ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กว่าพระโพธิสัตว์จะสำเร็จเป็น “พระพุทธเจ้า”  (อ่าน 10849 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

กว่าพระโพธิสัตว์จะสำเร็จเป็น “พระพุทธเจ้า”

   พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ กว่าจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าให้เรากราบไหว้บูชานั้น ล้วนแต่ตั้งความปรารถนามาเนิ่นนาน เริ่มตั้งแต่ความปรารถนาในใจก่อนนับเวลาอย่างน้อย ๗ อสงไขย ปรารถนาด้วยวาจา ๙ อสงไขย ประกาศด้วยกายและวาจาอีก ๔ อสงไขยแสนกัป

   พระพุทธเจ้าเคยเสวยชาติเป็นโพธิสัตว์ประเภทปัญญาธิกะ เพราะมีกำลังบารมีแรงมาก จากที่ได้ตั้งความปรารถนาไว้กับพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ จนนับชาติไม่ถ้วนด้วยจิตคิดว่า เราตรัสรู้แล้วจะให้ผู้อื่นตรัสรู้ด้วย เราพ้นแล้ว จะให้ผู้อื่นพ้นด้วย เราข้ามได้แล้ว จะให้ผู้อื่นข้ามด้วย
 
   ดังนี้...ย้อนหลังไปเมื่อ ....สี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป มีพระนครหนึ่งนามว่า อมร เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารื่นรมย์ สมบูรณ์ด้วยข้าว และน้ำ อึกทึกไปด้วยเสียง ๑๐ เสียง. คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงสังข์ เสียงกังสดาล เสียงที่ ๑๐ ว่า เชิญกิน เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม

   พระนครอันสมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะทุกประการ ที่มีสิ่งต้องการทุกชนิด สมบูรณ์ด้วยแก้วเจ็ดประการ ขวักไขว่ไปด้วยเหล่าชนต่างๆ มั่งคั่งเป็นดุจเทพนารี เป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าผู้มีบุญ.

   พราหมณ์ชื่อสุเมธ มีสมบัติสะสมไว้นั้นได้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ได้มาก เรียนจบไตรเพท ถึงความสำเร็จบริบูรณ์ในลักขณศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ และในสัทธรรม.

   ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิต นั้นไปในที่เร้น ณ พื้นปราสาทชั้นบน นั่งขัดสมาธิคิดความประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมาต่างๆ แล้ว สละกองแห่งโภคสมบัตินับไม่ถ้วน ในเรือนของตน แก่เหล่าชนมีคนกำพร้า และคนเดินทางไกล เป็นต้น ตามนัยที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง ถวายมหาทาน ละวัตถุกามและกิเลสกามแล้ว

   ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัยภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์ สร้างอาศรม เนรมิตบรรณศาลาและที่จงกรม เนรมิตขึ้นด้วยกำลังแห่งบุญของตน เพื่อจะละเว้นเสียจากโทษแห่งนิวรณ์ทั้งห้า นำมาซึ่งกำลัง กล่าวคืออภิญญาที่ประกอบด้วยเหตุ อันเป็นคุณ ๘ อย่าง ละทิ้งผ้าสาฎกที่ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการสำหรับผู้ที่บวชเป็นดาบส .

   เมื่อบวชเป็น ฤาษีดำเนินไปหาโคนต้นไม้ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เลิกละข้าวต่างๆ หันมาบริโภคผลไม้ที่หล่นจากต้นเอง เริ่มตั้งความเพียรด้วยอำนาจการนั่ง การยืน และการจงกรม ในภายในเจ็ดวันนั่นเอง ก็ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘. ท่านได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญาตามที่ปรารถนาไว้นั้น ด้วยประการฉะนี้.

   เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราคิดอย่างนี้แล้วได้ให้ทรัพย์นั้นได้หลายร้อยโกฏิ แก่คนยากจนอนาถา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ ในที่ไม่ไกลแห่งป่าหิมพานต์มีภูเขาชื่อธรรมิกะ เราสร้างอาศรมอย่างดีไว้ เนรมิตบรรณศาลาไว้อย่างดี ทั้งยังเนรมิตที่จงกรมเว้นจากโทษ ๕ ประการไว้ในอาศรมนั้น

   เราได้กำลังอภิญญาประกอบด้วยองค์แปดประการ.
   เราเลิกใช่ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ หันมานุ่งผ้าเปลือกไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ.   
  เราเลิกละบรรณศาลาที่เกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปสู่โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ.

   พระมหาสัตว์กล่าวว่า เราห้ามที่มุงบัง เข้าหาโคนต้นไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูก โดยไม่มีส่วนเหลือเลย หันมาบริโภคผลไม้หล่นเอง ที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอเนกประการ.
   เราเริ่มตั้งความเพียรในที่นั่ง ที่ยืน และที่จงกรมในอาศรมบทนั้น

   ภายในเจ็ดวันก็ได้บรรลุ กำลังแห่งอภิญญา เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูกโดยเด็ดขาด มาบริโภคผลไม้ที่หล่นเอง ที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอันมาก เราเริ่มตั้งความเพียรในการนั่ง การยืน และการเดินจงกรมที่โคนต้นไม้นั้น ในภายในสัปดาห์หนึ่ง ก็ได้บรรลุอภิญญาพละ ดังนี้.



  เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาพละอย่างนี้แล้ว สุข อันเกิดจากสมาบัติ. พระศาสดาทรงพระนามว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ในการถือปฏิสนธิ การอุบัติขึ้น การตรัสรู้และการประกาศพระธรรมจักร โลกธาตุหมื่นหนึ่งแม้ทั้งสิ้นหวั่นไหว สั่นสะเทือนร้องลั่นไปหมด บุรพนิมิต ๓๒ ประการ ปรากฏขึ้นแล้ว.

    สุเมธบัณฑิตให้เวลาล่วงเลยไป ด้วยสุขอันเกิดแต่สมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้นเลย ทั้งไม่ได้เห็นนิมิตแม้เหล่านั้นด้วย
 
    ในกาลนั้น พระทศพลทรงพระนามว่า ทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสนห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับ เสด็จถึงนคร ชื่อรัมมกนคร เสด็จประทับ ณ สุทัสนมหาวิหาร. พวกชาวรัมมกนครได้กล่าวว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ผู้เป็นใหญ่กว่าสมณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิอย่างยิ่ง ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ

    เสด็จถึงรัมมกนคร แล้วเสด็จประทับอยู่ที่ สุทัสนมหาวิหาร. ต่างพากันถือเภสัช มีเนยใสและเนยข้นเป็นต้น และผ้าเครื่องนุ่งห่ม มีมือถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ ณ ที่ใด ก็หลั่งไหลพากันติดตามไป ณ ที่นั้นๆ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา แล้วถวายบังคม บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนา แล้วทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พากันลุกจากที่นั่ง แล้วหลีกไป.

    ในวันรุ่งขึ้น ต่างพากันตระเตรียมมหาทาน ประดับประดานคร ตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาของพระทศพล. ในที่มีน้ำเซาะก็เอาดินถมทำพื้นที่ดินให้ราบเสมอ โรยทรายอันมีสีดังแผ่นเงิน โปรยปรายข้าวตอกและดอกไม้ ปักธงชายและธงแผ่นผ้า พร้อมด้วยผ้าย้อมสีต่างๆ ตั้งต้นกล้วยและหม้อน้ำเต็มด้วยดอกไม้เรียงรายเป็นแถว.

    ในกาลนั้น สุเมธดาบสเหาะจากอาศรมบทของตน มาโดยทางอากาศ เบื้องบนของพวกมนุษย์เหล่านั้น เห็นพวกเขาร่าเริงยินดีกัน คิดว่า มีเหตุอะไรกันหนอ. จึงลงจากอากาศยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ถามพวกเขาว่า ท่านผู่เจริญ พวกท่านพากันประดับประดาทางนี้ เพื่อใคร ดังนี้.

   พวกมนุษย์จึงเรียนว่า "ข้าแต่ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบอะไร พระทศพลทีปังกร ทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเราแล้ว เสด็จพำนักที่สุทัสนมหาวิหาร. พวกเรานิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมา จึงตกแต่งทางนี้ที่จะเป็น ที่เสด็จมาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

 

    เมื่อได้ฟัง สุเมธดาบสก็คิดว่า " แม้เพียงคำประกาศว่า พุทฺโธ(พระพุทธเจ้า) ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไปไย ถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับมนุษย์เหล่านั้น ตกแต่งทางเพื่อพระทศพลด้วย. "

    ท่านจึงกล่าวกะพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่านตกแต่งทางนี้เพื่อพระพุทธเจ้า ขอจงให้โอกาสส่วนหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เราก็จักตกแต่งทาง เพื่อพระทศพลพร้อมกับพวกท่าน. พวกเขาก็รับปากว่า ดีแล้ว. ต่างรู้ว่า สุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงกำหนดที่ว่างซึ่งมีน้ำเซาะให้กล่าวว่า " ท่านจงแต่งที่นี้เถิด แล้วมอบให้ไป.

    สุเมธดาบสยึดเอาปีติ ซึ่งมีพระพุทธเจ้า(พุทฺโธ)เป็นอารมณ์ คิดว่า เราสามารถจะตกแต่ง ที่ว่างนี้ด้วยฤทธิ์ได้. แต่เมื่อเราตกแต่งเช่นนี้ ใจก็จะไม่ยินดีนัก. วันนี้ เราควรจะกระทำการรับใช้ด้วยกาย ดังนี้แล้ว ขนดินมาเทลงในที่ว่างนั้น. เมื่อที่ว่างแห่งนั้น ยังตกแต่งไม่เสร็จเลย

   พระทศพลทีปังกร มีพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีอานุภาพมาก สี่แสนรูปห้อมล้อม. เมื่อเหล่าเทวดาบูชาอยู่ ด้วยของหอมและดอกไม้ทิพย์ เมื่อสังคีตบรรเลงอยู่ เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาอยู่ ด้วยของหอมและดอกไม้ เสด็จเยื้องกรายบนพื้นมโนสิลา ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ ประดุจราชสีห์ เสด็จดำเนินมาสู่ทาง ที่ตกแต่งประดับประดาแล้วนั้น.

   สุเมธดาบสลืมตาทั้งสองขึ้น มองดูพระวรกายของพระทศพล ผู้เสด็จดำเนินมาตามทางที่ตกแต่งแล้ว ซึ่งถึงความเลิศด้วยพระรูปโฉม ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

     สวยงามด้วยพระอนุพยัญชนะ (ลักษณะส่วนประกอบ) ๘๐ ประการ แวดวงด้วยแสงสว่างมีประมาณวาหนึ่ง เปล่งพระพุทธรัศมีหนาทึบมีสี ๖ ประการออกมาดูประหนึ่งสายฟ้าหลายหลาก ในพื้นท้องฟ้ามีสีดุจแก้วมณี ฉายแสงแปลบปลาบอยู่ไปมาและเป็นคู่ๆกัน

    จึงคิดว่า "วันนี้เราควรกระทำ การบริจาคชีวิตแด่พระทศพล. เพราะฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าได้ทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงย่ำหลังของเรา เสด็จพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน เหมือนทรงเหยียบสะพานแก้วมณีเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน "

    พระมหามุนีทีปังกรผู้เป็นพระชินเจ้า พร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่ ปราศจากมลทิน เสด็จดำเนินมาทางนั้น การต้อนรับต่างๆ ก็มีขึ้น กลองมากมายบรรเลงขึ้น เหล่าคนและเทวดาล้วนร่าเริง ต่างทำเสียงสาธุการลั่นไปทั่ว เหล่าเทวดาเห็นพวกมนุษย์ และแม้เหล่ามนุษย์ก็เห็นเทวดา.

    แม้ทั้งสองพวกนั้นต่างประคองอัญชลี เดินตามพระตถาคตไป. เหล่าเทวดาที่เหาะมาทางอากาศ ก็โรยปรายดอกมณฑารพ ดอกบัวหลวง ดอกปาริฉัตรอันเป็นทิพย์ไปทั่วทุกทิศ. เหล่าคนที่อยู่บนพื้นดินต่าง ก็ชูดอกจำปา ดอก (สัลลชะ) ดอกกระทุ่ม ดอกกากะทิง ดอกบุนนาค ดอกการะเกดไปทั่วทุกทิศ.



    สุเมธดาบส เปลื้องผ้าเปลือกไม้และหนังเสือในที่นั้น ลาดลงบนเปือกตม นอนคว่ำหน้าบนหลังเปือกตมเหมือนสะพานแผ่นแก้วมณี พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยศิษย์จงทรงเหยียบเรา เสด็จไป อย่าได้เหยียบบนเปือกตมเลย. ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เรา ดังนี้.

     สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นแล ลืมตาทั้งสอง เห็นพระพุทธสิริของพระทศพลทีปังกร จึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้องการ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวงหมด แล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลส ด้วยเพศที่ใครไม่รู้จัก แล้วบรรลุนิพพาน.

     ถ้ากระไร เราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกร บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่ง แล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้ แล้วปรินิพพานภายหลัง ข้อนี้สมควรแก่เรา...

    "เมื่อดำริว่าตนเองมีความพร้อมในการ ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เพราะมีความพร้อมด้วยธรรม 8 ประการ จึงกระทำความปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วจึงนอนลงทอดกาย เป็นสะพานเพื่อพระพุทธเจ้าจะได้ก้าวพระบาทผ่านไปโดยเท้าไม่เปื้อนโคลนตม"

     องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรเสด็จมาแล้วทรงยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ 5 ประการ ประหนึ่งว่าเปิดสีหบัญชรแก้วมณี ทรงเห็นสุเมธดาบสนอนอยู่เหนือหลังเปือกตม

     จึงทรงดำริว่า ดาบสนี้กระทำความปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความปรารถนาของดาบสนี้จะสำเร็จหรือไม่หนอ จึงทรงส่งอนาคตังสญาณ ใคร่ครวญอยู่
     ทรงทราบว่าล่วงสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ไป ดาบสนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม พระทีปังกรพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ในท่ามกลางบริษัทว่า


     “ท่านทั้งหลาย เห็นดาบสผู้มีตบะสูงผู้นี้ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตมหรือไม่ ดาบสนี้กระทำความปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความปรารถนาของดาบสนี้จักสำเร็จ ด้วยว่าในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป
    แต่กัปนี้ไปดาบสนี้ จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม,
    ก็ในอัตภาพนั้น พระนครนามว่ากบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัยของเขา
    พระเทวีพระนามว่ามายาจักเป็นพระมารดา
    พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็นพระบิดา
    พระเถระนามว่าอุปติสสะจักเป็นพระอัครสาวก
    พระเถระนามว่าโกลิตะจักเป็นทุติยสาวก
    พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพุทธอุปัฏฐาก
    พระเถรีนามว่าเขมาจักเป็นอัครสาวิกา
    พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาจักเป็นทุติยสาวิกา
    ดาบสนี้มีญาณแก่กล้าแล้วจักออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรใหญ่
    รับข้าวปายาสที่ควงไม้นิโครธแล้ว บริโภคที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
    แล้วขึ้นสู่โพธิมัณฑ์ จักตรัสรู้พร้อมเฉพาะที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์”

 

     การจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแสดงว่าได้รับการพยากรณ์ไว้ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศ บิดามารดาได้ถูกกำหนดไว้แล้ว การพยากรณ์อย่างนี้มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงจะทำได้ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นจากอนาคตังสญาณหรือญาณมองเห็นอนาคต

    ท่านแสดงไว้ในขุททกนิกาย อปทานว่า “ก้อนดินที่ขว้างไปในท้องฟ้า ย่อมตกลงในแผ่นดินแน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมืนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสอันไม่เป็นจริง”

     สุเมธดาบสโสมนัสยินดียิ่ง พระทศพลทีปังกร ได้ทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ด้วยพระดำรัสประเสริฐสุด เที่ยงแท้แน่นอน ทรงประทานบูชาด้วยดอกไม้ ๘ กำมือแก่สุเมธดาบสทรงเมตตาทำประทักษิณแล้วหลีกไป

    แม้พระขีณาสพทั้ง 4 แสนก็บูชาด้วยของหอม ดอกไม้ ทั้งมนุษย์และเทวดาก็ได้บูชาด้วย ได้ไหว้ได้บูชาแล้วหลีกไป อย่างนั้นอรรถเหมือนกัน จากพระโพธิสัตว์ก็ บำเพ็ญพุทธการกธรรมคือ ธรรมเพื่อทำให้เป็นพระ พุทธเจ้า ในบารมี ๑๐ ประการ จนสมบูรณ์ทุกประการ แล้วจึงได้มาเกิดที่ลุมพินีแห่งนี้......


    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ กว่าจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าให้เรากราบไหว้บูชานั้น ล้วนแต่ตั้งความปรารถนามาเนิ่นนาน เริ่มตั้งแต่ความปรารถนาในใจก่อนนับเวลาอย่างน้อย ๗ อสงไขย ปรารถนาด้วยวาจา ๙ อสงไขย ประกาศด้วยกายและวาจาอีก ๔ อสงไขยแสนกัป......

ที่มา.........http://board.agalico.com/showthread.php?t=19258


    สุเมธดาบสครั้นได้รับพุทธพยากรณ์ ก็ได้ชื่อว่าเป็น โพธิสัตว์ นับแต่นั้มา ท่านแสดงว่า อภินิหาร ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จักสำเร็จเพราะผู้ตั้งความปราถนา ประกอบด้วย ธรรสโมธานแปดประการ ได้แก่
 
   1. เป็นมนุษย์
   2. เป็นบุรุษเพศสมบูรณ์
   3. มีเหตุสมบูรณ์ คือ มีนิสัยบารมี พร้อมทั้งการปฎิบัติประมวลกัน เป็นเหตุที่จะให้บรรลุพระอรหัตต์ในอัตภาพนั้นได้แล้ว แต่เพราะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า จึงยังไม่สำเร็จก่อน
   4. ได้เห็นพระศาสดา คือ ได้เกิดทัน และได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
   5. บรรพชา คือ ถือบวชเป็นนักบวช เช่น ฤษี ดาบส ไม่ใช่เป็นคฤหัสถ์
   6. ถึงพร้อมด้วยคุณ คือ ได้อภิญญา 5 สมาบัติ 8 หมายถึงการได้สมาธิจิตอย่างสูง จนจิตบังเกิด ความรู้ ความเห็น อย่างมีตา มีหู รับรู้เห็นเกินมนุษย์สามัญ ที่เรียกว่า ตาทิพย์ หูทิพย์
   7. ถึงพร้อมด้วยอธิการ คือ การกระทำอันยิ่งจนถึงอาจบริจาคชีวิตของตน เพื่อพระพุทธเจ้าได้
   8. มีฉันทะ คือ มีความพอใจ มีอุตสาหพยายามยิ่งใหญ่ จนเปรียบเหมือนว่า ยอมแบกโลกทั้งโลก เพื่อนำไปสู่แดนเกษมได้ หรือเปรียบเหมือนว่ายอมเหยียบย่ำโลกทั้งโลกที่เต็มไปด้วยขวากหนาม หอกดาบ และถ่านเพลิงไปได้ 


    ท่านผู้ประกอบด้วยธรรมสโมธานแปดนี้ ทำอภินิหาร ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในสำนักของพระพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ความปรารถนาของท่านย่อมสำเร็จได้ สุเมธดาบส มีธรรมสโมธานแปดประการบริบูรณ์ จึงมีอภินิหารปราถนาพุทธภูมิได้

   ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้บำเพ็ญ พุทธการธรรมสิบประการ ได้แก่
 
   1. บำเพ็ญทาน สละบริจาคสิ่งทั้งปวงจนถึงร่างกาย และชีวิตให้ได้หมดสิ้น เหมือนอย่างเทภาชนะใส่น้ำคว่ำจนหมดน้ำ
   2. บำเพ็ญศีล รักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต เหมือนอย่างเนื้อทรายรักษาขนยิ่งกว่าชีวิต
   3. บำเพ็ญเนกขัมม์ ออกจากกาม จากบ้านเรือน เหมือนอย่างมุ่งออกจากพันธนาคาร
   4. บำเพ็ญปัญญา เข้าหาศึกษา ไต่ถามบัณฑิต โดยไม่เว้นว่าจะเป็นบุคคลมีชาติชั้นวรรณะต่ำ ปานกลางหรือสูง เหมือนอย่างภิกษุเที่ยวบิณฑบาตรับไปตามลำดับ ไม่เว้นแม้นที่ตระกูลต่ำ
   5. บำเพ็ญวิริยะ มีความเพียร ไม่ย่อหย่อนทุกอิริยาบท เหมือนอย่างสีหราชมีความเพียรมั่นคงในอิริยาบททั้งปวง
   6. บำเพ็ญขันติ อดทนทั้งในคำยกย่อง ทั้งในการดูหมิ่นแคลน เหมือนอย่างแผ่นดินใครทิ้งของสะอาด หรือไม่สะอาดก็รองรับได้ทั้งนั้น
   7. บำเพ็ญสัจจะ รักษาความจริงไม่พูดเท็จทั้งที่รู้ แม้ฟ้าจะผ่าเพราะเหตุไม่พูดเท็จ ก็ไม่ยอมพูดเท็จ เหมือนอย่างดาวโอสธี ดำเนินไปในวิถีของตน เที่ยงตรงทุกฤดู
   8. บำเพ็ญอธิฐาน ตั้งใจมุ่งมั่นไม่หวั่นไหว คือเด็ดเดียวแน่นอนในสิ่งที่อธิษฐานใจไว้ เหมือนอย่างภูเขาหิน ไม่หวั่นไหวในเมื่อถูกลมกระทบทุกทิศ
   9. บำเพ็ญเมตตา แผ่มิตรภาพไมตรีจิต ไม่คิดโกรธอาฆาต มีจิตสม่ำเสมอเป็นอันเดียวทั้งในผู้ให้คุณ ทั้งในผู้ไม่ให้คุณหรือให้โทษ เหมือนน้ำแผ่ความเย็นไปให้อย่างเดียวกันแก่คนทั้งชั่วทั้งดี
   10. บำเพ็ญอุเบกขา วางจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง ทั้งในคราวสุขในคราวทุกข์ เหมือนอย่างแผ่นดิน เมื่อใครทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาดลงไปก็มัธยัสถ์เป็นกลาง

    พุทธการธรรมสิบประการนี้เรียกว่า บารมี แปลว่าอย่างยิ่ง หมายถึงว่าเต็มบริบูรณ์ บำเพ็ญจนเต็มบริบูรณ์ เมื่อใดก็สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบารมี นับตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ จากพระทีปังกรพุทธเจ้า

    ตลอดเวลาสี่อสงไขยแสนกัป ผ่านพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ในกัปนั้นๆ นับแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้นมาถึง 24 พระองค์ พระองค์นั้น เป็นการนับแต่พระองค์แรกที่พระโคดมพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า มีดังนี้

   1.พระทีปังกร
   2.พระโกณฑัญญะ
   3.พระมังคละ
   4.พระสุมนะ
   5.พระเรตวะ
   6.พระโสภิตะ
   7.พระอโนมทัสสี
   8.พระปทุมะ
   9.พระนารทะ
   10.พระปทุมมุตตระ
   11.พระสุเมธะ
   12.พระสุชาตะ
   13.พระปิยทัสสี
   14.พระอัตถทัสสี
   15.พระธัมมทัสสี
   16.พระสิทธัตถะ
   17.พระติสสะ
   18.พระปุสสะ
   19.พระวิปัสสี
   20.พระสิขี
   21.พระเวสสภู
   22.พระกกุสันธะ
   23.พระโกนาคมน์
   24.พระกัสสปะ


   จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บารมีที่บำเพ็ญมาโดยลำดับ แบ่งเป็น 3 ขั้น ขั้นสามัญเรียกบารมีเฉย ๆ ขั้นกลางเรียกว่าอุปบารมี และขั้นสูงสุดเรียกว่าปรมัตถบารมี

   แต่นั้นมาก็ทรงบำเพ็ญบารมี 10 ประการ มีทานบารมีเป็นต้น อุเบกขาบารมีเป็นที่สุด ได้บำเพ็ญบารมีเป็นเวลานานนับด้วยกัลป์ สิ้นภพสิ้นชาตินับประมาณมิได้ ในภพชาติสุดท้ายได้บังเกิดเป็น พระเวสสันดร ทรงสร้างทานบารมีอย่างยอดเยี่ยม เมื่อสิ้นจากชาตินั้น ก็ได้ไปอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต


ที่มา  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ - พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก ชาดก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก



   พระพุทธเจ้ามี 3 ประเภท ได้แก่
   1.ปัญญาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ
   2.ศรัทธาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ
   3.วิริยะพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ


   โดยแบ่งการบำเพ็ญเพียรออกเป็น 3 ระยะ

ระยะแรก ตั้งพระปณิภาณในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อนำสัตว์โลเข้าสู่นิพพาน ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะได้เป็นหรือไม่ใช้เวลาบำเพ็ญธรรม ต่อเป็นเวลา
   ปัญญาพุทธเจ้า 7 อสงไขย
   ศรัทธาพุทธเจ้า 14 อสงไขย
   วิริยะพุทธเจ้า 28 อสงไขย


จึงเข้าสู่ระยะที่สอง แสดงความปรารถนาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าองค์ก่อน จะกลายเป็น อนิยตะโพธิสัตว์ ซึ่งจะถึงนิพพานแน่นอน แต่อาจจะล้มเลิกการเป็นพระพุทธเจ้าแล้วเป็นพระอรหันต์ หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้าใช้เวลาบำเพ็ญธรรมต่อเป็นเวลา
   ปัญญาพุทธเจ้า 9 อสงไขย
   ศรัทธาพุทธเจ้า 18 อสงไขย
   วิริยะพุทธเจ้า 36 อสงไขย


จึงเข้าสู่ระยะที่สาม รับพุทธพยากรณ์ต่อหน้าพระพุทธเจ้า จะกลายเป็น นิยตะโพธิสัตว์ ซึ่งพุทธพยากรณ์นั้นจะจริงแท้ไม่เคยเท็จ นั่นคือ นิยตะโพธิสัตว์ จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อมาใช้เวลาบำเพ็ญธรรม ต่อเป็นเวลา
   ปัญญาพุทธเจ้า 4 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)
   ศรัทธาพุทธเจ้า 16 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)
   วิริยะพุทธเจ้า 32 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)


จึงเป็นพระพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ รวมการบำเพ็ญบารมี
   ปัญญาพุทธเจ้า 20 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)
   ศรัทธาพุทธเจ้า 40 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)
   วิริยะพุทธเจ้า 80 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)


   จึงเป็นพระพุทธเจ้า(โดยสมบูรณ์)

ที่มา.........http://board.agalico.com/showthread.php?t=19258
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 01:22:52 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: กว่าพระโพธิสัตว์จะสำเร็จเป็น “พระพุทธเจ้า”
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 01:17:40 pm »
0

  แนะนำให้ท่านที่ปรารถนา"พุทธภูมิ" อ่านครับ
   :s_good:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กว่าพระโพธิสัตว์จะสำเร็จเป็น “พระพุทธเจ้า”
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 02:12:01 pm »
0
 :25: :25: :25:  ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

TC9

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 137
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กว่าพระโพธิสัตว์จะสำเร็จเป็น “พระพุทธเจ้า”
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 03:42:35 pm »
0
อนุโมทนา คะ .....  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กว่าพระโพธิสัตว์จะสำเร็จเป็น “พระพุทธเจ้า”
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 04:55:54 pm »
0
อ่านแล้วขอบยุติ เป็นแค่ พระสาวกก็พอแล้ว แล้ว ขอเป็นพระสาวกพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ด้วย ไม่อยากไปเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป สังสารวัฏ นี้มีแต่ความทุกข์

   :welcome: :67:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กว่าพระโพธิสัตว์จะสำเร็จเป็น “พระพุทธเจ้า”
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 07:09:36 pm »
0


ขยาด

     วัฏฏะหาสุดสิ้น                  ทุกข์วน
สิ้นพรากจากตายทน             เกิดซ้ำ
เศร้าเขลาต่ำนี้ตน                 เสื่อมพลาด
ตื่นขลาดขยาดทุกข์ย้ำ        เร่งร้างลาภูมิ.


                                                     ธรรมธวัช.!



http://yaisahai.exteen.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 08:26:21 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา