ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เวทนากัมมัฏฐาน  (อ่าน 6759 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

จตุพร

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เวทนากัมมัฏฐาน
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2011, 09:29:19 am »
0
               เรื่องเวทนากัมมัฏฐาน
            [๓๕๙]    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า    “จอมเทพ    เรากล่าวโสมนัสไว้    ๒    อย่าง
คือ    โสมนัสที่ควรเสพและโสมนัสที่ไม่ควรเสพ    กล่าวโทมนัสไว้    ๒    อย่าง    คือ    โทมนัส
ที่ควรเสพและโทมนัสที่ไม่ควรเสพ    และกล่าวอุเบกขาไว้    ๒    อย่าง    คือ    อุเบกขาที่ควร
เสพและอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ
            [๓๖๐]    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า    ‘จอมเทพ    เรากล่าวโสมนัสไว้    ๒    อย่าง    คือ
โสมนัสที่ควรเสพและโสมนัสที่ไม่ควรเสพ’    เพราะอาศัยเหตุอะไร    เราจึงกล่าวไว้
เช่นนั้น
            บรรดาโสมนัส    ๒    อย่างนั้น    โสมนัสใดบุคคลรู้ว่า    ‘เมื่อเราเสพโสมนัสนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น    กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง’    โสมนัสเช่นนี้เป็น
โสมนัสที่ไม่ควรเสพ๑
            บรรดาโสมนัส    ๒    อย่างนั้น    โสมนัสใดบุคคลรู้ว่า    ‘เมื่อเราเสพโสมนัสนี้แล
อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง    กุศลธรรมทั้งหลายเจริญยิ่งขึ้น’    โสมนัสเช่นนี้เป็น
โสมนัสที่ควรเสพ๒
            ในโสมนัส๓นั้น    โสมนัสใดมีวิตก    มีวิจาร๔    และโสมนัสใดไม่มีวิตก    ไม่มีวิจาร๕
บรรดาโสมนัส    ๒    อย่างนั้น    โสมนัสที่ไม่มีวิตก    ไม่มีวิจาร    ประณีตกว่า’
 
๑ โสมนัสที่ไม่ควรเสพ  หมายถึงโสมนัสที่อาศัยกามคุณ  เป็นไปทางทวาร  ๖  (ที.ม.อ.  ๓๖๐/๓๔๐)
๒ โสมนัสที่ควรเสพ  หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจเนกขัมมะ  วิปัสสนา  อนุสสติ  และปฐมฌานเป็นต้น
   (ที.ม.อ.  ๓๖๐/๓๔๐)
๓ โสมนัส  ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ  (ที.ม.อ.  ๓๖๐/๓๔๐)
๔ โสมนัสมีวิตกมีวิจาร  ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นอำนาจปฐมฌาน  (ที.ม.อ.  ๓๖๐/๓๔๐)
๕ โสมนัสไม่มีวิตกไม่มีวิจาร  ในที่นี้หมายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทุติยฌานและตติยฌาน  (ที.ม.อ.
   ๓๖๐/๓๔๐)



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.dhammajak.net
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เวทนากัมมัฏฐาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2011, 12:58:42 pm »
0
สนใจ คะ แล้ว เวทนากัมมัฏฐาน

 มีการปฏิบัติ การภาวนาอย่างไร คะ

 :s_hi:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เวทนากัมมัฏฐาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2011, 07:16:46 pm »
0
สนใจเหมือนกัน คะ พึ่งจะได้ยิน คะ เวทนากรรมฐาน

หรือ ขั้นตอนใช้ร่วมกับ อานาปานสติ กับ มหาสติปัฏฐาน 4

เคยได้ยินพระอาจารย์ เคยกล่าวว่า  เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็น อรูปฌาน ด้วยนี่คะ

สาธุ สาธุ ติดตามอยู่นะคะ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เวทนากัมมัฏฐาน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2011, 07:25:35 pm »
0
เวทนากัมมัฏฐาน มีการปฏิบัติภาวนาอย่างไร คะ

เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงส่งเสริมการภาวนา ให้พิจารณาถึงซึ่งทุกข์โทษโทมนัสอันอาศัยอายตนะ ๖ เสพสุข เทียบ

กับ สุขโสมนัสอันอาศัยการหลีกเร้นจากกาม (เนกขัมมะ) ถึงซึ่งที่สุดแห่งการหยั่งฌาน ๑ (มีองค์วิตก / วิจารณ์)

และฌาน ๒,๓ (ผละจากองค์วิตก / วิจารณ์) เป็นสุขโสมนัสแห่งพระโยคาวจรบุคคลที่ควรแสวงหา  


เรื่องดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าสุขทุกข์จิตเป็นตัวตั้ง สุขทุกข์จิตเป็นตัวขับเคลื่อน หากปรารถนาสุขเสพอิงอายตนะจิตนี้

ต้องอาศัยกุศลเนื่องนำ หรือสุขเสพปราณีตก็ต้องเข้าถึงเวทนากัมมัฏฐาน



ไม่ว่าจะหยั่งองค์ภาวนาในวิถีแนวทางใด ก็สามารถเข้าถึงเวทนากัมมัฏฐานทั้งสิ้น ครับ
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2011, 07:46:26 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

nongmai-new

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 73
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เวทนากัมมัฏฐาน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2011, 07:34:06 pm »
0
ลองจับหลักดูเนื้อหาพระสูตร นะครับ พระพุทธเจ้า ตรัสแสดง ถึง เวทนากรรมฐานดังนี้

 1. โสมนัส ที่ ควรเสพ และ โสมนัส ที่ไม่ควรเสพ

 2. โทมนัส ที่ ควรเสพ และ โทมนัส ที่ไม่ควรเสพ

 3. อุเบกขา ที่ ควรเสพ และ อุเบกขา ที่ไม่ควรเสพ


 จะลองวิเคราะห์ ต่อนะครับ
   โสมนัส เป็น อารมณ์ ดีใจ พอใจ ชอบใจ ( เดานะครับ )

   โสมนัส บางอย่าง ไม่ควรเสพ พอจะเข้าใจ ครับ เช่น ชอบเล่นหวย ก็ไม่ควรเสพ เป็นต้น

   โสมนัส บางอย่าง ควรเสพ อันนี้ก็พอจะเข้าใจ เช่น อยากทำบุญ ควรเสพ อยากนั่งกรรมฐาน ควรเสพ

   โทมนัส บางอย่าง ไมควรเสพ อันนี้ก็ยังพอจะเข้าใจ อยู่ครับ เพราะความทุกข์ ไม่มีใครอยากเสพ

  โทมนัส บางอย่าง ควรเสพ อันนี้ บอกตรง ๆ ว่า ยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ  ( ขอท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยนะครับ )
 
  อุเบกขา ก็ยิ่งไม่ค่อย จะเข้าใจ เช่นเดียวกันครับ

   :41: :41: :'(
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เวทนากัมมัฏฐาน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2011, 08:25:06 pm »
0

ข้อธรรมที่เจ้าของกระทู้โพสต์น่าจะอยู่ที่นี้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๘. สักกปัญหสูตร (๒๑)

อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๕๗๒๗ - ๖๒๕๖.  หน้าที่  ๒๓๕ - ๒๕๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=5727&Z=6256&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=247



อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร

               เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน              
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ วิธีอย่างนี้แล้ว
               บัดนี้ เพื่อจะตรัสเวทนานุปัสสนา ๙ วิธี จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอย่างไรเล่า เป็นต้น.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขเวทนา ความว่า ภิกษุกำลังเสวยเวทนาที่เป็นสุข ทางกายก็ดี ทางใจก็ดี ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา. จะวินิจฉัยในคำนั้น แม้เด็กทารกที่ยังนอนหงาย เมื่อเสวยสุขในคราวดื่มน้ำนมเป็นต้น ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา ก็จริงอยู่. แต่คำว่า สุขเวทนาเป็นต้นนี้ มิได้ตรัสหมายถึงความรู้ชัดอย่างนั้น.

เพราะความรู้ชัดเช่นนั้น ไม่ละความเห็นว่าสัตว์ ไม่ถอนความสำคัญว่าเป็นสัตว์ ไม่เป็นกัมมัฏฐานหรือสติปัฏฐานภาวนาเลย. ส่วนความรู้ชัดของภิกษุนี้ ละความเห็นว่าสัตว์ ถอนความสำคัญว่าเป็นสัตว์ได้ ทั้งเป็นกัมมัฏฐาน เป็นสติปัฏฐานภาวนา. ก็คำนี้ตรัสหมายถึงความเสวยสุขเวทนาพร้อมทั้งที่รู้ตัวอยู่ อย่างนี้ว่า ใครเสวย ความเสวยของใคร เสวยเพราะเหตุไร.


               สักว่าเวทนาไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา               
               จะวินิจฉัยในปัญหาเหล่านั้น ถามว่า ใครเสวย ตอบว่า มิใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ เสวย.
               ถามว่า ความเสวยของใคร ตอบว่า มิใช่ความเสวยของสัตว์หรือบุคคลไรๆ.
               ถามว่า เสวยเพราะเหตุไร ตอบว่า ก็เวทนาของภิกษุนั้นมีวัตถุเป็นอารมณ์อย่างเดียว เหตุนั้น เธอจึงรู้อย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเสวยเวทนา เพราะทำวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งเวทนามีสุขเวทนาเป็นต้นนั้นๆ ให้เป็นอารมณ์.


               ก็คำว่า เราเสวยเวทนา เป็นเพียงสมมติเรียกกัน เพราะยึดถือความเป็นไปแห่งเวทนานั้น. เธอกำหนดว่า สัตว์ทั้งหลายเสวยเวทนาเพราะทำวัตถุให้เป็นอารมณ์ อย่างนี้ พึงทราบว่า เธอย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เหมือนพระเถระรูปหนึ่ง ซึ่งสำนักอยู่ที่จิตตลบรรพต.


               พระเถระผู้เสวยทุกขเวทนา              
               ได้ยินว่า พระเถระทุรนทุรายกลิ้งเกลือกอยู่ด้วยเวทนากล้าแข็ง คราวอาพาธไม่ผาสุก. ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเรียกถามว่า ท่านเจ็บตรงไหนขอรับ. ท่านตอบว่า บอกที่เจ็บไม่ได้ดอกเธอ ฉันทำวัตถุเป็นอารมณ์ เสวยเวทนา. ถามว่า ตั้งแต่เวลารู้ชัดอย่างนั้น ท่านอดกลั้นไว้ไม่ควรหรือขอรับ. ตอบว่า ฉันจะอดกลั้นนะเธอ.

ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า อดกลั้นได้ก็ดีนะสิ ขอรับ. พระเถระก็อดกลั้น (ทุกขเวทนา). โรคลมก็ผ่าแล่งจนถึงหัวใจ ไส้ของพระเถระก็ออกมากองบนเตียง. พระเถระชี้ให้ภิกษุหนุ่มดู ถามว่า อดกลั้นขนาดนี้ควรไหม. ภิกษุหนุ่มก็นิ่ง. พระเถระก็ประกอบความเพียรสม่ำเสมอ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายเป็นพระอรหัตสมสีสี ปรินิพพานแล้ว.

               อนึ่ง ภิกษุผู้เจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น เสวยทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาปราศจากอามิสอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขสุขเวทนา ปราศจากอามิส เหมือนเมื่อเธอเสวยสุขเวทนาแล.


               เวทนาเป็นอรูปกัมมัฏฐาน              
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรูปกัมมัฏฐานด้วยประการฉะนี้แล้ว เมื่อจะตรัสอรูปกัมมัฏฐาน แต่เพราะที่ตรัสด้วยอำนาจผัสสะ หรือด้วยอำนาจจิต กัมมัฏฐานไม่ปรากฏชัด ปรากฏเหมือนมืดมัว ส่วนความเกิดขึ้นแห่งเวทนาทั้งหลายปรากฏชัด กัมมัฏฐานปรากฏชัดด้วยอำนาจเวทนา ฉะนั้น จึงตรัสอรูปกัมมัฏฐานด้วยอำนาจเวทนา แม้ในพระสูตรนี้ เหมือนอย่างในสักกปัญหสูตร.

กถามรรค ในพระสูตรนี้นั้น พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในสักกปัญหสูตรแล้วนั่นแลว่า ก็กัมมัฏฐานมี ๒ อย่าง คือรูปกัมมัฏฐาน และอรูปกัมมัฏฐาน ดังนี้เป็นต้น.

               พึงทราบวินิจฉัย ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ในคำว่า สุขเวทนา ดังนี้เป็นต้น มีปริยาย (ทาง) แห่งความรู้ชัดอีกอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้.

               ข้อว่า สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ความว่า
               เมื่อเสวยสุขเวทนา เพราะขณะเสวยสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาดังนี้. เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าเวทนาไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะในขณะที่ไม่มีทุกขเวทนาที่เคยมีมาก่อน และเพราะก่อนแต่นี้ ก็ไม่มีสุขเวทนานี้. เธอรู้ตัวในสุขเวทนานั้นอย่างนี้.


               สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ (ในทีฆนขสูตร มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย) ดังนี้ว่า
               ดูก่อนอัคคิเวสสนะ สมัยใด เสวยสุขเวทนา สมัยนั้น หาเสวยทุกขเวทนาไม่ หาเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่ ย่อมเสวยสุขเวทนาเท่านั้น สมัยใด เสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้น หาเสวยสุขเวทนาไม่ หาเสวยทุกขเวทนาไม่ เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น

               ดูก่อนอัคคิเวสสนะ แม้สุขเวทนาแล ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาเล่า ฯลฯ แม้อทุกขมสุขเวทนาเล่า ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความดับไปเป็นธรรมดา

               ดูก่อนอัคคิเวสสนะ อริยสาวกสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในสุขเวทนา แม้ในทุกขเวทนา แม้ในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นย่อมหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำก็ทำเสร็จแล้ว กิจอย่างอื่นเพื่อเป็นอย่างนี้ไม่มีอีกดังนี้.


              เวทนาที่เป็นสามิสและนิรามิส              
               จะวินิจฉัยในข้อว่า สามิสํ วา สุขํ หรือสุขเวทนาที่มีอามิส เป็นต้น
               โสมนัสสเวทนาอาศัยอามิสคือกามคุณ ๕ อาศัยเรือน ๖ ชื่อว่าสามิสสุขเวทนา
               โสมนัสสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ชื่อว่านิรามิสสุขเวทนา
               โทมนัสสเวทนาอาศัยเรือน ๖ ชื่อว่าสามิสทุกขเวทนา
               โทมนัสสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ชื่อว่านิรามิสทุกขเวทนา
               อุเบกขาเวทนาอาศัยเรือน ๖ ชื่อว่าสามิสอทุกขมสุขเวทนา
               อุเบกขาอันอาศัยเนกขัมมะ ๖ ชื่อว่านิรามิสอทุกขมสุขเวทนา.
               อนึ่ง การจำแนกเวทนาแม้เหล่านั้นท่านกล่าวไว้ในสักกปัญหสูตรแล้วแล.



               เวทนาในเวทนานอก               
               ข้อว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายของตน ในเวทนาทั้งหลายของคนอื่น หรือในเวทนาทั้งหลายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกำหนดสุขเวทนาเป็นต้น อย่างนี้อยู่.

               ส่วนในข้อว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิด (ในเวทนาทั้งหลาย) นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุเมื่อเห็นความเกิด และความเสื่อมแห่งเวทนาทั้งหลายด้วยอาการอย่างละ ๕ ว่า เพราะอวิชชาเกิด จึงเกิดเวทนาดังนี้เป็นต้น พึงทราบว่า เธอพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดในเวทนาทั้งหลาย ตามกาลอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลาย ตามกาลอยู่.
               ข้อต่อจากนี้ไปก็มีนัยดังที่กล่าวมาแล้วในกายานุปัสสนานั่นแล.


              สติกำหนดเวทนาเป็นอริยสัจ ๔               
               แต่ในเวทนานุปัสสนานี้ มีข้อต่างกันอย่างเดียว คือพึงประกอบความอย่างนี้ว่า สติที่กำหนดเวทนาเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจเป็นต้นแล้ว พึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดเวทนาเป็นอารมณ์.
               คำที่เหลือก็มีความเช่นนั้นเหมือนกัน.
               จบเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน   




อ้างอิง
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=3#เวทนาเป็นอรูปกัมมัฏฐาน
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
ขอบคุณภาพจากhttp://statics.atcloud.com,www.dhammajak.net,www.rmutphysics.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เวทนากัมมัฏฐาน
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 10:58:17 am »
0
อยากให้ว่า เรื่อง วิธีการภาวนา คะ
คืออ่านแล้ว มีความสนใจ นึกว่าจะมีวิธีการภาวนา ด้วยคะ


 :c017:
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เวทนากัมมัฏฐาน
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 10:22:00 am »
0
มีรายละเอียด น่าติดตาม ว่าแต่หลักปฏิบัติ เอาสั้น ๆ สักนิดได้หรือไม่ครับ

สำหรับ การพิจารณาภาวนาเวทนา ต้องผ่าน สมถะก่อนหรือไม่ หรือ ปฏิบัติได้โดยตรงเลยครับ

  :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เวทนากัมมัฏฐาน
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 01:11:24 pm »
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค


๙. มหาสติปัฏฐานสูตร

        เวทนานุปัสสนา

[ ๒๘๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา(ความเสวยอารมณ์)ในเวทนาเนืองๆ อยู่
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เมื่อเสวย สุขเวทนา
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนา

เมื่อเสวย ทุกขเวทนา
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนา

เมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนา (ไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ อุเบกขาเวทนา)
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา

หรือเมื่อเสวย สุขเวทนามีอามิส (คือเจือกามคุณ)
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนามีอามิส

หรือเมื่อเสวย สุขเวทนาไม่มีอามิส (คือไม่เจือกามคุณ)
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส

หรือเมื่อเสวย ทุกขเวทนามีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส

หรือเมื่อเสวย ทุกขเวทนาไม่มีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส

หรือเมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนามีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส

หรือเมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังนี้

 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายในภายนอกบ้าง


ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง


ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าเวทนามีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก

เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

อ่าน"มหาสติปัฏฐานสูตร" ได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔.  หน้าที่  ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273
ขอบคุณภาพจาก http://image.dek-d.com,http://pixserv.clipmass.com


  ผมแนบไฟล์คำบรรยายเรื่อง "การกำหนดรู้เวทนา" ของ ก. เขาสวนหลวง มาให้อ่าน

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เวทนากัมมัฏฐาน
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 01:19:09 pm »
0
มีรายละเอียด น่าติดตาม ว่าแต่หลักปฏิบัติ เอาสั้น ๆ สักนิดได้หรือไม่ครับ

สำหรับ การพิจารณาภาวนาเวทนา ต้องผ่าน สมถะก่อนหรือไม่ หรือ ปฏิบัติได้โดยตรงเลยครับ

  :25:

  แนวสมถยานิก ก็ต้องทำสมถะก่อน

  แนววิปัสสนายานิก ไม่ต้องทำสมถะ เดินวิปัสสนาได้เลย ดูเวทนาแบบตรงๆซื่อๆไม่ต้องปรุงแต่ง

  เรื่องนี้ผมจำเค้ามา จากการได้ยินได้ฟังได้อ่าน ตัวผมเองก็ไม่เคยดูเวทนาเลย

  ขอให้ทุกท่านสนุกกับการดูเวทนา...
:49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

pinmanee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 163
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เวทนากัมมัฏฐาน
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 04, 2011, 08:51:49 pm »
0
สุดท้าย หัวข้อก็มาหยุด ที่ สมถะ และ วิปัสสนา กันอีกแล้วนะคะ

 จะเห็นว่่า เวทนา ด้านสมถะ ไม่ชัดเจน ต้องติดตามใน อานาปานสติ ขั้นที่ 5 เป็นต้นไป อันนี้จัดเป็นเวทนากัมมัฏฐาน

  แต่พิจารณาให้ดี ได้ยินว่า ในพระพุทธานุสสติกรรมฐานฝึกเวทนา กรรมฐานโดยตรงเลยนะคะ

 เริ่มตั้งแต่ พระธรรมปีติ ( เป็นเวทนา ) พระยุคลธรรม ( เป็นเวทนา ) พระลักษณะ พระรัศมีก็เป็นสภาวะธรรมที่เกิดจากการเข้าถึง เวทนา พระสุขสมาธิ ( เป็นเวทนา )

 ดังนั้นจัดได้ว่า เวทนากัมมัฏฐาน มีอยู่ในการปฏิบัติภาวนา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
 
 ซึ่งผู้ฝึกน่าจะยินดี นะคะ ว่าได้ฝึกกรรมฐาน ส่วนพระอานาปานสติ ตั้งแต่ขั้นที่ 5 ถึง ขั้นที่ 8 เลยคะ

ที่มา  จำมาจากเมลของพระอาจารย์นะคะ

 
บันทึกการเข้า