ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิบัติกรรมฐาน เพียงเพื่อปล่อยวาง ใช่หรือไม่  (อ่าน 3949 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sutthitum

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 77
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ปฏิบัติกรรมฐาน เพียงเพื่อปล่อยวาง ใช่หรือไม่ ?

  ถ้าหากใจเราปล่อยวางได้ ก็ไม่ต้อง ปฏิบัติกรรมฐาน ใช่หรือไม่ ?

 การปล่อยวาง กับ การหนีปัญหา เหมือนกันหรือไม่ ?

  สมมุติ นะครับ ว่าเขา มาด่าเรา ยืนด่าเรา ชี้หน้าด่าเรา และทำร้ายเรา

   เราเิดินหนีไป อย่างนี้จัดว่าเป็นการปล่อยวางได้หรือไม่ครับ

  :smiley_confused1: :c017:


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 15, 2011, 10:49:41 am โดย sutthitum »
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิบัติกรรมฐาน เพียงเพื่อปล่อยวาง ใช่หรือไม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 01:24:37 pm »
0
อาจจะใช่ ในความหมายรวม ว่า เพื่อการปล่อยวาง

แต่ การปล่อยวาง จะมีได้ ที่ใจผ่องใส แล้ว ใจนั้นจะคลายและวางได้ คะ

แต่ความเป็นจริง กรรมฐาน จะไม่ได้ทำให้ปล่อยวาง ในช่วงแรก

แต่คงทำให้ใจ สงบ ลงก่อนเป็นประการแรกคะ

 :s_hi:

บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปฏิบัติกรรมฐาน เพียงเพื่อปล่อยวาง ใช่หรือไม่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 01:51:40 am »
0
ปฏิบัติกรรมฐาน เพียงเพื่อปล่อยวาง ใช่หรือไม่ ?
ถ้าหากใจเราปล่อยวางได้ ก็ไม่ต้อง ปฏิบัติกรรมฐาน ใช่หรือไม่ ?
การปล่อยวาง กับ การหนีปัญหา เหมือนกันหรือไม่ ?

ไม่ใช่ !  อุเบกขาการปล่อยวางนั้น มีอยู่เองแล้ว เมื่อปัญหาใดใดไม่สามารถผลักดันไปสู่หนทางที่คลี่คลาย อุเบกขาปล่อยวาง จึงหยิบยกนำมากล่าวถึง หากจะกล่าวถึงอานิสงส์พระกรรมฐาน ก็ต้องดังนี้ คือ

การปฏิบัติกรรมฐานเพียงเพื่อละนิวรณ์ ๑

 :34: - สิ่งที่ขวางหนทางเจริญ
    :banghead:กามฉันทะ / รักใคร่พอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใด
    :banghead:พยาบาท / ผูกใจเคืองขุ่นหมายกระทำคืน
    :banghead:ถีนมิทธะ / ความมีใจหดหู่ เคลิ้ม ไม่ร่าเริง
    :banghead:อุทธัจจกุกกุจจะ / มีกิริยาฟุ้งซ่าน รำคาญ กระสับกระส่าย
    :banghead:วิจิกิจฉา / มีใจลังเล ขุ่นเคืองสงสัย


การปฏิบัติกรรมฐานเพียงเพื่อมรรค (กล่าวคือ สัมมาสมาธิ) ๑

 ;) - ด้วยการเข้าถึงองค์แห่งหนทางแจ้ง คือ
   :13:ศีลวิสุทธิ์ 
   :13:ปัญญาวิสุทธิ์
   :13:ทิฏฐิวิสุทธิ์

นี่! กล่าวในส่วนของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2011, 02:05:38 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิบัติกรรมฐาน เพียงเพื่อปล่อยวาง ใช่หรือไม่
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 09:15:22 am »
0


การปฏิบัติกรรมฐานเพียงเพื่อมรรค (กล่าวคือ สัมมาสมาธิ) ๑

 ;) - ด้วยการเข้าถึงองค์แห่งหนทางแจ้ง คือ
   :13:ศีลวิสุทธิ์ 
   :13:ปัญญาวิสุทธิ์ อันนี้น่าจะเป็น จิตตะวิสุทธิ์ ใช่หรือไม่คะ ถ้าไล่ใน วิสุทธิ 7 ประการ
   :13:ทิฏฐิวิสุทธิ์

นี่! กล่าวในส่วนของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ [/size][/color]

ขอแสดงความเห็นเพิ่ม นิดนะคะ

 สัมมาทิฏฐิ น่าจะหมายถึง ความเห็นชอบใน อริยสัจจะ 4 ประการ ใช่หรือไม่คะ ได้ยิน ครูอาจารย์ต่าง ๆ ก็มักจะสอนไว้อย่างนี้ นะคะ

 ดังนั้น สัมมาิทิฏฐิ ก็คือ ความเห็นถูกต้องใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ใช่หรือไม่คะ

  :67:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิบัติกรรมฐาน เพียงเพื่อปล่อยวาง ใช่หรือไม่
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 12:09:53 pm »
0

   นิโรธ 5 (ความดับกิเลส, ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น )
       1. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น)

       2. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ)

       3. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อสมุจเฉทนิโรธ )

       4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้นชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ )

       5. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่ อมตธาตุ คือ นิพพาน)

       ปหาน 5 (การละกิเลส), วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น), วิเวก 5 (ความสงัด, ความปลีกออก), วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด, ความสำรอกออกได้ ), โวสสัคคะ 5 (ความสละ, ความปล่อย) ก็อย่างเดียวกันนี้ทั้งหมด


อ้างอิง
ขุ.ปฏิ. 31/65/39; 704/609; วิสุทธิ. 2/249.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก www.phuketvegetarian.com



    ปหาน ๓
   ตทังคปหาน      การละชั่วคราว
   วิกขัมภนปหาน   การละด้วยสะกดเอาไว้
   สมุจเฉทปหาน    การละด้วยตัดขาด


   ปหาน แปลว่า การละ ประสงค์เอา การละความชั่ว ในที่นี้จำแนกเป็น ๓ คือ

   ๑.ตทังคปหาน การละชั่วคราว ได้แก่ การละกิเลสกาม วัตถุกาม และบาปธรรมอย่างอื่นๆของสามัญชน
ละได้เป็นพักๆ เช่น เกิดความสังเวชขึ้น หายกำหนัดในกาม  เกิดเมตตาขึ้น หายโกรธ เป็นต้น


   ๒.วิกขัมภนปหาน การละด้วยสะกดเอาไว้ ได้แก่ การละกิเลสของชนผู้ได้ฌาน อาจสะกิดไว้ได้นานๆตามกำลังฌาน เมื่อฌานเสื่อมแ้้ล้ว กิเลสและบาปธรรมกลับเกิดขึ้นอีก  ท่านเปรียบเหมือนศิลาทับหญ้า หญ้านั้นเมื่อศิลาทับอยู่ ย่อมงอกหรืึ้อเกิดขึ้นไม่ได้  ต่อเมื่อยกศิลาออกแล้ว จึงจะงอกขึ้นได้อีก

   ๓.สมุจเฉทปหาน การละด้วยตัดขาด ได้แก่ การละกิเลสและบาปธรรมของพระโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันตมรรคตามชั้นของตน กิเลสและบาปธรรม เช่น สังโยชน์ เป็นต้น ที่พระอริยบุคคลชั้นนั้นๆละได้แล้วด้วยอริยมรรค ย่อมกลับเกิดขึ้นอีกไม่ได้


อ้างอิง หนังสือคู่มือ ธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๒ น.ธ.โท เรียบเรียงโดย คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง
ขอบคุณภาพจาก www.phuketvegetarian.com


   เป้าหมายการปฏิบัติกรรมฐานของพุทธศาสนา คือ นิโรธ ซึงหมายถึงการดับกิเลส
   แต่ถ้าจะให้จดจำและเข้าใจโดยง่าย ขอให้ดูที่ ปหาน ๓ ทีีได้อธิบายถึงการละกิเลสในระดับต่างๆไว้แล้ว
   หวังใจว่า จะเข้าใจเป้าหมายที่แท้จริง ของกรรมฐาน

    :welcome: :49:  :25:;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2011, 07:04:36 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิบัติกรรมฐาน เพียงเพื่อปล่อยวาง ใช่หรือไม่
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 12:35:07 pm »
0
สาธุ พอจะมองเห็นภาพ และ เข้าใจบางอย่างแล้วคะ

 :25:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ