ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับ ตจปัญจกกรรมฐาน  (อ่าน 6538 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เกี่ยวกับ ตจปัญจกกรรมฐาน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 11:36:05 am »
0
คำถามจากเมล์ จากพระุคุณเจ้า พระนวกะ

ปุจฉา มีกรรมฐานอะไรที่ ผมจะทำได้เบื้องต้น โดยที่ยังไม่ต้องขึ้นกรรมฐาน ครับ

วิสัชชนา กรรมฐานที่มีมาตั้งแต่ต้นสำหรับพระภิกษุ ผู้บวชใหม่ ถือว่าได้ขึ้นกรรมฐาน กับ พระอุปัชฌาย์โดยตรงแล้ว นั่้นก็คือ ตจปัญจกกรรมฐาน ซึ่งจัดเป็นกรรมฐาน ในหมวด กายคตาสติ คือตาม ตามระลึกพิจารณาในกายมี  ดังนี้   
1. เกสา  หมายถึง ผม   
2. โลมา หมายถึง ขน   
3. นขา  หมายถึง เล็บ   
4. ทันตา หมายถึง ฟัน   
5. ตโจ หมายถึง หนัง เหตุ เพราะ ตจปัญจกกรรมฐาน
มีไว้ทำลาย ราคะ อันเิกิด จาก มาตุคาม ( สตรีเพศ ) ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ และเป็นด่านสำคัญ ของพระภิกษุผู้ปฏิบัติ ใน พุทธศาสนา    เพราะ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ อันน่ารัก น่าใคร่ ย่อมเกิดแก่ บุรุษ เพราะ สตรีิ เป็นเหตุ ฉันใดการภาวนา เรื่องแรกคือต้องลด ตัณหา อันหยาบเสียก่อน

การเจริญกายคตาสติและอานิสงส์
        บูรพาจารย์ด้านกรรมฐานต่างรู้ว่า  วิธีการเจริญกรรมฐานอันเป็นสัมมาสมาธิในพุทธศาสนา มีมากมายหลายประการถึง 40  วิธี  หากครูบาอาจารย์สายพระกรรมฐานในอดีตและปัจจุบัน   มักจะใช้หลักการพิจารณากายคตา  เป็นเครื่องถอดถอนชำระกิเลส   แม้แต่ในมูลบทกรรมฐานที่พระอุปัชฌาย์ให้อนุศาสน์แก่กุลบุตรผู้บวชใหม่ในบวร พุทธศาสนา  ท่านยังพากล่าววิธีพิจารณาอาการแห่งกาย เป็นอนุโลม-ปฏิโลม  ดังนี้
            ...เกสา โลมา  นขา  ทันตา  ตะโจ...
            ตะโจ  ทันตา  นขา  โลมา  เกสา...
         มูลกรรมฐานทั้งห้าประกอบด้วย  ผม  ขน  เล็บ  ฟัน  หนัง...  เหตุที่ท่านให้พิจารณาอาการทั้งห้าก่อน  ก็เพราะเป็นอาการภายนอกที่เห็นได้ชัดและง่ายต่อการจดจำ
         ทำไมต้องพิจารณากาย?  คำตอบคือ  กายเป็นที่ตั้งของชีวิต   เป็นเรือนแห่งการเวียนว่ายตายเกิดด้วยอุปาทานความหลงผิดจนจิตยึดติดเป็นตัว กูของกู   ฉะนั้นครูบาอาจารย์ท่านจึงให้พิจารณาจนเห็นความจริงแท้แห่งกายดังการ อรรถาธิบายความถึงกายคตาสติว่า... เป็นกรรมฐานสำหรับชำระจิตใจให้บริสุทธิ์   ด้วยมานึกถึงกาย  คือที่ประชุมแห่งความน่าเกลียดแห่งอาการสามสิบสอง   พิจารณาให้เห็นความจริงว่าทั้งหมดคืออาการแห่งสิ่งปฏิกูล   จนเกิดความเบื่อหน่ายคลายยึดติดโดยปัญญา
        เมื่อจิตมีปัญญา   ไม่ยึดกายปล่อยวางธาตุที่ประชุมกันเป็นตัวตน...ความไม่เกิดเพื่อเวียนภพ เวียนชาติจะตามมาในไม่ช้า  ก็เมื่อไม่ติดไม่ยึดในกาย  จิตจะเอาอะไรมาเกิดในภพได้
         ในหนังสือ ท่านพระอาจารย์เสาร์   กันตสีโล ของวัดดอนธาตุ  พรรณนาวิธีการเจริญกายคตาไว้ชัดเจนยิ่ง   จึงขอนำมาเสนอเพื่อประโยชน์แห่งพุทธศาสนิกชนในครั้งนี้
         ก่อนอื่นเมื่อจะเจริญกายคตาสติ  ให้เจริญโดยนัยที่มาในบทบาลี  ดังนี้ว่า...

           อะยังโข  เม  กาโย,  อุทธัง  ปาทะตะลา,  อะโธเกสะมัตถะกา,   ตะจะปะริยันโต,  ปูโร  นานัปปะการัสสะ  อะสุจิโน,  อัตถิ  อิมัสมิง  กาเย,   เกสา  โลมา  นะขา  ทันตา  ตะโจ,  มังสัง  นะหารู  อัฏฐิ  อัฏฐิมิญชัง   วักกัง,  หะทะยัง   ยะกะนัง  กิโลมะกัง  ปิหะกัง  ปัปฝาสัง,  อันตัง   อันตะคุณัง  อุทะริยัง  กะรีสัง,  ปิตตัง  เสมหัง  ปุพโพ  โลหิตัง  เสโท   เมโท,  อัสสุ  วะสา  เขโฬ  สิงฆาณิกา  ละสิกา  มุตตัง  อะยังโข  เม  กาโย   อุทธัง  ปาทะตะลา,  อะโธ  เกสะมัตถะกา  ตะจะปะริยันโต,  ปูโร   นานัปปะการัสสะ,  อะสุจิโนติ

        การท่องบาลี  ควรจำกายคตานี้โดยให้รู้และเข้าใจเนื้อความดังนี้ว่า...
     อะยังโข   เม  กาโย...กายของเรานี้แล 
     อุทธัง ปาทะตะลา  เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นมา 
     อะโธ  เกสะมัตถะกา  เบื้องต่ำนับแต่ปลายผมลงไป 
     ตะจะปะริยันโต  มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ 
     ปูโร  นานัปปะการัสสะ  อะสุจิโน  เต็มไปด้วยของโสโครกไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ
     อัตถิ  อิมัสมิง  กาเย  มีอยู่ในกายนี้  เป็นที่ประชุมของน่าเกลียด
     เกสา  ผมทั้งหลายที่อยู่ตามหนังศีรษะ  ดำบ้าง  ขาวบ้าง
     โลมา  ขนทั้งหลายที่งอกอยู่ตามรูขุมขนทั่วกาย  เว้นไว้แต่ฝ่ามือและฝ่าเท้า
      นะขา  เล็บทั้งหลายที่งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า มีวรรณะขาว
      ทันตา  ฟันทั้งหลายที่งอกอยู่ตามกระดูกคางข้างบน-ข้างล่าง  สำหรับบดเคี้ยวอาหาร  ชุ่มอยู่ด้วยน้ำลายเป็นนิตย์
      ตะโจ  หนังที่หุ้มอยู่รอบกาย 
      มังสัง  เนื้อภายในมีวรรณะอันแดงชุ่มไปด้วยโลหิต
      นะหารู  เอ็นทั้งหลาย  ที่รึงรัดรวบโครงกระดูกไว้ มีวรรณะออกขาว
      อัฏฐิ  กระดูกทั้งหลาย  ที่เป็นร่างโครงแข็งค้ำอยู่ในกาย มีวรรณะขาว
      อัฏฐิมิญชัง  เยื่อในกระดูก  มีวรรณะขาวเหมือนยอดหวายที่เผาอ่อน ๆ  แล้วใส่ในกระบอกไม้   เยื่อในกระดูกสมองศีรษะเป็นยวงขาวเหมือนเยื่อในหอยจุ๊บแจงหรือนุ่นคลุกกะทิ
      วักกัง  ม้าม คือก้อนเนื้อ  มีสีแดงคล้ำ 2 ก้อน  มีขั้วอันเดียวเหมือนผลมะม่วง 2 ผล มีขั้วเดียวกัน  อยู่ข้างซ้ายเคียงกับหัวใจ
      หะทะยัง  หัวใจ มีสัณฐานคล้ายดอกบัวตูม  ตั้งอยู่ท่ามกลางอกค่อนไปข้างซ้าย
      ยะกะนัง  ตับ  คือแผ่นเนื้อ 2 แผ่น มีสีแดงคล้ำ  ตั้งอยู่ด้านขวาของหัวใจ
      กิโลมะกัง  พังผืด  มีวรรณะอันขาวเป็นแผ่นบางเหนี่ยวหนังกับเนื้อ เหนี่ยวเอ็นกับเนื้อและกระดูกกับเนื้อไว้บ้าง
      ปิหะกัง  ไต  เป็นชิ้นเนื้อดำคล้ำเหมือนลิ้นโคดำ อยู่ข้างชายโครง
      ปัปผาสัง  ปอด  เป็นแผ่นเนื้อมีวรรณะแดงคล้ำ ๆ ชายเป็นแฉก ปกเหนือหัวใจและม้ามอยู่ท่ามกลางอก
       อันตัง  ไส้ใหญ่  ปลายหนึ่งอยู่ทวาร  ทบไปทบมา   มีวรรณะขาวชุ่มด้วยโลหิตในท้อง   เหมือนงูขาวที่เขาตัดศีรษะแล้วแช่ในรางเลือดฉะนั้น
      อันตะคุณัง  สายติดเหนี่ยวไส้ใหญ่  มีวรรณะอันขาว
       อุทะริยัง  อาหารนอนท้อง  หรืออาหารในกระเพาะอาหาร  เช่นอาหารที่กลืนเข้าไปแล้วอาเจียนออกมา
       กะรีสัง  อาหารเก่าที่กินค้างกลายเป็นคูถไม่ต่างจากอุจจาระที่ถ่ายออกมาฉะนั้น
        เสมหัง  น้ำเสลด  มีวรรณะขาวคล้ำ ๆ เป็นมวก ๆ ติดอยู่กับพื้นหลอดไส้ด้านใน
        ปิตตัง  น้ำดี  สีเขียวคล้ำที่เป็นฝักตั้งอยู่ท่ามกลางอก อยู่เฉพาะที่ไม่ซึมซาบทั่วกาย
        ปุพโพ  น้ำเลือดน้ำหนอง ย่อมตั้งอยู่ในสรีระที่มีบาดแผล
        โลหิตัง  น้ำเลือด  วรรณะสีแดงสด  มีขังอยู่ตามขุมในกายและซึมซาบอยู่ทั่วร่างกาย
        เสโท  น้ำเหงื่อ  ที่ซ่านออกตามขุมขนในกาลร้อน
        เมโท  น้ำมันข้น  หรือไขมัน  มีสีเหลืองติดอยู่กับหนังต่อเนื้อ
        อัสสุ  น้ำตาที่ไหลออกจากตาเมื่อกาลทุกข์โทมนัส
        มาถึง  วะสา  น้ำมันเหลวเป็นเปลวอยู่ในพุง  เหมือนเปลวสุกร
        เขโฬ  น้ำลาย  มีทั้งใสและข้น
        สิงฆาณิกา  น้ำมูก  มีอาการเหลวบ้าง ข้นบ้าง  เป็นยวงออกจากนาสิก
        ละสิกา  น้ำไขข้อ  ติดอยู่ตามข้อต่อของกระดูก
        มุตตัง  น้ำปัสสาวะ  เกรอะออกจากรากและคูถมาไว้ในถุงบริเวณหัวเหน่า

         เมื่อจดจำได้แล้ว  ให้กำหนดจิตนึกพิจารณาอาการทั้ง 32  ดังกล่าวในเหล่านั้นให้เป็นของปฏิกูล  น่าเกลียดทุกส่วน   ถ้ายังไม่เห็นเป็นปฏิกูลลงได้  ยังกำหนัดยินดีในกายของตัวนี้   ก็ให้ถามตัวเองว่า   สิ่งใดเป็นของหอมหรือดีของงามทำให้มาหลงกำหนัดยินดีรักใคร่กายนี้อยู่   ความจริงล้วนเป็นเครื่องปฏิกูล...น่ารังเกียจทั้งนั้นมิใช่หรือ
          ถ้าพิจารณาไม่ชัด...ยังไม่เห็นเป็นสิ่งปฏิกูลลงได้ทุกส่วน   ก็ควรน้อมในที่จะปรากฏชัด  คือ  น้ำมูตรคูถหรือเสมหะ  น้ำเลือดน้ำหนอง   ผมเล็บ  ที่เหมือนผักหญ้าดูดน้ำเลือดน้ำหนองไปหล่อเลี้ยง   หรือยกข้าวของผ้าผ่อนที่ขาวบริสุทธิ์สะอาด  ถ้าแปดเปื้อนน้ำเลือด  หนอง   มูตรคูถ  แล้วก็จะเป็นของปฏิกูลน่ารังเกียจฉันใด...ผม  ขน เล็บ   หนัง...จะสำคัญว่างามก็แปดเปื้อนอยู่ด้วยมูตรคูถเลือดหนองก็เป็นของปฏิกูล ฉันนั้น
          เล็บหรือฟัน...ถ้าไม่ทำความสะอาดไม่กี่วัน  จะเกิดความน่ารังเกียจหรือไม่   ผมถ้าไม่สระทิ้งไว้สักอาทิตย์สองอาทิตย์จะเป็นเยี่ยงไร   จะเหม็นสาบสางแค่ไหน...ควรพิจารณาอย่างนี้เนือง ๆ ในที่สุดจะเกิดปัญญาธรรม  มองเห็นความจริง...ท้ายสุดคือความหน่ายและถ่ายถอนจากอุปาทาน   การยึดมั่นถือมั่นในกาย

 อานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติ
           ผู้เจริญกายคตาสติ  ชื่อว่าดื่มกินรสคือ  นฤพาน   เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า  อะมะตันเตสัง  ภิกขเว   แน่ะ ภิกษุทั้งหลาย   ใครเจริญกายคตาสติ  ผู้นั้นได้ชื่อว่าดื่มกินรสคือพระนฤพาน   เป็นธรรมอันไม่ตายแล้ว  เพราะว่าพระนฤพานคือธรรมดับราคะ  โทสะ  โมหะ   ก็ที่เจริญกายคตานี้
          เหตุนั้น   เมื่อปรารถนาจะรักษาพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ ใคร่ดื่มรสพระนฤพานแล้ว   พึงเจริญสติกรรมฐานด้วยกายคตา  เมื่อเจริญให้เกิดปฏิกูลขึ้นในใจ  ครั้นเกิดแล้วให้รักษาปฏิกูลสัญญานั้นไว้   เมื่อเพียรไปจะเป็นอุบายชำระใจให้บริสุทธิ์   เป็นกุศลอันวิเศษนำพาสู่ความพ้นทุกข์ได้ในไม่ช้า อย่างแน่นอน


อารมณ์กรรมฐาน ใน กายคตาสติ นั้นมีตั้งแต่ ห้องพระธรรมปีติ อันเรียกว่า พิจารณา ธาตุ

 
;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับ ตจปัญจกกรรมฐาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2012, 03:01:12 pm »
0
แนะนำให้อ่านจ๊ะ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม