ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิปัสสนึก วัปัสสนา และ วิปัสสหนา ช่วยกันวิจารณ์หน่อยครับ  (อ่าน 4877 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
กล่าวถึง หลักการปฏิบัติ ภาวนาในพระพุทธศาสนาแล้ว ผมว่าคงไม่พ้นคำว่า วิปัสสนา ไปได้ ดังนั้นความเข้าใจคนส่วนใหญ่ จึงนึกว่า คิดว่า การภาวนาในพระพุทธศาสนานั้น มีอยู่แต่เพียงการคิด

กล่าวถึง คำว่า เห็นตามความเป็นจริง กับ คำว่า คิดตามความเป็นจริง อันนี้เป็นวิปัสสนาหรือไม่ ?

ยกตัวอย่าง เมื่อเราเห็นว่าทุกคน เกิดมาแล้วต้องแ่ก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ผมว่า้เห็นตามความเป็นจริง ก็เห็นแล้วเข้าใจแล้ว แต่ผมก็ยังไม่รู้สึกว่า ผมจะสิ้นกิเลสได้จริง
ถึงแม้ผมจะรู้ว่า ต้องแก่ ผมก็แก่จริง ๆ เมื่อความแก่เกิดขึ้น จึงไม่ทุกข์ ไม่เดือดร้อนกับความแก่ แต่ก็ไม่ทำให้ผมรู้สึกว่า ผมคลายจากสังโยชน์ทั้ง 10 ได้จริง
ถึงแม้ผมจะรู้วา ต้องเจ็บ ผมก็เจ็บจริง ๆ เมื่อความเจ็บเกิดขึ้น เช่นปวดท้อง ก็รู้ว่ามันปวดท้อง มันเป็นไปตามโรค สมุฏฐาน และ ธาตุ ต่าง ๆ เป็นไปตามวัฏจักรแห่งชีวิตของมนุษย์ รู้แล้วใจก็ว่าง แต่ความเจ็บก็ไม่ได้หาย ที่หายเพียงแต่หายทุรน ทุราย ทางจิต ถึงแม้ผมรู้อย่างนี้ ผมก็ยังรู้สึกได้ว่า ไม่ได้สิ้นกิเลส หรือทำผมพ้นไปจากวัฏฏสงสารลงได้

การที่ผมรู้อย่างนี้ สำหรับผมนั้น เหมือนคำว่า ปลอบใจ ตนเองเท่านั้นเอง ไม่ใช่ รู้เห็นตามความเป็นจริง

การดำเนินจิตอย่างนี้ สำหรับผม รู้ตลอดเวลา ว่าเป็น เพียง วิปัสสนึก เท่านั้น

ดังนั้นถึงแม้ผมอ่าน มหาสติปัฏฐาน 4 จนจบไปหลายรอบ ก็ไม่ทำให้ผมสิ้นกิเลสลงแต่อย่างใด

ผมอุตส่าห์ ฝ่่าฟันไปเรียน พระอภิธรรม ที่คิดว่าเป็นธรรม อันเลิศแล้ว แต่สุดท้ายก็เพียงแต่เกิดความเข้าใจเหมือนสูตร แกง สูตรเลข ที่ต้องเป็นไปตามนี้ แม้จะศึกษาเรื่อง อริยสัจจะ 4 ตามที่พระคุณเจ้าแต่ละรูปพรำ่สอนและแนะนำผม อยู่ แต่ผมก็รู้ตัวว่า มันมีแต่ความเข้าใจ ว่ากำหนด รู้ รูป และ นาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผมสิ้นกิเลส


จนกระทั่ง วันหนึ่งผมได้มาศึกษาหลักพระกรรมฐานภาคปฏิบัติ ซึ่งไม่มีการเรียนแบบนักเรียน มีแต่ถูกไล่ให้ภาวนาแต่ประการเดียว

เพียง 7 วันการภาวนา พระกรรมฐานจึงทำให้ผมรู้ว่า ความรู้ทางธรรมที่ผมอุตส่าห์ไปร่ำเรียนมานั้น สู้การภาวนาจริงไม่ได้เลย

ผมขอเล่าไปตามลำดับ นะครับ

วันที่ 1 กับการรักษา ศีล และ สมาทานพระกรรมฐาน ซึี่่งมีรูปแบบเป็นพิธีกรรมแต่ผมก็ปฏิบัติตาม
        นั่งกรรมฐาน สลับ เดินจงกรม ตั้งแต่เช้ายันเย็น ผมทำครั้งแรกก็นึกอยู่ในใจว่า ทำแบบนี้ก็เคยทำมาแล้ว
        จะไปได้อะไรเพิ่ม แต่ผลที่ได้ ๆ ครูจริง ๆ มาสอนทำให้ผมรู้ว่า การเดินจงกรมผมนั้นไม่ได้เรื่องเลย แบบ   รูปนาม ที่กำหนด แบบระยะ ซ้ายย่าง ขวาย่าง การเดินจงกรมของผม แค่ครูผมสอนให้หลับตาเดินก็ไม่เป็นเลยครับ คราวนี้ได้เดินจงกรมแบบ สมาธิ เดินกำหนดธาตุ เท่านั้น เดินจงกรม 30 นาที ครูผมก็ให้ผมนั่งกรรมฐานต่อ ครับ ซึ่งทำอยู่หลายรอบจนกระทั่งใกล้เย็น ผมจึงเริ่มได้รู้สึกการเห็นองค์ธรรม องค์แรกแห่งสมาธิ นั้น ก็คือ ปีติ พอเกิดครับ เป็นระลอกคลื่นเลยครับ ( มีอาการแห่งปีติ มากกว่านี้ )
คืนที่ 1 ผมอยากได้ปีติอย่างนี้ ทั้งคืน นอนหลับเป็นครั้งแรกในชีวิต ที่ผมนอนหลับได้ดีมากครับ

วันที่ 2 การฝึก ก็ยังคงเป็นแบบเก่าอยู่แต่ รอบนี้ไม่ต้องมีครู มาคุมแล้ว สามารถฝึกได้เอง การเดินรู้สึกได้เลยครับว่าเบามาก และเริ่มเดินได้คล่องยังเดินเร็วอยู่ครับ พอกลับมานั่งกรรมฐานต่อรู้สึกดีมากขึ้นขยายเวลาการนั่งได้จาก 30 นาทีเป็น 45 นาที

วันที่ 3 การฝึก ก็ยังคงเป็นแบบเดิมอยู่ แต่วันนี้ผมเริ่มรู้สึกว่าตัวเองเิดินจังหวะช้ามากขึั้น วันนี้ลองกำหนดหลับตาเดิน มีความรู้สึกภายในว่า ไม่โคลงไม่โยก และไม่ส่าย ซึ่งต่างวันแรก และ วันที่สอง พอกลับมาันั่งกรรมฐานแล้ว ขยายเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 50 นาที และ 1 ชั่วโมงเศษ

วันที่ 4 เดินจงกรมนานขึ้นไปกลับรอบหนึ่งเกือบชั่วโมง นั่งกรรมฐานได้ถึง 1 ชั่วโมง ถึง 2 ชั่วโมง

วันที่ 5 เดินจงกรมนานขึ้นมาก ๆ พร้อมกับเห็นจังหวะในโลกช้าไปหมด มีการเห็นที่ครูผมเรียกว่า นิมิต ด้วย
        นั่งกรรมฐานวันนี้ได้เรียนกรรมฐานเพิ่มขึ้น แสงสว่าง เฉพาะหน้าเริ่มเกิดขึ้นเหมือนแสง หิ่งห้อย ที่สว่าง ๆ ดับ ๆ และเริ้มชัดเจนขั้นเฉพาะหน้า เหมือนดวงเทียน วันนี้ครูสอนเรื่อง นิมิต และการดำเนินจิตในสมาธิ

วันที่ 6 ไม่มีครูก็ทำเอง ซึ่งทำได้ดี วันนี้ครูผม สอนให้ผมว่า คำภาวนาที่ ธรรมดา ๆ หลังนั่งสมาธิ ผมก็ว่าไปโดยครูผมกำชับว่า ไม่ต้องไปตามคิด ตามนึก ให้ว่าไปด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ผมเองก็ว่าไปตามซื่อ

วันที่ 7 คำภาวนา แทรกถึงใจ ผมว่าไปตามซื่อแต่น้ำตาไหล พราก ๆ เลยครับ ไม่ได้นึกคิดตามแต่ ใจมันเห็น อย่างไร บอกท่านไม่ถูก รู้แต่ว่าต่างจากการที่ผมกำหนดรู้ และ เข้าใจที่เีขียนไว้ในตอนต้นมาก ๆ

วันนี้ ผมเลยมานั่งทบทวนกับคำว่า วิปัสสนึก วิปัสสนา และ วิปัสสหนา



ต้องขอบคุณ ครู ผมด้วยจริง ๆ
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
     :015: :015: :015: :25: :015: :015: :015:    :banghead:องค์วิปัสสนาธรรม เป็นการเจริญปัญญาพิจารณาเพื่อเข้าถึงแก่นแท้ความจริงของธรรมชาติ โดยจิตมิได้ปรุงแต่งนึกคิด หรือเรียนรู้ท่องจำแล้วนำมาพินิจพิเคราะห์(วิปัสสนึก)
  :banghead:องค์วิปัสสนาธรรม ต้องตั้งอยู่บนบาทฐานแห่งสมาธิ(สมถกรรมฐาน ขั้นอุปจารสมาธิเป็นพื้น)
  :banghead:องค์วิปัสสนาธรรม ในความเข้าใจของผู้พร่องในปัญญาทั้งหลายที่มีทัศนะว่า องค์แห่งสมถภาวนานั้นไม่จำเป็น เข้าสู่องค์วิปัสสนาธรรมเลย เป็นปัญญาวิมุตติ หลุดพ้นด้วยปัญญา อย่างนี้ผิดครับ
  :banghead:ดังนั้น...เราท่านทั้งหลาย เมื่อต้องการเป็นนักปฏิบัติผู้เข้าถึงแก่นธรรมแท้จริง ต้องละทิ้งสิ่งปรุงแต่งทั้งหมด กล่าวคือทิ้งตำรา ทิ้งความรู้ ละทิฏฐิมานะ ทำจิตให้นิ่ง ให้จิตทำงาน อยู่ที่บริกรรมภาวนา มีพุทโธเป็นอาภรณ์ เมื่อจิตนิ่ง ปัญญาก็เกิด ความจริงก็เห็น แจ้งชัดไม่มีประมาณ จิตยกระดับขึ้น เป็นผู้ถึงพร้อม ย่อมสมควรแก่การลุกรับและไหว้ให้ซึ่งอาสนะ.                                                                                                                                                                                                 :coffee2:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 21, 2010, 11:45:59 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
พอจะบอกได้เป็นอารมณ์ได้นิดหน่อย ในการรู้เห็น

1.มีอารมณ์ที่นับเนื่อง ว่าทุกสิ่ง มีเหตุ มีปัจจัย หนุนเนื่องกัน
2.มีอารมณ์ที่นับเนื่อง ว่าไม่ใช่กุศล และไ่ม่ใช้อกุศล และไม่เป็นกลาง ๆ

คงจะพูดให้เข้าใจยาก ครับ ในส่วนนี้

ขอบคุณกับ ประวัติพระอรหันตฺ์วังคีสะ ด้วยนะครับ คุณธรรมธวัช
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา