ทองเนื้อเก้า เป็น ละคร ที่สะท้อนชีวิต ของ ผู้หญิงคนหนึ่งที่ขาดธรรมะ มั่วอยู่กับอบายมุข จนที่สุดเป็นการสะท้อนชีวิตของผู้หญิงที่ เรียกว่า นางมาร ไม่ใช่ พระอรหันต์
แต่จะเป็น นางมาร หรือ พระอรหันต์ ก็ยังชื่อว่าเป็น แม่ ผู้ให้กำเนิด
คนจะดี หรือ เลว มิได้อยู่ที่ชาติ กำเนิด แต่หากอยู่ที่การอบรม สั่งสอน
วันเฉลิม เป็นเด็กดีโดยสันดาน ส่วนหนึ่ง และได้พ่อเลี้ยงคนสุดท้าย ที่เป็นผู้มีอายุ และเป็นผู้มีความสนใจในธรรมปฏิบัติ เป็นผู้อบรมสันดานให้ด้วย
แต่ส่วนหนึ่ง ก็คือ ชื่อ วันเฉลิม นั้นเป็น วันเกิดของ วันเฉลิม ที่เกิดวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันตรงกับ วันเฉลิมพระชมน์พรรษาของพ่อหลวง ชาวไทย นี่เป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่ง ที่เป็นเหมือนพ่อ ที่เป็นแบบอย่างในใจของ วันเฉลิม
เรื่องทองเนื้อเก้า นั้น สะท้อนสังคม หญิงไทย ที่ไร้การศึกษา ใช้กายแลกทรัพย์เพื่อความอยู่รอด แต่กว่าจะรู้สึกสำนึกตัวได้ ก็เป็นโรคหลายโรค รุมเร้า จนวินาทีสุดท้าย ที่สำนึก แต่ก็ไม่ทันการณ์
เล่ากันเล่น ๆ วิเคราะห์กันไป ตามจินตนาการของผู้ประพันธ์
อยากจะบอกว่า ชีวิต เรานั้นก็เหมือน โรงละคร โรงหนึ่ง ที่เขาสวมบท เราสวมบท แต่หาใช่ ของจริง ของแท้เลย
