ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รู้สึก ว่าสับสนกับการทำความดีคะ ทำไมทำดี ไม่ดี เสียทีคะ  (อ่าน 3937 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tippawal

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 10
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รู้สึก ว่าสับสนกับการทำความดีคะ ทำไมทำดี ไม่ดี เสียทีคะ ทำไมการทำความดี จึงมีอุปสรรคปัญหามากมายจนจะหมดกำลังใจทำความดี แล้วคะ

  ทำไม เราทำดี ถึงมีแต่คนเบียดเบียนคะ
 
   :'( :'( :'( :c017:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
- การที่เราทำดีแล้วเจออุปสรรคใดๆ ให้มองว่าสิ่งนั้นเป็นบททดสอบให้ก้าวข้ามไปให้ถึงจุดหมาย มันเป็นเพียงโจทย์ปัญหาที่เราต้องตอบเพื่อข้ามไปในลำดับต่อไป
- การที่เราทำดีแล้วมองว่าคนอื่นเบียดเบียนเรานั่นเพราะใจเรายังหวั่นไหวอยู่
- ความรู้สึดอึดอัดใจ คับแค้นใจ ขัดเคืองใจใดๆ เมื่อเกิดขึ้นกับเรา ให้คุณพึงระลึกรู้ว่า ความรัก โลภ โกรธ หลง ขุ่นมัวใจใดๆเกิดขึ้นแก่ใจคุณแล้ว ให้พึงระลึกรู้ในใจว่า ถูกกิเลสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว นี่เป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่า เรายังทำดียังปฏิบัติมาไม่พอ ความรู้สึกเหล่านี้จึงยังมีอยู่
- หากเมื่อมีสิ่งใดๆมากระทบทำให้คุณท้อใจ ให้รู้ว่าขณะนี้จิตคุณมีจิตสังขารปรุงแต่งให้ตรึกนึกคิดปรุงแต่งเรื่องราวไปต่างๆนาๆแล้วคุณไปถือเอาความปรุงแต่งนึกคิดนั้นมาเป็นที่ตั้งแห่งจิตจนเกิดทุกข์ นี่เรียกว่าส่งจิตออกนอก คือ เสพย์อารมณ์ไปตามความปรุงแต่งนึกคิดของจิต
- ทางแก้คือเมื่อรู้ตนว่าจิตไปตั้งเอาจิตสังขารใดๆมาเป็นอารมณ์ของใจแล้วให้ละความสำคัญมั่นหมายนั้นๆไปเสียพึงระลึกว่านี่เป็นเพียงความคิดปรุงแต่ง เป็นความฟุ้งซ่าน เป็นความคิดพล่าน หายใจเข้าลึกๆระลึกว่าเราจะดับไปซึ่งความคิดพล่านนี้ หายใจออกยาวๆละรึกว่าเราจะดับไปซึ่งความคิดพล่านเหล่านี้ สัก 3 ครั้ง คุณจะรู้สึกโล่งขึ้น แล้วก็สร้างความตั้งมั่นในใจว่าจะไม่ให้ความสำคัญกับจิตสังขารความปรุงแต่งนึกคิดฟุ้งซ่านนี้อีก
- เมื่อสำคัญมั่นหมายสิ่งใดน้อย ความติดข้องใจก็จะลดน้อยตามไปด้วย พึงระลึกว่า ติดข้องใจกับสิ่งใดๆไปก็ไม่ก่อเกิดประโยชน์แก่เรา ละความติดข้องใจนั้นไปเสีย
- เมื่อละความติดข้องใจได้แล้วคุณจะเห็นด้วยกุศลจิตว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใดที่มาเบียดเบียนคุณ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดำเนินไปของมันตามธรรมชาติ ความทุกข์ไม่มี มีความวางใจไว้กลางๆ

ลองดูวงจรนี้ครับอาจจะเป็นประโยชน์แก่คุณ


(อายตนะภายใน ๖ + อายตนะภายนอก ๖ + วิญญาณ) --> ผัสสะ --> ความรับรู้อารมณ์ --> ความพอใจยินดี & ความไม่พอใจยินดี --> ความสำคัญมั่นหมายของใจ(สัญญา) --> ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง --> รัก โลภ โกรธ หลง --> ตัณหา --> อุปาทาน


เราจะละอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ตัณหาในสิ่งนั้น
เราจะละตัณหาความทะยานอยากในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความรัก โลภ โกรธ หลง ในสิ่งนั้น
เราจะละความรัก โลภ โกรธ หลง ในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความตรึกนึกคำนึงถึงในสิ่งนั้น
เราจะละความตรึกนึกคำถึงในสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งนั้น
เราจะละความสำคัญมั่นหมายของในใจสิ่งใด เราก็ต้องละที่ความพอใจยินดีหรือความไม่พอใจยินดีในสิ่งนั้น
เราจะละความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีในสิ่งใด เราก็ต้องมีอุเบกขาจิต คือ ความมีใจกลางๆ มีความวางเฉย ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาเสพย์เสวยอารมณ์ต่อสิ่งนั้น


--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เกิดความติดข้องใจ --> จึงอยากรู้ --> อยากดู อยากเห็น --> อยากได้ยิน ได้ฟัง --> อยากได้กลิ่น --> อยากลิ้มรส -->

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เพราะมีความติดข้องใจ --> จึงเจตนาที่จะรู้ --> จึงมองดูเพื่อให้เห็น --> จึงเงี่ยหูฟังเพื่อให้ได้ยิน --> จึงใช้จมูกสูดดมเพื่อให้รู้กลิ่น --> จึงดื่ม-กินเพื่อให้รู้รส --> จึงพยายามแตะสัมผัสทางกายเพื่อให้รับรู้ถึงความรู้สึกจากการผัสสะกับสิ่งนั้นๆ -->

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เพราะมีความติดข้องใจ --> เมื่อเห็นตามต้องการแล้ว --> เมื่อได้ยินตามต้องการแล้ว --> เมื่อได้กลิ่นตามต้องการแล้ว --> เมื่อรู้รสตามต้องการแล้ว --> เมื่อรู้สัมผัสทางกายตามต้องการแล้ว--> เสพย์เป็นความรู้สึกพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี --> เสวยอารมณ์เป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ กาย-ใจ --> เกิดเป็นความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ --> ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง --> ตัณหา -->

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> พิจารณาตามจริง เห็นตามสัจธรรม รู้สภาพจริง --> เมื่อเราไม่มีความติดข้องใจ -->  แม้เห็นแล้ว --> แม้ได้ยินแล้ว --> แม้ได้กลิ่นแล้ว --> แม้รู้รสแล้ว --> แม้รู้สัมผัสทางกายแล้ว--> ไม่เกิดความพอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี --> เสวยความรู้สึกมีใจกลางๆ ไม่สุข  ไม่ทุกข์ --> ไม่เกิดเป็นความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจ --> ไม่เกิดตัณหา

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ดูครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0


ผมขอเอาใจช่วยให้คุณได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เห็นธรรมในธรรม เห็นจิตในจิต ปราศจากภัยอันตรายใดๆเบียดเบียน ด้วยคุณแห่งพระพุทธเจ้า คุณแห่งพระธรรม คุณแห่งพระสงฆ์ แลบุญใดที่ผมได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาแล้ว เผยแพร่พระพุทธศาสนามาแล้ว ด้วยเดชแห่งบุญนั้นความพรเหล่านั้นและความสวัสดีจงมีแก่คุณในฉับพลันทุกกาลทุกเมื่อเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 19, 2012, 05:31:32 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

เ็พ็ญนภา

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 17
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำดี เชื่อมั่น ในความดี เทวดารู้ เทวดาเห็น เมื่อถึงคราววิบากแห่งบุญมาถึง เราก็คงนั่งยิ้ม มีสุขคะ
 วันนี้มาจากเมื่อวานนี้ คะ

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 20, 2012, 12:24:08 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สับสนกับการทำความดีคะ ทำไมทำดี ไม่ดี เสียที คะ

ทำดีไม่ได้ดี หากนำไปปุจฉา-วิสัชนาพระสงฆ์ คงได้คำตอบให้วางไม่เอาทั้งดีและชั่ว นั่นเท่ากับอย่าเอาใจไปอิง

โลกธรรมทิ้งทั้งอารมณ์ความพอใจ (อิฏฐารมณ์/สุข,ยศ,ลาภ,สรรเสริญ) และอารมณ์ไม่พอใจ (อนิฏฐารมณ์/ทุกข์,เสื่อม

ยศ,เสื่อมลาภ,นินทา) ซึ่งเป็นวิถีภาวนาแบบอย่างสงฆ์วิปัสสนาธุระ แต่วิถีปุถุชนดีชั่วต้องแบ่งข้างเอาโลกธรรม เหตุ

เยื่องอย่างนี้นี่เองทำดีจึงไม่เห็นดีกันเสียมาก หรือเราท่านเอามาตรฐานเข้าข้างตัวดีจึงดีแบบฉันอื่นจากนี้ไม่พอใจ ดังนั้น

วิถีโลกธรรมเราเราท่านท่านจึงทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บนเนื้อดินเลวหวังดอกออก

ผลคงชาติหน้า เจอะเจอชะตาไม่เข้าข้างคงต้องทำใจภาวนาไปให้ใจมันวางว่างหลีกหนีโลกบ้างก็เท่านี้ชีวิตคน...

โชคดีครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 19, 2012, 09:39:23 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
หว่านพืช เช่นไร ย่อมได้ผล เข่นนั้น

  แต่การหว่านพืข ก็มีกำหนด เงื่อนไขหลายประการ เช่น ดินดี ปุ๋ยดี น้ำดี คนบำรุงดูแลดี ไม่มีสัตว์รบกวน พืชผลจึงจักงอกงามไพบูลย์ได้นะจ๊ะ

  เช่นทำบุญกับขอทาน ก็ได้บุญ แต่อาจจะช้า
      ทำบุญกับพระ ก็ต้องดีกว่าขอทาน
      ทำบุญกับพระที่เป็นพระอริยะ ก็ต้องดีกว่า อย่างนี้
 
     ผลแห่งบุญจึง ช้าเร็ว อยู่ที่องค์ประกอบด้วย นะจ๊ะ

  ดังนั้นพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว่ว่า วิปากกรรม เป็น อจินไตรย คือ คิดไม่ได้หาคำตอบได้ยาก ยกเว้นพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จักรู้ได้

 เจริญธรรม

  ;)


บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

Goodbye

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 61
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำความดี ต้อง อดทน คะ
เพราะเราทำความดี เพื่อให้ใจของเรา บริสุทธิ์ นะคะ
เราไม่ได้ทำความดี เพื่อให้เขามาชมเราคะ

  :58: :58: :58:
บันทึกการเข้า