ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จริงหรือคะ ถ้าเราไม่มีพระพุทธรูป แล้วพระพุทธศาสนาจักมีอายุถึง 5000 ปี  (อ่าน 9027 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สายฟ้า

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตอนนี้ผม กับกลุ่ม กำลังทำรายงานวิจัยเรื่อง

  "จริง หรือ พระพุทธรูปไม่ใช่สัญลักษณ์ของพระศาสนาพุทธ"

  สืบเนื่องพวกเรา ได้รับหนังสือ ว่าการสร้างพระพุทธรูปเป็นบาป ควรจะทำลายและเรียนหลักธรรมของพระศาสนา

แทนการสร้างพระพุทธรูป มีกลุ่มร่วมกัน เพื่อรายงานวิจัยส่วนนี้ 10 คนครับ

  แต่ทางพวกผม ก็ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ขอคำชี้นำด้วยครับ

 :08:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ชื่อกระทู้ : พระพุทธรูป เริ่มมีมาในสมัยใด

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=300.0

อ่านกระทู้ข้างบนก่อนนะครับ



อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา
              สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ปิงคลโกจฉะ เข้าไปเฝ้า เมื่อได้กล่าวทักทายปราศรัยพอสมควรแล้ว พราหมณ์นั้น จึงกราบทูลว่า

              "พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ มีคนรู้จักมาก มีเกียรติยศเป็นเจ้าลัทธิ อันชนหมู่มากเข้าใจกันว่าเป็นคนดี เช่น ปูรณะ กัสสป, มักขละ โคสาล, อชิตะ เกสกัมพล, ปกุธะ กัจจายนะ, สัญชัย เวลัฏฐบุตร, และ นิครนถนาฏบุตร๑ สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือว่าไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้"

              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลยเป็นต้นนั้น ขอจงยกไว้ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังให้ดีเถิด"

              เมื่อพราหมณ์ทูลรับคำแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนพราหมณ์ มีข้ออุปมาว่า บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหากแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดไม้เสีย ตัดเอากิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น

คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้า ก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกะพี้, เปลือก, สะเก็ด, กิ่งและใบไม้ เมื่อต้องการแก่นไม้ จึงละเลยแก่นเป็นต้น ตัดเอาแต่กิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ทั้งจะไม่ได้รับประโยชน์จากกิ่งและใบไม้นั้นด้วย"
 
              "มีอุปมาอื่นอีก บุรุษต้องการแก่นไม้ แต่ถากสะเก็ดไม้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากเปลือกไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากกะพี้ไม้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ก็จพึงถูกหาว่า ไม่รู้จักแก่นไม้เป็นต้น และไม่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ถากไปนั้นเช่นเดียวกัน"

              "อีกอุปมาหนึ่ง บุรุษต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไป ด้วยรู้จักแก่นไม้ คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้าก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น กะพี้ เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบไม้ ต้องแก่นไม้ก็ตัดเอาแต่แก่นไป ด้วยรู้จักแก่นไม้ ทั้งจะได้รับประโยชน์จากแก่นไม้นั้นด้วย"

              "ดูก่อนพราหมณ์ ข้ออุปไมยก็ฉันเดียวกันนั่นแหละ คือกุลบุตรบางคนในศาสนานี้ มีศรัทธาออกบวชไม่ครองเรือน ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ เข้าถึง๒ตัวแล้ว อันความทุกข์เข้าถึงตัวแล้ว มีความทุกข์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ไฉนหนอการทำที่สุดแห่งทุกข์๓ ทั้งหมดนี้จะปรากฏ ผู้นั้นออกบวชแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็อิ่มใจ เต็มความปรารถนาด้วยลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่น

เพราะลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ว่าเราเป็นผู้มีลาภ สักการะ ชื่อเสียง ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านั้นไม่มีใครรู้จักเป็นผู้มีศักดาน้อย คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าลาภ สักการะ และชื่อเสียง ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม"

              "ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือน ผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดเสีย ตัดเอากิ่งและใบไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

              "อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วย ลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสิ่งนั้น ทั้งยังปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม

ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสีลสัมปทานั้นว่า เราเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลว คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทา ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม

ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น กะพี้ และเปลือกเสีย ถากเอาสะเก็ดไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

              "อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ประพฤติสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ยังไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเป็นต้นเพราะสีลสัมปทานั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทานั้น ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม

ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ (ความตั้งมั่นหรือความสงบแห่งจิต) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปปทานั้นว่า เราเป็นผู้ตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ เป็นผู้ไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า สมาธิสัมปทานั้น ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติหย่อนหละหลวม

ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นและกะพี้เสีย ถากเอาเปลือกไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"

 
              "อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจ

แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธินั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปทานั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสมาธิสัมปทา ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่เป็นผู้มีความประพฤติยอ่หย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณหรือปัญญา) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยญาณทัสสนะ หรือปัญญานั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะนั้น ว่าเราอยู่อย่างรู้เห็น

ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ อยู่อย่างไม่รู้เห็น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นเสียถากเอากะพี้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น"
 
              "อนึ่ง บุคคลบางคนอออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจแต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ได้ญาณทัสสนะ (หรือปัญญา) ก็อิ่มใจ

แต่ไม่เต็มปราถรนาด้วยญาณทัสสนะนั้น ไม่ยกตน ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสะนั้น คุณธรรมอื่น ๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งคุณธรรมนั้น ๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมอะไรบ้าง ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ

ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน๔ (ฌานที่ ๑) เข้าทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) เข้าตติยฌาน (ฌานที่ ๓) เข้าจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔)

เข้าอากาสานัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าวิญญาณัญจายตนะ (อรูปฌาน กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) เข้าอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌาน กำหนดว่าไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย) เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ (อรูปฌาน ที่มีสัญญาความจำได้หมายรู้ ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่)

เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเข้าแล้วทำให้ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนาความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ ไม่สุขได้) อาสวะของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา คุณธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไม้ไปฉะนั้น"
 
              "ด้วยประการฉะนี้แหละพราหมณ์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะชื่อเสียงเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบอันใด พรหมจรรย์นี้ มีความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบนั้นแหละเป็นที่ต้องการ นั้นเป็นแก่นสาร นั้นเป็นที่สุดโดยรอบ"

 
              เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ปิงคลโกจฉพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต.
จูฬสาโรปมสูตร ๑๒/๓๗๔


สรุปความ
              ๑. ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งไม้ใบไม้
              ๒. ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้
              ๓. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้
              ๔. ญาณทัสสนะ หรือปัญญา เปรียบเหมือนกะพี้ไม้
              ๕. ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบ ซึ่งใช้คำภาษาบาลี "อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ" เปรียบเหมือนแก่นไม้

____________________
____________________
๑. พราหมณ์ปิงคลโกจฉะถามถึงครูทั้งหกซึ่งเป็นเจ้าลัทธิมีชื่อเสียงในครั้งนั้น แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงวิพากษ์วิจารณ์ จึงทรงแสดงธรรมให้ฟังตามที่ทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์กว่าการวิพากษ์วิจารณ์ คนอื่น
๒. คำว่า เข้าถึงตัว แปลจากคำว่า โอติณฺโณ ซึ่งโดยพยัญชนะ แปลว่า ก้าวลง
๓. คำว่า การทำที่สุดแห่งทุกข์ เป็นสำนวนบาลี หมายถึงกำจัดทุกข์ได้หมด สำนวนบาลีนี้พอดีตรงกับสำนวนภาษาอังกฤษว่า to put an end to suffering
๔. ในการแปลตอนนี้ ได้แปลลัดแต่ใจความของเรื่องว่า เข้าฌานที่ ๑ ที่ ๒ เป็นต้น เพราะรายละเอียดของแต่ฌานมีแล้วในที่อื่น


ที่มา  พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ




บทความเรื่อง "อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา" สำคัญมากๆสำหรับชาวพุทธ

หนูต้องอ่านอย่างระมัดระวัง ค่อยๆทำความเข้าใจ อย่าได้รีบอ่าน

ถ้าอ่านทั้งสองบทความจบแล้ว สงสัยอะัไร หรือจะปรึกษาอะไร

ให้ตั้งคำถามมาเป็นข้อๆ

 :25:

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เรื่องนี้เป็นเรื่อง หมิ่นเหม่ ต่อศรัทธา พึงระมัด ระวัง ทั้งคนที่ตอบ และ คนที่ถาม

การจะตอบเรื่องนี้ได้ ไม่ใช่แต่ต้องมี สัมมาทิฏฐิเท่านั้น ต้องมี ทัศนะที่กว้างไกล

ลักษณะคำถาม คล้ายกับการทูลขอของพระเทวฑัต  3 ข้อ

  อย่างไรเสีย ทุกคนช่วยอ้างอิงการขอพร 3 ข้อ ของพพระเทวฑัต หน่อย

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


            ผมได้ติดตามอ่านกระทู้จากหลากหลายแนวคิดอยู่หลายวันก็ชั่งใจอยู่ ท้ายที่สุดก็ต้องขวนขวายตอบ ผม

สดุดใจกับคำว่า พระสัทธรรมปฏิรูป ซึ่งค่อนข้างแรง และได้แสดงตัวตนแห่งไนยชนผู้เปรื่องปัญญาทั้งหลายต่าง

แข่งขันกันใช้สังขตทิฏฐิต่ออรรถต่อความหมายเอาว่าข้ารู้ ข้าเรียน เพียรหาข้อสรุปเป็นสัทธบัญญัติ ณ ที่ตรงนี้เรา

กล่าวเพราะเชื่อในเถระคณาจารย์แห่งเราแห่งท่านแล้วซาดซัดใส่กันด้วยคติ(สิ่งที่ยึดเป็นแนวทางเดินแห่ง

ชีวิต)นั้นๆ เราท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่รู้หรือผู้อ่อนกาล(ไม่รู้ซึ้งในสัทธรรมนั้นๆ) ย่อมต้องขวนขวายฟัง และมิเพียง

ฟังแล้วต่อความ ธรรมแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาเป็นธรรมที่แจ้งได้ด้วยจิต จิตเป็นตัวแจงผล มิใช่อ่านรู้จำ

แล้วถือดีว่าเลิศใครอื่นผิดไปจากนี้คือทุรโยชน์ การร่ำเรียนก่อเกิดปัญญาก็จริงแต่อย่าหมายมั่นว่าเที่ยง เพราะ

วิทยาการต่อเติมสร้างวิธีคิดแบบใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาจึงมีการหักล้างทฤษฏีอยู่เรื่อยๆ แต่ในวิถีจิตศาสตร์นั้นต่าง

การเข้าลึกในวิถีแห่งอริยะนั้นเป็นปัจจัตตัง(เฉพาะตน) การขวนขวายรู้ก็รู้เพียงอ่านจำกล่าวถ้อยกระทู้ความได้เท่า

นั้น การจะกล่าวก้าวล่วงใดใดนั้นไม่ฉลาดต้องปฏิบัติเข้าถึงด้วยจิตตภาวนา คือแจงด้วยอรรถแจ้งด้วยจิต คติจึง

ตรงตามสัทธรรมนั้น นิวรณธรรมดับสิ้น ณ วันนี้มีหลากหลายคติแนวคิดที่ไขว่เขวและหมิ่นเหม่ต่อสถาบันศาสน์

เราท่านผู้เป็นพุทธบริษัทต้องขวนขวายกันแล้วครับว่าอะไรแท้อะไรเทียม เทียบอย่างไร ซึ่งก็มิใช่เชื่อตาม

อาจารย์(เพราะเราเป็นผู้ไม่รู้) แล้วยึดถือเอาอย่าง มีหลายเรื่องราวที่พุทธบริษัทเราๆท่านๆต้องใช้วิจารญาณหา

แก่นแท้กันแล้ว หาอย่างไร ก็เพียรน้อมเข้ามารู้ลึกภายในหทัยวัตถุนี้ กล่าวคือ ภาวนาให้แจ้งแล้วแจงด้วยอรรถ

หากได้อย่างนี้คำปรามาสว่า พระสัทธรรมปฏิรูป จะไม่มีเพราะแก่นแท้รู้แล้วแก่ใจนั่นเอง สำคัญที่ตรงนี้ครับ เหตุ

ที่ ณ วันนี้อาศัยบุคคลผู้ขวนขวายน้อยหยิบยกอ้างถูกผิดในพระสัทธรรมต้องเน้นต้องตรงอย่างนี้อย่างนั้นให้เรา

ท่านสับสนกัน อย่าเลย มันมิใช่เริ่มเกิด แต่เกิดมาแล้วในอดีต พระเทวทัตสร้างความสำคัญแก่ตนด้วยการเสนอ

ข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์ขึ้นมาใหม่ ๕ ข้อ โดยอ้างว่าเพื่อจะให้ภิกษุเคร่งครัดยิ่งขึ้น คือ

          ๑. ให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตอยู่เฉพาะในป่า

          ๒. เลี้ยงชีวิตด้วยการบิณฑบาตรเพียงอย่างเดียว

          ๓. จีวรนุ่งห่มนั้นให้นำมาจากผ้าบังสกุลใช้ห่อศพเท่านั้น

          ๔. อาศัยตามโคนต้นไม้

          ๕. ห้ามฉันเนื้อสัตว์

          พระเทวทัตสร้างความสำคัญแก่ตนเช่นนี้ด้วยเพราะคิดอะไร ปัจจุบันเท่าที่เห็นคงมิต่างหรือคราดจาก

กรณีพระเทวทัตที่สำคัญตนผิด ทั้งหมดที่กล่าวมาผมว่าถึงเวลาที่เราท่านต้องแสดงความเป็นพุทธบริษัท ซึ่งมิใช่

ปัญญารู้แจ้งแจงความตามอรรถตามธรรมย้ำคัมภีร์ แต่ต้องมาเพียรรู้ภาวนา ปัญญารู้ตื่นถ่องแท้จริงๆ จึงจะได้ชื่อ

ว่า บัณฑิต....สวัสดี

                                                                                                           
ธรรมธวัช.!      
www.madchima.org
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 01, 2010, 07:25:57 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


มูลเหตุความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๑)


พระไตรปิฎกและ อรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม (เล่มสีน้ำเงิน)

เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๖๒  - ๔๖๖

ฐิติสูตร
(ว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม)

ท่านพระภัททะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ ว่า

" ดูก่อนท่านอานนท์ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จ

ปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จ

ปรินิพพานแล้ว.

ท่านพระอานนท์กล่าว ว่า   

" ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างเฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะๆ ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ดูก่อนท่าน

อานนท์ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพาน

แล้ว และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย  เครื่องทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพาน

แล้ว.

พระภัททะกล่าวว่า  "อย่างนั้น  ท่านผู้มีอายุ"

ท่านพระอานนท์กล่าว ว่า

"ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้

นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว. และเพราะบุคคลเจริญกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรม

จึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.

                          สติ ปัฏฐาน  ๔  เป็นไฉน   ภิกษุในธรรมวินัยนี้   

                          ย่อม พิจารณาเห็น กายในกายอยู่   มีความเพียร   มีสัมปชัญญะ 

             มีสติ    กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย.

                          ย่อม พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ......   

                          ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ......     

                          ย่อมพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่  มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ

             มีสติ   กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย. 

                          ดูก่อนท่านผู้มีอายุ  เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ   ไม่ได้กระทำให้มาก

             ซึ่งสติปัฏฐาน  ๔  เหล่านี้แล   พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้ นาน  ในเมื่อพระ

             ตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว   และเพราะบุคคลได้เจริญ   ได้กระทำให้มาก

             ซึ่งสติปัฏฐาน  ๔  เหล่านี้แล   พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน    ในเมื่อพระ

             ตถาคตเสด็จปรินิพพาน แล้ว"
       

                                               จบฐิติสูตรที่  ๒

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปริหานสูตร
(ว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม)                         

             สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม ใกล้เมืองปาฏลีบุตร. ครั้งนั้นท่าน

พระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็นเข้า ไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่าน

การปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

"ดูก่อนท่านอานนท์ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรมเสื่อม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องทำให้พระสัทธรรมไม่เสื่อม"

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า   

"ดีละๆท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างเฉียบแหลมช่างไต่ถามเหมาะๆ ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ดูก่อนอานนท์ อะไร

หนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องทำให้พระ สัทธรรมเสื่อม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องทำให้พระสัทธรรมไม่เสื่อม"

พระภัททะกล่าวว่า  "อย่างนั้น  ท่านผู้เจริญ"

ท่านพระอานนท์กล่าว ว่า   

"ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฎฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงเสื่อม และ

เพราะบุคคลได้เจริญได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฎฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม สติปัฎฐาน ๔ เป็นไฉน

              ภิกษุในธรรมวินัยนี้   

                           ย่อม พิจารณาเห็น กายในกายอยู่   มีความเพียร   มีสัมปชัญญะ 

              มีสติ    กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย.

                           ย่อม พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ......   

                           ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ......     

                           ย่อมพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่  มีความเพียร  มีสัมปชัญญะ

              มีสติ    กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย.

                           ดูก่อนท่านผู้มี อายุ"

" เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงเสื่อม

เพราะบุคคลได้เจริญได้กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้นแล พระสัทธรรมจึงไม่

เสื่อม."                           

                                             
                                               จบปริหานสูตรที่ ๓                               
                               
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                               
สุทธกสูตร
(ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔)

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้น. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้

                          ย่อม พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ   


              มีสติ  กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย.

                          ย่อม พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ......   

                          ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ......     

                          ย่อมพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

             มีสติ   กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย.

                          ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้นแล"
                                 

                                               จบสุทธกสูตรที่ ๔

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พราหมณสูตร
(ว่าด้วยพระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน)

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้  :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบัณฑิกเศรษฐีใกล้กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้นพราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับได้ปราศรัยกะพระผู้มีพระภาค เจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระ

ตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ นาน ในเมื่อพระ

ตถาคต เสด็จปรินิพพานแล้ว"

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

"ดูก่อนพราหมณ์ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่ได้

เจริญ ไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นานในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว. และ

เพราะบุคคลเจริญ กระทำให้มากซึ่ง สติปัฏฐาน

               พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

                            สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน.

                            ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร

               มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ...   ย่อมพิจารณา

               เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...   ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...   ย่อมพิจารณา

               เห็นธรรมในธรรมอยู่   มีความเพียร   มีสัมปชัญญะ  มีสติ   กำจัดอภิชฌา

               และโทมนัสโนโลกเสีย.     

                            ดูก่อนพราหมณ์  เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ  ไม่ได้กระทำให้มากซึ่ง

               สติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้นแล   พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้ไม่นาน  ในเมื่อตถาคต

               ปรินิพพานแล้ว.

                            และเพราะบุคคลได้เจริญ  ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่า

               นี้แล   พระสัทธรรมจึงตั้ง อยู่ได้นาน   ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

                            เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว  พราหมณ์นั้นได้กราบทูล

               พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ  ภาษิตของพระองค์ไพเราะ

               ยิ่งนัก    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ  ภาษิตของพระองค์ไพเราะยิ่งนัก เปรียบ

               เหมือนบุคคลหงายของที่ คว่ำ  เปิดของที่ปิด  บอกทางแก่บุคคลผู้หลงทาง

               หรือ ตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักแลเห็นได้    ฉะนั้น  ขอท่าน

               พระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์  ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต

               ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป.


                                                จบพราหมณสูตรที่ ๕

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 




อ้างอิงที่มา : http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentgeneral/2010-04-03-17-35-37
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 01, 2010, 08:00:39 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


มูลเหตุความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม (๒)

พระไตรปิฎกและ อรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก สังยุต

ตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๖๓๐ - ๖๓๒

สัทธรรมปฏิรูปกสูตร
(ว่าด้วยพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป)

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุง

สาวัตถี ณ ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวาย

อภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระมหากัสสปะนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระ อรหัตผลมี

มาก และอะไร เป็นเหตุ  เป็นปัจจัย  ให้บัดนี้สิกขาบทมีมากและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  :-

"ดูก่อนกัสสป  ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ  เมื่อหมู่สัตว์เลวลง   พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบท

จึงมีมากขึ้น  ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า"
             
                                    "สัทธรรม ปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้น ในโลกตราบใด   

                                                ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ ยังไม่เลือนหายไป  และ

                                    สัทธรรม ปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด   

                                                เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป
   
                                    ทอง เทียมยิ่งไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด   

                                                ตราบนั้นทองคำ ธรรมชาติก็ยังไม่หายไป   และ

                                    เมื่อ ทองเทียมเกิดขึ้น  ทองคำธรรมชาติจึงหายไป

                                                ทองคำ ธรรมชาติจึงหายไปฉันใด พระสัทธรรมก็ฉัน นั้น
   
                                    สัทธรรม ปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด 

                                                 ตราบนั้น พระสัทธรรมก็ยังไม่เลื่อนหายไป     

                                    เมื่อ สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด

                                                 เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป."   


             "ดูก่อนกัสสปะ ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระ

สัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบ

เหมือนเรือจะอับปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่ เลือนหายไป ด้วยประการฉะนี้.
                 
               " ดูก่อนกัสสป      เหตุฝ่ายต่ำ  ๕  ประการเหล่านี้  ย่อมเป็นไป   

               ไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน      เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม   

                            เหตุฝ่ายต่ำ  ๕  ประการเป็นไฉน  คือ  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก

               อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้   ไม่เคารพยำเกรง

                            ใน พระศาสดา  ๑      ในพระธรรม  ๑       ในพระสงฆ์  ๑

                            ใน สิกขา  ๑              ในสมาธิ  ๑     

                            เหตุฝ่ายต่ำ  ๕  ประการเหล่านี้แล  ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความ

               ฟั่นเฟือนเพื่อความเลือน หายแห่งพระสัทธรรม "
                           
               "ดูก่อนกัสสป      เหตุ  ๕  ประการเหล่านี้แล    ย่อมเป็นไป

               พร้อมเพื่อความตั้งมั่น   ไม่ฟั่นเฟือน  ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม

                            เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน   คือ  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา

               ใน ธรรมวินัยนี้    มีความเคารพยำเกรง

                            ใน พระศาสดา  ๑      ในพระธรรม  ๑       ในพระสงฆ์  ๑

                            ใน สิกขา  ๑              ในสมาธิ  ๑

                            เหตุ  ๕  ประการนี้แล  ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น

               ไม่ฟั่นเฟือน   ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม"
                               

                                                   จบสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓
                                                        (กัสสปสังยุตที่ ๔)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                               
พระไตรปิฎกและ อรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม (เล่มสีน้ำเงิน)

เล่ม ที่ ๓๖ พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๖๓๕

กิมมิลสูตร
(ว่าด้วยเหตุให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ)

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

             สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ เวฬุวัน ใกล้พระนครกิมมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมมิละ

ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง    ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า

                         " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  อะไรหนอแล    เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระ

             สัทธรรม   ไม่ดำรงอยู่นานในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว "   
             
             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

                         " ดูก่อนกิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว  พวกภิกษุ ภิกษุณี  อุบาสก

             อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม

             ในพระสงฆ์  ในสิกขา ในความไม่ประมาท ในปฏิสันถาร

             ดูก่อนกิมมิละ นี้แลเป็นเหตุเป็น  ปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรง

             อยู่นาน   ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว "


             กิมมิละได้ทูลถามว่า

                         "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ก็อะไร  เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรม

             ดำรงอยู่ได้นาน  ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว"
           

             พระ ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

                         " ดูก่อนกิมมิละ   พวกภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้

             เป็นผู้มีความเคารพ   มีความยำเกรงในพระศาสดา  ในพระธรรม  ในพระสงฆ์

             ในสิกขา   ในความไม่ประมาท   ในการปฏิสันถาร 

                         ดูก่อนกิมมิละ   นี้แลเป็นเหตุเป็น   ปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรง

             อยู่ได้นาน  นี้แลเป็นเหตุเป็น  ปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน

             ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว "                                             


                                                    จบกิมมิลสูตรที่ ๑๐

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 




อ้างอิงที่มา : http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentgeneral/2010-04-03-17-36-08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 01, 2010, 07:35:43 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 สำหรับครู ไม่เห็นด้วยในเรื่อง การไม่มีพระพุทธรูป ยึดหลักการของพระอาจารย์ในกระทู้ไหนลืมไปแล้ว

  ท่านกล่าวระดับ ผู้ปฏิบัติ มี 4 ระดับ

    1. เป็นเทวดา พวกนี้ต้องการความสุข ความสำเร็จ ต้องการโลกธรรม และ หวัี่ี่นไหวต่อโลกธรรมด้วย

       ดังนั้นพวกนี้ จึงขอสร้างกุศล สั่งสมบารมี ทุกข์บ้าง สุขบ้าง ชนพวกนี้ ต้องการวัตถุเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจ

       เช่นการมีพระพุทธรูป เป็นต้น ระดับนี้

       ข้อสังเกตุ ระดับนี้เป็น มนุษย์ เทวดา พระโสดาบัน พระสกทาคามี

    2.เป็นพรหม พวกนี้ต้องการความสุข และ สงัดทางจิต เป็นครั้งคราว ยึดมั่นใน อุเบกขา เป็นหลัก ไม่ยุ่งกับ

       วัตถุ และมั่นคงในกุศล

       ข้อสังเกตุ ระดับนี้เป็น เทวดา พรหม และ พระอนาคามี

    3.เป็นพระโพธิสัตว์ พวกนี้ต้องการสั่งสมบารมี เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพื่อขนเวไนยสัตว์ พวกนี้ค่อน

      ข้างเอาเหตุ เอาผล อะไรไปวัดยากมาก อย่างเช่น พระโพธิสัตว์ เสียสละชีวิตตัวเอง ให้โจรมีชีวิต

      ไปก่อกรรมต่อ คิดอย่างไร ก็คิดไม่ออก ว่าจะช่วยทำไม ทำให้คนอื่นต้องตาย เพราะลักษณะของ

      พระโพธิสัตว์เป็น อจิณไตย มาก ๆ ดังนั้นพวกนี้ วัตถุ ก็ไม่ต้องการ จิต ก็ไม่ต้องการ ชีวิต ก็ไม่ต้องการ

      ข้อสังเกตุ ระดับนี้มีโอกาสบรรลุคุณธรรม ก็หลายครั้ง ส่วนใหญ่บังเกิด อยู่ที่ ดุสิต เป็นเทวดา พิเศษ

      ยกตัวอย่างพระมารดาของพระพุทธเจ้า ก็สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ แต่ปรารถนา เป็นมารดาของ

      พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปอีก ( คิดแทนไม่ได้จริง ๆ ) ตอนนี้ก็ทราบว่า ลงมาบำเพ็ญบารมี เพื่อการเป็นพระ

      มารดาของพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป อีก

    4.เป็นพระอรหันต์ พวกนี้ต้องการไม่กลับมาเกิดอีก จึงไม่สนใจวัตถุ สนใจแต่ ธรรม แห่ง จิต

      พวกนี้เป็นพระโยคาวจร มีลักษณะทรงความเป็นผู้มีปัญญา ไม่ไปไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ เป็นต้น

   


    วิเคราะห์ ให้ดี ตามที่คุณปุ้ม โพสต์เรื่อง กระพี้ เปลือก แก่น นั้น จะบอกว่าใครจะเลือกอะไรแล้วไปตำหนิ

    ว่ามัวแต่ ติดกระพี้ เปลือก ไม่เอาแก่น ก็ไม่ได้ เหตุเพราะว่า

    พิจารณาที่พระพุทธเจ้า นั้น ตอนเป็นสุเมธดาบส พระพุทธเจ้า ทรงตรัสแสดงธรรมให้เป็นพระอรหันต์ ได้

    ในอรรถกามีกล่าวไว้ แต่เพราะความปรารถนาใน พุทธภูิมิ จึงไม่สามารถบรรลุ คุณธรรม สาวกภูมิได้

    ซึ่งเป็นที่มาของการอธิษฐาน เป็นสาวกภูมิ กัน

        เมื่อก่อน ดิฉันเอง ก็ไม่เคยสนเรื่องนี้ แต่พอได้ศึกษา ธรรมะในบอร์ดนี้ และไำด้เมล คุยกับพระอาจารย์

    และอาศัยไฟล์เสียง จากครูนภามาฟัง จึงได้ตัดสินใจ ขึ้นดอยสุเทพเมื่ออาทิตย์ ที่แล้ว พร้อมตั้งสัจจะ

   ปฏิญาณ ข้าพเจ้าปรารถนา เป็น สาวกภูมิ ในชาตินี้


       หลังจากอธิษฐาน แฟนที่ไปด้วยกัน ก็บอกเลิกกันทันที ดั่งสายฟ้าฟาด
 
       กลับบ้านวันนั้น ลงจากรถ ก็หกคะเมนตกหลุม ขับมอร์เตอร์ไซค์ไป ก็โดนเฉี่ยว เคยเดินอยู่ประจำที่

    บ้านพักครู อยู่ ๆ ก็มีหมาวิ่งเข้ามากัด สุดท้าย ด้วยพวกรุมว่าอีก

       พระอาจารย์กล่าวว่า เป็นเพราะกรรมของพระสาวกนั้น ไม่รอท่าชาติต่อไปแล้ว กรรมอะไรที่จะใช้กัน

   เลยในชาตินี้ จักทะยอยเกิดขึ้น ทั้งดี และ ก็ไม่ดี เพราะสาวกภูมิ สิ้นสุดกันชาตินี้ ทุกอย่างให้เตรียมใจ

   ที่สำคัญที่สุด ต้องสวดคาถาอุณหิส ให้ได้ ( เรื่องนี้ไม่รู้มาก่อน )


       ดังนั้น

      พวกเทวดา ต้องการ พระพุทธรูป และธรรม ตามโอกาส เปลือก และ กระพี้ และ แก่น

      พวกพรหม ต้องการ พระพุทธรูป และธรรม เปลือก และ แก่น

      พวกโพธิสัตว์ ไม่ต้องการอะไร ในทั้งสามอย่าง คิดแทนไม่ได้

      พวกพระอรหันต์ สาวกภูมิ ต้องการแก่นธรรมเท่านั้น ไม่ติดในสัญญลักษณ์

     
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตรงนี้ถ้าตอบในประเด็น นะคะ

 ในมุมมองส่วนตัว

    ถ้าไม่มีพระพุทธรูป คนไทยปัจจุบัน ไม่มีศาสนาพุทธแน่

    ลองค้นหาตามเน็ต ดูสิคะ ที่คนทั่วโลก ให้ความสนใจ พระพุทธศาสนา นั้นส่วนหนึ่งก็พระพุทธรูป

    ประเทศอินเดีย ( พระพุทธรูป พระธรรม ถูกทำลายหมด ศาสนาพุทธหมดจากอินเดีย ยุคนี้เป็นยุคฟื้นฟู )

    ประเทศจีน พระพุทธรูปไม่ถูกทำลาย คนจีนยังนับถือ พระพุทธศาสนา

    ประเทศเวียตนาม  พระพุทธรูปไม่ถูกทำลาย คนจีนยังนับถือ พระพุทธศาสนา

    ประเทศเขมร ลาว ไทย พม่า พระพุทธรูปยังไม่ถูกทำลาย พระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่

    สัญญลักษณ์ ที่ชาวโลกนับถือ ก่อนที่จะรู้จัก พระพุทธเจ้า ก็คือ พระพุทธรูป

    พระพุทธรูป นี้เป็นสัญญลักษณ์ ที่ทำให้ชาวต่างชาติ ไม่กล้าเหยี่ยดหยามชาวพุทธ

      เช่นพอถ่ายภาพนางแบบ เหยียบหัว หรือ นั่ง ก็จะโดนประนาม ทำให้ชาวต่างชาติ สนใจเรื่อง

      จิต วิญญาณ ชาวเอเชียมากขึ้น


    ที่นี้มาดู สัญญลักษณ์ ล้อเกวียน ธรรมจักรนั้น ถ้าเราเอาไปไว้ในสวน ก็แค่ล้อเกวียน

   ไปไว้ในห้องน้ำ ก็แค่ล้อเกวียน

     แต่ลองนำพระพุทธรูป ไปไว้สิจ๊ํะ ต่างชาติ ก็ ต่างชาติ เถอะต้องคุยกันใหม่ เพราะหมายถึง

    คุณกำลังละเมิด จิต วิญญาณ ของชาวพุทธ ที่เป็นเทวดา อยู่


    ความเป็นจริง เทวดา เป็นผู้สร้างวัด และช่วยเผยแผ่ธรรม เป็นส่วนใหญ่ เช่นดิฉันเป็นต้น ไม่ได้เป็นพระอริยะ

 แต่ก็มาช่วยกัน ธรรมวิจยะ ถ้าหากเป็นพระอริยะ อาจจะไม่เข้ามาตอบเพราะไม่อยากยุ่งกับโลก เหมือนกับพระ

 อาจารย์

     :25: :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
!
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

      พวกเทวดา ต้องการ พระพุทธรูป และธรรม ตามโอกาส เปลือก และ กระพี้ และ แก่น
 

ขอโทษครับ แม่หญิง เทวดามิจฉาทิฏฐิก็มีนะครับ ควรจะพูดว่า เทวดาบางส่วน

อีกประเด็นก็คือ บนสวรรค์มีพระพุทธรูปรึเปล่า อย่างพระจุฬามณีเจดีย์ดูเหมือนว่า

จะไม่มีพระพุทธรูป ใครรู้ช่วยเสริมหน่อย


      พวกพรหม ต้องการ พระพุทธรูป และธรรม เปลือก และ แก่น
 

อย่าลืม อรูปพรหมซิครับแม่หญิง แม่หญิงช่วยตอบหน่อยว่า อรูปพรหมอยู่ด้วยอะไร

กำลังบุญอะไร


      พวกโพธิสัตว์ ไม่ต้องการอะไร ในทั้งสามอย่าง คิดแทนไม่ได้
   

แม่หญิงเข้าใจอะไรผิดรึเปล่า พระโพธิสัตว์ สามารถมีคุณธรรมได้ถึง สมาบัติ ๘

เข้านิโรธสมาบัติได้ ส่วนวิปัสสนาญาณได้ถึง"สังขารุเบกขาญาณ"

และสามารถบวชเป็นพระถือศีล ๒๒๗ ข้อ ได้


      พวกพระอรหันต์ สาวกภูมิ ต้องการแก่นธรรมเท่านั้น ไม่ติดในสัญญลักษณ์
   

พระอรหันตสาวก จริงอยู่กิเลสไม่สามารถย้อมจิตได้ แต่ละวาสนาของตัวเองไม่ไ้ด้

คำว่า "วาสนา" หมายถึง กริยาอาการต่างๆที่ทำซ้ำๆ จนเคยชินติดเป็นนิสัย

ยกตัวอย่าง พระสารีบุตร บางครั้งก็แสดงอาการคล้ายๆลิงออกมา(ชอบกระโดด)

เนื่องจากพระสารีบุตรเคยเป็นลิงมาหลายชาติ

ดังนั้น ถ้าจะกล่าวว่า "ไม่ติดสัญญลักษณ์เลย" ก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก

อาจจะมีพระบางรูปที่มีวาสนาที่ชอบสัญญลักษณ์ก็ได้

เคยพระอรหันต์กินหมากไหม องค์นี้ติดอะไรครับ



ผมใช่ว่าจะค้านแม่หญิงทุกเรื่องนะครับ แค่มองต่างมุมเล็กๆน้อยๆ

อย่าไ้ด้ถือโกรธ ความเห็นของผมจะเป็นแบบทดสอบคุณธรรมในใจ

ของแม่หญิงได้ ไม่ว่าแม่หญิงจะยอมรับหรือไม่่

อย่างไรก็ฝากเป็นการบ้านก็แล้วกัน

ขอเป็นกำลังให้
:58: :58: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สำหรับครู ไม่เห็นด้วยในเรื่อง การไม่มีพระพุทธรูป ยึดหลักการของพระอาจารย์ในกระทู้ไหนลืมไปแล้ว

 ท่านกล่าวระดับ ผู้ปฏิบัติ มี 4 ระดับ

    1. เป็นเทวดา ต้องการความสุข ความสำเร็จ ต้องการโลกธรรม และ หวั่นไหวต่อโลกธรรม

       พวกนี้ จึงขอสร้างกุศล สั่งสมบารมี ทุกข์บ้าง สุขบ้าง ชนพวกนี้ ต้องการวัตถุเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจ

       เช่นการมีพระพุทธรูป เป็นต้น

       ข้อสังเกตุ ระดับนี้เป็น มนุษย์ เทวดา พระโสดาบัน พระสกทาคามี     


     
     สุขทุกข์คนเทพข้อง       หน่วงบุญ
ชอบสั่งสมเป็นทุน             บ่เว้น
จิตรั้งหยั่งพุทธคุณ           รักษ์รูป ไว้นา
ภพชาติยากหลีกเร้น        หวั่นร้างทางบุญ

                                                ธรรมธวัช.!   




    2.เป็นพรหม พวกนี้ต้องการความสุข และ สงัดทางจิต เป็นครั้งคราว ยึดมั่นใน อุเบกขา เป็นหลัก ไม่ยุ่งกับ

       วัตถุ และมั่นคงในกุศล

       ข้อสังเกตุ ระดับนี้เป็น พรหม และ พระอนาคามี



     พรหมวิถียากข้อง        เร้นหนี
มิใฝ่ใคร่ราคี                   หม่นเศร้า
ปลดเปรื่องเยื่องฤาษี       จิตเพ่ง เพียรนา
หาห่างทางบุญเฝ้า         บ่ได้วางเฉย


                                               ธรรมธวัช.!




    3.เป็นพระโพธิสัตว์ พวกนี้ต้องการสั่งสมบารมี เพื่อเป็นพุทธ เพื่อเวไนยสัตว์ พวกนี้ค่อนข้างเอาเหตุ เอาผล

      อะไรไปวัดยากมาก อย่างเช่น พระโพธิสัตว์ เสียสละชีวิตตัวเอง ให้ชีวิตคนอื่น เพราะลักษณะของ

      พระโพธิสัตว์เป็น อจิณไตย มาก ๆ ดังนั้นพวกนี้ วัตถุ ก็ไม่ต้องการ จิต ก็ไม่ต้องการ ชีวิต ก็ไม่ต้องการ

      ข้อสังเกตุ ระดับนี้มีโอกาสบรรลุคุณธรรม ก็หลายครั้ง ส่วนใหญ่บังเกิด อยู่ที่ ดุสิต เป็นเทวดา พิเศษ     



     โพธิสัตว์จิตข้อง              หยั่งหมาย
ปลงจิตปล่อยวางคลาย       ชีพได้
ชาติภพสู่เบื้องปลาย          หวังช่วย สัตว์นา
จึงเร่งกุศลไซ้                   ร่ำร้องบอกบุญ


                                                 ธรรมธวัช.!   




    4.เป็นพระอรหันต์ พวกนี้ต้องการไม่กลับมาเกิดอีก จึงไม่สนใจวัตถุ สนใจแต่ ธรรม แห่ง จิต

      พวกนี้เป็นพระโยคาวจร มีลักษณะทรงความเป็นผู้มีปัญญา ไม่ไปไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ เป็นต้น     



     เวียนตายเกิดเนิ่นช้า        ทุกข์ทน
หวังชีพมิเวียนวน               เกิดซ้ำ
พร่ำเพ่งเร่งกุศล                ศีลสัตย์ รักษ์นา
จิตใฝ่ปัญญาล้ำ               สู่สิ้นสงสาร

                                                ธรรมธวัช.!      

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 02, 2010, 12:56:21 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ผมใช่ว่าจะค้านแม่หญิงทุกเรื่องนะครับ แค่มองต่างมุมเล็กๆน้อยๆ

อย่าไ้ด้ถือโกรธ ความเห็นของผมจะเป็นแบบทดสอบคุณธรรมในใจ

ของแม่หญิงได้ ไม่ว่าแม่หญิงจะยอมรับหรือไม่่

อย่างไรก็ฝากเป็นการบ้านก็แล้วกัน

เคยให้แต่คนอื่น ทำการบ้าน แต่วันนี้ต้องทำการบ้านเองแล้ว

สำหรับ ข้อที่แย้งไว้นั้น จำได้จากเรื่อง

ภาวนากถา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=78.msg4160#msg4160

 มีข้อความว่า
   ขึ้นชื่อว่าการปฏิบัติธรรม ในพระพุทธศาสนา ย่อมมีเป้าหมาย แตกต่างกันตามระดับ ดังนี้
•การปฏิบัติธรรม เพื่อความเป็นเทวดา เพื่อเป็น หรือ ไปเกิดเป็นเทวดา นางฟ้า เป็นเป้าหมายชั้นต้น อันนี้เกิดจากรักษา ศีล และ ให้ทาน  เรียกว่า “ทานศีลภาวนา” ในความเข้าใจของผม  ศัพท์ทางธรรม เรียกว่า ทานมัย และ สีลมัย
•การปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ หรือ เป็นพระพุทธเจ้า คือผู้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศ อย่างเหนียวแน่น ซึ่งผู้ปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมเป็นผู้ต้องการอยู่ในพุทธภูมิ หัวข้อนี้จะไม่ขอกล่าวเพราะว่าเป็นเรื่องของบุคคลที่ความปรารถนาอย่างสูง เพราะต้องมีการบำเพ็ญบารมี 3 ระดับ คือ1.สามัญญะบารมี 2.อุปะบารมี และ 3.ปรมัตถะบารมี จึงจะสมบูรณ์ได้
•การปฏิบัติธรรม เพื่อความเป็นพรหม คือปฏิบัติ เพื่อเป็น หรือ ไปเกิดเป็นพรหม เป็นเป้าหมายชั้นกลาง อันนี้เกิดจากการบำเพ็ญจิต ให้ตั้งมั่น เรียกว่า “สมาธิภาวนา” ในความเข้าใจของผม ศัพท์ทางธรรมเรียกว่า ภาวนามัยชั้นต้น
•การปฏิบัติธรรม เพื่อความเป็นพระอรหันต์ คือปฏิบัติเพื่อ ละสิ้นจาก ภพ จาก ชาติ จากการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฏ เป็นเป้าหมายชั้นสูงของพระสาวก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า สาวกภูมิ คือผู้ที่ต้องการเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า เพื่อเข้าสู่พระนิพพาน  อันนี้เกิดจากการบำเพ็ญ จิตให้สูงให้ละสิ้นจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน เรียกว่า “วิปัสสนาภาวนา” ในความเข้าใจของผม ศัพท์ทางธรรมเรียกว่า ภาวนามัยชั้นสูง เพราะประกอบด้วยการทำไว้ในใจโดยความแยบคาย และ ตรึกตรองอย่างถี่ถ้วน ทุกอิริยาบถ ทุกลมหายใจ เข้า และ ออก ด้วยความเพียรที่สม่ำเสมอ



    เพราะอาจจะยังไม่เข้าใจ ในความหมายดี แต่ก็คล้อยตามอยู่ในบทนี้

    สำหรับ เทวดา พรหม พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์

      ในที่นี้ไม่ได้ หมายถึงบุคคลไม่ได้หมายถึงที่เป็นนะคะ แต่หมายถึงบุคคลที่กำลังภาวนาเพื่อจะเป็น

   ย้ำอีกครั้งก็คือมนุษย์เดินดินอย่างพวกเราวันนี้ ซึ่งมีปณิธานแตกต่างกันไป


      ส่วนเรื่องของเทวดามีมิจฉาทิฏฐิ ตามที่คุณปุ้มเคยโพสต์ไว้ว่า ตราบใดที่เรายังไม่เป็นพระอรหันต์

   ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิโดยสมบูรณ์
 
    ( แต่พระอาจารย์บอกว่า สัมมาทิฏฐิสมบูรณ์ตั้งแต่พระโยคาวจร )


     ส่วนพรหมไม่ได้ลืมหรอกคะ เพราะผู้ที่เป็นอนาคามี สุทธาวาส 5

     คำว่าพรหมก็รวมหมดทุกพรหม แหละคะ


    สำหรับบุคคลที่เป็นพระโพธิสัตว์นั้น นั้นจินตนาการยากคะ คิดว่าเป็นอจิณไตรยะ

    ดูประวัติพระโพธิสัตว์ 500 ชาติ สิคะ หรือ 10 ชาติหลักก็ได้คะ ไม่ได้มีสมาบัติทุกชาติ

    ส่วนการบวชในพระศาสนานั้นไม่ใช่เป็นเรื่องปกติคะ พระอชิตะก็บวชในพระศาสนา ก็ต้องถือสิกขาบถ

    ตามนั้น ถ้าชาติไหนไปเรียนกับอาจารย์ ก็ปฏิบัติตามอาจารย์นั้น ส่วนสังขารุเปกขาญาณนั้น เป็นกำลัง

    ของพระโพธิสัตว์ ที่มีบารมีพร้อมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะพระโพธิสัตว์บางท่าน ก็เิลิกเป็นพระโพธิสัตว์

    ได้ยินมาอย่างนั้น แต่ไม่มีที่อ้างอิง

     ก็อย่างที่บอก สำหรับเรื่องของพระโพธิสัตว์นั้นเป็นเรื่องที่ดิฉันไม่ได้ใส่ใจ เพราะใส่ใจหลักธรรมของ

    พระสาวกมากกว่าจึงไม่ต้องการทราบว่าพระโพธิสัตว์นั้นจะมีความสามารถอย่างไร


     ในที่ดิฉันกล่าวนี้สำหรับบุคคลที่กำลังภาวนาเพื่อจะเป็นพระอรหันต์นั้น ส่วนใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจในสัญญลักษณ์

   เพราะมุ่งแต่หลักธรรมในการขัดเกลาใจ เพื่อละกิเลสภายใน เพื่อจะไ้ด้ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ส่วนที่คุณปุ้ม

   เรื่อง อัตตลักษณ์ นิสสัย นั้นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล อันนี้ทราบดีคะ

    แต่ไม่ขอกล่าวถึงบุคคลที่เป็น เพราะดิฉันยังไม่ได้เป็น ถ้าจะตอบให้ได้แบบนั้น ดิฉันควรจะเป็นก่อนจึงจะตอบ

   ได้คะ ดังนั้นตอนนี้ดิฉันเป็นเพียง อุบาสิกาตัวน้อย ๆ ที่กำลังใฝ่การภาวนาเพื่อการไม่กลับมาเกิดอีก กำลังจะ

   เดินตามทางที่บอก ว่าเป็นอริยมรรค เป็นทางสายกลาง เป็นไปเพื่อการไม่กลับมาเกิดอีก จึงไม่ขอแสดง

   ความเห็นอารมณ์ของพระอริยะบุคคล ชั้นใด ๆ ทั้งสิ้น คะ

      ยินดีรับคำแนะนำจากทุกท่าน เพื่อกระทำ ธรรมวิจยะ เพื่อการสิ้นสุดแห่งกิเลสคะ

    :25: :25:


   ปล.ถึงคุณธรรมธวัช ดิฉันได้อ่านและติดตามผลงานของคุณ โดยเฉพาะในกระทู้นี้ ค่อนข้างบรรจง

   ให้อ่านได้ง่าย อนุโมทนาด้วยคะ

 :25: :25:

   
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

nongmai

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0



  A "จริงหรือคะ ถ้าเราไม่มีพระพุทธรูป แล้วพระพุทธศาสนาจักมีอายุถึง 5000 ปี"

  B "จริง หรือ พระพุทธรูปไม่ใช่สัญลักษณ์ของพระศาสนาพุทธ"


   ตั้งคำถาม กับ เรื่องวิจัยไม่ตรงกัน นะครับ

  A อันนี้ตอบยากครับ ต้องผู้มี อนาคตังสญาณ แล้วครับ

     วิเคราะห์กันไปกันมา ก็ไม่เป็นคำตอบหรอกครับ เพราะพิสูจน์อะไร ไม่ได้

  B อันนี้ ตอบได้เลยครับ เป็นสัญญลักษณ์ของศาสนาพุืทธ แน่นอนครับ ชัวร์

     ถ้าตอบตามประเด็นนะครับ จะไม่เรื่องเยอะครับ

     วัด โบสถ์ วิหาร ลาน เจดีญ์ สถูป ต่าง ๆ ก็เป็นสัญญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาครับ


     วิเคราะห์ตามศัพท์ ก่อน นะครับ  สัญญลักษณ์ แปลว่า รูปแบบ เครื่องหมาย เฉพาะ เจาะจง ครับ

     ดังนั้น พระพุทธรูป ก็เป็นสัญญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาครับ

     ยิ้มเลยสิครับ ว่า ทำไมตอบง่ายจัง

     ประเด็นต่อมา คือผู้เปิดกระทู้ยังไม่ได้ระบุว่าจะถาม อะไรกันแน่


      ไ่ม่ได้ถามว่าเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย กับการมีพระพุทธรูปเป็นสัญญลักษณ์ หรือไม่

     ที่นี้ถ้าตั้งคำถามว่า พระพุทธรูปเป็น พระศาสดา ของพระพุทธศาสนาใช่หรือไม่ ?


     อันนี้ละก็ยาวแน่ ครับ กับคำตอบที่ต้อง จับต้นชนปลาย หาข้อมูลอ้างอิง กันมากเลยครับ

   

    ที่เมืองสาวัตถี อินเดีย กำลังมีการสร้างพระมหาเจดีย์ ที่ใหญ่มากๆ (โดยคนไทย)

     

    ไดบุทสึ - พระพุทธรูปหล่อจากบรอนซ์ และเป็นพระพุทธรูปใหญ่เป็นอันดับสองของญี่ปุ่น

พระพุทธรูปไดบุทสึนี้เชื่อกันว่าแต่เดิมไม่ได้ตั้งอยู่กลางแจ้ง แต่ตั้งอยู่ในโบสถ์ไม้ โดยหล่อขึ้นจากความต้องการของพระโคโจในปีค.ศ.1252 แต่ต่อมาเกิดคลื่นทสึนามิขึ้นฝั่งมาซัดเอาโบสถ์ไม้พังเหลือไว้แต่พระพุทธรูป
   
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1003.0

   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1006.0

  หลังจากดูกันแล้ว ท่านเห็นอะไรในความเป็นจริงของกระทู้หรือไม่


จากนี้ท่านคงจะเกิดความศรัทธา ชื่นบานใจ ที่ได้สักการะและกราบ

ตอนนี้ผมรวบรวม ลิงก์ บทวิจารณ์เรื่องการทำลายพระพุทธรูป แล้วเข้าไปอ่านแล้วก็มีทั้งที่ว่าดี และ ก็ไม่ดี

และก็บอกว่าอย่าไปใส่ใจเลย ไม่ใช่พระพุทธศาสนา


    สิ่งสำคัญ จงอย่าลืมว่า เราคือคนไทย นับถือพระพุทธศาสนา

    ถ้ามีคนมาบอกว่า คุณกราบเบญจางคประดิษฐ์ทำไม ประเทศอินเดีย เมืองพระพุทธเจ้า เขานั่งกระโหย่ง

  ยกมือไหว้ หรือ ไปธิเบตเขาก็กราบ 8 จังหวะ ทั้งหมดนี้ ก็เป็นท่วงท่าเพื่อการทำสักการะ

    หนักอีกนิด บางคนบอกว่า หันเท้าไปหาพระพุทธรูป เป็นการทำสักการะเหมือนกัน

    คุณจะตอบพวกเขาอย่างไร กันครับ


    ที่ผมจะบอก ก็คือ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ จิตวิญญาณของผู้สร้าง และ ร่วมสร้าง

    สิ่งเหล่านี้ ท่านจะวัดค่าพวกนี้ออกมาอย่างไรกับวัตถุ


    ผมไปที่วัดแก่งขนุนตอน หล่อพระพุทธเมตตาศักดิ์สิทธิ์ ช่วงที่หล่อเกต นั้น

    มีคนยืนเอาทองคำ เข้าแถวกันมาเพื่อใส่เบ้าหล่อลงไปที่พระเกต

     มีคุณยายท่านหนึ่งท่านหย่อน กำไลข้อมืิอ 2 วงน่าจะประมาณ 2 บาทผมถามว่า

       ผม "คุณยาย กำไลทองนี้ซื้อมานานหรือยัง"

       ยาย "ไม่ได้ซื้อ"

       ผม "แล้วยายไปเอามาจากไหน"

       ยาย "เป็นของหมั้นของยาย สามียายให้ไว้วันแต่งงาน"

       ผม "แล้วตาไม่ว่า หรือ ครับ"

       ยาย "ตาไม่ว่าหรอก ตาตายแล้ว เพราะตามาเข้าฝันบอกยายให้นำมาหล่อร่วมกับเขา"

       ผมอึ้งครับ ดูจากการแต่งตัวยาย แล้วดูแล้ว ฐานะก็ไม่ดีเท่าไหร่ ผมแอบเดินตามยายไป เห็นขึ้นรถ

   รอบเมืองอีก ยายไม่เสียดายเลยเพื่อ พระพุทธศาสนา
     
       เทียบกับผมแล้ว ผมใส่สร้อยคอทองคำติดตัวไป 5 บาท แหวนอีก 1 วง 1 บาท ผมเองยังไม่กล้า

   ที่จะเสียสละลงไปในพระพุทธรูปเลยครับ

       เห็นอะไรหรือยังครับ ...........

        :25: :25:

       
บันทึกการเข้า

tuenum

  • บุคคลทั่วไป
0
A "จริงหรือคะ ถ้าเราไม่มีพระพุทธรูป แล้วพระพุทธศาสนาจักมีอายุถึง 5000 ปี"

ในทางปฏิบัติ เป็นไปไม่ได้ว่า "ถ้าเราไม่มีพระพุทธรูป แล้วพระพุทธศาสนาจักมีอายุถึง 5000 ปี" เพราะพระพุทธองค์เป็นสัพพัญญู  สามารถเห็นอนาคตที่ไม่มีทางเปลี่ยนแปลง  เมื่อท่านเห็นว่าพุทธศาสนาจักมีอายุ 5000 ปี อนาคตนี้จึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้

ในทางทฤษฎี ที่อนาคตที่ยังไม่ถูกทำนายโดยพระพุทธเจ้า อนาคตอันนั้นก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกเรื่อง

จึงเป็นไปได้ว่า "ถ้าเราไม่มีพระพุทธรูป แล้วพระพุทธศาสนาจักมีอายุถึง 5000 ปี" เพราะอนาคตอาจเปลี่ยนแปลงไป  คนในศาสนาอื่น เช่น อิสลามและคริสต์ อาจจะสามารถตีความได้ว่า จิตบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าก็คือ อัลเลาะห์ หรือยะโฮวา หรือพระบิดานั่นเอง


B "จริง หรือ พระพุทธรูปไม่ใช่สัญลักษณ์ของพระศาสนาพุทธ"

พระพุทธรูปเป็นเพียงตัวแทนของพระพุทธเจ้าที่เป็นจิตบริสุทธิ์(พระเจ้าที่เป็นพระบิดา)  เรากราบไหว้พระพุทธเจ้า ก็คือ เรากราบไหว้จิตบริสุทธิ์  ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ใช่จิตบริสุทธิ์....เราจะไปกราบไหว้หาพระแสงอะไรเล่า

เหมือนกับในศาสนาคริสต์ พระรูปของพระเยซูเป็นตัวแทนของความเมตตากรุณาของพระเจ้า(พระเจ้าที่เป็นพระบุตร)  ชาวคริสต์กราบไหว้จิตบริสุทธิ์ที่เป็นตัวแทนของความเมตตากรุณาของพระเจ้า   ถ้าพระเยซูไม่ใช่จิตบริสุทธิ์ที่เป็นตัวแทนของความเมตตากรุณาของพระเจ้า....ชาวคริสต์จะไปกราบไหว้หาพระแสงอะไรเล่า

ตาลีบัน ไม่สามารถเข้าใจเรื่องพระพุทธรูปเป็นเพียงตัวแทนของพระพุทธเจ้าที่เป็นจิตบริสุทธิ์(พระเจ้าที่เป็นพระบิดา หรืออัลเลาะห์) จึงได้ทำลายรูปปั้น ภาพเขียนต่างๆ ในอัฟกานิสถาน = ตาลีบัน เหยียดหยามจิตบริสุทธิ์(พระเจ้าที่เป็นพระบิดา หรืออัลเลาะห์)  ผลกรรมอันนั้นทำให้ตาลีบันถูกลบออกจากแผนที่โลก

คำตอบในข้อB ของผม สามารถตอบคำถามข้อแรกของคุณได้ด้วย ที่คุณถามว่า "จริงหรือคะ ถ้าเราไม่มีพระพุทธรูป แล้วพระพุทธศาสนาจักมีอายุถึง 5000 ปี"  เพราะถ้าไม่มีพระพุทธรูป อนาคตก็อาจจะเปลี่ยนแปลง และเป็นไปได้ว่า คนในศาสนาอื่น เช่น อิสลามและคริสต์ อาจจะสามารถตีความได้ว่า จิตบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าก็คือ อัลเลาะห์ หรือยะโฮวา หรือพระบิดานั่นเอง

++++ เรื่องที่ผมบอกนี้ คนที่จิตไม่บริสุทธิ์ ยกย่องศาสนาของตน เหยียดหยามศาสนาอื่น  ยากที่จะตีความได้ ++++


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 02, 2010, 02:37:58 pm โดย tuenum »
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ในที่ดิฉันกล่าวนี้สำหรับบุคคลที่กำลังภาวนาเพื่อจะเป็นพระอรหันต์นั้น ส่วนใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจในสัญญลักษณ์

   เพราะมุ่งแต่หลักธรรมในการขัดเกลาใจ เพื่อละกิเลสภายใน เพื่อจะไ้ด้ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ส่วนที่คุณปุ้ม

   เรื่อง อัตตลักษณ์ นิสสัย นั้นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล อันนี้ทราบดีคะ

ตรงมีคำตอบ เรือง อัตตลักษณ์อยู่ ผมเคยอ่านมาแล้ว

พระอรหันต์ เป็นผู้อยู่ เหนือโลก โดยจิตแ้ล้ว ดังนั้น เหตุ และ ผล
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=703.msg3029#msg3029


บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระพุทธรูป ก็คือ รูป ที่เป็นพระศาสดาของชาวพุทธ

พระพุทธรูป เป็น ศิลปะ วัฒนธรรม สำหรับคนที่ ยังต้องการกำลังใจ คือยังต้องมีวัตถุเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ

การไม่มีนั้นไม่ดี หรอกคะ พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสทำนายอนาคตไว้แล้ว ว่า 5000 ปี ก็ต้อง 5000 ปี

นั่นย่อมหมายถึงพระองค์ต้องรู้ล่วงหน้าแล้วว่าต้องมีพระพุทธรูป มิฉะนั้นพระองค์ก็คงจะทรงตรัสห้าม ไว้แล้ว

  ที่นี้สำหรับคนที่ คาดหวัง พระนิพพานในชาตินี้นั้น นี้ก็ตอบยาก เอาเป็นว่าเราใช้ชีวิตให้ ถูกตามพระอริยมรรค

ดีกว่า นะคร้า

  เห็นด้วยว่าควรมี ถ้าไม่เห็นด้วยตอนนี้ นะคร้า ทั่วโลก จ้า ไม่ใช่แค่ประเทศไทย

  ถ้าต้องทำอย่างนั้น คงจะสะใจพวก ศาสนาอื่น ๆ ที่คอยทำลาย ศาสนาพุทธ อยู่คะ

 ตอนนี้ ที่ ม. ก็มีคนคริสตจักร เข้ามาเผยแผ่ โดยพูดหยิบยกทั้ง พระไตรปิฏก และ ไบเบิ้ล พูดปนเป

สุดท้าย ก็สรุปว่า ควรจะเชื่อมั่นในพระเจ้า และหันมานับถือ ศาสนาคริสต์ เพราะเป็นทางรอด ตกลง

จับต้นชนปลาย ก็คือ ต้องนับถือพระคริสต์

  ซึ่งทางกลุ่ม หมวยจ้า ก็ปวดเศียรเวียนเกล้า กับการชักชวน และ พูด ถึงความยิ่งใหญ่ โดยไม่ได้พูดถึง

 หลักธรรม สิ่งที่เขากล่าวก็เพียงความศรัทธา ความเขื่อ ว่าต้องเป็นอย่างนี้

  ที่นี้หลักธรรมของพุทธนั้นเป้นหลักธรรม ที่ภาวนา จึงเกิดผล

 :021:

 สาธุ คร้า อ่านแล้ว ฟังแล้ว ก็ใช้ วิจารณญาณด้วยการภาวนาด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
แล้วเราละ!!!  จะเป็นอะไรดี!!  จะทำได้ไม๊เนี้ย?  สู้ๆ  :character0029:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม