ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หากมีผู้กล่าว บทกวี สมาธิ อย่างนี้ ทุกท่านมีความเห็นอย่างไร ?  (อ่าน 10374 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

meditation

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 127
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ที่มาของภาพ http://www.gotoknow.org/blog/aoyyala/151162


อยากทราบ ความคิดเห็นของสมาชิก ชาวกรรมฐาน ด้วยคะ
บันทึกการเข้า
ข้าพเจ้าปรียบเหมือนนกที่กำลังหัดเดิน มีสิ่งใดที่ล่วงเกินใคร ก็ขอกราบอภัยไว้ล่วงหน้านะคะ
ภาวนากรรมฐาน เพื่อใคร เพื่ออะไร ทำไม ? หาคำตอบจากใจเราก่อนนะคะ

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าเป็น สัมมาสมาธิ ก็อาจจสวนทางกับพระพุทธพจน์ เพราะการนึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า พระองค์ ทรงตรัสสอนไว้แสดงไว้ เป็นอนุสสติ และมีอานิสงค์ ชัดเจน

 ถ้าบอกว่าเป็นสมาธิ เพราะการทำอย่างที่ยก อย่างนี้แล้ว น่าจะเป็นสมาธิ ที่จะไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนา ได้ แต่หากเอาเพียงแค่จิตสบาย หลับสบาย ก็น่าจะไม่ขัดข้อง นะคะ


  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

สมาธิ
    [สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสํารวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบ หรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).


อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


สมาธิ  ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ

อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    กรรมฐาน ๔๐ กองที่มีในพระไตรปิฎก มีพระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า "เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น"
โดยส่วนตัวผมคิดว่า หากเรายึดเอาตัวอย่าง ๔๐ กอง "ความตั้งใจมั่น" ที่ไม่ได้มาจากตัวอย่างนั้น เราจะค้านว่า
นั่นไม่ใช่ "สมาธิ"

    ขอยกตัวอย่าง พระจุฬปัณถก พระพุทธเจ้า ให้ลูบผ้าขาวจนผ้าดำ ถามว่า "นี้อยู่ในกรรมฐานกองไหน"
บางคนอาจตอบว่า เป็นกสิณสีขาว
    มาในยุคปัจจุบัน หลวงพ่อเทียน สอนวิธีเคลื่อนไหวมือ แล้วอันนี้อยู่ในกรรมฐาน ๔๐ กองหรือไม่


    การหลับตา เมื่อนั่งสมาธิคนส่วนใหญ่จะหลับตา แต่พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้หลับตาเลย
ขอให้สังเกตพระพุทธรูปปางสมาธิ มีองค์ไหนหลับตาบ้าง

    การบริกรรม ไม่ว่าจะเป็นพุทโธหรือคำอื่นๆ พระพุทธเจ้าก็ไม่เคยสอนเช่นกัน

    เหตุใด พวกเราจึงทำนอกเหนือจากคำสอนของพระพุทธองค์ โดยเลือกที่จะทำตามคำสอนของอาจารย์

    เรื่องนี้เป็นกลายเป็นปัญหาใหญ่มาถึงปัจจุบัน อย่างกรณีพระอาจารย์คึกฤทธิื์ ที่ยึดเอาพระไตรปิฎกอย่างเดียว

    ไม่ยอมรับคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆเลย เรื่องนี้พูดมากไม่ได้ เดี๋ยวจะกลายเป็นการปรามาสกัน



    กลับมาที่ความหมายของคำว่า "สมาธิ" ที่ยกมาแสดงข้างต้น จะเห็นว่า ไม่ได้หมายถึงการหลับตา
ไม่ได้หมายถึงการบริกรรมคำใดๆ แต่หมายถึง การตั้งใจมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน

    ส่วนตัวผมขณะพิมพ์งาน ผมก็มีความตั้งใจมั่นระดับหนึ่ง บางครั้งก็ได้ปิติ ตัวโคลง รับรู้ถึงความสุขที่จรเข้ามา

    บางครั้งขณะอ่านหนังสือไประยะหนึ่ง รู้สึกว่า จิตมันรวม จนคิดอยากจะทำสมาธิ

    ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ รู้สึกเหนื่อยครับ

     :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
การหลับตา เมื่อนั่งสมาธิคนส่วนใหญ่จะหลับตา แต่พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้หลับตาเลย
ขอให้สังเกตพระพุทธรูปปางสมาธิ มีองค์ไหนหลับตาบ้าง

แล้วพระพุทธเจ้า ตอนท่านเจริญ มหาวิหารสมาบัติ ท่านหลับตาหรือลืมตา คะ
มีบันทึกไว้อย่างไร เป็นที่ปฏิบัติเหมือนกัน

บางอย่างไม่ต้องระบุวิธี เหมือนกับการกราบ การไหว้ เราเห็นพ่อแม่ กราบไหว้ เป็นวัฒนธรรม


อ้างถึง
รรมฐาน ๔๐ กองที่มีในพระไตรปิฎก มีพระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า "เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น"
โดยส่วนตัวผมคิดว่า หากเรายึดเอาตัวอย่าง ๔๐ กอง "ความตั้งใจมั่น" ที่ไม่ได้มาจากตัวอย่างนั้น เราจะค้านว่า
นั่นไม่ใช่ "สมาธิ"

เห็นด้วยคะไม่ใช่แค่ สมาธิ เพราะเป็นการภาวนา ทั้ง สมถและวิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานไม่ได้ฝึกแต่ สมาธิ
เพราะกรรมฐาน ทั้ง 40 กอง ไม่ได้เป็นแค่ สมาธิ คะ

 ส่วนความเห็นของวิปัสสนาจารย์ มองว่าเป็นตัวอย่าง อันนี้อาจจะแสดงความคิดเห็นผิด ให้ความหมายของคำว่าตัวอย่างผิดคะ เพราะิสิ่งใด หรือวัตถุใด ที่เป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบ ถูกรักษาย่อมไม่ถึงแก่บุคคลทั่วไป แต่กรรมฐานทั้ง 40 กอง บรรดาพระอรหันต์ยุคแรก ท่านได้ถอดไว้ในพระไตรปิฏกเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่ตัวอย่าง และพิจารณาเป็นมูลกรรมฐาน หลักคะ พัฒนาไปตาม จริต อันบรรดาครูบาอาจารย์จักสอนสั่งได้

 สำหรับวิธีการที่นอกเหนือจาก 40 กองกรรมฐาน นั้นก็มีอีกมาก แต่เช่นการสงเคราะห์หลักภาวนาเข้ากับ มหาสติปัฏฐาน 4 ดังนั้นบางอย่างเป็นกรรมฐาน ที่สอดคล้องด้วยภาวะวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น สอนพระจูฬปันถก ด้วยวิธี กำหนดจิต ภาวนาแบหนึ่ง สอนพระสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตร อีกแบบหนึ่ง ซึ่งการสอนนั้นเป็นวิธีการของพระสัพพัญญู ซึ่งเหมาะแก่จริตนั้น และไม่มีใครเลียนแบบส่วนนี้ของพระพุทธองค์ เพราะเป็นข้อกรณีพิเศษ

อ้างถึง
เหตุใด พวกเราจึงทำนอกเหนือจากคำสอนของพระพุทธองค์ โดยเลือกที่จะทำตามคำสอนของอาจารย์

 เนื่องด้วยพระพุทธพจน์ ถึงแม้จิตเราจะได้อ่าน ได้ฟังแล้ว ใคร่ครวญบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถแทงทะลุธรรมนั้นได้ จึงต้องอาศัย สุปฏิปันโน เป็นชี้แนวทาง โดยมีหลักการเทียบเคียงกับ ปริยัติ ในพระไตรปิฏก ได้


 การที่ระบุว่า นั่งกรรมฐานต้องลืมตา หรือไม่ หรือต้องหลับตาหรือไม่ ถ้าิพิจารณาจากจาก
ผู้ที่ฝึกกสิณ กล่าวว่า นั่งลืมตามอง วัตถุกสิณ แต่ความเป็นจริงก็ต้องพักตา เพื่อให้กสิณ เกิดเป็น อุคหนิมิต ก่อน

ที่นี้ อุคคหนิมิต มิได้เกิดตอนลืมตา ผู้ที่ฝึกจะรู้ได้ก็ต้องหลับตา ถึงจะเห็น อุคคหนิมิต และมั่นใจได้
ที่นี้ เมื่อได้ อุคคหนิมิต แล้วยังต้องลืมตาอยู่อีกหรือไม่ คำตอบอยู่ที ปฏิภาคนิมิต นะเพราะต้องใจควบ อุคคหนิมิตเป็น ปฏิภาคนิมิต ดังนั้นผู้ฝึกสายกสิณ สุดท้ายก็ต้องหลับตาเช่นกัน

 ผิดถูกอย่างไร ก็กราบขออภัยพระอาจารย์ ด้วยนะเจ้าคะ อ้างอิงจากเมล ของพระอาจารย์ คะ


บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ใน 40 กองกรรมฐาน นั้น มีกรรมฐาน ใด ที่เป็นกรรมฐาน นั้น ต้องใช้ทั้งลืมตา และ หลับตา

 ยกตัวอย่าง

  อาหาเรปฏิกูลสัญญา

  การเดินทางไปรับ จนกระทั่ง กินเคี้ยว กลืน ลืมตาแน่นอน
 
  แต่หลังจาก กลืนเข้าไปแล้ว ลืมตาก็มองไม่เห็น รู้ไม่ได้ ต้องหลับตา นึกแล้วนะ

  กว่าจะลืมตา ดูได้อีกครั้ง ก็ตอนออกมาเป็น อุจจาระ ปัสสาวะ

  ดังนั้นความเข้าใจกรรมฐาน นั้น กรรมฐาน มีข้อปฏิบัติอยู่แล้ว จึงไม่ต้องอธิบายส ส่วนนั้น ว่าต้องลืมตาตอนนี้

ตอนนั้น ต้องหลับตานะ

   ที่นี้ ข้อสำคัญ ของการปฏิบัติกรรมฐาน ทั้งหมดนั้น ใช้อะไรเป็นเครื่องวัด ว่าภาวนากรรมฐาน ได้กี่ส่วน
คำตอบ ก็คือ ใช้ ใจเป็นเครื่องวัด ไม่ได้ใช้ ตา หรือ ความเคลื่อนไหวเป็นเครื่องวัด

   ถามว่า คนที่ยิ้มอยู่ ทุกข์ได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่าได้ เพราะข้างนอกนั้นยังเสแสร้งได้ มายาได้ แต่ด้านในใครเป็นผู้รู้ ก็ผู้ภาวนาเองเป็น ผู้รู้ เป็นผู้เห็น เป็นผู้ดับ เป็นผู้รับเวทนา

   อ้างอิงจากเมล ของพระอาจารย์

บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เกรงว่าคนอ่าน จะไม่เห็นภาพของกรรมฐานที่ คุณส้ม ยกไว้นะคะเลยช่วยค้นหามาช่วยให้เห็นภาพคะ



การทานอาหารปัจจเวกขณ ของพระสงฆ์ จะดับกิเลสได้จริงหรือ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=837.0



   ๑.ปฏิกูลโดยการเดินไป(คมนโต) พระโยคาวจรพิจารณาเห็นปฏิกูลเมื่อถือบาตรและจีวรเดินไปในที่ชนไม่เบียดเสียด มุ่งสู่หมู่บ้านเพื่อต้องการอาหาร ดังสุนัขจิ้งจอกมุ่งหน้าสู่ป่าช้า ต้องเจอปฏิกูลด้วยปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลาย น้ำมูก ซากสุนัข ซากโค ซากงู ส่งกลิ่นเหม็นมากระทบจมูก

   ๒.ปฏิกูลโดยการแสวงหา(ปริเยสนโต) ต้องถือบาตรด้วยมือข้างหนึ่ง ยกจีวรด้วยมือข้างหนึ่ง ถึงประตูเรือน ต้องย่ำ หลุมโสโครก แอ่งน้ำครำ มูลสุนัข มูลสุกร พระโยคาวจรพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า โอ ปฏิกูลจริงหนอ

   ๓.ปฏิกูลโดย การบริโภค(ปริโภคโต) เธอหย่อนมือลงขยำอาหารอยู่ เหงื่อออกตามนิ้วทั้งห้า บิณฑบาตนั้นเสียความงาม โขลกด้วยสาก คือ ฟัน พลิกไปด้วยลิ้น ราวกะข้าวในรางสุนัข ของดีกลับกลายเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดอย่างยิ่ง

   ๔.ปฏิกูล โดยอาสยะ(อาสยะโต) พิจารณาว่าอาหารที่ได้บริโภคเข้าไปแล้วนี้ มีอาโปอยู่ในลำไส้ออกมาผสมที่กลืนลงไปในลำไส้ เมื่อกำลังเข้าไปในลำไส้ ย่อมเปรอะเปื้อนด้วยน้ำดี เสมหะ หนอง เสลด โลหิต เหมือนยางมะซางข้นๆน่าเกลียดยิ่งนัก

   ๕.ปฏิกูลโดยพักอยู่ในกระเพาะ อาหาร(นิธานโต) อาหารที่กลืนเข้าไปเปื้อนด้วยน้ำดี เสมหะ หนอง เลือด เข้าไปพักอยู่ในกระเพาะเช่นหลุมคูถ อุจจาระ อันไม่ได้ล้างมา ๑๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง

   ๖.ปฏิกูลโดยยังไม่ย่อย(อปริปักโต) อาหารที่กลืนลงไปวันนั้น วันนี้บ้าง วันก่อนบ้าง อันฝ้าและเสมหะปิดคลุมไว้ เป็นฟอง เป็นต่อม ระอุสันดาปในร่างกายอบเอา มืดมิดตลบด้วยกลิ่นซากสัตว์ดังป่าช้าส่งกลิ่นน่าเกลียดปฏิกูล

   ๗.ปฏิกูล โดยย่อยแล้ว (ปริปักโต) อาหารเป็นสิ่งย่อยแล้วในร่างกายด้วยไฟธาตุ กลายเป็นอุจจาระ เหมือนดินสีเหลืองที่เขาบดเข้าบรรจุไว้ในกระบอก กลายเป็นมูตรไป

   ๘.ปฏิกูลโดยผล(ผลโต) อาหารย่อยดีแล้วจึงผลิตซากต่างๆ มีขน ผม เล็บ ฟัน เป็นต้น ถ้าย่อยไม่ดีก่อโรค ๑๐๐ ชนิด เช่น เรื้อน กลาก หืด ไอ เป็นต้น นี่ผลมัน

   ๙.ปฏิกูล โดยการไหลออก (นิสสันทโต) อาหารเมื่อกลืนลงไปในช่องเดียว ไหลออกหลายช่อง เช่น ขี้หู ขี้ตา อุจจาระ ปัสสาวะเมื่อออกมาส่งกลิ่นเหม็นน่าเกลียด

   ๑๐.ปฏิกูล โดยความเปลื้อน(สัมมักขนโต) อาหารเมื่อกินก็เปื้อนมือ ปาก เพดานปาก เป็นปฏิกูลเพราะถูกอาหาร เมื่อออกก็เปื้อนทวาร มี ช่องหู ช่องตา ช่องจมูก ช่องทวารหนัก ช่องทวารเบา ทวารเหล่านี้ก็เปื้อน



 1 2 3  ต้องลืมตา นะคะ
 4 5 6 ต้องนึก ให้ดี ต้องหลับตา
 7 8 9 10 ทั้งหลับตา และ ลืมตา

 :s_hi: :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2011, 11:59:50 am โดย kobyamkala »
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Jojo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 237
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีคำคมสั้น ๆ ไม่รู้ว่า คมจริงหรือไม่


   ลืมตามองเห็นโลก หลับตามองเห็นธรรม

   ลืมตามองเห็นผู้อื่น หลับตามองเห็นตัวเอง

   ลืมตาส่งจิตออก หลับตาส่งจิตเข้า

   ลืมตาก็ฟุ้งซ่านภายนอก หลับตาก็ฟุ้งซ่านภายใน

   ลืมตาต้องระวังที่ผัสสะ  หลับตาระวังที่อารมณ์

   ลืมตาก็รับศึกหลายด้าน หลับตาก็รับศึกด้านเีดียว

   ดังนั้น จะลืมตา หรือ หลับตา ผู้อ่านก็น่าดุลย์พินิจออก นะคะ

  ดังนั้น เวลาเราไปร่วมภาวนากันที่ไหน ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อถึงเวลาภาวนากรรมฐาน ถ้าไม่ใช่ อิรยาบถ เดิน ก็จะเห็นหลับตากันทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าครูอาจารย์สั่งให้หลับตาหรอกนะคะ บางครั้งท่านก็บอกว่าลืมตาก็ได้ หลับตาก็ได้ ตามแต่ถนัด แต่เมื่อเอาเข้าจริง ๆ ในการภาวนานั้น เราก็จะหลับตากันคะ

  :25: :s_hi:
บันทึกการเข้า
ฉันมาเพราะเธอนะ ยายกบ มาศึกษาธรรมะบ้าง ยินดีที่รู้จักทุกท่านคะ
ช่วยเมตตา แนะนำด้วยมิตรภาพ นะคะ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
กรรมฐานอันยอดเยี่ยม กับ อานิสงค์อันยอดยิ่ง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 12:14:46 pm »
0
นำมาช่วยเรื่อง การภาวนาระลึกนึกถึง พระพุทธเจ้า คะ

พุทธานุสสติ กับการระลึกถึงพระพุทธเจ้า

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=619.0

ทำไมต้องฝึก พระพุทธานุสสติ ถ้าเราสามารถฝึกอานาปานสติได้ เลยครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3972.0

ปฏิบัติ พุทธานุสสติ ไม่เห็นยากเลยครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=328.0

และหัวข้อที่เกี่ยวกับ พุทธานุสสติ คะ ต้องล๊อกอินชื่อสมาชิก และ คลิ๊กที่ ค้นหา นะคะ


ส่วนการปฏิบัติกรรมฐาน โดยไม่นึกถึง พระศาสดา แล้ว ไม่ถูกคะ

แต่ต้องเข้าใจก่อนนะคะว่า พระศาสดา ในพระพุทธศาสนา คือ อะไรคะ อ่านได้จากลิงก์นี้

ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4859.0



บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ประโยคที่ว่า แค่จดจ่อ บรรจง ทำงาน


                 ด้วยจิตว่าง ไม่กระหายใคร่ได้สิ่งใด เพียงเท่านี้


  เป็นความวิจิตร จินตนาการ ทางกวี ครับ แต่ความเป็นจริง ไม่น่าจะทำได้ เพราะการบรรจงทำงาน เป็นการเจริญสติ แต่การเจริญสติ ที่จะเป็นสติ ที่พัฒนาไปสู่จิตว่างได้นั้น ต้องประกอบด้วย จิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ หรือ มุ่งตรงต่อพระนิพพาน เป็นจิตที่ปราศจากกิเลส ซึ่งเรื่องเหล่านี้ ไม่ได้เป็นวิสัยของชาวบ้าน ที่ทำงานแลกเงิน แลก.... ยิ่งถ้าบรรจงทำงาน โปรเจ็กซ์โดยไม่ใคร่กระหายที่จะได้ รับรองได้เลยครับว่า งานห่วย แน่ ๆ


   ผู้เขียนอาจจะจินตนาการ เป็นกวีมากไป การภาวนาในยุคปัจจุบัน หลายคนพยายามจะให้สอดคล้องกับการครองเรือน ประคองชีวิต ถ้าเป็นดังนั้น ก็คงไม่มีนักบวชแน่ ๆ การทำงาน ทำหน้าที่ ไม่ใช่เนื้อหาการปฏิบัติธรรม ถึงแม้จะอ้างว่า ทำหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ ก็จะหยุดอยุ่ที่ตรงไหนละครับ

  วิจารณ์ให้แล้ว นะครับ คุณกบ

  :08: :41:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การนับสมาธิ ในพระพุทธศาสนา จริง ๆ นับที่ไหน ครับ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 12:36:12 pm »
0
ถ้าจัดระดับ สมาธิ ก็มีสั้น ๆ 3 ระดับ

  คือ 1 ขณิกสมาธิ  สมาธิที่สั้นมาก ๆ ชั่วขณะหนึ่ง
     
          ประกอบด้วย องค์ใด องค์หนึ่ง ในอุปจารฌาน เช่น มีปีติ ชั่วขณะหนึ่ง วิจารชั่วขณะหนึ่ง เป็นต้น

      2. อุปจาระสมาธิ สมาธิที่มั่นคงมากกว่า ชั่วขณะหนึ่ง  สมาธิที่เฉียดจะเป็น ฌาน ประกอบด้วยองค์ 4

          คือ วิตก วิจาร ปิีติ สุข

      3. อัปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่ เป็นอารมณ์เดียว นับตั้งแต่ ฌาน ที่ 1 ถึง 8

ดังนั้น พิจารณา คำว่า สมาธิ จากคำแปล ที่ยกไว้

อ้างถึง
สมาธิ  ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ

 พิจารณา ตามคำแปล มิได้หมายถึง สมาธิ ระดับ ขณิกะสมาธิ และ อุปจาระสมาธิ แต่หากหมายถึง สมาธิ ที่เป็นอัปปนาสมาธิ อันตรงตาม อริยะมรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาสมาธิ เป็น ปฐมฌาน ขึ้นไปเท่านั้น

  ดังนั้น ตีความเลยนะครับ ในภาพนั้น ให้ความหมายของคำว่า สมาธิผิด เพราะข้อความมุ่งเพียงแค่ ขณิกะสมาธิ
ซึ่งไม่ตรงกับความหมายจริง ๆ ในไตรสิกขา อันเป็น สัมมาสมาธิ ครับ


  ที่นี้สมาธิ ระดับไหน ที่พร้อมในจริงในการทำสมถะวิปัสสนากรรมฐาน ก็ต้องตอบว่า ตั้งแต่ อุปจาระสมาธิ ครับ
ส่วนในสายพม่า ใช้ สติ พัฒนา สมาธิ จึงใช้ตั้งแต่ ขณิกะสมาธิ ขึ้นมาแต่สุดท้าย สติ ก็จะพัฒนาเป็น สมาธิ ระดับอุปจาระ และ ปฐมฌาน เอง ถ้าพิจารณาจากองค์แห่งการตรัสรู้ตามพระสุคต คือ โพชฌงค์ 7 ประการ

 
   
บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 คุณส้ม ได้ระบายอะไรบางอย่างออกมา น่าจะสบายใจได้แล้ว

 ดีนะที่ผมเหนื่อยเสียก่อน(มีอะไรคุยเยอะ) ไม่งั้นคุณส้มคงต้องใช้ความพยายามมากกว่านี้

 ที่ผมให้ความเห็นไป เป็นเรื่องที่คนทั่วไปที่เคยอ่านบาลีมาบ้าง จะรู้กันโดยทั่วไป ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ประการใด

 

และไม่มีใครสามารถอธิบายได้หรอกว่า ผิดหรือถูกอย่างไร

 หากมีใครฟันธงอย่างหนึ่งอย่างใดไป จะถูกกล่าวหาว่า "ตู่พุทธพจน์"

 พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกซะหน่อย เอาอะไรมาพูด (อะไรทำนองนี้)

 ฉะนั้น ก็ต้องบอกว่า การสนทนาธรรมครั้งนี้ เป็นการพูดคุยเชิงวิชาการเท่านั้น

 ไม่ได้มีเจตนาจะตีความพุทธพจน์ให้เป็นอย่างนั้นอย่างโน้น



 อีกอย่างเจ้าของกระทู้ถามแค่ คำว่า "สมาธิ" เท่านั้น ไม่ได้ถามถึงสัมมาสมาธิ

 ดังนั้นสมาธินี้ ไม่ได้อยู่ในมรรค ๘ หากถามเรื่องสัมมาสมาธิ ต้องอธิบายด้วยฌาน ๔


สุดท้าย ตอบคุณส้มนิดหนึ่ง ในเรื่องกสิณ ผมเห็นอุคหนิมิต ทั้งในยามหลับตาและลืมตา

คุณส้มอธิบายได้ไหมว่า ทำไม
;) :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

whuchi

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 80
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
การบริกรรม ไม่ว่าจะเป็นพุทโธหรือคำอื่นๆ พระพุทธเจ้าก็ไม่เคยสอนเช่นกัน

บทสวด จัดเป็นบริกรรม ครับ

  การสวด ธชัคคปริตร คือ บทระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

  การบริกรรม ก็เพื่อให้ได้ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา วิปัสสนา ไปตามลำัดับครับ

  พระพุทธเจ้า สอนบริกรรม มากกว่า พุทโธ ครับ พุทโธ เป็นส่วนหนึ่ง เท่านั้น....

  และยังมีบริกรรม อีกมาก ที่พระพุทธเจ้า ไว้ครับ

  การเข้าถึง วิมุตติ มี 5 ประการ 

  • เมื่อฟังธรรม
  • เมื่อแสดงธรรม
  • เมื่อสาธยายธรรม นั่นคือ การสวดมนต์
  • เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
  • เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ



  :67: :67: :67:


   
 
บันทึกการเข้า

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ที่มาของภาพ http://www.gotoknow.org/blog/aoyyala/151162


อยากทราบ ความคิดเห็นของสมาชิก ชาวกรรมฐาน ด้วยคะ


 คำว่า สมาธิ ถ้าจะพูดให้ถูกต้องนะครับ ไม่ว่าจะเป็นสัมมาสมาธิ หรือ มิจฉาสมาธิ

 ต้องตีความกันก่อนนะครับ ในเชิงวิชาการ ด้วยการแสดงความคิดเห็น

 

สมาธิ
    [สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสํารวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบ หรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).


อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


สมาธิ  ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ

อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


ส่วนนี่้คือการตีความ ว่า สมาธิ เป็นอย่างนี้ มีความหมาย อย่างนี้ นะครับ ตามคำแปล ซึ่งการตีความอ้างอีกับพจนานุกรมพุทธศาสน์ ดังนั้น ก็คือตีความ เป็นสัมมาสมาธิ ไม่ใช่ความหมายของสมาธิทั่วไป  เพราะระบุว่าทำใจให้สงบแน่ หรือ เพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งจากคำแปล นั้น มิได้หมายถึง มิจฉาสมาธิ นะครับ เบื้องต้นตามความหมาย ก่อนนะครับ เพื่อตอบตามประเด็น

 ดังนั้น สรุปว่า ความหมาย ในคำแปลหมายถึง ผลของการฝึก ทำใจให้สงบแน่แน่ เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง
ดังนั้น สมาธิ ตรงคำตอบก็ ผลของการภาวนา ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่ง นะครับ จะเป็น การเจริญสติ หรือ กรรมฐาน 40 กองกรรมฐาน ก็เพื่อให้ได้ผลตามนั้น  ส่วนนี้จบของการให้ความหมายของคำว่า สมาธิ นะครับ



ที่นี้ลองมาพิจารณา คำถามจากภาพ นะครับ

สมาธิ

ไม่ต้องหลับตา
ไม่ต้องนุ่งขาวห่มขาวไปวัด
ไม่ต้องท่องพุท - โธ
ไม่ต้องนึกถึงศาสดาองค์ใด
แค่จดจ่อ จรดมือบรรจงทำงาน
ด้วยจิตว่าง ไม่กระหายใคร่ได้สิ่งอื่นใด

 เพียงเท่านี้ .....สมาธิเกิด

อยากทราบ ความคิดเห็นของสมาชิก ชาวกรรมฐาน ด้วยคะ



จากเนื้อหาภาพ และ คำถาม วิเคราะห์ ก็คือ ผู้ถามไม่ได้เป็นเจ้าของภาพ แต่ไปเห็นภาพคำบรรยายนี้แล้วนำมาถามในห้องนี้ นะครับ เพื่อถามความเห็นว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ถูก หรือ ผิด หรือ ประมาณนี้

ดังนั้น วิเคราะห์ คือ คำตอบได้อธิบาย ความหมายของสมาธิ ก็คือ สัมมาสมาธิ เท่านั้น เพราะคำถามเป็นคำถามที่กำลังพูดถึง วิธีการที่สวนทางกับการปฏิบัติภาวนาสากล ก็ต้องตามประเด็นนะครับ

 
ไม่ต้องหลับตา  คุณส้มตอบได้ดี แล้ว ครับ คือ วิธีการทำสมาธิ สามารถทำได้ ทั้งลืมตา และ หลับตา และพูดถึงกรรมฐาน ก็วิธีการที่ต้องใช้ปฏิบัติร่วมกันทั้งสองแบบ ซึ่งมีแบบแผนตามกองกรรมฐานต่าง ๆ

  ดังนั้นข้อแรก กล่าวได้ว่า ตอบไม่ถูกทั้งหมด คือ หลับตา ก็ได้ ไม่หลับตา ก็ได้ ขึ้นอยุ่กับกรรมฐาน

ไม่ต้องนุ่งขาวห่มขาวไปวัด

  อันนี้เห็นด้วย เพราะความสำคัญของการภาวนา ไม่ได้อยู่ที่เครื่องแต่งกายแต่อยู่ที่ ศีล กุศลกรรมบถ ของผู้ภาวนานะครับ แต่การแต่งกายชุดขาว ก็เป็นเรื่องที่ดี เป็นแบบอย่างแสดงถึงความจริงใจในเวลาเข้าไปปฏิบัติเป็นการประกาศตน เป็นผู้ภาวนา ดังนั้นเวลาใครแต่งชุดขาวไปทำชั่ว ก็จะเกิดความละอาย ส่วนคนที่คิดว่าแต่งชุดอะไรก็ได้นั้น จะมีข้อเสียคือ ไม่ระมัดระวัง สำรวมเพราะแต่งกายที่ไปไหนก็ได้ เดินไปโรงหนังก็ได้ โรงนวดก็ได้ ไปเล่นการพนัน สิ่งไม่ดีก็ได้ ความละอายจะมีน้อยกว่า ผู้แต่งชุดขาวที่ประกาศตน ถ้าถามว่าการประกาศตนเป็น พุทธมามกะ ไม่สำคัญ พระพุทธเจ้าพระองค์ก็คงจะไม่ต้องให้เรากล่าวถึงคำ พระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งหรอกครับดังนั้นสรุป จากคำถามนี้ จะสวนกลับวัฒนธรรมนะครับ เพราะเขาแต่งชุดขาวไปวัดกัน เรามาแต่งชุดสีกันไป ใส่สีแดงแป๋ด แสดงถึงความไม่จริงใจ ไร้รูป ไร้แบบ อย่างนี้ผิดครับ แต่หากปฏิบัติภาวนาอยู่ที่บ้านจะแต่งชุดอย่างไรก็ได้ครับ ดังนั้น คำถามนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการภาวนา แต่เกี่ยวกับกติกาสังคม ก็คือ ระเบียบ จัดเป็นพระวินัย

  ดังนั้นในข้อสอง ไม่ใช่วิธีการภาวนากรรมฐาน อันนี้ตอบผิดไม่เกี่ยวข้องกับวิธีการภาวนาครับ

 ไม่ต้องท่อง พุท-โธ

  ถูกครับไม่ต้องท่อง แต่ให้บริกรรม ถามว่า ถ้าคุณภาวนากรรมฐาน พระพุทธานุสสติ คุณไม่บริกรรม พุทโธ คุณก็ต้องใช้คำในบทพระพุทธคุณ ดังนั้น ถ้าผู้ภาวนาไม่ได้ ภาวนาพุทธานุสสติ ใช้กรรมฐาน อื่น ๆ ก็ได้ครับขึ้นอยุ่ว่าผู้ภาวนาเลือกกรรมฐานอะไร แต่ถ้าเลือกกรรมฐาน ลงไปแล้วคุณไม่ภาวนาบริกรรม แล้ว คุณจะมีวิตก ได้อย่างไรครับ ดังนั้นในส่วนวิธีการ อย่างไรก็ต้องมี วิตก คือ บริกรรม อยู่ดีครับ

 ไม่ต้องนึกถึงศาสดา องค์ ใด

  อันนี้เป็นความคิดที่เพี้ยนเลยครับ เพราะว่าเลือกปฏิบัติในวัด ในพระพุทธศาสนา ไม่เคารพในพระศาสดาแล้วก็จบเห่ครับ ตถาคตโพธิสัทธา ไม่มีจะภาวนาไม่ได้แต่ ดังนั้น ศาสดา ของ ศาสนาพุทธ คือ พระธรรม และ พระวินัย ครับ ให้ทำความเข้าใจ ต้องนึำกถึงองค์ธรรม กรรมฐานที่เรียน ที่ภาวนา ไม่งั้น ก็ต้องตรัสรู้ชอบเองแล้วครับ


 แค่จดจ่อ จรดมือบรรจงทำงาน ด้วยจิตว่าง ไม่กระหายใคร่ได้สิ่งอื่นใด

 ดูเหมือนกำลังจะดึงวิธีการภาวนาไปสู่การทำสติ เป็นหลัก ไม่มีเป้าหมายเพื่อการสิ้นกิเลส เพียงมีเป้าหมายกับการงานที่ทำอยู่ อะไรคือบริกรรมในขณะนั้น ตกลงทำลงไปโดยไม่ต้องคิด บริกรรม ไม่มีวิธีการ ไม่ต้องการใคร่ได้สิ่งอื่นใด มั่วซะไม่มี อยู่ ๆ จะให้จิตว่าง โดยไม่คิด และทำโดยไม่กระหายว่าทำ แล้วมันจะไปทำได้อย่างไร เพราะจิตว่าง ไม่มีความคิด จินตนาการ ใด ๆ ญาณทัศนะ ยถาภูตญาณทัศนะ อยู่ตรงไหน ญาณทัศนะวิสุทธิอยู่ตรงไหน อันนี้ ตอบฟันธงเลยนะครับ

   สมาธิ ไม่เกิดหรอกครับ จะได้ความฟุ้งซ่านแทนนะครับ
   ผมเห็นมาหลายรายแล้ว ครับ โดยเฉพาะพวกสายที่เรียกว่า ปัญญา จะหลีกเลี่ยงหนีการทำสมาธิ เพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็น ไม่ต้องดำเนินจิตในสมาธิก็น่าจะบรรลุได้ ประมาณนี้

   พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ว่า อริยมรรค มีองค์ 8 เป็นหนทางอันประเสริฐ เครื่องถึงความพ้นทุกข์

   นาน ๆ มาช่วยตอบสักทีครับ เพราะอยากให้คนอ่านได้เข้าใจ ในประเด็นของคำถามนะครับ

   สรุปนะครับ สมาธิ เป็นผลนะครับ

   วิธีการที่ได้สมาธิ ในพระพุทธศาสนา เรียกว่า สมถะวิปัสสนากรรมฐาน ครับ

   ดังนั้นผลของ สมาธิ ก็คือ  ระงับ นิวรณ์ 5 ประการเบื้องต้น นะครับ ส่วน


 :s_hi: :s_hi: :s_hi:
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

ที่มาของภาพ http://www.gotoknow.org/blog/aoyyala/151162


อยากทราบ ความคิดเห็นของสมาชิก ชาวกรรมฐาน ด้วยคะ


ผมว่าสมาธิเยื้องอย่างนี้ ต้องเข้าใจ ตีความหมายให้ถูก มิเช่นนั้นอาจคราดเคลื่อนจากความเข้าใจ 
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

doremon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 171
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ความรู้จาก การแสดงความเห็นหลายอย่างเลยครับ แสดงถึงภูมิธรรมความเข้าใจของสมาชิกที่นี่ ว่ามีการภาวนากันอย่างดีครับ ติดตามความเห็น และ กระทู้ทุกวันครับ

 อนุโมทนา กับทุกท่านด้วยนะครับ ที่มา join comment

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

meditation

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 127
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วม แสดงความคิดเห็น เพียงวันเดียวก็ได้รับคำตอบที่เพิ่มความมั่นใจในความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยคะ

ขอบคุณด้วยใจจริง ๆ คะ แล้วจะหาหัวข้อมารบกวน ใหม่นะคะ

  :c017: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ข้าพเจ้าปรียบเหมือนนกที่กำลังหัดเดิน มีสิ่งใดที่ล่วงเกินใคร ก็ขอกราบอภัยไว้ล่วงหน้านะคะ
ภาวนากรรมฐาน เพื่อใคร เพื่ออะไร ทำไม ? หาคำตอบจากใจเราก่อนนะคะ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เยี่ยมครับ แต่ให้มั่นใจ ต้องรอคำตอบจากพระอาจารย์ สักหน่อย

 :13: :13: :13:
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ