ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คณะสงฆ์วัดป่าแก้ว ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีกำเนิดมาจากลังกา  (อ่าน 5185 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
วัดใหญ่ชัยมงคล ที่อยุธยา เดิมชื่อว่า วัดป่าแก้ว


พระสังฆราชาครั้งกรุงศรีอยุธยา

แผ่นดินอยุธยามีเขตแดนติดต่อกับสุโขทัย พุทธศาสนาจึงเผยแผ่ถึงกัน คณะสงฆ์ในสมัยอยุธยาถือพระธรรมวินัยเป็นหลัก พระมหากษัตริย์ทรงให้การอุปถัมภ์ด้านพุทธศาสนามาโดยตลอด ทำให้การบริหารคณะสงฆ์เป็นไปด้วยดีและเจริญก้าวหน้าตามลำดับ ฝ่ายอาณาจักรปล่อยให้พุทธจักรมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองกันเองตามหลักธรรมวินัย ทั้งยังให้การอุปถัมภ์คณะสงฆ์ และจัดระเบียบสังฆมณฑล โดยพระมหากษัตริย์พระราชทานสมณศักดิ์ให้พระสงฆ์ เพื่อให้การบังคับบัญชาและปกครองดูแลกันเองของคณะสงฆ์เป็นไปอย่างมีระเบียบและราบรื่น

 :25: :25: :25: :25:

กำเนิดคณะสงฆ์วัดป่าแก้ว

ในสมัยนี้ได้มีคณะสงฆ์ลังกาวงศ์เพิ่มขึ้นอีกคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะวัดป่าแก้ว เนื่องจากใน พ.ศ.1965 พระเถระชาวลังกา 7 รูป พระเถระชาวอยุธยา 2 รูป และพระเถระชาวเขมร 1 รูป เดินทางไปยังลังกาและอุปสมบท แปลงเป็นสงฆ์ในนิกายสีหลภิกขุ ในสำนักพระวันรัตนมหาเถระ หลังจากอยู่ศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติศาสนกิจในลังกาอยู่หลายปี จึงเดินทางกลับ และยังได้นิมนต์พระเถระชาวลังกามาด้วย 2 รูป พระสงฆ์นิกายใหม่ในอยุธยาที่เรียกว่า คณะป่าแก้วนี้ คาดกันว่าน่าจะมาจากชื่อของพระเถระลังกาผู้เป็นอุปัชฌาย์ คือ วนรัตน์ ที่แปลว่า "ป่าแก้ว" นั่นเอง


วัดวรเชษฐ์ ที่อยูธยา วัดนี้นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า เป็นวัดป่าแก้ว (ไม่ใช่วัดใหญ่ชัยมงคล)


สมัยกรุงศรีอยธุยามีคณะสงฆ์ 3 คณะ

มาใน พ.ศ.2127 ตรงกับสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชา ทรงมีพระราชศรัทธาในพระมหาเถรคันฉ่อง พระเถระชาวมอญที่อาราธนามาแต่กรุงหงสาวดี จึงทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนาม สมเด็จพระอริยวงศญาณ สถิต ณ วัด พระมหาธาตุ เวลานั้นคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสีจึงแยกเป็น 2 คณะ คือคณะเหนือขึ้นกับพระอริยวงศญาณ วัดมหาธาตุ คณะใต้ ขึ้นต่อ สมเด็จพระวันรัตน์ หรือพระสังฆราช ซึ่งเป็นพระสังฆราชตำแหน่งเดิมแห่งคณะป่าแก้ว แต่ก็สันนิษฐานกันว่า การที่สถาปนาพระมหาเถรคันถ่องซึ่งภิกษุชาวมอญขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชา คงเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ที่อาจปกครองเฉพาะในหมู่พระสงฆ์มอญก็เป็นได้

ดังนั้น สมัยอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา เป็นต้นมา จึงคาดกันว่าน่าจะมีคณะสงฆ์ 3 คณะ คือ คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย มี สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว เป็นเจ้าคณะใหญ่ คณะคามวาสีฝ่ายขวา มี สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี วัดพระมหาธาตุ เป็นเจ้าคณะใหญ่ และคณะอรัญวาสี มี พระพุทธาจารย์ วัดโบสถ์ราชเดชะ เป็นเจ้าคณะใหญ่

สำหรับการพระราชทานสมณศักดิ์พระสงฆ์ มี 3 ระดับ คือระดับพระครูและสังฆราชายังคงยึดหลักตามอย่างสุโขทัย แต่ทรงเพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ดำรงตำแหน่งประมุขสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร และกำหนดให้มีตำแหน่งพระสังฆราชา สำหรับว่าการคณะสงฆ์ตามหัวเมืองใหญ่ๆ ส่วนหัวเมืองเล็กๆ มีพระครูเป็นผู้ควบคุมดูแล บางแห่งพระครูยังเป็นเจ้าอาวาสครองพระอารามหลวงอีกด้วย และต่อมามีการยกตำแหน่งพระครูขึ้นเสมอกับพระสังฆราชาในหัวเมืองใหญ่ หรือคือพระราชาคณะ ดังทุกวันนี้นั่นเอง



เจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา


ส่งคณะสงฆ์ไทยไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา

ราวปี 2293 ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ พุทธศาสนาในลังกาได้เสื่อมถอยลงจนถึงกับสิ้นวงศ์ พระเจ้ากิตติราชสิงหะ จึงทรงส่งทูตมาทูลขอพระสงฆ์อยุธยาไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา พระเจ้าบรมโกศทรงส่งคณะสงฆ์ไทย 12 รูป มีพระอุบาลีเถระเป็นหัวหน้าคณะ พร้อมกับพระอริยมุนีพระสังฆราชาอีกองค์หนึ่งร่วมเดินทางไปยังลังกาด้วย เมื่อไปถึงมีการอุปสมบทบรรพชากุลบุตรชาวลังกา ถึง 3,000 คน ณ เมืองแคนดี้ จึงเกิดมีพระสงฆ์นิกายอุบาลีวงศ์ หรือสยามวงศ์แห่งลังกา ที่เจริญรุ่งเรืองสืบมาจนทุกวันนี้

ต่อมาพระอุบาลีหัวหน้าพระสมณทูตไทยได้อาพาธและมรณภาพลงที่ลังกา ส่วนพระอริยมุนีเมื่อกลับมามีความชอบมาก และได้รับเลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้นไปตามลำดับ จนถึงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ครั้นถึงสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ จึงโปรดฯให้มีการตั้งราชทินนาม สมเด็จพระสังฆราช เป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี


ขอบคุณภาพจาก : m.donmueangairportthai.com/th/popular-destinations/1444/wat-worachetha-ram
ที่มา : http://yingthai-mag.com/magazine/reader/8653
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2016, 09:23:07 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

การสถาปนาตำแหน่ง "พระพนรัตน์" ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดป่าแก้ว เมื่อปีพระพุทธศํกราช ๑๙๐๗ เป็นที่สถิตของพระพนรัตน์ พระสังฆราชฝ่ายซ้าย คณะอรัญวาสี
   คณะสงฆ์วัดป่าแก้ว ศึกษาหนักไปในทางสมถะ-วิปัสสนาธุระมัชฌิมา แบบลำดับ   
   แต่ภายในวัดป่าแก้วก็ศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ด้วย ศึกษาควบคู่กันไป

               
     วัดป่าแก้วเดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆมีนามเดิมว่า วัดชายทุ่ง หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทองที่ ๓) ทรงครองราชสมบัติแล้ว ๑๕ ปี คือ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓–๑๙๐๗ หลังจากถวายพระเพลิงพระศพเจ้าแก้ว และเจ้าไทย ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรค จึงทรงสถาปนาวัดชายทุ่งให้วัฒนาถาวรดีขึ้นกว่าเก่า ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานขนานนามพระอารามใหม่ว่า วัดป่าแก้ว 

     วัดป่าแก้วเป็นวัดพระกรรมฐานหลัก เป็นวัดพระกรรมฐานใหญ่
     เป็นแม่แบบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่ศึกษากันมาจนทุกวันนี้ 
     พระกรรมฐานที่ศึกษาในวัดป่าแก้ว คือ "พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ"
     สืบต่อมาจาก "วัดไตรภูมิ-ป่าแก้ว กรุงสุโขทัย" และสืบต่อจาก "วัดไชยปราการ กรุงอโยธยา"



    ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓  สมัยกรุงศรีอยุธยา วัดชายทุ่ง ก่อนสถาปนาเป็นพระอารามหลวง นามว่าวัดป่าแก้ว  มีเจ้าอาวาสผ่านมาแล้วสามพระองค์ ๓ องค์
    เจ้าอาวาสองค์ที่หนึ่ง ถึงองค์ที่สาม ไม่ได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ 
    เจ้าอาวาสองค์ที่ ๔ คือ ท่านขรัวจวน ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    และศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ มากับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห สมัยกรุงอโยธยา

    ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๐๗ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนา วัดชายทุ่ง ให้เป็นพระอารามหลวง  แล้วทรงขนานพระนามพระอารามที่สถาปนาใหม่ว่า วัดป่าแก้ว ให้เป็นที่สถิตของพระพนรัตน์ หรือสมเด็จพระนพรัต พระสังฆราชฝ่ายซ้าย   


ภาพนี้ถ่ายจากด้านหลังของตำหนักพระนเรศวร

พระอริยสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของวัดป่าแก้ว

     สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลังสถาปนาแล้วมีดังนี้

๑. พระพนรัตน์ พระนามเดิมว่า จวน เจ้าอาวาสพระองค์แรกของ วัดป่าแก้ว ตำแหน่งพระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี  ดำรงตำแหน่งพระพนรัตน ตั้งแต่ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๐๗ ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑  พระพนรัตน(จวน) บรรพชา-อุปสมบทกับ ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น ที่วัดสามไห เมืองอโยธยา ศึกษพระกรรมฐานมัชฌิมา และศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์กับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห เมืองอโยธยา

๒. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แดง พระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร  พระพนรัตน์(แดง) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบเนื่องมากับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห

๓. พระพนรัตน์ พระนามเดิมว่า รอด ทรงเป็นพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ชาวเมืองเรียกขาน พระองค์ท่านว่า หลวงปู่เฒ่า พระองค์ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา และทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้วด้วย  ท่านเป็นในรัชสมัยสมเด็จพระยารามราชาธิราชๆ
    พระพนรัตน์(รอด)บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสามไห กับขรัวตาเฒ่าชื่น อุปสมบทเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๙๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร แห่งกรุงศรีอยุธยา(เมื่อทรงครองราชสมบัติครั้งแรก) ที่วัดสามไห ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแล้วได้เล่าเรียนพระกรรมฐาน แบบมัชฌิมา กับพระอุปัชฌาย์


ภาพนี้ถ่ายจากด้านข้างห้องน้ำ

๔. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า สี พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จบรมไตรโลกนาถเจ้า พระพนรัตน์(สี) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อจากท่านขรัวตาเฒ่าจิต ขรัวตาเฒ่าจิตเป็นศิษย์ ศึกษาพระกรรมฐานกับ ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น

๕. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า รอด(องค์ที่ ๒) นามที่ชาวเมืองเรียก ท่านขรัวตารอด หรือเจ้าไท พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี  ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา พระพนรัตน(รอด องค์ที่ ๒) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาต่อจากพระพนรัตน์(แดง)

๖. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แสง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา พระพนรัตน์(แสง)ศึกษากรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(สี)

๗. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า คร้าม  พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  พระพนรัตน์(คร้าม) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(สี)

ห้องน้ำทรงไทย

๘. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า จุ่น พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว  ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระวันรัตน์(จุ่น) ศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(แสง)

๙. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า เอื๊ยน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช  พระพนรัตน์(เอี๊ยน) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(คร้าม).

๑๐. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า มี พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระแก้วฟ้า  พระพนรัตน(มี) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(จุ่น)

๑๑. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า เดช พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิราชาธิราช พระพนรัตน์(เดช) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(มี)

๑๒. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า สอน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระพนรัตน์(สอน) ท่านศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(มี)


ภาพนี้ถ่ายจากด้านหลังห้องน้ำ เห็นตำหนักพระนเรศวรอยู่ไม่ไกล

๑๓. พระพนรัตน์ นามเดิม พระมหาเถรคันฉ่อง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว  ในรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า
     ท่านได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาต่อจากหลวงปู่รอด หรือหลวงปู่เฒ่า หรือพระพนรัตน์(รอด)
     โดยพระพนรัตน์(รอด) มาสอนพระพนรัตน์(มหาเถรคันฉ่อง)ให้เพื่มเติม ทางสมาธินิมิต
     เมื่อมาสถิต ณ วัดป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
     ในครั้งนั้นมี พระพนรัตน์(สอน) เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว
     พระมหาเถรคันฉ่อง ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาในแนวเดียวกันที่รามัญประเทศ


๑๔. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า อ้น พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศ     
     พระพนรัตน์(อ้น) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาสืบต่อมาจากพระพนรัตน์(เดช) เมื่อครั้งบรรพชาเป็นสามเณร 
     ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงมาศึกษาต่อกับพระพนรัตน์(มหาเถรคันฉ่อง) จนจบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ 



ดัดแปลงจาก : ตำนานการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร เรียบเรียง
ที่มา : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9839.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 15, 2016, 09:29:02 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

feel-sad

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า