ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ธัมมะวังโส
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35
1281  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธาตุทั้งสี่ ไม่เที่ยง แปรปรวน เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 03:18:33 pm
ธาตุทั้งสี่ ไม่เที่ยง แปรปรวน
          .  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโย ธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุไม่เที่ยง  มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่น เป็นธรรมดา 
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหว  ซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้  เรากล่าวผู้นี้ว่า  สัทธานุสารี  ก้าวล่วงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริภูมิ หรือ ปัตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้ง โสดาปัตติผล ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวว่า มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา  เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.


ที่มาจาก หนังสือ คู่มือสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏก เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม กทม.
1282  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พิจารณาธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ไช่ของเรา เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 03:17:26 pm
พิจารณาธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ไช่ของเรา
        ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ      ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มี    พระภาคได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูกรราหุล ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็น      ภายนอกก็ดี ปฐวีธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าปฐวีธาตุเท่านั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วย             ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่         ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อม         เบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในปฐวีธาตุ ดูกรราหุล อาโปธาตุที่          เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อาโปธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าอาโปธาตุเท่านั้น พึง เห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา  นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของตน เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ          เป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ       ดูกรราหุล เตโชธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี เตโชธาตุนั้นก็เป็นแต่      สักว่าเตโชธาตุเท่านั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง     อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็น  ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ ย่อม     คลายกำหนัดในเตโชธาตุ ดูกร ราหุล วาโยธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี       วาโยธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าวาโยธาตุเท่านั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน   ของเรา เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่าย ในวาโยธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ ดูกรราหุล เพราะเหตุที่ภิกษุพิจารณา     เห็นว่ามิใช่ตัวตน ไม่เนื่องในตน ในธาตุ ๔ นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้ แล้ว รื้อถอนสังโยชน์เสียได้ กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะละมานะได้   โดยชอบ ฯ


ที่มาจาก หนังสือ คู่มือสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏก เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม กทม.
1283  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การพิจารณาธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกาย เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 03:16:16 pm
การพิจารณาธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกาย
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้   แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้   ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดย  ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ


ที่มาจาก หนังสือ คู่มือสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏก เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม กทม.
1284  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ประกาศเรื่องการตอบปัญหาธรรม ทั้งในกระทู้ และ เมล เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 05:31:12 pm
เนื่องด้วยในปัจจุบัน อาตมารับ ปัญหา และตอบปัญหา ทั้งทางเมล และ กระทู้

ซึ่งตอนนี้เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ดังนั้นบางกระทู้อาจจะตอบสั้นไปบ้างก็ขอให้ทุกท่าน

ร่วมกันช่วยกันตอบด้วย นะจ๊ะ ส่วนเมลของผู้ใด ถามมาแล้วยังไม่ตอบ ก็ยังไม่ถึงคิวตอบนะ

เนื่องด้วยคำถามที่ท่านทั้งหลายถามกันมานั้น เป็นระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่สามารถแจ้งทาง

กระทู้เป็นสาธารณะได้ เพราะเป็นอารมณ์ส่วนบุคคล เวลาตอบอาตมาต้องพิมพ์มากกว่าคำถาม

อย่างน้อยก็ประมาณ 3 - 5 บรรทัด บางปัญหาตอบกันมากกว่า 10 บรรทัดซึ่งทั้งหมดนั้นก็ต้อง

ใช้เวลาในการพิมพ์ดังนั้น จึงเจริญพรแจ้งเรื่องความล่าช้าทางการตอบทั้งกระทู้ และ เมลด้วย

เจริญธรรม

 ;)
1285  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ตารางการปฏิบัติธรรมวันสำคัญ ปีพ.ศ. 2554 ที่สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต สระบุรี เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 09:59:54 pm


http://www.sangdhamsongchevit.com/carled.html

1286  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / เชิญร่วมปฏิบัติธรรมสร้างกุศลต้อนรับปีใหม่ 7-9 มกราคม 2554 เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 09:49:16 pm
เชิญร่วมปฏิบัติธรรมสร้างกุศลต้อนรับปีใหม่ 
  7-9  มกราคม  2554 
 
ณ  สวนนายต่อ
ห่างที่ว่าการอำเภอวังน้ำเขียว  3  กิโลเมตร
 
 
ตารางปฏิบัติธรรมประจำวัน 
 
04.30-05.00 น. ตื่นนอน 
05.00-07.00 น.อริยสัจ 4 มีฌาน 4 เป็นบาท 
07.00-09.00 น. ทานอาหารเช้า – อาบน้ำ 
09.00-12.00 น. จิตตกรีฑา ( ฌานสมาบัติ 8 กสิณ 8 ) 14 ขั้นตอน 
12.00-13.00 น. อาหารกลางวัน 
13.00-16.00 น. อนัตตลักขณสูตรมีฌาน 4 เป็นบาท 
16.00-18.00 น. อาหารเย็นและอาบน้ำ 
18.00-20.00 น. วิโมกข์ 3-8 , สมาบัติ 3 
20.00-23.00 น. สนทนาธรรม ถาม – ตอบปัญหาต่าง ๆ 
23.00-04.30 น. นอน 
 
กางเต๊นท์รับลมหนาว
 
 
รับจำนวนจำกัดเพียง 20 ท่านเท่านั้น 
 
ผู้สนใจติดต่อโทร. 089 – 766 – 2373. .
1287  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมเป็นรากเง่าของวิปัสสนา ศีลวิสุทธิ เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 09:22:54 pm
ธรรมเป็นรากเง่าของวิปัสสนา
ศีลวิสุทธิ พระโยคาวจรผู้พากเพียรพึงปฏิบัติพิจารณาซึ่งปริมณฑลแห่งศีลให้เห็นบริสุทธิทั้ง ๔ ประการ
                ๑.ปาฏิโมกขสังวรศีล ได้แก่ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ให้พระภิกษุ ต้องปฏิบัติศึกษาสำหรับ ท่านพระโยคาวจรที่เป็นพระภิกษุ ต้องรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ สามเณร รักษาศีล ๑๐ ฆราวาสรักษาศีล ๕ หรือจะรักษาศีลอุโบสถไปด้วยก็ได้
                ๒.อินทรียสังวรศีล ได้แก่ศีลคือความมีสติสำรวมระวังอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มิให้เกิดยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส และรู้อารมณ์ทางใจ
                  ๓.อาชีวปาริสุทธิศีล ได้แก่ ศีลคือการเลี้ยงชีพโดยความบริสุทธิ สำหรับพระภิกษุสามเณรต้องเว้นจาก อเนสนา คือการแสวงหาปัจจัยสี่ที่ในทางไม่สมควร และไม่ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ ส่วนฆราวาสต้องรักษาอาชีพให้บริสุทธิ
                 ๔.ปัจจยสันนิสสิตศีล ได้แก่ ศีลอาศัยปัจจัย ๔ หมายถึง ศีลในการบริโภคใช้สอยปัจจัย ด้วยความมีสติกำหนดพิจารณา โดยนิโสมนสิการ เช่น ในการบริโภคอาหาร ในการใช้ไตรจีวร สำหรับพระภิกษุ สามเณร และการใช้สอยเสื่อผ้าสำหรับฆราวาส ในการเข้าอยู่เสนาสนะที่อาศัย และการใช้เภสัชเยียวยาในการรักษาโรค
สิลวิสุทธิ เป็น ไฉน
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย และทางวาจา นี้เรียกว่า สิลวิสุทธิ
สิลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลวิสุทธิ
(นิกเขปกัณฑ์ สุตตันติกทุกะ อภิธรรมปฏก ธรรมสังคณี)
สีลมยญาณ
ญาณเกิดจากความสำรวมในศีล
ศีลห้า คือ การละปานาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ การละเมิดกามฉันด้วยเนขัมมะ การละความพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท การละถีนมิทธด้วยอาโลกสัญญา การละอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน การละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม การละอวิชชาด้วยญาณ การละอรติด้วยปราโมทย์ การละนิวรณืด้วยปฐมฌาน การละวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน การละปิติด้วยคติยฌาน การละทุกข์และสุขด้วยจตุถฌาน การละรูปสัญญา ปฏฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ การละอากาสานัญจายตนสัญญด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ การละวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญยายตนสมาบัติ การละอากิญจัญยายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ การละอนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสนา การละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสนา การละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสนา การละนันทิด้วยนิพพิทานุปัสนา การละราคาด้วยวิราคานุปัสนา การละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสนา การละทานะด้วยปฏนิสสัคคานุปัสนา การละฆนะสัญญาด้วยขยานุปัสนา การละอายุหนะด้วยยานุปัสนา การละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสนา การละนิมิตด้วยอนิมิตตานุปัสนา การละปณิธิด้วยอัปปณิหิตานุปัสนา การละอภินิเวสด้วยสุญญตานุปัสนา การละสานาทานาภินิเวสด้วยอธิปัญญาธรรมวิปัสนา การละสัมโมหาภินิเวสด้วยยถาภูตญาณทัสนะ การละอาลยาภินิเวสด้วยอาทีนวานุปัสนา การละอัปปฏิสังขารด้วยปฏิสังขารนุปัสนา การละสังโยคาหภินิเวสด้วยวิวัฏฏนานุปัสนา การละกิเลสที่ตั้งอยู่ร่วมกันกับทิฐิด้วยโสดาปัตติมรรค การละกิเลสที่หยาบๆ ด้วยสกทาคามิมรรค การละกิเลสละเอียดด้วยอนาคามิมรรค การละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค การละนั้นๆ เป็นศีล เวรมณี เป็นศีลเมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรที่ทำให้แจ้ง ชื่อว่าย่อมศึกษา
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการฟังธรรมแล้วสำรวมไว้ เป็น สีลมยญาณ

1288  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ขึ้นห้องวิปัสสนา แบบ เจโตวิมุตติ เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 09:20:05 pm
ขึ้นห้องวิปัสสนา แบบ เจโตวิมุตติ

๑.ผู้ได้รูปฌาน ๔ ต้องเข้า ฌาน ๔เป็นก่อน ให้ภาวนาว่า โลกุตรัง ฌาณัง แล้วภาวนาองค์วิปัสสนา

๒.ผู้ได้รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ เรียกว่า สมาบัติ ๘ ต้องเข้า ฌานเป็นบาทแล้วเข้าวิปัสสนา

(ยกเว้น เนวสัญญาสัญญายตนะ ใช้ทำวิปัสสนาไม่ได้ ใช้ทำกิจไม่ได้ แต่เสวยผลได้)

1289  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สุญญต สมาบัติ วิหาร วิโมกข์ วิมุตติ อื่น ๆ เชิญอ่าน เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 04:40:37 pm
สุญญตวิหาร
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในพระนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิต ถูกต้องแล้วซึ่งสังขารนิมิตด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในพระนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วซึ่งตัณหาด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนั้นชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตัวตนโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วซึ่งความถือมั่นตนด้วยญาณ ย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปวิหารธรรมนั้น ชื่อว่า สุญญตวิหาร

สุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิตเพิกความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัตินี้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่าตนโดยความเป็นภัยมีจิตนอมไปในนิพพานอันว่างจากตน เพิกเฉยความเป็นไปแล้วคำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างจากตน แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ


สุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นสังขารนิมิต โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีสังขารนิมิตถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไแแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีสังขารนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัตินี้ชื่อว่าอนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีตัณหาเป็นที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิติวาหรสมาบิต พิจาณาเห็นความถือมั่นว่าตน โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปนิพพานอันว่างจากตน ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่า ว่างจากตน แล้วเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ

สุญญตวิหาร
พระโยคาวจารพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีรูปนิมิต ถูกต้อแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า สุญญตะวิหาร ฯ


สุญญตสมาบัติ
พระโยควจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบิต นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพาานอันไม่มีที่ตั้งเพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นื้ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่าเปล่า เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับว่า เปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ

สุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูปนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งรูปโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยควมเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับสนิทไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความถือมั่นว่ารูปโดยความเป็นภัยมีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตวิหารสมาบัติ ฯ


สุญญตวิหาร
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณะนิมิต โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อนิมิตวิหาร พิจารณาเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชรามรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้ว ย่อมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหาร พิจารณาเห็นความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่ว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ยอมเห็นความเสื่อมไป วิหารธรรมนี้ ชื่อว่า สุญญตวิหารฯ

สุญญตสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานนั้นไม่มีนิมิตเพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิต แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตสมาบัติ พิจารณษเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมาณะ โดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่เป็นที่ตั้ง เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิสมาบัติ พิจาณาความถือมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่าแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า สุญญตสมาบัติ ฯ

สุญญตวิหารสมาบัติ
พระโยคาวจรพิจารณาเห็นชราและมรณนิมิตโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีนิมิตถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีนิมิตแล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อนิมิตตวิหารสมาบัติ พิจารณษเห็นตัณหาอันเป็นที่ตั้งแห่งชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้วคำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ไม่มีที่ตั้ง แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิหารสมาบัติ พิจารณาเห็นความยึดมั่นชราและมรณะโดยความเป็นภัย มีจิตน้อมไปในนิพพานอันว่างเปล่า ถูกต้องแล้วๆ ย่อมเห็นความเสื่อมไป เพิกเฉยความเป็นไปแล้ว คำนึงถึงนิพพานอันเป็นที่ดับ ว่างเปล่า แล้วย่อมเข้าสมาบัติ นี้ชื่อว่าสุญญตวิหารสมาบัติ อนิมิตตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิวิหารเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตวิหารเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญตสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อนิมิตตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง อัปปณิหิตวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง สุญญติวิหารสมาบัติเป็นอย่างหนึ่ง ฯ


สุญญตะ
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพานเพื่อลทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอภัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพล หิริพละ โอตตัปปะ กายปัสสิทธิ จิตตปัสสัทธิ จิตตปัสสธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุหุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ฯ

สภาธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน
โยคาวจรบุคคลเจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพานเพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ชนิดสุญญตะ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ

1290  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / โพชฌงค์ 7 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 04:36:38 pm
โพชฌงค์ ๗ คือ
๑.สติสัมโพชฌงค์
๒.ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์
๓.วิริยะสัมโพชฌงค์
๔.ปิติสัมโพชฌงค
๕.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖.สมาธิสัมโพชฌงค์
๗.อุเบกขาสัมโพชฌงค์

สติสัมโพชฌงค์

สติในธรรมภายใน มีอยู่ สติในธรรมภายนอกมีอยู่ สติในธรรมแม้ใด สติในธรรมแม้นั้น ก็ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สติในธรรมภายนอกแม้ใด สติในธรรมภายนอกแม้นั้น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

ความเลือกสรรในธรรมภายใน มีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายนอกมีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้ใด ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่าธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้ใดความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

วิริยะสัมโพชฌงค์

ความเพียรทางกายมีอยู่ ความเพียรทางใจมีอยู่ ความเพียรทางกายแม้ใด ความเพียรทางกายแม้ชื่อว่า วิริยะสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเพียรทางใจแม้ใด ความเพียรทางใจแม้นั้น ก็ชื่อว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ปิติสัมโพชฌงค์

ปิติที่มีวิตก วิจารมีอยู่ ปิติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารมีอยู่ ปิติที่มีวิตกวิจารแม้ใด ปิติที่มีวิตกมีวิจารแม้นั้น ชื่อว่า ปิติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ปิติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้ใด ปิติไม่มีวิตก ปิติที่ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าปิติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

กายปัสสธิ มีอยู่ จิตปัสสัทธิมีอยู่ กายปัสสัทธิแม้ใด กายปัสสัทธิแม้นั้น ก็ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน จิตปัสสัทธิแม้ใด จิตปัสสธิแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

สมาธิสัมโพชฌงค์

สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร แม้ใด สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้นชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

อุเบกขาสัมโพชฌค์

อุเบกขาในธรรมภายในมีอยู่ อุเบกขาในธรรมภายนอกมีอยู่ อุเบกขาแม้ในธรรมภายในแม้ใด อุเบกขาแม้ในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชือว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อุเบกขาในธรรมภายนอกมแใด อุเบกขาแม้ในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
1291  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปู่ไข่ อินฺทสโรภิกฺขุ เมื่อ: ธันวาคม 30, 2010, 08:26:33 pm

อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่)  หรือที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมพระเครื่องว่า หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน  เป็นชาวแปดริ้ว บ้านเกิดอยู่บริเวณ ประตูน้ำท่าไข่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา  จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน หลวงปู่เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน  พ.ศ. 2402 ตรงกับขึ้น5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรของนายกล่อม นางบัว  จันทร์สัมฤทธิ์ มีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏ
        ขณะที่ท่าน อายุ  6 ขวบ(ประมาณ พ.ศ. 2408) บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน วัดโสธร  คือวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน เพื่อให้เรียนหนังสือ  ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อได้บรรพชาแล้วก็ได้หัดเทศน์มหาชาติและ เทศน์ประชัน
          กล่าวกันว่าหลวงพ่อปู่ไข่  มีความสามารถในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรีได้ไพเราะกังวานจับใจ ผู้ฟังยิ่งนักแม้ภายหลังเมื่อชราแล้ว  ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็มักจะได้ยินหลวงปู่ทบทวนการเทศน์มหาชาติ ทั้ง 2 กัณฑ์  ในตอนกลางคืนอยู่เสมอๆ
          ครั้นเมื่อหลวงพ่อปาน วัดโสธร มรณภาพแล้ว หลวงปู่ไข่  ได้ไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอพนัสนิคม  จังหวัดชลบุรี จนกระทั่งพระอาจารย์จวงมรณภาพ ขณะนั้นหลวงปู่ไข่ มีอายุได้  15 ปี (ประมาณ พ.ศ.2417)
          ตามประวัติกล่าวว่าหลวงปู่ไข่ ได้เดินทางมากรุงเทพฯ  ไปอยู่กับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ที่วัดหงส์รัตนาราม  อำเภอบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี เพื่อเรียนพระปริยัติธรรม อีก 3 ปีต่อมา  (ประมาณ พ.ศ.2420) หลวงปู่ไข่ ได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม  วัดลัดด่าน ซึ่งอยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร  และได้เล่าเรียนปริยัติธรรมและพระวินัยจนอายุครบบวช (ประมาณ พ.ศ.2422)  จึงได้อุปสมบทที่วัดนี้ โดยมี
                  พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์
                  พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
                  พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อุปสมบทแล้วได้เดินทางไป เรียนพระกรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ซึ่งอยู่ที่เชิงเขา  แขวงเมืองกาญจนบุรี เรียนอยู่ระยะหนึ่งจึ่งกลับมาอยู่วัดลัดด่านตามเดิม
          ต่อมาหลวงปู่ไข่ ได้ออกธุดงค์ไปตามสำนักพระอาจารย์ต่างๆ  ซึ่งอยู่ที่อำเภอโพธาราม เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี  จากนั้นได้กลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกระยะหนึ่ง  จึงได้ออกธุดงค์ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์ในถ้ำที่เมืองกาญจนบุรี เป็นเวลาประมาณ 6 ปี (ราว พ.ศ. 2423 – 2429)
           ตามประวัติกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "ท่านเล่าว่า ระหว่างอยู่ในถ้ำนั้น  ตกกลางคืนจะมีสิงห์สาราสัตย์ต่างๆ เข้ามานอนล้อมกอด  พอเช้ามืดต่างคนต่างออกไปหากิน ส่วนท่านก็จะออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตรประจำวัน  (ท่านฉันหนเดียว)
          เมื่อท่านศึกษาอยู่ในถ้ำนั้นเป็นเวลานานพอสมควร  เห็นว่าจะช่วยเหลือโลกได้บ้างแล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ออกจากถ้ำไปในที่ต่าง ๆ  โดยไม่ยอมขึ้นรถลงเรือ และไม่มีจุดหมายปลายทาง  สุดแต่มืดที่ไหนก็กางกลดนอนที่นั่น เช้าก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป
         ในระหว่างทางมีราษฎรมาขอความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด  เรื่องตกทุกข์ได้ยาก หรือเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเป็นบ้าเสียจริต  ท่านมีจิตเมตตาช่วยรักษาให้ตามที่อธิษฐานทุกคน" หลวงปู่ไข่  เดินธุดงค์อยู่ราว ๑๕ ปี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๒๙ – พ.ศ.๒๔๔๔)  เกียรติคุณของหลวงปู่ไข่ ได้เลื่องลือเข้ามาถึงกรุงเทพฯ
         จึงมีผู้นิมนต์มาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ ฝั่งธนบุรี เป็นเวลา ๑ ปี  จากนั้นหลวงปู่ไข่ ก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอีกหลายปี  ในที่สุดหลวงปู่ไข่ ก็เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง เข้าใจว่าคงราว ๆ  พ.ศ.๒๔๕๕ -พ.ศ.๒๔๖๑
         การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ครั้งนี้ หลวงปู่ไข่  ได้เลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร  ทั้งนี้เพราะที่วัดบพิตรพิมุขมีพระภิกษุน้อย และมีคณะกุฏิ  ซึ่งใช้เป็นที่เก็บศพ  และบางครั้งก็มีชาวบ้านเข้ามาใช้เป็นที่ถ่ายอุจจาระด้วย  ดังนั้นคณะกุฏินี้จึงเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีใครมารบกวนมากนัก  หลวงปู่ไข่จึงเข้ามาอยู่ที่คณะกุฏิในป่าช้าของวัดบพิตรพิมุข  สมัยนั้นพระภิกษุรูปใดจะเข้ามาอยู่วัดก็ได้โดยเสรี  ไม่ต้องมีบัตรและไม่มีใครตรวจตรา ไม่ต้องขออนุญาต  เพียงแต่ถึงคราวเข้าปุริมพรรษา ก็บอกกล่าวเจ้าอาวาสให้รับทราบ  เพื่อจะได้จำพรรษาที่วัดนั้น และเมื่อหลวงปู่ไข่  มาอยู่ที่วัดบพิตรพิมุขนั้น พระกวีวงศ์ (กระแจะ วสุตตโม ป.ธ.๔)  เป็นเจ้าอาวาส
          ในระหว่างที่หลวงปู่ไข่ จำพรรษาอยู่ ณ วัดบพิตรมุข หลวงปู่ไข่  ได้ปฏิบัติทางธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ ได้แก่  สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์  บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ  เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น  สร้างพระไตรปิฎก โดยหลวงปู่ไข่ ลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง  ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น  สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ  ถังรับน้ำฝน ขึ้นภายในบริเวณวัด  สร้างแท่นสำหรับนั่งพักภายในคณะกุฏิให้เป็นที่สะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่ อาศัยอยู่ในคณะนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่า เมื่อครั้งหลวงปู่ไข่  จำพรรษาอยู่ตามหัวเมือง ก็ได้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง
         หลวงปู่ไข่  เป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคูณพระรัตนตรัย  มีจิตสุขุมเยือกเย็นประกอบด้วยเมตตากรุณา มีจริยาวัตรอัธยาศัยเรียบร้อย  เคร่งครัดในทางสัมมาปฏิบัติ  เป็นที่เคารพนับถือแก่บรรดาศิษย์และผู้ที่รู้จักคุ้นเคยทั้งในกรุงเทพฯ  และต่างจังหวัดเป็นอันมาก หลวงปู่ไข่เป็นพระที่สมณะใฝ่สันโดษ  เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิตย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร  บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ไข่ได้ป่วยก็มาหา  หลวงปู่ไข่ก็จะแนะนำให้ไปซื้อยามาเสกให้กิน  เมื่อมีเวลาว่างหลวงปู่ไข่ก็จะสร้างพระ ตะกรุด ธง  และเหรียญออกแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์
         ราว พ.ศ. ๒๔๗๐  หลวงปู่ไข่ เตรียมบาตร กลด และย่ามเพื่อจะออกธุดงค์  แต่บรรดาศิษย์ทั้งที่เป็นข้าราชการ พ่อค้า ได้ปรึกษาหารือกันว่า หลวงปู่ไข่  ชราภาพมากแล้ว หากออกธุดงค์คราวนี้ไซร้คงจะไม่ได้กลับมาแน่  จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้หลวงปู่ไข่  อยู่วิปัสสนากรรมฐานแก่บรรดาศิษย์ต่อไป
         หลวงปู่ไข่  เริ่มอาพาธด้วยโรคชราตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ ครั้นวันที่ ๑๖  มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ เวลา ๑๓.๒๕ น. ก็ถึงแก่มรณภาพ ก่อนเวลาที่จะมรณภาพ  หลวงปู่ไข่ ได้ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้  ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่  ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ  เมื่อกระทำนมัสการบูชาพระเสร็จแล้วก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต  เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ ๑๕ นาที ก็หมดลมปราณ  ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวหลวงปู่ไข่ ให้นอนลง  รวมอายุได้ ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ พรรษา
          ตามปรกติที่วัดบพิตรพิมุข ไม่มีที่ประชุมเพลิงศพโดยเฉพาะ  ด้วยเหตุนี้คณะสงฆ์เห็นว่าหลวงปู่ไข่ เป็นพระเก่าแก่ของวัด  และมีผู้เคารพนับถือมาก  จึงขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษเพื่อทำการประชุมเพลิงศพหลวงปู่ไข่ ที่บริเวณกุฏิ  กำหนดประชุมเพลิงในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. (คือประมาณ ๑๐๐  วันหลังจากมรณภาพ สมัยนั้น วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน)
          ในวันประชุมเพลิงศพ มีคนมาร่วมงานมากมาย ถึงกับล้นออกไปตามตรอกซอยและถนน  พอถึงเวลาเคลื่อนศพเพื่อนำไปขึ้นเชิงตะกอน ทันใดนั้นเอง  แผ่นดินบริเวณคณะได้เกิดไหวขึ้น คนตกใจถึงกับออกปากว่า  อภินิหารของหลวงปู่ไข่ มีมากเหลือเกิน เมื่อประชุมเพลิง แล้วสัปเหร่อได้จัดการแปรธาตุเก็บอัฐิ บรรดาศิษย์เข้าขออัฐิของหลวงปู่ไข่ ไปไว้บูชาเป็นจำนวนมาก

ขอบคุณเนื้อหา
http://krabentongnam2511.wordpress.com
Aeva Debug: 0.0008 seconds.
1292  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ประวัติวัดราชสิทธาราม เมื่อ: ธันวาคม 30, 2010, 08:22:12 pm
วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร                         
( วัดราชสิทธิ์) ตั้งอยู่ใกล้สะพานเจริญพาสน์ ถนนอิสรภาพ   ฝั่งธนบุรี เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดพลับ สมัยรัชกาลที่  ๑ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดใหม่ขึ้นในที่ติดกันกับวัดพลับเดิมและรวมวัดทั้งสองเข้าด้วยกัน  แล้วเรียกว่าวัดพลับเช่นเดิม ถึง พ.ศ. ๒๓๕๑ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดพลับเดิมอีกครั้ง                          เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้อยู่หัวทรงผนวชเสด็จมาทรงจำพรรษาที่วัดนี้   เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด
   ภายในวัดราชสิทธารามมีสิ่งก่อสร้างสำคัญ   คือ พระตำหนักจันทร์  ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   รัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างพระราชทานให้รัชกาลที่ ๓  ประทับเมื่อทรงผนวช   เป็นพระตำหนักเล็กขนาด ๒ ห้อง  ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนสร้างด้วยไม้จันทร์ทั้งหมด  ติดช่อฟ้า ใบระกา ประดับกระจกสวยงาม  ต่อมารัชกาลที่ ๓  ทรงย้ายไปปลูกเคียงพระตำหนักเก๋งจีนและเปลี่ยนเครื่องไม้ที่ชำรุดทรุดโทรม เป็นไม้เนื้อแข็งอื่นๆ   เช่น ไม้เต็งรัง ไม้สัก  ทำให้เหลือส่วนที่เป็นไม้จันทร์อยู่เพียงบางส่วนเท่านั้น
   พระอุโบสถสร้างใหม่ครั้งรัชกาลที่ ๓ ในคราวปฏิสังขรณ์ใหญ่ ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังรูปกระบวนพระยุหยาตราทางสถลมารคแต่ชำรุดลบเลือนไปมาก


สำหรับรายละเอียดและเนื้อหา ที่มากกว่านี้ ติดตามได้จากเว็บไซท์ของทางวัดโดยตรง

www.somdechsuk.org
1293  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฌาน ๕ ยกปฐวีกสิณเป็นอารมณ์แห่งฌาน เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 09:25:48 pm
ปัญจมฌานปฐวีกสิณ

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ

บรรลุปัญจมฌานมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ ละสุขได้ เพราะโสมนัส และ โทมนัสดับสนิทในกาลก่อน

มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ในสมัยใดฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้นนี้เรียกว่า ปัญจมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
1294  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / วิโมกข์ 8 ประการ เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 09:22:12 pm
วิโมกข์ ๘ ประการ
๑.พระโยคาวจรผู้ได้รูปฌาน โดยทำบริกรรมในรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย
    นี้จัด  เป็นวิโมกข์ที่ ๑
๒.พระโยวาคจรผู้ได้รูปฌานโดยทำรูปภายนอก ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภาย
     นอก นี้จัด เป็นวิโมกข์ที่ ๒
๓.พระโยวาคจรเป็นผู้น้อมไปว่างามแท้  นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๓
๔.พระโยวาคจรล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆะ
    สัญญาเพราะไม่มนสิการ นานัตสัญญา  จึงบรรลุอากาสานัญจายตน
    โดยประการทั้งปวง โดยบริกรรมว่าอากาสไม่มีที่สิ้นสุดดังนี้ นี้จัดเป็น
    วิโมกข์ที่ ๔
๕.เพราะก้าวล้วงอากาสานัญจายตนโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลบรรลุ
    วิญญานัญจายตน โดยบริกรรมว่าวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดดังนี้ นี้จัดเป็น
     วิโมกข์ที่ ๕
๖.เพราะก้าวล่วงวิญญานัญจายตนโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุ
    อากิญจัญญายตน โดยบริกรรมว่าน้อยหนึ่งก็ไม่มี นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๖
๗.เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนดดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึงบรรลุ
    เนวสัญญานาสัญญายตน นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๗
๘.เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนโดยประการทั้งปวง โยคาวจรบุคคลจึง
    บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่นี้จัดเป็นวิโมกข์ที่ ๘

1295  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เมื่อ: ธันวาคม 29, 2010, 09:21:20 pm
อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือ

ปฐมฌานสมาบัติ
ทุติยฌานสมาบัติ
ตติยฌานสมาบัติ
จตุถฌานสมาบัติ
อากาสันัญจายตนสมาบัติ
วิญญานัญจายตนสมาบัติ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
สัญญาเวทยตนิโรธสมาบัติ

1296  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / สรุปธรรมสัญจร ภาคเหนือ 24 25 26 27 ธ.ค.2553 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2010, 09:34:14 am

ไปถึง ตี 3.45 น. อากาศกำลังเย็นแบบสั่นเลยครับ



หน้าถ้ำผาจมครับ


บนชั้น 3 ครับของอาคารปฏิบัติธรรม เป็นที่รวบรวม พระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุต่าง ๆ


พระเจ้าล้านตื้อ บนเรือ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ



บรรยากาศน้ำพุร้อน แม่ขะจาน


พระธาตุแม่เจดีย์


กราบนมัสการพระธาตุแม่เจดีย์
1297  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นำไตเติ้ล ตัวอย่าง วีดีโอ กรรมฐาน ชุดพิเศษ จะจัดทำเดือน ก.พ. หรือ มี.ค. เมื่อ: ธันวาคม 20, 2010, 06:56:10 pm


นำ title วีดีโอมาให้ชมก่่อน ตอนนี้พระอาจารย์ กำลังเริ่มจัดทำ วีดีโอบรรยาย

กรรมฐาน ชุด "ปิดทองหลังพระ" คงจะเริ่มจัดทำในเดือน ก.พ. ปลายเดือน หรือ มี.ค.

เพื่อรำลึกถึงวันที่ศิษย์ ได้มาปฏิบัติกรรมฐาน ในวัน 19 20 21 ก.พ.53 ที่ผ่านมา

Aeva Debug: 0.0004 seconds.
1298  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สักกายทิฏฐิ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวรรค เมื่อ: ธันวาคม 06, 2010, 08:54:05 am
สักกายทิฏฐิ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวรรค

โสดาปัตติมรรคอาสวะเหล่านั้นคือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐิสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เป็นเหุตให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะ แห่งโสดาปัตตอมรรคนี้

สกทาคมมิมรรคอาสวะส่วนหยาบ ภวาสะ อวิชชาสวะ อันตั้งกันอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสหทาคมิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง สหทาคามิมรรคนี้

อนาคามิมรรคกามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้

อรหัตมรรคภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิแห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิฌาณ


1299  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เหตุที่พระอาจารย์ วิเวก เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 11:04:31 am
ก่อนอื่น ขอขอบคุณ ทุกท่านที่คิดถึง และส่งเมล มาสอบถามความเป็นอยู่ ซึ่งกันและกัน ด้วยความนับถือ

ก็ขอให้ทุกคนนั้น มีความก้าวหน้าในการเจริญธรรม ทุกท่าน




ก็จะ ขอชี้แจง เรื่องการปลีก วิเวก ของพระอาจารย์ ให้ทราบ เพื่อคลายความเป็นห่วงกัน




ทำไม พระอาจารย์ เลือกการปลีกวิเวก ช่วงนี้


1. การคลุกคลี ด้วย หมู่คณะ มีอุปสรรค ในการเจริญภาวนา

2. กิจวัตร ไม่สอดคล้องกับการภาวนา

3. การฝึกตน มีความสำคัญ มากที่สุด

4. เพื่อดู ลูกศิษย์ ที่ได้ขึ้น กรรมฐาน 3000 กว่าคน นั้นมีความก้าวหน้าในกรรมฐาน กี่คน

เจริญพรให้ทราบเบื้องต้นเท่านี้นะจ๊ะ

 ;)

1300  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฌายี 4 ของพระโยคาวจร ( ความสำคัญผิดหรือถูก ในฌาน ) ควรปรับปรุงด้วยสติ เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 10:51:53 am
พระโยคาวจร ผู้เจริญภาวนา 4 จำพวก เรียกว่า ฌายี 4

 1. พระโยคาวจร ผู้เจริญ ฌาน บางคน ย่อมสำคัญ ผิด ซึ่ง ฌานที่ตนได้แล้ว ว่า ยังไม่ได้  ก็มี

2. พระโยคาวจร ผู้เจริญ ฌาน บางคน ย่อมสำคัญ ผิด ซึ่ง ฌานที่ตนยังไม่ได้ ว่า ได้แล้ว มีเแล้ว  ก็มี

 3.  พระโยคาวจร ผู้เจริญ ฌาน บางคน ย่อมสำคัญ ถูก ซึ่ง ฌานที่ตนได้แล้ว ว่า ได้แล้ว ก็มี

 4.  พระโยคาวจร ผู้เจริญ ฌาน บางคน ย่อมสำคัญ ถูก ซึ่ง ฌานที่ตนยังไม่ได้ ว่า ยังไม่ได้  ก็มี

ใน 4 จำพวกนี้ พวกที่ 2 ควรจะต้องรีบปรับปรุง ทันที ปรับปรุงอย่างไร ปรับปรุงด้วย สติ ก่อนเป็นอันดับแรก

เพราะเป็นเหตุนำมาซึ่งความหลง ความผิด และ บาปอกุศล หลายอย่าง

เจริญพร

 ;)

1301  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พระภิกษุ มิได้ ปฏิบัติ กรรมฐาน เพียง กรรมฐาน เดียว เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 10:39:27 am
ตามที่หลายท่าน เมล เข้ามาขอตอบเป็นส่วนรวมนะจ๊ะ

 การปฏิบัติกรรมฐาน ของพระภิกษุ นั้น มิได้ปฏิบัติ กรรมฐานกองใด กองหนึ่ง เป็นส่วนเดียว

 เนื่องด้วย กรรมฐาน มีอุบายอยู่ในวัตร ปฏิบัติของพระัภิกษุอยู่แล้ว

  ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายดังนี้

  1. การทำวัตร สวดมนต์ เป็นการเจริญ อนุสสติ ทั้ง 10 ประการ ทังแปล และ ไม่แปล ก็เหมือนกัน

  2. หลังทำวัตร สวดมนต์ เข้ากรรมฐานสันโดด กองใด กองหนึ่ง และ จบด้วย พรหมวิหารกรรมฐาน

  3. บิณฑบาตร และ ฉัน หลัง ฉัน ก็ปฏิบัติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา และ จตุธาตุววัตถาน กายคตาสติ

  4.ในกิจวัตร อื่น ๆ ก็ยังมีอีก พอแค่นี้ นะจ๊ะ

  ดังนั้น กรรมฐาน ไม่ได้ฝึกกันเวลาเดียว แต่ฝึกกันทั้งวัน ใครฝึกได้ทัน กำหนดได้ทัน ก็มีความสามารถ ทาง

จิตเพิ่มขึ้น อันนี้อยู่ที่ความเพียร กับ ธรรมวิจยะ นะจ๊ะ

 เจริญพร

 ;)
1302  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พระยุคลหก นั้น เป็นโสภณจิต ระหว่าง ปีติ และ สุข เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 10:28:36 am
ตามเมล สอบถามมานั้น ว่า พระยุคล เป็นส่วนไหน ของ ปฐมฌาน เพราะไม่มีเนื้อหา ของเรื่อง ยุคลหก

เห็นว่าเป็นคำถามที่ดี จึงขอนำมาตอบไว้ในที่นี้ ครับ

 เนื่องด้วย วิชากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีความละเอียดในเรื่องจิต

  ดังนั้น ยุคลหก ไม่ใช่ วิชาที่นอกเหนือ พระไตรปิฏก ยุคลหก ปรากฏข้อความ โสภณจิต มีรายละเอียดใน

ส่วนพระอภิธรรม ตั้งแต่ ธัมมะสังคิณีปกรณ์ ขึ้นไป


   ยุคลหก นั้น เป็น อารมณ์จิต ที่ประกอบ ด้วย ปีติและ สุข อันประสาน ระหว่าง กาย และ จิต

   มี หกประการ คือ ( รูปนามสัมพันธ์ กัน )

    1. กายะปัสสัทธิ  จิตตะปัสสัทธิ  กายสงบระงับ  จิตสงบระงับ

    2. กายะลหุตา  จิตตะลหุตา  กายเบา จิตเบา

    3. กายะมุทุทตา  จิตตะมุทุตา  กายอ่อนโยน จิตอ่อนโยน

    4. กายะกัมมัญญะตา จิตตะกัมมัญญะตา การควรแก่การงาน จิตควรแก่การงาน

    5. กายะปาคุญญะตา  จิตตะปาคุญญะตา กายคล่องแคล่ว จิตคล่องแคล่ว

    6. กายุชุคคะตา  จิตตุชุคคะตา กายตรง จิตตรง


   เมื่อมาถึงตรงนี้ ก็ส่งจิตเข้าสู่องค์ที่ 4 แห่ง ฌาน นั้นก็คือ สุข

    กายสุข  จิตสุข  กายก็สุข  จิตก็สุข

    เป็นสุขสมาธิ เต็มขั้น ก็อย่างนี้


   เจริญพร

    ;)
   

    สั้น ๆ ก็แค่นี้ นะจ๊ะ

 
1303  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พระภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ในการ จาริก ธุดงค์ แบบกรรมฐาน มัชฌิมา เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2010, 10:19:29 am
ตามที่พระคุณเจ้าสอบถาม มาทางเมล นะครับ เกี่ยวกับเรื่อง ธุดงค์

===================================================

ในศิษย์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ หากเป็นพระภิกษุ จะให้เดินธุดงค์ ได้ก็ต้องฝึกจิต

ได้อุปจาระฌาน หรือ ปฐมฌาน ไปแล้ว จึงควรแก่การธุดงค์ จาริก เพราะไม่ทำให้ฟุ้งซ่าน

เมื่อจะออกจาริก ธุดงค์ ก็ พึงระลึกคุณธรรม 4 ประการ

   1. อาตาปี ความเพียรเผากิเลสอย่างยิ่ง

   2. ปหิตโต มีตนส่งไปแล้ว

   3. อารัทธวิริโย มีความเพียรปรารภแล้ว

   4. อุรัง ทัตตะวา พุทธะสาสะเน  มอบชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา

อันนี้เป็นส่วนคุณธรรม ทีต้องตั้งไว้
============================================

ส่วนพระวินัย นั้นต้องปฏิบัติตามด้วย

การบอกกล่าวลา

พรรษา ที่พ้นวิสัยปกครอง คือ 5 พรรษาขึ้นไป

เรียนกรรมฐาน ฝึกจิต ได้ผลเบื้องต้นแล้ว

===============================================

หากไม่ได้คุณสมบัติ ตามนี้ จากที่ผมเคยเดินจาก สงขลา กับ มาสระบุรี นั้น เหนื่อยฟรีครับ

ที่สำคัญ ฟุ้งซ่านด้วย เืพื่อนผม ลาสิกขาหายจากไปทัง 3 รูป เดินมาด้วยกัน 3 รูป และ เพิ่ม อีก 4

===========================================================

แต่ได้นิสัย ติดมาอย่าง ครับ คือเวลาไปปฏิบัติธรรมที่ไหน ๆ ผมขนอุปกรณ์ไปน้อยมาก อยู่ง่าย จัดที่ง่าย

ถ้าผ่านการเดินทางสายใต้ ฝนจะตกบ่อยมาก อากาศชื้น ต้องเตรียมยาติดตัวไปบ้าง ที่สำคัญถ้าเวลาป่วยแล้ว

อย่าฝืนจะเป็นหนัก ให้เข้าวัดในวัดที่ใกล้เคียงก่อน

============================================================

เดินภาคเหนือ อากาศเย็น และ หนาว เครื่องนุ่งห่ม มีความสำคัญมาก ๆ

============================================================

เิดินภาคอิสาณ อากาศเย็น และ หนาว น้ำมีความสำคัญมาก เพราะหาน้ำดื่มยากมาก แห้งแล้ง

============================================================

เดินภาคกลาง ภาคตะวันออก อากาศดี ร้อน ที่สำคัญ ระวังรถด้วย รถเยอะ ขับรถกันเร็วจริง ๆ

============================================================

เดินธุดงค์ อย่าพกปัจจัยมาก พกแค่ ร้อย สองร้อย ( เพื่อเปลี่ยนใจเดินทางกลับ ) หรือไม่พกเลย จะดีมาก

คำแนะนำให้เป็นส่วน รวม เลยนะครับ

 ;)
1304  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ อะไร เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2010, 11:37:05 am
กับคำถามว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ อะไร ?
ขอตอบด้วยพระสูตร อันมีใน พระไตรปิฏก ปฏิสัมภิทามรรค เลยนะจ๊ะ   




   [๒๑๗] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วย
ความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณอย่างไร ฯ   
    คำว่า ด้วยพละ ๒ ความว่า พละ ๒ คือสมถพละ ๑ วิปัสนาพละ ๑ ฯ   

   [๒๑๘] สมถพละเป็นไฉน ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียวไม่ฟุ้งซ่าน  ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ ด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละแต่ละอย่างๆ ฯ
    [๒๑๙] คำว่า สมถพลํ ความว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ    ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ ด้วยปฐมฌานไม่หวั่นไหวเพราะวิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน ไม่หวั่นไหวเพราะปีติ ด้วยตติยฌานไม่หวั่นไหวเพราะสุขและทุกข์ ด้วยจตุตถฌาน ไม่หวั่นไหว เพราะรูปสัญญาปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวไม่กวัดแกว่งไม่คลอนแคลน เพราะอุทธัจจะ เพราะกิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะและเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าสมถพละ ฯ
    [๒๒๐] วิปัสนาพละเป็นไฉน อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา  อนัตตานุปัสนานิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ฯลฯ ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ เป็นวิปัสนาพละแต่ละอย่างๆ ฯ
    [๒๒๑] คำว่า วิปสฺสนาพลํ ความว่า ชื่อว่าวิปัสนาพละ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ    ชื่อว่าวิปัสนาพละ เพราะอรรถว่า  ไม่หวั่นไหวเพราะนิจจสัญญา     ด้วยอนิจจานุปัสนาไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะอัตตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความเพลิดเพลิน ด้วยนิพพิทานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความกำหนัด ด้วยวิราคานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความถือมั่น    ด้วย            ปฏินิสสัคคานุปัสนา ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เพราะอวิชชา เพราะกิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชา และเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าวิปัสนาพละ ฯ
    [๒๒๒] คำว่า ด้วยการระงับสังขาร ๓ ความว่า ด้วยการระงับสังขาร๓ เป็นไฉน วิตกวิจารเป็นวจีสังขารของท่านผู้เข้าทุติยฌานระงับไป ลมอัสสาสปัสสาสะเป็นกายสังขารของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ระงับไป สัญญาและเวทนาเป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ
ระงับไปด้วยการระงับสังขาร๓ เหล่านี้ ฯ
    [๒๒๓] คำว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖ ความว่า ด้วยญาณจริยา ๑๖เป็นไฉน อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนาวิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนาปฏินิสสัคคานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรคสกทาคามิผลสมาบัติอนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ เป็นญาณจริยาแต่ละอย่าง ๆ ด้วยญาณจริยา ๑๖ นี้ ฯ
    [๒๒๔] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ ความว่า ด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นไฉน ปฐมฌานทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติวิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นสมาธิจริยาแต่ละอย่างๆ วิตกวิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน ฯลฯ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา จิต เพื่อประโยชน์แก่การได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ด้วยสมาธิจริยา ๙ นี้ ฯ
    [๒๒๕] คำว่า วสี ความว่า วสี ๕ ประการ คือ อาวัชชนาวสี ๑ สมาปัชชนาวสี ๑ อธิษฐานวสี ๑ วุฏฐานวสี ๑ ปัจจเวกขณวสี ๑ ฯ
    สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอาวัชชนาวสีสมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานได้ ณ สถานที่ และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสมาปัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลอธิษฐานปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการอธิษฐาน เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอธิษฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลออกปฐมฌาณได้  ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการออก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวุฏฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปัจจเวกขณวสี สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงทุติยฌาน ฯลฯเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึงเพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิษฐาน ออกพิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนาไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปัจจเวกขณวสี วสี ๕ประการนี้ ฯ
    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญานจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ ฯ

สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน
     ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ  นี้เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ ฯ

ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ในสังขารในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ พ้นจากความหลงโดยความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ฯลฯ ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ พ้นจากความหลงโดยความยึดมั่น จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ นี้เป็นญาณวิโมกข์ ฯ

เจริญพร
;) Aeva Debug: 0.0007 seconds.
1305  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เกี่ยวกับ ตจปัญจกกรรมฐาน เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 11:36:05 am
คำถามจากเมล์ จากพระุคุณเจ้า พระนวกะ

ปุจฉา มีกรรมฐานอะไรที่ ผมจะทำได้เบื้องต้น โดยที่ยังไม่ต้องขึ้นกรรมฐาน ครับ

วิสัชชนา กรรมฐานที่มีมาตั้งแต่ต้นสำหรับพระภิกษุ ผู้บวชใหม่ ถือว่าได้ขึ้นกรรมฐาน กับ พระอุปัชฌาย์โดยตรงแล้ว นั่้นก็คือ ตจปัญจกกรรมฐาน ซึ่งจัดเป็นกรรมฐาน ในหมวด กายคตาสติ คือตาม ตามระลึกพิจารณาในกายมี  ดังนี้   
1. เกสา  หมายถึง ผม   
2. โลมา หมายถึง ขน   
3. นขา  หมายถึง เล็บ   
4. ทันตา หมายถึง ฟัน   
5. ตโจ หมายถึง หนัง เหตุ เพราะ ตจปัญจกกรรมฐาน
มีไว้ทำลาย ราคะ อันเิกิด จาก มาตุคาม ( สตรีเพศ ) ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ และเป็นด่านสำคัญ ของพระภิกษุผู้ปฏิบัติ ใน พุทธศาสนา    เพราะ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ อันน่ารัก น่าใคร่ ย่อมเกิดแก่ บุรุษ เพราะ สตรีิ เป็นเหตุ ฉันใดการภาวนา เรื่องแรกคือต้องลด ตัณหา อันหยาบเสียก่อน

การเจริญกายคตาสติและอานิสงส์
        บูรพาจารย์ด้านกรรมฐานต่างรู้ว่า  วิธีการเจริญกรรมฐานอันเป็นสัมมาสมาธิในพุทธศาสนา มีมากมายหลายประการถึง 40  วิธี  หากครูบาอาจารย์สายพระกรรมฐานในอดีตและปัจจุบัน   มักจะใช้หลักการพิจารณากายคตา  เป็นเครื่องถอดถอนชำระกิเลส   แม้แต่ในมูลบทกรรมฐานที่พระอุปัชฌาย์ให้อนุศาสน์แก่กุลบุตรผู้บวชใหม่ในบวร พุทธศาสนา  ท่านยังพากล่าววิธีพิจารณาอาการแห่งกาย เป็นอนุโลม-ปฏิโลม  ดังนี้
            ...เกสา โลมา  นขา  ทันตา  ตะโจ...
            ตะโจ  ทันตา  นขา  โลมา  เกสา...
         มูลกรรมฐานทั้งห้าประกอบด้วย  ผม  ขน  เล็บ  ฟัน  หนัง...  เหตุที่ท่านให้พิจารณาอาการทั้งห้าก่อน  ก็เพราะเป็นอาการภายนอกที่เห็นได้ชัดและง่ายต่อการจดจำ
         ทำไมต้องพิจารณากาย?  คำตอบคือ  กายเป็นที่ตั้งของชีวิต   เป็นเรือนแห่งการเวียนว่ายตายเกิดด้วยอุปาทานความหลงผิดจนจิตยึดติดเป็นตัว กูของกู   ฉะนั้นครูบาอาจารย์ท่านจึงให้พิจารณาจนเห็นความจริงแท้แห่งกายดังการ อรรถาธิบายความถึงกายคตาสติว่า... เป็นกรรมฐานสำหรับชำระจิตใจให้บริสุทธิ์   ด้วยมานึกถึงกาย  คือที่ประชุมแห่งความน่าเกลียดแห่งอาการสามสิบสอง   พิจารณาให้เห็นความจริงว่าทั้งหมดคืออาการแห่งสิ่งปฏิกูล   จนเกิดความเบื่อหน่ายคลายยึดติดโดยปัญญา
        เมื่อจิตมีปัญญา   ไม่ยึดกายปล่อยวางธาตุที่ประชุมกันเป็นตัวตน...ความไม่เกิดเพื่อเวียนภพ เวียนชาติจะตามมาในไม่ช้า  ก็เมื่อไม่ติดไม่ยึดในกาย  จิตจะเอาอะไรมาเกิดในภพได้
         ในหนังสือ ท่านพระอาจารย์เสาร์   กันตสีโล ของวัดดอนธาตุ  พรรณนาวิธีการเจริญกายคตาไว้ชัดเจนยิ่ง   จึงขอนำมาเสนอเพื่อประโยชน์แห่งพุทธศาสนิกชนในครั้งนี้
         ก่อนอื่นเมื่อจะเจริญกายคตาสติ  ให้เจริญโดยนัยที่มาในบทบาลี  ดังนี้ว่า...

           อะยังโข  เม  กาโย,  อุทธัง  ปาทะตะลา,  อะโธเกสะมัตถะกา,   ตะจะปะริยันโต,  ปูโร  นานัปปะการัสสะ  อะสุจิโน,  อัตถิ  อิมัสมิง  กาเย,   เกสา  โลมา  นะขา  ทันตา  ตะโจ,  มังสัง  นะหารู  อัฏฐิ  อัฏฐิมิญชัง   วักกัง,  หะทะยัง   ยะกะนัง  กิโลมะกัง  ปิหะกัง  ปัปฝาสัง,  อันตัง   อันตะคุณัง  อุทะริยัง  กะรีสัง,  ปิตตัง  เสมหัง  ปุพโพ  โลหิตัง  เสโท   เมโท,  อัสสุ  วะสา  เขโฬ  สิงฆาณิกา  ละสิกา  มุตตัง  อะยังโข  เม  กาโย   อุทธัง  ปาทะตะลา,  อะโธ  เกสะมัตถะกา  ตะจะปะริยันโต,  ปูโร   นานัปปะการัสสะ,  อะสุจิโนติ

        การท่องบาลี  ควรจำกายคตานี้โดยให้รู้และเข้าใจเนื้อความดังนี้ว่า...
     อะยังโข   เม  กาโย...กายของเรานี้แล 
     อุทธัง ปาทะตะลา  เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นมา 
     อะโธ  เกสะมัตถะกา  เบื้องต่ำนับแต่ปลายผมลงไป 
     ตะจะปะริยันโต  มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ 
     ปูโร  นานัปปะการัสสะ  อะสุจิโน  เต็มไปด้วยของโสโครกไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ
     อัตถิ  อิมัสมิง  กาเย  มีอยู่ในกายนี้  เป็นที่ประชุมของน่าเกลียด
     เกสา  ผมทั้งหลายที่อยู่ตามหนังศีรษะ  ดำบ้าง  ขาวบ้าง
     โลมา  ขนทั้งหลายที่งอกอยู่ตามรูขุมขนทั่วกาย  เว้นไว้แต่ฝ่ามือและฝ่าเท้า
      นะขา  เล็บทั้งหลายที่งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า มีวรรณะขาว
      ทันตา  ฟันทั้งหลายที่งอกอยู่ตามกระดูกคางข้างบน-ข้างล่าง  สำหรับบดเคี้ยวอาหาร  ชุ่มอยู่ด้วยน้ำลายเป็นนิตย์
      ตะโจ  หนังที่หุ้มอยู่รอบกาย 
      มังสัง  เนื้อภายในมีวรรณะอันแดงชุ่มไปด้วยโลหิต
      นะหารู  เอ็นทั้งหลาย  ที่รึงรัดรวบโครงกระดูกไว้ มีวรรณะออกขาว
      อัฏฐิ  กระดูกทั้งหลาย  ที่เป็นร่างโครงแข็งค้ำอยู่ในกาย มีวรรณะขาว
      อัฏฐิมิญชัง  เยื่อในกระดูก  มีวรรณะขาวเหมือนยอดหวายที่เผาอ่อน ๆ  แล้วใส่ในกระบอกไม้   เยื่อในกระดูกสมองศีรษะเป็นยวงขาวเหมือนเยื่อในหอยจุ๊บแจงหรือนุ่นคลุกกะทิ
      วักกัง  ม้าม คือก้อนเนื้อ  มีสีแดงคล้ำ 2 ก้อน  มีขั้วอันเดียวเหมือนผลมะม่วง 2 ผล มีขั้วเดียวกัน  อยู่ข้างซ้ายเคียงกับหัวใจ
      หะทะยัง  หัวใจ มีสัณฐานคล้ายดอกบัวตูม  ตั้งอยู่ท่ามกลางอกค่อนไปข้างซ้าย
      ยะกะนัง  ตับ  คือแผ่นเนื้อ 2 แผ่น มีสีแดงคล้ำ  ตั้งอยู่ด้านขวาของหัวใจ
      กิโลมะกัง  พังผืด  มีวรรณะอันขาวเป็นแผ่นบางเหนี่ยวหนังกับเนื้อ เหนี่ยวเอ็นกับเนื้อและกระดูกกับเนื้อไว้บ้าง
      ปิหะกัง  ไต  เป็นชิ้นเนื้อดำคล้ำเหมือนลิ้นโคดำ อยู่ข้างชายโครง
      ปัปผาสัง  ปอด  เป็นแผ่นเนื้อมีวรรณะแดงคล้ำ ๆ ชายเป็นแฉก ปกเหนือหัวใจและม้ามอยู่ท่ามกลางอก
       อันตัง  ไส้ใหญ่  ปลายหนึ่งอยู่ทวาร  ทบไปทบมา   มีวรรณะขาวชุ่มด้วยโลหิตในท้อง   เหมือนงูขาวที่เขาตัดศีรษะแล้วแช่ในรางเลือดฉะนั้น
      อันตะคุณัง  สายติดเหนี่ยวไส้ใหญ่  มีวรรณะอันขาว
       อุทะริยัง  อาหารนอนท้อง  หรืออาหารในกระเพาะอาหาร  เช่นอาหารที่กลืนเข้าไปแล้วอาเจียนออกมา
       กะรีสัง  อาหารเก่าที่กินค้างกลายเป็นคูถไม่ต่างจากอุจจาระที่ถ่ายออกมาฉะนั้น
        เสมหัง  น้ำเสลด  มีวรรณะขาวคล้ำ ๆ เป็นมวก ๆ ติดอยู่กับพื้นหลอดไส้ด้านใน
        ปิตตัง  น้ำดี  สีเขียวคล้ำที่เป็นฝักตั้งอยู่ท่ามกลางอก อยู่เฉพาะที่ไม่ซึมซาบทั่วกาย
        ปุพโพ  น้ำเลือดน้ำหนอง ย่อมตั้งอยู่ในสรีระที่มีบาดแผล
        โลหิตัง  น้ำเลือด  วรรณะสีแดงสด  มีขังอยู่ตามขุมในกายและซึมซาบอยู่ทั่วร่างกาย
        เสโท  น้ำเหงื่อ  ที่ซ่านออกตามขุมขนในกาลร้อน
        เมโท  น้ำมันข้น  หรือไขมัน  มีสีเหลืองติดอยู่กับหนังต่อเนื้อ
        อัสสุ  น้ำตาที่ไหลออกจากตาเมื่อกาลทุกข์โทมนัส
        มาถึง  วะสา  น้ำมันเหลวเป็นเปลวอยู่ในพุง  เหมือนเปลวสุกร
        เขโฬ  น้ำลาย  มีทั้งใสและข้น
        สิงฆาณิกา  น้ำมูก  มีอาการเหลวบ้าง ข้นบ้าง  เป็นยวงออกจากนาสิก
        ละสิกา  น้ำไขข้อ  ติดอยู่ตามข้อต่อของกระดูก
        มุตตัง  น้ำปัสสาวะ  เกรอะออกจากรากและคูถมาไว้ในถุงบริเวณหัวเหน่า

         เมื่อจดจำได้แล้ว  ให้กำหนดจิตนึกพิจารณาอาการทั้ง 32  ดังกล่าวในเหล่านั้นให้เป็นของปฏิกูล  น่าเกลียดทุกส่วน   ถ้ายังไม่เห็นเป็นปฏิกูลลงได้  ยังกำหนัดยินดีในกายของตัวนี้   ก็ให้ถามตัวเองว่า   สิ่งใดเป็นของหอมหรือดีของงามทำให้มาหลงกำหนัดยินดีรักใคร่กายนี้อยู่   ความจริงล้วนเป็นเครื่องปฏิกูล...น่ารังเกียจทั้งนั้นมิใช่หรือ
          ถ้าพิจารณาไม่ชัด...ยังไม่เห็นเป็นสิ่งปฏิกูลลงได้ทุกส่วน   ก็ควรน้อมในที่จะปรากฏชัด  คือ  น้ำมูตรคูถหรือเสมหะ  น้ำเลือดน้ำหนอง   ผมเล็บ  ที่เหมือนผักหญ้าดูดน้ำเลือดน้ำหนองไปหล่อเลี้ยง   หรือยกข้าวของผ้าผ่อนที่ขาวบริสุทธิ์สะอาด  ถ้าแปดเปื้อนน้ำเลือด  หนอง   มูตรคูถ  แล้วก็จะเป็นของปฏิกูลน่ารังเกียจฉันใด...ผม  ขน เล็บ   หนัง...จะสำคัญว่างามก็แปดเปื้อนอยู่ด้วยมูตรคูถเลือดหนองก็เป็นของปฏิกูล ฉันนั้น
          เล็บหรือฟัน...ถ้าไม่ทำความสะอาดไม่กี่วัน  จะเกิดความน่ารังเกียจหรือไม่   ผมถ้าไม่สระทิ้งไว้สักอาทิตย์สองอาทิตย์จะเป็นเยี่ยงไร   จะเหม็นสาบสางแค่ไหน...ควรพิจารณาอย่างนี้เนือง ๆ ในที่สุดจะเกิดปัญญาธรรม  มองเห็นความจริง...ท้ายสุดคือความหน่ายและถ่ายถอนจากอุปาทาน   การยึดมั่นถือมั่นในกาย

 อานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติ
           ผู้เจริญกายคตาสติ  ชื่อว่าดื่มกินรสคือ  นฤพาน   เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า  อะมะตันเตสัง  ภิกขเว   แน่ะ ภิกษุทั้งหลาย   ใครเจริญกายคตาสติ  ผู้นั้นได้ชื่อว่าดื่มกินรสคือพระนฤพาน   เป็นธรรมอันไม่ตายแล้ว  เพราะว่าพระนฤพานคือธรรมดับราคะ  โทสะ  โมหะ   ก็ที่เจริญกายคตานี้
          เหตุนั้น   เมื่อปรารถนาจะรักษาพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ ใคร่ดื่มรสพระนฤพานแล้ว   พึงเจริญสติกรรมฐานด้วยกายคตา  เมื่อเจริญให้เกิดปฏิกูลขึ้นในใจ  ครั้นเกิดแล้วให้รักษาปฏิกูลสัญญานั้นไว้   เมื่อเพียรไปจะเป็นอุบายชำระใจให้บริสุทธิ์   เป็นกุศลอันวิเศษนำพาสู่ความพ้นทุกข์ได้ในไม่ช้า อย่างแน่นอน


อารมณ์กรรมฐาน ใน กายคตาสติ นั้นมีตั้งแต่ ห้องพระธรรมปีติ อันเรียกว่า พิจารณา ธาตุ

 
;)
1306  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เส้นทางการันตี การเกิดเป็น มนุษย์ ? เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 11:09:28 am
คำถาม จากเมล ตอบ ทางนี้เลยนะจ๊ะ

ปุจฉา  อยากทราบว่า จะการันตี การเกิดเป็นมนุษย์ ได้อย่างไร ?


วิสัชชนา ศีล เป็นเครื่องการรันตี ความเป็นมนุษย์ ทั้งปัจจุบัน และ อนาคต

          กุศลกรรมบถ 10 การรันตี ความเป็น เทวดา และ พรหม

          อริยมรรค การันตี ความเป็นพระอริยะบุคคล


สั้น ๆ ก็เท่านี้ นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)
1307  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมจักษุ เกิดขึ้นได้อย่างไร ? เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 11:05:53 am
ธรรมจักษุ เกิดขึ้นได้ 3 ทาง

   1.สุตามยปัญญาจักษุ จักษุคือปัญญาเกิดจากการรับฟัง หมายถึง ธรรมะอันเป็นอริยสัจจะ 4
     

   2.จินตามยปัญญาจักษุ จักษุคือปัญญาอันเกิดจากคิดพิจารณา หมายถึง โยนิโสมนสิการ


   3.ภาวนามยปัญญาจักษุ จักษุคือปัญญาอันเกิดจากการภาวนา


   องค์ธรรม เกิดขึ้นได้ เพราะ ศีล สมาธิ และ ปัญญา

   แต่องค์ธรรม สมบูรณ์ ในภาวนา เพราะ ศีล สนับสนุน สมาธิ สมาธิ สนับสนุน ปัญญา

 
     
1308  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ีีราชากลดน้อย เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 11:35:48 am
กลอนบทนี้ไม่ทราบเป็นผู้ใดแต่งไว้
เพราะสมัยอาตมา เป็นสามเณร ก็เคยมาท่องเล่นแล้ว


กลดคันหนึ่งนี้หรือคือปรางค์มาศ
มีเสื่อขาดเปรียบที่นอนอันอ่อนนุ่ม
มีมุ้งห้อยย้อยยานต่างม่านคลุม
มีบาตรอุ้มเฉกเช่นเป็นโรงครัว
มีจีวรแทนเครื่องทรงอลงกต
มีศีลพรตเป็นมงกุฏที่สวมหัว
มีขันติเป็นพระขรรค์มั่นกับตัว
ความดีชั่วคือราชการงานนานา
มีปัญญาเป็นอำมาตย์อันปราดเปรื่อง
มีสติเป็นเครื่องที่ปรึกษา
อาณาเขตโดยรอบขอบเขตหนึ่งวา
คือพาราของเราเฝ้าครอบครอง
สมาธิซิเป็นทรัพย์นับแสนโกฏิ
ความสันโดษเป็นเพชรนิลสิ้นทั้งผอง
อีกช้างม้าวัวควายทั้งนายกอง
ก็คือของที่ใส่ในย่ามมา
เสียงจิ้งหรีดคือดนตรีที่ขับกล่อม
อยู่พรั่งพร้อมข้างที่พระเคหาส์
มีความว่างเป็นราชินีศรีราชา
อันว่าองค์กษัตราคือตัวเรา
คงสุขจริงสิ่งใดไหนจะเปรียบ
แม้จะเทียบกับใครไม่อายเขา
ความสุขอื่นหมื่นแสนไม่แม้นเรา
คงเป็นเจ้าพาราครานี้เอย...


จากหนังสือประสบการณ์ทางวิญญาณแห่งศิษย์พุทธะ
ของหลวงปู่พุทธอิสระ วัดธรรมอิสระอ้อน้อย
1309  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กงล้อธรรมจักร เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 11:30:40 am
 กงล้อธรรมจักร


     ธรรมจักรหมายถึงวงล้อแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงหมุน เพื่อเผยแผ่พระธรรมที่ทรงตัรสรู้เพื่อให้พุทธศาสนิกชน นำไปปฏิบัติให้พ้นทุกข์
ธรรมะ ที่ทรงแสดงในธรรมจักรกัปปวัตนสูตร คือ  การเดินทางสายกลางไม่ยึดติดในตัวสุดโต่งสังขารปรุงแต่งดี-ชั่ว ,บุญ-บาป,  สุข-ทุกข์, อดีต-อนาคต ฯลฯ เพื่อดำเนินสู่การประจักษ์แจ้งด้วยกิจ ๓ แห่ง  อริยสัจ๔ อันมี ทุกข์ ,สมุหทัย(อวิชชาและตัณหา-เหตุเกิดทุกข์),  นิโรธ(นิพพานคือความดับทุกข์) และหนทางการดำเนินปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  มีแปดข้อ คือ มรรคอันมีองค์๘ ประการ

........วงล้อแห่ง ธรรม(ธรรมจักร) ทรงตรัสให้ช่วยกันเข็นกงล้อธรรมจักรห้ำหั่นหมู่มาร  ซึ่งมารนั้นมิใช่มารอื่นไกลที่ใด มารที่ทรงตรัสถึง คือ มารภายในที่เรียกว่า  อุปาทานขันธ์๕

........“.....ดูก่อนภิกษุ บุคคลผู้ยังยึด รูป...  เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มั่นอยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้  เมื่อไม่ยึดมั่น จึงหลุดพ้นจากมาร....
........“.....ดูก่อนภิกษุ  เมื่อบุคคล คิดสร้างภาพ (ศัพท์บาลีใช้คำว่า “มญฺญมาโน”ภาษาไทยแปรว่า  “สำคัญ” ฉบับอังกฤษใช้คำว่า imagining แปลว่า “คิดสร้างภาพ” ซึ่งชัดกว่า)  รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อยู่ก็ต้องถูกมารมัดไว้  เมื่อไม่คิดสร้าง จึงหลุดพ้นจากบ่วงมาร
........“.....ดูก่อนภิกษุ  เมื่อบุคคลเพลิดเพลินรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อยู่  ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงพ้นจากมาร....
อุปาทิยสูตร มัญญมานสูตร อภินันทมานสูตร ขันธ. สํ. (๑๓๙, ๑๔๐ ,๑๔๑)
ตบ. ๑๗ : ๙๑-๙๔ ตท. ๑๗ : ๗๙-๘๒
ตอ. K.S. ๓ : ๖๔-๖๕

หัวข้อธรรมที่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยพึงทำความเข้าใจพื้นฐานเบื้องต้น

องค์ประกอบขันธ์ ๕ ขันธ์(ภาษาบาลี) หมายถึงความเป็นกลุ่ม ก้อน กอง(ภาษาไทย) โดยลักษณะ ๕ อย่าง คือ
........รูป คือ ร่างกายที่ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม
........เวทนา คือ ความรู้สึกทางกาย สุข ,ทุกข์, เฉย (ไม่ทุกข์ไม่สุข- อทุกขมสุขเวทนา)
........สัญญา คือ ความทรงจำ ความหมายรู้ในความรู้สึก การกำหนดรู้หมายได้
........ สังขาร คือ ความปรุงแต่งสร้างจินตภาพทางจิตใจอาศัยความรู้สึก  และความทรงจำเป็นองค์ประกอบทางความปรุงแต่งทางจิต ไหลไปสู่วจีวาจา ความวิตก  วิจารณ์ ตรึกตรอง  และความปรุงแต่งทางร่างกายอิริยบทอันอาศัยองค์ประกอบภายในจากดิน น้ำ ไฟ ลม  ชีวิตสันตติ
........วิญญาณ คือ สภาพที่เสริมสร้างตัวผู้รู้ให้แก่จิต  ทำให้เกิดเป็นนามรูป สภาพรับรู้อารมณ์ประสาทสัมผัสทั้ง๖ คือตา หู จมูก ลิ้น  กาย ใจ

........องค์ประกอบที่ปรุงแต่งล้วนอาศัยเหตุและปัจจัยมา ประชุมรวมกัน ณ ขณะหนึ่งๆ เป็นขันธ์สภาพธรรม(สภาวธรรม)  การก่อเกิดซึ่งปฏิกิริยาจิต แปรไปสู่ความชอบ ความชัง(อภิชฌาและโทมนัส)  สาเหตุ็มาจากความถือมั่นยึดมั่น(อุปาทาน) ภายในจิตใจบุคคลภายใน  ซึ่งก่อให้เพลิงทุกข์ซึ่งจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นกับกิเลสทุกข์ที่สั่งสมมา  เรียกว่า อาสวะอนุสัย

........อาสวะอนุสัย คือ กิเลสทุกข์  ที่์หมักดองก้นบึ้งภายใต้จิตในส่วนที่ลึก โดย ตกตะกอน  สะสมมาจากชีวิตที่ผ่านมาจากชีวิตหนึ่งสู่อีกชีวิตหนึ่ง  ซึ่งสะสมนอนเนื่องอยู่  พร้อมที่จะกระเพื่อมขึ้้นมาสู่พื้นผิวเพื่อปรุงแ่ต่งจิตก่อทุกข์  และพร้อมกันนั้นก็เก็บสะสมเพิ่มได้ทุกขณะ  เมื่อใดที่มีเหตุปัจจัยมาประชุมรวมกันจากการกระทบผัสสะ เมื่อ ตาเห็นรูป  ,หูได้ยินเสียง, จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส กายสำผัสเย็น-ร้อน,แข็ง-อ่อน ฯ  และใจรับธรรมารมณ์

........อุปาทาน คือความยึดมั่นในขันธ์๕ ซึ่งก่อจากอาสวะอนุสัยภายในจิตเป็นปัจจัย จึงมักเรียกรวมกันว่า อุปาทานขันธ์ ๕



ภาพของพุทธบริษัท 4 ซึ่งได้แก่  พระภิกษุ พระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา  ช่วยกันเข็นกงล้อธรรมจักรห้ำหั่นหมู่มาร จึงน่าจะให้ความหมายได้ดังนี้
ธรรมจักร แยกคำออกได้เป็น ธรรม + จักร
ธรรม , ธรรมะ หมายถึง ธรรมชาติของการกระทบ
จักร หมายถึง สิ่งหรือวัตถุที่มีการเหวี่ยงหมุน หรือหมุนเป็นวง
ธรรมจักร  จึงหมายถึง ธรรมชาติของการกระทบที่มีการเหวี่ยงหมุนเคลื่อนที่อยู่เสมอ  ไม่ติดนิ่งอยู่กับที่หนึ่งที่ใดเพียงที่เดียว พุทธบริษัท 4  จึงควรมีสติตามทันเป็นธรรมชาติของการกระทบที่เคลื่อนที่หมุนวนอยู่เสมอ จากนอก-ใน-นอก-ใน เหมือนการหมุนของจักรจึงจะสามารถต่อสู้กับหมู่มารทั้งหลาย  โดยเฉพาะขันธมารที่ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ  ดุจเดียวกับพระพุทธรูปปางแสดงธรรมจักร (ปางแสดงปฐมเทศนา)  ที่ยกพระหัตถ์ทั้งขวาและซ้ายสูงเสมอพระอุระในท่าจีบเป็นวงกลมทั้งสองข้าง  เพื่อสื่อความหมายของการเคลื่อนที่ของจิตที่หมุนวนสัมพันธ์กันระหว่างกาย  (นอก) กับใจ (ใน) จึงจะทำให้กิเลส อนุสัย ลดลง
ได้

เขียนโดย kamaphirato   ที่ 17:24   

ที่มา
http://jareungdhumtudong.blogspot.com/2010/05/blog-post.html
1310  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / ประกาศ อนุโมทนา บุญกุศลเรื่อง กิจกรรมการเผยแผ่เว็บ www.madchima.org เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2010, 09:10:43 am


       เนื่องด้วย เว็บ www.madchima.org ได้มีวาระ ครบปีไปในวันที่ 10 พ.ย. 2553
เรียก ว่ามีอายุ ครบ 1 ขวบ ปีแล้ว ทางอาตมาเอง ก็ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่เข้ามา
มาหาข่าวสารข้อมูล ศึกษาธรรมะ และส่งเสริม ในการเผยแผ่ในเว็บ ทั้งทางตรงและทางอ้อมก็นับว่าเป็น
เรื่องที่ปลาบปลื้ม กับทุกท่านมาก ทั้ง ๆ ที่ 1 ปีมานี้มีอุปสรรค ในการดำเนินการหลายอย่าง ไม่ว่าจะเกิด
จากไม่เข้าใจของผู้ศึกษา หรือ ในสายการภาวนาเดียวกัน ก็ตามแต่ในที่สุด งานเผยแผ่เว็บ
www.madchima.org ก็ลุล่วงมาได้จนครบ 1 ปี
       ในขณะเดียวกัน ก็มีการวัดผลการเข้าชมเว็บ และ ติดตาม สถิติ การใช้งานเว็บ ซึ่งทาง
เว็บwww.madchima.org ก็ได้เข้าร่วมการจับสถิติ กับ state in.th ในวันที่ 10 พ.ย. 2553 ทาง
เว็บสามารถมี สถิติ เข้าสู่ ท็อปเท็น ในเว็บหมวด ศาสนา และอยู่อันดับที่ 1861 ของทุกหมวดนับว่า เป็น
การเริ่มต้นที่ดีใน 1 ปีนี้   
             ในครั้งนี้ ก็ต้องขออนุโมทนา กับ คุณทินกร ทัศนะภาค ผู้เป็นเว็บมาสเตอร์
ผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไม่ว่าจะอยู่ในช่วงที่ คุณโยมกำลังเป็นคุณพ่อ ลูกคนที่สาม ก็ยังเสียสละเวลา
ในการดำเนินการจัดทำเว็บให้ โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่าย ใด ๆ กับทาง สำนักงานส่งเสริม ก็ขอ
อนุโมทนา กับคุณโยม 
       และที่ขาดไม่ได้ ผู้สนับสนุนกิจกรรม การเผยแผ่ ก็คือ ทีมงานมัชฌิมา สระบุรี ที่เสียสละ
เวลาและกำลังทรัพย์ มีคุณธวัชชัย สุพันธ์สาย คุณนาฏนพิทย์ เพชรชาลี คุณณฐพลสรรค์ เผือกผาสุข
และผู้ร่วมตอบปัญหา ของกระทู้ต่าง ๆ ที่เอ่ยนามกันได้ไม่หมด ก็ต้องขออภัย ไว้ในที่นี้  สำหรับพระสงฆ์
ที่อนุเคราะห์ กันโดยตรงก็มี พระครูสิทธิสังวร เจ้าคณะ 5 วัดราชสิทธาราม ที่อนุเคราะห์ความรู้ทาง
กรรมฐาน ทั้งเอกสารและการอบรม ตลอดถึงพระคุณเจ้าที่ เป็นสหธรรม เช่น พระอนุชิต วรธมฺโม   
พระศรีคเณศร์ ปญฺญาปโชโต พระนิพนธ์ วรธมฺโม ที่ ส่วนใหญ่ จะเดินทางด้วยกันเป็นประจำ และ
สงเคราะห์ งานซึ่งกันและกัน มาโดยตลอด   

            ดังนั้นจึงขอประกาศอนุโมทนา บุญกุศล ที่ท่านทั้งหลาย ร่วมการเ้ผยแผ่ กรรมฐาน มัชฌิมา
 แบบลำดับกันมาเป็นเวลา 1 ปี และคาดว่า คงจะได้รับการสนับสนุนเช่นนี้ด้วยดี ตลอดไป



เจริญพร เจริญธรรม ด้วยความนับถือ   

พระสนธยา ธัมมะวังโส



Aeva Debug: 0.0005 seconds.
1311  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เมตตากถา เมตตาวิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตติ อ่านตรงนี้กันก่อนนะจ๊ะ เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:50:54 am
[๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆอบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้

อานิสงส์ ๑๑ประการเป็นไฉน คือ                                                         
                                                                                   
       ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑                                                 
       ตื่นเป็นสุข ๑                                                                 
       ไม่ฝันลามก ๑                                                                 
       ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑                                                       
       ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑                                                     
       เทวดาย่อมรักษา ๑                                                             
       ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกลาย ๑                                           
       จิตของผู้เจริญเมตตาเป็นสมาธิได้รวดเร็ว๑                                         
       สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑                                             
       ย่อมไม่หลงใหลกระทำกาละ ๑                                                   
       เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑                                     
                                                                                               
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดังยาน
 ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ

    [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี
 
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไรแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร

แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕

แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗  แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ฯ

    เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน

    เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน

กัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวงบุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับ

เนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกันไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด

เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ นี้ ฯ

    เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน

    เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวรไม่เบียดเบียนกัน

ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดา

ทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษา

ตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ
1312  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามจากเมล เรื่อง การจางคลายจากกิเลส มีหลักการอย่างไร เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:28:45 am
อ่านพระสูตร กันก่อน เพราะหลายท่าน คิดว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่มีในพระไตรปิฏก

จากเมล ส่วนใหญ่ที่เข้ามาถามกัน เอาเป็นว่ามี ตอบรวมในนี้ ให้อ่านพระสูตรกันก่อน เดี๋ยวค่อยอธิบายกัน

ตอนหลังนะจ๊ะ กับคำถามเรื่อง การจางคลายจากกิเลส มีหลักการอย่างไร จึงรู้่ว่าจางคลาย

[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ
    ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอกวิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ

          นิพพานเป็นวิราคะ ๑
          ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑

   เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรคพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศเป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ
    สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิราคะ ๑ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้นอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    [๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้นจากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯเพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    [๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    [๕๙๑] ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะ มีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้นมรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้นวิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ
 
  [๕๙๒] สัมมาทิฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น
         สัมมาสังกัปปะเป็นวิราคะเพราะความดำริ
         สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด
         สัมมากัมมันตะเป็นวิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ
         สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว
         สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้
         สัมมาสติเป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
         สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน
        สติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
        ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น
        วิริยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะประคองไว้
        ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะแผ่ซ่านไป
        ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ
        สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
        อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความพิจารณาหาทาง
        สัทธาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา
        วิริยพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน
        สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท
        สมาธิพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ
        ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา
        สัทธินทรีย์เป็นวิราคะ เพราะความน้อมใจเชื่อ
        วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคองไว้
        สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความตั้งมั่น
        สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ ฟุ้งซ่าน
        ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความเห็น
        อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่พละเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว
        โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่านำออกไป
        มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ
        สติปัฏฐานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตั้งมั่น
        สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้
        อิทธิบาทเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ
        สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้สมถะเป็นวิราคะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
        วิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น
        สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
        ธรรมที่คู่กันเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน
        สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสำรวมจิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
        ทิฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเห็น
        วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ
        วิชชาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าแทงตลอด
        วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ
        ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตัดขาด
        ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นมูล
        มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน
        ผัสสะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม
        เวทนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง
        สมาธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน
       สติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
       ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ
       วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม
       สัมมาทิฐิเป็นมรรคเพราะความเห็น
       สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ
       นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้ ฯ
    [๕๙๓] วิมุติเป็นผลอย่างไร ในขณะโสดาปัตติผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถ
ว่าดำริ พ้นจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดพ้นจากมิจฉาวาจา ฯลฯสัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งไว้ด้วยดี พ้นจากมิจฉากัมมันตะฯลฯ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีพให้ผ่องแผ้ว พ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ พ้นจากมิจฉาวายามะฯลฯ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร ประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒คือ นิพพานเป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ
1313  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / หลักวิปัสสนา ที่ควรอ่านและทราบ ของนักปฏิบัติกรรมฐาน เรียกว่า อนุปัสสนา 3 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:23:11 am
ปัญญาวรรค วิปัสสนากถา

สาวัตถีนิทานบริบูรณ์

            [๗๓๑] ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยามข้อ นี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตติยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม  ข้อ นี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผลหรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ

        [๗๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารไรๆโดยความเป็นสุขจักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลหรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ

        [๗๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆโดยความเป็นอัตตาอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติจักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้    เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม    จักทำให้แจ้งซึ่ง    โสดา ปัตติผลสกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆ โดยความเป็นอนัตตาอยู่  จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ     ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้       ผู้ประกอบด้วย    อนุโลมขันติจักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม     ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้     ผู้ย่างลงสู่  สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ

        [๗๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์อยู่จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุขอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยามข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลสกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ

        [๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ? ภิกษุย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการเท่าไร? ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ภิกษุย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ ฯ

        ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน

        ภิกษุย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ฯ

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นทุกข์ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นโรค ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นดังหัวฝี ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นดังลูกศร ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นความลำบาก ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอาพาธ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอย่างอื่น ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของชำรุด ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นเสนียด ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอุบาทว์ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นภัย ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอุปสรรค ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นความหวั่นไหว ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของผุพัง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของว่าง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของเปล่า ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของสูญ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอนัตตา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นโทษ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความแปรปรวน  เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของหาสาระมิได้ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นมูลแห่งความลำบาก ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นดังเพชฌฆาต ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นความเสื่อมไป ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีอาสวะ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความคับแค้นใจ  เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความเศร้าหมอง  เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม

ภิกษุ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
1314  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / จูฬราหุโลวาทสูตร เรื่องพระราหุล เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 10:11:18 am
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค จูฬราหุโลวาทสูตร เรื่องพระราหุล
               ๑. อรรถกถาอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตร๑-               
๑-บาลีเป็น จูฬราหุโลวาทสูตร.

               อัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพลฏฺฐิกายํ วิหรติ ท่านพระราหุลอยู่ ณ ปราสาทชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา คือ เมื่อเขาสร้างย่อส่วนของเรือนตั้งไว้ท้ายพระเวฬุวันวิหาร เพื่อเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด พระราหุลเจริญปวิเวกอยู่ ณ ปราสาทอันมีชื่ออย่างนี้ว่า อัมพลัฏฐิกา.
               ชื่อว่าหนามย่อมแหลมตั้งแต่เกิด.  แม้ท่านพระราหุลนี้ก็เหมือนอย่างนั้น เจริญปวิเวกอยู่ ณ ที่นั้น  ครั้งเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา.
               บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น คือ เสด็จออกจากผลสมาบัติ.
               บทว่า อาสนํ คือ ณ ที่นี้ก็มีอาสนะที่ปูลาดไว้เป็นปรกติอยู่แล้ว พระราหุลก็ยังปัดอาสนะนั้นตั้งไว้.
               บทว่า อุทกาทาเน คือ ภาชนะใส่น้ำ. ปาฐะว่า อุทกาธาเน บ้าง.
               บทว่า อายสฺมนฺตํ ราหุลํ อามนฺเตสิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระราหุล คือตรัสเรียกเพื่อประทานโอวาท.
               จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาไว้มากแก่พระราหุลเถระ. พระองค์ตรัสสามเณรปัญหาแก่พระเถระไว้เช่นกัน. อนึ่ง พระองค์ตรัสราหุลสังยุต มหาราหุโลวาทสูตร จุลลราหุโลวาทสูตร รวมทั้งอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรนี้เข้าด้วยกัน.
               จริงอยู่ ท่านพระราหุลนี้ เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษาทรงจับชายจีวร ทูลขอมรดกกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอได้ทรงประทานมรดกแก่ข้าพระองค์เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบให้แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระบวชให้.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า  ชื่อว่าเด็กหนุ่มย่อมพูดถ้อยคำที่ควรและไม่ควร เราจะให้โอวาทแก่ราหุล  ดังนี้แล้ว ตรัสเรียกพระราหุลเถระ มีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนราหุล  ชื่อว่าสามเณรไม่ควรกล่าวติรัจฉานกถา. เธอเมื่อจะกล่าว ควรกล่าวกถาเห็นปานนี้ คือ คำถาม ๑๐ ข้อ การแก้ ๕๕ ข้อ  ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ ฯลฯ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ อันพระพุทธเจ้าทั้งปวงไม่ทรงละแล้ว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสามเณรปัญหานี้ว่า เอกนฺนาม กึ อะไรชื่อว่า ๑ สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ ทส นาม กึ อะไรชื่อว่า ๑๐ ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจติ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ เรากล่าวว่าเป็นอรหันต์.
               พระพุทธองค์ทรงดำริต่อไปว่า  ชื่อว่าเด็กหนุ่มย่อมกล่าวเท็จด้วยคำน่ารัก  ย่อมกล่าวสิ่งที่ไม่เห็นว่าเราได้เห็นแล้ว กล่าวสิ่งที่เห็นว่าเราไม่เห็น เราจะให้โอวาทแก่ราหุลนั้น แม้แลดูด้วยตาก็เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย  จึงทรงแสดงอุปมาด้วยภาชนะใส่น้ำ ๔ ก่อน จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยช้าง ๒ จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยแว่น ๑  แล้วจึงตรัสพระสูตรนี้. ทรงแสดงการเว้นตัณหาในปัจจัย ๔ การละฉันทราคะในกามคุณ ๕  และความที่อุปนิสัยแห่งกัลยาณมิตรเป็นคุณยิ่งใหญ่ แล้วจึงตรัสราหุลสูตร. เพื่อทรงแสดงว่า ไม่ควรทำฉันทราคะในภพทั้งหลาย ในที่ที่มาแล้วๆ  จึงตรัสราหุลสังยุต. เพื่อทรงแสดงว่า ไม่ควรทำฉันทราคะอันอาศัยเรือน อาศัยอัตภาพว่า เรางาม  วรรณะของเราผ่องใส แล้วจึงตรัสมหาราหุโลวาทสูตร.
               ในมหาราหุโลวาทสูตรนั้น ไม่ควรกล่าวว่าราหุลสูตร ท่านกล่าวไว้แล้วในกาลนี้. เพราะราหุลสูตรนั้นท่านกล่าวด้วยโอวาทเนืองๆ. ท่านตรัสราหุลสังยุต ตั้งแต่พระราหุลมีพระชนม์ได้ ๗ พรรษาจนถึงเป็นภิกษุยังไม่มีพรรษา. ท่านตรัสมหาราหุโลวาทสูตรในเมื่อพระราหุลเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๑๘ พรรษา ท่านตรัสจุลลราหุโลวาทสูตรในเมื่อพระราหุลเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษา. ท่านตรัสกุมารกปัญหา และอัมพลัฏฐิกรา
หุโลวาทสูตรนี้ ในเมื่อพระราหุลเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา.
             
1315  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ราหุลสังยุต เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 10:10:12 am
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค -
ราหุลสังยุตต์ - ทุติยวรรค - ๑๒. อปคตสูตร

[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]
๑๒. อปคตสูตร
[๖๓๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไป
เฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อย
แล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร
มนัสจึงจะปารศจากอหังการ มมังการและมานะ ในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก
ก้าวล่วงส่วนแห่งมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว ฯ
[๖๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็น
อนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น อันอริยสาวกเห็นแล้วด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
ดังนี้ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นไปเพราะไม่ถือมั่น [ขันธ์ทั้งห้าก็ควรทำอย่างนี้]
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็นอนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็นภายในก็ดี
ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดีเลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี
วิญญาณทั้งหมดนั้นอันอริยสาวกเห็นแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น
ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นไปเพราะไม่ถือมั่น
ดูกรราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล มนัสจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และมานะ
ในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่งมานะด้วยดี สงบระงับ
พ้นวิเศษแล้ว ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
จบทุติยวรรคที่ ๒
_________
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จักขุสูตร
๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร
๔. สัมผัสสสูตร
๕. เวทนาสูตร
๖. สัญญาสูตร
๗. เจตนาสูตร
๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร
๑๐. ขันธสูตร
๑๑. อนุสยสูตร
๑๒. อปคตสูตร
จบราหุลสังยุตต์ที่ ๒
1316  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ในพรรษา พระอาจารย์ภาวนาอะไร คะ เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 06:07:12 pm
คำถามจากเมล

ในพรรษานี้ พระอาจารย์ภาวนาอะไรคะ พอเล่าให้ฟังได้หรือป่าวคะ

ตอบ ในพรรษานี้ พระอาจารย์ แบ่งเวลาเป็นการภาวนาในอานาปานสติ เป็นหลัก ในเดือนแรกภาวนาวันละ 3 ชม

แบ่งเวลาในการพิมพ์หนังสือและตอบกระทู้

ในเดือนที่สอง ภาวนา อานาปานสติ เป็นหลักวันละ 3 - 5 ชม. มีการปฏิบัติ เนสัชชิกธุดงค์ สัปดาห์เว้นสัปดาห์ คือนั่ง 1 สัปดาห์ และ นอน 1 สัปดาห์ สลับกันทั้งเดือน เวลาที่เหลือพิมพ์หนังสือ และตอบกระทู้

ในเดือนสุดท้าย หยุดการพิมพ์หนังสือ หยุดตอบคำถาม อธิษฐานนั่งกรรมฐาน ตั้งแต่พระพุทธานุสสติ จนถึง
พระอานาปานสติ อธิษฐานนั่งกรรมฐาน ติดต่อมากกว่า 96 ชั่วโมง นั่งยาวเลย ในช่วงก่อนออกพรรษาเวลามี
น้อยกลับมาพิมพ์หนังสือ อธิษฐานนั่งกรรมฐานติดต่อกนเป็นเวลา 96 ชั่วโมง


ดังนั้นในพรรษานี้ สูงสุดนั่งกรรมฐานติดต่อแบบยาว ๆ ได้เพียง 96 ชั่วโมง 1 ครั้ง  48 ชั่วโมง  5 ครั้ง
24 ชม. 12 ครั้ง 3 - 5 ชม. 74 ครั้ง เพราะช่วงนี้มีเวลาภาวนาเป็นส่วนตัวไม่ได้อยู่ที่วัด อยู่ในสถานที่
เฉพาะจึงสามารถ ภาวนาได้ดังกล่าว

ส่วนเนสัชชิกธุดงค์นั้น ปฏิบัติได้ 15 วัน คือ 2 ครั้ง ใช้เวลาหลับเพียง 45 นาทีต่อวัน คือนั่งหลับ ส่วนใหญ่
จะเป็นการเดินจงกรมในช่วงสมาทาน เนสัชชิกธุดงค์

ทั้งพรรษา ฉันอาหารมื้อเดียวเป็นส่วนใหญ่

เล่าให้ฟังเพียงเท่านี้เถอะนะ

เจริญพร
 ;)

 
                                                                                   
1317  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับการปิดวาจาระหว่างการฝึกกรรมฐาน เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 05:55:30 pm
คำถามจากเมล

พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับการปิดวาจาระหว่างการฝึกกรรมฐาน

ตอบ การฝึกกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็น สมถะ หรือ วิปัสสนา ส่วนใหญ่นั้นจะนิยมการปิดวาจา

การปิดวาจา ก็คือ การหยุดพูด เพ้อเจ้อ ส่อเสียด คำหยาบ คำโกหก เป็นต้น

ดังนั้นการปิดวาจา จักให้ทำให้ ศีล ในส่วนนี้สมบูรณ์ มาตรฐานก็เห็นด้วย

แต่ในส่วนของพระอาจารย์เอง เวลาไปฝึกกรรมฐาน ไม่เคยสั่งให้ ศิษย์ปิดวาจา แต่เปิดโอกาส มีการสนทนา

แลกเปลี่ยนกัน เพราะเมื่อทุกคนปฏิบัติในช่วงที่พระอาจารย์ 80 % ได้สมาธิ ขั้นต่ำก็ 30 นาที

และอีก 80 % ที่เจริญวิปัสสนาได้ ดังนั้นจึงไม่ห่วงเรื่องการปิดวาจา เพราะผู้ที่ตั้งใจมาปฏิบัติภาวนา

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ส่วนใหญ่เป็นผู้มุ่งมั่นในการภาวนา ส่วนใหญ่จะเป็นสาวกภูมิด้วย

จึงไม่มีความจำเป็นต้องสั่งปิดวาจา ให้กับศิษย์กรรมฐาน

เจริญพร

 ;)
1318  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฝึกกรรมฐาน จำเป็นต้องขึ้น กรรมฐาน หรือไม่ ? เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 05:49:48 pm
คำถามจากเมล

ฝึกกรรมฐาน จำเป็นต้องขึ้นกรรมฐาน หรือไม่?

ตอบ ถ้าไม่ได้ฝึก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นกรรมฐาน ท่านสามารถเลือกฝึกฝนได้

ในตำราทางพระพุทธศาสนาซึ่งมีกรรมฐาน ปรากฏเป็นกองสันโดด 40 กองกรรมฐาน กับกรรมฐานที่ไม่ปรากฏ

เป็นกองใดกองหนึ่ง เช่น การฝึก รโช หรณัง ของพระจูฬปันถก การเพ่งดอกบัวนิรมิตของสัทธิวิหาริก ของ

พระสารีบุตร เป็นต้น ท่านสามารถเลือกฝึกได้ด้วยตนเอง

แต่ถึงแม้ไม่ขึ้นกรรมฐาน ก็ควรกล่าวถึง พระรัตนตรัยว่าเป็น สรณะ เป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัย

ส่วนถ้าผู้ใดต้องการฝึกกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็เชิญได้ที่ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม นะจ๊ะ


เจริญพร

 ;)
1319  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นั่งสมาธิ ควรลืมตา หรือ หลับตา ดีครับ เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 05:44:49 pm
คำถามจากเมล 

นั่งสมาธิ ควรจะลืมตา หรือ หลับตาดีครับ


ตอบ  นั่งสมาธิ ถ้าพูดตามหลักการแล้ว ก็ควรจะหลับตาม แต่บางกรรมฐาน ก็ใช้การลืมตาเช่น

  กสิณ อสุภ ธาตุปฏิกูละ กายคตาสติ จตุธาตุววัตถาน เป็นต้น เหล่านี้ก็ใช้การลืมตามเป็นหลัก

  อานาปานสติ นั้นเป็นได้ ทั้งลืมตา และ หลับตา

  แต่ทุกกรรมฐาน ไม่ได้มีผลกับรูป ภายนอก มีผลกับรูป ภายใน คือจิต

  ดังนั้น สมาธิ เป็นเรื่องของจิต สภาวะจิต น้ำจิตตั้งมั่น ดังนั้นตาภายนอกมองไม่เห็น มีแต่ตาใจ ตาจิต เท่านั้น

  ที่จะมองเห็นได้


  ส่วนพระไตรปิฏก ไม่มีคำกล่าว วิธีการปฏิบัติให้ลืมตา หรือ หลับตา

  ที่กล่าวไว้ ก็มีเช่นนี้เป็นส่วนใหญ่ว่า ตั้งกายตรง ขัดสมาธิเพชร ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เป็นต้น

  ดังนั้นผู้ฝึกถ้าสะดวก ลืมตา ก็ฝึกแบบลืมตา

        ผู้ฝึกถ้าสะดวก แบบไม่ลืมตา ก็ฝึกแบบไม่ลืมตา

     จะัลืมตา หรือ หลับตา ถ้าฝึกแล้ว จิตตั้งมั่นได้ไว และตั้งมั่นได้เลย ก็ใช้ได้

  นะจ๊ะ เจริญพรแค่นี้ก่อน

  ;)

     
1320  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / จะศึกษาวิปัสสนา ต้องทำอย่างไร คะ เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 05:36:46 pm
เมล์ มาถามนะคำถามนี้

จะศึกษาวิปัสสนา ต้องทำอย่างไร คะ ?

ตอบ 1.ต้องมีศีลเป็นที่ตั้ง งดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ในฐานะที่ควรแก่การภาวนา เพราะศีลเป็นบาทฐานแห่ง วิปัสสนา ในวิสุทธิ 7 จัดเป็นลำดับที่ 1 คือ ศีลวิสุทธิ

      2.ต้องศึกษาหลักธรรม องค์ วิปัสสนา ซึ่งพูดสั้น ๆ ก็มี ขันธ์ 5 กับ อายตนะ 12 เท่านี้ก็พอ เพราะต้องใช้ในองค์บริกรรม วิปัสสนา

      3.วิปัสสนาจะมีผลมากถ้า มี นิพพิทา คือความหน่าย ต่อสังสารวัฏฏ์

      4.หมั่นอบรมจิตให้ตั้งมั่น ในขั้นอุปจาระสมาธิ ขึ้นไป เพราะจิตที่เป็นสมาธิ จะมองเห็นตามความเป็นจริงได้ จิตที่ไม่ตั้งมั่น มีโอกาสน้อยที่จะพิจารณาธรรม ( วิปัสสนา )ได้

      5.กรรมฐาน 4 อย่างไม่ควรขาดในการทำวิปัสสนา

        5.1  พระพุทธานุสสติ

        5.2  มรณัสสติ
     
        5.3  กายคตาสติ
 
        5.4  เมตตาพรหมวิหาร

     6.ตั้งมั่นใน ทาน ในศีล ในภาวนา

   รวม ๆ ก็มีแค่นี้ นะจ๊ะ


  เจริญพร

   ;)
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35