ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฮวงจุ๊ย เราควรเชื่อดีไหมครับ  (อ่าน 7765 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sathukrab

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 64
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ฮวงจุ๊ย เราควรเชื่อดีไหมครับ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2010, 08:22:43 am »
0
ญาติของผม ได้เชิญซินแส มาที่บ้าน ปรากฏว่า ซินแสก็เดินตรวจสอบไปทั่วบ้าน
ปรากฏว่า ต้องมีการรื้อ ทุบ สร้างใหม่ สรุปแล้วใช้เงิน พอ ๆ กับสร้างบ้านใหม่

ผมอยากทราบว่า ในฐานะเราคนเป็นคนไทย เรื่องพวกนี้ควรเชื่อหรือป่าวครับ
                  ในฐานะชาวพุทธ ด้วยเช่นกัน
          ถ้าไม่รื้อ ไม่ทุบ ไม่สร้าง ใช้วิธีการแก้ได้หรือป่าวครับ

ใครพอจะทราบวิธีการบ้างครับ แนะนำด้วยครับ
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ ธัมโม อะระหัง พุทโธ สังโฆ อะระหัง พุทโธ อะหัง วันทามิ
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ

หลวงพี่เฉย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 88
  • Respect: +17
    • ดูรายละเอียด
Re: ฮวงจุ๊ย เราควรเชื่อดีไหมครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2010, 03:46:18 pm »
0
ควรเชื่อจ๊ะ..เป็นศาสตร์เกียวกับธาตุที่ธาตุนั้นมีผลกับการดำรงชีวิตของเราซึ่งมีผลจริง...เจริญพร
บันทึกการเข้า
"ขอให้รวยโดยฉับพลัน!!!...ทุกท่านเทอญ"   วรธมฺโมภิกฺขุ (หลวงพี่เฉย)

saithong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ฮวงจุ๊ย เราควรเชื่อดีไหมครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 10:12:46 am »
0
ศรัทธา ตั้งมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วไม่ต้องหวั่นไหว คะ
แต่ถ้ามีเงิน พอเหลือ ไม่ถึงกับกู้หนี้ยืมสิน แล้ว จะทำตามก็ไม่ผิดกติกา คะ
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ฮวงจุ๊ย เราควรเชื่อดีไหมครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2010, 08:03:33 pm »
0
ฮวงจุ้ยไทย-ฮวงจุ้ยจีน ความเหมือน ความแตกต่าง ?




           คำว่า "ฮวงจุ้ย" ภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่า ลม-น้ำ, จีนกลาง ความหมายเดียวกัน ออกเสียงว่า "เฟิงสุ่ย"

หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการเลือก และกำหนดพื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยและการค้าของชนชาวจีนที่สืบทอดกันมา

นานนับพันปี ..เหมือนและแตกต่างกับฮวงจุ้ยไทย ดังนี้..

           (1) เบญจธาตุกับปฐมธาตุ  กล่าวคือ ฮวงจุ้ยกำหนดธาตุพื้นฐาน 5 ธาตุหรือเบญจธาตุ ได้แก่ ธาตุ

น้ำ, ธาตุไม้, ธาตุไฟ, ธาตุทอง, ธาตุดิน

               เกื้อกูลกัน ได้แก่ ธาตุน้ำก่อเกิดธาตุไม้, ธาตุไม้ก่อเกิดธาตุไฟ, ธาตุไฟก่อเกิดธาตุดิน, ธาตุดินก่อ

เกิดธาตุทอง, ธาตุทองก่อเกิดธาตุน้ำ

               ทำลายกัน ได้แก่ ธาตุน้ำทำลายธาตุไฟ, ธาตุไม้ทำลายธาตุดิน, ธาตุไฟทำลายธาตุทอง, ธาตุ

ทองทำลายธาตุไม้, ธาตุดินทำลายธาตุน้ำ

               ฮวงจุ้ยไทย ชัยภูมิศาสตร์ กำหนดธาตุพื้นฐาน 4 ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุลม, และธาตุ

ไฟ

               สัมพันธ์เชิงบวกหรือเกื้อกูลกัน ได้แก่ ธาตุดินเกื้อกูลธาตุน้ำ, ธาตุลมเกื้อกูลธาตุไฟ 

               สัมพันธ์เชิงลบหรือทำลายกัน ได้แก่ ธาตุลมทำลายธาตุดิน, ธาตุน้ำทำลายธาตุไฟ

               สัมพันธ์เชิงปรกติ ไม่ส่งเสริมหรือทำลายกัน ได้แก่ ธาตุดินกับธาตุไฟ, ธาตุน้ำกับธาตุลม

           (2) พลังชี่กับพลังปฐมธาตุ, พลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์, พลังอำนาจดวงดาว

               ตามหลักศาสตร์ฮวงจุ้ย  กล่าวว่าความสำเร็จหรือล้มเหลวในการอยู่อาศัย - ทำการค้าภายในพื้นที่

แห่งหนึ่ง  เกิดจากการเคลื่อนไหวของพลังชี่  เปรียบเสมือนพลังสำคัญแห่งจักรวาล พลังชี่ไม่มีรูปแบบ ไม่มี

มาตรฐาน สัมผัสหรือจับต้องไม่ได้ แต่สามารถกำหนดการไหลเวียนของพลังชี่เพื่อความสำเร็จกับการอยู่อาศัย

หรือทำการค้าได้

               ฮวงจุ้ยไทย ชัยภูมิศาสตร์   เชื่อมั่นกับพลังสำคัญ 3 ประการ   ได้แก่  พลังปฐมธาตุ, ธาตุดิน,

ธาตุน้ำ, ธาตุลม, ธาตุไฟ  แวดล้อมเกื้อกูลหรือทำลายภายในชัยภูมิแห่งนั้น  พลังอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ

ตำแหน่งอันเหมาะสมแห่งจิตวิญญาณ และสุดท้ายพลังอำนาจดวงดาว

               ดาวอาทิตย์ "1" ถึงมฤตยู "0" สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชัยภูมิและบุคคล

           (3) สัตว์ประจำทิศ

               ฮวงจุ้ยกำหนดสัตว์ทั้งหมด 4 ตำแหน่ง 4 ชนิด แทนความหมายแตกต่างกัน ดังนี้

               ทิศตะวันออก มังกรเขียว หมายถึง ความเคลื่อนไหว สุขุมคัมภีรภาพ เฉลียวฉลาด

               ทิศตะวันตก เสือขาว หมายถึง สงบนิ่ง พลังอำนาจ ความกล้าหาญ โกรธและสงคราม
 
               ทิศหนือ เต่าดำ หมายถึง ความมั่นคงแข็งแรง ระเบียบเรียบร้อยและลึกลับ

               ทิศใต้ หงส์แดง หมายถึง สง่างาม คดเคี้ยว โชคลาภ เป็นต้น

               ฮวงจุ้ยไทย ชัยภูมิศาสตร์ กำหนดสัตว์ 8 ทิศ 8 ชนิดแทนความหมายแตกต่างกัน ดังนี้

               พญาครุฑ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หมายถึง ความสูงส่ง รวดเร็วว่องไว

               เสือ ทิศตะวันออก หมายถึง ความองอาจทระนง

               สิงโต ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมายถึง ความยิ่งใหญ่ เกรียงไกร

               สุนัข ทิศใต้ หมายถึง เล่ห์เหลี่ยมโอกาส

               พญานาค ทิศตะวันตกเฉียงใต้ หมายถึง มิตรภาพและความเยือกเย็น

               หนู ทิศตะวันตก หมายถึง ความขยันหมั่นเพียร

               แพะ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หมายถึง ความโอบอ้อมอารี เชื่องช้า

               ช้าง ทิศเหนือ หมายถึง หนักแน่น มั่นคง เป็นต้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 09, 2010, 09:20:55 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ฮวงจุ๊ย เราควรเชื่อดีไหมครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2010, 08:32:11 pm »
0
ตำนานฮวงจุ้ยไทย ชัยภูมิศาสตร์ ภาคภูมิลักษณ์




               ตามตำราพิไชยสงครามฉบับสำคัญแห่งสยามประเทศ  โดยจารึกรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

(พระเชษฐาธิราช) กษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยา พุทธศักราช ๒๐๓๔-๒๐๗๒ กล่าวถึง

หลักเกณฑ์การเคลื่อนทัพ การรบพุ่งเพื่อให้ได้ชัยชนะ

            สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  กษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย  กรุงศรีอยุธยา  พุทธศักราช ๒๑๓๓-๒๑๔๘

โปรดเกล้าฯ ให้ตรวจชำระ  และต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ราชวงศ์จักรี

ผู้ปกครองแผ่นดินสยามระหว่างพุทธศักราช  ๒๓๖๗-๒๓๙๔ ทรงได้ให้ตรวจชำระอีกครั้ง

            การ ดำเนินชีวิตมนุษย์ในโลกปัจจุบันไม่ได้ต่างอะไรกับสมรภูมิรบต้องใช้ความรู้ ไหวพริบตลอดถึงผู้

คนแวดล้อมตั้งแต่ผู้ใหญ่ เพื่อน และบริวาร .. ดังนั้น ถือว่าตำราพิไชยสงครามฉบับดังกล่าว คือส่วนหนึ่ง

ของ "ฮวงจุ้ยไทย ชัยภูมิศาสตร์" เรียกว่า ภูมิลักษณ์

            ภูมิลักษณ์ใช้ในการพิจารณา-ตรวจสอบ ชัยภูมิหรือสภาพแวดล้อมของสถานที่ หรืออาคาร จำแนก

๘ ลักษณะ ได้แก่

            ครุฑลักษณ์ หมายถึงอาคารสูงสำหรับอยู่อาศัย-ทำธุรกิจ ถนนหรือเส้นทางสัญจรอยู่ฝั่งขวา สนาม

หรือพื้นที่ราบกว้างฝั่งซ้าย  ก่อเกิดเกียรติยศชื่อเสียง ส่งเสริมผู้เกิดนักษัตรวอก, ระกา และขาล ทำลายผู้เกิด

นักษัตรชวด, เถาะ, มะโรงและมะเส็ง ดังนั้น ชัยภูมิครุฑลักษณ์เหมาะสำหรับผู้เกิดตรงกับนักษัตรวอก, ระกา

และขาล อาชีพรับราชการ นักการเมือง โดยเฉพาะเลขที่บ้าน รวมเท่ากับ 14 และ 19 ที่ตั้งภายในภูมิลักษณ์ดัง

กล่าว

            พยัคฆลักษณ์ หมายถึง  บ้าน  อาคารปลูกสร้างเรียงแถวถนน เส้นทางสัญจรอยู่ตรงกลาง ฝั่งขวาเป็น

ภูเขา หรืออาคารสูง ฝั่งซ้ายเป็นต้นไม้ใหญ่หรือป่าโปร่ง อยู่อาศัย-ทำการค้าจะก่อเกิดอำนาจบารมี   ส่งเสริมผู้

เกิดนักษัตรวอก, ระกาและขาล  ทำลายนักษัตรชวด, เถาะ,มะโรงและมะเส็ง ชัยภูมินี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบ

อาชีพ นักธุรกิจ นักบริหารและผู้จัดการฝ่ายบุคคล..โดยเฉพาะเลขที่รวม 10, 21, 25

            สิงหลักษณ์ หมายถึง  บ้าน อาคารปลูกสร้างเรียงกัน 1-2 หลังโดยมีถนนหรือเส้นทางสัญจรอยู่ฝั่ง

ขวา  และแหล่งชุมชน,  ตลาดหรือห้างสรรพสินค้าอยู่ฝั่งซ้าย ทำเลลักษณะนี้จะส่งเสริมความรุ่งเรืองแก่ผู้เกิด

นักษัตรจอ, มะเมีย  ทำลายนักษัตรฉลู, มะแม, กุน  อาชีพหรือกิจการเหมาะสม ได้แก่ นักวิชาการ, ที่ปรึกษา

กฎหมาย, วิทยากร.. โดยเฉพาะเลขที่รวมเท่ากับ 1, 9, และ 14

            สุนัขลักษณ์ หมายถึง  บ้าน อาคารปลูกสร้างภายในแหล่งชุมชน  ฝั่งขวาเป็นอาคารสูง  และฝั่งซ้าย

เป็นแม่น้ำหรือลำคลองขนาดใหญ่ ทำเลลักษณะนี้ส่งเสริมผู้เกิดนักษัตรมะเมีย ทำลายผู้เกิดนักษัตรฉลู, มะแม,

กุน  อาชีพหรือกิจการที่ประกอบภายในทำเลดังกล่าวแล้วจะเจริญรุ่งเรือง ได้แก่ ตัวแทน-นายหน้า, โชห่วย, ตัว

กลางจำหน่ายสินค้าและบริการ, สื่อสิ่งพิมพ์.. โดยเฉพาะเลขที่รวมเท่ากับ 4, 13, 22

            ครุฑลักษณ์ หมายถึง บ้าน อาคารปลูกสร้างใกล้แหล่งน้ำ  ฝั่งขวาเป็นแหล่งชุมชน,  ตลาดหรือห้าง

สรรพสินค้า  ฝั่งซ้ายคือจุดเริ่มต้นเส้นทางคมนาคมหรือทางขึ้น-ลงรถไฟฟ้าใต้ดิน  ทำเลลักษณะดังกล่าวส่งเสริม

ผู้เกิดนักษัตรชวด, เถาะ, มะโรง, มะเส็ง  ต้องห้ามสำหรับผู้เกิดนักษัตรวอก, ระกา, ขาล อาชีพ-ธุรกิจจะรุ่งเรือง

ภายในทำเลนี้ คือ เครื่องสำอาง,ไม้ตัดดอก, เสริมสวย โดยเฉพาะเลขที่รวม 2, 20

            มุสิกลักษณ์ หมายถึง บ้าน อาคารปลูกใกล้ต้นทางคมนาคมหรือทางขึ้น-ลงรถไฟฟ้าใต้ดิน มีแม่น้ำ

หรือทะเลฝั่งซ้าย พื้นที่โล่งฝั่งขวาส่งเสริมผู้เกิดนักษัตรชวด, เถาะ, มะโรง, มะเส็ง ทำลายผู้เกิดนักษัตรวอก,

ระกา, ขาล อาชีพหรือกิจการเหมาะสมคือความบันเทิง ธุรกิจกลางคืน โดยเฉพาะเลขที่รวมเท่ากับ 8, 26

            อัชชาลักษณ์ หมายถึง บ้าน อาคารปลูกโดดเด่นภายในทุ่งโล่งกว้างหรือใกล้สนามกีฬา  ส่งเสริมผู้

เกิดนักษัตรฉลู, มะแม, กุน ทำลายผู้เกิดนักษัตรจอ, มะเมีย อาชีพหรือกิจการเหมาะสมคือพนักงานองค์กร

ธุรกิจ, ซื้อมา-ขายไป โดยเฉพาะเลขที่รวม 9, 14

            คชาลักษณ์ หมายถึง บ้าน อาคารปลูกสร้างภายในทำเลหลากหลายหรือคุณลักษณะของลักษณ์ทั้ง

หมดรวมกัน ทำเลนี้จะส่งเสริมกับผู้เกิดนักษัตรฉลู, มะแม, กุน ต้องห้ามนักษัตรจอ, มะเมีย  อาชีพหรือกิจการ

เหมาะสมทำเลนี้ ได้แก่ธุรกิจการเงินทุกประเภท ..โดยเฉพาะเลขที่รวมเท่ากับ 24



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 09, 2010, 09:35:13 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ฮวงจุ๊ย เราควรเชื่อดีไหมครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2010, 08:40:48 pm »
0
จตุรธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ : องค์ประกอบฮวงจุ้ยไทย ชัยภูมิศาสตร์


                 ทฤษฎีเบื้องต้นของ "ฮวงจุ้ยไทย ชัยภูมิศาสตร์" หรือดิน น้ำ ลม ไฟ ชัยภูมิศาสตร์ กำหนดว่าโลก

และจักรวาล กำเนิดจากการรวมตัวของ "ปฐมธาตุสี่ หรือจตุรธาตุ" ได้แก่

              ธาตุดิน หรือปฐวีธาตุ คุณลักษณะหนักแน่น เยือกเย็น มั่นคงและมืดทึบ ได้แก่ สีดำ, กำแพง, โต๊ะ

 และ/หรือเก้าอี้หิน, ตุ๊กตาปูนปั้น, กรอบประตู-หน้าต่าง, สี่เหลี่ยมผืนผ้าและลายเส้นสี่เหลี่ยม..ฯลฯ

              ธาตุน้ำ หรือปฐวีธาตุ คุณลักษณะเคลื่อนไหวรวดเร็ว แทรกซึมไปได้ในทุกที่ พร้อมทำลายทุกสิ่ง

 ทุกอย่างที่ขวางหน้าด้วยความรุนแรง รวดเร็วและไร้ทิศทาง  ได้แก่  สีเหลือง, กระจก, ตู้เย็น, แก้ว,

 จาน-ชามและถ้วย, ความเย็น, ห้องน้ำ-ลานซักล้างและวงกลม..ฯลฯ

              ธาตุลม หรือวาโยธาตุ    คุณลักษณะกระจายตัวไปได้ทุกหนแห่ง   ไร้รูปแบบและรูปทรง  ได้แก่

 สีฟ้า, สีน้ำเงิน, เหล็กดัด, ลายเส้นอ้อนช้อย, ประตู-หน้าต่าง-ช่องลม และรูปทรงอ่อนช้อย..ฯลฯ

              ธาตุไฟ หรือเตโชธาตุ   สุดยอดแห่งปฐมธาตุ  คุณลักษณะโปร่งเบาสว่างเจิดจ้าเคลื่อนไหวรวด

เร็ว  ได้แก่  สีส้ม, สีแดง, แสงแดด, ไฟฟ้า, เหล็กแหลม, ลูกศร, ปากกาและลายเส้นรูปทรงสามเหลี่ยม

              ปฐมธาตุ กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกัน ดังนี้

              สัมพันธ์เชิงบวก หรือส่งเสริมเกื้อกูลกันและกัน  ได้แก่ ธาตุดินกับธาตุน้ำ  เพราะดินไม่อาจจะดำรง

ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยน้ำสำหรับรวมตัวกัน, ธาตุไฟกับธาตุลม เพราะเปลวไฟไม่อาจจะลุกโชนถ้าไม่มีกระแสลม

              สัมพันธ์เชิงลบ หรือทำลายล้างกันและกัน ได้แก่ ธาตุดินกับธาตุลม  เพราะลมเคลื่อนไหว  ต่างกับ

ดินไม่เคลื่อนไหว  กระแสลมจะทำลายล้างดิน, ธาตุไฟกับธาตุน้ำ เป็นสิ่ที่อยู่ร่วมกันไม่ได้ น้ำน้อยแพ้ไฟ แต่น้ำ

มากกลับทำให้ไฟมอดดับ

              สัมพันธ์เชิงปกติ ไม่เกื้อกูลหรือทำลายล้างกันและกัน ได้แก่ ธาตุดินกับธาตุไฟ, และธาตุน้ำกับลม

              นอกจากนี้ ปฐมธาตุทั้งสี่ จัดแบ่งออก 2 กลุ่ม ได้แก่

        กลุ่มสร้างสรรค์หรือก่อเกิด ได้แก่ ธาตุดินกับธาตุไฟ  พิจารณาจากดินที่พุ่งไปในท้องฟ้านั่นคือภูเขาและ

เปลวไฟที่พุ่งขึ้นไปในอากาศ

        กลุ่มสนับสนุน ได้แก ่ธาตุน้ำกับธาตุลม พิจารณาจากการไร้รูปทรงของลม และการขึ้นลงตามแรงดึงดูด

ของโลก-ดวงจันทร์ของน้ำ

        ปฐมธาตุทั้งสี่ หรือจตุรธาตุ กำหนดไว้ในตำแหน่งอาคารบ้านเรือนและสถานที่สอดคล้องตามทิศทาง,

สอดคล้องกับชะตาบ้าน-ชะตาคน

        เพื่อจะก่อเกิดพลังเกื้อหนุนระหว่างมนุษย์, ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันได้แก่  กระแสลม, ฝน, แสง

แดด, ฝุ่นละออง และจิตวิญญาณ

        การสัญจรขับเคลื่อนของสรรพสัตว์และมนุษย์ โดยพิจารณาตั้งแต่ลักษณะรูปทรงบ้าน, อาคาร, ถนน,

แม่น้ำหรือลำคลอง, สิ่งปลูกสร้างโดยรอบ, ประกอบกับมนุษย์และสรรพสัตว์ ทั้งผู้อยู่อาศัย-ทำการค้าภายใน

สถานที่แห่งนั้นและผู้สัญจรโดยรอบ   แล้วจะชี้ชัดได้ทันทีว่าบ้าน อาคารหรือสถานที่แห่งนั้นประกอบด้วยธาตุ

อะไร สอดคล้องกับใคร หรือต้องแก้ไขอย่างไร ตรงไหน ?

              ความสัมพันธ์แห่งปฐมธาตุสี่  หรือจตุรธาตุ   เกี่ยวโยงต่อเนื่องกับตำแหน่งเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกับ

หลักการหยิน-หยาง  ทั้งนี้หลักฮวงจุ้ยบัญญัติความสำคัญแห่งการดำรงชีวิตมนุษย์ ตามหลักลัทธิเต๋า ได้แก่ หลัก

หยิน-หยาง  ความเป็นไปในจักรวาล ก่อเกิดและดำรงภายใต้ความสมดุลสรรพสิ่ง  กลางวัน-กลางคืน, พระ

อาทิตย์-พระจันทร์, น้ำ-ไฟ, ซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง, ฯลฯ  เมื่อมองร่างกายจะพบว่ามนุษย์ดำรงชีวิตภายใต้หลัก

สมดุล  มือข้างขวา-มือข้างซ้าย,  ขาข้างขวา-ขาข้างซ้าย,  ดวงตาข้างขวา- ดวงตาข้างซ้าย  และผู้หญิง-ผู้ชาย

เป็นต้น  หลักการดังกล่าวบอกให้รู้ว่าถ้าต้องการดำรงอยู่หรือค้นพบความสุขอย่างแท้จริงต้องยึดดุลยภาพได้แก่

ถ่วงดุลหยิน - หยาง และถูกกำหนดไว้ในหลักการเลือกและแก้ไขชัยภูมิบ้าน-สำนักงาน

              ฮวงจุ้ยไทย ชัยภูมิศาสตร์ บัญญัติลักษณะเดียวกัน แยกย่อยรายละเอียดอีกขั้นหนึ่งเรียกว่าทฤษฎี

ดุลยภาพคือสิ่งที่ว่าด้วย ผู้หญิงซ้าย ผู้ชายขวา นั่นคือสรรพสิ่งทุกอย่าง ต้องคำนึงถึงเพศและความสัมพันธ์แห่ง

ธาตุเช่นเตียงนอนสามี-ภรรยา ภรรยาควรนอนด้านซ้ายของสามี, ศาลพระภูมิต้องตั้งด้านขวาของบ้าน-อาคาร,

ห้องน้ำแรกต้องอยู่ด้านซ้ายของบ้าน-สำนักงาน, พระพุทธรูปธาตุน้ำ-ธาตุลมฝั่งซ้ายของหิ้งพระหรือโต๊ะหมู่บูชา

เช่นเดียวกับพระพุทธรูปธาตุดิน-ธาตุไฟ ให้ตั้งด้านขวา ฯลฯ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 09, 2010, 09:49:25 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา