[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by สำนักงานส่งเสริมพระกรรมฐาน มัชฌิมา :: สระบุรี
" ปณิธาน เพื่อผดุงพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ"
   

สมัครสมาชิก ลืมรหัสผ่าน
 
 

  

ธรรมะในวัด
ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง แต่ไม่ใช่ที่เป็น สถานที่ นะ เจริญพร

อาทิตย์ ที่ 8 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2556




เรื่องยสกุลบุตร
            [๒๕]    สมัยนั้น    ในกรุงพาราณสี    มีกุลบุตรชื่อยสะเป็นลูกเศรษฐีเป็น ผู้สุขุมาลชาติ  ยสกุลบุตรนั้นมีปราสาท  ๓  หลัง  คือ  หลังหนึ่งสำหรับฤดูหนาวหลังหนึ่งสำหรับฤดูร้อน  หลังหนึ่งสำหรับฤดูฝน ยสกุลบุตรได้รับการบำเรอด้วยดนตรี    ไม่มีบุรุษเจือปน  ตลอด ๔  เดือน  อยู่บนปราสาทฤดูฝน  ไม่ลงมายังปราสาทชั้นล่าง    คืนวันหนึ่ง  เมื่อยสกุลบุตรได้รับการบำเรออิ่มเอมเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕  ได้หลับไปก่อน    ฝ่ายบริวารชนได้หลับภายหลัง    ตะเกียงน้ำมันถูกจุดสว่างทั้งคืนคืนนั้นยสกุลบุตรตื่นขึ้นก่อน    เห็นบริวารชนของตนกำลังหลับ    บางนางมีพิณอยู่ใกล้รักแร้    บางนางมีตะโพนอยู่ข้างคอ    บางนางมีโปงมางอยู่ที่อก    บางนางสยายผมบางนางน้ำลายไหล  บางนางละเมอเพ้อไปต่าง  ๆ    ปรากฏดุจป่าช้าผีดิบ  เพราะได้เห็นโทษจึงปรากฏแก่ยสกุลบุตร    จิตตั้งอยู่ในความเบื่อหน่าย    ยสกุลบุตรจึงเปล่งอุทานขึ้นในขณะนั้นว่า 
  “ท่านผู้เจริญ    ที่นี่วุ่นวายหนอ    ท่านผู้เจริญ    ที่นี่ขัดข้องหนอ”
  ครั้งนั้น    ยสกุลบุตรจึงสวมรองเท้าทองเดินตรงไปยังประตูนิเวศน์ พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ด้วยคิดว่า    “ใคร  ๆ  อย่าได้ทำอันตรายต่อการออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตของยสกุลบุตร”
            ลำดับนั้น    ยสกุลบุตรได้เดินต่อไปยังประตูเมือง    พวกอมนุษย์ก็เปิดประตูให้ด้วยคิดว่า 
 “ใคร  ๆ    อย่าได้ทำอันตรายต่อการออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตของยสกุลบุตร”
 หลังจากนั้น  ยสกุลบุตรจึงเดินต่อไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
            [๒๖]    ครั้นราตรีย่ำรุ่ง    พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นจงกรมอยู่    ณ    ที่แจ้งได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเดินมาแต่ไกล    ครั้นเห็นแล้ว    จึงเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้    ขณะนั้น    ยสกุลบุตรได้เปล่งอุทานขึ้น    ณ    ที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคว่า    “ท่านผู้เจริญ    ที่นี่วุ่นวายหนอ    ท่านผู้เจริญ    ที่นี่ขัดข้องหนอ”
            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับยสกุลบุตรนั้นดังนี้ว่า 
    “ยสะ  ที่นี่  ไม่วุ่นวาย  ที่นี่ไม่ขัดข้อง  มาเถิด  ยสะ จงนั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ”
            ลำดับนั้น    ยสกุลบุตรร่าเริงเบิกบานใจว่า  “ได้ยินว่า  ที่นี่ไม่วุ่นวาย  ที่นี่ไม่ขัดข้อง”จึงถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ    ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง    ณ    ที่สมควร    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา    คือทรงประกาศ
                  ๑.    ทานกถา    (เรื่องทาน)
                  ๒.    สีลกถา    (เรื่องศีล)
                  ๓.    สัคคกถา    (เรื่องสวรรค์)
                  ๔.    กามาทีนวกถา    (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)๒
                  ๕.    เนกขัมมานิสังสกถา  (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)
    แก่ยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่    ณ    ที่สมควร
            เมื่อทรงทราบว่า  ยสกุลบุตรมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์    เบิกบานผ่องใส    จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนา๑ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย    คือทุกข์    สมุทัย    นิโรธ    มรรค    ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ยสกุลบุตร  ณ  อาสนะนั้นแลว่า   
   “สิ่ง ใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา    สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”    เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี

            พระวินัยปิฎก  มหาวรรค  [๑.มหาขันธกะ]
                    ๗.ปัพพัชชากถา หน้าที่ ๓๑- ๓๓


เข้าชม : 757


ธรรมะในวัด 5 อันดับล่าสุด

      เฉลยบทธรรมคำย่อที่ให้ไว้ ประจำ ปี พ.ศ. 2555 29 / ม.ค. / 2557
      คติธรรม บทที่ 1 ปี 2557 แด่ท่านทั้งหลาย 29 / ม.ค. / 2557
      โปรดตั้งศรัทธา ในพระพุทธคุณ แม้ผู้ตั้งใน พุทธคุณ เพียงชั่วขณะหนึ่ง ก็เป็นบุญ 29 / ม.ค. / 2557
      ทำเนียบ ศิษย์กรรมฐาน ยุคครูปัญญาวุธคุณ (สำอางค์) 29 / ม.ค. / 2557
      เกี่ยวกับ หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน 29 / ม.ค. / 2557
      บวชด้วยศรัทธา ปฏิบัติตน ถึง ฌาน 4 แม้ไม่เคยพบพระพุทธเจ้า 17 / ธ.ค. / 2556
      ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง แต่ไม่ใช่ที่เป็น สถานที่ นะ เจริญพร 8 / ธ.ค. / 2556
      อภัยทาน กับ ธรรมทาน ทานใดมีอานิสงค์มากกว่า 7 / ต.ค. / 2556
      ชีวิตของเรา ไม่เป็นของยั่งยืน เป็นของที่จะต้องตายลงโดยแน่นอน 7 / ต.ค. / 2556
      กายกับใจเป็นที่เกิดของความสุขและความทุกข์ ความดีและความชั่วเกิดที่กายกับใจ 7 / ต.ค. / 2556


 





สำนักงานส่งเสริมพระกรรมฐาน มัชฌิมา :: สระบุรี : : มัชฌิมา กรรมฐาน แบบลำดับ.สำหรับผู้ดูแลระบบ