ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าจะเชื่อ หรือ ศรัทธา ควรเชื่ออย่างไรคะ ?  (อ่าน 3024 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตอบปัญหาจากเมล

ปุจฉา ถ้าจะเชื่อ หรือ ศรัทธา ควรเชื่ออย่างไรคะ ?

วิสัชชนา สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตาม ลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;

ศรัทธา คือ ความเชื่อ ต้องประกอบด้วย ปสาทะ คือ ความเลื่อมใส

ความเลื่อมใส ควรเลื่อมใสในพระรัตนตรัย มี พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ( อริยะสงฆ์ )

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ถ้าจะเชื่อ หรือ ศรัทธา ควรเชื่ออย่างไรคะ ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 29, 2011, 05:48:24 pm »
0
ตอบปัญหาจากเมล

ปุจฉา ถ้าจะเชื่อ หรือ ศรัทธา ควรเชื่ออย่างไรคะ ?

วิสัชชนา สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตาม ลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;

ศรัทธา คือ ความเชื่อ ต้องประกอบด้วย ปสาทะ คือ ความเลื่อมใส

ความเลื่อมใส ควรเลื่อมใสในพระรัตนตรัย มี พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ( อริยะสงฆ์ )

เจริญธรรม


คนไทยไม่เชื่อ    "กรรม..!"


ผมไม่เชื่อ คำสอนที่แม่ชีคนนี้พูด

เช่นเรื่องชาติที่แล้วกับกรรมชาตินี้ หรือ การแก้กรรมผมไม่เชื่อ
มันไม่สมเหตุสมผผลกันเลย
เช่น ชาตินี้ ต้องเลี้ยงผู้ชายตลอด แม่ชีบอก ว่า เพราะชาติก่อน เปิดประตูเมืองให้พม่า เข้ามาตี (เหตุผล = 0 )
หรือ มีคนถามว่า ทำไมชาตินี้ไม่มีเงิน เก็บ เพราะชาติที่แล้ว ......... ต้องแก้กรรมด้วยการ ยอมให้หนุ่ม .... 2หน !!!!!
เป็นต้น

ถามหน่อย ขนาดอัครสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีกรรมเก่าตามมาเลย
กรรมก็คือกรรม ชั่วส่วนชั่ว ดีส่วนดี

ถ้า ยกตัวอย่างว่า ผมไปฆ่า พ่อฆ่าลูกใคร ในบอร์ด นี้ แล้วผมแก้กรรมกับแม่ชี ไม่ให้ ผลกรรมเกิดขึ้นกับผม เลย หรือ เหลือ หนึ่งในสิบ คิดว่ามันยุติธรรมใช่ไหม แล้ว พอมีีคนมาล้างแค้น แต่เขาไม่ได้แก้กรรม ก็ต้องตกนรกใช่ไหม เป็นต้น

จากคุณ    : Gyan (YMS-15)

อ่านบทวิจารณ์ อื่นเพิ่มเติมได้ที่นี่ คะ

http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10484151/Y10484151.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 29, 2011, 06:20:16 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

wiriya

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 53
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถ้าจะเชื่อ หรือ ศรัทธา ควรเชื่ออย่างไรคะ ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 29, 2011, 07:53:53 pm »
0
ขอร่วมบุญกับพระอาจารย์ด้วยครับ ด้วยเนื้อหาพระสูตร เกี่ยวกับความสัทธา ครับ



อินทริยสังยุตต์ - ๕. ชราวรรค - สัทธาสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน

    สัทธาสูตร

    ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก

    [๑๐๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่ออาปณะ ในแคว้นอังคะ

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้วตรัสว่า ดูกรสารีบุตร อริยสาวก

ผู้ใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่งในพระตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัยในตถาคต

หรือในศาสนาของตถาคต.

    [๑๐๑๑] พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใด มีศรัทธามั่น

เลื่อมใสยิ่ง ในพระตถาคต อริยสาวกนั้น ไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต

หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภ

ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง

ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    [๑๐๑๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่า

อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติประกอบด้วยสติเป็น

เครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำพูดแม้นานได้.

    [๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก

ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้

เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

    [๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่า

อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า

จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่

เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความ

ดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืดคืออวิชชา นั้นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต

คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด

ความดับ นิพพาน.

    [๑๐๑๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวก

นั้นแล พยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้น

ตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้

ฟังมาแล้วนั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.

    [๑๐๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ศรัทธาของอริยสาวก เป็นสัทธินทรีย์ ดังนี้แล.

    [๑๐๑๗] พ. ดีละๆ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต

อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่า

อริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยัง

กุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

    [๑๐๑๘] ดูกรสารีบุตร ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก

ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่อง

รักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้.

    [๑๐๑๙] ดูกรสารีบุตร ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มี

ศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็น

อารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

    [๑๐๒๐] ดูกรสารีบุตร ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก

ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัด

อย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์

ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับ

ด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืด คืออวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต

คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด

ความดับ นิพพาน.

    [๑๐๒๑] ดูกรสารีบุตร ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแล

พยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้ว

รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้ว

นั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.

    [๑๐๒๒] ดูกรสารีบุตร สิ่งใดเป็นศรัทธาของอริยสาวกนั้น สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์

ของอริยสาวกนั้น ดังนี้แล.

    จบ สูตรที่ ๑๐
บันทึกการเข้า
รักครอบครัว ห่วงลูกหลาน ต้องช่วยต้าน ภัยยาเสพติด
รักตนเอง หนีสงสาร ต้องภาวนาให้ มาก ๆๆๆๆๆ

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถ้าจะเชื่อ หรือ ศรัทธา ควรเชื่ออย่างไรคะ ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 28, 2014, 08:28:34 am »
0
เห็นหัวข้อนี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับคำว่า ศรัทธา ที่พระอาจารย์หมายถึง ล่าสุด ใช่หรือไม่คะ

  :58: st12 st12
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ