ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เตโช วาโย อาโป ปถวี (The four Elements) 8 - 22 ส.ค.54  (อ่าน 6958 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

wipadakao

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เตโช วาโย อาโป ปถวี (The four Elements) 8 - 22 ส.ค.54
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2011, 08:34:07 am »
0


หากเราเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทั้งหมด ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ล้วนเกิดจากพลวัตแห่งธาตุทั้ง 4 อันประกอบด้วย เตโช(ไฟ) วาโย(ลม) อาโป(น้ำ) ปถวี(ดิน) อันเป็นธาตุพื้นฐานของโลก และหากธาตุใดเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือด้วยน้ำมือมนุษย์ก็ตาม ก็จะเกิดการ ถ่ายเทพลังงานจากธาตุหนึ่งสู่ธาตุหนึ่ง กระทบ สะเทือน ต่อๆกันไปเป็นวัฏฏะ ธรรมชาติก็จะ “สำแดงออกมาให้ปรากฏ” (ปรากฏการณ์) ไม่ว่าจะเป็นฝนตก แดดจ้า พายุและแผ่นดินไหว เป็นต้น จะเบาบางหรือรุนแรงจนเป็น มหันตภัยทำลายล้าง ล้วนขึ้นอยู่แก่เหตุปัจจัยแห่งพลวัตของธาตุทั้ง 4 ทั้งสิ้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตั้งต้น เพียงเล็กน้อย อาจก่อให้เกิดผลกระทบที่คาดไม่ถึงก็เป็นได้
   ผลงานชุด “เตโช วาโย อาโป ปถวี” (The Four Elements) เป็นผลงานเทคนิคสีหมึกจีน และหมึกญี่ปุ่น บนกระดาษ ที่ระเบิดระบายโดยอิสระ เต็มไปด้วยพลังความเคลื่อนไหว ผสมกลมกลืนและต่อสู้รุกรานแสดงรูปลักษณ์ทางธรรมชาติอันลี้ลับ ที่พ้นจากมิติของพื้นที่และกาลเวลา ล่วงลึกเข้าไปในโลกแห่งอุดมคติของศิลปิน มุ่งสะท้อนถึงความงามแบบตะวันออก ทั้งยังแสดงถึงความละเอียดอ่อนและความสงบ ที่เชื่อมโยงกับปรัชญาทางธรรมชาติ
วันเริ่มงาน :08 ส.ค. 2554  - 22 ส.ค. 2554
จังหวัด :กรุงเทพมหานคร
สถานที่จัดงาน :ณ ห้องนิทรรศการชั้น 1 ห้อง 3 - 4
ผู้จัดงาน :นฤพนธ์ ชุติวรรณโสภณ
เว็บไซด์ :http://jamjureeartgallery.blogspot.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2011, 08:35:56 am โดย wipadakao »
บันทึกการเข้า

wipadakao

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
กาละสยาม 9 ส.ค. - 11 ก.ย.54
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2011, 08:37:36 am »
0




โดย เกริกบุระ ยมนาค
ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม – 11 กันยายน 2554
 
พิธีเปิดวันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2554 เวลา 18.30 น.
ณ อาร์เดลเธิร์ดเพลส แกลเลอรี (ทองหล่อซอย 10)
 
นิทรรศการ “กาละ สยาม” นำเสนอผลงานวาดเส้นด้วยดินสอถ่าน (Charcoal), จิตรกรรมสีน้ำ และจิตรกรรมสีฝุ่นเทมเพอรา (egg tempera)
ที่งดงามด้วยรายละเอียดของทิวทัศน์ในธรรมชาติอันบริสุทธิ์ และภาพของสถาปัตยกรรมเก่าแก่อันทรงคุณค่าในเมืองไทย ซึ่งเสมือนเป็นบทบันทึก
แห่งอดีตกาล ผ่านทักษะฝีมืออันเชี่ยวชาญ โดย เกริกบุระ ยมนาค ศิลปินชั้นครูผู้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการ ศิลปะของไทย
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล
โทร: 02-422-2092, 086-890-2762
แฟกซ์: 02-422-2091
อังคาร-เสาร์ 10.30 - 19.00 น.
อาทิตย์ 10.30 - 17.30 น.
(ปิดวันจันทร์) เว็บไซต์: www.ardelgallery.com
บันทึกการเข้า

wipadakao

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ประัเพณี ทิ้งกระจาก สุพรรณบุรี 17 - 21 ส.ค.54
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2011, 08:38:56 am »
0


งาน  “ประเพณีทิ้งกระจาดจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2554”
จังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับ คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กำหนดจัดงาน “ประเพณีทิ้งกระจาดสุพรรณบุรี ประจำปี 2554”  ในระหว่างวันที่ 17 – 21 สิงหาคม  2554  ณ บริเวณสมาคมตงฮั้วฮ่วยก้วง ถนนพันคำ  อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
 
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น การสืบสานประเพณีการทิ้งกระจาด การทำบุญ บริจาคทานของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนของจังหวัดสุพรรณบุรีให้คงอยู่สืบไป และทำให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรีให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น งานประเพณีทิ้งกระจาดสุพรรณบุรี จัดขึ้นโดยพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน ที่มีความศรัทธาต่อเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในแต่ละปีจะมีประชาชนจากทั่วสารทิศเดินทางเข้ามาสักการบูชาขอพรจากเจ้า พ่อหลักเมืองเป็นประจำทุกวัน ดังนั้น ในการจัดงานประเพณีดังกล่าวจึงเป็นการร่วมทำบุญ อุทิศส่วนบุญกุศลให้เป็นมงคลแก่ชีวิตตนเอง และครอบครัว โดยจะมีพิธีอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมือง แห่ไปรอบๆ เมืองสุพรรณบุรี เพื่อให้ประชาชนตามบ้านเรือนได้ตั้งโต๊ะหมู่บูชาสักการะเจ้าพ่อหลักเมืองได้ อย่างทั่วถึง งานทิ้งกระจาดดิน จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 25 – 28 สิงหาคม 2554 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ที่ทำการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 0 3553 5380
วันเริ่มงาน :17 ส.ค. 2554  - 21 ส.ค. 2554
จังหวัด :สุพรรณบุรี
สถานที่จัดงาน :ณ บริเวณสมาคมตงฮั้วฮ่วยก้วง ถนนพันคำ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
ผู้จัดงาน :ททท. รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
เว็บไซด์ :http://www.suphan.net
บันทึกการเข้า

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เตโช วาโย อาโป ปถวี (The four Elements) 8 - 22 ส.ค.54
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2011, 03:31:27 pm »
0
 :13: :13: :13:
บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

pinmanee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 163
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เตโช วาโย อาโป ปถวี (The four Elements) 8 - 22 ส.ค.54
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2011, 04:18:28 pm »
0
คุณ wipadakao มีข้อมูลงาน อื่น ๆ ก็นำมาลงให้ทราบอีกนะคะ

 :c017:

บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: จตุธาตุววัฏฐาน (The four Elements)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 12:47:38 pm »
0
ธาตุบรรพ : พระจตุธาตุววัฏฐาน



ธาตุบรรพ คือ การรับรู้ตามความเป็นจริงของกายนี้ ว่ากายนี้ประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง
ธาตุ "น้ำ" คืออิ่มเอิบ ซึมซาบ ไปทั่วสรรพางค์กาย
ธาตุ "ลม" คือลมที่กระทบรับรู้ รู้สึกได้ โยกโคนไปมา ลมที่ทำให้ร่างกายไหวติง
ธาตุ "ไฟ" คือมีทั้งความเย็นแล้วก็ความร้อน ไฟมีทั้งไฟเย็น และไฟร้อน มีอานุภาพ อุณภูมิสูงกว่าไฟที่ร้อน
ธาตุ "ดิน" ลักษณะอาการ คือ แข็ง แล้วก็ยืดหยุ่นได้

ในธาตุดินก็ตาม น้ำก็ตาม ลมก็ตาม ไฟก็ตาม ก็ยังประกอบไปด้วยธาตุทั้งสี่อีก พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าให้เราพิจารณากายในกาย แค่รับรู้ว่าดิน น้ำ ลม ไฟ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ตามหลักของอนัตตลักษณะสูตร (อนัตตลักษณะ – ลักษณะที่เป็นอนัตตา)

ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่

๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ
๔. เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา)

หรือหลักการสุญญตา คือยังไม่ถือว่าเป็นดินแท้ ยังไม่ถือว่าดินนั้นเป็นดินแท้ เหตุผลก็เพราะว่า ดินนั้นยังประกอบไปด้วยธาตุทั้งสี่อีก คือดินยังมีความชื้น (ธาตุน้ำ) มีความอุ่น(ธาตุไฟ)อยู่ แล้วยังมีฟองอากาศ(ธาตุลม)อยู่ในดินนั้น ในดินหนึ่งก้อนก็ยังมีดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่ แต่ว่าในดินนั้นมีธาตุดินที่มากกว่าธาตุน้ำ มากกว่าธาตุลม ธาตุไฟ เขาก็เลยเรียกว่าดิน

ในน้ำมีอุณหภูมิ ก็ยังมีความอุ่น (ธาตุไฟ) ในน้ำยังมีดินตะกอน (ธาตุดิน) ในน้ำมีอากาศ (ธาตุลม) เมื่อน้ำมีดิน ลม ไฟ แต่ในน้ำนั้นมีธาตุน้ำมากกว่า ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุดิน เขาจึงเรียกว่า ธาตุน้ำ

ในกระบวนการของดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ไม่มีตัวตน นี่คือลักษณะการพิจารณา "ธาตุ" พิจารณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่ได้พิจารณาว่า ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ไฟเป็นไฟ ลมเป็นลม ถ้าพิจารณาอย่างนี้ก็เป็น ลักษณะมองให้เห็นว่าเป็นของเที่ยง มองให้เห็นว่ามีตัวตน ซึ่งผิดหลักของวิปัสสนา และผิดหลักการของมหาสติปัฏฐาน แล้วผิดตามหลักของคำสอน มันก็จะกลายเป็นคำสอนของศาสนาฮินดู พราหมณ์ ที่เป็นปรมัน อาตมัน เป็นเรื่องมีตัวตน มีสัญลักษณ์ ที่จับต้องลูบคลำได้

แต่หลักการพิจารณาในจตุธาตุวัฏฐาน ในธาตุบรรพ ต้องพิจารณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้าพิจารณาถึงหลักลักษณะนี้ได้ ก็จะสามารถเข้าใจ และซึมซาบถึงหัวใจของการพิจารณาจตุธาตุวัฏฐาน ๔

พระพุทธเจ้าบอกว่า เราต้องมีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม พิจารณากายในกาย ทั้งภายในและภายนอก ว่าประกอบไปด้วยธาตุทั้งสี่  มีอยู่เพียง "จิต" เป็นผู้ควบคุมธาตุทั้งสี่

"อวิชชา" ทำให้คนเรามาเกิด อวิชชามีกรรม (เรามีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย มีกรรมเป็นที่มาที่ไป) "กรรม" เป็นผู้ควบคุมจิต (กรรมนำจิตมาจุติ ก่อนที่จะปฏิสนธิ) "จิต" เป็นผู้ควบคุมธาตุลม (ไฟจะไม่ลุก ไม่ติดในที่เป็นสุญญากาศ) เมื่อลมหายไฟก็ดับ (คนตายแล้วจึงตัวเย็น) "ไฟ" ควบคุมธาตุน้ำ เมื่อน้ำในคนที่ตายไม่มีผู้ควบคุม คนตายจึงมีลักษณะอืด เขียว พอง เพราะน้ำไม่มีที่จะออก เพราะน้ำไม่ได้ถูกไฟเผาผลาญให้ออกมาทาง น้ำเหงื่อ น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำมูตร น้ำคูถ น้ำเยี่ยว มันก็จะอืด เมื่อน้ำไม่หาย ไม่ถูกไฟเผาผลาญ ก็จะทำการละลายดิน คนที่ตายแล้ว ๗ วัน ๑๐ วัน ๑๕ วัน ผิวหนัง เส้นเอ็น ผม ขน เล็บ ในร่างกาย ส่วนที่บางก็จะถูกน้ำทะลุทะลวงออกมา คนที่ตาย น้ำเหลืองจึงทะลุออกมา ธาตุดินก็ปฏิเสธน้ำไม่ได้ เพราะถ้าปฏิเสธน้ำ ก็จะกลายเป็นหินและทราย ส่วนธาตุดินจริงๆ นั้น ก็ควบคุมธาตุน้ำอีกที

การพิจารณาอย่างนี้ทำให้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ จึงเป็นลักษณะ สมมติบัญญัติ ซึ่งหลักการพิจารณาธาตุทั้งสี่ มีหลักการพิจารณาอยู่ ๒ หลักการ คือ สมมติบัญญัติ กับ ปรมัตถ์บัญญัติ การพิจารณาในหลักของสมมติบัญญัติ คือ เห็นในรูปด้วยตา

อวิชชา ทำให้เกิด จุติ ปฏิสนธิ แล้วก็ต้องทำกรรม กรรมทำหน้าที่ ควบคุมจิต ที่ปฏิสนธินั้น จิตควบคุมธาตุลม ลมควบคุมธาตุไฟ ไฟควบคุมธาตุน้ำ น้ำควบคุมดิน ดินควบคุมน้ำ นี่เป็นสมมติสัจจะ

ในร่างกายเรา (ในอาการ ๓๒) ว่าส่วนที่เป็นดิน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็นน้อยใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า ลำไส้ ตับไต ม้าม หัวใจ ฯ ส่วนธาตุน้ำ คือ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี น้ำลาย น้ำมูตร น้ำคูถ น้ำเหงื่อ ฯ ธาตุไฟ คือ ไฟธาตุที่ใช้ย่อยอาหาร ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ไฟที่ช่วยระบบขับถ่าย แล้วก็ไฟที่กำเริบขึ้นบน ลงล่าง เช่น อาการไข้ ธาตุลม คือ ลมที่พัดพาอยู่รอบๆ ตัวเรา ลมในลำไส้ ลมในกระเพาะในไขกระดูก ในสมอง ฯ และลมนอกกายที่ทำให้โยกโคน อ่อนไหว

ทั้งหมดนี้เป็นสมมติสัจจะ ที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาเบื้องต้น

ธาตุ 6 ก็เพิ่ม อากาศธาตุ ..สภาวะที่ว่าง กับ
วิญญาณธาตุ ..สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้

องค์พระศาสดาทรงกล่าวสอนว่า ...คนเรานี้ เป็น ธาตุ 4 บ้าง ขันธ์ 5 บ้าง..
เพื่อให้รู้จักสภาวะของกาย ให้ถอนอุปาทานในอัตตา คือ ..
ความยึดติดถือมั่นว่าเป็น เรา ออกไป..ให้ได้เป็นลำดับ ๆ ....จนกว่าจะสิ้นเชิง..!

การที่จิตยึดติดในรูป ก็นับว่าเป็นการยึดติดในธาตุ ในรูปขันธ์
รวมความก็คือ ยึดติดในอัตตา.. เมื่อรู้เท่าทันสภาวะดังที่กล่าวมาว่า ตนไม่มี เราไม่มี มีเพียงสภาวะธรรม... ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน เสื่อมไป ดับไป... ก็จะค่อย ๆ ถอนความยึดติดถือมั่น ในมายาธรรม ของลวงทั้งหลายได้




http://pha.narak.com/topic.php?No=18550
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 24, 2011, 11:55:22 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา