ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ที่จงกรม ควรมีขนาดเท่าไหร่ อย่างไร.?  (อ่าน 6561 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ที่จงกรม ควรมีขนาดเท่าไหร่ อย่างไร.?
« เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 08:58:19 am »
0



ว่าด้วยที่จงกรมมีโทษ ๕ อย่าง
               
      คำว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิตํ (เว้นจากโทษ ๕ อย่าง) ความว่า ขึ้นชื่อว่า โทษแห่งที่จงกรมเหล่านี้มี ๕ อย่าง คือ
             ๑. เป็นที่แข็งและขรุขระ (ถทฺธวิสมตา)
             ๒. มีต้นไม้ภายใน (อนฺโตรุกฺขตา)
             ๓. เป็นที่ปกปิดด้วยชัฏ (คหนจฺฉนฺนตา)
             ๔. ที่แคบเกินไป (อติสมฺพาธนตา)
             ๕. ที่กว้างเกินไป (อติสาลตา).

      จริงอยู่ ที่จงกรมที่มีภูมิภาคแข็งขรุขระ เท้าทั้งสองของผู้จงกรมย่อมเจ็บ เท้าย่อมบวม จิตย่อมไม่ได้เอกัคคตา กรรมฐานย่อมวิบัติ. แต่ในพื้นที่อ่อนสม่ำเสมอกัน โยคีอาศัยที่อาศัยอยู่อันผาสุกแล้ว ก็ทำกรรมฐานให้สมบูรณ์ได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบที่จงกรม เพราะเป็นภูมิภาคแข็งและขรุขระ ว่าเป็นโทษที่หนึ่ง.

      เมื่อต้นไม้มีอยู่ภายในที่จงกรม หรือมีอยู่ในท่ามกลาง หรือในที่สุดแห่งที่จงกรม ผู้จงกรมอาศัยความประมาทแล้ว ย่อมกระทบกับหน้าผากหรือศีรษะ เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมมีต้นไม้ภายใน พึงทราบว่าเป็นโทษที่สอง.

      เมื่อจงกรมในที่จงกรมอันรกด้วยชัฏมีหญ้าและเครือไม้เถาเป็นต้น ย่อมเหยียบสัตว์มีงูเป็นต้น ในเวลามืดให้ตาย หรือถูกสัตว์มีงูเป็นต้น ขบกัดเอา เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมปกคลุมด้วยชัฏ พึงทราบว่าเป็นโทษที่สาม.

     เมื่อเดินจงกรมในที่จงกรมแคบเกินไป โดยกว้างหนึ่งศอก หรือครึ่งศอก เล็บก็ดี นิ้วเท้าก็ดี ย่อมแตก เพราะลื่นไปในที่จำกัด เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมแคบเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่สี่.

     เมื่อจงกรมในที่จงกรมกว้างเกินไป จิตย่อมพล่าน ย่อมไม่ได้เอกัคคตา เพราะฉะนั้น ความที่ที่จงกรมกว้างเกินไป พึงทราบว่าเป็นโทษที่ห้า.





ว่าด้วยที่จงกรมอันไม่มีโทษ
             
      ก็ที่จงกรมขนาดเล็ก (อนุจงฺกมํ)
         - โดยส่วนกว้างหนึ่งศอกหนึ่งคืบ
         - ที่ข้างทั้งสองประมาณหนึ่งศอก
         - ด้านยาวประมาณ ๖๐ ศอก
         - มีพื้นอ่อนเกลี่ยทรายไว้เรียบเหมาะสม
      เพราะฉะนั้น ที่นั้นเช่นนั้น ได้เป็นเหมือนที่จงกรมของพระมหามหินทเถระผู้ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ชาวเกาะในเจติยคีรี ด้วยเหตุนั้น สุเมธบัณฑิตจึงกล่าวว่า เราสร้างที่จงกรมเว้นโทษ ๕ อย่าง ที่อาศรมบทนั้นดังนี้.


อ้างอิง :-
อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ มาติกา ติกมาติกา ๒๒ ติกะ
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=1&p=2#ว่าด้วยที่จงกรมมีโทษ_๕_อย่าง
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=34&A=1&Z=103




อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการ
๙. จังกมสูตร
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒

     [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
                ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
                ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑
                ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑
                อาหารที่กินดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑
                สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการนี้แล ฯ


                จบสูตรที่ ๙


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๖๒๙ - ๖๓๕.  หน้าที่  ๒๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=629&Z=635&pagebreak=0




อรรถกถาจังกมสูตรที่ ๙   
           
       พึงทราบวินิจฉัยในจังกมสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
       บทว่า อทฺธานกฺขโม โหติ ได้แก่ เมื่อเดินทางไกลก็เดินได้ทน คืออดทนได้.
       บทว่า ปธานกฺขโม ได้แก่ เพียรได้ทน.
       บทว่า จงฺกมาธิคโต จ สมาธิ ได้แก่ สมาธิแห่งสมาบัติ ๘ อย่างใดอย่างหนึ่งอันผู้อธิษฐานจงกรมถึงแล้ว.
       บทว่า จิรฏฐิติโก โหติ แปลว่า ตั้งอยู่ได้นาน.

       ด้วยว่านิมิตอันผู้ยืนอยู่ถือเอาเมื่อนั่งก็หายไป นิมิตอันผู้นั่งถือเอาเมื่อนอนก็หายไป ส่วนนิมิตอันผู้อธิษฐานจงกรม ถือเอาในอารมณ์ที่หวั่นไหวแล้วเมื่อยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ย่อมไม่หายไป.


               จบอรรถกถาจังกมสูตรที่ ๙ 
     

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=29
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่จงกรม ควรมีขนาดเท่าไหร่ อย่างไร.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 09:04:35 am »
0
วิธีการเดิน มีหรือไม่ครับ ในพระไตรปิฏก มีการกล่าวไว้อย่างไร ครับ

 ถ้าจะเดินจงกรม ตืองเดินอย่างไร ครับ

  thk56 st11 st12
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"การเดินจงกรมเป็นหมู่คณะ" มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 09:35:10 am »
0



สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุ
๕. จังกมสูตร
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖
    
     [๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล         
     ท่านพระสารีบุตรจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
     ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
     ท่านพระมหากัสสปก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
     ท่านพระอนุรุทธก็จงกรมอยู่ ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
     ท่านพระปุณณมันตานีบุตรก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
     ท่านพระอุบาลีก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
     ท่านพระอานนท์ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
     แม้พระเทวทัตต์ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ฯ




     
      [๓๖๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      พวกเธอเห็นสารีบุตรกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
      ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีปัญญามาก

      พวกเธอเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
      ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีฤทธิ์มาก

      พวกเธอเห็นมหากัสสปกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
      ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธุตวาท

      พวกเธอเห็นอนุรุทธ กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
      ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้มีทิพยจักษุ

      พวกเธอเห็นปุณณมันตานีบุตรกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
      ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธรรมกถึก

      พวกเธอเห็นอุบาลีกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
      ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้ทรงวินัย

      พวกเธอเห็นอานนท์ กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่ ฯ
      ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นพหูสูต

      พวกเธอเห็นเทวทัตต์กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่
      ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ
      พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีความปรารถนาลามก ฯ





      [๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือ
      สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว
      สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี


      แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว โดยธาตุเทียว คือ
      สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว
      สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี


      แม้ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ
      สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว
      สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี


      แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ
      สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว
      สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ฯ


      จบสูตรที่ ๕


อ้างอิง :-
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๔๐๘๗ - ๔๑๓๘. หน้าที่ ๑๗๐ - ๑๗๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=4087&Z=4138&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=365
ขอบคุณภาพจาก
http://www.bloggang.com/
https://dinnamfa.files.wordpress.com/
http://i.ytimg.com/
http://www.sptcenter.org/




อรรถกถาจังกมสูตรที่ ๕
 
     ถามว่า  ก็เพราะเหตุไร ภิกษุเหล่านั้นจงกรมแล้วในที่ไม่ไกล.
     ตอบว่า เพื่อถือการอารักขาว่า เทวทัตคิดร้ายในพระศาสดา พยายามจะทำความฉิบหายมิใช่ประโยชน์.


     ถามว่า ครั้งนั้น เทวทัตจงกรมแล้ว เพราะเหตุไร.
     ตอบว่า เพื่อปกปิดโทษอันตนกระทำแล้ว เป็นเหตุให้ผู้อื่นรู้ว่า ผู้นี้ไม่ทำ ถ้าทำเขาก็ไม่มา ณ ที่นี้.

     ถามว่า ก็เทวทัตเป็นผู้สามารถเพื่อจะทำความเสียหายต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้หรือ หน้าที่ต้องอารักขาพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่หรือ.
     ตอบว่า ไม่มี.


     เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อานนท์ ข้อที่ตถาคตพึงปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสจะมีได้.
     ส่วนภิกษุทั้งหลายมาแล้วด้วยความเคารพในพระศาสดา. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว จึงรับสั่งให้ปล่อยภิกษุเหล่านั้นไป ด้วยพระดำรัสว่า อานนท์ เธอจงปล่อยภิกษุสงฆ์เถิด ดังนี้.


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=365




     ask1 ans1 ask1 ans1

    พระสูตรนี้บอกอะไแก่เราบ้าง.?
    ๑. สมัยพุทธกาลมี "การเดินจงกรมเป็นหมู่คณะ"
    ๒. สมัยพุทธกาลมี "การแบ่งสำนักครูบาอาจารย์" ตามอัธยาศัยของครูและศิษย์
    ๓. การที่คนเรามีอัธยาศัยต่างกัน ทำให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก ทำให้เกิดมีนิกาย มีสำนัก มีกลุ่มแยกย่อยลงไปอีก หากคนเหล่านั้นมีคุณธรรมไม่พอ การรู้รักษ์สามัคคีจะเกิดขึ้นได้ยาก

    ขอคุยเท่านี้ครับ


     :welcome: :49: :25: :s_good:
 
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
  ข้อความโดย: Hero

วิธีการเดิน มีหรือไม่ครับ ในพระไตรปิฏก มีการกล่าวไว้อย่างไร ครับ

 ถ้าจะเดินจงกรม ตืองเดินอย่างไร ครับ

  thk56 st11 st12




 ans1 ans1 ans1 ans1


จงกรม [-กฺรม] ก. เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน เดินจงกรม. (ส.ป.จงฺกม). (ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน)

การเดินจงกรมไม่มีในพระไตรปิฏกโดยตรง แต่ให้พิจารณาในสติปัฏฐาน ๔ ในอิริยาบถบรรพของหมวดกาย ขอยกมาแสดงบางส่วน

      มหาสติปัฏฐานสูตร
      [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
        - ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน
        - เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน
        - เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง
        - เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน
      หรือเธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ
      ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้างพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง.....

      ...ฯลฯ..........





       อรรถกถา มหาสติปัฏฐานสูตร อิริยาบถบรรพ
       จะวินิจฉัยในปัญหาเหล่านั้น
       คำว่า ใครเดิน ความว่า ไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลไรๆ เดิน.
       คำว่า การเดินของใคร ความว่า ไม่ใช่การเดินของสัตว์ หรือบุคคลไรๆ เดิน.
       คำว่า เดินได้เพราะอะไร ความว่า เดินได้เพราะการแผ่ไปของวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต.
       เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ คือจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ก็ทำให้เกิดวิญญัติ ความเคลื่อนไหว การนำสกลกายให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่าเดิน.
       แม้ในอิริยาบถอื่นมียืนเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

        :25: :25: :25: :25:

       ก็ในอิริยาบถยืนเป็นต้นนั้น จิตเกิดขึ้นว่า เราจะยืน จิตนั้นทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว การทรงสกลกายตั้งขึ้นแต่พื้นเท้าเป็นที่สุด ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่ายืน.
       จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ก็ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว ความคู้กายเบื้องล่างลง ทรงกายเบื้องบนตั้งขึ้น ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่านั่ง.
       จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว การเหยียดกายทั้งสิ้นเป็นทางยาว ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำจิต เรียกว่า นอน.

        st12 st12 st12 st12

       เมื่อภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ ย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เขากล่าวกันว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน แต่โดยอรรถแล้ว สัตว์ไรๆ ที่เดิน ที่ยืนไม่มี ประดุจคำที่กล่าวกันว่า เกวียนเดิน เกวียนหยุด แต่ธรรมดาว่า เกวียนไรๆ ที่เดินได้ หยุดได้เอง หามีไม่ ต่อเมื่อนายสารถีผู้ฉลาดเทียมโค ๔ ตัว แล้วขับไป เกวียนจึงเดิน จึงหยุด เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกันฉันใด

       กายเปรียบเหมือนเกวียน เพราะอรรถว่าไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิต เปรียบเหมือนโค จิตเปรียบเหมือนสารถี
       เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน เราจะยืน วาโยธาตุที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวก็เกิดขึ้น อิริยาบถมีเดินเป็นต้น ย่อมเป็นไปเพราะความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต ต่อแต่นั้น สัตว์ก็เดิน สัตว์ก็ยืน เราเดิน เรายืน เพราะเหตุนั้น คำนั้นจึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกัน ฉันนั้นเหมือนกัน......

      ...ฯลฯ..........


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273
ขอบคุณภาพจาก
http://www.bansawangjai.com/
http://i.ytimg.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 20, 2015, 10:39:06 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

lamai54

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 138
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่จงกรม ควรมีขนาดเท่าไหร่ อย่างไร.?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2015, 12:59:54 pm »
0
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
แข่งขันในโครงการ yamaha นะฮะ อย่าเข้าใจว่าเป็นพวกเสื้อแดง.... เราไม่ใช่....

noobmany

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 79
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่จงกรม ควรมีขนาดเท่าไหร่ อย่างไร.?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2015, 09:09:33 pm »
0
แล้ว ลุง Raponsan ปฏิบัติจงกรม แบบไหน คะ

  thk56 st12
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
แล้ว ลุง Raponsan ปฏิบัติจงกรม แบบไหน คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2015, 12:04:37 pm »
0
อ้างถึง
  ข้อความโดย: Hero

วิธีการเดิน มีหรือไม่ครับ ในพระไตรปิฏก มีการกล่าวไว้อย่างไร ครับ

 ถ้าจะเดินจงกรม ตืองเดินอย่างไร ครับ

  thk56 st11 st12

ans1 ans1 ans1 ans1

ผมเพิ่งค้นเจอในอรรถกถา ผมโพสต์ไว้ในกระทู้นี้ครับ
การเดินจงกรมธาตุ ในอรรถกถา...?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=18453.msg60426;topicseen#msg60426


 :25: :25: :25: :25:


อ้างถึง
ข้อความโดย : noobmany

แล้ว ลุง Raponsan ปฏิบัติจงกรม แบบไหน คะ

  thk56 st12

ans1 ans1 ans1 ans1

ข้าพเจ้า เดินจงกรมธาตุ(จตุธาตุววัตถาน)....ขอรับ
ในกรรมฐานมัชฌิมาฯ มีอยู่ พระอาจารย์สนธยาอธิบายไว้ในกระทู้นี้ครับ
    ถามเรื่องการเดินจงกรม คะ (ต้องให้เครดิตหมวยนีย์)
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1185.0

ว่าแต่....เรียกพี่ได้ไหมคะ คุณน้อง noobmany..??


 :49: :57: :72: :) ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ที่จงกรม ควรมีขนาดเท่าไหร่ อย่างไร.?
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2015, 07:08:13 pm »
0


การเดินจงกลมใช้ระยะไปกลับ 25 ก้าว ศิษย์พระอาจารย์ ธัมมะวังโส ฝึกก้าวย่างลักษณะคล้ายอย่างภาพ แต่ต่างด้วยการกำหนดคำ ไม่มีคำว่า ยืน, ยก, เหยียด, ย่าง, ก้าว, จรด(ปลาย)เท้า, ยืนหนอ มีเพียงการใช้คำกำหนด ปฐวี, เตโช, วาโย, อาโป, ปฐวี นี่เป็นเคล็ดวิชาหนึ่งเดียวที่ไม่มีอื่นใครเหมือน เรียกว่า "จตุธาตุววัฏฐานธาตุ" กำหนดเท้าข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แต่ต้องกำหนดให้ทัน การเดินจงกลมมีได้ทั้งที่เป็นสมถะและวิปัสสนาแต่ไม่ขอกล่าว การฝึกจงกลมเดินนั้นครูอาจารย์หลากหลายท่านให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวด ท่านที่ปรารถนาในรูปแบบสาวกบารมีจะสำเร็จธรรมใดใดก็ด้วยวิถีจงกลมเป็นหลัก การนั่งสำเร็จธรรมเป็นของพระพุทธเจ้าเท่านั้น พระอาจารย์ธัมมะวังโส ท่านให้บรรดาศิษย์ใส่ใจฝึกด้วยท่านประจักษ์ด้วยวิธีนี้มาก่อน ทั้งครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน แห่งอัญญาวิโมกข์โพธิรังษี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ก็รับรองเช่นกัน ซึ่งครูบาเจ้าเพชรนั้นท่านได้รับคำชี้แนะในเรื่องการจงกลมเดินสำเร็จธรรมจากหลวงปู่โอวเจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูริฑัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ดังนั้นการฝึกเดินจงกลมจึงมีความสำคัญกับเราเราท่านท่านทุกคน พระสงฆ์ที่เดินจงกลมแสดงฤทธิ์ฉกาจจนเป็นที่เลื่องลือในวิชากรรมฐานสายมัชฌิมาย่นฟ้าย่อพสุธาคือ ขรัวตาแสง วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี พระอาจารย์รูปสำคัญของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมฺรังษี วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ผมพูดคุยเป็นเพื่อนพอหอมปากหอมคอเท่านั้น หากแต่จะลืมเสียก็ได้ ไม่เชื่อก็ดี ถือว่าผมไม่ได้พูด ลาก่อน!
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่จงกรม ควรมีขนาดเท่าไหร่ อย่างไร.?
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2015, 12:18:21 pm »
0
 st12 st12 st12

แจ่มแจ้งดีนักครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ