ฟังจากที่ รอง อธิบดี พศ. และ มส. เอง กล่าว
คือวัดเป็น นิติบุคคล การจัดทำรายการ รายรับ รายจ่าย ทรัพย์สิน ก็เหมือนบริษัท ห้างร้าน นั่นแหละ จะต้องทำให้ กับ คณะกรรมการวัด หรือ ผู้ดูแลรับทราบ ว่าถุกหรือไม่ ถูก
การที่ มส. สั่งให้ส่ง นั้น เป็นเพียงการส่งยอดสรุป เท่านั้น คือ รายงานว่า มีเงินเหลือเท่าไหร่ รายรับมีเท่าไหร่ รายจ่ายมีเท่าไหร่ ภายใน ต.ค. นี้
วัดทั่วประเทศ ( รวมถึงสำนักสงฆ์ ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว ) จำนวน 36190 วัด ต้องจัดทำรายงานประมาณนั้น
แต่เป็นเพราะว่า ตัวกฏหมาย 2510-2511 นั้นระบุให้จัดทำอยู่แล้ว และให้มีคณะกรรมการ รับตรวจ รับทราบ เริ่มที่ 5000 วัดในปีแรก และต่อมาเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน ยอดตรวจ 19900 วัด ทาง มส. เห็นว่า เมื่อมีกฏหมายแล้ว อย่างไรก็ทำไม่ต้องทำสุ่มเพิ่ม ก็สั่งการให้ ทำเหมือนกันทั้งหมด เลย 36000 วัด ทีเดียว ไม่ต้องสุ่ม แบบเมื่อก่อน
การรายงาน แสดงบัญชี มอบไว้เป็นอำนาจของเจ้าอาวาส ไม่ต้องแสดงรายละเอียด เพียงแต่ ส่งรายงานว่า
มีเงินเหลือเท่าไหร่ รายรับในปีนั้นเท่าไหร่ รายจ่ายในปีนั้นเท่าไหร่ สินทรัพย์ของวัด ในปัจจุบัน มีอะไร บ้าง เท่านี้เอง
แต่บรรดาข่าว มักกระพือ ออกไปให้เป็นเรื่องเป็นราว ปัญหา คือ เจ้าอาวาส จำนวนมากไม่เคยทำบัญชี จึงไม่อยากทำบัญชี นี่คือปัญหา ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ แต่วัดที่มีคณะกรรมการ ดูแล อยู่แล้ว เจ้าอาวาสผ่านการอบรม ปบส. และ เรียน ป.ตรี จาก มจร. ย่อมไม่มีปัญหา ในการทำบัญชี ส่งตรวจ เพราะหลายวัดตอนนี้ก็พยายาม หาลูกวัดที่ ทำบัญชีเป็น และ หรือ ว่าจ่าง ผู้ทำบัญชี กันอยู่
