ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การเห็น ความเกิด ดับ จะเห็น ได้ในตอนไหน คะ  (อ่าน 3318 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

 การเห็น ความเกิด ดับ จะเห็น ได้ในตอนไหน คะ

 ด้วยความสงสัย คะ และผลการเห็นในเบื้องต้น คือ อย่างไร คะ


  thk56
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การเห็น ความเกิด ดับ จะเห็น ได้ในตอนไหน คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2013, 09:50:10 am »
0
การเห็นความเกิด ความดับ น่าจะมีอยู่ในวิปัสสนา นะคะ คือการยกจิตที่เป็นสมาธิ เข้าพิจารณาธรรม คะ

  :s_hi:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การเห็น ความเกิด ดับ จะเห็น ได้ในตอนไหน คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2013, 10:26:49 am »
0



ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด)

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปเป็นธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม)
๒. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็น)
๓. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน)

 :s_good: :s_good: :s_good:

(๔-๑๒. ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙)

วิปัสสนาญาณ ๙ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง)

๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด)
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด)
๖. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น)
๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์)
๘. นิพพทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ)
๙. มุญฺจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น)
๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป)

 :s_good: :s_good: :s_good:

๑๑. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร, คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้)

๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป)

ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค
แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะท่านเติม สัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ ๕ ตามแนวไตรลักษณ์ ) เข้ามาเป็นข้อที่ ๑ จึงรวมเป็น วิปัสสนาญาณ ๑๐ และเรียกชื่อญาณข้ออื่นๆ สั้นกว่านี้ คือ เรียก อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ

 :25: :25: :25:

๑๓. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล)
๑๔. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น)
๑๕. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ)
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่)

 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ในญาณ ๑๖ นี้ ๑๔ อย่าง (ข้อ ๑-๑๓ และ ๑๖) เป็น โลกียญาณ, ๒ อย่าง (ข้อ ๑๔ และ ๑๕) เป็น โลกุตตรญาณ
 
ญาณ ๑๖ (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ ๑๖ นั่นเอง) ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้ มิใช่มาในพระบาลีเดิมโดยตรง พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมา โดยประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา


(พึงดู ขุ.ปฏิ.๓๑/มาติกา/๑-๒ และ วิสุทธิ.๓/๒๐๖-๓๒๘)
ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)


    ans1 ans1 ans1
   
    การเห็นความเกิดดับ เรียกว่า เห็นไตรลักษณ์
    ถามว่า เห็นตอนไหน
    ตอบว่า เห็นในวิปัสสนาญาณ
    ถามว่า  เห็นในญาณไหน
    ตอบว่า ตอบตามแนวอภิธรรม จะเห็นตั้งแต่ "สัมมสนญาณ"
    แต่หากตอบตามแนวพระสูตรต้องบอกว่า จะเห็นไตรลักษณ์ได้อย่างแท้จริง ต้องเห็นใน "อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ"
    อรรถกถาจารย์บอกว่า วิปัสสนาญาณที่แท้จริงต้องเริ่มที่ "อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ"

    :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การเห็น ความเกิด ดับ จะเห็น ได้ในตอนไหน คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2013, 10:35:38 am »
0
ask1

 การเห็น ความเกิด ดับ จะเห็น ได้ในตอนไหน คะ

 ด้วยความสงสัย คะ และผลการเห็นในเบื้องต้น คือ อย่างไร คะ


  thk56



ans1 ans1 ans1

ขอนำบทความในกระทู้ "ลำดับขั้น...เข้าสู่อริยมรรค"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3409.0
มาให้อ่านบางส่วน เพื่อเสริมความเข้าใจ



 :welcome: :welcome: :welcome:

3. สัมมสนญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ สำนึกรู้บาปบุญคุณโทษ จิตใจเยือกเย็น เสียงนิ่ม เสียงอ่อนโยนกว่าเดิม และนึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แล้วต่อด้วยปิติทั้ง 5 เช่นขนลุก ตัวโยก ตัวเบา ฯลฯ


ปริยัติธรรม ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน

ความรู้จากการปฏิบัติ การรู้สำนึกบาปบุญคุณโทษเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ใช่เรื่องของวิปัสสนาญาณซึ่งเป็นเรื่องที่มุ่งเรียนรู้ธรรมชาติทั้งปวงตามความเป็นจริง ว่ามันเป็นไตรลักษณ์ ตามธรรมดาคนที่จิตสงบลง บรรดาจิตใต้สำนึกหรือวิบากกรรมที่เก็บไว้ในภวังคจิตมักจะโผล่ขึ้นมา เช่น เคยจับลิงกดน้ำก็จะระลึกได้ถึงบาปที่ทำ เคยเลวร้ายต่อพ่อแม่ก็จะระลึกได้ ที่ว่าจิตใจเยือกเย็น เสียงนิ่ม เสียงอ่อนโยนนั้น เป็นอาการของจิตที่ติดอารมณ์สงบทั้งสิ้น

บรรดาท่านไม่ได้ติดในอารมณ์สมถะ ท่านเคยพูดอย่างไรท่านก็พูดอย่างนั้น เพียงแต่จิตของท่าน ประกอบด้วยเมตตา ไม่มีอาการเสียงอ่อนเสียงนิ่มเป็นคราวๆ แต่อย่างใด และยิ่งสอนว่าเกิดปิตินั้น ยิ่งเป็นการฟ้องให้เห็นว่าสิ่งที่เข้าใจว่าทำญาณนั้น จริงๆ คือการทำสมถะเท่านั้นเอง

สัมมสนญาณ เป็นสภาวะต่อเนื่องจากปัจจยปริคคหญาณ คือเมื่อเราเห็นว่านามรูปมีวิญญาณ (ความรับรู้) เป็นปัจจัยให้มันปรากฏ เมื่อเจริญสติสัมปชัญญะมากขึ้น จิตจะเห็นความจริงชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย สัมมสนญาณว่า ทั้งรูปและนามล้วนแต่ปรากฏเป็นคราวๆ

ถ้าจิตไม่ไปรู้มันเข้า มันก็ไม่ปรากฏ และสิ่งที่ปรากฏนั้นมันตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ คือ มันไม่เที่ยง (อนิจจัง) และเป็นของที่ทนอยู่ได้ชั่วขณะแล้วก็ดับหรือเปลี่ยนสภาพไป (ทุกขัง) ทั้งนี้เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน และสิ่งที่ปรากฏให้จิตรู้นั้น เป็นของภายนอกที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา(อนัตตา) ความรู้เหล่านี้เป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ ไม่มีอาการของสมถะเข้ามาปะปนเลย



 :25: :25: :25:

4. อุทยัพพยญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เห็นการเกิดดับของรูปนาม เช่นกำหนดยุบหนอพองหนออยู่ จิตสงบเงียบ งีบผงะไปข้างหลัง ใช่แล้วได้ญาณที่ 4 หรือเดินจงกรมอยู่มีอาการเหมือนตกวูบ อันนี้ชื่อว่าเห็นการเกิดดับของรูปนามแล้ว


ปริยัติธรรม ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือพิจารณาความเกิดขึ้นและดับไปแห่งขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งหมด ในตำราอื่นๆ กล่าวถึงอุทยัพพยญาณว่ามี 2 ระดับคือ
(1) ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นญาณอย่างอ่อน และหากดำเนินผิดพลาดจะเกิดวิปัสสนูปกิเลส และ
(2) พลวอุทยัพพยญาณ เป็นญาณเห็นความเกิดดับที่มีความเข้มแข็ง พ้นจากวิปัสสนูปกิเลส


ความรู้จากการปฏิบัติ อาการผงะ หรือตกวูบ เป็นอาการของจิตที่ขาดสติอย่างหนึ่ง หรือเป็นอาการที่จิตรวมเพราะอำนาจสมถะแต่ขาดความชำนาญอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่มีปัญญา แต่มันเกิดจากการที่สติอ่อนเกินไป ในทางปฏิบัติจะสอดคล้องกับปริยัติธรรม คือ ญาณนี้จำแนกเป็น 2 ช่วงตอน ได้แก่


 :bedtime2: :bedtime2: :bedtime2:

•   ตรุณอุทยัพพยญาณ ญาณช่วงนี้เป็นอุทยัพพยญาณขั้นเริ่มต้น ได้แก่การมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว และมีสติระลึกรู้อารมณ์คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายและธรรมารมณ์(ความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ) เช่นรู้รูปนั่ง รูปเดิน รูปยุบ รูปพอง รู้ความคิด รู้บริกรรมพุทโธ รู้บริกรรมสัมมาอรหัง รู้บริกรรมหนอ และรู้ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ตามสัญญาอารมณ์ เช่น รู้ว่ากำลังคิดถึงบ้าน และคิดถึงลูก เป็นต้น

ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่าอารมณ์ที่ถูกรู้ทั้งปวงนั้นเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ ในขั้นนี้หากสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอ่อนลง จิตจะไหลตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์ที่จิตรู้ เช่นกำลังเดินจงกรม จิตก็ไปอยู่ที่เท้า กำลังเคลื่อนไหวมือ จิตก็ไปอยู่ที่มือ กำลังบริกรรมพุทโธหรือบริกรรมหนอ จิตก็ไปอยู่กับพุทโธหรือหนอ

สภาพนี้คือจิตพลิกจากการทำวิปัสสนาซึ่งต้องประกอบด้วยความรู้ตัวไม่หลงตามอารมณ์ ไปเป็นสมถะคือการที่จิตหลงตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์อันเดียว ในขั้นนี้หากสิ่งใดปรากฏขึ้น เช่นเกิดแสงสว่าง เกิดปัญญาแตกฉาน เกิดญาณพิเศษต่างๆ เกิดการตั้งสติแข็งกล้าจนอึดอัด ฯลฯ ผู้ปฏิบัติจะเกิดสำคัญมั่นหมายว่า สิ่งที่เกิดนั้นเป็นของดีของวิเศษ เกิดมานะอัตตารุนแรง นั่นคือ วิปัสสนูปกิเลส

 :34: :34: :34:

•   พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่มีกำลังเข้มแข็ง คือแทนที่ผู้ปฏิบัติจะหลงดูแต่อารมณ์หยาบๆ เช่นรูปนั่ง รูปเดิน หรือคำบริกรรม หรือความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ ผู้ปฏิบัติที่มีกำลังของสัมปชัญญะและสติปัญญามากขึ้น สามารถดูเข้าไปถึงปฏิกิริยาของจิตที่เกิดขึ้นเมื่อจิตไปรู้อารมณ์ต่างๆ เช่นในขณะที่เดินจงกรมเกิดความรู้สึกตัวเบา แทนที่สติจะรู้แค่ว่าเดินและตัวเบา

สติกลับเห็นลึกซึ้งต่อไปว่า ในขณะนั้นจิตมีความเบิกบาน เพลิดเพลินยินดีมีราคะที่ตัวเบาสบาย และมีตัณหาอยากให้ตัวเบาอยู่อย่างนั้นนานๆ หรือบริกรรมหนออยู่ จิตเกิดอึดอัด สติก็รู้ว่าจิตไม่ชอบใจหรือมีโทสะต่อความอึดอัด และจิตมีตัณหาคืออยากให้หายจากความอึดอัด หรือในขณะนั้นความจำ (สัญญา) เกี่ยวกับลูกเกิดขึ้น แล้วจิตคิดกลุ้มใจไปต่างๆ นานาๆ สติปัญญาก็กล้าแข็งพอที่จะเห็นว่า จิตส่งออกไปเกาะเกี่ยวพัวพันเรื่องลูก จิตเป็นทุกข์ไม่สบาย เห็นโทสะที่เกิดขึ้น

และเห็นความอยากจะให้ความทุกข์ดับไป หรือขณะนั้นนั่งดูจิตเห็นว่างๆ ระเดี๋ยวความคิดผุดขึ้นไม่ว่างเสียแล้ว เดี๋ยวคิดดี เดี๋ยวคิดร้าย เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ และเห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า เป็นราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง เป็นบุญบ้าง เป็นกลางๆบ้าง สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปไม่ขาดสาย นี่เป็นอุทยัพพยญาณที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกชั้นหนึ่ง คือเปลี่ยนจากการเห็นสิ่งที่มากระทบ เป็นการเห็นปฏิกิริยาของจิตต่อสิ่งที่มากระทบนั้น และเป็นขั้นที่วิปัสสนูปกิเลสแผ้วพานไม่ได้ เพราะจิตฉลาดรู้เท่าทันกลมายาของกิเลส เนื่องจากอ่านจิตใจของตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


 :25: :25: :25:




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=1267&Z=1359


       [๑๐๓] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณอย่างไร ฯ
       รูปที่เกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งรูปที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิดเป็นลักษณะ ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ
       เวทนาเกิดแล้ว สัญญาเกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯลฯ
       ภพเกิดแล้วเป็นปัจจุบัน ชาติแห่งภพที่เกิดแล้วนั้นมีความเกิดเป็นลักษณะ ความเสื่อมมีความแปรปรวนเป็นลักษณะ ปัญญาที่พิจารณาเห็นดังนี้ เป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ ฯ


ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=103
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 20, 2013, 10:40:56 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การเห็น ความเกิด ดับ จะเห็น ได้ในตอนไหน คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2013, 09:50:43 am »
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การเห็น ความเกิด ดับ จะเห็น ได้ในตอนไหน คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2013, 10:31:12 am »
0
st11 st12 thk56

     

มีใครอ่านพระไตรปิฏกได้เข้าใจบ้าง.?
บุคคลชื่อว่าบัณฑิต ตีความจากการที่เขาเรียน อ่านมาก ตรรกะเยอะ พูดเป็น กิริยาออกสังคมได้ ว่านั่นใช่เลยบัณฑิตก็ยังให้รู้สึกคาใจ โดยมากในความเข้าใจใดใดในอรรถความจะแสดงภูมิปัญญาวิตกวิจารณ์กันเสียมาก แต่ภูมิปัญญาธรรมต้องเป็นมุนี เถร โยคาวจรบุคคล ผู้ภาวนาหยั่งปัญญาญาณจึงชื่อว่าบัณฑิตแท้ เราท่านพึงฟังโดยดุษฎีได้ งมงาย หรือจะเขลาเอาดีเพียงตัว พิจารณาเอานะครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 21, 2013, 11:06:21 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา