ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฟังมาว่า บุญกุศล เมื่อทำแล้วอุทิศให้กันได้ ถ้าเราทำบาป แล้ว อุทิศให้กันได้หรือไม่คะ  (อ่าน 5044 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hiso

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ฟังมาว่า บุญกุศล เมื่อทำแล้วอุทิศให้กันได้ ถ้าเราทำบาป แล้ว อุทิศให้กันได้หรือไม่คะ

คือฟังน้องพูดมาถาม ในช่วงที่ เราสนใจ ธรรมะคะ พอฟังแล้วก็อึ้ง นั่นสินะ ทำไมกฏนี้ ใครเป็นผู้รับรองเรื่องการอุทิศแบ่งบุญคะ น่าจะเป็นของเฉพาะตัว แต่หากมีการอุทิศใหักันได้อย่างนี้ บาป ก็ต้องอุทิศให้กันได้ใช่หรือไม่จ๊ะ

 ขอบคุณมากคะ ( โปรดอย่าหัวเราะในคำถามนะคะ )

  :c017: :88: :88:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
บุญกุศล เมื่อทำแล้วอุทิศให้กันได้ ถ้าเราทำบาป แล้วอุทิศให้กันได้หรือไม่คะ ( โปรดอย่าหัวเราะในคำถามนะคะ )

กุศลบุญความดีเสมือนไฟ
ต่อติดเนืองสู่ใครสว่างทั่ว
ใครเห็นสาธุการสร่างเมามัว
บาปเขลาชั่วหม่นเหม็นใครจักเอา.

                                                                                                                             ธรรมธวัช.!


http://www.kunkroo.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=36
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 29, 2012, 02:23:39 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

sayamol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำบาป แล้ว อุทิศ บาปใ้ห้ มีอย่างนี้ด้วยหรือ

   :smiley_confused1: :coffee2:
บันทึกการเข้า
จริงใจ อ่อนน้อม พรั่งพร้อมด้วยความรู้
อัตตาหิ อัตตโนนาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ฟังมาว่า บุญกุศล เมื่อทำแล้วอุทิศให้กันได้ ถ้าเราทำบาป แล้ว อุทิศให้กันได้หรือไม่คะ

คือฟังน้องพูดมาถาม ในช่วงที่ เราสนใจ ธรรมะคะ พอฟังแล้วก็อึ้ง นั่นสินะ ทำไมกฏนี้
   ใครเป็นผู้รับรองเรื่อง การอุทิศแบ่งบุญคะ น่าจะเป็นของเฉพาะตัว
   แต่หากมีการอุทิศใหักันได้อย่างนี้ บาป ก็ต้องอุทิศให้กันได้ใช่หรือไม่จ๊ะ

 ขอบคุณมากคะ ( โปรดอย่าหัวเราะในคำถามนะคะ )

  :c017: :88: :88:

    สรุปข้อสงสัย คุณ hiso มีสองเรื่อง คือ
        ๑. ใครเป็นผู้รับรอง "เรื่องการอุิทิศบุญ"
        ๒. บาปอุทิศให้ได้หรือไม่

    คำตอบแบบกว้างๆ
        ๑. พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องนี้ไว้ใน
            พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถาี
            ขอยกตัวอย่าง สองกรณี คือ
             - ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ ว่าด้วยการทำบุญอุทิศให้เปรต
             - ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร
            (รายละเอียดจะแสดงไปโดยลำดับ)


        ๒. การอุทิศบาปเป็นการคิดประทุษร้ายด้วยวาจาและใจ เปรียบเสมือน"การสาปแช่ง"
            เป็นการทำ"อกุศลกรรมบถ" ที่เห็นชัดเจนก็คือ เป็นมโนกรรม ในข้อ"พยาบาท(คิดร้ายเขา)"
            ทางนี้จะนำไปสู่ทุคติภูมิ

             :49: ;)               
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 30, 2012, 12:22:55 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ
ว่าด้วยการทำบุญอุทิศให้เปรต

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
     [๘๙] บุคคลผู้ไม่ตะหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
     คือ ปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน
     หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลก ผู้มียศ คือ
     ท้าวธตรัฐ ๑ ท้าววิรุฬหก ๑ ท้าววิรูปักษ์ ๑ ท้าวกุเวร ๑ ให้เป็นอารมณ์

     และพึงให้ทานท่านเหล่านั้น เป็นผู้อันบุคคลได้บูชาแล้ว และทายกก็ไม่ไร้ผล

     ความร้องไห้ ความเศร้าโศก หรือความร่ำไห้อย่างอื่น ไม่ควรทำเลย
     เพราะความร้องไห้ เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
     ญาติทั้งหลายคงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตนๆ


     อันทักษิณาทานนี้ ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ให้แล้ว
     ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุรพเปตชนโดยทันที สิ้นกาลนาน.


    จบ ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๓๐๐๘ - ๓๐๒๐. หน้าที่ ๑๒๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=3008&Z=3020&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=89
ขอบคุณภาพจาก http://www.mahamodo.com/




อรรถกถา ขุททกนิกาย เปตวัตถุ ปฐมวรรค
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ

อรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔
             
     
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี ทรงปรารภทานของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ตรัสคำนี้ เริ่มต้นว่า ยงฺกิญฺจารมฺมณํ กตฺวา ดังนี้ :-

    ได้ยินว่า พี่เลี้ยงของเด็กหญิง ธิดาของลูกสาวท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี ได้ให้ตุ๊กตาแป้งด้วยสั่งว่า นี้ลูกสาวของเจ้า เจ้าจงอุ้มมันไปเล่นเถอะ.
    เด็กหญิงนั้นเกิดความเข้าใจในตุ๊กตาแป้งนั้นว่า เป็นลูกสาว.
    ครั้นวันหนึ่ง เมื่อเธออุ้มตุ๊กตานั้นเล่น ตุ๊กตาตกแตก เพราะความเลินเล่อ.
    แต่นั้นเด็กหญิงจึงร้องร่ำไห้ ลูกสาวเราตายแล้ว. เธอกำลังร้องไห้อยู่ คนในเรือนบางคนก็ไม่สามารถจะชี้แจงให้เธอเข้าใจได้.


    ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งบนปัญญัตาอาสน์ ในเรือนของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี และท่านมหาเศรษฐีก็ได้นั่งอยู่ ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า. หญิงพี่เลี้ยงได้พาเด็กหญิงนั้นไปหาท่านเศรษฐี.
    ท่านเศรษฐีเห็นเข้า จึงกล่าวว่า เด็กหญิงนี้ร้องไห้เพื่ออะไรกัน. พี่เลี้ยงได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ท่านเศรษฐีแล้ว.

    เศรษฐีได้ให้เด็กหญิงนั้น นั่งบนตักแล้วให้เข้าใจว่า ฉันจะให้ทานอุทิศแก่ลูกของหนู ดังนี้แล้ว
    จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะให้ทานอุทิศแก่ตุ๊กตาแป้ง ซึ่งเป็นลูกสาวของหลานของข้าพระองค์, ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปจงรับทานนั้นของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.

    ครั้นในวันที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปเสด็จไปยังเรือนของท่านเศรษฐี เสวยพระกระยาหารแล้ว เมื่อจะทำอนุโมทนาจึงได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
               บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
               คือ ปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน หรือ
               ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลก ผู้มียศ คือท้าวธตรฐ ๑
               วิรุฬหก ๑ วิรูปักษ์ ๑ และท้าวกุเวร ๑ ให้เป็นอารมณ์
               แล้วพึงให้ทาน ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว ทั้งทายกก็ไม่ไร้ผล
               
              ความร้องไห้ ความเศร้าโศก หรือความร่ำไห้อย่างอื่นไม่ควรทำเลย
             เพราะความร้องไห้ เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
             ญาติทั้งหลายคงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตนๆ
             อันทักษิณาทานนี้ ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ให้แล้ว
             ย่อมสำเร็จประโยชน์โดยฉับพลัน แก่บุรพเปตชนนั้นสิ้นกาลนาน.



    บรรดาบทเหล่านั้น
               บทว่า ยงฺกิญฺจารมฺมณํ กตฺวา ความว่า ปรารภ คืออุทิศ เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาเหตุมีเหตุที่เป็นมงคล เป็นต้น.
               บทว่า ทชฺชา แปลว่า พึงให้.
               บทว่า อมจฺฉรี ความว่า ชื่อว่าอมัจฉรี เพราะไม่มีความตระหนี่อันมีลักษณะไม่อดทนต่อสมบัติของตนที่ทั่วไปกับผู้อื่น, อธิบายว่า ผู้มีปกติบริจาค ทำมลทินแห่งจิตมีมัจฉริยะและโลภะเป็นต้นให้ห่างไกลแล้ว พึงให้ทาน.
               บทว่า ปุพฺพเปเต จ อารพฺภ ได้แก่ อุทิศบุรพเปตชน.
               มีวาจาประกอบความว่า บทว่า วตฺถุเทวตา ปรารภเทวดาผู้สิงอยู่ในสถานที่ต่างๆ มีที่เรือนเป็นต้น. ด้วยคำว่า อถ วา นี้ทรงแสดงว่า ปรารภเปตชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีเทวดาและมนุษย์เป็นต้น แม้เหล่าอื่นแล้ว พึงให้ทาน.

 
              ในคำเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเทพผู้ปรากฏบางพวกในบรรดาเทพเหล่านั้นก่อน จึงตรัสว่า จตฺตาโร จ มหาราเช เมื่อจะระบุเทพเหล่านั้นโดยชื่ออีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า กุเวรํ ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุเวรํ ได้แก่ ท้าวเวสสวรรณ.
               บทว่า ธตรฏฐํ เป็นต้นเป็นชื่อของท้าวโลกบาลทั้ง ๓ ที่เหลือ.
               บทว่า เต เจว ปูชิตา โหนฺติ ความว่า ก็ท้าวมหาราชเหล่านั้นและบุรพเปตชนและวัตถุเทวดาเป็นผู้อันเขานับถือ ด้วยการทำอุทิศ.
               บทว่า ทายกา จ อนิปฺผลา ความว่า และทายกผู้ให้ทาน ย่อมไม่ไร้ผล เพราะเหตุเพียงการอุทิศแก่เปตชนเหล่าอื่น ทั้งเป็นผู้มีส่วนแห่งผลทานของตนเหมือนกัน.


               บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า การร้องไห้เป็นต้นนั้นของเหล่านั้นผู้ร้องไห้ ร่ำไร เศร้าโศก เพราะญาติของตนตายไป ไม่มีประโยชน์ เป็นแต่เพียงทำตนให้เดือดร้อนเท่านั้น จึงตรัสคาถาว่า น หิ รุณฺณํ วา ดังนี้เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณํ แปลว่า ร้องไห้คือหลั่งน้ำตา. บาลีที่เหลือพึงนำมาเชื่อมเข้าด้วยบทว่า น หิ กาตพฺพํ.
               บทว่า โสโก ได้แก่ ความเศร้าโศก คือความเร่าร้อนภายในใจ. อธิบายว่า ความหม่นไหม้ในภายใน.
               บทว่า ยา จญฺญา ปริเทวนา ได้แก่ ความพิไรรำพันอย่างอื่นจากการร้องไห้และความเศร้าโศกอย่างหนึ่ง ได้แก่การบ่นเพ้อด้วยวาจามีอาทิว่า ลูกคนเดียวอยู่ไหน? อธิบายว่า แม้การบ่นเพ้อด้วยวาจานั้นก็ไม่ควรทำ.


               วาศัพท์ในบททั้งปวง เป็นวิกัปปัตถะ แปลว่า บ้าง, หรือ, ก็ดี,
               บทว่า น ตํ เปตสฺส อตฺถาย ความว่า เหตุมีอาทิว่า การร้องไห้ก็ดี ความเศร้าโศกก็ดี การร่ำไรก็ดีทั้งหมดนั้นไม่มีประโยชน์ ไม่มีอุปการะแก่ผู้ละไปแล้ว คือผู้ตายไปแล้ว ฉะนั้น เหตุมีการร้องไห้เป็นต้นนั้นจึงไม่ควรทำ. อธิบายว่า แม้ถึงอย่างนั้น พวกญาติก็ไม่รู้เรื่องด้วยคงดำรงอยู่อย่างนั้น.



               พระศาสดาครั้นทรงแสดงถึงเหตุแห่งทุกข์ธรรมมีการร้องไห้เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทักษิณาที่ทายกปรารภบุรพเปรตเป็นต้น แล้วถวายแด่พระสงฆ์ว่าเป็นสิ่งมีประโยชน์ จึงตรัสคาถาว่า อยญฺจ โข ทกฺขิณา ดังนี้เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงถึงทานที่ทายกให้แล้วนั้น โดยประจักษ์จึงตรัสไว้.


               จ ศัพท์เป็นพยติเรกัตถะ แปลว่า อัน.
               ด้วย จ ศัพท์นั้นย่อมส่องอรรถอันพิเศษเฉพาะที่กำลังจะกล่าวว่า ทักษิณานี้หาได้เป็นเหมือนเหตุมีการร้องไห้เป็นต้น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ใครๆ ผู้ละไปแล้วไม่ อันทักษิณานี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้จะไปแล้วนั้นตลอดกาลนาน.
               ศัพท์ว่า โข ใช้ในอรรถว่าอวธารณะ แปลว่า ห้ามเนื้อความอื่น.
               บทว่า ทกฺขิณา ได้แก่ ทาน.
               บทว่า สงฺฆมฺหิ สุปติฏฺฐิตา ได้แก่ ตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม.
               บทว่า ทีฆรตฺตํ หิตายสฺส ได้แก่ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เปรตนั้น ตลอดกาลนาน.
               บทว่า ฐานโส อุปกปฺปติ ได้แก่ ย่อมสำเร็จในขณะนั้นนั่นเอง, อธิบายว่า ไม่ใช่ในกาลอื่น.
               จริงอยู่ นี้เป็นธรรมดาในข้อนั้นว่า หากเปรตอนุโมทนาทาน ในเมื่อทายกถวายทานอุทิศเปรต เปรตก็จะหลุดพ้นไปด้วยผลแห่งทานนั้น ในขณะนั้นนั่นเอง.


    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงธรรมอย่างนี้แล้ว ทรงกระทำให้มหาชนมีใจยินดียิ่งในทานที่อุทิศเปรตแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป.
   วันรุ่งขึ้น ภริยาเศรษฐีและพวกญาติที่เหลือ เมื่อคล้อยตามเศรษฐี จึงให้มหาทานเป็นไปประมาณ ๓ เดือนด้วยอาการอย่างนี้.


    ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ไปเรือนของหม่อมฉันประมาณ ๑ เดือนแล้ว.
    เมื่อพระศาสดาตรัสบอกเหตุนั้นแล้ว ฝ่ายพระราชาเมื่อจะทรงคล้อยตามเศรษฐี จึงให้มหาทานเป็นไปแก่ภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.

    ชาวเมืองเห็นดังนั้น เมื่อจะอนุวัตรตามพระราชา จึงให้มหาทานเป็นไปประมาณ ๑ เดือน. ชาวเมืองให้มหาทานซึ่งมีตุ๊กตาแป้งเป็นเหตุเป็นไปตลอด ๒ เดือนด้วยประการฉะนี้แล.

               จบอรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔   

           
ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=89
ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/,http://dc-danai.com/,http://webserv.kmitl.ac.th/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 30, 2012, 01:06:56 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร

  พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระเจ้าพิมพิสารว่า
    [๙๐] เปรตทั้งหลายพากันมาสู่เรือนของตนแล้ว ยืนอยู่ภายนอกฝาที่ตรอกกำแพง และทาง ๓ แพร่ง และยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู เมื่อข้าว น้ำของกิน ของบริโภคเป็นอันมากเขาเข้าไปตั้งไว้แล้ว
    แต่ญาติไรๆ ของสัตว์เหล่านั้นระลึกไม่ได้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาด ประณีตสมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล ดุจทานที่มหาบพิตรทรงถวายแล้ว ฉะนั้น

    ด้วยเจตนาอุทิศว่า ขอทานนี้แล จงสำเร็จผลแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลายของเราจงเป็นสุขเถิด
                         
     ส่วนเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาชุมในที่นั้น เมื่อข้าวและน้ำมีอยู่บริบูรณ์ ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพว่า เราได้สมบัติเพราะ เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติของเราเหล่านั้น จงมีชีวิตอยู่ยืนนาน

     การบูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้วแก่เราทั้งหลาย และญาติทั้งหลายผู้ให้ ก็ไม่ไร้ผล เพราะในเปรตวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม ไม่มีโครักขกรรม ไม่มีการค้าขายเช่นนั้น ไม่มีการซื้อการขายด้วยเงิน
     เปรตทั้งหลายผู้ไปในปิตติวิสัย ย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยทานที่ญาติหรือมิตรให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้

    "น้ำฝนอันตกลงในที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้วในมนุษยโลกนี้
    ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน"
    "ห้วงน้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยมฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้ว แต่มนุษยโลกนี้
    ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน"

     
    กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะที่ท่านทำแล้วในกาลก่อนว่า ญาติมิตรและสหายได้ให้สิ่งของแก่เรา ได้ช่วย
ทำกิจของเรา ดังนี้ พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย

     ความเศร้าโศก หรือความร่ำไรอย่างอื่น ไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้ เป็นต้นนั้น
    ไม่เป็นประโยชน์แก่เปรตทั้งหลาย ญาติทั้งหลายย่อมดำรงอยู่โดยปกติธรรมดา

                           
     อันทักษิณานี้แลที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ให้แล้ว
     ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่เปรตนั้นโดยพลัน สิ้นกาลนาน


     ญาติธรรมมหาพิตรได้แสดงให้ปรากฏแล้ว การบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลาย มหาพิตรทรงทำแล้ว และกำลังกายมหาบพิตรได้เพิ่มให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บุญมี ประมาณไม่น้อยมหาบพิตรได้ทรงขวนขวายแล้ว.

     จบ ติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕.



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๓๐๒๑ - ๓๐๕๒. หน้าที่ ๑๒๔ - ๑๒๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=3021&Z=3052&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=90
ขอบคุณภาพจาก http://www.84000.org/



อรรถกถา ขุททกนิกาย เปตวัตถุ ปฐมวรรค
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ

อรรถกถาติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕

(คัดมาเพียงบางส่วน)

      พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ของพวกเรา ก็ทรงอุบัติขึ้นในโลก ล่วงไป ๗ สัปดาห์ก็เสด็จมายังกรุงพาราณสีโดยลำดับ ทรงประกาศธรรมจักร ทรงแนะนำตั้งต้นแต่พระปัญจวัคคีย์ จนถึงชฎิล ๓ พี่น้อง พร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ คน แล้วได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์.

       ก็ในบรรดาชนเหล่านั้น พระองค์ทรงให้พระเจ้าพิมพิสารผู้เข้าไปเฝ้าในวันนั้นนั่นเอง พร้อมกับพราหมณ์และคฤหบดีชาวอังคะและมคธะ ๑๑๐,๐๐๐ คน ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. ลำดับนั้น พระราชาทรงนิมนต์ด้วยภัตต์เพื่อเสวยพระกระยาหารในวันพรุ่งนี้ พระองค์ทรงรับแล้วในวันที่ ๒ อันท้าวสักกะจอมเทพผู้แปลงเพศเป็นมาณพน้อยนำเสด็จไป ชมเชยด้วยพระคาถามีอาทิอย่างนี้ว่า

       พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกพระองค์แล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว ผู้มีวรรณะเพียงดังว่าลิ่มทองสิงคี พร้อมด้วยปุราณชฎิล ผู้ฝึกตนแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ดังนี้.
       จึงเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ทรงรับมหาทานในพระราชนิเวศน์.


       ส่วนพวกเปรตเหล่านั้นได้พากันยืนล้อมด้วยหวังใจว่า
       บัดนี้ พระราชาจักอุทิศทานแก่พวกเรา. บัดนี้พระราชาจักอุทิศ.


      พระราชาทรงถวายทานแล้ว ทรงพระดำริเฉพาะสถานที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ดังนี้ จึงไม่ได้อุทิศทานนั้นแก่ใครๆ.
       พวกเปรตเมื่อไม่ได้ทานนั้นอย่างนั้นก็สิ้นหวัง
       ในเวลากลางคืนจึงพากันส่งเสียงร้องอันน่าสะพึงกลัวอย่างยิ่ง ใกล้พระราชนิเวศน์.


       พระราชาทรงถึงความสังเวชอันน่าสะพึงกลัว น่าหวาดเสียว เมื่อราตรีผ่านไปจึงได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ได้สดับเสียงเห็นปานนี้ จักมีเหตุอะไรแก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.
      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าทรงกลัวเลยมหาบพิตร จักไม่มีความชั่วช้าลามกอะไรแก่พระองค์ดอก.

      อนึ่ง ญาติเก่าก่อนของพระองค์ที่เกิดในพวกเปรตก็มี, ญาติเหล่านั้นหวังจะพบเฉพาะพระองค์แต่ผู้เดียวถึงพุทธันดรหนึ่ง ท่องเที่ยวไปด้วยหวังใจว่า พระองค์ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้ว จักอุทิศแก่พวกเราบ้าง เพราะพระองค์ถวายทานเมื่อวันวานแล้ว มิได้อุทิศจึงพากันสิ้นหวัง ส่งเสียงร้องเห็นปานนั้น.

      พระราชาตรัสถามว่า เมื่อหม่อมฉันถวายทานแม้ในบัดนี้ เปรตเหล่านั้นจะพึงได้รับหรือ พระเจ้าข้า? พระศาสดาตรัสว่า ได้ มหาบพิตร. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับทานของข้าพระองค์เพื่อเสวยในวันนี้, ข้าพระองค์จักอุทิศแก่พวกเปรตเหล่านั้น.
      พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษฎีภาพ.



    พระราชาเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ทรงให้จัดแจงมหาทานแล้ว ให้กราบทูลกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ประทับนั่งบนอาสนะที่บรรจงจัดไว้. เปรตเหล่านั้นไปด้วยหวังว่า วันนี้ พวกเราจะพึงได้อะไรเป็นแน่ ดังนี้ จึงได้พากันยืนอยู่ในที่ต่างๆ มีภายนอกฝาเรือน เป็นต้น.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำโดยที่พวกเปรตเหล่านั้นทั้งหมดมาปรากฏแด่พระราชา.
     พระราชาเมื่อจะทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก จึงอุทิศว่า
     "ทานที่ข้าพเจ้าให้นี้จงสำเร็จแก่พวกญาติเถิด."
     ในบัดดลนั้นเอง สระโบกขรณีอันดาระดาษด้วยกลุ่มดอกกมล ได้บังเกิดแก่พวกเปรต.
     เปรตเหล่านั้นพากันอาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ได้สงบระงับความกระวนกระวาย ความลำบากและความกระหาย ได้เป็นผู้มีสีดั่งทองคำ.


     พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยวและของบริโภคแล้วอุทิศให้.
     ขณะนั้นนั่นเอง ข้าวยาคู ของเคี้ยวและอาหารอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น.
     เปรตเหล่านั้นพากันบริโภคข้าวยาคูเป็นต้นนั้นแล้ว ก็ได้เป็นผู้มีอินทรีย์กระปรี้กระเปร่า.

     ลำดับนั้น พระองค์ได้ถวายผ้า ที่นอนและที่นั่งแล้วอุทิศให้.
     เครื่องประดับมีชนิดต่างๆ เช่น ผ้า ปราสาท เครื่องลาดและที่นอน เป็นต้น อันเป็นทิพย์ ได้บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น.
     และสมบัติของเปรตเหล่านั้นทั้งหมดนั้นได้ปรากฏแก่พระราชา โดยประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานไว้.
     พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ทรงพอพระทัยยิ่งนัก.



ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=90
ขอบคุณภาพจาก http://www.84000.org/,http://www.dmc.tv/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ฟังมาว่า บุญกุศล เมื่อทำแล้วอุทิศให้กันได้ ถ้าเราทำบาป แล้ว อุทิศให้กันได้หรือไม่คะ

คือฟังน้องพูดมาถาม ในช่วงที่ เราสนใจ ธรรมะคะ พอฟังแล้วก็อึ้ง นั่นสินะ ทำไมกฏนี้
   ใครเป็นผู้รับรองเรื่อง การอุทิศแบ่งบุญคะ น่าจะเป็นของเฉพาะตัว
   แต่หากมีการอุทิศใหักันได้อย่างนี้ บาป ก็ต้องอุทิศให้กันได้ใช่หรือไม่จ๊ะ

 ขอบคุณมากคะ ( โปรดอย่าหัวเราะในคำถามนะคะ )

  :c017: :88: :88:

    สรุปข้อสงสัย คุณ hiso มีสองเรื่อง คือ
        ๑. ใครเป็นผู้รับรอง "เรื่องการอุิทิศบุญ"
        ๒. บาปอุทิศให้ได้หรือไม่

    คำตอบแบบกว้างๆ
         

     1. พระพุทธเจ้าเป็นผู้รับรองเรื่องการ อุทิศบุญกุศล มีหลายพระสูตรหลายตอน ที่นำมากล่าวกันบ่อย ๆ ก็คือ พระสูตรว่า เปตพลีพระญาติ ของพระเจ้าพิมพิสาร ที่เป็นเปตรมาร้องขอส่วนบุญ 


     2. บุญ และ บาป อุทิศให้ซึ่งกันและกันได้ เช่นกัน

       บุญ คงไม่ต้องพูดถึง

       บาป เวลาเราได้รับอุทิศและรับบาป นั้น ผลก็คือความทุกข์ สั้น ๆ นะ

       แต่ที่นี้ บาป ไม่เหมือน บุญ

      บุญ แม้แต่ ผู้ที่ต้องการจะได้  บาป ไม่มีใครอยากได้ ยกเว้นพวกพระโพธิสัตว์
     
      ฉะนั้น บาป ก้เปรียบ เหมือนขยะ สิ่งปฏิกูล ซึ่งนำไปให้ หรือ อุทิศให้อย่างเปิดเผยมิได้ ดังนั้นการที่ให้ บาป อย่างเปิดเผยไม่ได้ จึงไม่เรียกว่าการอุทิศ ให้ได้ ดังนั้น บาป จึงอุทิศให้ซึีงกันและกันไม่ได้

     เพราะถ้าอุทิศให้ซึ่งกันและกันได้ ด้วยความเต็มใจทั้งสองฝ่าย อันนั้นจึงเรียกว่า มีผล มีอานิสงค์ นะจ๊ะ

     ดังนั้น สรุป บาป อุทิศให้ซึ่งกันและกันไม่ได้ เพราะไม่มีผู้ใดเต็มใจ รับบาป นะจีะ


    ส่วนเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ เพิ่มเติม ก็คือ บุญ และ บาป ให้ผลเฉพาะตนก่อนเป็นอันดับแรก บุญย่อมส่งผลตามแบบ ผลบุญ บาปย่อมส่งผลตามแบบ ของ บาป ดังนั้น ผู้ที่เสวยบาปอยู่ จึงไม่สามารถ อุทิศบุญได้ เพราะไม่บุญให้อุทิศ นะจ๊ะ


   
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา