ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จิตใต้สำนึก กับ จิตเดิมแท้ เป็น จิตเดียวกันใช่หรือไม่คะ ?  (อ่าน 14013 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จิตใต้สำนึก กับ จิตเดิมแท้ เป็น จิตเดียวกันใช่หรือไม่คะ ?
  ตามคำถาม เลยคะ
   สภาพ จิต ใต้สำนึกนั้น ควบคุมไม่ได้เป็นไปตามวิสัย ที่มีอยู่ใช่หรือไม่คะ หรือ เป็นอย่างไร ส่วนจิตเดิมแท้ ที่เรียกว่า จิตประภัสสร นั้น คือสภาวะจิตใต้สำนึก ใช่หรือไม่คะ

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.magickidschool.com

  :25:
บันทึกการเข้า

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จิตใต้สำนึก น่าจะหมายถึง จิตที่อยู่ลึกเป็นอุปนิสัยที่แท้จริง ครับ เช่นเวลาเราสูญเสียสติ จิตใต้สำนึก ก็จะทำหน้าที่เองโดย สัญชาตญาณ

  :s_hi:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
     การฝึกกรรมฐานไปมรรคผล ก็ต้องเข้าให้ถึงจิต เพื่อเข้าไปล้างนิสัยเก่าของมนุษย์ให้หมดสิ้น เพื่อข้าม โคตรภู (โคตรมนุษย์) เพื่อต้องการเป็นพระอริยะ  .......... จิตที่เป็นสันดานเดิม ที่ติดตัวมาแต่เกิด จิตเดิมใต้สํานึก สันดานดิบที่อยู่ก้นบึ้งตั้งแต่กําเนิดและชาติก่อนที่เคยเกิดมาแล้ว กองกระดูกเท่าภูเขา(จิตล้วนๆ)...จิตคือ(การปรุงแต่ง)แทรกอยู่ใน เบญจขันธ์ นาม-รูป
การจะเข้าไปเห็นจิตได้ ต้องพึ่งอะไร.. ต้องพึ่งสมาธิ และรวมสมาธิ ให้มรรคมีองค์แปดสมบูรณ์ จึงจะเข้าไปเห็นจิตได้
       จิต หรือ จิตล้วนๆ คือการเข้าไปรู้ไปเห็น จิตตานุปัสสนา(สโตริกาญาณ ๙-๑๒)
 การที่จะเข้าไปเห็นจิต รู้จิต หรือถึงตาจิต นั้น...เอาอะไรไปเห็น..สติมีส่วน สมาธิก็มีส่วน คือใช้ด้วย เพราะทําให้การรวมมรรคมีองค์แปดครบสมบูรณ์....ด้วยการรวมอํานาจ แห่งอริยมรรคมีองค์แปด (รวมมรรคให้เป็นหนึ่งเดียว)

     ขอขยายกลับไปที่เหตุ
    ศึกษา พระลักษณะ พระรัศมี ก็เพื่อเข้าถึงและเข้าใจนามรูปคือ เบญจขันธ์

       นามรูปทางปริยัติคือขันธ์๕ เบญจขันธ์
       นามรูปทางการภาวนานั้นไม่ใช่
       แต่หมายถึงจิต ที่รู้ ที่เห็น ที่กําหนดได้
       นามรูปปรากฏเพราะมีการกําหนดได้
       นามรูปไม่ปรากฏเพราะกําหนดไม่ได้
       ดังนั้นญาณที่๑ ในวิปัสสนาญาณ คือ นามรูปปริทเฉทญาณ

      นามรูปคือธรรมสภาวะที่ปรากฏชัดเจน
      ด้วยอํานาจอริยมรรคมีองค์แปดที่สมบูรณ์
      เมื่อมรรคมีองค์แปดสมบูรณ์รวมเป็นหนึงเดียว
       จิตล้วนๆๆ ก็ปรากฏด้วยอํานาจแห่งมรรค

       กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ สอน การรวมมรรคมีองค์แปดให้สมบูรณ์ เพื่ออริยมรรค
             เพื่อจะได้เห็นความจริง ทุกสิ่ง ทุกอย่าง......

                     ขยาย และ เรียบเรียง แต่งเติม เสริม ต่อ จากคําตอบของครูอาจารย์  ก็ว่ากันไป
   
       
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คำตอบในทาง การภาวนาในพระพุทธศาสนา ใ้ห้ความสำคัญกับเรื่อง จิตมากที่สุด ใช่หรือไม่ครับ ดังนั้น เรื่องจิต หรือ จิตใต้สำนึก จิตเดิมแท้ นี้น่าจะต้องมีคำอธิบาย ด้วยพระสูตร มากเลยใช่หรือไม่ครับ

  :c017: :49:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 08, 2012, 04:34:17 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



จิตใต้สํานึก(SUBCONSCIOUS)

จิตใต้สํานึก(Subsciousness) คือ จิตที่ทำหน้าที่อิสระไม่สามารถการควบควมได้ โดยมันจะทำหน้าที่หรือตัดสินใจได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องคิด หรือวิเคราะห์ สภาวะการตัดสินใจเกิดจากการสะสมมาจากจิตสำนึกในเรื่องราวต่างๆ ไว้  และพอถึงเวลา บางสถานะการณ์จิตใต้สำนึกจะดึงข้อมูลออกมาเอง โดยที่ไม่ต้องคิด ไม่ต้องมาวิเคาะว่าดี ไม่ดี ถูก ไม่ถูก   


แต่มันจะตัดสินใจเองแล้วส่งออกมาให้เรา ก็เหมือนคำที่เราใช้ว่า "วูบหนึ่งของความคิด" นั้นแหละ  พวกที่เรียนเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือการออกแบบ จิตใต้สำนึกมีประโยชน์มากในการช่วยในเรื่องสร้างแรงบันดลใจ 

ยกตัวอย่าง เช่น มีงานหรือโจทย์ ยากๆ แต่คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออก พอเลิกๆ คิดไป บางทีร้องๆเพลงอยู่ขณะกำลังอาบน้ำอยู่(จริงๆแล้วจะพิมพ์ว่านั่งขี้อยู่ แต่ไม่สุภาพเปลี่ยนเป็นอาบน้ำแทนแล้วกันนะ) ก็มีความคิด วูบหนึ่งโผล่เข้ามาในหัวสมองว่าต้องทำแบบไหนหรือเห็นภาพอะไรเกี่ยวกับงานนั้น  นี่แหละ ( อ่อ  ขี้ ออกแหละ) คือ "จิตใต้สำนึก"

อย่างที่บอกแหละ ครับ การบวนการตัดสินใจของจิตใต้สำนึกมาจาก การสะสมข้อมูลและเรื่องราวต่างๆ จากจิตสำนึก หากเรารับรู้ขอมูลไม่ดีไว้เยอะ ภาวะการตัดสินใจของ จิตใต้สำนึกจะส่งออกมา ก็จะเป็นเรื่อง ไม่ดีต่างๆมาให้เราหารับรู้เรื่องดีๆไว้เยอะๆ จิตใต้สำนึกจะส่งออกมาให้เราก็จะเป็นเรื่อง ดีๆ

มีวิธีง่ายๆ ที่จะฝึกให้จิตใต้สำนึก ทำงานบ่อยๆ คือ การใช้จินตนาบ่อยๆ การใช้จินตนาการณ์ ทำให้เปิดช่องว่างของจิตสำนึกเราได้ ก็เหมือนการผ่อนคลายจิตแหละครับ





รูป เปรียบเทียบจิตทั้งส่วนสำนึก และส่วนใต้สำนึก เหมือน ภูเขาน้ำแข็ง ลอยในมหาสมุทร ส่วนลอยเหนือน้ำต้อง แสงสว่างและอากาศ ปรากฏแก่ สายตาโลก คือ จิต หรือ พฤติกรรม ที่อยู่ในความควบคุมของ ความสำนึกตัว

ส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำ (ซึ่งปริมาณมากกว่า) อยู่ใน ความมืดกว่า ไม่ปรากฏแก่สายตาโลก คือ จิตใต้สำนึก อันเป็นภาคสะสม ประสบการณ์ในอดีตมากมาย ถูกบีบอัด เก็บกด หรือคอย เพื่อให้สม ปรารถนา เพื่อให้ได้ จังหวะเหมาะ สำหรับตอบสนองสิ่งเร้า อันยังไม่ได้ทำ หรือทำ ไม่ได้ในภาวะปกติ (เช่น กฎหมายห้าม, ประเพณีไม่ยอมรับ ว่าถูก, สังคมไม่นิยม ฯลฯ)

รูปซ้ายมือ เปรียบเหมือนเวลาอันเป็นปัจจุบันเท่านั้น และมีความเป็นปกติบุคคลย่อมรู้สึกสงบ สบาย มีสติ พลังจิตสำนึก ควบคุมพฤติกรรม ทั้งหลาย ให้เป็นไปตามที่เขาเห็นว่า ถูกต้อง,สมควร, ทำโดยเคารพกฎหมายและระเบียบของสังคม, รูปขวามือแสดงว่าเวลาลมฟ้าอากาศ แปรปรวน มหาสมุทรมีคลื่นจัด ภูเขาน้ำแข็งโครงเครง

ส่วนที่เคยจมใต้น้ำ โผล่ขึ้นเหนือน้ำ ให้มองเห็นได้ เทียบได้กับยามบุคคล มีอารมณ์ขุ่นมัว เคร่งครัด ด้วยความโกรธ เกลียด อิจฉา พยาบาท กลัว ตื่นเต้น วิตก เจ็บป่วย ฯลฯ พลังจิตใต้สำนึกที่ไม่มีโอกาสได้แสดง พฤติกรรมออกมานั้น มักแปรรูปเป็นพฤติกรรมผิดปกติ รูปใดรูปหนึ่งก็ได้ เช่น รู้สึกกลัวตลอดเวลา กามวิปริตซึมเศร้าตลอดเวลา ฯลฯ

การช่วยเหลือบุคคล ที่มีพฤติกรรมผิดปกติประเภทนี้ จำเป็นจะต้องเข้าใจหยั่งรู้ถึง พลังจิตใต้สำนึก ที่เป็นต้นเหตุ จิตแพทย์สกุลฟรอยด์ อาจใช้วิธีการสะกดจิต หรือทำการบำบัดแบบ Free Association เพื่อให้คนไข้เปิดเผยพลังจิตใต้สำนึก ซึ่งเขาไม่เคยเล่า, ไม่เคยเปิดเผย, ไม่เคยแสดงออก หรือซึ่งเจ้าตัวเองก็อาจไม่ตระหนักรู้มาก่อน

อนึ่ง พลังจิตใต้สำนึกมีหลายระดับ บางอย่างอยู่ในระดับตื้น บางอย่างอยู่ในระดับลึก และยังแตกต่างกันในแง่พลังแรงเข้ม หรืออ่อน ของการขับดัน ด้วยจากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้อธิบายหรือทำความเข้าใจได้ว่า คนแต่ละคนแตกต่างกัน ในรูปของ พลังจิตสำนึก และใต้สำนึก ฉะนั้น คนแต่ละคนจึงมีบุคลิกภาพไม่เหมือนกัน





รูป พลังจิตสำนึกและใต้สำนึก กระตุ้นให้มนุษย์ประกอบพฤติกรรมต่าง ๆ นานา พฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตสำนึกอย่างเดียว (เครื่องหมาย ๑) และจิตใต้สำนึกปะปนกัน (เครื่องหมาย ๒) เช่น บางคราวเผลอพูด คิด ทำ แล้วมีสติระลึกได้ทันทีว่าควรหรือไม่ควร จึงเปลี่ยนคำพูด วิธีคิด การกระทำพฤติกรรมบางประเภทถูกกระตุ้นโดยจิตใต้สำนึกอย่างเดียว (เครื่องหมาย ๓) เช่น ความฝัน การพลั้งปาก การทำอะไรอย่างเผลอไผล ไม่รู้ตัว


ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://astrologyacademy.blogspot.com/2010/12/subsciousness.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อัปโหลดโดย pongpetch เมื่อ 1 ต.ค. 2009
   

     คุณดังตฤณตอบคำถามในการบรรยายธรรมที่ปูนซิเมนต์ไทย เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2552
     ดังตฤณ อธิบายว่า ในพุทธศาสนาไม่มี "จิตใต้สำนึก" แต่จะอธิบายด้วยสัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์

   
     ความหมายตามพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
     จิตใต้สำนึก  น. ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้ เพราะอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ. (อ. subconscious).   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


จิตเดิมแท้หรือจิตหนึ่ง

คำนี้ปรากฏอยู่ในคำสอนของเซ็น ซึ่งท่านอาจารย์พุทธทาสนำมาให้เรารู้จัก ด้วยการแปลหนังสือ สูตรของเว่ยหล่าง และคำสอนของฮวงโป ความหมายก็น่าจะใกล้เคียงกับ "จิตว่าง" ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

   เดิมผมก็เชื่อตามๆกันมาว่า คำว่าจิตเดิมแท้ ไม่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก แต่เป็นสิ่งที่เซ็นบัญญัติขึ้นเอง
   จนเมื่อไม่นานมานี้ คุณดังตฤณ ไปพบ กามภูสูตรที่ 2 พระสุตตันตปิฎกเล่ม 10สังยุตนิกาย สฬายตนะวรรค
   มีข้อความพาดพิงถึง จิตแท้(จิตดั้งเดิม) หรือที่พระไตรปิฎกบาลีเรียกว่า  จิตตํ ภาวิตํ


   คราวนี้ก็มาถึงปัญหาที่ว่า จิตหนึ่งหรือจิตเดิมแท้ของเซ็น กับ จิตแท้หรือจิตดั้งเดิมของเถรวาท คืออันเดียวกันหรือไม่ 
   เรื่องนี้คงต้องพิจารณาถึงความหมาย หรือคำอธิบายของแต่ละฝ่าย แล้วนำมาเปรียบเทียบกันดู

    ท่านฮวงโปสอนเรื่องจิตเดิมแท้หรือจิตหนึ่งเอาไว้มาก เช่นสอนว่า "จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้ ไม่มีทั้งปรากฏการณ์ อยู่เหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด"

    "จิตหนึ่งนี้ เป็นสิ่งที่เราเห็นอยู่ตำตาแท้ๆ แต่ลองไปใช้เหตุผลว่ามันเป็นอะไร เราจะหล่นสู่ความผิดพลาดทันที
สิ่งนี้เป็นเหมือนความว่างอันปราศจากขอบทุกๆด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่ง หรือวัดได้"


    "จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ แต่สัตว์โลกไปยึดมั่นต่อรูปธรรม จึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก ซึ่งไม่สามารถแสวงหาได้เลย ถ้าเขาเพียงแต่หยุดความคิดนึกปรุงแต่ง และความกระวนการวายเพราะการแสวงหา
พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา"


    "เพียงแต่ลืมตาตื่น พุทธะก็ปรากฏตรงหน้า"

    สรุปแล้ว จิตเดิมแท้หรือจิตหนึ่งของเซ็น ก็คือ ธรรมชาติรู้ที่เหนือความปรุงแต่ง และไม่เกิด ไม่ตาย
(หากศึกษาอย่างไม่ระมัดระวัง ก็อาจจะหลงสรุปว่า จิตเดิมแท้คืออาตมัน หรืออัตตา หรือเต๋า เพราะนิยามของสิ่งสูงสุดนั้น เมื่อกล่าวเป็นคำพูดแล้ว คล้ายคลึงกันอย่างที่สุด)





    สำหรับจิตแท้หรือจิตดั้งเดิมในพระไตรปิฎกนั้น อยู่ในเรื่องเกี่ยวกับการเข้านิโรธสมาบัติ ดังนี้
    [๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ... ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร ฯ
    พระกามภู : ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง โดยที่ถูกก่อนแต่จะเข้า
ท่านได้อบรมจิตที่จะน้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม) ฯ

   (พระไตรปิฎกบาลีใช้คำว่า จิตตํ ภาวิตํ - ปราโมทย์)

    ข้อความในพระไตรปิฎกที่ยกมานั้น ท่านพระกามภู มุ่งกล่าวถึงวิธีเข้านิโรธสมาบัติหรือสัญญาเวทยิตนิโรธ
ว่าไม่ได้เข้าด้วยการคิดว่าจะเข้า กำลังเข้า หรือเข้าแล้ว เพราะถ้าคิด ก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ เนื่องจากนิโรธสมาบัติปราศจากความคิด หากแต่ก่อนจะเข้า ผู้เข้าได้อบรมจิตของตนให้น้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้ เมื่อจิตน้อมไปเองสู่ความเป็นจิตแท้ จึงเข้านิโรธสมาบัติได้

    แต่จิตแท้ หรือจิตตํ ภาวิตํ นี้  ก็ไม่พบคำอธิบายในชั้นพระไตรปิฎก ผมลองค้นลงถึงชั้นอรรถกถา ก็ไม่พบเช่นกัน (ไม่พบ ไม่ใช่ไม่มีนะครับ อาจมี แต่ผมยังค้นไม่พบก็ได้)
    มิหนำซ้ำ เมื่อศึกษาลงถึงอภิธัมมัตถสังคหะ ก็ไม่ปรากฏคำอธิบายถึง จิตแท้ นี้เช่นกัน มิหนำซ้ำยังกล่าวว่า ในนิโรธสมาบัติไม่มีจิตเสียอีก ดังนี้


    (อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค สมาบัติวิถี)
    สมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงพร้อมหรือการเข้าอยู่พร้อม สมาบัตินี้มี ๓อย่างคือ
      ๑. ฌานสมาบัติ การเข้าถึงฌานจิต หรือการเข้าอยู่ในฌานจิต เป็นโลกียะ
      ๒. ผลสมาบัติ การเข้าถึงซึ่งอริยผลจิต หรือการเข้าอยู่ในอริยผลจิต  เป็น โลกุตตระ
      ๓. นิโรธสมาบัติ การเข้าถึงซึ่งความดับของจิตและเจตสิก ไม่จัดเป็นโลกียะ หรือ โลกุตตระ เพราะไม่มีจิตจะดับ





    เมื่อออกจาก อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ไม่ต้องเข้าปัจจเวกขณวิถี แต่ เข้าอธิฏฐานวิถี คือ ทำ บุพพกิจ ๔ อย่าง ได้แก่
    ก. นานาพทฺธ อวิโกปน อธิษฐานว่า บริขารต่าง ๆ ตลอดจนร่างกายของข้าพเจ้า ขออย่าให้เป็นอันตราย
    ข. สงฺฆปฏิมานน อธิษฐานว่า เมื่อสงฆ์ประชุมกัน ต้องการตัวข้าพเจ้า ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มาตาม
    ค. สตฺถุปกฺโกสน อธิษฐานว่า  ถ้าพระพุทธองค์มีพระประสงค์ตัวข้าพเจ้า ก็ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มีผู้มาตาม
    ง. อทฺธาน ปริจฺเฉท อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า ว่าจะเข้าอยู่นานสัก เท่าใด รวมทั้งการพิจารณา อายุ สังขารของตนด้วย ว่าจะอยู่ถึง ๗ วัน หรือไม่ ถ้าจะตายภายใน ๗ วัน ก็ไม่เข้า หรือเข้าให้น้อยกว่า ๗ วัน
    อธิษฐานแล้วก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน วิถีนี้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เกิดขึ้น ๒ ขณะ  (๒ ขณะ ไม่ใช่ ๑ ขณะ)


     ลำดับนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปก็ดับไป ไม่มีเกิดขึ้นอีกเลย ส่วน กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป ยังคงดำรงอยู่ และดำเนินไปตามปกติ หาได้ดับ ไปด้วยไม่ จิต เจตสิก และจิตตชรูป คงดับอยู่ จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้ 

    เหตุผลที่อภิธัมมัตถสังคหะเชื่อว่า ในนิโรธสมาบัติไม่มีจิต อาจเพราะทัศนะพื้นฐานของฝ่ายเถรวาทที่ว่า จิตกับเจตสิกต้องเกิดร่วมกัน เมื่อการเข้านิโรธสมาบัติจะต้องดับ สัญญาและเวทนา อันเป็นจิตสังขาร ก็ทำให้สังขารไม่เกิดขึ้น เวทนา สัญญา และสังขาร คือเจตสิก เมื่อไม่มีเจตสิก ก็ย่อมไม่มีจิต เป็นไปตามหลักของตรรกะที่ดิ้นไม่ได้เลย

     สรุปแล้ว ผมยังหาคำตอบหรือคำอธิบายเรื่อง จิตแท้หรือจิตดั้งเดิม ในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาทไม่พบ จะว่าการเข้านิโรธสมาบัติทำให้พบจิตแท้ก็ไม่ใช่ เพราะตำราชั้นหลังบอกว่า นิโรธสมาบัติไม่มีจิต
     (แต่ตำราก็เคยกล่าวถึงการเกิดจิตขึ้น ก่อนกำหนดเวลาที่อธิษฐานไว้เหมือนกัน เช่นกรณีที่ท่านพระสารีบุตรถูกตีขณะเข้านิโรธสมาบัติ แล้วท่านรู้สึกคันที่ศีรษะหน่อยหนึ่ง)
     จะว่าเป็นจิตชนิดหนึ่ง ที่น้อมไปแล้วทำให้เข้านิโรธสมาบัติได้ง่าย ก็ไม่พบคำอธิบายถึงจิตชนิดนี้ ทั้งในพระไตรปิฎกและในจิตตสังคหวิภาค ของอภิธัมมัตถสังคหะเสียอีก เมื่อไม่พบคำอธิบายเรื่องจิตแท้หรือจิตดั้งเดิมในฝ่ายเถรวาท จึงไม่อาจเปรียบเทียบสภาวะกับจิตเดิมแท้หรือจิตหนึ่งของเซ็นได้



อ้างอิง จากความเห็นของคุณปราโมทย์
ที่มา http://www.dhammada.net/wimutti/D00000105.html,http://variety.teenee.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 23, 2012, 07:09:26 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


    [๔๘]  เสยฺยถาปิ  ภิกฺขเว ยานิกานิจิ รุกฺขชาตานิ ๑ จนฺทโน เตสํ อคฺคมกฺขายติ   ยทิทํ   มุทุตาย   เจว   กมฺมญฺญตาย  จ  เอวเมว  โข อหํ  ภิกฺขเว   นาญฺญํ   เอกธมฺมํปิ  สมนุปสฺสามิ  ยํ  เอวํ   ภาวิตํ พหุลีกตํ   มุทุญฺจ  โหติ  กมฺมนิยญฺจ  ยถยิทํ  ภิกฺขเว  จิตฺตํ  จิตฺตํ ภิกฺขเว ภาวิตํ พหุลีกตํ มุทุญฺจ โหติ กมฺมนิยญฺจาติ ฯ

    [๔๙]   นาหํ   ภิกฺขเว  อญฺญํ  เอกธมฺมํปิ  สมนุปสฺสามิ  ยํ  เอวํ ลหุปริวตฺตํ   ยถยิทํ   ภิกฺขเว   จิตฺตํ   ยาวญฺจิทํ   ภิกฺขเว  อุปมาปิ  น สุกรา ยาว ลหุปริวตฺตํ จิตฺตนฺติ ฯ

     [๕๐]   ปภสฺสรมิทํ   ภิกฺขเว   จิตฺตํ   ตญฺจ   โข   อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐนฺติ ฯ
     [๕๑]   ปภสฺสรมิทํ   ภิกฺขเว   จิตฺตํ   ตญฺจ   โข   อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ วิปฺปมุตฺตนฺติ ฯ


ที่มา http://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=20&p1=8&lang2=pali&commit=%E2%96%BA


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


    [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารุกขชาติทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ


     [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ

     [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
     [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา ฯ



ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=161&Z=209





อรรถกถาสูตรที่ ๙     
         
               ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ปภสฺสรํ ได้แก่ ขาวคือบริสุทธิ์.
               บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ ภวังคจิต.


              ถามว่า ก็ชื่อว่าสีของจิตมีหรือ? แก้ว่าไม่มี.
               จริงอยู่ จิตจะมีสีอย่างหนึ่งมีสีเขียวเป็นต้น หรือจะเป็นสีทองก็ตาม จะอย่างใดอย่างหนึ่ง
               ท่านก็เรียกว่าปภัสสร เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์.
               แม้จิตนี้ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะปราศจากอุปกิเลส เหตุนั้น จึงชื่อว่าปภัสสร.


               บทว่า ตญฺจ โข ได้แก่ ภวังคจิตนั้น.
               บทว่า อาคนฺตุเกหิ ได้แก่ อุปกิเลสที่ไม่เกิดร่วมกัน หากเกิด ในขณะแห่งชวนจิตในภายหลัง.
               บทว่า อุปกิเลเสหิ ความว่า ภวังคจิตนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่าเศร้าหมองแล้ว เพราะเศร้าหมองแล้วด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.


               เศร้าหมองอย่างไร?
               เหมือนอย่างว่า บิดามารดาหรืออุปัชฌาย์อาจารย์มีศีลสมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ไม่ดุว่า ไม่ให้ศึกษา ไม่สอน ไม่พร่ำสอนบุตร หรืออันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกของตน เพราะเหตุที่บุตรและสัทธิวิหาริกอันเตวาสิกเป็นผู้ทุศีล มีความประพฤติไม่ดี ไม่สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติ ย่อมได้รับการติเตียนเสียชื่อเสียงฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น.

               พึงเห็นภวังคจิตเหมือนบิดามารดาและอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ. ภวังคจิตแม้จะบริสุทธิ์ตามปกติก็ชื่อว่าเศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสที่จรมา อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่เกิดพร้อมด้วยโลภะโทสะและโมหะซึ่งมีความกำหนัดขัดเคืองและความหลงเป็นสภาวะในขณะแห่งชวนจิต เหมือนบิดามารดาเป็นต้นเหล่านั้นได้ความเสียชื่อเสียง เหตุเพราะบุตรเป็นต้น ฉะนั้นแล.

               จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
               


อรรถกถาสูตรที่ ๑๐               
              แม้ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               จิต ก็คือภวังคจิตนั่นเอง.
               บทว่า วิปฺปมุตฺตํ ความว่า ภวังคจิตนั้นไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ในขณะแห่งชวนจิต เกิดขึ้นด้วยอำนาจกุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุตประกอบด้วยไตรเหตุเป็นต้น ย่อมชื่อว่าหลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา.


              แม้ในที่นี้ ภวังคจิตนี้ ท่านเรียกว่าหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลางที่จรมา ด้วยอำนาจกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิต เหมือนมารดาเป็นต้นได้รับความสรรเสริญและชื่อเสียงว่า พวกเขาช่างดีแท้ยังบุตรเป็นต้นให้ศึกษา โอวาท อนุสาสน์อยู่ดังนี้ เหตุเพราะบุตรเป็นต้นเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ฉะนั้น.

               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐               
               จบอรรถกถาปณิหิตอัจฉวรรค ๕ 
         


ที่มา www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=42#อรรถกถาสูตรที่_๙ 
ขอบคุณภาพจาก http://www.siamca.com/,http://www.dhammathai.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




  ลักษณะของจิต ออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่ๆ คือ
       - กามาวจรจิต
       - รูปาวจรจิต
       - อรูปาวจรจิต และ
       - โลกุตตรจิต

    ๑. กามาวจรจิต จึงมีความหมาย ๒ ประการ คือ
       ๑.๑ เป็นจิตที่รับ หรือเกี่ยวข้องกับ กามคุณอารมณ์ 
       ๑.๒ เป็นจิตที่เกิดอยู่เป็นประจำในกามภูมิ ๑๑ (เป็นส่วนมาก) ได้แก่
            - มนุษยภูมิ
            - เทวภูมิ ๖ ชั้น
            - อบายภูมิ ๔ คือสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
 
    กามาวจรจิตนี้ เป็นจิตที่เป็นกุศล (เป็นบุญ) ก็มี เป็นจิตที่เป็นอกุศล (เป็นบาป) ก็มี และเป็นจิตที่เป็นผลของบุญก็มี ผลของบาปก็มี การแสดงออกทางกาย ทางวาจา ทั้งที่เป็นบุญ และบาป สำเร็จได้ก็เพราะกามาวจรจิต เป็นผู้สั่งการทั้งสิ้น 


    ๒. รูปาวจรจิต คือจิตที่เข้าถึงความเป็นฌาน ซึ่งเกิดจากการเจริญสมาธิ (สมถภาวนา) คำว่า ฌาน แปลว่า จิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน มีการเพ่งกสิณ หรือการกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นต้น
     ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หรือเป็นข้าศึกของฌาน คือ ธรรมที่คอยขัดขวางไม่ให้ฌานจิตเกิดขึ้น เรียกว่า นิวรณ์ 


    ๓. อรูปาวจรจิต คือจิตที่มีอารมณ์อันปราศจากรูป (มีบัญญัติและนามเป็นอารมณ์)
       ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐาน จนได้รูปฌานชั้นที่ ๕ แล้ว หากปรารถนาที่จะเจริญฌานสมาบัติ ให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็จะต้อง เจริญอรูปฌานอีก ๔ ชั้น
       อรูปาวจรจิต หรือ อรูปจิต หรือ อรูปฌาน ซึ่งมี ๔ ชั้น หรือ ๔ ฌานนี้ แต่ละฌานจะแตกต่างกันที่ลักษณะของอารมณ์เท่านั้น


   ๔. โลกุตตรจิต หมายถึง จิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์

       


ที่มา บทเรียนอภิธรรม หลักสูตรเรียนทางอินเตอร์เน็ต อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
http://www.buddhism-online.org/Index1.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
จิตใต้สำนึก กับ จิตเดิมแท้ เป็น จิตเดียวกันใช่หรือไม่คะ ?
  ตามคำถาม เลยคะ
   สภาพ จิต ใต้สำนึกนั้น ควบคุมไม่ได้เป็นไปตามวิสัย ที่มีอยู่ใช่หรือไม่คะ หรือ เป็นอย่างไร ส่วนจิตเดิมแท้ ที่เรียกว่า จิตประภัสสร นั้น คือสภาวะจิตใต้สำนึก ใช่หรือไม่คะ

   
   หากนำอภิธรรมมาพิจารณาแล้ว ธรรมชาติของจิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
   ไม่ว่าจิตนั้นจะมีลักษณะเช่นไร มันก็เป็นจิตคนละดวงอยู่ดี
   ในเมื่อเป็นจิตคนละดวง ถ้าถามว่า จิตเดียวกันหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ไม่ใช่


   ในบาลีแบ่งจิตออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่ๆ
       - กามาวจรจิต
       - รูปาวจรจิต
       - อรูปาวจรจิต
       - โลกุตตรจิต


  ในบาลีไม่มีคำว่า จิตใต้สำนึก และ จิตเดิมแท้
   ความหมายของทั้งสองคำ ถูกบัญญัติขึ้นภายหลัง จึงไม่อาจนำมาเป็นบรรทัดฐานได้

   
   ส่วนคำว่า "จิตปภัสสร" อยู่ในอรรถกถา ถูกบัญญัติขึ้นเพื่ออธิบายบาลี
   แต่ขอให้เข้าใจว่า จิตปภัสสรนั้น มีสองระดับ คือ
   ระดับแรก ถึงแม้จะเป็นจิตบริสุทธิ์ แต่ไม่ใช่จิตของพระอรหันต์ เพราะจิตนี้อุปกิเลสยังเข้าแทรกได้
   ระดับที่สอง จิตบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ ที่อุปกิเลสเข้าแทรกไม่ได้


   หากอนุโลมนำความหมายของคำว่า "จิตใต้สำนึก จิตเดิมแท้ และจิตปภัสสร" มาเปรียบเทียบกัน จะได้ว่า
   จิตใต้สำนึก คือ ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้ เพราะอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ
   จิตเดิมแท้  คือ ธรรมชาติรู้ที่เหนือความปรุงแต่ง และไม่เกิด ไม่ตาย
   จิตปภัสสร  คือ จิตบริสุทธิ์


   ทั้งสามคำเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เรื่องนี้เกินปัญญาของผมที่จะอธิบาย
   หากอธิบายตามตัวอักษรไป เกรงว่าจะผิดเพี้ยนไป เพราะยังเข้าไม่ถึง
   แต่บอกได้ในภาพรวมว่า จิตทุกดวงมีลักษณะที่เหมือนกัน ที่เรียกว่า สามัญลักษณะและวิเสสลักษณะ

   (กลับไปอ่านบทความข้างบนเอาเองนะครับ)

    :welcome: :49: :25: :s_good:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 23, 2012, 08:49:05 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2013, 06:24:30 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา