ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "จุดไต้ตำตอ" เลื่อมใสศรัทธา แต่เห็นหน้าแล้วก็ไม่รู้จัก  (อ่าน 5307 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


จุดไต้ตำตอ

                 ความหมาย    บังเอิญไปพูดหรือทำสิ่งใดกับบุคคลที่เป็นเจ้าของเรื่องนั้น โดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้จัก
             ที่มา ไต้ ใช้สำหรับจุดไฟให้สว่าง คนที่จุดไต้แล้วยังเดินชนตอ แสดงว่าไม่เห็นจริง


                                  พระเอนเอกเขนกขึงรำพึงคิด        ไม่แจ้งจิตเลยว่าเขามาขอ
                             เหมือนตามไต้ในน้ำมาตำตอ             เสียแรงถ่อกายมาก็อาภัพ


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/thai04/02/suriyothai/c6.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎฏ เล่มที่ ๑๔ ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เป็น สุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖
   
๔๐. ธาตุวิภงคคสูตร
สูตรว่าด้วยการแจกธาตุ

    พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ เสด็จแวะพัก ณ กรุงราชคฤห์ ทรงอาศัยที่อยู่ของช่างหม้อชื่อภัคคะพักแรมคืน . ตรัสแสดงธรรมแก่กุลบุตรชื่อปุกกุสาติผู้บวชอุทิศพระองค์ แต่ไม่รู้จักพระองค์ โดยใจความสำคัญ คือ:-

    ๑. บุรุษนี้มีธาตุ ๖ ,   มีอายตนะสำหรับถูกต้อง ๖,   มีความท่องเที่ยวไปแห่งใจ ๑๘ อโนปวิจาร ),   มีธรรมที่ควรตั้งใจไว้ในใจ ๔ ,   บุคคลตั้งอยู่ในธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจแล้ว กิเลสย่อมไม่เป็นไป เมื่อกิเลสไม่เป็นไป ก็เรียกได้ว่า มุนีผู้ระงับ,   ไม่ควรประมาทปัญญา ,   ควรตามรักษาสัจจะ ,   ควรเจริญการสละ,   ควรศึกษาความสงบ แล้วได้ตรัสอธิบายรายละเอียด.

    ๒. ในการแจกรายละเอียด   ทรงแสดง
        ธาตุ ๖   ดิน ,  น้ำ ,  ไฟ,ลม ,  อากาศ ,  วิญญาณ ;         
        อายตนะ   สำหรับถูกต้อง ๖ คือ  ตา,  หู ,  จมูก ,   ลิ้น,   กาย ,   ใจ ;   
        มโนปวิจาร ๑๘   คือความท่องเที่ยวไปแห่งใจในโสมนัส ( ความดีใจ ) ๖ ในโทมนัส ( ความเสียใจ ) ๖   ในอุเบกขา ( ความรู้สึกเฉย ๆ )   รวมเป็น ๑๘ ;   
        ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔   คือ   ปัญญา ,  สัจจะ , จาคะ   ( การสละกิเลส ) ,   และอุปสมะ ( ความสงบระงับ ).   
        แล้วตรัสอธิบายแต่ละข้อโดยพิสดารต่อไปอีก โดยเฉพาะวิญญาณ   ตรัสอธิบายว่า   ได้แก่สิ่งที่รู้แจ้งสุข   ทุกข์  และไม่ทุกข์ไม่สุข


    ๓. พระปุกกุสาติก็รู้ได้ทันทีว่าตนพบพระศาสดาแล้ว จึงก้มลงกราบขอประทานอภัยโทษ พระผู้มีพระภาคตรัสประทานอภัย.   พระปุกกุสาติ ( ซึ่งเดิมบวชเอาเอง )   จึงกราบทูลขอบวชบรรพชาอุปสมบท.   
       ตรัสสั่งให้หาบาตรจีวร   ในขณะที่หาบาตรจีวรนั้น   ก็ถูกแม่โคขวิดถึงแก่ชีวิต.   
       เมื่อมีผู้กราบทูลถามถึง คติในสัมปรายภพ( ภพเบื้องหน้า )ของปุกกุสาติ ก็ตรัสตอบว่า เป็นอนาคามี   เพราะละสัญโญชน์เบื้องต่ำ   ๕ ประการได้.


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/6.4.html
http://www.palungdham.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบรายละเอียด ของ มโนปวิจาร 18 คะ

  :25:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๑๐. ธาตุวิภังคสูตร (๑๔๐)

             [๖๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า
             ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด ฯ


             [๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า
             ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด
             ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ

             [๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรจะถามดูบ้าง ต่อนั้นพระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า
             ดูกรภิกษุ ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่าใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ฯ



             [๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์ฟุ้งไป งามอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ดังนี้
             ข้าพเจ้าบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯ

             พ. ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้นประทับอยู่ที่ไหน ฯ
             ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือเดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็นแล้วจะรู้จักไหม
             ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลยถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ


             [๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวชอุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า
             ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ


             [๖๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
             ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไปก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่
             บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก ฯ


.............ฯลฯ.........ฯลฯ.........ฯลฯ.................



            [๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดาพระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้าแล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียก พระผู้มีพระภาคด้วยวาทะว่า
             ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ


             [๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า
             ดูกรท่านผู้มีอายุแต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอ
รับอดโทษนั้นแก่เธอ
             ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ

             ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ฯ
             ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบอุปสมบทไม่ได้เลย ฯ



            [๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้วหลีกไปหาบาตรจีวร
             ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหาบาตรจีวรอยู่

             ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ


            [๖๙๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม
            ดูกรภิกษุทั้งหลายปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
             จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๘๗๔๘ - ๙๐๑๙. หน้าที่ ๓๗๐ - ๓๘๐.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=8748&Z=9019&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=673
ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบรายละเอียด ของ มโนปวิจาร 18 คะ

  :25:


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


๑๐. ธาตุวิภังคสูตร (๑๔๐)

     [๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
     ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ

     บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมหน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
     ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ...........
     ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ..........
     ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ..........
     ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ..........
     รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว........


     ย่อมหน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

     นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖
     หน่วงนึกโทมนัส ๖
     หน่วงนึกอุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
     ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ


อ้างอิง http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=8748&Z=9019


อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิภังควรรค
ธาตุวิภังคสูตร

               แต่ในธาตุวิภังคสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงสิ่งที่มีด้วยสิ่งที่ไม่มี จึงตรัสอย่างนั้น. ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสละบัญญัติว่า บุรุษ ตรัสว่า ธาตุเท่านั้นแล้วทรงวางพระหฤทัย กุลบุตรก็พึงทำความสนเท่ห์ ถึงความงงงวยไม่อาจเพื่อรับเทศนาได้.

               เพราะฉะนั้น พระตถาคตจึงทรงละบัญญัติว่า บุรุษโดยลำดับ ตรัสสักว่า บัญญัติว่า สัตว์หรือบุรุษหรือบุคคลเท่านั้น โดยปรมัตถ์ ชื่อว่าสัตว์ ไม่มี ทรงวางพระทัยในธรรมสักว่า ธาตุเท่านั้น ตรัสไว้ในอนังคณสูตรว่า เราจักให้แทงตลอดผลสาม ดังนี้.

               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ดุจอาจารย์ให้เรียนศิลปะด้วยภาษานั้น เพราะเป็นผู้ฉลาดในภาษาอื่น. ในธาตุวิภังคสูตรนั้น ธาตุ ๖ ของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่ามีธาตุ ๖. มีอธิบายว่า ท่านย่อมจำบุคคลใดว่า บุรุษ บุคคลนั้นมีธาตุ ๖ ก็ในที่นี้โดยปรมัตถ์ก็มีเพียงธาตุเท่านั้น.

               ก็บทว่า ปุริโส คือ เป็นเพียงบัญญัติ.
               แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               ปติฏฐาน เรียกว่า อธิษฐาน ในบทนี้ว่า จตุราธิฏฺฐาโน ความว่า มีอธิษฐานสี่.
               มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุ บุรุษนี้นั้นมีธาตุ ๖ มีผัสสอายตนะ ๖ มีมโนปวิจาร ๑๘ ดังนี้.
               กุลบุตรนั้นเวียนกลับจากธาตุนี้เทียว ถือเอาอรหัตอันเป็นสิทธิที่สูงสุด ดำรงอยู่ในฐานะ ๔ นี้ ถือเอาพระอรหัต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีอธิษฐาน ๔. ฯลฯ



ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14.0&i=673&p=2
ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com/



อายตนะ ที่ติดต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้
       เช่น ตา เป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่รู้ เป็นต้น,
       จัดเป็น ๒ ประเภท คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖


อายตนะภายนอก เครื่องต่อภายนอก, สิ่งที่ถูกรู้มี ๖ คือ
       ๑. รูป รูป
       ๒. สัททะ เสียง
       ๓. คันธะ กลิ่น
       ๔. รส รส
       ๕. โผฏฐัพพะ สิ่งต้องกาย
       ๖. ธัมมะ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ หรือสิ่งที่ใจรู้;
       อารมณ์ ๖ ก็เรียก


อายตนะภายใน เครื่องต่อภายใน, เครื่องรับรู้มี ๖ คือ
       ๑. จักขุ ตา
       ๒. โสต หู
       ๓. ฆาน จมูก
       ๔. ชิวหา ลิ้น
       ๕. กาย กาย
       ๖. มโน ใจ;
       อินทรีย์ ๖ ก็เรียก


โสมนัส ความดีใจ, ความสุขใจ, ความปลาบปลื้ม;
       ดู เวทนา

โทมนัส ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ;
       ดู เวทนา

อุเบกขา
       1. ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง
           (ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐)
       2. ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข);
           (ข้อ ๓ ในเวทนา ๓)


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


  อธิบายโดยย่อก็คือ
      ๑. โสมนัส(จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน)
      ๒. โทมนัส(จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน)
      ๓. อุเบกขา(จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน)
      รวมทั้งสามข้อเท่ากับ ๑๘ นั่นคือ มโนปวิจาร ๑๘

       :25:
     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 05, 2011, 01:58:54 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบรายละเอียด ของ มโนปวิจาร 18 คะ

  :25:

  มโนปวิจาร ๑๘ คือ ความหน่วงนึกของใจ ๑๘ ประการ คือ

     บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา


     บุคคลฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

    บุคคลดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา


    บุคคลลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

    บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา


    บุคคลรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

    ความเห็นส่วนตัว กล่าวโดยสรุป
    เมื่อเราใช้ประสาทสัมผัสของเราอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่งออกไปรับรู้บางสิ่งบางอย่าง ความรู้สึกที่ปรากฏขึ้นมาทางใจ บางครั้งก็สุข บางครั้งก็ทุกข์ บางครั้งก็ไม่สุขไม่ทุกข์ นั่นคือ มโนปวิจาร


      :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

biaoy

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ธรรมมะ  เนี๊ยะทำให้ใจเรานิ่ง  ได้จริงๆ   ขอบคุณสำหรับขุ้อมูลดีๆ  ค่ะ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
  มโนปวิจาร ๑๘ คือ ความหน่วงนึกของใจ ๑๘ ประการ คือ

     บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา


     บุคคลฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

    บุคคลดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา


    บุคคลลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

    บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา


    บุคคลรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อม
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
        - หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

    ความเห็นส่วนตัว กล่าวโดยสรุป
    เมื่อเราใช้ประสาทสัมผัสของเราอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่งออกไปรับรู้บางสิ่งบางอย่าง ความรู้สึกที่ปรากฏขึ้นมาทางใจ บางครั้งก็สุข บางครั้งก็ทุกข์ บางครั้งก็ไม่สุขไม่ทุกข์ นั่นคือ มโนปวิจาร




แก้ปม

     สุข-ทุกข์เพราะใจหน่วง      ผลเป็นบ่วงคล้องคอตน
โลก-หล้าสัตว์บุคคล         ล้วนเขลาเปล่าว่างไม่มี

     ยื้อ-เอาก็เขลาหม่น      เขลารานรนน่าบัดสี
เอา-ชั่วตัวกูดี            แท้ที่สุดไหม้ไส้ตรม.


                                                                                             ธรรมธวัช.!



http://board.palungjit.com/f15/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87-%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-3-a-299543-110.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 07, 2011, 07:32:04 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา