ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธศาสนา มีกี่ นิกาย คะ มีหลักการแตกต่างกันอย่างไร คะ  (อ่าน 76112 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระพุึทธศาสนา มีกี่ นิกาย คะ มีหลักการแตกต่างกันอย่างไร คะ
  คือพอดี เพื่อน ๆ มาชวนเปลี่ยน นิกาย กันก็เลยอยากทราบว่า พระพุทธศาสนา มีกี่นิกาย คะ และแตกต่างกันอย่างไร คะ ขอบคุณมากคะ

   :c017: :smiley_confused1: :58:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2012, 12:35:32 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า

keyspirit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ่าในประเทศไทย ตอนนี้ มี 2 นิกายใหญ่ คือ

   1. หินยาน
   2. มหายาน

         1.หินยาน มี 3 นิกาย
            1.มหานิกาย
            2.ธรรมยุติ
            3.สันติอโศก

  เท่าที่ทราบมีเท่านี้ ครับ

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2012, 12:35:48 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระพุทธรูปในถ้ำซ็อกคูรัม ประเทศเกาหลีใต้

ประวัติ
ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ได้เกิดความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกัน จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป จึงนำไปสู่การทำสังคายนาพระไตรปิฎก
     ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 นี้เองที่พระพุทธศาสนาแตกออกเป็นหลายนิกายกว่า 20 นิกาย
     และในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้ทรงแต่งสมณทูต 9 สายออกไปเผยแผ่พุทธศาสนา จนกระทั่งพุทธศาสนาแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง


นิกาย
ศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ เถรวาท และมหายาน นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปแบ่งเป็น 3 นิกาย เนื่องจากวัชรยานไม่ยอมรับว่าตนคือมหายาน เนื่องจาก มหายานมีต้นเค้ามาจากท่านโพธิธรรม (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ส่วนวชิรยานมีต้นเค้ามาจากท่านคุรุปัทสัมภวะ

    ๑. เถรวาท (หรือ 'หินยาน' แปลว่า ยานเล็ก) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำสั่งสอน และ หลักปฏิบัติ จะเป็นไปตามพระไตรปิฎก นับถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทย, ศรีลังกา, พม่า, ลาว และกัมพูชา ส่วนที่นับถือเป็นส่วนน้อยพบทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อสายเขมร), บังกลาเทศ (ในกลุ่มชนเผ่าจักมา และคนในสกุลพารัว) และทางตอนบนของมาเลเซีย (ในหมู่ผู้มีเชื้อสายไทย)

    ๒. มหายาน (ยานใหญ่) หรือ อาจาริยวาท แพร่หลายในสาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, เกาหลีเหนือ, เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ พบเป็นประชาชนส่วนน้อยในประเทศเนปาล (ซึ่งอาจพบว่านับถือร่วมกับศาสนาอื่นด้วย)  ทั้งยังพบในประเทศอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน และฟิลิปปินส์ ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน

    ๓. วัชรยาน หรือ มหายานพิเศษ พบมากในเขตปกครองตนเองทิเบตของจีน, ประเทศภูฏาน, มองโกเลีย และสาธารณรัฐคัลมืยคียาในรัสเซีย และเป็นประชากรส่วนน้อยในดินแดนลาดัก รัฐชัมมูและกัษมีร์ ประเทศอินเดีย, เนปาล, ปากีสถาน (ในเขตบัลติสถาน)


อ้างอิง
ศาสนาพุทธ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
th.wikipedia.org/wiki/ศาสนาพุทธ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2012, 12:36:00 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระพุทธศาสนามีกี่นิกาย และแตกต่างกันอย่างไร ?
“คำถาม-คำตอบ เรื่องน่ารู้ทางพระพุทธศาสนา”  โดย ผศ.รท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ

พระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบของนิกายอื่นๆ อยู่ ๒ นิกายด้วยกัน คือ
     ๑) นิกายหินยาน
     ๒) นิกายมหายาน

นิกายหินยาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายเถรวาท และทักษิณนิกาย เหตุที่เรียกว่า นิกายเถรวาท เพราะพระในนิกายนี้ถือปฏิบัติตามหลักคำสอนที่สืบต่อกันมาโดยพระเถระตั้งแต่ครั้งที่ทำปฐมสังคายนา (สังคายนาครั้งที่ ๑) ซึ่งถือว่าเป็นพระเถระที่ได้มีชีวิตอยู่ทันเห็นพระพุทธเจ้าและได้รักษาคำสอนพระพุทธเจ้าไว้ตามรูปแบบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
     ต่อมานิกายนี้ได้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทักษิณนิกาย แปลว่า นิกายฝ่ายใต้
     หมายความว่า เป็นนิกายของพระภาคใต้


     นิกายหินยานได้แตกสาขาออกมาอีกในเวลาต่อมารวมกันเป็น ๑๘ นิกาย และในปีพุทธศักราช ๒๑๘ ปี หลังจากทำตติยสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้จัดส่งพระธรรมทูตออกไปประกาศพระศาสนา ๙ สายด้วยกัน เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาได้เจริญแพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ที่เห็นเด่นชัด คือ ในประเทศลังการวมทั้งประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีนคือ ลาว เขมร พม่าก็รวมอยู่ด้วย พระพุทธศาสนาที่เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศดังกล่าวมานี้ล้วนเป็นพระพุทธศาสนาประเภทเถรวาททั้งสิ้น



นิกายมหายาน อ่านเพิ่มเติมใน นิกายเซ็น(นิกายฉับพลัน) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิกายอาจริยวาท เพราะพระในนิกายนี้ถือ เรื่องจิตเดิมแท้เป็นหลัก มีจิตที่กลับคืนสู่ธรรมชาติเป็นอารมณ์ มีคนกล่าวว่า นิกายนี้ พระมีครอบครัวได้ แต่ความจริง คือ ไม่ใช่นิกายเซ็น,  เป็นนิกายที่คนที่แต่งตัวคล้ายพระมีครอบครัวได้ยังมีอยู่ในญี่ปุ่นในปัจจุบัน  ซึ่งที่จริงไม่ใช่พระแต่บรรบุรุษคือคนธรรมดาที่รับใช้พระในวัด 

     ต่อมาสมัยหนึ่งไม่มีพระเหลืออยู่อีก แต่เมื่อชาวบ้านมาวัดก็ต้องการคนทำพิธี ก็เลยขอร้องให้คนวัดนี้ทำพิธีแทนไปพลางๆ นานๆไปก็เลยทำสืบต่อมาเป็นประเพณีและมีการปรับปรุงการแต่งตัวให้คล้ายพระมากขึ้น  จนเหมือนเป็นพระไปเลย และสืบทอดให้กับลูกหลานมาจนปัจจุบัน วัดอื่นๆก็พลอยเห็นดีไปด้วย เลยเอาตัวอย่างตามกันไปหมด มาตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม

     นิกายมหายานได้เจริญแพร่หลายอยู่ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และปัจจุบันได้รับความนิยมกว้างขวางอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีระเบียบปฏิบัติที่ไม่เคร่งครัดมากเกินไป
(หมายเหตุ ในเมืองไทยเรา ก็มีพระพุทธศาสนานิกายมหายานเหมือนกัน และปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ ๑. อนัมนิกาย (ญวน หรือเวียดนาม) และ ๒. จีนนิกาย)

      อย่างไรก็ตาม นิกายทั้งสองนี้ แม้จะมีข้อวัตรปฏิบัติและพิธีกรรมของพระและฆราวาสแตกต่างกันบ้าง
      แต่เมื่อพูดถึงจุดหมายปลายทางแล้วก็มุ่งพระนิพพานเป็นจุดสูงสุดเหมือนกัน และนับถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเช่นเดียวกัน



ได้กล่าวไว้แล้วว่า ในเมืองไทยเรานับถือพระพุทธศาสนานิกายหินยาน และปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น ๒ นิกาย คือ
    ๑. มหานิกาย
    ๒. ธรรมยุติกนิกาย


    ซึ่งนิกายทั้งสองนี้เรานิยมเรียกพระแต่ละนิกายว่า พระมหานิกาย พระธรรมยุต นิกายทั้งสองนี้มีวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย จนเกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลยไม่ว่าจะเป็นในด้านวินัยบัญญัติ หลักธรรม ที่สำคัญพระในนิกายทั้งสองยังสามารถปฏิบัติศาสนพิธีร่วมกันได้ โดยยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาร่วมกัน ส่วนในด้านการปกครอง สมเด็จพระสังฆราช (จากนิกายไหนก็ได้) ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นประมุขสูงสุดของคณะสงฆ์

ข้อเพิ่มเติม
นิกายหินยาน นั้นในทางวิชาการเรามักจะไม่ค่อยใช้กัน เพราะถือว่าเป็นคำดูถูกที่นิกายมหายานยัดเยียดให้นิกายหินยาน
    เพราะคำว่า หิน (อ่าน หิ-นะ) หมายถึง ต่ำช้า เลวทราม
    สาเหตุเพราะมุ่งความบริสุทธิ์เฉพาะตัวเป็นหลักก่อนจึงค่อยสอนผู้อื่น
    แต่นักปราชญ์ฝ่ายหินยานก็เลี่ยงเสียใหม่ แปล หิน ว่า เล็ก
    เพราะฉะนั้น หินยาน จึงแปลว่า ยานเล็ก หมายความว่า ขนสัตว์ไปนิพพานได้น้อยกว่า
    ส่วน มหายาน แปลว่า ยานใหญ่ หมายความว่า ขนสัตว์ไปนิพพานได้มากกว่า มหายานท่านว่าอย่างนี้ จะจริงเท็จแค่ไหนก็ต้องปฏิบัติดู


อ้างอิง
จาก... วารสาร พ.ส.ล. ปีที่๓๙ ฉบับที่ ๒๕๖ กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๔๙ 
http://www.thumboon.com/readarticle.php?article_id=71
ขอบคุณภาพจาก http://upload.wikimedia.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2012, 12:36:12 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

นิกายสำคัญของพระพุทธศาสนา

๑. นิกายเถรวาท หรือ หินยาน เป็นนิกายเก่าแก่ที่สุด ยึดถือพระธรรมวินัยเดิมอย่างเคร่งครัด นับถือมากในไทย พม่า เขมร ลาว ศรีลังกา

๒. นิกายมหายาน ภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มแยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการ แตกแยกทางความคิดและนิกาย

๓. นิกายวัชระยาน เกิดจากพระพุทธศาสนามหายาน ที่แยกออกเป็นนิกายประมาณ ๔ นิกาย คือ
    1. นิกายศูนยวาทหรือมาธยมิก ผู้ก่อ ตั้งคือ คุรุนาคารชุน
    2. นิกายวิชญานวาทหรือโยคาจาร ผู้ก่อตั้ง คือ ท่านไมตรีนาถ
    3. นิกายจิต อมตวาท
    4. นิกายพุทธตันตระหรือมนตรยานซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นวัชระยาน


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dhammathai.org/buddhism/nikaya.php



พระพุทธศาสนา เถรวาท ~ Theravada หรือ หินยาน

นิกายเถรวาท หรือ หินยาน เป็นนิกายเก่าแก่ที่สุด ยึดถือพระธรรมวินัยเดิมอย่างเคร่งครัด นับถือมากในไทย พม่า เขมร ลาว ศรีลังกา

คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา
    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน สาวกผู้ได้เคยสดับฟังคำสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนากัน ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ สอบปากคำกันอยู่ 7 เดือน จึงตกลงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นี่คือบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อมีปัญหาขัดแย้ง พระเถระผู้ใหญ่ก็ประชุมขจัดข้อขัดแย้งกัน เป็นสังคายนาต่อมาอีกหลายครั้ง จนได้พระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทดังที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นคำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้าที่นับว่าใกล้เคียงที่สุด

     เนื่องจากภาษามคธที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ครั้นกาลเวลาล่วงไปก็ค่อยๆ กลายเป็นภาษาโบราณ ยากที่จะเข้าใจได้ทันทีสำหรับนักศึกษารุ่นหลังๆ จึงได้มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ชี้แจงความหมายเรียกว่า อรรถกถา เมื่อนักศึกษารู้สึกว่าอรรถกถายังไม่ชัดเจนก็มีผู้เชี่ยวชาญนิพนธ์ฎีกาขึ้นชี้แจงความหมาย และมีอนุฎีกาสำหรับชี้แจงความหมายของฎีกาอีกต่อหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะปัญหาก็นิพนธ์ชี้แจงเฉพาะปัญหาขึ้นเรียกว่า ปกรณ์

     เหล่านี้ถือว่าเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น แต่ทว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ตีความ นักศึกษาจะเห็นกับบางคัมภีร์ และไม่เห็นด้วยกับบางคัมภีร์ก็ได้ ไม่ถือว่ามีความเป็นพุทธศาสนิกมากน้อยกว่ากันเพราะเรื่องนี้

"พระไตรปิฎก~Tipitaka" คือ คัมภีร์คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
     แบ่งเป็น 3 หมวด คือ
    1. พระสุตตันตปิฎก รวมคำสอนของพระพุทธเจ้า และพระสาวก
    2. พระวินัยปิฎก ศีลของพระภิกษุ และพิธีกรรมทางศาสนา
    3. พระอภิธรรมปิฎก รวมหลักธรรมชั้นสูง


    พระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทเป็นภาษามคธ ฝ่ายมหายานเป็นภาษาสันสกฤต

หลักธรรมที่สำคัญ ได้แก่
     อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ ได้แก่
     1. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ได้แก่ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
     2. สมุทัย คือ ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 ประการ
     3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ การหมดกิเลส คือ นิพพาน
     4. มรรค คือ ทางดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรค มีองค์ 8


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dhammathai.org/buddhism/theravada.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2012, 12:36:26 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระพุทธศาสนา มหายาน ~ Mahayana

    พระพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ดูกรอานนท์ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ถ้าสงฆ์ต้องการ ก็ จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างก็ได้” (มหาปรินิพพานสูตร 10/141) ทำให้เกิดมีปัญหาว่าแค่ไหนเรียกว่าเล็กน้อย เป็นเหตุให้ภิกษุบางรูปไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับสังคายนามาตั้งแต่ครั้งแรก และเหตุการณ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับหลายสังคายนา มีกลุ่มแยกตัวทำสังคายนาต่างหาก เป็นการ แตกแยกทางความคิดและนิกาย

    แต่ไม่ควรถือว่าเป็นการแบ่งแยกศาสนาแต่ประการใดไม่อาจกำหนดได้แน่ชัดว่า พุทธศาสนามหายานกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัด คือพระเจ้ากนิษกะ มหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกองค์แรกของ มหายาน ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานลงมั่นคงในราชอาณาจักร และทรงส่งพระธรรม ทูตออกเผยแพร่ไปยังนานาประเทศ

    คณาจารย์ผู้วางรากฐานของมหายานอย่างชัดเจน ได้แก่ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอารยะเทวะ พระวสุพันธุ พระธรรมกีรติ ศานตรักษิตะ โดยเฉพาะคุรุนาคารชุน (ราว ค.ศ 1) คณาจารย์องค์สำคัญที่สุดผู้ทำให้มหายานทรงอิทธิพลและ รุ่งเรืองที่สุดของพระพุทธศาสนาในพุทธศตวรรษที่ 6-10

    มหายานมิได้ปฏิเสธพระไตรปิฎกหากแต่ถือว่ายังไม่พอ เนื่องจากเกิดสำนึกร่วมขึ้นมาว่านามและรูปของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตระไม่อาจดับสูญ สิ่งที่ดับสูญเป็นเพียงภาพมายา ธรรมกายอันเป็นธาตุพุทธะยังคงอยู่ต่อไป สรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดมาพร้อมธาตุพุทธะ หากแต่กิเลสอวิชชาได้บดบังธาตุพุทธะจึงไม่ปรากฏ ด้วยมุมมองที่ว่าสรรพสัตว์เป็นพุทธะ สรรพสัตว์ทั้งปวงปารถนาที่จะไม่เกิดมาพบกับความทุกข์ ที่ต้องเกิดเพราะกรรมที่ได้สะสมไว้ มนุษย์ผู้โชดดีมีภูมิความรู้ในการรู้แจ้งต้องเมตตาส่งเสริม ให้สรรพสัตว์ที่โชคดีน้อยกว่าให้ไปสู่ความรู้แจ้ง

    ผู้ที่กระทำการเช่นนั้น คือพระโพธิสัตว์ นั่นคือ ชาวพุทธมหายานต้องเดินแนวทางโพธิสัตว์มรรค เพิ่มเติมจากการเดินในแนวอริยะมรรคเพียงอย่างเดียว คำสอนของของพระโพธิสัตว์ถือเป็นพระไตรปิฎกที่ 2 ที่ต้องปฏิบัติด้วยการยอมรับ หรือศรัทธาต่อ พระโพธิสัตว์ไม่เท่ากัน ความสำนึกและการแสดงออกจึงต่างกัน ทำให้มหายานแตกเป็นนิกายต่างๆ มากมายในอินเดียมีประมาณ 4 นิกาย

     1. นิกายศูนยวาทหรือมาธยมิก ผู้ก่อ ตั้งคือ คุรุนาคารชุน
     2. นิกายวิชญานวาทหรือโยคาจาร ผู้ก่อตั้ง คือ ท่านไมตรีนาถ
     3. นิกายจิต อมตวาท
     4. นิกายพุทธตันตระหรือมนตรยานซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นวัชระยาน


   ในประเทศจีน ระยะเวลาอันยาวนานกว่าทำให้มีนิกายแตกแขนงออกไปมากมาย เช่น
      นิกายสัทธรรมปุณทริก (เทียนไท้จง) นิกายเซ็นหรือฌาณ(เสี่ยมจง)
      นิกายอวตังสกะ(ฮั่วเงี่ยมจง) นิกายสุขาวดี(เจ่ง โท้วจง)
      นิกายตรีศาสตร์(ซาหลุ่งจง) นิกายธรรมลักษณะ(ฮวบเซี่ยงจง)
      นิกายวินัย(หลุกจง) นิกายมนตรยาน(มิกจง)
   แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าเกิดการแตกแยกศาสนา ด้วยว่าทุกนิกาย ก็คือพุทธศาสนามหายาน



ลัทธิมหายานถืออุดมคติ 3 ประการ คือ
    1. หลักมหาปัญญา ในหลักการข้อนี้ ฝ่ายมหายานได้อธิบายหลักอนัตตาซึ่งเป็นคุณลักษณะ พิเศษในพุทธศาสนาออกไปอย่างกว้างขวางลึกซึ้งมาก พิสดารยิ่งกว่าในฝ่ายเถรวาทมหายาน เรียกว่า ศูนย์ตา แทนคำว่า อนัตตา ในส่วนปฏิบัติของบุคคลทางฝ่ายมหายาน ถือว่าบุคคลจะ พ้นทุกข์ได้ ก็ด้วยการเข้าถึงศูนยตา ซึ่งมี 2 ชั้น คือ บุคคลศูนยตาและธรรมศูนยตา บุคคล ศูนยตาได้แก่การละอัสมิมานะซึ่งทำให้บุคคลบรรลุอรหันต์ส่วนธรรมศูนยตา ได้แก่การละ ความยึดถือแม้ในพระนิพพานซึ่งเป็นภูมิของพระโพธิสัตว์ชั้นสูง

    2. หลักมหากรุณา ได้แก่การ ตั้งโพธิจิตมุ่งพุทธภูมิ ไม่มุ่งเพียงอรหันต์ภูมิ ในทัศนะมหายานเห็นว่าอรหันต์ภูมิช่วยคนได้น้อย เพราะฉะนั้นจึงควรมุ่งพุทธภูมิซึ่งในขณะที่ยังมิได้บรรลุต้องสร้างบารมีเพื่อช่วยสัตว์ ดังนั้น ทางฝ่ายมหายานจึงย่อทศบารมีลงเหลือ 6 คือ
        2.1 ทานปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องสละทรัพย์ อวัยวะและชีวิต เพื่อสัตว์โลกได้โดยไม่อาลัย
        2.2 ศีลปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องรักษาศีลอันประกอบ ด้วยอินทรีย์สังวรศีล กุศลสังคหศีล ข้อ นี้ได้แก่การทำความดีสงเคราะห์สัตว์ทุกกรณี สัตวสังคหศีลคือการช่วยให้พ้นทุกข์
        2.3 กษานติปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องสามารถอดทนต่อสิ่งกดดันเพื่อโปรดสัตว์ได้
        2.4 วิริยปารมิตา พระโพธิสัตว์ไม่ย่อท้อต่อพุทธภูมิ ไม่รู้สึกเหนื่อย หน่ายระอาในการช่วยสัตว์
        2.5 ธยานปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องสำเร็จในฌานสมาบัติทุกชั้น มีจิตไม่คลอนแคลน เพราะเหตุอารมณ์
        2.6 ปรัชญาปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องทำให้แจ้งในปุคคลศูนยตาและ ธรรมศูนยตา


    3. หลักมหาอุปาย คือพระโพธิสัตว์จะต้องประกอบด้วยกุศโลบายนานัปการ ในการช่วยเหลือ ปวงสัตว์ ต้องประกอบด้วยไหวพริบปฏิภาณในการเข้าถึงอธิมุติของปวงสัตว์เปรียบเหมือน นายแพทย์ผู้ฉลาดรู้จักวางยาให้ถูกโรค อาศัยข้อนี้แหละทางฝ่ายมหายานจึงได้เพิ่มเติมคติ ธรรมและพิธีการซึ่งไม่เคยมีในฝ่ายเถรวาทเข้ามามากมาย โดยถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอุบาย ชักจูงให้ผู้เขลาโน้มเอียงเข้ามาสู่สัจธรรมในเบื้องปลายเท่านั้น

     คุรุนาคารชุน ได้สถาปนาความ มั่นคงฝ่ายมหายานด้วยแนวคิดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วย ปรัชญาปารามิตาหฤทัยสูตร พระสูตรสั้นๆแต่มีสาระสำคัญอันเป็นบ่อเกิดแห่งความมั่นคงของ มหายาน ในคัมภีร์มาธยมิกศาสตร์     
     ท่านคุรุนาคารชุนได้เริ่มปณามคาถาในต้นปกรณ์ว่า
    “ไม่มีความเกิดขึ้น ไม่มีความดับ ไม่มีความขาดสูญ ไม่มีความเที่ยงแท้ ไม่มีอรรถแต่อย่าง เดียว ไม่มีอรรถนานาประการ ไม่มีการมา ไม่มีการไป ท่านใดกล่าวไว้ เป็นปฏิจจสมุปบาท ธรรม ท่านผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า ข้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ดับเสียได้ซึ่ง ปปัญจธรรมเป็นเลิศยิ่งกว่าวาทะทั้งหลาย”


ที่มา : พุทธศาสนามหายาน-วัชระยานแห่งธิเบต www.mahayana.in.th
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammathai.org/buddhism/mahayana.php http://www.phuketvegetarian.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2012, 12:36:40 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระพุทธศาสนา วัชระยาน ~ Vajarayana

  เป็นที่ทราบกันดีว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน หมายความ ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ
     ครั้งแรกที่เมือง สารนาถ แค้วนพาราณสี
     ครั้งที่ 2 ที่กฤตธาราโกติ แค้วนราชคฤห์ ครั้งที่ 3 ที่ไวศาลี
     ครั้งแรกเทศนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาฝ่ายเถระวาท
     ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ท่านได้เทศนาเกี่ยวกับมหายาน


   ในมหายานได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ในเรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายานอุดมคตินี้ เรียกว่า โพธิจิตหรือจิตรู้แจ้ง
   การพัฒนาโพธิจิตขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้งเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์ สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมด
   บุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้ บุคคลนั้นก็คือ พระโพธิสัตว์ ซึ่งการตายแล้วเกิดใหม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวพุทธด้วยกันแต่ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างในพุทธศาสนิกแต่ละนิกาย
    ฉะนั้นถ้าเรายอมรับในเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ก็หมายความว่า ในแต่ละ ครั้งแห่งการเกิดต้องมีบุพการี 1 กลุ่ม


   ในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารนี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วนและด้วยเหตุผลนี้ต้องยอมรับว่าสรรพสัตว์ที่บังเกิดขึ้นได้เคย ดำรงสถานะภาพความเป็นบุพการีมานับครั้งไม่ถ้วนฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึงควรเป็นไป พร้อมกันหรือให้บุพการีไปก่อนแล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไปนี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์

   พระอาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่ 14 ว่า "ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข” ฉะนั้นการแลกความสุขของตนเปลี่ยน กับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว ์พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าไม่มีบาปใดใหญ่หลวงเท่าความแค้น ไม่มีความดีใดเทียบได้กับความอดทน เมื่อเราได้เกิดขึ้นมาความสมดุลก็ได้หายไป



   ความอดทนมี 3 ประเภท
   1. อดทนต่อการต่อต้าน
   2. อดทนต่อความลำบากในการศึกษาและปฏิบัติธรรม
   3. อดทนในความกล้าปฏิบัติในคำสอนซึ่งลึกล้ำเช่นคำสอนเรื่องศูนยตาการบำเพ็ญตน ตามโพธิสัตว์มรรคจึงต้องทำงานหนัก
   เพื่อผลแห่งการเกิดปัญญาแห่งการวิเคราะห์ มีการแยกแยะปัญญาไว้ 3 ประเภทพื้นฐาน
      1.ปัญญา เกิดจากการมีความรู้
      2. ปัญญาเกิดจากการพินิจพิจารณา
      3. ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติแต่ก็ยังมีการแยกย่อยอีก เช่น
           1. ปัญญาที่เกิดระหว่างสมาธิ
           2. ปัญญาที่เกิดหลังทำสมาธิ
           3. ปัญญาเกิดเพื่อช่วยผู้อื่นและยังมีการแยกแยะลึกลงไปอีก เช่น ปัญญาในทางโลกและปัญญาที่อยู่เหนือโลกปัญญาที่เข้าถึงสัจจะธรรมสูงสุดหรือปัญญาที่กว้าง เพื่อเข้าถึงปรากฏการณ์ต่างๆ ในทางโลก


  ในบารมี 6 ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยเมตตา 5 ปัญญา 1
   เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้ สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือธรรมกายสัมโภคกายและนิรมานกาย ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นพื้นฐานที่ต้องมีความเป็นพระโพธิสัตว์ต้องบังเกิดเพื่อบรรลุความสำเร็จในการปฏิบัติวัชระยานต่อไป


   ฉะนั้นจึงแยกความเป็นมหายานและวัชระยานออกจากกันไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าได้สอน เรื่องของวัชระยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักระ ตันตระ ซึ่งเป็นบทปฏิบัติตันตระชั้นสูง พระพุทธเจ้าได้เทศนาหลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว1ปีพระพุทธเจ้าได้เทศนาสอน แก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูง ฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอนลับเฉพาะ

   แม้คำสอนของมหายานเองก็มีการปฏิบัติไม่มากนักในสมัยพุทธกาล คำสอนมหายานเป็นที่เริ่ม สนใจปฏิบัติในช่วงของท่านคุรุนาคารชุนในปื ค.ศ.1 ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้ อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียนเรื่องการปฏิบัติตันตระเรื่องกูเยียซามูจาตันตระ ในศตวรรษที่ 16 ท่าน ธารานาถ ธารานาถชาวทิเบตได้บันทึกไว้ว่า

   ท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับตันตระไว้มาก เพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไปจนถึง ศตวรรษที่ 12 เมื่อทิเบตรับคำสอนวัชระยานจากอินเดียในช่วงที่เจริญสูงสุด ทิเบตจึงรับคำสอน อย่างเต็มที่


 
    การปฏิบัติในวัชระยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อ
    คือ ก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระจะต้อง ได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์ผู้ซึ่งได้สำเร็จรู้แจ้งแล้ว
    ถ้าไม่มีการมนตราภิเษกแล้ว ถึงแม้จะปฏิบัติอย่างไรก็ตามจะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้นผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชระยานจะ ต้องได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์เสียก่อน

    ถามว่าคำสอนวัชระยาน คืออะไร เพื่ออะไร
    คำสอนวัชระยานมีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดี จึงสามารถเข้าใจคำสอน อันลึกซึ้งได้ เช่น ถ้าเราต้องการสำเร็จความเป็นพุทธะในชาตินี้ชาติเดียวต้องศึกษาปฏิบัติคำ สอนตันตระ เท่านั้น ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้ เหมือนกับการบินโดยเครื่องบิน ในปัจจุบันนี้เราสามารถบินในระยะทางไกลๆ ได้ด้วยเวลา อันสั้นแค่ชั่วโมงแทนที่จะเดินด้วยเท่าเปล่าเป็นเดือน เป็นที่รู้กันว่าในทิเบตท่านมิลาเรปะท่าน ได้บรรลุสำเร็จได้ในช่วงชีวิตของท่านด้วยการปฏิบัติตันตระ


   แล้ว ตันตระ คือ อะไร 
   ตันตระโดยความหมายของคำแปลว่าความต่อเนื่อง อันเป็นคำสอนการ ปฏิบัติระดับสูงซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอนศิษย์ในวงจำกัดเท่านั้น การปฏิบัติตันตระไม่มีใครได้พูด ได้ศึกษา ได้ปฏิบัติโดยไม่มีอาจารย์และไม่ได้รับการมนตราภิเษกจากอาจารย์ก่อน แม้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้ปฏิบัติมามาก เข้าใจเป็นอย่างดี ก็ไม่สามารถที่จะพูด ศึกษาหรือปฏิบัติตันตระไม่ผ่านการมนตราภิเษก การปฏิบัติตันตระเหมือนกับแพทย์ ที่มีความชำนาญมากสามารถที่จะเอาสารพิษหรือยาพิษมาสกัดเพื่อเป็นยารักษาโรคใหม่ๆได้ และมีประสิทธิภาพสูง


   ในการปฏิบัติตันตระจะมีการนำความรู้สึกที่เป็นลบมาแปลงให้เกิดเป็น พลังที่เป็นบวก ได้เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าในสภาพของการรู้แจ้งจะไม่ถูกทำลายด้วยพลังที่ เป็นลบต่างๆ ไม่มีพิษใดๆ ที่จะทำให้สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นพิษไปด้วย สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นสภาพ ซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดีและอย่างไร

   คำสอนวัชระยานการปฏิบัติวัชระยานสามารถ ทำให้เราสามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น แต่คำถามก็มีอยู่ว่ามีมนุษย์สักกี่คนที่ต้อง การบรรลุรู้แจ้งเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นทั้งหมด คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ด้วยวิธีการ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว้

   เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆ ที่พระอาจารย์ชาว อินเดียได้บันทึกไว้และได้แปลทั้งหมดสู่ภาษาทิเบต เนื่องจากคำสอนดั้งเดิมที่เป็นภาษาสัน สฤตได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว ฉะนั้นเราสามารถศึกษาตันตระได้จากภาษาทิเบต เท่านั้น ในปัจจุบันภาษาทิเบตจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากได้บันทึกและได้แปลคำสอนต่างๆ ที่เป็นสันสฤตดั้งเดิมไว้อย่างครบถ้วน



    พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยกษัตริย์สองซันกัมโปเรืองอำนาจ
    ด้วยความสนพระทัยอันเป็น ทุนเดิมอยู่แล้วพร้อมทั้งยังได้รับการแรงหนุนจากพระมเหสีชาวจีนและเนปาลซึ่งเป็นชาวพุทธ ที่เคร่งครัดถึงแม้ว่าพุทธศาสนาจะถูกขัดขวางจากลัทธิบอนอันเป็นลัทธิดั้งเดิม พุทธศาสนาเข้า สู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของทิเบตว่า


    ได้เกิดการสังคายนา พุทธศาสนา ณ กรุงลาซา เป็นการสังคายนาระหว่างนิกายเซ็นของจีนและวัชระยานจากอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชระยานมากกว่า ดังนั้นพุทธศาสนา วัชระยานจึงลงรากฐานมั่นคงในทิเบตสืบมา พระเจ้าทิซองเด็ตเชนได้ทรงนิมนต์ ศานตรักษิตภิกษุชาวอินเดียและคุรุปัทมสมภพเข้ามาเพื่อแผ่แพร่พระธรรม

    โดยเฉพาะ คุรุปัทมสมภพได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมาก
    จนได้ยกย่องท่านว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 และขานนามท่านว่ากูรูรินโปเช่ หรือแปลว่าพระอาจารย์ผู้ประเสริฐกูรูรินโปเช่ ได้ร่วมกับศานตรักษิตสร้างวัดสัมเยขึ้นในปี ค.ศ.787 และได้เริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาว ทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ทั้งนี้ยังได้จัดนักปราชญ์ ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาธิเบตด้วยอย่างมากมาย


ที่มา : พุทธศาสนามหายาน-วัชระยานแห่งธิเบต www.mahayana.in.th
http://www.dhammathai.org/buddhism/vajarayana.php
ขอบคุณภาพจาก http://www.manager.co.th/,http://news.tlcthai.com/,http://www.alittlebuddha.com/,http://i938.photobucket.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2012, 12:36:57 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระพุึทธศาสนา มีกี่ นิกาย คะ

ในประเทศไทย ตอนนี้ มี 2 นิกายใหญ่ คือ

   1. หินยาน
   2. มหายาน

         1.หินยาน มี 3 นิกาย
            1.มหานิกาย
            2.ธรรมยุติ
            3.สันติอโศก

  เท่าที่ทราบมีเท่านี้ ครับ 



เรามาสรุปในความเข้าใจกันนะครับว่า พระพุทธศาสนามี 2 นิกายใหญ่ คือ

 - พุทธศาสนา นิกาย มหายาน (อุตตรนิกาย หรือ อาจาริยวาท)
     
     * จีนนิกาย (พระสายจีน)
     * อนัมนิกาย (พระสายเวียดนาม)

 - พุทธศาสนา นิกาย หินยาน/สาวกยาน (ทักษิณนิกาย หรือ เถรวาท)

     * มหานิกาย (คณะสงฆ์ลัทธิลังกาวงษ์ดั่งเดิม)
     * ธรรมยุติกนิกาย (คณะสงฆ์แรกตั้งแต่ครั้งเจ้าฟ้ามงกุฏทรงผนวช)
     * รามัญนิกาย (พระสายมอญ)

 หมายเหตุ - พระสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุติกนิกายจะแยกกันทำสังฆกรรมอีกทั้งนุ่งห่มต่างกันบ้างบางสำนัก ทั้งหมดนี้ที่กล่าวเป็นเพียงสรุปถึงพระสงฆ์ทั้งคามวาสีและอรัญวาสีที่มีในประเทศไทย ก็ทราบไว้ตามนี้แล้วกันนะครับ




http://www.rosenini.com/thaihumanimagery/007.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2012, 08:06:06 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ มีรายละเอียด มากดีครับ

 ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้ แบบเปิดกว้างเลยครับ ส่วนมากผมจะอยู่กับระบบจีน อยู่แล้ว แต่ไม่มีพระจีนมาเกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่ก็อยู่กับโรงเจ ครับ ซินแส ก็รู้จักเท่านี้ครับ

  :25: :25: :c017:
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้