ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 31ธ.ค;ร่วมสวดมนต์ข้ามปีรับพุทธบารมีที่วัดราชสิทธาราม(พลับ)คณะ5  (อ่าน 2306 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mature_na

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สวัสดีครับทุกท่าน



ใกล้จะปีใหม่แล้ว เราเหล่าชาวพุทธก็ต่างพากันไปทำบุญเสริมดวงกันและอีกหนึ่งกิจกรรมที่คนส่วนใหญ่นิยมทำกันก็คือ การสวดมนต์ข้ามปี

เพื่อเอาฤกษ์เอาชัยต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึง และในวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ หากใครเคยไปร่วมนับถอยหลังฉลองปีใหม่ตามสถานที่ต่าง ๆ ดูแล้ว ลองเปลี่ยนบรรยากาศใช้โอกาสปีใหม่นี้ไปร่วมกิจกรรม “สวดมนต์ข้ามปี” ดูกันสักทีดีไหมครับ เพื่อเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยสิ่งดี ๆ เป็นมงคล แล้วยังให้คุณประโยชน์ในหลาย ๆ ด้านด้วย

จึงอยากเรียนเชิญทุกท่านมาร่วมสวดมนต์ข้ามปีรับบารมีพระที่วัดราชสิทธาราม(พลับ)คณะ5 ด้วยกัน ในวันที่31ธ.คนะครับ
ที่วัดพลับจะมีการสวดมนต์ข้ามปีกันที่โบสถ์และถ้าท่านใดสนใจสามารถมาค้างคืน+ปฎิบัติธรรมที่วัดราชสิทธารามคณะ5ได้ในช่วง31 ธันวาคม-1มกราคม2555 ได้เช่นกันครับ



ท่านใดต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023
;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]




รายละเอียดของสถานที่สวดมนต์ข้ามปี
ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023




รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด


=================================

ในเดือน ธันวาึคม 2554 -มกราคม2555   
จะมีการจัดอบรมกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ
กำหนดการปฏิบัติธรรม  ส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่   31 ธันวาคม 2554 – 1 มกราคม 2555
รายละเอียดของสถานที่ฝึก
ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด


=================================



กำหนดการปฏิบัติธรรม  ส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ 

31 ธันวาคม 2554 – 1 มกราคม 2555

วันเสาร์ที่   31 ธันวาคม    2554 ขึ้น   7 ค่ำ เดือน   2 

เวลา 09.30-10.15               ลงทะเบียน รับศีล ขึ้นกรรมฐาน

เวลา 10.15-11.00               รับประทานอาหารกลางวัน   ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย

เวลา 13.00-14.00               ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหา พักดื่มน้ำปานะ

เวลา 14.00-16.30               เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม อาบน้ำ   ทำธุระส่วนตัว

เวลา 16.30-17.00               ทำวัตรเย็น 

เวลา 23.00น.-24.00น.         เค้าดาว Count Down สวดมนต์ต้อนรับปีใหม่ในพระอุโบสถ วัดราชสิทธาราม   รับพรพระสงฆ์

วันอาทิตย์ที่   1 มกราคม 2555   ขึ้น   8 ค่ำ เดือน   2

เวลา   06.30 - 07.00             ทำวัตรเช้า   รับประทานอาหารเช้าไปตักบาตรพระภิกษุฉลองปีใหม่

เวลา   07.000 -11.00            นั่งกรรมฐาน   เดินจงกรม รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา   13.00-14.00             ฟังบรรยายธรรม

เวลา   16.30-17.00              ญาติโยมทำวัตรเย็น     ลากลับบ้าน
======================================================

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

http://www.somdechsuk.org




1. ย้อนไปสมัยพุทธกาลนั้น พระราหุลมหาเถระเจ้า ได้บรรลุอรหันต์เป็นเอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา

พระองค์ ได้สอบถามกับพระพุทธองค์ว่าพุทธองค์มีการปฎิบัติกรรมฐานอย่างใด และท่านได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อีกทั้งท่านยังได้ ไปเรียนรู้และสอบถามความรู้เพิ่มเติมกับพระอรหันต์สาวกองค์อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก และรวบรวมการปฎิบัติกรรมฐานของพระพุทธศาสนาไว้เป็นด้วยกันเป็นการฝึกฝนแบบตามลำดับขั้นตอน

จากนั้นจึงกำเนิดการเรียนรู้กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ในขอบเขตของบวรพระพุทธศาสนาขึ้น จากการเรียบเรียงของพระราหุลนั่นเอง


 บูรพาจารย์เล่าว่าในสมัยโบราณผู้ศึกษากรรมฐานในพุทธศาสนานั้นมีการฝึกฝนสมาธิและวิปัสสนาตามแบบกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ทั้งสิ้นไม่มีการแบ่งแยกเหมือนสมัยนี้แต่อย่างใด

รูปพระราหุลมหาเถระเจ้า



เหตุที่เรียก พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง จนถึงลำดับสู่วิปัสสนากรรมฐาน จึงเป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนากรรมฐานทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน เพื่อมิให้แตกกระจายไปในทางปฏิบัติ มิต้องให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง

สรุปได้้่ว่่ากรรมฐานมัชฌิมา คือการเรียนปฎิบัติไปตามกำลังของจิต เกิดสมาธิเป็นขั้นๆไป นั่นเองครับ

จากนั้น กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ได้รับการสืบทอดต่อๆกันมาเรื่อยๆได้เข้ามาแถบเอเชียอาคเนย์ และทางสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มของพระโสณะและพระอุตตระ นั่นเองครับ

รูปภาพที่มีผู้เชื่อว่าเป็นกลุ่มของพระโสณะและพระอุตตระ

 จากนั้น ประเทศไทยของเราตั้งแต่สมัย ทวาวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการฝึก กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เป็นอันมากและเป็นกรรมฐานหลักในการฝึกฝนในประเทศไทย เป็นแบบเดียวที่มีการฝึกฝนกัน 

  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นั้นผู้ที่ สืบทอดต่อมาเป็นปรมาจารย์ต้นของยุคนี้ คือ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

รูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)ครับ


และในช่วงนี้ 2554 ผู้ที่ดำรงการสืบทอดกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คือ พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร ) ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
ผู้บอกวิชชาพระกรรมฐาน ยุคปัจจุบันครับ


[size=20pt]
-ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
http://www.somdechsuk.org

http://www.somdechsuk.com

[/color]

[/size]


=============================================
วีดีโอกรรมฐาน

http://www.youtube.com/v/a_q00e8kIgs

http://www.youtube.com/v/udIZLdBGXw4



=============================================



กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ นั้นมีวิธีการฝึกและ การปฎิบัติที่เป็นแบบแผนแน่นอน สรุปได้ง่ายๆดังนี้ครับ

1. เข้าหากัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน
2. ขอขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบแผนแต่โบราณ
3. เริ่มนั่งกรรมฐานตามแบบที่พระอาจารย์บอก โดยแรกท่านจะให้ ภาวนาว่าพุท-โธ สติตั้งมั่นนึกรู้ ตั้งใต้สะดือ2 นิ้ว

คำว่า2 นิ้วนี้วัดโดยใช้นิ้วมือของเรา2นิ้วทาบใต้สะดือสุดที่ใดก็เอาสติไว้ตรงจุดนั้นนั่นเอง

ทุกครั้งที่นั่งกรรมฐานต้องมีการ ขอขมาพระ และกล่าวคำอาราธนากรรมฐานตามแบบ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับทุกครั้ง และเมื่อนั่งเสร็จต้องแผ่เมตตาก่อนจึงลุกจากที่นั่ง
4. การเกิดนิมิตรู้เห็นอย่างใดให้แจ้งแก่อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานแต่เพียงผู้เดียวห้ามบอกผู้อื่น และไม่ควรอ่านสภาวะธรรมต่างๆก่อนเพื่อกันอุปาทานและจิตหลอนนั่นเอง

5. เมื่ออาจารย์ให้ผ่านแล้วก็จะมีการเลื่อนกรรมฐานไปห้องอื่นๆสูงขึ้นไปตามลำดับชั้นของห้องกรรมฐานนั้นๆจนจบกรรมฐาน40 และต่อวิปัสสนากรรมฐานเป็นขั้นๆไปตามลำดับ




============================================================================



[size=18pt]คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ

ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ

พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง



============================================================================

คำนำ

พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายมาในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของเก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม ของเก่าดั่งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฏิบัติธรรมของเก่ามิให้ เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป
สมดังปณิธาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่๒)ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฏิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔

พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ

โดยพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรีทวารวดี

ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น  พระคัมภีร์วิสุทธิมรรคเพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่ง คัมภีร์อรรถคาถา
แต่การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆกันมา ในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน จึงสืบต่อมาจนถึง

ยุคศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์

ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง ของการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฏิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ค่อยๆเสื่อมถอยลง

ต่อมาล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๒ จึงได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งภิกษุ ไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับต่อจากนั้นสมถะ-วิปัสสนานากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้มีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความไม่รู้ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้

ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าว เป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็น ๓ คาบว่า

ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
 ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ดังเช่น..หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น


พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
โทรศัพท์-084-651-7023

======================================================

ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ตอนสมถะภาวนา


รูปกรรมฐาน ตอน ๑
๑.ห้องพระปีติห้า
๒.ห้องพระยุคลหก
๓.ห้องพระสุขสมาธิ
พระกรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์

รูปกรรมฐาน ตอน ๒
๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
๘.ห้องปัญจมฌาน

ห้องพระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องใน กายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
พระโยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ เจริญปัญจมฌาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกาย คตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระ กาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ

อรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
๙.ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน
๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา
๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
๑๓.ห้อง อรูปฌาน

ตั้งแต่ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม จิตได้สภาวธรรมเต็มที่ การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อจะขึ้น พวิปัสสนาฌาน ให้ทำฌานสมาบัติแปด ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา

(จบสมถะ)

======================================================
วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ

๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌาน เป็นบาทฐาน
๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓
๓.พระอนุวิปัสสนา ๓
๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ
๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐
๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา
๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ
๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน

(จบ-สมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ)

======================================================



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 30, 2011, 05:28:29 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา