การสถาปนาตำแหน่ง "พระพนรัตน์" ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดป่าแก้ว เมื่อปีพระพุทธศํกราช ๑๙๐๗ เป็นที่สถิตของพระพนรัตน์ พระสังฆราชฝ่ายซ้าย คณะอรัญวาสี
คณะสงฆ์วัดป่าแก้ว ศึกษาหนักไปในทางสมถะ-วิปัสสนาธุระมัชฌิมา แบบลำดับ
แต่ภายในวัดป่าแก้วก็ศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ด้วย ศึกษาควบคู่กันไป
วัดป่าแก้วเดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆมีนามเดิมว่า วัดชายทุ่ง หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทองที่ ๓) ทรงครองราชสมบัติแล้ว ๑๕ ปี คือ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓–๑๙๐๗ หลังจากถวายพระเพลิงพระศพเจ้าแก้ว และเจ้าไทย ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรค จึงทรงสถาปนาวัดชายทุ่งให้วัฒนาถาวรดีขึ้นกว่าเก่า ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานขนานนามพระอารามใหม่ว่า วัดป่าแก้ว
วัดป่าแก้วเป็นวัดพระกรรมฐานหลัก เป็นวัดพระกรรมฐานใหญ่
เป็นแม่แบบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่ศึกษากันมาจนทุกวันนี้
พระกรรมฐานที่ศึกษาในวัดป่าแก้ว คือ "พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ"
สืบต่อมาจาก "วัดไตรภูมิ-ป่าแก้ว กรุงสุโขทัย" และสืบต่อจาก "วัดไชยปราการ กรุงอโยธยา"
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓ สมัยกรุงศรีอยุธยา วัดชายทุ่ง ก่อนสถาปนาเป็นพระอารามหลวง นามว่าวัดป่าแก้ว มีเจ้าอาวาสผ่านมาแล้วสามพระองค์ ๓ องค์
เจ้าอาวาสองค์ที่หนึ่ง ถึงองค์ที่สาม ไม่ได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
เจ้าอาวาสองค์ที่ ๔ คือ ท่านขรัวจวน ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
และศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ มากับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห สมัยกรุงอโยธยา
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๐๗ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สถาปนา วัดชายทุ่ง ให้เป็นพระอารามหลวง แล้วทรงขนานพระนามพระอารามที่สถาปนาใหม่ว่า วัดป่าแก้ว ให้เป็นที่สถิตของพระพนรัตน์ หรือสมเด็จพระนพรัต พระสังฆราชฝ่ายซ้าย ภาพนี้ถ่ายจากด้านหลังของตำหนักพระนเรศวร
พระอริยสงฆ์สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของวัดป่าแก้ว
สมัยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลังสถาปนาแล้วมีดังนี้
๑. พระพนรัตน์ พระนามเดิมว่า จวน เจ้าอาวาสพระองค์แรกของ วัดป่าแก้ว ตำแหน่งพระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งพระพนรัตน ตั้งแต่ประมาณปีพระพุทธศักราช ๑๙๐๗ ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระพนรัตน(จวน) บรรพชา-อุปสมบทกับ ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น ที่วัดสามไห เมืองอโยธยา ศึกษพระกรรมฐานมัชฌิมา และศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์กับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห เมืองอโยธยา
๒. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แดง พระสังฆราชฝ่ายซ้าย หรือฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร พระพนรัตน์(แดง) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบเนื่องมากับท่านขรัวตาเฒ่าชื่น วัดสามไห
๓. พระพนรัตน์ พระนามเดิมว่า รอด ทรงเป็นพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ชาวเมืองเรียกขาน พระองค์ท่านว่า หลวงปู่เฒ่า พระองค์ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา และทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้วด้วย ท่านเป็นในรัชสมัยสมเด็จพระยารามราชาธิราชๆ
พระพนรัตน์(รอด)บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสามไห กับขรัวตาเฒ่าชื่น อุปสมบทเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๙๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร แห่งกรุงศรีอยุธยา(เมื่อทรงครองราชสมบัติครั้งแรก) ที่วัดสามไห ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแล้วได้เล่าเรียนพระกรรมฐาน แบบมัชฌิมา กับพระอุปัชฌาย์ 
ภาพนี้ถ่ายจากด้านข้างห้องน้ำ
๔. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า สี พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จบรมไตรโลกนาถเจ้า พระพนรัตน์(สี) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อจากท่านขรัวตาเฒ่าจิต ขรัวตาเฒ่าจิตเป็นศิษย์ ศึกษาพระกรรมฐานกับ ท่านขรัวตาเฒ่าชื่น
๕. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า รอด(องค์ที่ ๒) นามที่ชาวเมืองเรียก ท่านขรัวตารอด หรือเจ้าไท พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา พระพนรัตน(รอด องค์ที่ ๒) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาต่อจากพระพนรัตน์(แดง)
๖. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า แสง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระอินทราชา พระพนรัตน์(แสง)ศึกษากรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(สี)
๗. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า คร้าม พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระพนรัตน์(คร้าม) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(สี)
ห้องน้ำทรงไทย
๘. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า จุ่น พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระวันรัตน์(จุ่น) ศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(แสง)
๙. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า เอื๊ยน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระพนรัตน์(เอี๊ยน) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(คร้าม).
๑๐. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า มี พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระแก้วฟ้า พระพนรัตน(มี) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(จุ่น)
๑๑. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า เดช พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิราชาธิราช พระพนรัตน์(เดช) ศึกษาพระกรรมฐานต่อจากพระพนรัตน์(มี)
๑๒. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า สอน พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระพนรัตน์(สอน) ท่านศึกษาพระกรรมฐานสืบต่อจากพระพนรัตน์(มี)ภาพนี้ถ่ายจากด้านหลังห้องน้ำ เห็นตำหนักพระนเรศวรอยู่ไม่ไกล
๑๓. พระพนรัตน์ นามเดิม พระมหาเถรคันฉ่อง พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า
ท่านได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาต่อจากหลวงปู่รอด หรือหลวงปู่เฒ่า หรือพระพนรัตน์(รอด)
โดยพระพนรัตน์(รอด) มาสอนพระพนรัตน์(มหาเถรคันฉ่อง)ให้เพื่มเติม ทางสมาธินิมิต
เมื่อมาสถิต ณ วัดป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
ในครั้งนั้นมี พระพนรัตน์(สอน) เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแก้ว
พระมหาเถรคันฉ่อง ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาในแนวเดียวกันที่รามัญประเทศ
๑๔. พระพนรัตน์ นามเดิมว่า อ้น พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศ
พระพนรัตน์(อ้น) ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาสืบต่อมาจากพระพนรัตน์(เดช) เมื่อครั้งบรรพชาเป็นสามเณร
ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงมาศึกษาต่อกับพระพนรัตน์(มหาเถรคันฉ่อง) จนจบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ดัดแปลงจาก : ตำนานการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร เรียบเรียง
ที่มา :
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9839.0