ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หิ้งพระบูชาวางอย่างไร..?  (อ่าน 6310 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
หิ้งพระบูชาวางอย่างไร..?
« เมื่อ: เมษายน 11, 2012, 07:04:51 pm »
0


การจัดวางหิ้งพระบูชา


       มีหลายประเด็นที่หลายท่านสงสัยเกี่ยวกับการจัดตั้งหิ้งพระบูชา เช่น ตำแหน่งที่จะจัดตั้ง ทิศทาง ความสูง และลำดับการจัดวางองค์พระ ผมได้ลองค้นหาข้อมูลจากหลายๆแหล่ง ทั้งจากอินเทอร์เน็ต หนังสือ สอบถามครูบาอาจารย์ และคนเฒ่าคนแก่ ก็พอสรุปโดยอาศัยเหตุและผล ตามหลักพุทธศาสนามาทำการวิเคราะห์ และประกอบกับความคิดเห็นส่วนตัว

       ก่อนที่จะเข้าสู่ การจัดตั้งหิ้งพระ มาทำความรู้จักกับธาตุทั้ง 6 ในหลักของพระพุทธศาสนากันก่อน โดยธาตุทั้ง 6 นั้นประกอบด้วย ธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุดิน ธาตุอากาศ และธาตุวิญญาณ โดยมี 4 ธาตุมหาภูติ คือ ไฟ น้ำ ลม และดิน เป็นรูป (กรรมเก่า) ส่วน อากาศ และวิญญาณ เป็นนาม (กรรมใหม่) จะคอยควบคุม 4 ธาตุมหาภูติอีกที ซึ่งถ้าขาด 2 ธาตุหลังนี้จะถือว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ทำให้ร่างกายคนเราประกอบไปด้วย 6 ธาตุนี้ โดยเริ่มจากในครรภ์ ร่างกายขณะนั้นจะประกอบด้วยธาตุ ไฟ น้ำ ดิน อากาศ และวิญญาณ โดยอาศัยธาตุไฟจากผู้เป็นแม่เป็นตัวช่วยในการเจริญเติบโต พอคลอดออกมา ทารกจะได้ ธาตุลม ทำให้การประชุมธาตุครบตามองค์ประกอบ เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตขึ้น

       โดยที่ ธาตุวิญญาณ ก็คือตัวเรา จะเป็นอมตะและมั่นคงตลอดไป ไม่ว่าจะตายแล้วเกิดใหม่อีกกี่หนก็ตาม ส่วนธาตุอากาศ คือความเปลี่ยน สิ่งใดมีอยู่ก็จะไม่มี สิ่งใดไม่มี ก็จะมี จะหมุนวนสลับกันไปไม่สิ้นสุด กล่าวคือเป็นเรื่องของจิตในมนุษย์ล้วนๆ ซึ่งมีความอยากนั่นอยากนี่ไปหมด เป็นความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ พระที่บรรลุอรหันต์ จะสามารถกำจัดความเปลี่ยนในอากาศธาตุทั้งหมดได้ เมื่อความอยากทั้งหมดดับลงไปแล้ว ธาตุวิญญาณ ก็จะไม่เรียกประชุมธาตุมหาภูติ ทั้ง 4 อีก คือการไม่กลับมาเกิดอีกนั่นเอง

       จากบทความนี้ จะเห็นความสัมพันธ์ของธาตุในตัวเรา ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา โดยมี ไฟ น้ำ ลม และดิน เป็นองค์ประกอบ ฉะนั้นในการจัดตั้งหิ้งพระเราจะใช้หลักความสัมพันธ์ของธาตุต่างๆ โดยจะเน้นไปที่ ไฟ กับ ลม เป็นหลัก (ส่วนน้ำและดิน จะไม่ขอกล่าวในโอกาสนี้)

ตำแหน่งเหมาะสมในการตั้งหิ้งพระในบ้าน

       หิ้งพระ ในหลายๆศาสตร์ได้ถูกกำหนดให้เป็นตัวแทนของ ธาตุไฟ ส่วนเหตุผลนั้นใช่แต่เพียงว่า มีการจุดธูป จุดเทียน แล้วทำให้เกิดลักษณะที่เป็นไฟขึ้นมา ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปจะพบว่า หิ้งพระเป็นที่ประดิษฐาน หรือที่ประทับตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์เทพเทวะ รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แต่ละท่านเคารพนับถือ ซึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดังที่กล่าวมานั้น คือผู้นำความสว่างมาให้กับชีวิต เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ละอายต่อบาปและการทำชั่ว เปรียบเหมือนไฟส่องทางให้แสงสว่างและเดินทางที่ถูกที่ควร จึงถูกกำหนดให้เป็นตัวแทนของ ธาตุไฟ

       ส่วนธาตุที่จะมาช่วยให้ ธาตุไฟ ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพได้นั้นคือ ธาตุลม เพราะลมเป็นอาหารของไฟ ลองนึกถึงตอนที่เราก่อไฟ ไฟจะลุกติดได้เพราะมีลมเข้ามาปะทะ หรือตอนที่เด็กคลอดออกมา ถ้าไม่ได้ลม ไฟในร่างกายจะไม่ทำงาน

       คราวนี้ลองมาดูว่าที่บ้านของเรา มีตรงจุดไหนที่เกิดลมบ้าง ก็จะมี ประตู หน้าต่าง เป็นต้น แต่จุดที่เกิดลมบ่อยที่สุดคือประตู (ให้พิจารณาประตูหลักที่ใช้เข้าออกเป็นประจำ) เพราะฉะนั้นตำแหน่งที่จะทำให้ ลม เข้าไปเสริม ไฟ ได้ดีที่สุดคือ ตำแหน่งตรงข้ามประตู ในตำแหน่งนี้ถ้าเราเปิดประตูเข้ามาให้หยุดยืน แล้วมองตรงไปข้างหน้า สิ่งที่ปะทะสายตาในแนวตรงนั้นคือ ตำแหน่ง ธาตุไฟต้น ซึ่งคนจีนรู้ความลับนี้มานานแล้ว จะเห็นได้จาก “ตี่จู้เอี้ย” ตรงตำแหน่งนี้เองเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในการตั้งหิ้งพระบูชา แต่ถ้าไม่สะดวกในตำแหน่งนี้อาจเป็นเพราะ ตำแหน่งนี้เป็นประตู เป็นส่วนที่แคบไม่เหมาะกับการตั้งหิ้งพระ ให้หารูปภาพพระมาติดแทน แล้วนำหิ้งพระไปจัดตั้งในตำแหน่ง ธาตุไฟปลาย ถ้าไม่สะดวกอีกก็ย้ายมาตำแหน่ง ธาตุไฟกลาง






       ตามคติความเชื่อของคนโบราณ หิ้งพระหรือองค์พระ ต้องหันไปทาง ทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศเหนือ ส่วนทิศอื่นหันแล้วไม่เป็นมงคล จากความเชื่อนี้สันนิษฐานได้ว่า ชื่อของทิศที่มีคำว่า “ใต้” กับ “ตก” ปนอยู่ในคำว่าทิศ จะฟังดูแล้วไม่เป็นมงคล จึงไม่หันหน้าพระไปยังทิศที่ว่านี้

       ส่วนข้อมูลจากพุทธประวัติ ในช่วงที่พระพุทธเจ้ากำลังจะตรัสรู้ ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ในอริยาบถนั่งขัดสมาธิ โดยหันพระพักตร์ไปยัง ทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำเนรัญชรา หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็ยังทรงประทับที่เดิมอีก 1 สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ 2 พระพุทธเจ้าทรงอริยาบถยืนสงบนิ่งทางด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เยื้องจากบัลลังก์ที่ประทับตอนนั่งเล็กน้อย สถานที่นี้เชื่อว่า “อนิมิสเจดีย์” พระพุทธองค์ทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เองจนครบ 7 สัปดาห์ ก่อนที่จะเสด็จไปเพื่อโปรดแก่ปัญจวัคคีย์

       จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น สันนิษฐานว่า คนสมัยก่อนอ้างอิงทิศจากในพุทธประวัติด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ ทิศตะวันออก และ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยลืมให้ความสำคัญกับคำว่า “ติดกับแม่น้ำเนรัญชรา” นั่นหมายความว่าพระพุทธเจ้าหันพระพักตร์ไปทางแม่น้ำ และมีวัดจำนวนไม่น้อยที่มีพระประธานหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเบื้องหน้าก็คือแม่น้ำ ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหรือใช้สัญจรในสมัยก่อนนั่นเอง บางวัดถ้าไม่ติดแม่น้ำก็จะหันหน้าพระประธานเข้าหาถนน

       มาถึงตรงนี้เรื่องทิศในการจัดตั้งหิ้งพระคงจะชัดเจนขึ้นแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับตำแหน่งที่ตั้งหิ้งพระซึ่งต้องหันพระพักตร์มายังทางที่ใช้สัญจรนั่นก็คือ ประตูทางเข้าออกนั่นเอง




http://www.banlangchok.com/index.php?option=com_content&view=article&id=25:buddha-throne-installation&catid=6:2011-09-19-13-38-37&Itemid=21
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2012, 11:12:19 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: หิ้งพระบูชาวางอย่างไร..?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 13, 2012, 09:55:05 pm »
0
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ