ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บทนำ ตำนานการสืบพระกรรมฐาน  (อ่าน 17715 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บทนำ ตำนานการสืบพระกรรมฐาน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 02:29:46 pm »
0
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๕๖-๒๗๔ พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งคณะพระโสมณเถรเจ้า พระุอุตรเถรเจ้า พร้อมพระสงฆ์ทศวรรค เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ไทย พม่า ลาว เขมร ในปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ำ้ได้สืบทอดพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัย สืบกันเรื่อยมา จวบจนปัจจุบันนี้

พระสงฆ์ืที่อยู่วัดใกล้บ้าน เรียกว่าพระสงฆ์คามวาสี
พระสงฆ์ีที่อยู่วัดในป่า เรียกว่า พระสงฆ์อรัญวาสี
พระสงฆ์ที่อยู่วัดคามวาสี และวัดอรัญวาสี ต้องศึกษาพระธรรมวินัยทั้งปริยัติ และปฎิบัติควบคู่กันไป ไม่มีการแบ่งแยกทางการศึกษา ว่าจะศีกษาทางไหนก่อนหลัง

แต่ถ้าจะศีกษาปฎิบัติต้องไปยังสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ อันเป็นศูนย์กลางของการปฎิบัติพระกรรมฐานเจริญภาวนา ในยุคต่างๆ เช่น

ยุคสุวรรณภูมิ สำนัก พระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดท้าวอู่ทอง เมืองสุวรรณสังข์ (เมืองอู่ทอง) มีพระโสณเถร พระอุตรเถร เป็นเจ้าสำนัก และเป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุคสุวรรณภูมิ

ยุคกรุงศรีทวารวดี สำนัก พระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดแสนท้าวโคตร กรุงศรีทวารวดี มีพระญานไตรโลกมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางของพระกรรมฐานในยุคอาณาจักรศรีทวารวดี

สำนักพระกรรมฐานเล็ก คือ
- วัดพญารามศรีทวารวดี
- วัดสุวรรณาราม กรุงศรีทวารวดี ฯ

ยุคศรีทวาราวดี พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุค คือ พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า (เพชร)

ยุคสุโขทัย สำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดป่าแก้ว มีพระวันรัตมหาเถรเจ้าเป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางพระกรรมฐาน ในยุคอาณาจักรสุโขทัย

สำนักพระกรรมฐานเล็ก คือ
- วัดป่ารัตนา พระครูญานไตรโลกเป็นเจ้าสำนัก
- วัดสุทธาวาส พระครูญานสิทธิ เป็นเจ้าสำนัก

ยุคสุโขทัย พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุค คือ พระญานสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์)

ยุคกรุงศรีอยุธยา สำนัก พระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดป่าแก้ว หรือเรียกกันอีกอย่างว่า วัดเจ้าพญาไท พระพนรัตน พระสังฆราช ฝ่ายซ้าย เป็นพระอาจารย์ใหญ่ เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางพระกรรมฐาน ในยุคอาณาจักรอยุธยา

สำนักพระกรรมฐานเล็ก คือ
- วัดศรีอโยธยา พระพากุลเถร เป็นเจ้าสำนัก
- วัดโบสถ์ราชเตชะ พระพุทธาจารย์ เป็นเจ้าสำนัก
- วัดโรงธรรม พระญานไตรโลก เป็นเจ้าสำนัก
- วัดกุฎ พระอุบาลี เป็นเจ้าสำนัก
- วัดเจ้ามอน พระญานโพธิ เป็นเจ้าสำนัก
- วัดประดู่ พระธรรมโกษา เป็นเจ้าสำนัก
- วัดกุฎิดาว พระเทพมุนี เป็นเจ้าสำนัก
- วัดสมณะโกฎ พระเทพโมฬี เป็นเจ้าสำนัก
- วัดมเหยงค์ พระธรรมกิติ เป็นเจ้าสำนัก
นับว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวัดอรัญวาสี เป็นสำนักพระกรรมฐานมาก เปรียบเทียบได้ว่ามี มหาวิทยาลัยพระกรรมฐานทางพระพุทธศาสนามาก

ยุคอยุธยา พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุค คือ พระพนรัต(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี

ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดอรัญวาสีสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักกรรมฐานใหญ่ ๑ วัดคือ วัดราชสิทธาราม (พลับ) สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก) เป็นเจ้าสำนัก เป็นพระอาจารย์ใหญ่ ประจำยุครัตนโกสินทร์ วัดราชสิทธารามจึงเป็นศูนย์กลางกรรมฐานมัชฌิมา ประจำกรุงรัตนโกสินทร์

สำนักพระกรรมฐานเล็ก คือ
- วัดราชาธิวาส พระปัญญาวิศาลเถร (ศรี) เป็นเจ้าสำนัก

ยุครัตนโกสินทร์ พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุค คือ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก)
จึงนับได้ว่ายุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีมหาวิทยาลัยพระกรรมฐาน ทางพระพุทธศาสนาเพียง ๒ แห่ง

สำหรับสำนักวัดราชาธิวาสนั้น เมื่อพระปัญญาวิศาลเถร (ศรี) มรณภาพลงแล้ว พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ก็เสื่อมลงเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันหมดไปแล้ว มีแบบแผนใหม่เข้ามาแทนที่ เนื่องจากตั้งอยู่ในที่ใกล้ความเจริญมากกว่า ด้วยความเจริญของสมัยใหม่เข้ามาเร็ว และไม่มีการบำรุงรักษาแบบแผนเดิมไว้

ต่อมาเหลือเพียงวัดราชสิทธาราม (พลับ) เพียงวัดเดียว ที่รักษาแบบแผน และความเป็นสำนักพระกรรมฐานใหญ่ สำนักพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับเป็นหลักแบบวัดแสนท้าวโคตร ยุคทวารวดี แทนวัดป่าแก้ว ยุคสุโขทัย แทนวัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ไว้ได้ยาวนานที่สุด

ซึ่งแต่ละยุคมีการศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา เป็นแบบเดียวกัน เป็นทางเดียวกัน จนกระทั่งถึงบัดนี้ โดยมีพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายกรรมฐานมัชฌิมาสืบทอดมาโดยไม่ขาดสาย ไม่ขาดระยะมาถึง ๑๒ รุ่น บางยุคก็เจริญ บางยุคก็เสื่อมลงบ้าง เป็นไปตามหลักของพระำไตรลักษณ์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของกรุงรัตนโกสินทร์นี้ นำสืบทอดมาจากกรุงศรีอยุธยา สู่กรุงรัตนโกสินทร์ โดยการนำมาประดิษฐานของ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม (พลับ) ซึ่งต่อมาถึงรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ ในปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ ทรงมีพระราชดำริว่า พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของเก่าดั่งเดิม กำลังจะแตกกระจาย ไปเป็นสายต่างๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการศึกษาพระกรรมฐานภาคปฎิบัติจะไม่เป็นระเบียบแบบแผน เป็นลำดับเหมือนแต่ก่อน ว่าพระกรรมฐานไหน ควรเรียนก่อน พระกรรมฐานไหน ควรเรียนหลัง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการชุมนุมพระอริยสงฆ์สมถะ วิปัสสนา ทั้งนอกกรุงในกรุง ทำการสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เพื่อรักษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มิให้แตกกระจาย สูญหาย ทำให้เป็นปึกแผ่นเหมือนดังแต่ก่อน สังคายนาโดยพระอริยสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

โดยมีสมเด็จพระสังฆราชญานสังวร (สุก ไก่เถื่อน) เป็นองค์ประธานสังคายนาฝ่ายสงฆ์ เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระสงฆ์ ปะขาว ชีไปเป็นพระอาจารย์ บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตามพระอารามต่างๆ พระกรรมฐานมัชฌิมา จึงได้สืบทอดมาจนทุกวันนี้

พระกรรมฐานนั้นมี ๒ ภาค
๑. พระกรรมฐานภาคปริยัติ คือ เรียนรู้ได้ตามพระคัมภีร์ ได้แก่ พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระคัมภีร์มูลกรรมฐาน

๒. พระกรรมฐานภาคปฎิบัติ คือ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบทอดมาโดยการประพฤติปฎิบัติ และทรงจำสืบต่อๆ กันมา โดยไม่ขาดสาย เพื่อป้องกันอุปาทานและทางเดินของจิตเสีย

เมื่อเรียนภาคปฎิบัติตามขั้นตอนแล้ว จึงจะเรียนพระกรรมฐานภาคปริยัติ คือ การอ่าน พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค คัมภีร์มูลกรรมฐาน เพื่อนำความรู้ทางจิต ออกมาเป็นคำพูด เพื่อทำความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง และอธิบานให้ได้ใจความ


สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ทรงเป็นครั้งแรก ของกรุงรัตนโกสินทร์ หลายอย่าง หลายประการ ๑. ทรงเป็นพระอาจารย์ พระองค์แรก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ทรงอาราธนามากรุงเทพฯ

๒. ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นที่ พระญานสังวร พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๓. ทรงเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระญานสังวร พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๔. ทรงเป็นเจ้าอาวาส พระองค์แรก ของวัดราชสิทธาราม ของกรุงรัตนโกสินทร์

๕. ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระญานสังวร พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๖. ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะ พระองค์แรก ที่นั่งหน้า สมเด็จพระสังฆราช องค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากมีพรรษากาลมากกว่า

๗. ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มาจาก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๘. ทรงเป็นองค์ประธานสังคายนาพระกรรมฐาน พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๙. ทรงเป็นพระสงฆ์และสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรก ที่ได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่

๑๐. ทรงได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๑. ทรงเป็น พระองค์แรก ที่มีลูกศิษย์ เป็นพระสังฆราชถึง ๕ พระองค์

๑๒. ทรงเป็น พระองค์แรก ที่มีลูกศิษย์ เป็นสมเด็จราชาคณะถึง ๑๐ พระองค์

๑๓. พระเจ้าแผ่นดินทรงให้ช่างปั้นรูปเหมือนของพระองค์เป็น พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๔. ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูง พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๕. ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระเ้จ้าแผ่นดินถึง ๔ พระองค์เป็น พระองค์แรก และองค์สุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๖. ทรงเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๗. ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่พระอัฎฐิธาตุ พระเกศาธาตุ พระอังคารธาตุ แปรเป็นพระธาตุ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๘. ทรงพระราชทานฉัตรเจ็ดชั้น เมื่อคราวออกพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง เป็น พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๙. ทรงได้รับพระราชทาน พัดสองด้าม พัดแฉกใบสาเก ฝ่ายคันถธุระ๑ พัดงาสาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ๑ ครั้งเป็นสมเด็จราชาคณะ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๒๐. ทรงได้รับพระราชทาน พัดสองด้าม พัดแฉกใบสาเก ฝ่ายคันถธุระ๑ พัดงาสาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ๑ ครั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงถือเป็นประเพณีสืบมา ทรงโปรดพระราชทานสมเด็จพระสังฆราชองค์ต่อมาด้วย มายกเลิกในรัชกาลที่ ๕

๒๑. ทรงพระราชทาน ผ้ารัตประคตพระอุระ (อก) หนามขนุนสีทอง พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๒๒. ทรงพระราชทานของที่ระลึก แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงสามพระองค์เป็น พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์
- ทรงถวายพระตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระอรหัง แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑
- ถวายสมเด็จพระอรหัง แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓

๒๓. ทรงเป็นพระสงฆ์ปาปมุต พ้นจากบาปทั้งปวง พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนองค์ที่ ๒ คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

ฯลฯAeva Debug: 0.0008 seconds.Aeva Debug: 0.0008 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 09, 2010, 10:27:53 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: บทนำ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 03, 2010, 09:31:35 am »
0
ประวัติย่อ "พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ"       
            ความเป็นมาของ “พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ” วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) นั้น มิใช่เป็นของใหม่แต่อย่างใด พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๕๖-๒๗๔ ครั้งตติยสังคายนา พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งคณะพระโสณเถรเจ้า พระอุตตระเถรเจ้า เป็นพระธรรมฑูตนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุค ผ่านสมัยเรื่อยมา จนถึงยุคต่างๆ เช่น
     :043:ยุคสุวรรณภูมิ สำนักพระกรรมฐานหลัก คือ วัดท้าวอู่ทอง เมืองสุวรรณสังข์ (อู่ทอง) มีพระโสณเถรเจ้า พระอุตตระเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนัก และพระอาจารย์ใหญ่
     :043:ยุคกรุงศรีทวาราวดี สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดแสนท้าวโคตร กรุงศรีทวาราวดี มีพระญาณไตรโลกมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนัก และศูนย์กลางของพระกรรมฐาน สำนักเล็ก คือ วัดพญาราม วัดสุวรรณาราม
     :043:ยุคศรีทวาราวดี พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุค คือ พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า (เพชร)
     :043:ยุคกรุงสุโขทัย สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดป่าแก้ว มีพระวันรัตมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนักศูนย์กลางพระกรรมฐาน สำนักเล็ก เช่น วัดป่ารัตนา พระครูญาณไตรโลก เป็นเจ้าสำนัก วัดสุทธาวาส พระครูญาณสิทธิ เป็นเจ้าสำนัก
     :043:ยุคสุโขทัย พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุค คือ พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (สิงห์)
     :043:ยุคกรุงศรีอยุธยา สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดป่าแก้ว (เจ้าพญาไท) พระพนรัต (รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า พระสังฆราชาฝ่ายอรัญวาสี ยุคนี้มีสำนักพระกรรมฐานเล็กๆ กว่าสิบวัด
     :043:ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระอาจารย์กรรมฐานประจำยุค คือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก)ไก่เถื่อน มีมหาวิทยาลัยพระกรรมฐานทางพระพุทธศาสนาเพียง ๒ แห่ง
             :banghead:สำนักวัดราชาธิวาส เมื่อพระปัญญาวิศาลเถร(ศรี) มรณภาพลง พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็เสื่อมลง ซึ่งปัจจุบันหมดไปแล้ว
             :banghead:สำนักวัดราชสิทธาราม(วัดพลับ) สำนักพระกรรมฐานใหญ่ เพียงวัดเดียว ที่รักษาแบบแผนไว้ได้ยาวนานที่สุดจวบจนปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บทนำ ตำนานการสืบพระกรรมฐาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2016, 02:13:04 am »
0

   ประวัติพระกรรมฐาน...สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์