ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน  (อ่าน 12746 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
พระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน
« เมื่อ: มิถุนายน 16, 2011, 07:22:05 pm »
0
บุพพกรรมพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน



กล่าวเมื่อครั้งศาสนาของสมเด็จพระพุทธกัสสปโน้น
มีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าวิชิตาวีเสวยราชอยู่ในสาครนครราชธานี

พระองค์ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยสัคหวัตถุ ๔สร้างมหาวิหารลงไว้แม่น้ำคงคา ถวายพระเถระทั้งหลายที่ทรงคุณธรรมต่าง ๆ กันมีทรงพระไตรปิฎก เป็นต้นทั้งบำรุงด้วยปัจจัย ๔

เมื่อพระองค์ทรงสิ้นแล้วก็ได้ขึ้นไปบังเกิดเป็น พระอินทร์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานิสงกส์นั้นและมหาวิหารที่ท้าวเธอทรงสร้างไว้ ถึงพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ดีก็มีพระภิกษุอาศัยอยู่เป็นอันมาก

ในพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นพระภิกษุทั้งหลายผู้สมบูญด้วยข้อวัตรเป็นอันดี เช้าขึ้นก็ถือเอาไม้กวาดด้ามยาวแล้วนึกถึงพระพุทธคุณ แล้วจึงพากันกวาดบริเวณพระเจดีย์กวาดเอาหยากเยื่อไปรวมเป็นกองไว้

มีพระภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลองค์หนึ่งเรียกสามเณรองค์หนึ่งว่า

"จงมานี้...สามเณร ? จงหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งเสีย"

สามเณรนั้นก็เฉยอยู่ เหมือนไม่ได้ยินพระภิกษุองค์นั้นเรียกสามเณรนั้นถึง ๓ ครั้งเห็นสามเณรนั่งนิ่งเฉยอยู่เหมือนไม้ได้ยินก็คิดว่า สามเณรองค์นี้หัวดื้อจึงไปตีด้วยด้ามไม้กวาด สามเณรก็ร้องไห้ด้วยความเจ็บปวดแล้วหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งด้วยความกลัว

เมื่อหอบเอาหยากเยื่อไปทิ้งนั้นได้ปรารถนาว่า
“ ด้วยผลบุญที่เราได้หอบหยากเยื่อมาทิ้งนี่หากเรายังไม่ถึงนิพพานเพียงใดเราจะเกิดในภพใด ๆ ก็ตาม ขอให้เรามีเดชเหมือนกับดวงอาทิตย์เที่ยงวันฉะนั้นเถิด"

สามเณรตั้งความปรารถนาดังนี้แล้วก็เดินไปอาบน้ำที่แม่น้ำคงคา ดำผุดดำว่ายเล่นตามสบายใจ

เมื่อสบายใจแล้วก็ได้เห็นละลอกคลื่นในแม่น้ำนี้มากมายนักหนาก็ยินดีปรีดาจะใคร่มีปัญญาเฉลียวฉลาดไม่รู้สุดรู้สิ้น ดุจลูกคลื่นในแม่น้ำนั้นและได้คิดว่าอาจารย์ได้ใช้ให้เราหอบเอาหยากเยื่อมาทิ้งนี้ ไม่ใช่เป็นกรรมของเราทั้งไม่ใช่เป็นกรรมของอาจารย์แต่เป็นการอนุเคราะห์เราให้ได้บุญเท่านั้น

ครั้นคิดดังนั้นแล้ว จึงปรารถนาขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า
“ข้าพเจ้ายังไม่ถึงนิพพานตราบใดไม่ว่าข้าพเจ้าจะไปเกิดในชาติใด ๆ ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาไม่รู้สิ้นสุดเหมือนกับลูกคลึ่นในแม่น้ำคงคานี้เถิด”

ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์นั้นเมื่อเอาไม้กวาดไปเก็บไว้ที่โรงเก็บไม้กวาดแล้ว ก็ลงที่ท่าน้ำคงคาเพื่อจะอาบน้ำก็ได้ยินเสียงสามเณรตั้งความปรารถนา จึงคิดว่า
ความปรารถนาของสามเณรนี้เป็นความปรารถนาใหญ่ จะสำเร็จได้เพราะอาศัยพระพุทธคุณ

คิดดังนี้แล้วจึงหัวเราะขึ้นด้วยความดีใจว่า สามเณรนี้ถึงเป็นผู้ที่เราใช้ก็ยังปรารถนาอย่างนี้ความปรารถนาของสามเณรนี้ จักสำเร็จเป็นแน่แท้ คิดดังนี้แล้ว จึงตั้งความปรารถนาว่า
“ข้าพเจ้ายังไม่สำเร็จนิพพานตราบใดขอให้ข้าเจ้ามีปัญญาหาที่สุดมิได้เหมือนกับฝั่งแม่น้ำคงคานี้ ให้เป็นผู้สามารถแก้ไขปัญหาปฎิภาณทั้งปวงที่สามเณรนี้ไต่ถามได้สิ้น
ให้สามารถชี้แจงเหตุผลต้นปลายได้เหมือนกับบุรุษที่ม้วนกลุ่มด้ายสางด้ายอันยุ่งให้รู้ได้ว่า ข้างต้นข้างปลายฉะนั้นด้วยอำนาจบุญที่ข้าพเจ้าได้กวาดวัด และใช้สามเณรให้นำหยากเยื่อมาเททิ้งนี้เถิด"

เมื่อบุคคลทั้งสองนั้นท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเทพยดาและมนุษย์ ก็ล่วงมาถึง ๑ พุทธันดรพระพุทธเจ้าเราทั้งหลายผู้เป็นที่พึ่งของโลกได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า
ความเกิดขึ้นแห่งพระเถระ มีพระโมคคลีบุตรติสสเถระและพระอุปคุตตเถระเป็นต้นจักปรากฎฉันใด ความเกิดขึ้นแห่งบุคคลทั้งสองนั้น ก็จะปรากฎฉันนั้น

เมื่อเราปรินิพพานล่วงไปได้ ๕๐๐ ปีแล้ว บุคคลทั้งสองนั้นจักเกิดขึ้นธรรมวินัยอันใด อันเป็นของสุขุมที่เราแสดงไว้ ธรรมวินัยอันนั้นบุคคลทั้งสองนั้นจักแก้ไขให้หมดฟั่นเฝื่อด้วยการไต่ถามปัญหากัน ดังนี้

ต่อมาสามเณรนั้น ก็ได้มาเกิดเป็น พระเจ้ามิลินท์ ในสาคลนครอันมีในชมพูทวีปพระเจ้ามิลินท์นั้นเป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาดมีความคิดดีสามารถรู้เหตุการณ์อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันได้

เป็นผู้ใคร่ครวญในเหตุการณ์ถี่ถ้วนทุกประการ เป็นผู้ได้ศึกษาศาสตร์ต่าง ๆไว้เป็นอันมาก ถึง ๑๘ ศาสตร์ด้วยกัน รวมเป็น ๑๙ กับทั้งพุทธศาสตร์

ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการคือ

๑. รู้จักภาษาสัตว์มีเสียงนกร้อง เป็นต้นว่าร้ายดีประการใดได้สิ้น
๒. รู้จักกำหนิดเขาและไม้ เป็นต้นว่า ชื่อนั้น ๆ
๓. คัมภีร์เลข
๔. คัมภีร์ช่าง
๕. คัมภีร์นิติศาสตร์รู้ที่จะเป็นครูสั่งสอนท้าวพระยาทั้งปวง
๖. คัมภีร์พาณิชยศาสตร์รู้ที่จะเลี้ยงฝูงชนให้เป็นสิริมงคล
๗. พลศาสตร์ รู้นับนักขัตฤกษ์รู้ตำราดวงดาว
๘. คันธัพพศาสตร์ รู้เพลงขับร้องและดนตรี
๙. เวชชศาสตร์รู้คัมภีร์แพทย์
๑๐. ธนูศาสตร์ รู้ศิลปะการยิงธนู
๑๑. ประวัติศาสตร์
๑๒. ดาราศาสตร์ รู้วิธีทำนายดวงชะตาของคน
๑๓. มายาศาสตร์ รู้ว่านี่เป็นแก้วนี่มิใช่แก้ว เป็นต้น
๑๔. เหตุศาสตร์ ผลศาสตร์ รู้จักเหตุรู้จักผลจะบังเกิด
๑๕. ภูมิศาสตร์รู้จักที่จะเลี้ยงโคกระบือรู้จักการที่จะจะหว่านพืชลงในนาไร่ให้เกิดผล
๑๖.ยุทธศาสตร์ รู้คัมภีร์พิชัยสงคราม
๑๗. ลัทธิศาสตร์ รู้คัมภีร์โลกโวหาร
๑๘.ฉันทศาสตร์ รู้จักคัมภีร์ผูกบทกลอนกาพย์โคลง

พระเจ้ามิลินท์นั้นมีถ้อยคำหาผู้ต่อสู้ได้ยาก ปรากฎยิ่งกว่าพวกเดียรถีทั้งปวงไม่มีใครเสมอเหมือนในทางสติปัญญา ทั้งประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ คือ

๑. มีเรียวแรงมาก
๒. มีปัญญามาก
๓. มีพระราชทรัพย์มาก




http://www.dhammakid.com/board/acaaaxeiaeeaaa/ooaaai-adaeoaoao1i-aad-ad1oae1/
http://www.watsomanas.com/thai/milinpanha/milinpanha2.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 16, 2011, 07:39:06 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2011, 07:28:18 pm »
0
King Milinda and Nagasena



หลังจากที่พระเจ้าปุษยมิตรแห่งราชวงศ์สุงคุได้ทำลายพุทธศาสนาลงอย่างหนัก ทำให้สถานการณ์พุทธศาสนาโดยรวมอ่อนแอลงอย่างมากแต่ศาสนาพราหมณ์เริ่มได้รับการสนับสนุนฟื้นฟูมากขึ้น ราชวงศ์สุงคะปกครองอยู่ ๑๐๒ ปีจึงสิ้นสุดลง ต่อมาจึงปกครองด้วยราชวงศ์กานวะ ราชวงศ์นี้ส่วนมากเป็นพุทธศาสนิกชนจึงทำให้สถานการณ์พุทธศาสนาดีขึ้นมาก ราชวงศ์นี้มีกษัตริย์ปกครอง ๔ พระองค์ รวมเวลา ๔๕ ปี ในยุคนี้ได้มีพระมหากษัตริย์ที่มีเดชานุภาพยิ่งใหญ่เกิดขึ้นในอินเดียทางเหนือโดยสายเลือด พระองค์ไม่ใช่ชาวอินเดียอารยัน แต่เป็นเชื้อสายฝรั่งกรีก ผู้ที่ทำให้พุทธศาสนาแผ่ไพศาลในอินเดียเหนือและเลยไปถึงเอเชียกลาง พระองค์คือพระเจ้ามิลินท์หรือเมนันเดอร์ตามสำเนียงกรีก



๑.พระเจ้ามิลินท์ (King Milinda)


พระเจ้ามิลินท์ (Milinda) หรือเมนันเดอร์ (Menander) ได้ขยายอิทธิพลลงมาถึงเมืองตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำคงคา ปรากฏในตำนานฝ่ายบาลีและฝ่ายจีนว่า ตอนแรกพระองค์มิได้เลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้ขัดขวางพุทธศาสนาด้วยพระราโชบายต่าง ๆ อนึ่ง เนื่องจากพระองค์เป็นผู้แตกฉานในวิชาไตรเพทและศาสนาปรัชญาต่าง ๆ รวมทั้งพุทธศาสนาด้วย จึงได้เที่ยวประกาศโต้วาทีกับเหล่าสมณะพราหมณ์ ก็สามารถเอาชนะสมณะพราหมณ์เหล่านั้นรวมทั้งพระภิกษุในพุทธศาสนา ขนาดภิกษุสงฆ์พากันอพยพหนีออกจากนครสาคละ (ปัจจุบันอยู่ในเขตปากีสถาน) จนหมดสิ้น เมืองสาคละว่างภิกษุสงฆ์อยู่ถึง ๑๓ ปี จนกระทั้งคณะสงฆ์ต้องเลือกสรรค์ ส่งพระภิกษุหนุ่มผู้เจนจบพระไตรปิฎกและลัทธินอกพระศาสนาองค์หนึ่งชื่อ พระนาคเสนขึ้น ข้อความที่อภิปรายปุจฉาวิสัชนากันนั้นต่อมามีผู้รวบรวมขึ้นเรียกว่า มิลินทปัญหา (Milindapanha) คัมภีร์มีทั้งในฉบับสันสกฤตและบาลี ในฉบับสันสกฤต ให้ชื่อว่า "นาคเสนภิกษุสูตร" ได้มีผู้แปลถ่ายออกสู่ภาษาจีนประมาณพันปีเศษมาแล้ว ส่วนภาษาบาลีนั้นพระพุทธโฆษาจารย์ คันธารจนาจารย์ ชาวมคธ เป็นผู้แต่งคำนิทาน และคำนิคมประกอบเข้าไว้ในมิลินทปัญหาเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๙ ส่วนเนื้อธรรมอันเป็นตัวปัญหามิได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดแต่ง อย่างไรก็ดีในฉบับสันสกฤตได้บอกชาติภูมิของพระนาคเสนว่าเป็นชาวแคว้นกัศมีระ ในฉบับบาลีกล่าวว่า


พระนาคเสนท่านเกิดในวรรณะพราหมณ์บิดาชื่อโสณุตตระอาศัยอยู่ ณ กชังคลคาม ข้างภูเขาหิมาลัย เป็นข้อความตรงกัน (ภูเขาหิมาลัยตั้งต้นจากแคว้น กัศมีระ (Kashmir) ของอินเดียผ่านเนปาล ธิเบต ภูฐาน สิกขิมจดชายแดนพม่า) ในยุคนั้นพุทธศาสนานิกายสรวาส ดิกวาทิน กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ พระนาคเสนอาจจะสังกัดนิกายนี้ และคัมภีร์ฝ่ายจีนกล่าวว่า พระนาคเสนได้รจนาคัมภีร์ตรีกายศาสตร์ด้วยผลของการอภิปราย นับเป็นความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงต่อพุทธศาสนา เพราะพระนาคเสนชนะ ส่วนพระเจ้ามิลินท์ยอมจำนนเกิดพระราชศรัทธาปสาทะในพุทธศาสนาเพราะทรงแจ่มแจ้งในพุทธธรรมโดยตลอดมา วาระสุดท้ายของพระองค์ทรงสวรรคตที่ในกระโจมที่พัก และมีการพิพาทกันระหว่างเจ้าเมืองต่างๆ ของอินเดีย และมีการแจกพระอัฐิของพระเจ้ามิลินท์แก่เมืองต่าง ๆ คล้ายกับพระศาสดา หลังจากการสวรรคตของพระเจ้ามิลินท์แล้ว กษัตริย์กรีกที่ปกครององค์ต่อมาอ่อนแออาณาจักรจึงแตกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์นี้คือพระเจ้าเฮอมีอุส (Hermaeus) ก่อนที่อาณาจักรจะแตกสลายพร้อมกับการขยายอำนาจของพวกสกะ (Sakas) จากเอเชียกลางเข้าครอบงำอาณาจักรของพระเจ้ามิลินท์เดิม เมื่อทราบประวัติพระเจ้ามิลินท์แล้ว ควรที่จะได้ทราบประวัติของพระนาคเสน พอสมควรดังนี้





๒.พระนาคเสน (Nagasena)


ท่านนับว่าเป็นผู้ทำให้พระเจ้ามิลินท์กลับมานับถือพุทธศาสนา และสนับสนุนเป็นอย่างดี ในมิลินทปัญหากล่าวว่า พระนาคเสนเกิดที่เมืองกชังคละ แถบภูเขาหิมาลัย บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อว่าโสณุตตระ ในวัยเด็กอายุ ๗ ขวบได้ศึกษาไตรเพทและศาสตร์อื่น จนเจนจบ จึงถามบิดาว่ามีศาสตร์อื่นที่จะต้องเรียนบ้างไหม บิดาตอบว่ามีเท่านี้ ต่อมาวันหนึ่งได้พบพระโรหนะมาบิณฑบาตที่บ้านบิดา เกิดความเลื่อมใสจึงให้บิดานิมนต์มาที่บ้านถวายภัตตาหารและคิดว่าพระรูปนี้ต้องมีศิลปวิทยามาก จึงขอศึกษากับพระเถระ พระเถระกล่าวว่า ไม่อาจสอนผู้ที่ไม่บวชได้ ท่านจึงขอบิดาบวชที่ถ้ำรักขิต ได้ศึกษาพุทธศาสนากับพระโรหนเถระ
ต่อมาเมื่ออายุ ๒๐ ปีก็ได้รับการอุปสมบท วันหนึ่งเกิดตำหนิอุปัชฌาย์ในใจว่าอุปัชฌาย์ของเราช่างโง่จริง ให้เราศึกษาพระอภิธรรมก่อนเรียนสูตรอื่น ๆ พระโรหณะผู้อุปัชฌาย์ทราบกระแสจิตจึงกล่าวว่า พระนาคเสนคิดอย่างนี้หาถูกต้องไม่ พระนาคเสนทราบว่าพระอุปัชฌาย์รู้วาระจิตของตน จึงตกใจและขอขมา แต่พระเถระกล่าวว่า เราจะให้อภัยได้ง่าย ๆ ไม่
พระนาคเสนต้องไปทำภารกิจอย่างหนึ่งที่สำคัญคือต้องไปโปรดพระเจ้ามิลินท์ที่เมืองสาคละ ให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยก่อนจึงจะอภัยให้ และแล้วพระโรหนะก็ส่งไปศึกษาเพิ่มเติมกับพระอัสสคุตตะ ที่วัตตนิยเสนาสนะวิหารเมืองสาครพักอยู่ ๗ วัน พระเถระจึงยอมรับเป็นศิษย์ ต่อมาได้แสดงธรรมเทศนาให้เศรษฐีท่านหนึ่งฟังจนทำให้เขาบรรลุโสดาบัน และเมื่อมาไตร่ตรองคำสอนที่ตนสั่งสอนอุบาสกก็บรรลุโสดาบันตาม ต่อมาไม่นานจึงเดินทางจากสาคละไปสู่ปาฎลีบุตร พักที่อโศการามแล้วศึกษาธรรมกับพระธรรมรักขิตจนจบภายใน ๖ เดือนพระนาคเสนเดินทางไปบำเพ็ญเพียรที่รักขิตคูหาเป็นเวลานาน ในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหันต์ คณะสงฆ์ทั้งหลายจึงอนุโมทนาแล้วประกาศให้ท่านไปโต้วาทะกับพระยามิลินท์ พระนาคเสนจึงเดินทางไปนครสาคละ แล้วพบพระเจ้ามิลินท์ที่นั้น เมื่อได้ตอบโต้ปัญหากับพระเจ้ามิลินท์แล้ว ทำให้พระองค์เกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนาขึ้นมา และเปล่งว่าจาถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต







http://palungjit.com/feature/showphoto.php?photo=4261
http://www.sil5.net/index.asp?contentID=10000006&bid=178&title=%BB%C3%D0%C7%D1%B5%D4%BE%C3%D0%E0%A8%E9%D2%C1%D4%C5%D4%B9%B7%C3%EC+%A1%D1%BA+%BE%C3%D0%B9%D2%A4%E0%CA%B9&keyword=http://www.oknation.net/blog/print.php?id=453009
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2011, 04:39:13 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2011, 04:46:52 am »
0



มิลินทปัญหา แปลว่า "ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์"

มิลินทปัญหา คือ ปกรณ์ว่าด้วยการถาม-ตอบปัญหา ระหว่างพระเจ้ามิลินท์ หรือ พระเจ้า เมนันเดอร์ (หรือ Menandros ในภาษากรีก) ซึ่งเป็นกษัติย์เชื้อสายกรีก กับพระนาคเสนเถระ จนกลายเป็นตำนานโด่งดัง มาจนถึงปัจจุบัน

มิลินปัญหา เป็นปกรณ์มีมาเก่าแก่และสำคัญปกรณ์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ไม่ปรากฏว่าท่านผู้ใดเป็นผู้รจนา เชื่อกันว่ารจนาขึ้นในราวพุทธศักราช ๕๐๐ ปรากฏตาม มธุรัตถปกาสินี ฎีกาแห่งมิลินทปัญหา ซึ่งรจนาโดยพระมหติปิฎกจุฬาภัย ว่าพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นผู้แต่งนิทานกถาและนิคมกถาประกอบเข้า ส่วนตัวปัญหา ท่านหาได้กล่าวว่าผู้ใดแต่งไม่

มิลินทปัญหา แบ่งออกเป็น ๖ ส่วน คือ
      .: บุพพโยค ว่าด้วยบุพพกรรมและประวัติของพระนาคเสนและพระเจ้ามิลินท์
      .: มิลินปัญหา ว่าด้วยปัญหาเงื่อนเดียว
      .: เมณฑกปัญหา ว่าด้วยปัญหาสองเงื่อน
      .: อนุมานปัญหา ว่าด้วยเรื่องที่รู้โดยอนุมาน
      .: ลักขณปัญหา ว่าด้วยลักษณะแห่งธรรมต่าง ๆ
      .: อุปมากถาปัญหา ว่าด้วยเรื่องที่จะพึงทราบด้วยอุปมา

ในหกส่วนนี้ บางส่วนยกเป็นมาติกา บางส่วนไม่ยกเป็นมาติกา จัดรวมไว้ในมาติกาอื่น คือ ลักขณปัญหารวมอยู่ในมิลินทปัญหา อนุมานปัญหา รวมอยู่ในเมณฑกปัญหา เพราะฉะนั้น เมื่อจะจัดระเบียบให้เป็นหมวดหมู่สะดวกแก่การค้นดู ต้องแบ่งเป็น ๔ ส่วน เรียงลำดับดังนี้ บุพพโยค ซึ่งเรียกว่า พาหิรกถา ๑ มิลินปัญหา ๑ เมณฑกปัญหา ๑ และอุปมากถาปัญหา ๑



สำหรับเรื่องนี้ ผมขออนุญาติที่หยิบยกมากล่าวเล่าแก่เพื่อนสมาชิกให้ได้อ่านคร่าวๆ เพราะผมชอบมากถึงขนาดว่า

ต้องแอบขโมยเอาหนังสือครูบาอาจารย์ที่ท่านเก็บซ่อนไว้มาอ่านยันรุ่ง (เป็นเรื่องในอดีตครั้งเป็นสามเณร...ครับ!)




http://www.thammapedia.com/dhamma/dhamma_milinta.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2011, 04:51:45 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา