ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม ต้องมีการกำหนด อธิษฐาน อะไรยุบยิบ จังครับ กับ กรรมฐาน มัชฌิมา  (อ่าน 9110 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mitdee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 67
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมลองฟังที่สอน ตอนนี้อยู่ที่ สถานี RDN
รู้สึกว่า ขั้นตอนมีมาก จัง รู้สึกว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นี่ ฝึกได้ยากจังครับ

เพราะมีการกำหนด การเดินจิต รู้สึกว่ายากมากครับ

หรือ ผมยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ

 :s_hi:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28506
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ผมลองฟังที่สอน ตอนนี้อยู่ที่ สถานี RDN
รู้สึกว่า ขั้นตอนมีมาก จัง รู้สึกว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นี่ ฝึกได้ยากจังครับ

เพราะมีการกำหนด การเดินจิต รู้สึกว่ายากมากครับ

หรือ ผมยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ

 :s_hi:

ไม่ยากหรอกครับ ขั้นตอนต่างๆ ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด คำอธิษฐานต่างๆมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผล

ตัวผมเองก็เคยคิดอย่างคุณ mitdee ถึงขั้นปรามาสกันเลย

สุดท้ายผมก็ลองรินน้ำที่เต็มแก้วออกเล็กน้อย ลองปฏิบัติเพื่อทดสอบความสามารถของตัวเอง

ในที่สุด ผมก็ทำได้ พอผมปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนผมค่อยๆเข้าใจได้เองว่า ทำไมต้องมีขั้นตอนต่างๆ


"ไม่ลองไม่รู้ ไม่ดูไม่เห็น อย่าด่วนตัดสินใจ หากยังไม่ได้พิสูจน์"

วันที่ ๑๔ สิงหาคมที่จะถึง เชิญที่บ้านคุณจิตตรี จ.สระบุรี เลยนะครับ

 :welcome: :49: :25: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

mitdee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 67
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จริงหรือ ครับ เวลาผมนั่งสมาธิ ไม่ชอบฟังเสียง ใครพูดในขณะทำสมาธิ

ผมลองทำตามมาสองวัน รู้สึกรำคาญเสียง ไม่รู้สึกว่าเป็นสมาธิ เลยครับ

หรือมีข้อผิดพลาดอยู่อย่างไร อีกอย่างพูดตรง ๆ ผมให้ความสำคัญกับการทำสมาธิ น้อยกว่าการทำ สติ ครับ

หรือไม่ต้องทำสมาธิก็ได้ เจริญสติให้มาก ก็น่าจะสมบูรณ์ ด้วย สติ อย่างยิ่ง นะครับ

ส่วนการไป สระบุรี ผมขอพิจารณาก่อนครับ เพราะวันนั้นไม่สะดวกครับ

อย่างไรเสีย คุณ NATHAPONSON ช่วยแนะนำขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก แบบย่อ ๆ ของกรรมฐาน มัชฌิมา

ให้ผมพอเรียนเบื้องต้น หรือ แนะนำ ลิงก์ได้หรือไม่ครับ สำหรับ ผู้ที่เข้ามาศึกษาใหม่อย่างผมครับ

ขอบคุณครับ ที่ตอบให้เป็นคนแรก เลยครับ

 :25: :25: :25: :c017:
บันทึกการเข้า

meditation

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 127
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เวลาปฏิบัติตาม สิ่งสำคัญ อย่าฝืนใจเพราะอวดรู้ก่อนสิคะ ปฏิบัติตามเสียง ให้เป็นธรรมชาติ อย่าฝืนทำ เพราะถ้าฝืนทำก็จะไม่เข้าใจกรรมฐาน เลยนะคะ ที่กล่าวอย่างนี้เพราะตนเองก็เคยทำอย่างนี้มาแล้วคะ ในช่วงแรก เคยติดในรูปแบบของที่ตนเองฝึกมา เพราะฟังแล้วตาม ก็เลยคัดค้าน เพราะความอวดรู้ คะ จึงทำไม่ได้ในตอนต้นคะ

ตอนนี้ปฏิบัติกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ คะ พึ่งกลับมาสด ๆ จากวันเข้าพรรษาเลยคะ

ปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน ที่พระอาจารย์สนธยา จะเข้าใจมากกกว่า คะ

 :s_hi: :13:
บันทึกการเข้า
ข้าพเจ้าปรียบเหมือนนกที่กำลังหัดเดิน มีสิ่งใดที่ล่วงเกินใคร ก็ขอกราบอภัยไว้ล่วงหน้านะคะ
ภาวนากรรมฐาน เพื่อใคร เพื่ออะไร ทำไม ? หาคำตอบจากใจเราก่อนนะคะ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เวลาผมนั่งสมาธิ ไม่ชอบฟังเสียงใครพูดในขณะทำสมาธิ ผมลองทำตามมาสองวัน รู้สึกรำคาญเสียง ไม่รู้สึกว่า

เป็นสมาธิ เลยครับ อีกอย่างพูดตรง ๆ ผมให้ความสำคัญกับการทำสมาธิ น้อยกว่าการทำ สติ ครับ หรือไม่ต้อง

ทำสมาธิก็ได้ เจริญสติให้มาก ก็น่าจะสมบูรณ์ ด้วย สติ อย่างยิ่ง นะครับ



          สำหรับคุณกัลยาณมิตร"MITDEE" มีลักษณะอย่างเดียวกันกับผมคือ ไม่ชอบตามเสียงเรียกว่ารู้สึกรำคาญ

เหมือนคุณ เวลาภาวนาจะชอบเงียบๆ แต่หากภาวนาในบ้านที่มีสมาชิกหลากหลายก็ยิ่งแย่กว่าเพราะต่างอย่างต่าง

ใจอึกทึกยากแก่การภาวนาแต่ก็ต้องฝืนสู้ครับ เรียกว่าเอาชนะเสียง แล้วเสียงจะไร้ความหมายในที่สุด นี่แสดงถึง

การเอาจริง การภาวนานั้นสิ่งที่ต้องสู้คือกิเลสในใจ(ความทะยานอยากไปในอารมณ์) มารยั่วยุรอบตัว(มิจฉาทิฏฐิ

ชน/เจ้ากรรมนายเวร) ซึ่งผมเจอะเจอและสู้พลางถอยพลางล้มลุกคลุกคลานมาตลอด หากแต่เราต้องการหนีออก

จากวังวนเดิมๆก็ต้องสู้ อย่าท้อ และถอยไม่ได้เรียกว่า "กิเลสไม่ตาย กูตาย"

        คุณกัลยาณมิตรนั้นให้ความสำคัญกับสติมากกว่าสมาธิ ซึ่งก็ติดครูบาอาจารย์เดิมๆสอนมา แต่ผมชอบ

พลังสมาธิ และปราณ โลดโผนตามวิถีคนโสดครับ หากคนส่วนมากที่มีครอบครัวและสับสนอยากหาความสงบบ้าง

ก็หนักไปในการฝึกสติที่จะต้องพร้อมรับสถานะการณ์วุ่นวายในชีวิต สุดท้ายก่อนจากก็ขอให้ตั้งใจเข้าใจในตัวตน

ของตนเลือกวิธีที่ถูกในการแก้ปัญหาและพร้อมที่จะเผชิญกับโลกที่ไม่มีอะไรเป็นของเรา แม้ตัวเราเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 19, 2011, 02:03:01 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ผู้ภาวนา ในปัจจุบัน มักจะทำจิตให้ว่าง ในการภาวนา จึงไม่ชอบลำดับจิต

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสแสดงไว้ ใน จิตตานุปัสสนา ไว้ว่า

เราต้องรู้จิตของเราว่า ตอนนี้มีทุกข์   ตอนนี้มีสุข ตอนนี้มีปีิิติ เป็นต้น ดังนั้น

ลำดับพระกรรมฐาน ก็คือ ระเบียบขั้นตอนการเดินจิต หรือ มรรค ซึ่งเป็นอันเดียวกัน

มรรรวิถึ ไม่เกิดตอนจิตว่าง นะจ๊ะ ผล ก็คือ จิตว่าง ( หมายถึง จิตสงัดจากกิเลส ว่างจากกิเลส )
แต่ไม่ จิตว่าง มิใช่ ไม่มีจิต นะจ๊ะ เพราะิสิ่งใดไม่มี สิ่งนั้นพ้นจากไตรลักษณ์ นะจ๊ะ

สิ่งใด เป็นไปตามกฏพระไตรลักษณ์ สิ่งนั้น เป็น อนัตตา คือ ว่างเปล่าจากความเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ว่างโดนส่วนไหน ว่างโดยส่วนไม่มีอุปาทานนะจ๊ะ  อย่าางนี้ จึงปฏิบัติถูก

ดังนั้น ลำดับพระกรรมฐาน คือ มรรควิถึ ที่ให้จิตนั้นดำเนินไปตามองค์มรรคได้

จึงขอเจริญพร ให้อดทนต่อ ลำดับพระกรรมฐาน ( สำหรับศิษย์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ) อย่าท้อถอย
หรือวางเฉย บางท่าน บางคน ทิ้งรูปแบบ แม้แต่อธิษฐานกรรมฐาน การขอขมา ก็คิดแต่เพียงว่าเป็นพิธีกรรม ไม่ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ องค์ภาวนาจึงไม่สมบูรณ์ เพราะเหมือนปฏิเสธไปกลาย ๆ ว่า บุญอย่างนี้เป็นเพียงพิธิการ เป็นเพียงรูปแบบ ดังนี้เป็นต้น

ดังนั้น ขอให้อดทน และ เปิดใจของท่าน ทำลายกำแพงขั้นตอนที่เคยฝึกมาก่อน เพื่อที่จะทำตามจึงจะภาวนาได้ตามที่ควรจะได้ นะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

mitdee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 67
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อธิบาย เข้าใจยากจัง หรือ ผมยังอ่านไม่เข้าใจครับ

คือส่วนตัว ผมคิดว่า กรรมฐาน ไม่ต้องกำหนด ฐานจิตได้หรือไม่ครับ

อย่างเช่นกำหนด ภาวนา พุท หายใจเข้า โธ หายใจออก แค่นี้ไม่ได้หรือครับ

อีกอย่างในเรื่องลำดับขั้น ปีติ ผมมีความคิดว่า ถ้าปีิติเกิด ปีติไหน เกิดก่อนก็ได้

แล้วปีติ ไม่จำเป็นต้องมีฐาน จิต ก็น่าจะได้ ( คือสงสัยว่าใครสมมุติ ไว้ว่า ปีติ นั้นต้องอยู่ตรงนั้น ครับ )

เพราะปีติ เช่น ขุททกาปีติ ก็ คือ ปีติเล็กน้อย  ขณิกาปีติ ปีิติที่มีเพียงชั่วขณะหนึ่ง คือคำอธิบายไม่ตรงกับ

ที่อธิบายเรื่องปีติไว้ ครับ

ดังนั้นผมคิดว่า ในส่วนลำดับพระกรรมฐาน นั้น ไม่น่าจะจำเป็นในการภาวนาเพื่อปีติ หรือ สุข ครับ

เพราะลำพังปีติ และ สุข ก็ เป็นส่วนหนึ่งของ ฌาน นี่ครับ

การเข้าฌาน ออกฌาน ก็ไม่น่าจะต้องกำหนดขั้นตอนอย่างนี้ นะครับ

( คือ ที่แย้งเพราะยังไม่ค่อยจะเข้าใจ ครับ )

ส่วนการปฏิบัติ จิตตานุปัสสนา นั้นอธิบายให้เกี่ยวเนื่องกับสมาธิก็ไม่น่าจะใช่แบบนี้นะครับ

เพราะเท่าที่ผมฝึกตามดูจิต ตามแบบ พระอาจารย์ปราโมช ก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดอะไรเพียงแต่ให้มี สติ กำหนดรู้เท่านั้นไม่จำเป็นต้องไปกำหนดให้ รู้เฉพาะ ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28506
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คุณ mitdee มีทิฏฐิหลายอย่างเหมือนผม ถ้าจะอธิบายทางเว็บบอร์ด ต้องร่ายกันยาวเลยที่เดียว
เบื้องต้น ขอให้พิจารณา มรรค ๘ ในส่วนของ อธิจิตตสิกขา(เรียกอีกอย่างว่า สมาธิสิกขา)


สิกขานี้ประกอบด้วย
     - สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔)
     - สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔)
     - สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔)


คำว่า "สัมมาวายามะ" คงไม่ต้องอธิบาย
 คำว่า "สัมมาสติ" มีสอนกันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะ กาย เวทนา จิต และธรรม ไม่น่าจะมีข้อสงสัยอันใด
 คำว่า "สัมมาสมาธิ" อันนี้สำคัญครับ เพราะคนในยุคปัจจุบัน ขาดสิ่งนี้ ในส่วนของกรรมฐานมัชฌิมา
จะเน้นจุดนี้

 มรรคทั้งสามข้อนี้ ต้องไปด้วยกัน ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ครับ
จะพูดให้กว้างกว่านี้ก็คือ การเดินมรรค ต้องใช้ทั้งแปดข้อพร้อมกัน ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้

สิ่งที่อยากให้เข้าใจก็คือ การตัดกิเลส(สังโยชน์)ในชั้นต่่างๆเพื่อความเป็นอริยบุคคล
ต้องอาศัยกำลังสมาธิในขั้นฌาณเท่านั้น นั้นคือ คำตอบที่ว่า ทำไมสัมมาสมาธิ คือ ฌาณ ๔

วิธีที่จะทำให้สมาธิถึง ฌาณ ๔ มีถึง ๔๐ วิธี หมายถึง กรรมฐาน ๔๐ กองที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้

การที่จะศึกษากองไหนนั้น ขึ้นอยู่กับ จริต และบุญบารมีที่สั่งสมมา
เรื่องจริตนั้น คงพอทราบได้ ส่วนเรื่องบุญบารมี ทราบได้ยาก สิ่งที่ทำได้ก็คือ ต้องลองปฏิบัติดูก่อน




ผมขอนำข้อธรรมใน "พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา" มาแสดงโดยย่อดังนี้

พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุภิกษุณีที่ พยากรณ์การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ( พูดว่าได้บรรลุ ) ในสำนักของเรา ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง คือ

๑. เจริญวิปัสสนา ( ปัญญาอันเห็นแจ้ง ) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่อเจริญมรรคก็ละสังโยชน์ ( กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด ) ได้ กิเลสพวกอนุสัย ( แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน ) ย่อมไปหมด
๒. เจริญสมถะ ( ความสงบใจ ) มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า แล้วหมดกิเลส
๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน แล้วหมดกิเลส
๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งซ่าน ในธรรม ( วิปัสสนูปกิเลส =เครื่องทำวิปัสสนาให้เศร้าหมอง เช่น สิ่งที่ทำให้หลงเข้าใจผิด มีแสงสว่าง เป็นต้น ) จิตสงบตั้งหมั่น ในภายในมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วหมดกิเลส.

อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๘๖๑.  หน้าที่  ๓๑๓ - ๓๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534



หลักปฏิบัติของกรรมฐานมัชฌิมา คือ ข้อหนึ่ง เจริญวิปัสสนา โดยมีสมถะ เป็นหัวหน้า
(สมถะในที่นี้ หมายถึง สมาธิ นั่นเอง) หรือ เรียกโดยทั่วไปว่า
"ใช้สมาธินำปัญญา"

ส่วนในสายการดูจิต ของหลวงปู่ดูลย์ หรือพระอาจารย์ปราโมทย์ เน้นที่ ข้อสอง คือ
เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า หรือเรียกโดยทั่วไปว่า
"ใช้ปัญญานำสมาธิ"
 
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่า กรรมฐานมัชฌิมาฯ จะสอนสมาธิเพียงอย่างเดียว
การลำดับพระกรรมฐานมัชฌิมา จะปิดท้ายด้วยวิปัสสนาเสมอ

 ผมคุยมานานพอสมควร คุยมากกว่านี้ เกรงจะฟั่นเฝือ คำถามอื่นๆ เอาไว้คุยทีหลัง
รอให้ท่านอื่นมาคุยบ้าง


 :welcome: :49: :25: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28506
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 ผมจะกล่าวถึง กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในภาพรวมก่อน จากนั้นจะคุยในรายละเอียด

 วิมุตติ ๒ (ความหลุดพ้น)
๑. เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ)
๒. ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง)

 อรหันต์ ๔
๑. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน)
 ๒. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓)
 ๓. ฉฬภิญฺโ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
 ๔. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา)


ที่มา พจนานนุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


ขอให้พิจารณาข้อธรรมด้านบน ผมกำลังจะบอกว่า การเรียนกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

 เป็นแนว "เจโตวิมุตติ" คือ เน้นสมาธินั่นเอง

 หากเรียนกรรมฐานมัชฌิมาฯ แบบเต็มหลักสูตร ถึงที่สุดแล้วจะได้เป็น อรหันต์ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต

 กรรมฐานมัชฌิมาฯ สืบทอดมาจากพระราหุล อาจารย์ของพระราหุล ล้วนเป็น อรหันต์ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต

 ทั้งสิ้น อรหันต์ประเภทนี้ รู้กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง


  นั่นเป็นเหตุ ทำให้การสอนกรรมฐานมัชฌิมาฯ ไม่ได้สอนกรรมฐานเพียงกองเดียว แต่สอนทั้ง ๔๐ กอง

 การที่ต้องรู้กรรมฐานทั้งหมด จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ หาผู้สืบทอดได้ยาก


 ขอคุยเท่านี้ก่อน ครั้งหน้าจะตอบข้อกังขาของคุณ mitdee
 :welcome: :49: :25: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sayamol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เริ่มน่าสนใจ มากขึ้นแล้วคะ แสดงว่ากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่ใช่ปัญญาวิมุตติ ใช่หรือไม่คะ

 :smiley_confused1: :25:
บันทึกการเข้า
จริงใจ อ่อนน้อม พรั่งพร้อมด้วยความรู้
อัตตาหิ อัตตโนนาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28506
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เริ่มน่าสนใจ มากขึ้นแล้วคะ แสดงว่ากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่ใช่ปัญญาวิมุตติ ใช่หรือไม่คะ

 :smiley_confused1: :25:

 อรหันต์ ๔, ๕, ๖๐

๑. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน )
๒. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓ )
๓. ฉฬภิญฺโ (ผู้ได้อภิญญา ๖ )
๔. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา)


พระอรหันต์ทั้ง ๔ ในหมวดนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประมวลแสดงไว้ในหนังสือธรรมวิภาคปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๔๑ พึงทราบคำอธิบายตามที่มาเฉพาะของคำนั้นๆ
แต่คัมภีร์ทั้งหลายนิยมจำแนกเป็น ๒ อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น ๕ อย่างบ้าง  ที่เป็น ๕ คือ

๑. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
๒. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ)
๓. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)
๔. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
๕. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔)


ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น ๒ คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น  พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน ๕ ประเภท)  พระเตวิชชะ กับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ที่ไม่ได้โลกิยวิชชาและโลกิยอภิญญา ก็มี 

ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้ง ๔ ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่า   และการบรรลุอรหัต พระอรหันต์ทั้ง ๕ นั้น แต่ละประเภท จำแนกโดยวิโมกข์ ๓ รวมเป็น ๑๕  จำแนกออกไปอีกโดยปฏิปทา ๔  จึงรวมเป็น ๖๐  ความละเอียดในข้อนี้จะไม่แสดงไว้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ  ผู้ต้องการทราบยิ่งขึ้นไป พึงดูในหนังสือนี้ฉบับใหญ่

อ้างอิง
วิสุทธิ.๓/๓๗๓; วิสุทธิ.ฏีกา ๓/๖๕๗.
พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)



 ขอให้คุณ sayamol อ่านข้อธรรมข้างบน ให้เข้าใจก่อน คำตอบที่ผมจะตอบก็คือ

 หลักสูตรเต็มของกรรมฐานมัชฌิมาฯ คือ เจโตวิมุตติ แต่ถ้าใครอยากหยุดที่ "ปัญญาวิมุตติ" ก็ทำได้ครับ


  ;)
 
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28506
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อธิบาย เข้าใจยากจัง หรือ ผมยังอ่านไม่เข้าใจครับ

คือส่วนตัว ผมคิดว่า กรรมฐาน ไม่ต้องกำหนด ฐานจิตได้หรือไม่ครับ

อย่างเช่นกำหนด ภาวนา พุท หายใจเข้า โธ หายใจออก แค่นี้ไม่ได้หรือครับ


 โดยทำเนียมปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมา จะไม่อธิบายเป็นตัวหนังสือ แต่เน้นให้ความเข้าใจเกิดจากปฏิบัติมากกว่า

 เท่าที่พระอาจารย์ได้พยายามอธิบายมา ถือว่าอนุโลมมากแล้ว

 การกำหนดฐานจิตเป็นการผูกจิตเอาไว้ ไม่ให้ส่งออกนอก คุณลองต้องปฏิบัติไปเรื่อยๆก่อน

 ถึงจุดหนึ่งจะเข้าใจได้่เองครับ




อีกอย่างในเรื่องลำดับขั้น ปีติ ผมมีความคิดว่า ถ้าปีิติเกิด ปีติไหน เกิดก่อนก็ได้

แล้วปีติ ไม่จำเป็นต้องมีฐาน จิต ก็น่าจะได้ ( คือสงสัยว่าใครสมมุติ ไว้ว่า ปีติ นั้นต้องอยู่ตรงนั้น ครับ )

เพราะปีติ เช่น ขุททกาปีติ ก็ คือ ปีติเล็กน้อย  ขณิกาปีติ ปีิติที่มีเพียงชั่วขณะหนึ่ง คือคำอธิบายไม่ตรงกับ

ที่อธิบายเรื่องปีติไว้ ครับ


บูรพาจารย์ของกรรมฐานมัชฌิมา ได้กำหนดการลำดับกรรมฐานเอาไว้ ท่านต้องมีเหตุผล

ถึงแม้ตัวผมเอง จะไม่กระจ่างในเรื่องนี้ แต่จากการได้ปฏิบัติมา มันได้ปิติ ตามที่พระอาจารย์ได้บอกไว้

ตอนนี้อย่าเพิ่งไปคิดว่า มันมาได้อย่างไร ใครเป็นคนคิด ทำไปทำไม ทำแล้วจะไ้ด้ผลรึเปล่า

รสชาติอาหารต่างๆ คุณต้องกินมันไปก่อน ถึงจะรู้ว่ามันมีรสอย่างไร

หลายคนอาจคิดว่า คำสอนนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก เรื่องนี้อธิบายได้ว่า

การบริกรรมพุทโธ หรือ พองหนอ ยุบหนอ ก็ไม่ปรากฏใยพระไตรปิฎกเช่นกัน

แต่ทำไม คนจึงทำตามกันมา โดยไม่ขัดแย้ง ตอบว่า เพราะมันทำแล้วต้องได้ผล

การลำดับกรรมฐานมัชฌิมาก็เหมือนกัน มีคนทำแล้วได้ผล จึงมีผู้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน




ดังนั้นผมคิดว่า ในส่วนลำดับพระกรรมฐาน นั้น ไม่น่าจะจำเป็นในการภาวนาเพื่อปีติ หรือ สุข ครับ

เพราะลำพังปีติ และ สุข ก็ เป็นส่วนหนึ่งของ ฌาน นี่ครับ

การเข้าฌาน ออกฌาน ก็ไม่น่าจะต้องกำหนดขั้นตอนอย่างนี้ นะครับ

( คือ ที่แย้งเพราะยังไม่ค่อยจะเข้าใจ ครับ )


 สัมมาสมาธิ ในพระไตรปิฎก ได้อธิบายไว้ว่า คือ ฌาน ๔ องค์ของฌาน คือ ปิติ สุข เป็นต้น

 และในพระไตรปิฎก ยังบอกไว้ว่า องค์ฌานต่างๆ เป็นเครื่องบอกว่า เราอยู่ที่ฌานไหน

 เช่น ปฐมฌาน จะมี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นต้น

 ดังนั้นการได้มาซึ่งสัมมาสมาธิ จำเป็นต้องรู้องค์ฌานครับ

 ส่วนขั้นตอนการปฏิบัตินั้น เป็นวิธีปฏิบัติหรือกุศโลบายเฉพาะของกรรมฐานแนวนี้

 


ส่วนการปฏิบัติ จิตตานุปัสสนา นั้นอธิบายให้เกี่ยวเนื่องกับสมาธิก็ไม่น่าจะใช่แบบนี้นะครับ


ข้อธรรมในจิตตานุปัสสนานั้น แสดงให้เห็นว่า จิตของเราคิดเรื่องอะไรต่ออะไรอยู่ตลอด มันไม่เคยว่าง

ศัพท์บาลีเรียกว่า เสวยอารมณ์ จิตมันรู้สึกถึง ราคะ โทสะ โมะ อยู่ตลอดวลา ทุกข์บ้าง สุขบ้าง

การบริกรรมคำบริกรรมต่างๆ การอธิษฐานต่างๆ เป็นกุศโลบาย ผูกจิดเอาไว้ ไม่ให้ส่งออกนอก

คิดเรื่องที่ไม่เป็นกุศล

ดังนั้น คำบริกรรม คำอธิษฐานต่างๆ ถูกนำเข้าไปแทนที่ การเสวยอารมณ์ของจิตที่ไม่เป็นกุศล นั่นเอง

แทนที่จะให้ จิตไปคิดเรื่องที่ไร้สาระ เราก็หางานให้จิตคิดแต่เรื่องที่มีสาระหรือเป็นกุศล ไม่ดีกว่าหรือ

อีกอย่าง คำอธิษฐานมีผลครับ ขอให้ไปศึกษาเรื่องอธิษฐานบารมี พระพุทธเจ้าของเรายังต้องอธิษฐานเลย

จิตของคนเรา แม้จะเป็นอนัตตา แต่ก็เป็นธรรมชาติที่ฝึกได้ และคำอธิษฐานและคำบริกรรมต่างๆ ก็เป็น

กุศโลบายหนึ่ง ที่ใช้ฝึกจิิต



เพราะเท่าที่ผมฝึกตามดูจิต ตามแบบ พระอาจารย์ปราโมช ก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดอะไรเพียงแต่ให้มี สติ กำหนดรู้เท่านั้นไม่จำเป็นต้องไปกำหนดให้ รู้เฉพาะ ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์


 ขอโทษครับ คุณยังเข้าใจคำสอนของพระอาจารย์ปราโมช ไม่ตลอดสาย คำสอนของท่านสอนเฉพาะคนครับ

 คือ ท่านจะสอนแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนท่านก็สอนให้ดูกายครับ

 บางคนจิตไม่ถึงฐาน ไม่ตั้งมั่น ท่านก็ให้ไปทำสมาธิในรูปแบบใดก็ได้ ท่านไม่ได้บังคับ

 เช่น ภาวนาพุทโธ ท่านอธิบายว่า คำบริกรรมพุทโธ เปรียบเสมือน "land mark"

 ในเบื้องต้นจิตจำเป็นต้องมีเครื่องผูกไว้ ไม่ให้ส่งออกนอก การบริกรรมเป็นการกำหนดใช่ไหมครับ


 ที่สำคัญ ท่านห้ามนำคำสอนของท่านไปอ้างอิง เพระคำสอนของท่านสอนเฉพาะคนนั้นๆ

 อีกคนหนึ่งอาจใช้วิธีนั้นไม่ได้ผล เมื่อไม่ได้ผลอาจมีการปรามาส หรือเกิด "วิวาทะ" ตามมา

 ที่ผมตอบมา ขอให้ถือว่า เป็นการคุยเป็นเพื่อนนะครับ เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น

 สุดท้ายขอนำคำกล่าวของพระอาจารย์ปราโมช มาแสดง ดังนี้ครับ

หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้
ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลา จะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป
เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน

(พระอาจารย์ปราโมชย์ ปาโมชโช)
:welcome: :49: :25: ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2011, 07:39:32 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ยิ่งอ่านคำแนะนำ ก็ยิ่งเข้าใจมากขึ้น แต่เวลาอยากจะถามก็ไม่รู้ว่าจะถามกันอย่างไร คะ

ขอบคุณทุกท่านที่แสดงความคิดเห็น ให้ได้ทราบด้วยคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บางท่านติด แบบภาวนา อย่าง สบาย ๆ นะคะ

 คือ กำหนด ลมหายใจเข้า เป็น พุท  และลมหายใจ ออก เป็น โธ

บางท่านก็อาจจไม่กำหนด อะไร เลย เพียงนั่งหายใจ นิ่ง ๆ อยู่อย่างนั้น แต่ทั้งหมด จะกล่าวว่าผิด

หรือ กล่าวว่า ถูก ใช่หรือไม่ ก็ขอตอบว่า ยังไม่ใช่ คะ

 เพราะการที่ต้องมีลำดับ พระกรรมฐาน ออกมา นั้นเพื่อเป็น เชือก ที่คอยดึง สติ ให้เป็น สมาธิ คะ


ดังนั้นผู้ปฏิบัติ บางท่าน ก็จะรู้สึกรำคาญ เพราะเคยปล่อยจิตให้สบาย ๆ อยู่ อย่างนั้น แต่เมื่อจิตมีงาน

 เรียกว่า งาน เข้า งาน เข้า งาน เข้า ก็ต้องเหนื่อยในเบื้องต้นคะ

 แต่อย่างไรเสีย เคยฟังพระอาจารย์กล่าวว่า

  กรรมฐาน ทุกกอง วิปัสสนา ทุก แบบ จะมีผู้ปฏิบัติ อยู่ 4 แบบ คะ

 แบบที่ 1 ภาวนา ง่าย บรรลุธรรม ง่าย

 แบบที่ 2 ภาวนา ง่าย บรรลุธรรม ยาก

 แบบที่ 3 ภาวนา ยาก บรรลุธรรม ง่าย

 แบบที่ 4 ภาวนา ยาก บรรลุธรรม ยาก


 แต่ละแบบ นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่ที่ บารมี ที่สั่งสมมาแล้วด้วยนะคะ


 :s_hi: :13:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

mitdee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 67
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ขอโทษครับ คุณยังเข้าใจคำสอนของพระอาจารย์ปราโมช ไม่ตลอดสาย คำสอนของท่านสอนเฉพาะคนครับ

 คือ ท่านจะสอนแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนท่านก็สอนให้ดูกายครับ

 บางคนจิตไม่ถึงฐาน ไม่ตั้งมั่น ท่านก็ให้ไปทำสมาธิในรูปแบบใดก็ได้ ท่านไม่ได้บังคับ

พยายาม ทำความเข้าใจ ครับ แต่การภาวนา นั้น ผมคิดว่า เป็นของเฉพาะตัวบุคคล ดังนั้นวิธีการดูจิตก็อาจจะบอก
ได้ว่ายังไม่เหมาะกับจริตของผม เพราะตอนนี้ผมอาศัยปัญญาเป็นเครื่องนำจิตครับ ใช้ความฉลาดกับกุศล และ อกุศล ตรวจดูความเหมาะสมทางจิตครับ

ดังนั้นเรื่องการอธิษฐาน มาก ๆ บางครั้งก็ดูรุงรัง น่ารำคาญ นะครับ
ปล่อยจิตให้สบาย ๆ น่าจะดีกว่า นะครับ

ไม่งั้น จะเกิดความเครียดทางจิต ได้
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28506
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 แต่อย่างไรเสีย เคยฟังพระอาจารย์กล่าวว่า

  กรรมฐาน ทุกกอง วิปัสสนา ทุก แบบ จะมีผู้ปฏิบัติ อยู่ 4 แบบ คะ

 แบบที่ 1 ภาวนา ง่าย บรรลุธรรม ง่าย

 แบบที่ 2 ภาวนา ง่าย บรรลุธรรม ยาก

 แบบที่ 3 ภาวนา ยาก บรรลุธรรม ง่าย

 แบบที่ 4 ภาวนา ยาก บรรลุธรรม ยาก


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต


ปฏิปทาวรรคที่ ๒
             [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

        ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑
        ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑
        สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑
        สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  บรรทัดที่ ๔๐๘๓ - ๔๒๙๙.  หน้าที่  ๑๗๖ - ๑๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4083&Z=4299&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=161



 หามาล้อกับครูนภา :08: :P :29: :57: :72: :) ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ