ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์  (อ่าน 8134 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2011, 07:43:55 am »
0
ธรรม ที่อยากให้ ท่านทั้งหลาย ยกขึ้น มาพิจารณา เป็นประการแรก ก็คือ ความไม่เที่ยง เพราะความไม่เที่ยงนั้น จะทำให้เราเข้าใจ ทุกข์ และ มองเห็นความทุกข์ และ รู้จักความทุกข์ ได้เป็นอย่างดี

 ยกอารมณ์ อะไรเป็นที่ตั้งในการ หยั่งถึง ความไม่เที่ยง

  ให้ยก ขันธ์ 5  มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
         นาม รูป  คือ กาย และ ใจ

       ให้ตั้งมั่นพิจารณา ความไม่เที่ยง ด้วย สติ และ สมาธิ 

    เมื่อ สติ รวมกับ สมาธิ เมื่อใด เมือนั้น ความเป็นจริง จักปรากฏ นั้นก็คือ ปัญญา วิชชา นั่นเอง

 ดังนั้น ขอให้ท่านทั้งหลาย จงยก ความไม่เที่ยง ขึ้นมาเป็น องค์ธรรม ประการที่ 1 ในวันนี้ ทุกท่านเถิด


 เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2011, 09:03:08 am »
0
ดีใจครับ ได้รับธรรมะ ยามเช้าจากพระอาจารย์

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2011, 09:41:29 am »
0
สาธุ สาธุ สาธุึ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2011, 10:11:43 am »
0
สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
 
   ควรหรือ ที่เรา จะเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา


  พระอาจารย์ ต้องการสื่อ ส่วนนี้ใช่หรือไม่ คะ



 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2011, 10:35:59 am »
0
น่าจะเป็นหัวข้อธรรม ที่พระอาจารย์ ยกมา เข้าใจได้ง่ายที่สุดในวันนี้

  :58: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2011, 08:12:25 pm »
0

อนิจฺจา  วต  สงฺขารา.
สังขารทั้งหลาย  ไม่เที่ยงหนอ.
ที.  มหา.  ๑๐/๑๘๑.  สํ.  ส.  ๑๕/๘.  สํ.  นิ.  ๑๖/๒๒๘.
:25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2011, 06:27:46 am »
0
สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ ควรหรือ ที่เรา จะเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา




ความรัก ที่ไขว่คว้าหากันนั่นแหละ เป็นทุกข์ เพราะใจคนแปรเปลี่ยนได้ง่าย ที่สุดหาความรักกันไม่เจอ เนื้อแท้แล้วมันไม่มีตั้งแต่ต้น เพียงอาศัยกรรมกิเลสเป็นไปเท่านั้น



http://www.oknation.net/blog/swongviggit/category/01212
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 19, 2011, 06:32:39 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 05:02:59 pm »
0


ใน สัจธรรมนั้น ไม่มีอะไรแม้แต่อย่างเดียว ที่ดำรงอยู่
เพื่อยึดถือ เพื่อบรรลุ เพื่อตรัสรู้ หรือเสวยผล
จึงไม่ควรสำคัญว่า มีธรรมะที่ต้องประกาศ
เพราะแท้ที่จริงแล้ว ไม่มีทั้งธรรมะ ไม่มีทั้งจิต
ไม่มีทั้งพุทธะ ไม่มีทั้งสังฆะ ไม่มีทั้งกายและจิต
ไม่มีอะไรสักอย่าง ที่ดำรงอยู่อย่างเป็นตัวเป็นตน
ไม่มีการล้น ไม่มีการพร่อง..คำว่า เมตตา
โดยแท้จริงนั้นหมายถึง ความรู้สึกว่าไม่มีพุทธะ ที่จะเป็นผู้ตรัสรู้.

.คำว่า กรุณา โดยแท้จริงนั้นหมายถึง ไม่รู้สึกว่ามีตัวตนสัตว์ทั้งหลายที่จะต้องปลดปล่อย
ปรากฏการณ์อันมากมายนับไม่ถ้วนในสากล จักรวาลนี้
ทุกๆ อย่างล้วนเป็นพุทธะ เป็นสิ่งสูงสุด

เป็นความว่าง และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในที่สุด

( จากคำสอน ท่านฮวงโป แปลโดย ท่านพุทธทาสภิกขุ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2011, 05:10:57 pm โดย modtanoy »
บันทึกการเข้า

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 05:09:33 pm »
0


"หาก บุคคลแยกกายสมมุติ ออกจากจิตสมมุติ
โดยเกิดปัญญาว่า ทั้งสองสิ่งไม่ใช่เรื่องจริง
เพราะมันไม่เที่ยง ไม่ทน มันจึงไม่แท้
อาศัยลมหายใจหล่อเลี้ยง กายและจิต จึงยังทรงพลังอยู่
หากปราศจากลมหายใจเข้าออก
กายก็จะดับเสื่อมโทรมลงช้าๆ...
กายที่ไม่มีใจควบคุม ไม่ต่างอะไรกับขอนไม้เก่าๆ ที่เขาจะเอาไปเผาทำฟืน..
เมื่อจิตรวม ลงไปเป็นเอกัคตารมณ์ ปฐมเหตุแห่งฌาณจะปรากฎ
จิตเดิมแท้จะปรากฎออกมา ไม่เป็นหญิง ไม่เป็นชาย แต่เป็นกายพรหม
เมื่อได้พบพรหมกาย ทิพย์ธรรมของตนแล้ว
อาการยึดติดในสมมุติต่างๆ ของโลกจะเบาบางลง"

(ฤาษีจิงจัง วัชระธรรมปราณี)
บันทึกการเข้า

ลูกเณร-รัตน์

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 31
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2011, 07:08:06 pm »
0
สัพเพ ธัมมานาลัง อะภินิเวสายะ

  ธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น




บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2011, 07:39:32 am »
0
บุคคลผู้มี นิพพิทา คือ ความหน่ายจาก สงสาร ( ไม่ใช่ความเบื่อหน่ายต่อชีวิต )
เห็นทุกข์ โทษ ของสังสารวัฏ ด้วยใจ พึงตั้ง สติ ยก ความหน่าย นั้น

 พิจารณาธรรม คือ ความทุกข์ เกิดมาอย่างไร อะไรเป็นเหตุ มีใจที่ต้องการพ้นจากทุกข์หรือไม่

 เมื่อได้ ปัญญาตรงส่วนนี้แล้ว ให้พิจารณา ตามความเป็นจริง เป็นลำดับ

 เริ่มจากการพิจารณา ความไม่เที่ยง ในความไม่เที่ยงนั้น มี สภาวะธรรม 2 อย่าง คือ เกิด และ ดับ

 ส่วนล้กษณะ ของความไม่เที่ยง คือ แปรปรวน ไม่คงอยู่

    เมื่อจิตเข้าถึง ธรรมสภาวะ นี้ เห็นแจ้งตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้วว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

  ก็จะดำเนินสภาวะ ธรรมเข้าสู่ นิพพาน 2 ประการเป็นเบื้องต้น

    คือ อนิมิตตนิพพาน หรือ อนิมิตตวิโมกข์  เมื่อ เห็นแจ้งตามความเป็นจริงใน อนิจจัง

        เป็น อนิจจานุปัสสนา

       อัปปณิหิตนิพพาน หรือ อัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อ เห็นแจ้งตามความเป็นจริงใน ทุกขัง

       เป็น ทุกขานุปัสสนา

    ส่วนที่เหลือคือ  สุญญตนิพพาน หรือ สุญญตวิโมกข์ ต้อง เห็นธรรม 2 ประการแรกนั้นก่อน

    กรรมฐาน เป็นไปโดยลำดับ จิตที่บรรลุ ก็เป็นไปโดยลำดับ หากข้ามลำดับ จะทำให้ฟั่นเฝือ วิกลจริตได้

เพราะเห็น เท็จเป็นจริง จริงเป็นเท็จ

    นักภาวนา ( ผู้ภาวนาอยู่ ) พึงระวัง


    เจริญธรรม


    ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

whanjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 106
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2011, 03:56:24 pm »
0
คำว่า
                   สิ่งทั้งหลายมีความเที่ยงอยู่ขณะหนึ่งที่มีความตั้งอยู่ใช่หรือไม่
             ตอบว่า ไม่น่าจะใช่ เพราะสังขตธรรมเพียงดำรงอยู่ขณะหนึ่งๆ
แล้วดับไป ไม่ควรเรียกว่าเที่ยงอยู่ขณะหนึ่ง ควรเรียกว่าดำรงอยู่ขณะหนึ่งเท่านั้น

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
             อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             สังขตสูตร
             [๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการ
             ๓ ประการเป็นไฉน คือ
                   ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑
                   ความเสื่อมปรากฏ ๑
                   เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

             อสังขตสูตร
             [๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้     
             ๓ ประการเป็นไฉน คือ
                   ไม่ปรากฏความเกิด ๑
                   ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑
                   เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๓๙๔๔ - ๓๙๕๓.  หน้าที่  ๑๖๙ - ๑๗๐.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3944&Z=3953&pagebreak=0       
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=486
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=487

นำมาสนับสนุนคะ
บันทึกการเข้า

whuchi

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 80
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2011, 03:59:12 pm »
0
สรรพสิ่งมีการเกิด ดับ อยู่ตลอดเวลา แม้แต่ร่างกายเรา ในทางวิทยาศาสตร์บอกว่า เมื่อเวลาผ่านไปสิบปี จะไม่มีแม้แต่โมเลกุลเดียวภายในร่างกายที่ยังคงเป็นของเดิม


    ถ้ากำลังสติไวขึ้นอีก จะเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของ เวทนา  ตัณหา  อุปาทาน  สัญญา สังขาร  วิญญาณ   ซึ่งเกิดจากจิต  และเห็นการเกิดดับของความคิด ซึ่งเกิดจากสมอง  กำลังสติในขั้นนี้จะหยั่งรู้ว่า จิตกับสมองเป็นคนละส่วน แต่ทำงานร่วมกัน

     ในทางวิปัสสนากรรมฐาน จึงให้ความสำคัญกับขณิกสมาธิ  ซึ่งเป็นสมาธิชั่วขณะ  เช่น เมื่อได้ยินเสียงตีระฆัง ก็ให้กำหนดสติจับไปที่เสียงนั้น  ตั้งแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่  จนดับไป  เมื่อสติไวขึ้นๆ จะสามารถนำไปจับปรากฏการณ์อื่นทั้งหมดในจักรวาลไม่ว่ารูปหรือนาม และเข้าใจว่า สิ่งที่รับรู้ เกิดจากจิตที่เกิดดับต่อเนื่องเป็นสายขึ้นมารับอารมณ์  จิตเกิดดับเร็วมาก เพียงชั่วเวลาดีดนิ้ว ก็มีจิตเกิดขึ้นแล้วดับไปนับล้านๆดวง  ถ้าสามารถจับไปที่ชั่วเวลาขณะจิตเพียงหนึ่งดวงได้ นั่นก็คือ ปัจจุบันขณะที่แท้จริงนั่นเอง

    สภาวะนิพพาน คือสภาวะที่สามารถแยกสติออกจากดวงจิตได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด  จึงรู้เท่าทันอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอันละเอียดทางจิตทุกชนิด และอาการแบบหยาบๆทางสมองทั้งหมด 

    สภาวะนิพพานพ้นจากกฎแห่งไตรลักษณ์ จึงไม่ต้องตกอยู่กับสุขแบบปลอมๆที่มีการเกิดดับ เป็นสุขที่ประณีตที่สุด สุขอย่างยิ่ง และสุขนิรันดร  กาย ใจ จิต หายไปโดยสิ้นเชิง แต่ตัวรู้ยังคงอยู่

     ปลาที่อยู่ในตู้จะไม่รู้สึกว่ากำลังถูกจองจำ  เพราะตัวมันไม่สามารถแยกออกมาจากน้ำได้  ถ้ามีปลาสักตัวสามารถออกมานอกตู้แล้วมองเข้าไป มันจะเข้าใจทันทีว่า เพื่อนๆมันไม่ได้มีอิสระแต่อย่างใด   เช่นเดียวกัน  มนุษย์ไม่รู้สึกว่ากำลังถูกจองจำ  จนกว่าจะมีใครหลุดพ้นจากอิทธิพลของแสงและเวลา  แล้วมองกลับเข้าไปจึงจะรู้ว่า เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎแห่งไตรลักษณ์  เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  น่าเวทนายิ่งนัก  และสภาวะที่สามารถพ้นจากวงจรนี้มีอยู่จริง  ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงค้นพบแล้ว

     นิพพานไม่ใช่สถานที่  ที่จะอธิบายได้ว่ามีลักษณะงดงามแบบเมืองสวรรค์ เพราะถ้าเช่นนั้นก็ถือว่ายังยึดติดกับทวารหก ผัสสะและสิ่งเร้า  ไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์อย่างแท้จริง

      จะมีประโยชน์อันใด ถ้านิพพานเป็นดินแดนราวกับสรวงสวรรค์ มีแต่ความสุข  แต่ยังต้องมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ภายใต้อิทธิพลของเวลา  การเสวยสุข ณ ดินแดนนั้น ย่อมมีทุกข์รออยู่เบื้องหน้า จึงไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง

(จากหนังสือ "ความลับของจักรวาล ทางแห่งนิพพาน")
บันทึกการเข้า