ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จตุตถฌาน ปัญจมฌาน และ เนวสัญญานาสัญญายตะนะฌาน แยกเส้นทางอย่างไร  (อ่าน 23919 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

noppadol

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 144
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
0
จตุตถฌาน ปัญจมฌาน และ เนวสัญญานาสัญญายตะนะฌาน แยกเส้นทางอย่างไรครับสำหรับบุคคลที่
ฝึกภาวนาครับ

อาจจะถามเพื่อประดับความรู้ก่อนนะครับ เพราะผมเองก็ไม่มีฌาน

เห็นบางอาจารย์ ก็ให้ปฏิบัติ เพียง ฌาน 4 บางรูปก็บอกว่า ฌาน 5 บางรูปก็บอกว่าเอา ฌาน 8

คือต้องการทราบศิษย์จะจำแนกได้อย่างไร ว่าเราจะไปหยุดที่ ฌาน 4 5 หรือ 8


คุณ ณัฐพลสันต์ ครับ ช่วยผมด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ฌาน ๔ ,ฌาน ๕ และฌาน ๘ คืออะไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 25, 2010, 04:45:07 pm »
0
   
เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และสะดวกในการสนธนา  เราจำเป็นต้องปรับพื้นปูกระเบื้องกันก่อน
จึงขอนำข้อธรรมในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ของท่านปยุตโต มาแสดงดังนี้

ฌาน ๒ ประเภท (ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่)
๑. รูปฌาน ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นรูปาวจร)
๒. อรูปฌาน ๔ (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นอรูปาวจร)
-------------------------------------

รูปธรรม สิ่งที่มีรูป, สภาวะที่เป็นรูป คู่กับ นามธรรม

-------------------------------------

ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม ๕ หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ ๕ อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต)

๑. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ)
๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ)
๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น)
๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต)
๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ ๖)

ขันธ์ ๕ นี้ ย่อลงมาเป็น ๒ คือ นาม และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูป, ๔ ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม.
อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม ๔ : วิญญาณขันธ์เป็น จิต,
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เป็น เจตสิก,
 รูปขันธ์ เป็น รูป, ส่วน นิพพาน เป็นขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์ ๕
-------------------------------------

ธรรม ๒ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ )
๑. รูปธรรม (สภาวะอันเป็นรูป, สิ่งที่มีรูป, ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด)
๒. อรูปธรรม (สภาวะมิใช่รูป, สิ่งที่ไม่มีรูป, ได้แก่นามขันธ์ 4 และนิพพาน)

-------------------------------------

ฌาน ๘ = รูปฌาน ๔ + อรูปฌาน

-------------------------------------

รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ

๑) ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก(ตรึก) วิจาร(ตรอง) ปีติ(อิ่มใจ) สุข(สบายใจ) เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
 ๒)ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา
 ๓)ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข, เอกัคคตา
๔) จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา

คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน
โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา
 แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้ออกไปเป็น
ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง)
-------------------------------------

อรูป ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถืออรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ
 ๑) อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์)
๒) วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์)
๓) อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์)
๔) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

-------------------------------------

ถึงตรงนี้คงพอเข้าใจเรื่อง ฌาน ๔ ฌาน ๕ และ ฌาน ๘ แล้วนะครับ
ฌาน ๔ และฌาน ๕ เป็นฌานเดียวกัน ณ ที่นี้ ผมขอเรียกว่า ฌาน ๔ นะครับ
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้องฝึกฌาน ไม่ต้องฝึกได้ไหม ขอตอบว่า
ฝึกก็ได้ ไม่ต้องฝึกก็ได้ ขึ้นอยู่ว่า  ต้องการมีอิทธิฤทธิ์(อภิญญา)หรือเปล่า

หากแบ่งประเภทอรหันต์ตามเกณฑ์อภิญญา หรือตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้ว จะแบ่งได้ ๔ ประเภทดังนี้
๑. พระสุกขวิปัสสก
๒. พระเตวิชชะ
๓. พระฉฬภิญญะ 
๔. พระจตุปฏิสัมภิทัปปัตตะ

อรหันต์ประเภทแรกไม่มีความต้องการที่จะมีอิทธิฤทธิ์  จึงไม่ต้องฝึกฌาน
ประเภทที่สองและสาม มีอิทธิฤทธิ์ต่างกันโดยลำดับ จำเป็นต้องฝึกรูปฌาน ๔
ส่วนประเภทสุดท้ายมีอิทธิฤทธิ์สูงสุด เท่าที่ระดับสาวกภูมิจะมีได้ ต้องฝึกทั้งหมด คือ ทั้ง รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ 

-------------------------------------

ตอบคำถามที่ว่า จะรู้หรือแยกได้อย่างไรว่า เป็นฌานที่เท่าไหร่ หรือเรากำลังอยู่ที่ฌานไหน
ในส่วนของรูปฌาน ๔ เราต้องพิจารณา อารมณ์ขององค์ฌาน ซึ่งมี ๕ องค์ คือ

- วิตก(ตรึก)
- วิจาร(ตรอง)
- ปีติ(อิ่มใจ)
- สุข(สบายใจ)
- เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)

องค์ฌานนี้จะเป็นตัวแบ่งระดับของฌาน ดังได้อธิบายไปแล้วข้างต้น
การเข้าฌานต้องเข้าตามลำดับไป ในฌานที่ ๔นั้น นอกจากจะมีเอกัคคตา ยังมีอุเบกขาเพิ่มเข้ามา

นส่วนของอรูปฌาน ๔ มีกฏธรรมชาติตายตัวอยู่ข้อหนึ่งคือ คนที่จะสามารถฝึกอรูปฌานได้นั้น ต้องได้รูปฌานในขั้นของจตุตถฌานก่อน
หมายถึงต้องฝึกรูปฌานให้ได้ครบก่อนนั่นเอง และยังมีเงื่อนไขต่อไปว่า
รูปฌานที่ได้มานั้น ต้องเป็นฌานที่ได้การฝึกกสิณกองใดกองหนึ่งเท่านั้น
การเริ่มฝึกอรูปฌานข้อที่หนึ่ง(อากาสานัญจายตนะ) ต้องเข้ากสิณ(ยกเว้นอากาสกสิณ)จนถึงจตุตถฌาน
จากนั้นให้ทิ้งนิมิตในกสิณเสีย  ให้เหลือแต่อากาศว่างๆ
การพิจารณาอรูปฌานเป็นเรื่องยากมากๆ เนื่องจากเป็นการดูนามธรรม(เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)
การแยกระดับฌานต้องพิจารณาอารมณ์เของฌานนั้นๆเป็นขั้นๆไป ตามที่ได้แสดงเอาไว้ข้างต้


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อรูปฌาน ตามแนววิสุทธิมรรค
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 25, 2010, 05:20:25 pm »
0


จากนี้ขอนำคำเทศนาของหลวงพ่อฤาษีลิงดำมาแสดงประกอบความเข้าใจ
หลวงพ่อท่านเทศน์ตามแนวของคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งได้แปลมาจากคัมภีร์วิมุตติมรรคอีกทอดหนึ่ง
คัมภีร์วิมุตติมรรคนั้นตามประวัติเป็นต้นกำเนิดของกรรมฐานมัชฌิมา


เพื่อเป็นการยืนยันว่ากรรมฐานมัชฌิมา ได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์วิมุตติมรรค
จึงขอนำข้อความบางตอนในคำนำของหนังสือ
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง

มาแสดงดังนี้

“ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป
ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค  เพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่งคัมภีร์อรรถคาถา”




อรูปฌาน ๔


          ต่อไปนี้จะได้อธิบายถึงวิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่างคือ อากาสานัญ-
จายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะรวม  ๔ อย่างด้วยกัน
อรูปฌานทั้ง ๔ นี้เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว
เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์
ในวิปัสสนาญาณมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญ
สำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริงตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ  แต่ทว่าอรูปฌานนี้
ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนามถือความ
ว่างเป็นสำคัญ


อานิสงส์อรูปฌาน


          ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌาน
ที่ได้แล้ว ยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้อรูปฌานนี้แล้ว
เมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ  คือมีคุณสมบัติพิเศษ  เหนือจากที่ทรง
อภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และ คุณสมบัติพิเศษ
อีก ๔ คือ


ปฏิสัมภิทา ๔

          ๑. อัตถปฏิสัมภิทามีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ท่านอธิบาย
มาแล้วอย่างพิสดาร  ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัดไม่เสียความ
          ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้พิสดาร
เข้าใจชัด
          ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่างอัศจรรย์
          ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา  มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่างอัศจรรย์
          ปฏิสัมภิทาญาณนี้  มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทา
หรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ  ๑๐  และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้


ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย   หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญา  แล้วท่าน
มาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ  เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ  ๙  ประการ
ปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาท
ของอรูปฌาน  คือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึง
จตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติ
ในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่านที่ได้กสิณจน
คล่องอย่างน้อย  ๙  กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้ว จึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้  ฉะนั้นท่าน
ที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกัน
อยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอา
โลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐  หรือทั้ง  ๘  นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันที
ในสมัยที่เป็นฌานโลกียส่วนปฏิสัมภิทาญาณ  ๔  นี้  เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรง
ปฏิสัมภิทาไม่ได้ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี  หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะ
ปรากฏบังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้


๑. อากาสานัญจายตนะ

          การอธิบายในอรูป ๔ นี้ ขอกล่าวแต่พอเป็นแนวเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นกรรมฐานละเอียด
ทั้งผู้ที่จะปฏิบัติก็ต้องทรงอภิญญามาก่อน  เรื่องการสอนหรืออธิบายในกรรมฐานนี้   มีความสำคัญ
อยู่อย่างหนึ่ง  คือ ถ้ากรรมฐานกองใดท่านผู้อธิบายไม่ได้มาก่อน ก็อธิบายไม่ตรงตามความเป็นจริง
ท่านที่จะอธิบายได้ถูกต้องและตรงจริง ๆ  ก็ต้องได้กรรมฐานกองนั้น ๆ  มาก่อน ผู้เขียนนี้ก็ เช่นกัน
อาศัยที่ศึกษาเรื่องของกรรมฐานมาเฉพาะประเภทวิชาชาสาม  สำหรับเรื่องของวิชชาสามเรียนมา
พอเขียนได้อ่านออก ถึงแม้จะไม่ได้สำเร็จ  มรรคผลใด ๆ  ก็ตาม แต่ก็ฟังคำสอนมาพอเอาตัวรอด
ได้บ้างพอควร ไม่ถึงเก่งและถ้าไปโดนท่านที่ฉลาดจริงเข้า ท่านอาจไล่เบี้ยเอาจนมุมเหมือนกันส่วน
ด้านอภิญญานั้น อาศัยที่เคยศึกษาในกสิณบางส่วนมาบ้าง พอเห็นทางไร ๆ แต่ก็ได้ไม่ครบแต่ถึงจะได้
ไม่ครบก็ทราบว่าแนวของกสิณมีแนวเป็นอันเดียวกัน  ฉะนั้นเรื่องอภิญญาพอจะแอบ  ๆ  ฟุ้งได้บ้าง
พอสมควร           
          อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอรูปอากาสานัญจายตนะ
นี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญ
ว่ากสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญความสุข ความทุกข์ที่เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็น
ต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณนั้น ถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็น
นิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศ
ไว้โดยกำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ดังนี้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นฌาน ๔ ในอรูปฌาน

๒. วิญญาณัญจายตนะ

          อรูปนี้กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์   โดยจับอากาสานัญจายตนะ  คือกำหนดอากาศจาก
อรูปเดิมเป็นปัจจัย ถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์  แล้วกำหนดว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิต
ที่อาศัยรูปอยู่   ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตาม  แต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะ
วิญญาณเป็นอารมณ์  แล้วกำหนดจิตว่า  วิญญาณหาที่สุดมิได้  ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาด
กำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือนจิต โดยคิดว่า เราต้องการจิตเท่านั้น รูปกายอย่างอื่น
ไม่ต้องการ จนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์


๓. อากิญจัญญายตนะ


          อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน  ๔ ในวิญญาณแล้วเพิก
วิญญาณคือไม่ต้องการวิญญาณนั้น  คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศก็ไม่มี วิญญาณก็ไม่มี
ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้น การไม่มีอะไรเลยเป็นการ
ปลอดภัยที่สุด แล้วก็กำหนดจิต ไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด จนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้


๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

          เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือทำความรู้สึก
ตัวเสมอว่า  ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัว
เสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่อาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อน
แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวายมีชีวิตทำเสมือนคนตาย  คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใดๆ ปล่อยตามเรื่อง
เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์


           เป็นจบเรื่องอรูปกันเสียที เขียนมานี้อึดอัดเกือบตาย เป็นอันว่าเขียนไว้คร่าว ๆ ไม่รับรอง
ผิดถูกเพราะปฏิบัติไม่ได้  ก็ไม่ยอมรับรอง เรื่องกรรมฐานนี้เดาไม่ได้ ขืนเดาก็เละหมด  สมัยเป็นนัก
เทศน์เคยถูกท่านอาจารย์ไล่เบี้ยอารมณ์กรรมฐานเสียงอม เดาท่านก็ไม่ยอม ท่านให้ตอบตามอารมณ์
จริง ๆ  ผิดนิดท่านให้ตอบใหม่  ท่านทรมานเอาแย่ แต่ก็ขอบคุณท่าน ถ้าท่านไม่ทำอย่างนั้น ก็คง
ไม่สนใจอะไรเลย เพราะกลัวขายหน้าคนฟังเทศน์ ที่ไหนบกพร่องก็รีบซ่อม ถึงอย่างนั้น พอเจออภิญญา
กับสมาบัติเข้าคราวไร เป็นยกธงขาวหราทุกที
 
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

whanjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 106
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แล้ว ฌาน ๕ นั้นผู้ใดเป็นผู้ฝึกคะ จำเป็นต้องปฏิบัติ ณาน ๕ ด้วยหรือป่าว


 :-\ :-\ :-\ ( ถามอย่างกับตัวเองมี ฌาน เลย อิ อิ ) ;D ;D ;D
บันทึกการเข้า

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อ่านไว้ก็ดีครับแต่อย่าเอาเป็นอารมณ์ อย่าไปคำนึงถึงเวลาฝึกกรรมฐานนะครับ
เดียวจะไปคิดว่าเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เก็บไว้ตอนเราเข้าไปถึงระดับนึงแล้วเราสงสัยว่าคืออะไร
แล้วค่อยมาอ่านก็ได้ หรือค่อยเก็บเป็นอารมณ์เทียบกันก็ได้ ผมว่าจะดีกว่า เดียวขึ้นฌานไม่ได้
ครับเพราะมัวไปคิด
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
แล้ว ฌาน ๕ นั้นผู้ใดเป็นผู้ฝึกคะ จำเป็นต้องปฏิบัติ ณาน ๕ ด้วยหรือป่าว


 :-\ :-\ :-\ ( ถามอย่างกับตัวเองมี ฌาน เลย อิ อิ ) ;D ;D ;D


คุณหวานใจครับ ฌาน ๔ และ ฌาน ๕ เป็นฌานเดียวกัน

องค์ฌานก็มีเหมือนกัน คือ เอกัตคตา และอุเบกขา

ในพระสูตรแบ่งฌานไว้แค่ ๔  แต่ในอภิธรรมแบ่งไว้ ๕

โดยแบ่งฌานที่ ๒(ทุติยฌาน)ออกเป็นสองส่วน

ที่สุดจึงรวมเป็น ๕

ผมได้อธิบายไว้แล้ว กลับไปอ่านให้เข้าใจนะครับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

whanjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 106
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ผมได้อธิบายไว้แล้ว กลับไปอ่านให้เข้าใจนะครับ

ขอบคุณ มากคะ
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องฌาน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เรื่องของ ฌาน เป็นเรื่องสำคัญ ในการภาวนา ในพระพุทธศาสนา เป็นอย่างมาก เพราะคุณธรรม ในพระพุทธศาสนา ถูกจำแนกไว้ ด้วยคุณธรรม ของ สมาธิ เป็นสองสาย คือ

   1. สาย อุปจาระสมาธิ สำเร็จธรรม ในแนวทาง ปัญญาวิมุตติ เป็นหลัก
   2. สาย อัปปนาสมาธิ สำเร็จธรรม ในแนวทาง เจโตวิมุตติ เป็นหลัก

  ดังนั้นใน สมาธิ จึงเป็นองค์แห่งธรรม ที่สำคัญ สำหรับพระอริยะบุคคล

  สำหรับเรื่อง ของ ฌาน 4 5 และ ฌาน 8 นั้น เป็นคุณธรรม ในสาย เจโตวิมุตติ เป็นหลัก

  สำหรับการแยกเรื่อง ฌาน นั้น ขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติ ของผู้ภาวนา

    สำหรับผู้ภาวนา ที่ไม่ได้ปรารถนา คุณธรรม เจโตวิมุตติ เบื้องสูงแล้ว แค่ ฌาน 4 ก็เพียงพอต่อการสำเร็จธรรม อย่างน้อย ก็ได้ เตวิชโช

   ส่วน ฌานที่ 5 นั้น ใช้ในการทำ ญาณ หรือ ที่เรียกว่า ฤทธิ์ เป็นการใช้ ลหุสัญญา สุขสัญญา ในการทำการ ญาณฤทธิ์ 

   ส่วน ฌานที่ 8 นั้นเป็นคุณสมบัติ ชั้นสูงของ พระอนาคามี และ พระอรหันต์ ตั้งแต่ ฉฬภิญโญ เป็นต้นไป เพราะ พระอนาคามี และ พระอรหันต์ ต้องอาศัย ฌาน 8 ในการเข้าสู่ นิโรธสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ ด้วย ดังนั้น เรื่องของ ฌาน ถ้าจำแนก แยกให้เข้าใจ สั้น ๆ ก็เพียงเท่านี้ นะจ๊ะ

 
 เจริญธรรม / เจริญพร


  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
คำถามนี้ ผมเห็นถามไว้นานแล้ว
ว่าจะช่วยตอบก็ไม่รู้จะตอบอย่างไร ดี
 แต่ พอเห็นพระอาจารย์ ท่านมาตอบ รู้สึกถึงภูมิธรรม มากเลยครับ


 :25: :25: :25: st12
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ