ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'พ ร ะ แ ก้ ว อ ม ร ก ต' นามเดิมของ..พระแก้วมรกต  (อ่าน 2422 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

'พระแก้วอมรกต' นามเดิมของพระแก้วมรกต
เปิดตัวหนังสือ'230ปีศรีรัตนโกสินทร์' พบ'พระแก้วอมรกต'นามเดิมพระแก้วมรกต : สำราญ สมพงษ์รายงาน

การประชุมวิชาการและเปิดตัวหนังสือ "230ปีศรีรัตนโกสินทร์ : มรดกความทรงจำกรุงเทพมหานคร" วันที่ 29 มี.ค.2556 ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สกว. และธนาคารไทยพาณิชย์  เริ่มจาก ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เมธีวิจัยอาวุโส สกว. หัวหน้าโครงการวิจัยฯกล่าวรายงานถึงความเป็นมา หลังจากนั้นศาสตราจารย์ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ กล่าวเปิดงาน

ประเด็นที่น่าสนใจของการประชุมทางวิชาการครั้งนี้ก็คือว่า เนื้อหาในหนังสือ  "230ปีศรีรัตนโกสินทร์ : มรดกความทรงจำกรุงเทพมหานคร" ที่บทวิจารณ์โดยนายเจตนา นาควัชระได้ระบุว่า หนังสือเล่มนี้มาจากผลงานวิจัย การค้นพบใหม่
      จึงเป็นส่วนหนึ่งที่กลุ่มผู้เขียนนำมาเสนอ จะขอยกเกร็ดเล็กๆ ที่ว่าด้วย "พระแก้วมรกต"
      ซึ่งเราเข้าใจผิดมาตลอดว่า เป็นคำที่บอกความว่าสร้างด้วย"มรกตหรือหินสีเขียว"
      และก็คงมีผู้มั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์จำนวนไม่น้อยพยายามที่จะแข่งขันกับพระไชยเชษฐาแห่งอาณาจักรล้านนาและล้านช้างในการหาพระพุทธรูปที่ทำด้วยหินสีเขียวมาครอบครอง

     ความจริงปรากฏว่าคำว่า "มรกต" ในที่นี้เป็นการออกเสียงผิดพลาด
     ซึ่งทำให้คำเดิมกร่อนไป นามที่แท้จริงคือ "พระแก้วอมรกต" ซึ่งแปลว่า "เทวดาสร้าง"
     ตรงตามตำนานที่เล่าขานกันมา เมื่อพระคู่บ้านคู่เมืองเป็นสิ่งที่เทวดาสร้าง การที่กรุงรัตนโกสินทร์มีพระอินทร์เป็นเทพประจำเมืองก็คงจะเป็นไปตามคติความเชื่อที่พ้องกัน สมแล้วที่เป็น "อมรรัตนโกสินทร์"




    เมื่อพูดถึงพระแก้วมรกตแล้วก็คงจะอดกล่าวมิได้ว่า
    ไม่ว่าประวัติศาสตร์ของประเทศหรือเมืองใดๆ ก็ย่อมจะต้องมีบางส่วน
    ซึ่งอาจทำให้นักประวัติศาสตร์ต้องใช้ ศิลปะทางอักษรศาสตร์ในการเขียนพรรณนาความเป็นจริง
    คือ เขียนในเชิงที่จะสมานแผลมากกว่าเปิดแผล กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า "ประวัติศาสตร์ที่ไม่เป็นอันตราย"


    เนื้อหาที่ขยายความ "พระแก้วมรกต" นามที่แท้จริงคือ "พระแก้วอมรกต"นั้น มีเนื้อหาภายในหนังสือช่วงที่กล่าวถึงพระราชมรดกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯที่ 2 พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) ที่ระบุว่า มีตำนานเล่าเรื่องเก่าแก่มาแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างน้อย เรื่องเล่าปรากฏใน "อมรตพุทธรูปนิทาน" (เรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธรูปอมรกต) ที่พระเถระพม่านามว่า "อริยวงส์" เป็นผู้แต่ง

    ในเรื่องนั้นเล่าว่า พระมหานาคเสนต้องการสร้างพระพุทธรูปแก้ว ร้อนไปถึงพระอินทร์ พระอินทร์และพระวิศณุกรรมไปเอาแก้วมณีโชติที่กุมภัณฑ์ทั้งหลายรักษาอยู่ที่เขาเวบุลบรรพต แต่กุมภัณฑ์บอกว่า
    แก้วดังกล่าวมีไว้สำหรับพระบรมมหาจักรพรรดิ์ จึงถวายแก้วมรกตแทน
    พระอินทร์สั่งให้วิศณุกรรมทรงสร้างพระพุทธรูปจากแก้วมรกตดังกล่าว
    เมื่อสร้างแล้วจึงได้นามว่า "พระแก้วอมรกต" หมายถึง " พระแก้วอันเทวดาสร้าง"
    เมื่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ความรู้เรื่องนี้สูญหายไป
    แทนที่จะเรียกถูกต้องว่า"พระแก้วอมรกต" กลับเรียกว่า "พระแก้วมรกต" อย่างทุกวันนี้


    ทั้งนี้ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวในการบรรยายประกอบมัลติมีเดีย หัวข้อ "ศรีอยุธยาในศรีรัตนโกสินทร์" ว่า การนำพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯในช่วงสถาปนาเมืองโดยพระบาทสมเด็จระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯนั้น
    ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า กรุงเทพฯแห่งนี้เป็นเมืองที่เทวดาสร้าง
    เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา


   "คำว่า "พระแก้วอมรกต" นั้นตามเอกสารโบราณได้ระบุไว้ชัดเจน ส่วนกร่อนมาเป็น "พระแก้วมรกต" เมื่อใดนั้นไม่สามารถระบุได้ และที่ระบุไว้ในหนังสือครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบที่มาที่ไปและความหมายที่ถูกต้อง"  ดร.เกรียงไกร กล่าว





  ช่วงบ่ายนายเจตนาบรรยายเรื่อง "กรุงเทพมหานครจากมุมมองของเด็กเมืองกรุง" ได้ฉายภาพความงานของกรุงเทพฯในอดีตพร้อมกับเปิดเพลงกรุงเทพฯราตรีของสุนทราภรณ์ประกอบ พร้อมกับมองย้อนมาถึงภาพกรุงเทพฯในปัจจุบันในยามค่ำคืนถนนราชดำเนินซึ่งที่อาศัยของคนจรจัดและผู้หญิงหากินที่ย้ายมาจากสนามหลวง

  และต่อจากนี้ก็มีการอภิปรายเรื่อง"อนารยธรรมไทยกับวันต่อไปของกรุงเทพมหานคร" โดยมีดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าฯกทม.ร่วมแสดงความเห็นด้วยว่า
    ควรจะร่วมกันคิดที่จะอนุรักษ์สิ่งสวยงามในอดีตของกรุงเทพฯในอดีตให้คงอยู่
    และป้องกันสิ่งปลูกสร้างที่รุกคืบเข้ามาได้อย่างไร
    และรถไฟความเร็วสูงที่จะมีนั้นจะต้องช่วยให้คนกรุงเทพฯ ให้กระจายออกไปไม่ใช่ให้คนเข้ามากระจุกอยู่


   "และเรื่องอาหารนั้นก็ควรที่จะอนุรักษ์อาหารไทยๆไว้ ร่วมถึงห้างสรรพสิ้นค้ารู้สึกว่ามากเกินไปแล้ว กทม.ควรที่จะทำผังเมืองให้สำเร็จเป็นรูปธรรม" ดร.พิจิตต กล่าวและว่า

    ที่กล่าวมานี้ก็เพียงบ่นเท่านั้น แต่ผู้ที่จะดำเนินการให้สำเร็จได้นั้นก็คือผู้ว่าฯกทม.ที่เพิ่งจะเข้ามารับตำแหน่งใหม่อีก โดยมีสื่อมวลชนเป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ
    ข้อมูลดังกล่าวคงจะเป็นข้อมูลให้กับม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.สมัยที่ 2 ที่จะพัฒนาให้กรุงเทพฯเป็นเมืองฟ้าอมรดั่งในอดีตได้เป็นอย่างดี

 
ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130329/155007/พระแก้วอมรกตนามเดิมพระแก้วมรกต.html#.UVZzxzd6W85
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: 'พ ร ะ แ ก้ ว อ ม ร ก ต' นามเดิมของ..พระแก้วมรกต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 30, 2013, 06:43:04 pm »
0
     ความจริงปรากฏว่าคำว่า "มรกต" ในที่นี้เป็นการออกเสียงผิดพลาด
     ซึ่งทำให้คำเดิมกร่อนไป นามที่แท้จริงคือ "พระแก้วอมรกต" ซึ่งแปลว่า "เทวดาสร้าง"
     ตรงตามตำนานที่เล่าขานกันมา เมื่อพระคู่บ้านคู่เมืองเป็นสิ่งที่เทวดาสร้าง การที่กรุงรัตนโกสินทร์มีพระอินทร์เป็นเทพประจำเมืองก็คงจะเป็นไปตามคติความเชื่อที่พ้องกัน สมแล้วที่เป็น "อมรรัตนโกสินทร์"   

    เนื้อหาที่ขยายความ "พระแก้วมรกต" นามที่แท้จริงคือ "พระแก้วอมรกต"นั้น มีเนื้อหาภายในหนังสือช่วงที่กล่าวถึงพระราชมรดกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯที่ 2 พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) ที่ระบุว่า มีตำนานเล่าเรื่องเก่าแก่มาแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างน้อย เรื่องเล่าปรากฏใน "อมรกตพุทธรูปนิทาน" (เรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธรูปอมรกต) ที่พระเถระพม่านามว่า "อริยวงส์" เป็นผู้แต่ง

    ในเรื่องนั้นเล่าว่า พระมหานาคเสนต้องการสร้างพระพุทธรูปแก้ว ร้อนไปถึงพระอินทร์ พระอินทร์และพระวิศณุกรรมไปเอาแก้วมณีโชติที่กุมภัณฑ์ทั้งหลายรักษาอยู่ที่เขาเวบุลบรรพต แต่กุมภัณฑ์บอกว่า
    แก้วดังกล่าวมีไว้สำหรับพระบรมมหาจักรพรรดิ์ จึงถวายแก้วมรกตแทน
    พระอินทร์สั่งให้วิศณุกรรมทรงสร้างพระพุทธรูปจากแก้วมรกตดังกล่าว
    เมื่อสร้างแล้วจึงได้นามว่า "พระแก้วอมรกต" หมายถึง " พระแก้วอันเทวดาสร้าง"

    เมื่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ความรู้เรื่องนี้สูญหายไป
    แทนที่จะเรียกถูกต้องว่า"พระแก้วอมรกต" กลับเรียกว่า "พระแก้วมรกต" อย่างทุกวันนี้


พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วอมรกต (อมร แปลว่า เทวดา / กต แปลว่า สร้างหรือกระทำ)

ตราบใดที่มหานครแห่งเทพยังมีองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรสถิตย์เด่นเป็นศรีสง่าอยู่ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ ก็ยังธำรงสมคุณค่าแห่งอาณาจักร อยู่ตราบนั้น ครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 30, 2013, 07:12:00 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: 'พ ร ะ แ ก้ ว อ ม ร ก ต' นามเดิมของ..พระแก้วมรกต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 30, 2013, 07:58:06 pm »
0


พระแก้วเขื่องอมรกต วรพจน์ธำรง (กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์)

     อมรกรุงเทพสร้าง             ศาสน์เรือง
แก้วเขื่องเด่นเคียงเมือง        รัฐแกล้ว
จริยาวัตรบวรเนือง             ซ้องกษัตริย์
บุรีเทพธำรงแพร้ว            ประสิทธิ์ถ้วนอาณา.


                                                   ธรรมธวัช.!




http://topicstock.pantip.com/isolate/topicstock/2011/08/M10950216/M10950216.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 30, 2013, 08:24:45 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: 'พ ร ะ แ ก้ ว อ ม ร ก ต' นามเดิมของ..พระแก้วมรกต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 31, 2013, 04:54:38 am »
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา