจะทำจะพูดดีหรือเสียก็เพราะใจ  ลำพังกายเหมือนรูปหุ่น  ใจเหมือน
คนชัก  รูปหุ่นจะกระดิกพลิกแพลงไปเท่าไร  ก็ส่อใจของคนชัก  ฉันใด
อาการกายและวาจาจะเป็นไปอย่างไร  ก็ส่ออาการของใจ  ฉันนั้น.  อีก
อย่างหนึ่ง  กายเหมือนเรือ  ใจเหมือนนายเรือ  ถ้านายเรือไม่ได้
รับความฝึกหัดชำนิชำนาญหรือประมาทไป  ก็จะพาเอาเรือไปเป็น
อันตรายเสีย  ต่อเป็นผู้ได้ศึกษาและมีสติ  จึงจะสามารถพาไปถึงท่า
ฉันใด  ใจก็ฉันนั้น  ที่ชั่วและปล่อยให้และมีสติ  จึงจะสามารถพาไปถึงท่า
ฉันใด  ใจก็ฉันนั้น  ที่ชั่วและปล่อยให้ละเลิง  ก็จะชักจูงให้ประพฤติ
ชั่วทางกายทางวาจามีประการต่าง  ๆ  ล้วนแต่เป็นส่วนเสียหาย  ถ้า
ได้รับอบรมในทางดี  จึงจะชักจูงในทางดี.  ท่านกล่าวว่า ใจที่ไม่ได้
อบรม  อาจทำให้คนฉิบหายเสียได้  ยิ่งกว่าโจรหรือคนมีเวรจะทำให้
เสียอีก  ใจที่ได้รับอบรม  อาจำให้คนดี  ยิ่งกว่ามารดาบิดาและญาติ
ผู้รักใคร่จะพึงทำให้ได้  เพราะเหตุนั้น พระศาสดาผู้ทรงพระกรุณาใหญ่
 


+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+

ผมเก็บมาจากหนังสือนักธรรมที่คะณะสงฆ์ใช้เล่าเรียนกันในปัจจุบันนะครับ
บันทึกการเข้า

Program

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 22
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 2
แสวงหาประโยชน์แก่ประชาชน  จึงได้ทรงชัดนำในอันบำเพ็ญสมาธิ.
        สมาธินั้นพึงรู้อย่างนี้  ใจนี้อบรมดีแล้ว  ย่อมเห็นอรรถเห็นธรรม
แจ้งชัด  ทำอะไรย่อมจะสำเร็จ.  แต่ใจนี้  โดยปกติมีอารมณ์ไม่ดีเข้า
ขัดขวางไม่ให้แน่แน่วลงได้  ซึ่งเรียกว่านีวรณ์.  นีวรณ์ท่านแจกเป็น ๕
ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม  เรียกกามฉันทะ ๑  ความงุ่นง่าน
ด้วยกำลังโทสะ   อย่างสูงถึงให้จองล้างจองผลาญผู้อื่น  เรียกชื่อ
ตามอาการถึงที่สุดว่าพยาบาท ๑  ความท้อแท้หรือคร้านและความง่วง
งุน  รวมเรียกว่าถีนมิทธะ  เพราะเป็นเหตุหดหู่แห่งจิตเหมือนกัน
นี้จัดเป็นนิวรณ์อีก  ๑  ความฟุ้งซ่านหรือคิดพล่านและความจืดจากเร็ว
รวมเรียกว่าอุทธัจจกุกกุจจะ   เพราะเป็นเหตุกำเริบไม่อยู่ที่แห่งจิต
เหมือนกัน  นี้จัดเป็นนีวรณ์อีก  ๑  ความลังเลไม่แน่ลงได้  เรียก
วิจิกิจฉา  ๑.  สมัยใดนีวรณ์  ๕  อย่างนี้  แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง  ครอบงำ
จิต  บุคคลย่อมไม่อาจคิดเห็นอรรถธรรม  เมื่อเป็นเช่นนี้  ย่อมไม่อาจ
ประกอบกิจให้สำเร็จประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน.  การทำจิตให้ปลอด
จากนีวรณ์เหล่านี้  รักษาให้แน่แน่ว  ชื่อว่าสมาธิ.
        พระศาสดาประทานพระธรรมเทศนา  เพื่อเป็นอุบายชำระจิตให้
ปลอดจากนีวรณ์มีประการต่าง  ๆ   พระโบราณาจารย์จัดรวบรวมเข้า
เป็นหมวด   เรียกว่ากัมมัฏฐาน  มีประเภทต่างกัน  โดยสมเป็น
อุบายสำหรับชำระนีวรณ์ชนิดหนึ่ง ๆ.  คิลานเภสัชเพ่งเฉพาะกิจคือ
แก้โรค  ย่อมเป็นของมีคุณ  แต่โรคมีต่าง ๆ ชนิด  เภสัชก็จำมีต่าง ๆ
ขนาดให้ถูกกันฉันใด  กัมมัฏฐานก็ฉันนั้น  เพ่งเฉพาะกิจคือชำระจิต
 


+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+

ผมเก็บมาจากหนังสือนักธรรมที่คะณะสงฆ์ใช้เล่าเรียนกันในปัจจุบันนะครับ
บันทึกการเข้า

Program

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 22
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 
นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 3
จากนีวรณ์  ย่อมเป็นธรรมอันดี  แต่นีวรณ์มีหลายอย่าง  กัมมัฏฐาน
จึงต้องมีต่างประเภทให้เป็นคู่ปรับกัน.
        อันผู้จะเจริญกัมมัฏฐาน  ต้องรู้จักเลือกประเภทอันเป็นสบายของ
ตน.  เหมือนคนใช้ยา  ต้องรู้จักชนิดอันเป็นสบายแก่โรค  ไม่ใช่ว่า
เป็นยาแล้วเป็นของสบายทุกขนาน  บางอย่างอาจเป็นของแสลงแก่โรค
บางอย่าง   เช่นยาร้อนเป็นของแสลงแก่โรคไข้  กัมมัฏฐานก็เหมือน
กัน  ไม่ใช่เป็นธรรมสบายแก่ทุกคน  ไม่ถูกเหมาะอาจให้โทษ  เช่น
คนมีมิทธะคือง่วงงุนเป็นเจ้าเรือน  กัมมัฏฐานที่ให้นึกหรือเพ่งเฉพาะ
อารมณ์อันเดียวย่อมจะชักให้ง่วงหนักเข้า.
        บุคคลผู้มีกามฉันท์เป็นเจ้าเรือน  มักรักสวยรักงาม  ควรเจริญ
อสุภกัมมัฏฐานพิจารณาซากศพ  หรือเจริญกายคตาสติพิจารณาร่างกาย
อันยังเป็นให้เห็นเป็นของน่าเกลียด.  บุคคลผู้มีพยาบาทเป็นเจ้าเรือน
มักโกรธขึ้งเกลียดชัง  ควรเจริญเมตตา  กรุณา  มุทิตา  ๓  พรหมวิหาร
หัดจิตให้กลับคิดในทางให้เกิดรัก  เกิดสงสาร  เกิดยินดี.  บุคคลมี
ถีนะก็ดี   มีมิทธะก็ดี  เป็นเจ้าเรือน  มักย่อท้อในกิจการ  ควรเจริญ
อนุสสติกัมมัฏฐาน  พิจารณาความดีของตนบ้าง  พิจารณาคุณของพระ
พุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์บ้างเพื่อให้มีแก่ใจหวนอุตสาหะ  เป็นอุบาย
แก้ถีนะ  เพื่อใช้ความนึกกว้าง ๆ เป็นทางแก้มิทธะ.  บุคคลผู้มีอุทธัจจะ
ก็ดี  มีกุกกุจจะก็ดี   เป็นเจ้าเรือน  ควรเพ่งกสิณ  เพื่อหัดผูกใจไว้ใน
อารมณ์อันเดียว  หรือเจริญกัมมัฏฐานอันจะให้ใจเหี่ยวด้วยสังเวชเช่น
มรณัสสตินึกถึงความตาย.  บุคคลผู้มีวิจิกิจฉาเป็นเจ้าเรือน  ควรเจริญ
 

+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+

ผมเก็บมาจากหนังสือนักธรรมที่คะณะสงฆ์ใช้เล่าเรียนกันในปัจจุบันนะครับ
บันทึกการเข้า

Program

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 22
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

 
นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 4
ธาตุกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน  เพื่อกำหนดรู้สภาวธรรมที่เป็น
อยู่อย่างไร.
        ในบุคคลผู้เดียว  นีวรณ์เหล่านี้  อาจเข้าครอบงำในต่างขณะ.  ใน
สมัยใด  นีวรณ์ชนิดใดครอบงำ  ในสมัยนั้น  ควรเจริญกัมมัฏฐาน
อันเป็นเครื่องแก้นีวรณ์ชนิดนั้น  พึงข่มจิตลงในสมัยที่เป็นไปพล่าน
พึ่งยกจิตขึ้นในสมัยที่หดหู่  พึงประคองจิตไว้ในสมัยที่เป็นไปสม่ำเสมอ
พึงทำจิตให้อาจให้ควรแก่การงาน.
        อาการที่รู้จักทำจิตให้ปลอดจากนีวรณ์เป็นจิตอาจ เป็นจิตควร
แก่การงานในคราวต้องการ  ดังนี้  ชื่อว่าสมาธิ  แปลตามศัพท์ว่า
ตั้งจิตไว้มั่น.
        สมาธินี้  เป็นกำลังสำคัญในอันจะให้คิดเห็นอรรถธรรมและเหตุ
ผลอันสุขุมลึกลับ  พระศาสดาจึงตรัสไว้ในพระบาลีว่า  "สมาหิโต
ยถาภูต  ปชานาติ"   ผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว  ย่อมรู้ตามเป็นจริง  ใจดวงเดียว
นึกพล่านไปในอารมณ์ต่าง  ๆ  ย่อมคิดติดแลไม่เห็นทาง  ต่อนึกดิ่งลงไป
ในอารมณ์เดียวเป็นสมาธิ  จึงจะคิดเห็นปรุโปร่ง  ดุจดังน้ำบ่าไป
หลายทาง  จะให้กำลังพัดเครื่องจักรไม่ได้แรงเหมือนทำให้บ่าลงทาง
เดียวฉะนั้น.    สมาธิก็คือรวมความคิดของใจให้ดิ่งลงไปในทางเดียว
จึงเป็นกำลังอันใหญ่ให้แทงตลอดอรรถธรรม  และเหตุผลอันสุขุม.
        สมาธินั้น  ที่เป็นอย่างต่ำ  ไม่แน่แน่วจริง ๆ ทำได้เป็นอย่างดี
ก็เป็นแต่เฉียด  ใกล้ ๆ  เรียก  อุปจารสมาธิ  ที่เป็นอย่างสูง  เป็นสมาธิ
อย่างแน่นแฟ้น  แน่แน่วลงไปจริง ๆ  เรียก  อัปปนาสมาธิ  สมาธิ
 

+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+

ผมเก็บมาจากหนังสือนักธรรมที่คะณะสงฆ์ใช้เล่าเรียนกันในปัจจุบันนะครับ
บันทึกการเข้า

Program

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 22
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 
นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 5
อย่างต่ำ   มีได้แก่สามัญชน  ท่านจัดเป็นแต่กามาวจรธรรม  คือเป็น
อารมณ์ของสัตว์ผู้หน่วงกามคุณ.    สมาธิอย่างสูง  คืออัปปนาสมาธิ
เฉพาะมีแก่บางคนที่เป็นผู้วิเศษ    ท่านจัดว่ารูปาวจรธรรม  คือเป็น
อารมณ์ของท่านผู้หน่วงรูปธรรม   ยกเป็นคุณสูงขึ้นอีกชั้นหนึ่ง  เรียก
ว่าฌานโดยมากกว่าอย่างอื่น   แจกเป็น  ๔  ตามที่นิยมมากในพระ
พุทธศาสนา  เรียกว่ารูปฌาน  เพราะมีรูปธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็น
อารมณ์.  ฌาน  ๔  นั้น  เรียกชื่อตามลำดับปูรณสังขยาว่า  ที่ ๑  ที่ ๒
ที่ ๓  ที่  ๔  หรือใช้ศัพท์เช่นนั้นในภาษามคธว่า  ปฐมะ  ทุติยะ  ตติยะ
จตุตถะ  ท่านกำหนดด้วยองค์สมบัติดังนี้ :-
        ๑.  ปฐมฌาน  มีองค์  ๕  คือ  ยังมีตรึก  ซึ่งรียกว่าวิตก  และ
ยังมีตรอง  ซึ่งเรียกว่าวิจาร  เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ
แต่ไม่ประกอบด้วยกิเลสกามและอกุศลธรรม  ซ้ำมีปีติคือความอิ่มใจ
และสุขคืนความสบายใจเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ  กับประกอบด้วย
จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไป  ซึ่งเรียกว่าเอกัคคตา.
        ๒.  ทุติยฌาน  มีองค์ ๓  ลิวิตกวิจารเสียได้  คงอยู่แต่ปีติและ
สุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคคตา.
        ๓.  ตติยฌาน  มีองค์  ๒  คงอยู่แต่สุขกับเอกัคคตา.
        ๔.  จุตตถฌาน  มีองค์  ๒  เหมือนกัน   ละสุขเสียได้   กลางเป็น
อุเบกขา  คือเฉย ๆ  กับเอกัคคตา.
        ฌาน  ๔  นี้  จัดเป็นอุตตริมนุสสธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธ
ศาสนา.   แต่ในเวลาทุกวันนี้  ธรรมอย่างสูงเช่นฌาน  ก็เป็นคุณที่เกิน
 
 
นักธรรมเอก - สมถกัมมัฏฐาน - หน้าที่ 6
ต้องการของคนทั้งหลาย  หรือจะเรียกว่าผลที่เอื้อมไม่ถึง  แม้เช่นนั้น
สมาธิอย่างต่ำ  ก็ยังมีประโยชน์มากดังกล่าวแล้ว  เป็นคุณที่ยังควร 
ปรารถนา  เหตุดังนั้น  จักกล่าวกัมมัฏฐานบางอย่าง  อันเป็นคู่ปรับแก่
นีวรณ์  ๕ เพื่อเป็นอุบายอบรมสมาธินั้น.
 ฯลฯ  กายคตาสติ   เมตตา   พุทธานุสสติ   กสิณ  ฯลฯ
+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+

ผมเก็บมาจากหนังสือนักธรรมที่คะณะสงฆ์ใช้เล่าเรียนกันในปัจจุบันนะครับ

ยาวมากประมาณ 170 กว่าหน้า เฉพาะสมถะ ผมยกมา 6 หน้า เฉพาะหัวใจสมถะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2010, 09:11:33 pm โดย Program »
บันทึกการเข้า

sangtham

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 53
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ฌาน  ๔  นี้  จัดเป็นอุตตริมนุสสธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธ
ศาสนา.   แต่ในเวลาทุกวันนี้  ธรรมอย่างสูงเช่นฌาน   :58:  แม้เช่นนั้น
สมาธิอย่างต่ำ  ก็ยังมีประโยชน์มากดังกล่าวแล้ว  เป็นคุณที่ยังควร
ปรารถนา  เหตุดังนั้น  จักกล่าวกัมมัฏฐานบางอย่าง  อันเป็นคู่ปรับแก่
นีวรณ์  ๕ เพื่อเป็นอุบายอบรมสมาธินั้น.

อ้างถึง
หรือจะเรียกว่าผลที่เอื้อมไม่ถึง
ข้ัอความขัดแย้ง กับ ข้อความที่สอน

แสดงให้เห็นว่าผู้แต่ง ไม่คิดว่าจะมีผู้ปฏิบัติได้

อ้างถึง
จักกล่าวกัมมัฏฐานบางอย่าง  อันเป็นคู่ปรับแก่
นีวรณ์  ๕ เพื่อเป็นอุบายอบรมสมาธินั้

สมาธิอย่างต่ำ จักดับนิวรณ์ได้อย่างไร
นิวรณ์ทั้ง 5 จักดับได้ตั้งแต่ สมาธิ ระดับไหน ต้องวิจารณ์หน่อยนะ
 :96:
อ้างถึง
บุคคลผู้มีกามฉันท์เป็นเจ้าเรือน  มักรักสวยรักงาม  ควรเจริญ
อสุภกัมมัฏฐานพิจารณาซากศพ  หรือเจริญกายคตาสติพิจารณาร่างกาย
อันยังเป็นให้เห็นเป็นของน่าเกลียด. 
บุคคลผู้มีพยาบาทเป็นเจ้าเรือน
มักโกรธขึ้งเกลียดชัง  ควรเจริญเมตตา  กรุณา  มุทิตา  ๓  พรหมวิหาร
หัดจิตให้กลับคิดในทางให้เกิดรัก  เกิดสงสาร  เกิดยินดี.
บุคคลมีถีนะก็ดี   มีมิทธะก็ดี  เป็นเจ้าเรือน  มักย่อท้อในกิจการ  ควรเจริญ
อนุสสติกัมมัฏฐาน  พิจารณาความดีของตนบ้าง  พิจารณาคุณของพระ
พุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์บ้างเพื่อให้มีแก่ใจหวนอุตสาหะ  เป็นอุบาย
แก้ถีนะ  เพื่อใช้ความนึกกว้าง ๆ เป็นทางแก้มิทธะ.
บุคคลผู้มีอุทธัจจะก็ดี  มีกุกกุจจะก็ดี   เป็นเจ้าเรือน  ควรเพ่งกสิณ  เพื่อหัดผูกใจไว้ใน
อารมณ์อันเดียว  หรือเจริญกัมมัฏฐานอันจะให้ใจเหี่ยวด้วยสังเวชเช่น
มรณัสสตินึกถึงความตาย. 
บุคคลผู้มีวิจิกิจฉาเป็นเจ้าเรือน  ควรเจริญธาตุกัมมัฏฐานหรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน 
เพื่อกำหนดรู้สภาวธรรมที่เป็น
อยู่อย่างไร.

การวิจารณ์ แบบปัญญา เชิงปริยัติ สุดท้าย ก็มาด้วยกรรมฐาน ทำให้เกิดความสับสนสำหรับผู้ฝึกปฏิบัติ
มีข้อความขัดแย้งใน ธรรมวิจารณ์ หลายเรื่อง

พออ่านไปหนัก ๆ  ก็ไปเข้า จริต 6 ให้ปฏิบัติกรรมฐาน ตามจริต ซึ่งไม่มีกรรมฐานหลากหลาย
เป็นเหตุให้พระสงฆ์ แม้เรียนจบใน นักธรรมชั้นเอก แล้วไม่ก้าวหน้าในพระกรรมฐาน ส่วนใหญ่
จะไม่เลือกภาวนาเลย เพียงทรงปริยัติ ไว้เถียงกันเท่านั้น

เพื่อน ๆ ผม แม้เป็น ฆราวาส ได้ทั้ง นักธรรมเอก เปรียญธรรม อบรมวิปัสสนาจารย์ตอนบวชพระ
สึกมาแล้ว ก็มีแต่พูด กิน นอน ปล่อย ชีวิต ไปวัน ๆ นั่งกรรมฐานก็หลัับอย่างเดียว คุยเป็น คุ้ง เป็น แคว
แต่ข้างในเป็นโพรง หาสาระเป็นที่พึ่งไม่ได้ บางคนก็........
:25: ขออภัยครับ บ่นไปนิด

( ก็เป็นเรื่องจริง ในชีวิตของผม ที่ผมเจออยู่ทุกวัน )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 22, 2010, 08:31:24 am โดย sangtham »
บันทึกการเข้า

Program

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 22
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ขอเรียนท่าน sangtham   ว่า หนังสือนี้มีที่มาและมีผู้เรียบเรียงชัดเจนครับ
( ขอออกตัว ว่า ผมเพียงยกมาบางส่วนเท่านั้นเพราะยาวเหมือนกันครับ)
พร้อมกันนี้ผมก็แนบไฟล์ PDF มาที่ด่านล่างนี้ด้วยครับ
 
 คำนำ
     สมถกัมมัฏฐาน เป็นหลักสูตรนักธรรมชั้นเอก พิมพ์ครั้งนี้ได้
จัดวรรคตอนให้เรียบร้อยดียิ่งขึ้น และแก้ไขอักษรให้ถูกต้องตามความนิยมของชนหมู่มาก ส่วนข้อความคงไว้ตามเดิม มิได้แก้ไขเปลี่ยน แปลงอย่างไร         
                              กองตำรา
มหามกุฎราชวิทยาลัย
๑๕ กรกฎาคม ๑๔๘๓

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

อาตมภาพสมเด็จพระวันรัต ได้เรียบเรียงวินัยและพระปรมัตถ์
โดยย่อ สมองพระเดชพระคุณตามสติกำลังปัญญา  ยุติแต่เท่านี้ ขอถวายพระพร.
                    จบ สมถภานาโดยสังเขป.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 22, 2010, 02:30:54 pm โดย Program »
บันทึกการเข้า

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :014: สมมุติ ๆๆๆ
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

translate

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 105
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :s_hi: คุณ ISSARAPAP

ถ้าไม่้สมมุติ แล้วจะคุยกันได้อย่างไร ครับ ? :s_laugh:
บันทึกการเข้า

vijitchai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :bedtime2: ภาวนาวัดที่ความเพียร ครับ ไม่ใช่วัดที่ตำรา
ส่วนผมว่า สาเหตุจริง ๆ นั้นไม่ใช่ ที่กล่าวทั้งหมดครับ ผมว่าผู้สืบกรรมฐาน มีน้อยมากกว่าครับ

ส่วนการวัดลองให้คุณทินกร ( เว็บมาสเตอร์ ) ทำหน้า vote เหตุ แล ผล ดีไหมครับ

ลองไล่ตามที่คุณ กิติศักดิ์ สรุป ไว้แล้วลองทำปุ่ม  vote ดู ส่วนที่ไม่มีในนั้น ก็ให้ทำเป็นปุ่้ม ความเห็นอื่น ๆ
ไม่ทราบว่าคุณทินกร เห็นด้วยหรือป่าวครับ
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อม ครูบาอาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน ทุก ๆ รูป ครับ ข้าพเจ้าขอกล่าวถึง พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ตลอดชีวิต พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
  :015:"กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก"  :015:

          :character0029:ผมได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ และได้รับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการจาริกแสวงหาที่วิเวก และเพื่อนสหธรรมมิกในสายธรรมเดียวกัน ซึ่งปรากฏว่ามีอยู่จริงแต่น่าแปลกไม่ยอมแสดงตัวที่จะสอนในแนวทาง มัชฌิมา แก่ใคร หรือ มีวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เป็นสำนักศูนย์กลางที่ทำการเผยแผ่ และธำรงรักษาไว้โดยชอบธรรมอยู่แล้ว ใครใคร่เรียนก็มายังสำนักศูนย์กลางแล้วปลีกวิเวกไปสู่เรือนว่าง โคนไม้ตามแต่วิสัยโดยชอบ แล้วปลีกตัวอยู่อย่างสงบ จากคำถามที่ว่าทำไมพระสงฆ์ในปัจจุบันไม่รู้จัก ก็เพราะท่านเห็นว่าไม่จำเป็นต้องพูด ของแท้มีอยู่ เรามีหน้าที่ทำพระนิพพานให้แจ้งเท่านั้นพอ อาจจะด้วยยุคสมัยข้างฝ่ายปริยัติเป็นใหญ่ ฝ่ายปฏิบัติจึงมิจำเป็นที่จะต้องแข่งด้วย เมื่อวาระถึงจะมีผู้ที่จะนำพาพระกรรมฐานแนวทาง มัชฌิมา แบบลำดับ กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ซึ่งคิดว่ายุคนี้กำลังก่อรูปรอศิษย์แท้มาช่วยกันฟื้นฟู
 :banghead: :040:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2010, 07:08:33 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาเหตุ อาจจะมีมากกว่า แต่ก็ขอให้อ่านไว้เป็นข้อมูลกันคะ
 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร