ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปุจฉา นั่งสมาธิ ตามเสียงเพลง จะสามารถเข้าถึง ฌาน ได้หรือไม่ครับ  (อ่าน 3492 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1
นั่งสมาธิ ตามเสียงเพลง จะสามารถเข้าถึง ฌาน ได้หรือไม่ครับ

 thk56
บันทึกการเข้า

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ask1
นั่งสมาธิ ตามเสียงเพลง จะสามารถเข้าถึง ฌาน ได้หรือไม่ครับ

ถ้าพูดถึงการทำสมาธิ หลากหลายท่านอาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนคิดว่าการทำสมาธิคือการทำจิตให้ว่าง ซึ่งแท้จริงแล้วคุณชาติของจิตนั้นจะคิดปรุงอยู่ทุกขณะเวลา แม้ในขณะหลับก็อาจติดค้างไปเป็นเรื่องราวความฝันจำได้บ้างไม่ได้บ้าง ดังนั้นการทำสมาธิไม่ใช่การทำจิตให้ว่างจากความคิด บางท่านบางคนบางคณะอาจมีการทำสมาธิแบบว่านิ่งนิ่งคือนิ่งแช่ กรณีอย่างนี้ผิดจากความเข้าใจ ถ้าศึกษาเรียนรู้สมาธิจริงต้องรู้คุณชาติของใจที่เสมือนไฟไม่มีวันดับกระพริบอยู่ตลอดเวลา ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนภาวนาสมาธิจะรู้ถึงการบริกรรมที่ต้องย้ำและเน้นเพื่อให้จิตจดจ่อละและวางได้เองแล้วจึงว่างสว่าง คำว่าวางเป็นกำลังเป็นพลังเป็นสมถะมีสมรรถนะสูง แต่มีว่างสว่างตามมานี้เป็นปัญญาวิปัสสนาเห็นตามเป็นจริงเพื่อทิ้ง "หย่อน หยอด ฝาก ฝัง" คงเข้าใจได้บ้างในแนวสายมัชฌิมา หากอัญญาวิโมกข์ฯก็คำนำทำ "พุทโธ เน้นๆ" สำหรับคำถามพิจารณาแล้วออกจะหย่อนคล้อยเป็นมิจฉาสมาธิได้ง่าย แต่ถ้าใจจับจดแก้ฟุ้งซ่านรำคาญเสียงก็ได้อยู่อย่าเผลอนานดึงใจกลับมาบริกรรมบ้างน่าจะดีกว่ามากคิดว่าไม่น่ายากใจนี้ต้องสั่งคือสั่งให้มันตื่นอยู่กับคำว่า "พุทโธ สถิตย์ลงในฐานจิต" กิเลสตัณหาถาโถมยากข่มไว้ ใครสะอิดสะเอียน ใจนี้จึงต้องเฆี่ยน! ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2014, 06:58:43 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมขออนุญาตใช้ปัญญาอันน้อยนิดของผมตอบคำถามด้วยนะครับ หากผิดพลาดบิดเบือนพระธรรมของพระพุทธเ้จาอย่างไร รบกวนติชมชี้แนะด้วยนะครับ

๑. สมาธินั้น ไม่ว่าจะระลึกอะไร เจริญแบบไหน พิจารณายังไง มันก็เข้าสมาธิได้หมด
แต่สมาธิที่เข้าถึงนั้นมันเอื้อต่อสติไหม หรือ มีกำลังพอให้สตินั้นเห็นตามจริงได้ไหม ที่เราเรียกกันว่า
  "สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ๑ (ความรู้ ความเห็นตามความเป็นจริง) เป็นผล"
๒. เมื่อไประลึกสิ่งใดๆที่เป็นอกุศลธรรมอันลามก แทนที่เราจะรู้เห็นตามจริงกลับทำให้ติดอยู่ในความตรึกนึกนั้นอยู่ นี่ก็เรียกว่า มิจฉาสมาธิ หรือ มิจฉาฌาณ
    หรือ เมื่อไประลึกในสิ่งใดๆอันไม่เอื้อต่อสัมมาสมาธิที่เกื้อหนุนในสัมมาสติ ก็จะทำให้เราไม่รู้เห็นตามจริงสักนิ่งเงียบอยู่ หรือ ระลึกพิจารณาอันไม่เป็นไปตามจริง อันนี้ก็เรียกมิจฉาสมาธิ หรือ มิจฉาฌาณ


- หากคุณพิจารณาตามเสียงเพลง หากเป็นเพลงรัก เพลงอกหัก หรือ เพลงใดๆที่คุณมีความเพลิดเพลินแล้วทำให้เกิดกามราคะ โทสะ โมหะ อันเกิดแต่ความเพิลดเพลินนั้น จิตคุณย่อมน้อมไปใน กาม ราคะ โมชทสะ โมหะ แม้เป็นสมาธิ แต่ก็ยากที่จะเอื้อให้เกิดสัมมาสติให้เข้ามาพิจารณาเห็นตามจริงถึงความ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน และ ทุกข์ จนเกิดนิพพิทา คือ ความเบื่อหน่ายด้วยเห็นตามจริง แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ มันขึ้นอยู่กับว่าสมาธิคุณนั้นมันเอื้อต่อสัมมาสติไหม
- หากมองในมุมกลับกัน ๑ ที่คุณพิจารณาตามเสียงเพลง หากเป็นเพลงธรรมเสียงธรรม แล้วคุณน้อมนำไปพิจารณา เมื่อเกิดสมาธิจิตคุณย่อมจดจ่ออยู่ในความพิจารณาจากเสียงธรรมอันนั้น เมื่อเกิดความนิ่งอยู่มีสัมมาสมาธิ เกิดเป็นฌาณผุดขึ้น ฌาณนั้นย่อมเกื้อหนุนต่อสัมมาสติ คือ สัมปะชัญญะ+สติ เป็นธรรมคู่ ๒ อันงามเรียก สัมมาสติ
- หากมองในมุมกลับกัน ๒ เมื่อคุณพิจารณาเสียงอยู่มีใจจดจ่อนิ่งอยู่ด้วยเสียง เมื่อฟังเสียงนี้แล้วสักแต่เพียงรู้ว่าเสียง ไม่มีบัญญัติใดๆ สักแต่เป็นเพียงเสียง สูงๆ ต่ำๆ ทุ้มๆ แหลมๆ ดังๆ เบาๆไม่มีความหมายใดๆ ไม่มีตัวตนบุคคลใด สักแต่เป็นเพียงสิ่งหนึ่งๆ ธาตุหนึ่งๆ รูปหนึ่งๆ ที่มากระทบแล้วเรารับรู้ทางหู เพราะหูนั้นทำหน้าที่ได้ยินดังนี้ ก็เกิดเป็นสัมมาสมาธิอันเป็นผลเนื่องมาจากมี สติสังขารวนรอบไป ทำให้เห็นตามจริงอันเรียกว่า ปรมัตถธรรม คือ สภาพจริงๆ ที่มีอยู่จริงๆ โดยตัดขาดจากสมมติบัญญัติใดๆ แต่ไม่ใช่นึกคิดเดาเอานะครับ สภาพนั้นต้องตัดจากความตรึกนึกคิดได้ไม่รับรู้ภายนอก มีเพียงตัวรู้ที่รู้ตัวทั่วพร้อมรู้ทันสภาพปรุงแต่งใดๆนั้นในปัจจุบัน เกิดเป็นตัวแลที่แลดูสภาพนั้นๆอยู่แต่ไม่เข้าไปร่วม ส่วนตัวรู้กับตัวแลนี้ คือ สัมปะชัญญะ+สติ ซึ่งเกิดขึ้นร่วมกับสัมมาสมาธิเป็นหลัก ส่วนจะเกิดขึ้นเองโดยปราศจากสัมมาสมาธินั้นผมยังไม่เคยเห็นใครผู้ใดที่ทำได้
 
- ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้ปและปฏิบัติในสมถะก่อน รู้ในกายคตาสติก่อนจึงไปรู้ เวทนา จิต ธรรม หรือ วิปัสสนาใดๆ มันจึงจะเกิดผลเป็นที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าห้ามไปรู้ไปเรียนนะครับ แต่น้อยคนนักที่จะเป็นแนวที่ว่าใช้แต่ปัญญาแล้วบรรลุอรหันต์ เป็นแนวสุขวิปัสสะโก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2014, 09:05:08 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 ans1
เป็นได้เพียง ขณิกะสมาธิ เพราะยังประกอบ ด้วย กามฉันท์ คือ หน่วงด้วยความพอใจ เหมาะสำหรับพักกาย พักใจ เวลาสับสน ชั่วครู่ เหมาะกับการเยียวยา ทางจิต สำหรับบุคคลผู้มีความปกติ ทางจิต และ กายบกพร่อง ใช้ได้ระยะหนึ่ง แต่ ระดับสูง ต้องปล่อยทั้งหมด เพราะว่า

   ท้ายที่่สุด ทุกท่านโปรดทบทวน ว่า พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า เสียง เป็น เสี้ยนหนามแห่งสมาธิ

 ดังนั้นในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงมีการเข้า วัด ออก วัด เข้า คืบ เข้า สับ เป็นต้นเพื่อสะกดเสียง ไม่ให้เสียงเป็นเสี้ยนหนามแห่งสมาธิต่อไป

  เจริญธรรม / เจริญพร


 

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา