ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมนักปฏิบัติ จึงทำอะไร ผิดธรรมชาติคะ  (อ่าน 3392 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Goodbye

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 61
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือไปเห็นมาคะ จากการที่ได้เริ่มร่วมปฏิบัติธรรม สถานที่แห่งหนึ่ง

  คือในช่วงกลางวัน จะเงียบ ๆ นะคะ เพราะว่านักปฏิบัติ นอนกลางวันกันคะ
  แต่พอตอนกลางคืน ก็จะเห็นออกมาเดินจงกรมกัน คะ

 คือสงสัยว่า ทำไมนักภาวนาจึงใช้ชีวิตขัดกับชาวบ้านคะ

   :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำไมนักปฏิบัติ จึงทำอะไร ผิดธรรมชาติคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 11:45:04 am »
0
ก็เพราะว่าการปฏิบัติธรรม กับชีวิตชาวโลก ไม่สอดคล้องกันครับ
ธรรมเหนือโลก ที่เรียกว่า โลกุตตรธรรม นั้น ไม่สามาารถไปกันได้กับ โลกียธรรม ครับ


 เหตุผล น่าจะมีเพียงเท่านี้ นะครับ

  ยกตัวอย่างเรื่อง ของศีล .... ชาวบ้านทั่วไป ก็ใช่ รักษา ศีลได้ หรือ ปฏิบัติได้ นะครับ
  คนมีศีล มีเนื้อบริโภค มาจากไม่มี ศีล เป็นผู้ฆ่า .... คิดง่าย ๆ ก็แค่นี้ นะครับ


  :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28527
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำไมนักปฏิบัติ จึงทำอะไร ผิดธรรมชาติคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 11:59:17 am »
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔

ว่าด้วยการแบ่งเวลา
    [๗๕๐] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก ความว่า ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและกลางวันให้เป็น ๖ ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก.

    [๗๕๑] คำว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน

        พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น
        ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี


        พึงสำเร็จสีหไสยา (นอนเหมือนราชสีห์)
        โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ
        ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี


        กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น
        ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี.


    คำว่า ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น คือ พึงซ่องเสพ ซ่องเสพพร้อม ซ่องเสพเฉพาะ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.

    คำว่า มีความเพียร ความว่า วิริยะเรียกว่าความเพียร ได้แก่การปรารภความเพียร ความก้าวออก ความก้าวหน้า ความย่างขึ้นไป ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมั่นคง ความทรงไว้ ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ความประคองธุระไว้

    วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันเป็นไปทางจิต ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงเข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยความเพียรนี้ภิกษุนั้นเรียกว่า มีความเพียร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น.
[/size]

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=7639&Z=9093&pagebreak=0
อ่านอรรถกถาได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=699&p=3



ยาม คราว, เวลา, ส่วนแห่งวันคืน

ปฐมยาม ยามต้น, ยามที่หนึ่ง, ส่วนที่หนึ่งแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน;เทียบ มัชฌิมยาม, ปัจฉิมยาม

มัชฌิมยาม ยามกลาง, ส่วนที่ ๒ ของราตรี เมื่อแบ่งคืนหนึ่งเป็น ๓ ส่วน, ระยะเที่ยงคืน;เทียบ ปฐมยาม, ปัจฉิมยาม

ปัจฉิมยาม ยามสุดท้าย, ช่วงสุดท้ายแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน;เทียบ ปฐมยาม, มัชฌิมยาม



อ้างอิง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ยาม
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C2%D2%C1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2012, 12:20:36 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28527
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำไมนักปฏิบัติ จึงทำอะไร ผิดธรรมชาติคะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 12:19:18 pm »
0


ยาม, ยาม-
    [ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม;
        ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม;

        (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ;

        คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน;
        คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).


อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒





    ๑. ตามความเข้าใจของผม สมัยพุทธกาลน่าแบ่งกลางคืนออกเป็น ๓ ยาม แบบนี้ครับ
     ปฐมยาม คือ ๖ โมงเย็น ถึง สี่ทุ่ม
     มัชฌิมยาม คือ สี่ทุ่ม ถึง ตีสอง
     ปัจฉิมยาม คือ ตีสอง ถึง ๖ โมงเช้า

     กลางวันก็เช่นกัน คือ
     ยามแรก ๖ โมงเช้า ถึง ๑๐ โมงเช้า
     ยามที่สอง ๑๐ โมงเช้า ถึง บ่ายสองโมง
     ยามที่สาม บ่ายสองโมง ถึง ๖ โมงเย็น


   ๒. คำตรัสที่ว่า "ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและกลางวันให้เป็น ๖ ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน"
     ก็น่าจะเป็น แบ่งเวลากลางวัน ๓ ส่วน กลางคืน ๓ ส่วน รวมเป็น ๖ ส่วน


   ๓. คำตรัสที่ว่า
     "พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี
     ก็น่าจะหมายถึง ช่วงเวลา หกโมงเย็น ถึง สี่ทุ่ม ให้ทำกรรมฐานด้วยการนั่งและเดิน


   ๔. คำตรัสที่ว่า
     "พึงสำเร็จสีหไสยา (นอนเหมือนราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี"
     ก็น่าจะหมายถึง ตั้งแต่สี่ทุ่ม ถึง ตีสอง ให้นอน


   ๕. คำตรัสที่ว่า
     "กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี."
     ก็น่าจะหมายถึง ตีสองให้ตื่นมา เดินจงกรม และนั่งกรรมฐาน จนถึงหกโมงเช้า

     ในเวลากลางวันที่เหลืออีก ๓ ส่วน ก็น่าจะให้เดินจงกรมและนั่งกรรมฐาน


   
      ดังนั้น คำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
     "ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและกลางวันให้เป็น ๖ ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ ๕ ส่วน นอนหลับ ๑ ส่วน"
     น่าหมายถึง ให้ปฏิบัติด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ๒๐ ชั่วโมง และให้นอน ๔ ชั่งโมง


     ส่วนการปฏิบัติธรรมในรูปแบบอื่นๆ การที่จะกำหนดว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่อย่างไรของแต่ละคน
     ผมว่า อย่าไปสนใจเลย ขอให้สนใจตัวเองให้มากๆ เนื่องจากมรรค ๘ เป็นทางเฉพาะตน
     จริตวาสนา ความชอบความชัง ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่ควรสรุปโดยเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐาน

      :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

pinmanee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 163
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำไมนักปฏิบัติ จึงทำอะไร ผิดธรรมชาติคะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 12:33:27 pm »
0
คือไปเห็นมาคะ จากการที่ได้เริ่มร่วมปฏิบัติธรรม สถานที่แห่งหนึ่ง

  คือในช่วงกลางวัน จะเงียบ ๆ นะคะ เพราะว่านักปฏิบัติ นอนกลางวันกันคะ
  แต่พอตอนกลางคืน ก็จะเห็นออกมาเดินจงกรมกัน คะ

 คือสงสัยว่า ทำไมนักภาวนาจึงใช้ชีวิตขัดกับชาวบ้านคะ

   :smiley_confused1:

น่าจะเป็นเพราะว่า กลางวันมีคนพลุกพล่าน ก็เลยต้องเปลี่ยนชีวิตมาเป็นเกลางค่ืน ที่มีความสงัดนะคะ
อย่างไรเสียก็มีการภาวนา คะ อนุโมทนา พลอยยินดี ด้วยคะ

 ไม่ต้องสงสัย อะไรคะ ....ถ้า เราสงสัยก็สงสัย ตัวเอง ดีกว่าคะว่าควรจะทำอย่างไร ในสถานการณ์ที่การปฏิบัติภาวนาควรใช้เวลาไหน ดี..... อย่างน้อยสั่งสมบุญ... ด้วย ปัตตานุโมทนามัย คะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ทำไมนักปฏิบัติ จึงทำอะไร ผิดธรรมชาติคะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 12:35:02 pm »
0
คือสงสัยว่า ทำไมนักภาวนาจึงใช้ชีวิตขัดกับชาวบ้านคะ



หากผมกระทู้ถามตัวเองคงมิต่างกัน กล่าวคือ โลกวุ่นวายผู้คนจนจมอัปรีย์ศีลไม่เอาธรรมไม่มี เอาเปรี่ยบเห็นแก่ตัว  หยิบยื่นเบียดเบียนกันให้ได้ทุกข์ด้วยกาม ที่ใดใดในโลกล้วนเร้าร้อนหม่นไหม้ทั่ว ไม่ภาวนาก็ไม่เห็นในความจริงข้อนี้ หากคุณดีโลกก็ริษยา หากอยากชั่วก็อยู่วุ่นวายกันได้ โลกเนื้อแท้แล้วไม่ต้องการคนดีดีเกินไปไม่เอากัดกันบ้างจึงดีดังนั้นคุณชาติของความเป็นคนมี

1.รัก เสนอสนองต้องใจละอายทิ้ง เรียกว่า ของกู 
2.โลภ ตัณหาก่ออยากร่ำไปไม่สิ้น เรียกว่า เห็นแก่ตัว 
3.โกรธ ขัดขืนข่มริษยาฤาเกรง เรียกว่า ตัวกู
4.หลง มืดบอดเมามัวชั่วเป็นอาจินต์เบียดเบียนตัวและคนอื่น เรียกว่า พาล


เหตุนี้โลกจึงชื่อว่า โลกีย์ มีวิถีดำรงอยู่ด้วยกามหาให้มีกินเกินเข้าไว้ ดังนั้นนักภาวนาต้องมองความจริงเห็นเหตุจึงเลี่ยงหนีหลบเร้นมิเช่นอาจถูกเบียดเบียนได้

สุดท้าย : ทุกคนรู้ความสุขอยู่ที่ ใจ แต่ไม่เคยถาม ใจ ดีแต่ตามใจ จึงหม่นทุกข์มิหาหนอับจนทางขวางตนเอง ครับ!




http://www.phuttawong.net/index.aspx?ContentID=ContentID-051228092901209
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2012, 12:49:57 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา