ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบ อานิสงค์ การทำบุญ ต่อไปนี้ครับ  (อ่าน 9413 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปักษาวายุ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อยากทราบ อานิสงค์ การทำบุญ ต่อไปนี้ครับ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2010, 06:09:46 am »
0
การทำบุญ ด้วยอาหาร

การทำบุญ ด้วยเครื่องนุ่งห่ม

การทำบุญ ผ้าป่า

การทำบุญ กฐิน

การทำบุญ ด้วยยารักษาโรค

การทำบุญ ด้วยปัจจัย

การทำบุญ ด้วยการช่วยเหลือวัดด้วยการ ไปถากถางป่า หรือ หญ้า ทำความสะอาด เป็นต้น
บันทึกการเข้า

saithong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ อานิสงค์ การทำบุญ ต่อไปนี้ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 10:11:20 am »
0
อ้างถึง
การทำบุญ ด้วยอาหาร
เป็นผู้มีกำลัง แข็งแรง ตามวัย
อ้างถึง
การทำบุญ ด้วยเครื่องนุ่งห่ม
เป็นผู้มีอาภรณ์ อันวิจัย และมีความสุข
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ อานิสงค์ การทำบุญ ต่อไปนี้ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2010, 11:04:51 pm »
0

อานิสงส์กฐินทาน

......ในครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มาอุบัติในโลก มีบุรุษเข็ญใจไร้ญาติพี่น้องทั้งทรัพย์
สินเงินทองก็ขาดแคลนอาศัยเลี้ยงชีพอยู่ในเมืองพาราณสี ไปหาสิริธรรมมหาเศรษฐีมีทรัพย์
๘๐ โกฏิ แล้ววิงวอนขออยู่เป็นลูกจ้าง ท่านเศรษฐีมีความสงสารจึงถามว่ามีความรู้อะไรบ้าง บุรุษเข็ญ
ใจบอกว่า ข้าพเจ้าไม่มีความรู้อะไรเลย มีแต่กำลังกายเท่านั้นท่านเศรษฐีกล่าวว่าถ้าเช่นนั้นเจ้าจง
ไปรักษาหญ้าเราจะให้ข้าววันละหม้อ

ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บุรุษก็รักษาหญ้าจนมีชื่อว่า ติณณปาละ อยู่มาวันหนึ่ง ติณณปาละมาคิดว่าตัวเรานี้ ในชาติปางก่อนคงจะไม่ได้ทำบุญกุศลอันใดไว้เลย มาถึงชาติ นี้เราจึงได้ลำบากยากแค้น แม้แต่อาหารจะรับประทานไปวันหนึ่งๆ ก็ทั้งยาก แต่นี้ต่อไปเราจะต้องขวนขวายให้ทานทุก ๆ วัน เมื่อมีความตั้งใจอย่างนี้แล้ว ก็แบ่งอาหารออกเป็น ๒ ส่วน ๆ หนึ่ง ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อีกส่วนหนึ่งไว้บริโภคเองทำอย่างนี้มาตลอดทุก ๆ วันมิได้ขาดด้วยอำนาจบุญกุศล ที่ติณณปาละทำนั้น ก็ทราบไปถึงสิริธรรมเศรษฐีผู้เป็นนายจ้างจึงสั่งให้เพิ่มอาหารขึ้นอีกเป็น ๓ ส่วน
ติณณปาละก็แบ่งออกไปอีกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งถวายภิกษุสามเณรอีกส่วนหนึ่งให้แก่ยาจก อีกส่วน
ตนเก็บไว้บริโภค ทำอยู่อย่างนี้เป็นลำดับมา

จนถึงฤดูออกพรรษาประชาชนและท่านสิริธรรมเศรษฐีได้พากันทำกฐินทานเพื่อจะถวายแก่ภิกษุสงส์ ผู้อยู่จำพรรษาด้านไตรมาส สามเดือน ติณณปาละได้ทราบ ข่าวดังนี้แล้วก็เข้าไปหาสิริธรรมเศรษฐีถามถึง
อานิสงส์ผลของกฐินทานว่าการถวายทานอย่างนี้ คงจะมี ผลเป็นอันมาก เพราะประชาชนไม่นิ่งนอนใจ ช่วยกันหลายคนเศรษฐีบอกถึงคุณานุภาพ ของกฐินทานโดยละเอียดจนติณณปาละเกิดศรัทธาแก่กล้า ก็ถามว่าอีกเมื่อไรจะถึงกำหนดถวาย เศรษฐีบอกว่าอีก ๗ วัน

ติณณปาละก็กลับไปสู่ที่อยู่ของตนก็คิดว่าจะนำของไปเห็นวัตถุทานก็ไม่มี เห็นอยู่แต่ผ้านุ่งผืน
เดียวเท่านั้นที่จะนำเข้าเป็นส่วนกฐินทานได้ เมื่อจะเปลื้องผ้าออกทาน ตัวกิเลสคือความตระหนี่เหนียว
แน่นก็มากั้นไว้ถ้าสละผ้าผืนนั้นแล้วเราจะไหนนุ่ง มีอยู่ผืนเดียวเท่านี้ ผลที่สุดก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่าเรา
จะต้องถวายแน่ ก็เปลื้องผ้ามาทำการซักฟอกและย้อมด้วยน้ำฝาดตนเองก็เอาใบไม้มานุ่ง ป้องกันความ
อายเท่านั้น แล้วรีบนำผ้าไปหาเศรษฐี มอบอนุโมทนาผ้านั้นเข้าเป็นส่วนบริวารของกฐินนั้น เศรษฐีก็รับ
อนุโมทนานำผืนของติณณปาละเข้าเป็นส่วนผ้าบริวาร ซึ่งยังขาดอยู่ผืนหนึ่งแล้วนำไปถวายแก่พระภิกษุ
สงฆ์

เสียงโกลาหลก็บังเกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยเสียงสาธุการของเทวดาทั่วทั้งอากาศและปฐพี พระมหากษัตริย์ได้ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว ก็ตกพระทัยกลัวว่าจะมีมรณภัยมาถึงพระองค์รับสั่งให้หาปุโรหิต
แล้วตรัสถามถึงเหตุโกลาหลอื้ออึงนั้น ในครั้งนั้นมีเทวดาองค์หนึ่งที่รักษาอยู่เศวตฉัตรจึงกล่าวว่า ดูกร
มหาบพิตรเสียงโกลาหลอื้ออึ้งนั้น มิใช่ว่าจะมีภัยมาถึงพระองค์นั้นเป็นเสียงของเทวดาทั้งหลายในหมื่น
โลกธาตุได้สาธุการส่วนบุญของติณณปาละเป็นคนเข็ญใจ รักษาไร่หญ้าของเศรษฐี ได้เปลื้องผ้านุ่งของ
ตนออกมาเข้าส่วนกฐินทาน พระองค์อย่าตกพระทัยไปเลย พระราชาทรงทราบเช่นนั้นก็ทรงปีติยินดี รับ
สั่งให้หาติณณปาละพร้อมทั้งส่งผ้าสาฏกคูหนึ่ง ราคาผืนละหนึ่งแสนกหาปณะไปพระราชทาน นาย
ติณณปาละก็นุ่งสาฎกเข้าเฝ้าพระราชา ครั้นพระราชาทรงขอซื้อส่วนกุศลด้วยทรัพย์มีประมาณพันหนึ่ง
จนทวีขึ้นเป็นลำดับจนถึงแสนกหาปณะ ติณณปาละ ก็ไม่ขายให้ตามพระประสงค์ได้จึงกราบทูล จะ
ทรงซื้อด้วยทรัพย์นั้นไม่ได้ พระเจ้าข้าถ้าหากพระองค์จะอนุโมทนาส่วนบุญนี้ได้อยู่
พระเจ้าข้า พระราชามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งให้คนดีฆ้องร้องประกาศตลอดทั้งพระนครแล้วพระราช
ทาน ช้าง ม้า โค กระบือ ข้าทาส ชายหญิงอย่างละหนึ่งร้อย บูชาแก่ติณณปาละเป็นอันมาก แล้วตั้งไว้
ในตำแหน่งเศรษฐีส่วนพ่อค้าคฤหบดีเศรษฐี ก็พากันสละทรัพย์เป็นจำนวนมากออกบูชาคุณติณณปาละ
เป็นสมบัติมากมาย ที่ติณณปาละได้แล้วก็ด้วยบุญกุศลเจตนาอันแรงกล้า จึงเป็นผลสำเร็จให้ผลทันตา
เห็นในปัจจุบันชาติ ครั้นติณณปาละทำกิริยาตายแล้ว ก็ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์

ครั้นถึงพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัส ติณณปาละเทวบุตร ก็จะจุติลงมาอุบัติเป็นราชโอรส แห่งนครมัณฑาลวดี ครั้นต่อมาเสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดา อยู่ ๔ หมื่นปีแล้วออกบวชเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา สำเร็จพระอรหันต์องค์หนึ่งของพระศรีอริยเมตไตรย์ มีนามว่าติณณปาละเถระ ดังนี้เป็นต้น ตสฺมา สาธโว เมื่อสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายที่ทราบรู้เหตุรู้
ผลของการถวายผ้ากฐินทานว่ามีอานิสงส์อย่างไรแล้วก็ขออย่าให้ท่านทั้งหลายจงอย่าเป็นผู้ประมาท ใน
เมื่อถึงคราวกาลสมัยที่จะถวายก็ควรจะถวายก็ควรทำจะเป็น ของมากน้อยอย่างไรไม่สำคัญ สำคัญอยู่
ว่าให้ทำและทำด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง แล้วตั้งความปรารถนาของตนไว้ด้วยดี มิใช่ว่าทำเห็นแต่หน้าหา
ความศรัทธามิได้ ทรัพย์ที่เราสละไปก็จะไม่ได้ผลเต็มที่ ถ้าเราทำด้วยความเต็มใจแล้วถึงแม้จะน้อยก็
ย่อมมีอานิสงส์มากดังเรื่องติณณปาละ
------------------------------------------------------------------

อานิสงส์ถวายผ้าอาบน้ำฝน

....การถวายผ้าอาบน้ำฝนมีผลานิสงส์อย่างไร เป็นใจความว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ณ กรุงสาวัตถีในวันนั้นเป็นวัน ๘ ค่ำ นางวิสาขาได้ถือเครื่อง
สักการะ พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมากไปสู่สำนักพระพุทธเจ้าถวายเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัยแล้ว
บังเอิญฝนตก พระภิกษุทั้งหลายได้เปลือยกายอาบน้ำฝนกันมากมาย นางวิสาขาเห็นเช่นนั้นแล้วก็เกิด
ความละอาย และคิดในใจว่าพระภิกษุไม่มีผ้าสำหรับอาบน้ำฝน ก็บังเกิดมีจิตศรัทธา คิดจะสร้างผ้าอาบ
น้ำฝนถวายเป็นทานแล้วก็กลับไปสู่กรุงสาวัตถี จัดแจงหาผ้าได้พอสมควรแล้วพอตอนเย็นก็พาบริวาร
และผ้านั้นมาสู่สำนักพระพุทธองค์แล้วถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้น แก่องค์พระศาสดาพร้อมทั้งภิกษุทั้งหลาย
แล้วกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้มีผลานิสงส์เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า

พระองค์ได้ตรัสเทศนาว่า ดูกรนางวิสาขา ถ้าบุคคลใดมีจิตศรัทธานำผ้าอาบน้ำฝนมาถวายแก่พระภิกษุ
ในพุทธศาสดาจะมีผลานิสงส์เป็นอเนกประการแล้วพระองค์ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงต่อไปว่าใน
ศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีหญิงเข็ญใจคนหนึ่ง มีนามว่า อมัยทาสีอยู่มาวันหนึ่งนางได้
เห็นคนทั้งหลาย นำผ้ากาสาวพัตรไปสู่สำนักภิกษุสงฆ์ให้เป็นทาน โดยกระทำให้เป็นผู้อาบน้ำฝน
นางอมัยทาสีก็มีศรัทธาอยากจะทำบุญกับเขาบ้าง นางก็คิดว่าจะทำอย่างไรดีหนอ ที่เราจะได้ทำบุญใน
คราวนี้บ้าง พิจารณาผ้าที่จะให้ทานก็ไม่มี รีบไปหามารดา แล้วบอกความจำนงของตนให้มารดา มารดา
ก็ตอบว่า เราจะเอามาแต่ที่ไหน เราก็เป็นทาสเขาอยู่ นางอมัยทาสี เมื่อได้ยินดังนี้น้ำตาก็ไหลด้วยความ
เสียใจ มารดาของนางก็มีจิตสงสาร จึงแนะนำให้นางอมัยทาสีไปขึ้นค่าตัวกับนายนางได้รับคำแนะนำ
เช่นนั้นแล้วก็มีความยินดีจึงรีบไปหานายของนาง ฝ่ายเศรษฐีผู้เป็นนายก็ปฏิเสธไม่ยอมให้นางอมัยทาสี
ขึ้นค่าตัว นางไม่มีความสบายใจนางมาคิดว่าเมื่อชาติก่อนนี้เราไม่ทำบุญให้ทาน มาชาตินี้เราจึงได้ตก
ระกำลำบาก ถึงเวลาจะทำบุญกับเขาบ้างก็จะไม่ทำกับเขาคราวนี้จะเป็นตายอย่างไรจะต้องขอทำบุญให้
ได้ในครั้งนี้ ด้วยจิตศรัทธาแรงกล้านางอมัยทาสีทนความอับอาบขายหน้า ได้สละผ้าห่มแล้วนำใบไม้มา
เย็บกลัดพอปกปิด บรรเทาความอายแล้วเอาผ้าซักฟอกให้หมดความสกปรกแล้วนำดอกไม้ธูปเทียน
พร้อมด้วยผ้าไปสู่ธรรมศาลาถวายผ้าอาบน้ำฝนนั้นในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๗ ก่อนเข้าพรรษาพร้อมกับ
มหาชนทั้งหลาย แล้วตั้งความปรารถนาว่า ด้วยอานิสงส์ที่ตนได้กระทำบุญในคราวครั้งนี้ ขึ้นชื่อว่า
ความยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์อย่าได้มีในชาติต่อ ๆ ไป จนถึงพระนิพพาน และขอให้พบพระศาสนา
พระศรีอริยเมตไตรย์ เมื่อคำปรารถนาของนางจบลงแล้ว เทวดาทั้งหลายก็ซ้องสาธุการสนั่นหวั่นไหว

ด้วยอานิสงส์ของนางอมัยทาสีทำบุญในคราวครั้งนั้น อยู่มาได้ ๗ วัน พระเจ้าพันธุมหาราช ได้เสด็จไป
พบนางกำลังหาบฟืนมาในระหว่างทางก็เกิดความปฏิพัทธ์รักใคร่ในตัวนางมาก จึงตรัสปราศรัยไต่ถาม
ความตลอดแล้วจึงยกนางขึ้นราชรถนำเข้าไปสู่พระนคร อภิเษกนางให้อยู่ในตำแหน่งอัครมเหสี ครั้น
ทำลายขันธ์แล้วนางได้ไปเกิดบนสวรรค์มีวิมานทองสูง ๑๕ โยชน์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร ๓ พัน ครั้น
เสวยทิพย์สมบัติแล้วจนในชาติสุดท้ายนางจะได้เกิดในศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย์ได้บรรลุธรรมพิเศษ
ดังนี้แล พระองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว ชนทั้งหลายก็ได้ดวงตาเห็นธรรมส่วนนาง
วิสาขาก็ตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย
------------------------------------------------------------------

อานิสงส์ถวายผ้าจำนำพรรษา
....เมื่อสมัยครั้งพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่ง
เป็นผู้มีศรัทธาต่อพระรัตนตรัย ชื่อว่าติสสะ ได้พร้อมใจกับภรรยาของตนเย็บและย้อม ซึ่งจีวรสบง
สังฆาฏิ ได้ถวายเสร็จแล้วก็ทูลลากลับไปสู่เคหาของตน
... ในกาลครั้งนั้นพระโมคคัลลานะ ผู้ประกอบ ด้วยฤทธานุภาพ
สามารถนำข่าวสารสวรรค์มาบอกมนุษย์นำข่าวมนุษย์ไปบอกสวรรค์ และนรกเป็นต้น
ครั้งแล้วพระโมคคัลลานะก็ขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้เห็นปราสาทมีความงามรุ่งเรืองกว่าปราสาทหลัง
อื่น ๆ และมีนางเทพกัญญา พันหนึ่งแวดล้อมปราสาทนั้น แต่ไม่มีเทพบุตรอยู่ในปราสาทหลังนั้น พระ
เถระเจ้าได้ไต่ถามกับนางเทพอัปสรนั้น ได้ทราบโดยตลอด จึงลงจากเทวโลกเข้าไปสู่สำนักพระบรม
ศาสดากำลังมีพุทธบริษัททั้ง ๔ แวดล้อมอยู่ พระเถระเข้าไปถวายอภิวาท แล้วก็ทูลถามถึงอานิสงส์
ถวายผ้าจำนำพรรษายังมีชีวิตอยู่ในเมืองมนุษย์ ว่าปราสาททิพย์ได้รอคอยอยู่ในเทวโลก เพราะเกิดจาก
ผลทานของการถวายผ้าจำนำพรรษา จะมีบ้างไหมพระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงตรัสว่า
ดูกรโมคคัลลานะ ผ้าจำนำพรรษาที่ติสสะอุบาสกได้กระทำไว้นั้น ก็ได้ปรากฏแก่เธอเองแล้วมิใช่หรือ
พระโมคคัลลานะ ทูลตอบว่าจริงแล้วพระเจ้าข้า
สมเด็จภวันต์ตรัสต่อไปว่า โมคคัลลานะบุคคลผู้ใดมี ศรัทธา ได้ถวายผ้าจำนำพรรษาแก่ภิกษุสงฆ์
มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น บุคคลผู้นั้นเบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ ไป
ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป “ทานสคฺคโสปาณํ” ผลทานเป็นบันไดนำไปสู่สวรรค์
ปิดกันเสีย ซึ่งอบายภูมิ บุคคลผู้มีมืออันชุ่มไปด้วยการให้ทาน หมู่ทวยเทพทั้งหลายย่อมมีความยินดี
สรรเสริญรอคอยบุคคลผู้ให้ทานนั้นอยู่เสมอ ดุจนางอัปสรเทพกัญญารอคอยติสสะอุบาสกฉะนั้น เมื่อ
จบพระสัทธรรมเทศนาลง บริษัททั้ง ๔ มีความรื่นเริง ยินดีในพุทธพจน์นัก กลับเป็นผู้ตั้งอยู่ในกุศล
สัมมาปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ฝ่ายติสสะอุบาสกครั้นทำลายขันธ์ลงก็นำตนไปอุบัติขึ้นใน
สัตตรัตนปราสาท เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ มีนางอัปสรแวดล้อมเป็นยศบริวาร
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ อานิสงค์ การทำบุญ ต่อไปนี้ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2010, 11:07:13 pm »
0

อานิสงส์สังฆทาน (อาหาร)

......การถวายอาหารบิณฑบาตแก่ภิกษุสงฆ์ให้แก่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่ได้พร้อมใน
กันนำอาหารบิณฑบาตพร้อมด้วยเครื่องบริวารทั้งหลายมาถวายในท่ามกลางสงฆ์มิได้จำเพาะเจาะจงแก่
พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้อย่างนี้เรียกว่าสังฆทานอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าถวายทานเจาะจงบุคลิก รูป
นั้น รูปนี้ อย่างนี้เรียกว่า ปาฏิบุคลิกทาน จึงจัดเป็น ๒ ประเภทดังที่ได้แสดงมาแล้วนั้นการถวายทานนั้น
ถ้าถวายเป็นสังฆทานมีผลาสิสงส์มากกว่าบุคลิกทาน
จากดังจะเห็นจากพระสิวลีเถระผู้มีลาภมาก จนได้รับเป็นเอตทัคคะ จากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศด้วยลาภ
จะไปทางไหน ก็มีแต่อดิเรกลาภ เหลือหลาย บริบูรณ์
ก็เพราะท่านได้ถวายทานมาแต่ในชาติปางก่อน ชาตินี้ท่านก็มีความสุขกายสบายใจไม่เดือด
ร้อนอดอยาก ความพิสดารว่าในสมัยหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าสิวลีได้เกิดเป็นบุตรของเศรษฐี เมื่อเจริญวัยขึ้น
มาก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสได้ให้ทานแก่พระปัจเจกโพธิวันละองค์ ๆ ครั้นต่อมาได้รับสมบัติแทนบิดา เป็น
เศรษฐีก็ถวายทานแก่พระปัจเจกโพธิขึ้นอีกรวมเป็น ๗ องค์ ต่อวัน ตลอดมากระทำอยู่ดังนี้จนสิ้นชีพ ก็
ได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นยามามีวิมานสูง ๓๐ โยชน์ มีนางฟ้าเทพอัปสรหนึ่งหมื่นเป็นบริวาร เสวยสุข
ทิพย์สมบัติในชั้นยามาประมาณโกฏิปีในเมืองมนุษย์ ครั้นถึงศาสนาของสมเด็จพระพุทธเจ้าของเราทุก
วันนี้จึงจุติมาถือกำเนิดในตระกูลเจ้าศากยะ บริบูรณ์โภคสมบัติยิ่งนัก ครั้นเจริญวัยขั้นมาก็ออกบวชต่อ
พระพุทธเจ้า ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ มีชื่อว่าพระสิวลีเถระ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่มี
ลาภมาก พระเถระจะไปสู่สถานที่ใดเทวดามนุษย์ทั้งหลายย่อมสักการบูชาด้วยเครื่องไทยทานอย่างมาก
มายแม้บริวารของท่านก็พลอยบริบูรณ์พูนสุขไปด้วยดังนี้ ก็เพราะอานิสงส์แห่งการถวายทานให้เป็น
สังฆทาน
------------------------------------------------------------------

อานิสงส์ถวายสัพพทาน

...... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ ๑. ให้ของที่สะอาด
๒. ให้ของประณีต ๓. ให้ถูกกาล ๔. ให้ของที่สมควร ๕. เลือกให้ ๖. ให้เสมอ ๆ
๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส ๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา
ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนาย
อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้ ๆ นครสาวัตถี
ในกาลครั้งนั้นมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ ก็เอา ประธูปประทีปคันธรสของหอม
แล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่
ควรแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใด
เลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา” อันว่าองค์

... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธา
มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า
สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป
ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป
ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป
ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง
ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป
ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป
ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป
บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป
ผู้ใดสร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสารให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป
ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอารามได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดสร้างศาลาสะพานบ่อน้ำให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป
ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียนได้อานิสงส์ ๘ กัลป
ผู้ใดได้สร้างอัฏฐให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป
ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
ผู้ใดถวายผ้าป่าได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดานเป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัยได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดถวายผ้าอาบน้ำฝน และผ้าจำนำพรรษา ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดสร้างปราสาทดอกผึ้งให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓ กัลป
ผู้ใดสร้างต้นกัลปพฤกษ์ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์
ผู้ใดสร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรีให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาดอาสนะได้อานิสงส์ ๔ กัลป
ผู้ใดถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดได้ปลูกกุฏีกรรมให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดได้สร้างบั้งไฟจุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป
ผู้ใดได้สร้างธรรมาสน์ ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดได้เผาซากศพที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดง ได้บริวารหมื่นหนึ่ง
ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ได้บริวาร ๓ หมื่น
ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดาได้บริวารหนึ่งแสน
ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้บริวารโกฏิหนึ่ง
ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำก็ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
สัพพทานทั้งหลายชนิดเหล่านี้บุคคลผู้ใดมีศรัทธากล้าหาญอาจสละสมบัติออกสร้างวัตถุประสงค์
ดังแสดงมานี้ ก็มีอานิสงส์ผลบุญพูนสุขในชั่วนี้และชั่วหน้า
อานิสงส์ที่ได้ปัจจุบันนี้คือ จะไปมาทางใดก็มีคนนับหน้า
ถือตาไม่ได้เป็นที่รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีแต่ผู้อยากให้ร่วมกินร่วมอยู่ทั้งนั้น เราจะเข้าไปสู่
สมาคมใด ๆ ก็ไม่ครั้นคร้ามสยดสยองเกรงกลัวต่ออำนาจผู้ใด การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาตร
ปรารถนาสมประสงค์ ครั้นสิ้นบุพพกรรมมนุษย์ในโลกนี้แล้ว ก็จะถือเอาตนเมื่ออุบัติขึ้นบนสวรรค์ชั้น
ดาวดึงสายามาตุสิตาโดยลำดับ จนถึงพรหมโลก ครั้นจุติจากพรหมโลกลงมาเกิดในมนุษย์โลก ก็ไม่ได้
ไปเกิดในหิเนกุลชั่วร้าย และจักได้ไปเกิดในตระกูลท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ผู้มั่ง
ครั่งมั่งมีเศรษฐีกฎุมพีแล้วก็จักได้ทัวระวัดไปมาบารมีแก่กล้า ก็จะได้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้วนิรพาน พอ
จบธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าลง สมเด็จพระเจ้ามหานามะ ก็ได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมณ์
สามส่วนบริษัททั้งหลาย ก็ได้ถึงโสดาสกิทาคา อนาคา อรหันต์

ที่มา  http://www.84000.org/anisong/index.shtml

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ อานิสงค์ การทำบุญ ต่อไปนี้ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2010, 11:16:55 pm »
0
การทำบุญ ด้วยยารักษาโรค
เป็นผู้ไม่มีโรค สุขภาพแข็งแรง

การทำบุญ ด้วยปัจจัย
ถ้าถวายเงิน จะเป็นผู้มีทรัพย์

การทำบุญ ด้วยการช่วยเหลือวัดด้วยการ ไปถากถางป่า หรือ หญ้า ทำความสะอาด เป็นต้น
จะได้รับความสะดวกสบาย

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อยากทราบ อานิสงค์ การทำบุญ ต่อไปนี้ครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 18, 2010, 10:07:13 am »
0
"อานิสงส์ผลแห่งทาน"
 :015: :015: :015: :25: :015: :015: :015:ครั้นจะกล่าวถึงกุศลผลของทาน
ด้วยเจือจานทรัพย์แห่งตนเพื่อชนอื่น
คิดเมตตาสละได้ใจแช่มชื่น
ทรัพย์ราบรื่นมิเคืองขัดอัศจรรย์
หากให้ทานใฝ่กุศลด้วยจิตหน่วง
มิต้องห่วงอานิสงส์คงสวรรค์
จตุมหาราชิกาได้สุขสันต์
ครั้นดับขันธ์วิมานแก้วมิแคล้วมี
เมื่อฝักใฝ่ในศีลทานมิพันผูก
ด้วยเห็นถูกทานกระทำเป็นกรรมดี
ภูมิไตรตรึงษ์ดาวดึงส์ได้สุขี
คราถึงที่คงได้ยลผลของทาน
อีกหนึ่งทานการให้ได้สุขเย็น
ใครบำเพ็ญมิหวังผลที่เจือจาน
ด้วยทิฏฐิประเพณีมีมานาน
ชีพวายปราณคงได้ไปชั้นยามา
เมื่อยินดีสละให้อยู่เป็นนิจ
ไม่ผูกติดประเพณีที่เคยมา
บรรพชิตควรแก่ทานทักษิณา
ดุสิตาได้บันเทิงรื่นเริงใจ
เมื่อมีจิตบริสุทธิ์อุตสาหะ
วิริยะเยื่องฤาษีชีไพร
นิมมานรดีคงได้ไป
ด้วยการให้สมณะแลพราหมณ์ชี
กุศลทานหากสร้างไว้อย่างอุกฤษฎ์
อบรมจิตให้สูงล้ำธรรมนั้นมี
ปรนิมมิตวสวัสดี
ได้เปรมปรีคุณอารมณ์อุดมแท้
เทวภูมิที่แสดงแจงทั้งหมด
อนาคตคือสวรรค์ชั้นกลางแล
ทานรักษาศีลบำเพ็ญมิผันแปร
เที่ยงแท้แน่ในกุศลผลทานเอย.
:043: :043: :043: :d030: :043: :043: :043:                      ธรรมธวัช...!
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา