ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำอย่างไรไม่ให้ใจ เคียดแค้น  (อ่าน 8046 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

saiphone

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ทำอย่างไรไม่ให้ใจ เคียดแค้น
« เมื่อ: มกราคม 13, 2010, 11:01:33 am »
0
 :'( :'( :'( :'(
เป็นปัญหาของหนูคะ พ่อหนูได้ถูกเพื่อนฆ่าในวงเหล้า โดยการยิงซึ่งเห็นต่อหน้าหนูเลยปรากฏว่า เพื่อนของพ่อคนนี้เป็นคนมีอิทธิพล ในหมู่บ้าน ได้วิ่งเต้นเรื่องคดีและนำเงินมาให้ทางแม่ของหนูเป็นจำนวน สามแสนบาท เพื่อให้ช่วยทำนองบีบว่าเกิดการทะเลาะแล้วปืนลั่น ทำให้คดีมองเป็นเรื่องเลินเล่อ ซึ่งหนูเองก็พยายามทำใจมาหลายปี แต่พอเห็นหน้าคน ๆ นี้แล้วใจมันก็อยากจะล้างแค้น

มีธรรมะหรือการภาวนาแบบไหน ที่จะทำให้เราพ้นจากความแค้นตรงนี้ได้คะ :'( :'(
บันทึกการเข้า
พระธรรม นำให้ ส่วางไสว ในดวงจิต

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำอย่างไรไม่ให้ใจ เคียดแค้น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 09:26:42 am »
0
 ;D ที่ปฏิบัติอยูื่่กีดอยู่แล้ว :angel:
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
แค้นมากๆ ต้องเจริญพรหมวิหาร ๔
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 02:35:35 pm »
0
พรหมวิหาร ๔

          พรหมวิหาร แปลว่า  ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม คำว่า พรหม แปลว่า ประเสริฐ เป็น
อันได้ความว่า คุณธรรม ๔ อย่างนี้  เป็นคุณธรรมที่ทำผู้ประพฤติปฏิบัติให้เป็นผู้ประเสริฐ คือเป็นมนุษย์

ประพฤติธรรม ๔ ประการนี้ ก็เป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐโดยคุณธรรม ถ้าตายจากมนุษย์ก็เป็นเทวดาผู้
ประเสริฐโดยบุญญาธิการ คือ ไปเกิดบนชั้นพรหม นอกจากความประเสริฐโดยธรรมในสมัยที่เป็น
มนุษย์แล้ว ท่านว่าคุณธรรม ๔ ประการนี้ ยังให้อานิสงส์เป็นความสุขแก่ผู้ปฏิบัติถึง ๑๑ ประการ ตามที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังต่อไปนี้


          ๑. สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ
          ๒. ตื่นขึ้นก็มีความสุข มีอารมณ์แช่มชื่นหรรษา ไม่มีความขุ่นมัวในใจ
          ๓. นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล มิฝันเห็นสิ่งลามก
          ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งปวง
          ๕. เทวดาและพรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
          ๖.จะไม่มีอันตรายจากเพลิง ไม่มีอันตรายจากสรรพาวุธและยาพิษ
          ๗. จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม จะเจริญรุดหน้ายิ่งขึ้น
          ๘. มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ
          ๙. เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สติมิฟั่นเฟือน
          ๑๐. ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ เพราะทรงพรหมวิหาร ๔ นี้ ผลแห่งการเจริญพรหมวิหาร ๔ นี้ ก็จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก
          ๑๑. มีอารมณ์แจ่มใส  จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์ผุดผ่อง
เป็นปกติ


          รวมอานิสงส์การทรงพรหมวิหาร ๔ มี  ๑๑  ประการด้วยกัน ต่อนี้ไปจะได้นำหัวข้อพรหม-
วิหาร ๔ มากล่าวไว้เพื่อศึกษา

หัวข้อพรหมวิหาร ๔

          ๑. เมตตา ความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกิเลสที่นับเนื่อง
ในกามารมณ์ร่วมในความรู้สึก
          ๒. กรุณา ความสงสารปรานี มีความประสงค์จะสงเคราะห์ให้พ้นทุกข์
          ๓. มุทิตา ความมีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คือไม่มีจิตริษยาเจือปน
          ๔. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย ไม่เอียงซ้ายเอียงขวา คือทรงความเป็นธรร


          คำอธิบายในพรหมวิหาร ๔ นี้ ไม่น่าจะต้องอธิบายมาก เพราะเป็นธรรมประจำใจชินหูอยู่
เป็นปกติแล้วจะขอย้ำเพื่อความแน่ใจไว้สักเล็กน้อย ตามธรรมเนียมของนักเขียนจะไม่เขียนเลยก็จะ
เสียธรรมเนียม

          ๑. เมตตา แปลว่า ความรัก  หมายถึงความรักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี แต่ต้องไม่หวังผลตอบ
แทนใด ๆ จะเป็นผลตอบแทนทางกำลังใจ หรือวัตถุก็ตาม จึงจะตรงกับคำว่า เมตตาในที่นี้ ถ้าทำไป
แล้วหวังตอบแทนบุญคุณด้วย ด้วยการแสดงออกของผู้รับเมตตาหรือหวังตอบแทนด้วยวัตถุ ความต้อง
การอย่างนั้นถ้าปรากฏในความรู้สึกเป็นเมตตาที่เจือด้วยอารมณ์กิเลส ไม่ตรงต่อเมตตาในพรหมวิหารนี้

          ลักษณะของเมตตา ควรสร้างความรู้สึกคุมอารมณ์ไว้ตลอดวันว่า เราจะหวังสร้างความเมตตา
สงเคราะห์ เพื่อนที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่มีในโลกนี้ทั้งมวล เราจะไม่สร้างความสะเทือนใจ ความลำบาก
กายให้เกิดมีขึ้นแก่คนและสัตว์ เพราะความสุขความทุกข์ของคนและสัตว์ทั้งมวล เราถือว่าเป็นภาระ
ของเราที่จะต้องสงเคราะห์หรือสนับสนุน ความทุกข์มีขึ้น เราจะมีทุกข์เสมอด้วยเขา ถ้าเขามีสุข
เราจะสบายใจด้วยกับเขา  มีความรู้สึกรักคนและสัตว์ทั่วโลก เสมอด้วยรักตนเอง

          ๒. กรุณา  แปลตามศัพท์ว่า ความสงสาร  หมายถึงความปรานี ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์
ความสงสารปรานีนี้ ก็มีอาการที่ไม่หวังผลตอบแทนเช่นเดียวกับเมตตา มุ่งหน้าสงเคราะห์คนและ
สัตว์ที่มีความทุกข์อยู่ ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์เท่าที่จะทำได้
          ลักษณะกรุณา ก็คือการสงเคราะห์ในการให้ปันด้วยวัตถุ ตามกำลังที่พอจะช่วยได้ ถ้าวัตถุ
ของเรามีไม่พอ ก็พยายามแสวงหามาสงเคราะห์โดยธรรม คือหามาโดยชอบธรรม ทั้งนี้หมายความ
ว่า ถ้าผู้ที่จะสงเคราะห์ขัดข้องทางวัตถุ ถ้าตนเองแสวงหามาได้ไม่พอเหมาะพอดี ก็แนะนำให้ผู้หวัง
สงเคราะห์ไปหาใครคนใดคนหนึ่งที่คิดว่าเขาจะสงเคราะห์ เป็นการชี้ช่องบอกทาง ถ้าเขาขัดข้องด้วย
วิชา ก็สงเคราะห์บอกกล่าวให้รู้ตามความรู้ ถ้าตนเองรู้ไม่ถึงก็แนะนำให้ไปหาผู้ที่เราคิดว่ามีความรู้
พอบอกได้

          ๓. มุทิตา  แปลตามศัพท์ว่า  มีจิตอ่อนโยน   หมายถึงจิตที่ไม่มีความอิจฉาริษยาเจือปน
มีอารมณ์แจ่มใสแช่มชื่นตลอดกาลเวลา เห็นใครได้ดีก็ผ่องใส ชื่นอกชื่นใจ มีอาการคล้ายกับตนพลอย
ได้ด้วย ทั้งนี้อารมณ์ของท่านที่มีมุทิตาประจำใจนั้น คิดอยู่เสมอว่า ถ้าคนทั้งโลกมีโชคดีด้วยทรัพย์
และมีความเฉลียวฉลาดเหมือนกันทุกคนแล้ว โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุขและเยือกเย็น ปราศจาก
ภยันตรายทั้งมวล คิดยินดี ให้ชาวโลกทั้งมวลเป็นผู้มีโชคดีตลอดวันและคืน อารมณ์พลอยยินดีนี้
ต้องไม่เนื่องเพื่อผลตอบแทน ถ้าหวังการตอบแทนแม้แต่เพียงคำว่าขอบใจ  อย่างนี้เป็นมุทิตาที่อิง
กิเลส ไม่ตรงต่อมุทิตาในพรหมวิหารนี้ ความแสดงออกถึงความยินดีในพรหมวิหาร ไม่หวังผลตอบแทน
ด้วยกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

          ๔. อุเบกขา แปลว่าความวางเฉย ไม่ใช่เฉยตลอดกาล ใครจะเป็นอย่างไรก็เฉย ความวาง
เฉยในพรหมวิหารนี้ หมายถึงเฉยโดยธรรม คือทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง ที่จะต้องได้
รับทุกข์หรือรับสุข พร้อมกันนั้นก็มีอารมณ์ประกอบด้วยความเมตตาปรานี พร้อมที่จะสงเคราะห์ใน
เมื่อมีโอกาส

          พรหมวิหาร  ๔ นี้ ขออธิบายเพียงย่อ ๆ ไว้เพียงเท่านี้ เพราะเป็นธรรมที่ชินหูชินใจของ
ทุก ๆ คนอยู่แล้ว พูดมากไปก็ชวนรำคาญมากกว่าชวนฟัง
 
ที่มา คำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การเจริญพรหมวิหาร ๔
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 02:41:42 pm »
0
การเจริญพรหมวิหาร ๔
   
สำหรับวันนี้ ความจริงคิดว่าจะจบสมถะภาวนา เว้นไว้แต่อรูป ๔ ประการ  ยังมีพระท้วงว่าขาดพรหมวิหาร ๔ ไปอาจจะพลั้งเผลอไป วันนี้ก็จะขอพูดเรื่องพรหมวิหาร ๔ ในด้านสมถภาวนา ความจริงพรหมวิหาร ๔ นี้เป็นกรรมฐานเลี้ยงทั้งศีล  เลี้ยงทั้งสมาธิ เลี้ยงทั้งปัญญา เพราะว่ามีพรหมวิหารสี่เสียอย่างเดียว อารมณ์จิตก็สบาย มีความเยือกเย็น เราจะเห็นว่าเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร สองอย่างนี้ก็สามารถจะคุ้มศีลให้บริบูรณ์ทุกอย่าง เพราะศีลทุกข้อคำจะทรงอยู่ได้ก็ต้องอาศัยเมตตาและกรุณาทั้งสองอย่าง

   เมตตาแปลว่าความรัก กรุณาแปลว่าความสงสาร ถ้าเรามีความรักเรามีความสงสารเสียแล้ว เราก็ทำลายชีวิตสัตว์ไม่ได้ ลักขโมยของเขาไม่ได้ ยื้อแย่งความรักเขาไม่ได้ พูดโกหกมดเท็จไม่ได้ ดื่มสุราเมรัยไม่ได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อดื่มสุราเมรัย ถ้าเรามีความรักความสงสารคนทางบ้าน เพื่อน บิดามารดา เราก็ไม่สามารถจะทำความชั่วโดยขาดสติสัมปชัญญะ

   เป็นอันว่าในพรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะสองประการ คือ เมตตา   กรุณาทั้งสองประการนี้ สร้างความเยือกเย็นให้เกิดกับจิตสามารถทำศีลให้บริสุทธิ์ เมื่อศีลบริสุทธิ์สมาธิก็ตั้งมั่น ความเร่าร้อนของจิตไม่มี จิตไม่มีความกระวนกระวายก็เป็นสมาธิ มีข้อหนึ่งสำหรับด้านสมาธิจะใช้เฉพาะเมตตากรุณาทั้งสองประการก็ไม่พอ ต้องมีมุทิตา อุเบกขา อารมณ์จิตจึงจะทรงสมาธิได้มั่นคง

   มุทิตาความมีจิตอ่อนโยน ตัดความอิจฉาริษยาออกจากจิต พลอยยินดีเมื่อบุคคลอื่นได้ดีแล้ว อารมณ์อิจฉาริษยาตัวนี้เป็นอารมณ์ที่มีความร้ายแรงมาก เมื่อเห็นใครเขาได้ดีก็ทนไม่ได้เกรงเขาจะเกินหน้าเกินตาตัวไป หากมีมุทิตาคือตัดอิจฉาริษยาออก มันพ้นไปจากจิต ความเร่าร้อนมันก็ไม่มี เห็นใครเขาได้ดีแทนที่เราจะคิดว่าเขาเกินหน้าเกินตาไป กลับพลอยยินดีกับความดีที่เขาจะพึงได้  เพราะอาศัยความสามารถและบุญวาสนาบารมีของเขาเป็นสำคัญ  อารมณ์มุทิตาจิตนี้สร้างความดีให้เกิด ในเมื่อใครเขาทำความดีได้ เราพลอยยินดีกับเขาด้วยเป็นอันช่วยให้เราดีขึ้น แทนที่จะทำลายเราให้เสื่อมไป คนที่เขาได้ดีมีความชอบก็เกิดมีความรักในเรามีความเมตตาในเรา แทนที่เขาจะเหยียดหยามกลับจะคบเป็นมิตรที่ดี เราก็มีความสุข

   สำหรับอุเบกขาในด้านสมถภาวนามีอารมณ์วางเฉยคือ เฉยแต่เฉพาะอารมณ์ที่เข้ามายุ่งกับจิตที่ไม่เนื่องกับอารมณ์ที่เราต้องการ อย่างเรากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก จิตมันหยุดอยู่เฉพาะลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ไม่ไปยุ่งกับอารมณ์ภายนอกทั้งหมด คือไม่สนใจกับแสงสีใดๆ อย่างนี้เป็นต้น จะเห็นผลว่าอุเบกขาคือความวางเฉยในด้านสมถภาวนา มีอารมณ์ทำจิตให้ทรงตัว มีอารมณ์จิตเป็นฌาน

   รวมความว่าพรหมวิหาร ๔ มีประโยชน์ทั้งในด้านศีลและด้านสมาธิทั้งสองประการ ขอให้ท่านนักปฏิบัติผู้มีความปรารถนาในการทรงฌานให้เป็นปกติ ถ้าเราสามารถทรงพรหมวิหาร ๔ จิตก็ประกอบด้วยพรหมวิหาร ๔ ตลอดเวลา คืออารมณ์เบาตลอดวัน ทั้งวันมีความรู้สึกรักในคนและสัตว์เสมอด้วยเรา ไม่คิดประทุษร้ายสัตว์ ไม่คิดจะทำลายสัตว์ เพราะมีความรักและมีความสงสาร จิตใจก็จะมีแต่ความเยือกเย็นเพราะอารมณ์ไม่เกิดเป็นศัตรูกับใคร อย่างนี้ใจสบาย ศีลไม่ขาด สมาธิก็ทรงตัว

   ต่อมาข้อมุทิตาเราก็ไม่มีความอิจฉาริษยา เมื่อบุคคลอื่นได้ดีกลับมีจิตปรานีพลอยยินดีกับบุคคลที่เขามีความดี แสดงความยินดีร่วมกับเขา อันนี้ก็มีความสบายใจ

   ถ้ามีอุเบกขาเข้ามาควบคุมใจเข้าไว้ไม่ยอมให้อารมณ์อื่นใดเข้ามายุ่งกับจิตไม่ทำอารมณ์ให้กระสับกระส่าย อุเบกขาแปลว่าความวางเฉย ในเมื่อจับกรรมฐานกองใดกองหนึ่งขึ้นพิจารณาหรือภาวนา ก็ให้จิตทรงอยู่ในอารมณ์นั้น แสดงว่าจิตของเราจิตของบุคคลใดที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ จิตของบุคคลนั้นก็จะเป็นผู้ทรงฌานตลอดเวลาจำไว้ให้ดีนะ

   การที่เราทำอะไรไม่ได้ดีในด้านสมาธิจิตหรือวิปัสสนาญาณ เริ่มแต่การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ก็แสดงว่าเราขาดพรหมวิหาร ๔ ถ้าอารมณ์จิตของเราตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔ ตลอดเวลา เรื่องฌานสมาบัติเป็นเรื่องเล็กจริงๆ เพราะฌานสมาบัติจะทรงขึ้นมาได้และศีลบริสุทธิ์ได้เพราะความเยือกเย็นของจิต ไม่มีความเร่าร้อนของจิต เมื่อจิตมีความเยือกเย็นไม่กระวนกระวายไม่กระสับกระส่าย ไม่มีความโหดร้าย ไม่คิดอิจฉาริษยา  ทำร้ายใคร ใจก็เป็นสุข อารมณ์ก็เป็นกุศล เราจะทรงจิตในพระกรรมฐาน ๔๐ กอง แยกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ทรงไว้ได้ดี นี่เป็นอารมณ์ของฌาน

   มาว่ากันถึงวิปัสสนาญาณพรหมวิหาร ๔ เลี้ยงวิปัสสนาญาณให้มีการทรงตัวด้วย การที่มีพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วนบริบูรณ์จึงเป็นพระอริยะเจ้าได้ง่าย เราจะเห็นว่าการเป็นพระอริยะเจ้าอย่างพระโสดาบันจะต้องทรงศีลห้าบริสุทธิ์ แล้วเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่เรียกว่าสรณาคมน์ครบถ้วนบริบูรณ์ คนที่มีพรหมวิหาร ๔ มีอารมณ์เมตตากรุณาทั้ง ๒ ประการแสดงว่าศีลไม่ขาดสักตัว เป็นอันว่าข้อที่เรียกว่า สีลัพพตปรามาส ย่อมไม่ปรากฏขึ้นกับจิต ถ้าทำลายสีลัพพตปรามาสเสียได้ มีศีลบริสุทธิ์ เข้าเป็นจุดพระโสดาบันข้อที่หนึ่ง

   สำหรับการเคารพในไตรสรณาคมน์ การที่เราทรงศีลบริสุทธิ์ก็แสดงว่าเรามีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเราสมาทานว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เมื่อพระสงฆ์ให้ที่พึ่งคือ ศีลห้าประการและศีลแปดประการศีลอุโบสถก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีลห้าประการให้ปฏิบัติเป็นปกติ ให้เป็นประจำทุกวัน ในเมื่อเรามีพรหมวิหาร ๔ ศีลไม่ขาดทรงได้ ก็เป็นอันว่าเราเป็นพระโสดาบันได้อย่างง่ายดาย มีพรหมวิหาร ๔ เป็นของดีแบบนี้

   และประการที่ ๒ นอกจากความเป็นพระโสดาบัน เราจะเป็นพระอนาคามีเห็นว่าไม่ยากอีกเพราะเหตุว่าพรหมวิหาร ๔ เป็นเหตุทำลายความโกรธความพยาบาท ที่นี้มาเหลือแต่กามฉันทะ ในเมื่ออาศัยอารมณ์จิตทรงฌาน พิจารณาอสุภกรรมฐานประกอบอีกเพียงเล็กน้อยจิตก็จะเข้าถึงความเป็นพระอนาคามี

   พูดถึงความเป็นพระอรหันต์ ถ้าจิตเที่ยงจริงถึงขนาดนี้แล้วก็เป็นของไม่ยาก เพราะพระอรหันต์ตัดเหตุที่เป็นอนุสัย คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา นี้เป็นของไม่ยาก แต่เป็นของละเอียด ความจริงก้าวเข้าสู่การเป็นพระอนาคามีนั้นก็มีความสุข เพราะว่าการจากชาตินี้ไปแล้วจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็ตาม เราก็ไม่กลับลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เราก้าวเข้าไปสู่พระนิพพานเลยโดยไม่ถอยหลังลงมา

   ฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงแนะนำให้บรรดาพุทธบริษัทผู้ปรารถนาจะเข้าถึงฌานสมาบัติและทรงมรรคผล ให้บรรดาพุทธศาสนิกชนทุกคนแผ่เมตตาจิตไปในทิศทั้งปวงเสียก่อน ในอันดับแรกก่อนที่เราจะทรงจิตเป็นสมาธิ ก็ตั้งใจแผ่เมตตาจิตและกรุณาความสงสารไปในทิศที่ครอบจักรวาลทั้งหมด โดยกำหนดจิตไว้เสมอว่าเราจะไม่เป็นศัตรูกับใคร เราจะเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั้งหมด เราจะสงเคราะห์คนและสัตว์ที่ได้รับความทุกข์ยากให้มีความสุขตามฐานะของกำลังที่เราพอจะช่วยได้ เราเปล่งวาจาและคิดออกไปแบบนี้ด้วยความจริงใจเป็นปกติทุกวัน ต่อไปก็จะเกิดอาการชิน อารมณ์จิตของเราจะไม่มีความโกรธไม่มีความพยาบาท ไม่มีความเคียดแค้นมุ่งประทุษร้ายใคร

   ขึ้นชื่อว่าศีล ๕ ประการที่จะละเมิดมันจะขาดไปได้ก็เพราะอาศัยความชั่ว ความเลวทรามของจิต ความโหดร้ายของจิต เมื่อจิตมีความโหดร้าย เราก็ฆ่าสัตว์ได้ ฆ่าคนได้ ลักขโมยเขาได้ ยื้อแย่งความรักเขาได้ พูดโกหกมดเท็จได้ ทั้งนี้จิตประกอบไปด้วยความรักความสงสารมันก็ทำอะไรไม่ได้ทุกอย่างที่ชื่อว่าความชั่ว อารมณ์แบบนี้ถ้าเรานึกอยู่ตลอดวันว่าเราจะเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั้งหมด เราจะมีความรักและเกื้อกูลให้ทุกคนมีความสุข ใหม่ๆมันก็ลืมบ้างเหมือนกัน อาจจะมีอาการเผลอ

เมื่อทำนานๆจะเกิดอาการเคยชินมันก็เป็นปกติของจิต เรียกว่าไม่ต้องระมัดระวังเรื่องความโกรธจริงๆ ความคิดประทุษร้ายพยาบาทจองล้างจองผลาญบุคคลอื่นก็ไม่มี ถ้าเราจะสงสัยว่ามันจะชินได้อย่างไร ก็ดูตัวอย่างบทสวดมนต์ที่พวกเราท่องกัน ท่องกันเกือบล้มเกือบตายกว่าจะได้แต่ละบท และต่อมาก็ได้ตั้งหลายๆ บททั้ง ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน เราก็ได้กัน ปาฏิโมกข์เราก็สามารถจะสวดได้ภายหลังที่สวดได้คล่องแคล่วโดยมากเราสวดอย่างชนิดไม่ต้องนึก ใครเขาขึ้นต้นบทมาเราก็ว่าไปได้โดยไม่ต้องคิด เพราะว่าอาการชินของจิตที่มีความจดจำเป็นปกติ พอขึ้นนะโมก็ว่าไปได้เรื่อยๆทุกบท ใครเขาขึ้นบทไหนก็ว่าบทนั้นได้โดยไม่ต้องนึกถึงตัวหนังสือ ข้อนี้เป็นข้อเปรียบเทียบให้เห็นว่า

   แม้แต่การใช้พรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ ใหม่ๆเราก็มีการอดลืมไม่ได้อาการเคยชินจิตที่เป็นพรหมวิหาร ๔ ก็เกิดเป็นสภาวะปกติ
   มีความรักเป็นปกติ
   มีความสงสารเป็นปกติ
   มีจิตใจอ่อนโยนไม่อิจฉาริษยาใคร พลอยยินดีกับบุคคลอื่นที่ได้ดีเป็นปกติ


   สำหรับอุเบกขาความวางเฉยในด้านวิปัสสนาญาณไม่ช้ามันก็ปกติคือ วางเฉยในสังขารที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ ร่างกายมันจะแก่มันจะเสื่อม มันจะป่วยไข้ไม่สบาย จะมีอาการพลัดพรากจากของรักของชอบใจหรือความตายจะเข้ามาถึงตัว อารมณ์มันก็เฉย อุเบกขานี่เฉย เฉยตอนไหน เฉยตอนคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของคนที่เกิดมาและสัตว์ที่เกิดมา มันมีสภาพความไม่เที่ยงเป็นปกติ เมื่อไม่เที่ยงแล้วมีความเปลี่ยนแปลงไปเราก็กลับไม่ทุกข์ เพราะถือว่าปกติของมันเป็นอย่างนั้น เมื่อความตายจะเข้ามาถึงจริงๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

   เมื่อจิตยอมรับนับถือว่ามันเป็นธรรมดา ความหวั่นไหวก็ไม่เกิดขึ้น จิตมีความวางเฉยมีอารมณ์สบาย ทางด้านวิปัสสนาญาณถ้าวางเฉยต่ออารมณ์ทั้งหลายได้มี โลภะความโลภ ราคะความรัก โทสะความโกรธ โมหะความหลง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันยั่วยวนจิตให้เกิดอารมณ์เยือกเย็นและความเร่าร้อน แปลว่าจิตของเรา ถ้าวางเฉยจากอารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ได้ถือว่ามันไม่เป็นสาระไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีความสำคัญก็ชื่อว่าเราใช้พรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะอุเบกขาได้ครบถ้วน อยู่ในขั้นที่เรียกว่าสังขารุเบกขาญาณ คือวางเฉยในขันธ์ห้า โดยยึดถือว่า ขันธ์ห้า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเราเพีนงแค่นี้ก็จะเห็นว่าความเยือกเย็นของจิตเมื่อเกิดขึ้นเต็มที่ โดยเฉพาะวิปัสสนาญาณที่เราเจริญมาก็ไม่เสื่อมคลาย ในเมื่อการทรงวิปัสสนาญาณ คือสังขารุเบกขาญาณได้ เพราะอาศัยอุเบกขาจิตเป็นสำคัญ นี่ความเป็นพระอริยะเจ้าก็เข้ามาใกล้ เรียกว่าถึงความเป็นพระอริยะเจ้าได้ทันทีทันใด เพราะอะไรล่ะ เพราะเราปลดร่างกายเสียได้แล้ว ปลดสักกายทิฏฐิ คือความเห็นว่าสภาพร่างกายเป็นเราเป็นของเรา ยึดถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา จิตสบายเป็นสังขารุเบกขาญาณ ในเมื่อวางขันธ์ห้าเสียได้แล้วอย่างนี้ก็ชื่อว่าการปฏิบัติจิตของเราเข้าขั้นถึงความเป็นอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลสูงสุดในพระพุทธศาสนา

   ต่อนี้ ไปกาลเวลาที่จะพูดก็หมดแล้ว ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
   

ที่มา หนังสือกรรมฐาน ๔๐ ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เหตุสมควรโกรธ...ไม่มีในโลก
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 03:09:48 pm »
0
เหตุสมควรโกรธ...ไม่มีในโลก
ที่มา  http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=523

 
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดป่าสุนันทวนาราม
บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี


ตอนที่ ๑
ชีวิตคือทุกข์.....ไม่มากก็น้อย

ชีวิตคนเราดูแล้วหลากหลายแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
ชีวิตของ..... เด็กเล็กๆ อายุ 3 – 4 ขวบ
ชีวิตของ..... คนเฒ่าคนแก่ อายุ 100 ปี
ชีวิตของ..... คนยากจน ขอทานข้างถนน
ชีวิตของ..... มหาเศรษฐี

ชีวิตของ..... คนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
ชีวิตของ..... คนจบปริญญาเอก
ชีวิตชอง..... นักโทษประหาร
ชีวิตของ..... ผู้ได้รับเกียรติเป็นบุคคลตัวอย่าง
ชีวิตของ..... นักเลงการพนัน
ชีวิตของ..... ผู้ดีในสังคม

แต่ดูลึกๆ แล้ว ชีวิตของเราก็พอๆ กัน
ในความรู้สึก สุข ทุกข์ ดีใจ พอใจ สุขใจ
โกรธ น้อยใจ เสียใจ กลัว ฯลฯ

ชีวิตคือทุกข์ ไม่มากก็น้อย

ทุกข์ร้อน ทุกข์หนาว ทุกข์แบบไม่รู้ร้อนรู้หนาวก็มี
แต่คนเราเกลียดทุกข์ กลัวทุกข์ พยายามหนีจากทุกข์
แสวงหาความสุขกันทั้งนั้น ตามสติปัญญาและ
ความสามารถของแต่ละบุคคล หัวใจของมนุษย์ต่าง
ก็เรียกร้อง “ความสุขๆ ๆ” กันทุกคน แต่ที่เราหนี
ไม่พ้นจากทุกข์ เพราะพวกเราอยู่ในท่ามกลางไฟกันทั้งนั้น

..... ดอกไม้ ..... ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

ไฟ..... คือ..... โทสะ
ไฟ..... คือ..... โลภะ
ไฟ..... คือ..... โมหะ

เมื่อเราสามารถดับไฟได้ เมื่อนั้นก็เย็นสงบสุข
ไฟโทสะ ร้ายกาจ เป็นข้าศึกต่อความสุข
ถอนโทสะเพียงสิ่งเดียวออกจากจิตใจ
ก็จะไม่ต้องต่อสู้กับคนรอบตัว
โลกทั้งหมดจะสงบเย็น
มีแต่คนน่ารัก มีแต่คนน่าสงสาร
ควรแก่การเมตตา กรุณา


ตอนที่ ๒
ไฟเสมอด้วยความโกรธไม่มี

พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบ ความโกรธ ว่าเหมือนไฟ
เช่น ไฟไหม้ป่า เผาทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า
ความโกรธ มีพลัง มีอำนาจทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง
ยิ่งกว่าไฟไหม้ป่าเสียอีก มีแต่โทษ ไม่มีคุณแม้แต่นิดเดียว

จะเห็นได้ว่าคนโบราณมีการอบรมสั่งสอนลูกหลานให้กลัว
และระมัดระวังไฟ เพราะอันตรายมาก โดยเฉพาะ ไฟไหม้บ้าน
ไฟไหม้ป่า ล้วนแต่เผาทำลาย พรึบเดียว ชั่วข้ามคืน
ทำลายทั้งทรัพย์สมบัติจนหมดตัว และยังอาจ
ทำลายชีวิตผู้คน บางครั้งเป็นพันๆ หมื่นๆ คนทีเดียว

แต่ความโกรธ อันตรายยิ่งกว่าไฟ
ไฟเสมอด้วยโกรธไม่มี

เพราะความโกรธจะทำลายแม้แต่น้ำใจของเรา
คนที่เรารักสุดหัวใจก็ดี คนที่รักเราก็ดี
ชื่อเสียง คุณงามความดีที่สะสมไว้ตั้งแต่อเนกชาติ
ถูกทำลายย่อยยับได้ด้วยความโกรธ
ความโกรธ โมโห ครั้งเดียว สามารถทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
น่ากลัวยิ่งกว่าไฟไหม้ !!!!!

ความโกรธนี้ฆ่าผู้มีพระคุณมาหลายต่อหลายคนแล้ว
ฆ่าคนที่เรารัก คนที่รักเรา คู่รักที่ต่างรักใคร่
ชอบพอกัน บางครั้งในที่สุด ความโกรธก็ทำให้
เลิกร้างกัน ทำให้ชีวิตครอบครัวต้องแตกแยก
จนถึงทำให้ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าลูกก็มี
ผู้ใหญ่ในระดับประเทศโกรธกัน จนเป็นเหตุให้กลายเป็นสงคราม
ฆ่ากันตาย เป็นพันๆ หมื่นๆ แสนๆ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

..... ดอกไม้ ..... พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สัตว์ทั้งหลายที่เราเห็นกันด้วยตา
นับแต่มด ยุง กบ เขียด แมว สุนัข
วัว ควาย มนุษย์ อย่างน้อยชาติหนึ่งเคยเป็น
พ่อแม่พี่น้องกันในวัฏสงสารที่ยืดยาว
ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาเคยรักกันเกลียดกันมาอย่างนี้
จนทุกวันนี้ และต่อไปอีกหลายภพหลายชาติ
ตราบเท่าที่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราไม่ควรประมาท ทำใจให้สงบน้อมเข้ามาสู่ตน
พิจารณาดูว่า มีใครบ้างที่เราอาฆาตพยาบาท ถ้ามีรีบให้อภัย
อโหสิกรรมเสียแต่บัดนี้ อย่างน้อย ก็ชาตินี้ ก่อนตาย
จะได้ไม่ต้องเป็นคู่เวรคู่กรรมกันอีกต่อไป

อย่าคิดว่า เราต่างคนต่างอยู่ไม่เป็นไร
แม้จะอยู่คนละจังหวัด คนละประเทศก็ตาม
ก็จะมีโอกาสพบกันในชาติหน้า
และมีโอกาสมากด้วย ถ้าหากมีอุปาทานยึดมั่นถือมั่น ดูใจของตน
ก็เห็นชัด คิดถึงใครก็ดี คิดแค้นใจอาฆาตพยาบาทใครก็ตาม

นั่นแหละ ! ระวังให้ดี
ต่อไปจะเกิดมาพบกัน
และทำความเดือดร้อนให้แก่กัน
นับภพนับชาติไม่ถ้วน

ฉะนั้น ไม่ให้คิดมีเวรแก่กัน จงให้อภัย และอโหสิกรรมแก่กัน
ไม่ให้คิดอาฆาตพยาบาท ไม่ให้คิดเบียดเบียนกัน
มีแต่ปรารถนาดีต่อกัน พยายามทำแต่กรรมดี ให้ทาน
เอื้อเฟื้อกัน มีปิยวาจา พูดดี พูดไพเราะ
ทำประโยชน์ ช่วยเหลือสังคม วางตนเหมาะสม
เสมอต้นเสมอปลาย การประพฤติปฏิบัติต่อกันอย่างนี้
จะทำให้เราอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขในปัจจุบัน
และเป็นการสร้างกรรมที่ดีต่อกัน

อนาคตถ้าเกิดมาพบกันอีก
ก็จะเป็น พ่อแม่พี่น้อง เพื่อนฝูงที่ดีต่อกัน
เกื้อกูลสนับสนุนซึ่งกันและกัน


ไฟไหม้บ้าน – ดับไฟก่อน

เมื่อเรากระทบอารมณ์ที่ไม่พอใจ จะโกรธ อยากโกรธ
หยุดทำ หยุดพูด หยุดคิด หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
จนกว่าใจจะสงบสบาย เมื่อเราไม่พอใจ ไม่ต้องคิด
อย่าคิดไปตามอารมณ์ คิดว่า ทำไมเขาทำอย่างนี้
เขาไม่น่าทำเช่นนี้

..... ดอกไม้ ..... พิจารณาดู..... สมมติเมื่อเรากำลังกลับเข้าบ้าน
มองเห็นควัน มีไฟลุกขึ้น ไฟกำลังไหม้บ้านของเรา
ถึงแม้เรามองเห็นว่า มีใครวิ่งหนีไปก็ตาม
เราไม่ต้องคิดสงสัยว่า เขาเป็นผู้ร้ายหรือเปล่า
สิ่งที่ต้องทำก่อนทุกอย่างคือ วิ่งเข้าไปหาทางดับไฟ
ให้เร็วที่สุด หาน้ำ หาเครื่องดับไฟ ผ้าห่ม ฯลฯ
ทำดีที่สุดเพื่อที่จะดับไฟให้สำเร็จ

เมื่อดับไฟแล้ว จึงค่อยคิดหาสาเหตุว่า ทำไมจึงเกิดไฟไหม้
เช่น เป็นอุบัติเหตุ หรือมีใครลอบวางเพลิง
มีใครประสงค์ร้ายคิดทำลายทรัพย์สมบัติของเราหรือไม่

เมื่อเกิดอารมณ์ ไม่พอใจ ไม่ต้องคิดหาเหตุว่าใครผิด ใครถูก
ระงับความร้อนใจของตัวเองให้ได้เสียก่อน
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ เมื่อใจสงบแล้ว
จึงค่อยคิดด้วยสติปัญญา ด้วยเหตุผล


ตอนที่ ๔
สอนใจตัวเองก่อน

เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ เป็นครู เป็นพ่อแม่
มีลูกน้อง มีลูกศิษย์ มีลูก
สมมติว่าเราเป็นพ่อแม่ มีลูก
เมื่อลูกทำผิดจริงๆ แล้วเราโกรธ ใจร้อน อย่าเพิ่งสอนลูก
สอนใจตัวเองให้ระงับอารมณ์ร้อน ให้ใจเย็น ใจดี
มีเมตตาก่อน จนรู้สึกมั่นใจว่าใจเราพร้อมแล้ว
และดูว่าลูกพร้อมที่จะรับฟังไหม ถ้าเราพร้อม
แต่ลูกยังไม่พร้อม ก็ยังไม่ต้องพูด เพราะไม่เกิดประโยชน์

เราพร้อมที่จะสอน เขาพร้อมที่จะฟัง
จึงจะเกิดประโยชน์ เป็นการสอน

ถ้าเราสังเกตดู บางครั้ง ใจเรารู้สึกเหมือนอยากจะสอน
แต่ความจริงแล้ว เราเพียงอยากระบายอารมณ์ของเรา
สิ่งที่เราพูดแม้เป็นเรื่องจริง แต่ก็แฝงด้วยความโกรธ
เพราะยังเป็นความใจร้อน มีตัณหา

ถ้าใจเราโกรธ พูดเหมือนกัน คำพูดเดียวกัน นั่นคือโกรธ
ถ้าใจเราดี ใจเขาดี คำพูดของเราเป็นประโยชน์ นั่นคือสอน

เมื่อเราอยู่ในสังคม สิ่งที่ต้องระวังคือ หากเห็นใครทำผิด
อย่ายึดมั่นถือมั่นในความรู้สึกและความคิดของตน
อย่ายินดี ยินร้าย ใจเย็นๆ ไว้ก่อน
พยายาม อบรมใจตนเองว่า
ธรรมชาติของคนเรา มักจะมองข้ามความผิดของตนเอง
ชอบจับผิดแต่คนอื่น

..... ดอกไม้ ..... มองเห็นความผิดคนอื่นเหมือนภูเขาใหญ่
เห็นความผิดตนเท่ารูเข็ม
ตดคนอื่นเหม็นเหลือทน
ตดตนเองเหม็นไม่เป็นไร
ปากคนอื่นเหม็นเหลือทน
ปากของตนเหม็นไม่รู้สึกอะไร

เรามักทุ่มเทใจ
ไปอยู่ที่ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง
อย่าเชื่อความรู้สึก อย่าเชื่ออารมณ์ อย่ายินดียินร้าย
พยายามรักษาใจเย็น ใจดี ใจกลางๆ
ปกติเราทำผิดเหมือนกัน เท่ากันหรืออาจจะมากกว่าเขา
แต่ความรู้สึกของเรา มักจะรังเกียจเขา
และไม่เห็นความผิดของตัวเองเลย น่ากลัวจริงๆ

สังเกตดู คนที่ขี้บ่น ขี้โมโห ว่าคนอื่นทำอะไรไม่ดี ไม่ถูก
ตัวของเขาเอง คิดดี พูดดี ทำดีไหม….. ก็อาจจะไม่
เราเองก็เหมือนกัน เมื่อเราเกิดอารมณ์ไม่พอใจ
อย่าเชื่อความรู้สึก ให้ระงับอารมณ์เสีย ทำใจเป็นกลางๆ ไว้

อย่าเชื่อความรู้สึก
อย่าเชื่ออารมณ์
อย่ายินดียินร้าย


ตอนที่ ๕
เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ ก็เพราะโกรธ

..... ดอกไม้ ..... เรื่องนี้อาจเป็นประสบการณ์ของผู้ขับขี่รถยนต์
หลายๆ คนก็เป็นได้ แต่ที่ต้องมาเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์
ก็เพราะผู้ขับรถยนต์เป็น ดาราสาวที่มีชื่อเสียง
คืนวันเกิดเหตุ เธอได้ขับรถไปบนถนนเส้นทางสายสุพรรณบุรี
เธอขับด้วยความเร็วเนื่องจากขณะนั้นดึกแล้ว
ถนนว่างและสองข้างทางก็เปลี่ยว
แต่ขณะขับอยู่ก็ได้มีรถกระบะคันหนึ่งเลี้ยวออกมา
จากข้างทางตัดหน้ารถเธอไปอย่างหวุดหวิด

เธอโกรธจัด เลยพยายามเร่งเครื่องตามจะแซง
และบีบแตรไล่หลังคิดว่า จะสั่งสอน
ฝ่ายเจ้าของรถกระบะคงมองเห็นว่าเป็นผู้หญิง
ขับรถมาคนเดียว จึงแกล้งเหยียบเบรกอย่างกระทันหัน
จนรถของดาราสาวเข้าไปชนท้าย แล้วเธอก็ต้องตกใจ
กลัวเป็นอย่างมาก เมื่อมองเห็นว่ารถกระบะคันหน้านั้นมีผู้ชาย
อยู่ในรถ 4–5 คนด้วยกัน เธอนึกถึงเหตุการณ์ร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้น

หากผู้ชายกลุ่มนี้หน้ามืดขึ้นมาหรือคิดจะแก้แค้น เธอจะทำอะไรได้
แต่ก็ยังโชคดีที่รถไม่เป็นอะไรมาก เธอจึงรีบออกรถแล้วขับหนีไป
จนเจอสถานีตำรวจ และได้เข้าแจ้งความเรื่องเลยกลายเป็น
ข่าวหนังสือพิมพ์ให้ชาวบ้านได้ทราบไว้เป็นบทเรียนว่า.........

อารมณ์โกรธเพียงชั่ววูบที่ทำให้เราทำอะไรลงไป
อย่างขาดสติยั้งคิดนั้น อาจทำให้เกิดเรื่องร้ายแรง
ที่ต้องเสียใจไปตลอดชีวิตก็ได้
โดยเฉพาะเรื่องการแก้แค้น หรือเอาชนะกันบนท้องถนน
จุดจบของเรื่องมักไม่พ้นอุบัติเหตุที่ต้องสูญเสียด้วยกันทั้งนั้น

..... ดอกไม้ ..... มีเรื่องจริงที่ขอยกมาเป็นตัวอย่างอีกกรณีหนึ่ง คือ.....
เรื่องของ หนุ่มเจ้าโทสะ ที่ขับรถมาตามทางในซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง
ในกรุงเทพ ซึ่งรถสวนกันไม่ได้ ระหว่างขับมาถึงทางแยก
ก็มีรถอีกคันหนึ่งเลี้ยวออกมา ทั้งๆ ที่ควรจอดรถชะลออยู่ก่อน
จึงทำให้อีกคันหนึ่งขับผ่านไปไม่ได้
รถสองคันจอดเผชิญหน้ากันอยู่สักครู่ ไม่มีใครยอมใครก่อน
หนุ่มเจ้าโทสะเกิดฉุนเฉียวหยิบปืนขึ้นมาคิดว่าจะขู่
แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็มีปืน เลยชักปืนขึ้นมายิงหนุ่มเจ้าโทสะ
จนเสียชีวิตคารถไปเลย

จริงๆ แล้วเรื่องร้ายแรงแบบนี้คงไม่เกิดขึ้น ถ้าคนเรารู้จัก
ระงับอารมณ์โทสะลงเสียบ้าง ไม่ต้องคิดจะเอาชนะกัน
และปล่อยวางเสียตั้งแต่แรก การขับรถบนท้องถนน
เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีการกระทบกระทั่ง
ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา การที่เราจะใช้รถใช้ถนน
ให้มีความปลอดภัยนั้น นอกจากจะไม่ประมาทแล้ว

เราต้องเรียนรู้ที่จะให้อภัยแก่กัน
รู้จักระงับโทสะ ไม่ทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่
จะได้ไม่เกิดความเดือดร้อนเสียหายอย่างคาดไม่ถึงดังกล่าว


ตอนที่ ๖
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร

ในสมัยโบราณ มีหนุ่มใหญ่คนหนึ่งเกิดในตระกูลซามูไร
มีนามว่า เซ็นไก เมื่อเขาศึกษาวิชาการและจริยธรรมของ
ซามูไรจบแล้ว ไปทำงานเป็นเจ้าหน้าที่อารักขาขุนนางผู้หนึ่ง
เขาเป็นหนุ่มรูปงาม จึงเป็นที่ต้องตาต้องใจของภรรยาขุนนาง
เธอทอดสะพานให้ จนหนุ่มเซ็นไกลืมตัว ลืมหน้าที่
ลักลอบเป็นชู้กับภรรยาขุนนาง ต่อมาขุนนางผู้เป็นสามีจับได้
เซ็นไกจึงฆ่าขุนนางผู้นั้นเสีย แล้วพาภรรยาของเขาหนีไป
เมื่ออยู่ด้วยกัน ความรักเริ่มจืดจาง เป็นเหตุให้แหนงหน่าย
และแยกทางกัน เซ็นไกต้องอยู่อย่างเดียวดาย
และเริ่มมองเห็นความผิดของตนเอง สำนึกบาปของตน
รำพึงว่า ทำอย่างไรหนอจึงจะลบล้างบาปกรรมอันนี้ได้

วันหนึ่งเซ็นไกผ่านมาที่ภูเขาสูงชันลูกหนึ่ง
ประชาชนที่จำเป็นต้องสัญจรผ่านภูเขาลูกนี้
ต้องเสี่ยงอันตรายปีป่ายข้ามไป
เขาจึงตกลงใจเจาะภูเขาเพื่อเป็นทางสัญจร
เขาทำด้วยความเหนื่อยยาก ทำเพียงลำพังผู้เดียว
แต่จิตใจเต็มไปด้วยความสุข เพราะเขาเห็นว่าสิ่งที่เขาทำ
แม้ยากลำบาก แต่ผลที่ได้คือประโยชน์ของคนจำนวนมาก

บุตรของขุนนางที่ถูกฆ่า บัดนี้เป็นหนุ่มใหญ่และเป็นซามูไร
เที่ยวตามหาเซ็นไก เพื่อแก้แค้นแทนบิดา เมื่อมาพบเขาที่นี่
จึงลงมือจะแก้แค้น เซ็นไกขอร้องวิงวอนว่า
อย่าเพิ่งทำลายทางแห่งบุญโดยเอาชีวิตเขาในตอนนี้เลย
ขอเวลาอีก 2 ปี เมื่อเจาะภูเขาเสร็จแล้ว
ก็จะขอชดใช้ด้วยชีวิต

ซามูไรหนุ่มเห็นว่า คำขอร้องมีเหตุผล และเห็นว่าเซ็นไก
ไม่มีทางหนีรอดไปได้ จึงตกลงรอคอย ขณะที่รอก็ดูการทำงาน
เจาะภูเขาของเซ็นไกจนเกิดความเห็นใจ และในบางครั้ง
ซามูไรหนุ่มก็ลงมือช่วยทำงานด้วย เมื่องานเจาะภูเขาลุล่วง
ต่อไปก็เหลือแต่งานแก้แค้น เซ็นไกนั่งขัดสมาธิก้มหน้า
ก้มคอลงเพื่อให้ซามูไรหนุ่มใช้ดาบฟัน แต่แล้วซามูไรหนุ่ม
ก็กลับเก็บดาบเข้าฝัก ทรุดตัวลงเบื้องหน้าเซ็นไก

..... ดอกไม้ ..... กล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะฆ่าครูของข้าพเจ้าได้อย่างไร”
เพราะในช่วงเวลา 2 ปี ที่เฝ้าดู ซามูไรหนุ่มได้บทเรียน
แห่งการใช้ชีวิตว่า คนที่เคยชั่วเมื่อเขาสำนึกชั่วแล้ว
มิใช่ว่าจะกลับมาเป็นคนดีไม่ได้ ควรให้โอกาสแก่ผู้ซึ่ง
กลับตัวเป็นคนดี ไฟพยาบาทที่อยู่ในจิตใจ
ของซามูไรหนุ่มมานานจึงดับมอดลง ใจของเขาสว่าง
เมื่อรู้จักให้อภัย และเข้าใจว่าเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร


ตอนที่ ๗
แม่ขี้บ่น.....ลูกต้องไม่ขี้โกรธ

ให้เราพิจารณาดูว่า นิสัยขี้บ่นของแม่นั้น
เราจะช่วยทำให้ลดลงได้ไหม ปกติก็จะเปลี่ยนได้ยาก
หรือเปลี่ยนไม่ได้ เราคงต้องปล่อยให้เป็นอย่างนั้น
ไม่ต้องคิดจะให้เปลี่ยน มองให้เห็นว่า อารมณ์ของแม่
เหมือนลมฟ้าอากาศ มีทั้งหนาว เย็น ร้อน ฝนตก
แห้งแล้ง มีลม ไม่มีลม ลมแรงและพายุ

อารมณ์ของแม่ที่ไม่ถูกใจเรา เปรียบเหมือนสภาวะอากาศ
ที่เราไม่ชอบ เช่น หนาวไป ร้อนไป สิ่งที่เราต้องทำก็คือ
ป้องกันรักษาตัวไม่ให้ทุกข์ จิตใจก็เหมือนกัน
เราต้องป้องกันด้วยใจดีมีเมตตา
ใช้สติปัญญารักษาใจไม่ให้ทุกข์ คือหน้าที่ของเรา

หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติมั่นคง ใจเราก็ไม่ยินดียินร้าย
ถึงอย่างไรก็สำรวมกาย วาจา การแสดงออกทางกายให้เป็นปกติ
ทางวาจาให้พูดดีๆ ไพเราะน่าฟัง ใจก็คิดดี มีเมตตา
เห็นอกเห็นใจแม่ พยายามรักษาความรู้สึกที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น
ถึงแม้ว่าไม่ชอบ ก็อดทน อดกลั้นไว้
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ

พิจารณาดูว่า อารมณ์ขี้บ่นเป็นเหมือนอาการท้องผูก
ของเสียเก็บไว้ในร่างกายนานๆ ทำให้ไม่สบาย
เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อกินยาระบายเข้าไป
ระบายของเสียออกมาได้ ก็รู้สึกสบายกาย
สำหรับคนขี้บ่น อารมณ์หงุดหงิด เป็นของเสียที่สะสมไว้ในใจ
ถ้าเก็บกดไว้จะเครียด เป็นโรคประสาทได้
เมื่อได้ระบายออกมาทางวาจา เขาก็ค่อยสบายใจขึ้น

ตามรายงานของจิตแพทย์ พบว่าผู้หญิงอเมริกันวัยกลางคน
มีความรู้สึกปฏิเสธ หรือไม่พอใจ มากถึงประมาณ 30,000
ครั้งต่อวัน หรือทุก 3 วินาที ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบนี้
เกิดจากการรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เราจะจัดการกับความรู้สึกได้ถูกต้อง
โดยไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เก็บเอามาคิดปรุงแต่ง
ตรงกันข้าม ถ้าไม่ฉลาด ก็จะยึดถือ นำมาคิดปรุงแต่ง
แสดงออกทางวาจา เป็นคนขี้บ่น
ประสบการณ์ภายในใจของมนุษย์เราจริงๆ แล้วมีพอๆ กัน
แต่บางคนเก็บสะสม เหมือนอาการท้องผูก

คำพูดที่ไม่พอใจคือ บ่น ไม่มีใครอยากฟัง
แต่เมื่อแม่ของเราบ่น ให้เข้าใจว่าท่านกำลังทุกข์ไม่สบายใจ
เราควรเสียสละ ใจดีพอที่จะรับเป็นสุขภัณฑ์ที่ดีให้แก่แม่
เป็นสุขภัณฑ์สะอาด ใช้ได้สะดวก มีน้ำไหลแรงๆ หน่อย
แม่บ่นเมื่อไรก็ใจดีรับฟัง แม่จะสบายใจ ไม่ต้องขัดใจ
ยิ่งของเสียออกมากยิ่งดีต่อสุขภาพ อายุยืน
แต่เราก็ต้องระวัง ถ้าคุณภาพสุขภัณฑ์ไม่ดีพอ
เราจะ...สกปรกน่าดู

เราต้องมีสติปัญญา เมตตา กรุณา ขันติ
เป็นคุณธรรมประจำใจ
เป็นโอกาสที่เราจะสร้างคุณงามความดี
และเข้าใจธรรม ทำได้ดี ทำได้มากเท่าไร
ก็เท่ากับเราก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
แล้วในที่สุดจะรู้สึกขอบคุณแม่
ที่เป็นแบบฝึกหัดให้แก่เราได้พัฒนาจิตใจ

..... ดอกไม้ ..... เป็นสุขภัณฑ์ที่ดีให้แก่แม่


ตอนที่ ๘
ความโกรธ กับการระบายอารมณ์โกรธ

อารมณ์โกรธ เป็นอารมณ์หนึ่งที่เราทุกคนมีไม่มากก็น้อย
และแสดงออกลักษณะต่างๆ กัน บางคนก็โกรธง่าย หายเร็ว
เมื่อหายแล้วก็เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทำตัวตามปกติได้
แต่บางคนโกรธแล้วเกิดอาฆาตพยาบาท ผูกใจเจ็บ
คอยหาทางแก้แค้น บางคนก็มีลักษณะโกรธแล้วเก็บไปคิด
ไม่ยอมลืม โกรธขึ้นมาคราวใด ก็หวนกลับไปคิดทบต้น
ที่เคยมีเรื่องตั้งแต่ในอดีต เอากลับมาคิดแล้วคิดอีก
ผูกโกรธไว้เหนียวแน่น โกรธเล็ก โกรธใหญ่
คิดๆ ๆ ซ้ำๆ ซากๆ อยู่อย่างนั้น

สำหรับปุถุชน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีอารมณ์โกรธ
แต่ที่น่าคิดก็คือ เราจะสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีแค่ไหน
จะปลดปล่อยมันออกมาอย่างไร
และที่สำคัญจะแก้ปัญหาอย่างไร

น้ำ = ความโกรธ (จิตที่มีโทสะ)
ความร้อน = ปัจจัยปรุงแต่งให้โกรธ
ไอน้ำ = อารมณ์โกรธ

หากเปรียบเทียบการระบายอารมณ์โกรธ
เหมือนไอน้ำร้อนที่ระเหยออกมาจากกาต้มน้ำที่กำลังเดือด
ไอน้ำจะค่อยๆ ระบายออกมาทางพวยกา แต่ถ้าไม่มีทางระบาย
ไอน้ำ คงจะสะสมจนระเบิดเมื่อไรก็ได้

ไอน้ำมาจากไหน ความร้อนนี่เองที่ทำให้เกิดไอน้ำ

1. ถ้าเราไม่สะทกสะท้านต่อความร้อน ไอน้ำก็ไม่เกิด
คือเราจะไม่ยินดียินร้ายต่อปัจจัยแห่งความโกรธ
เมื่อมีเรื่องไม่ถูกใจ ไม่พอใจเข้ามากระทบ เราก็ไม่โกรธ

2. ถ้าเราไม่สามารถทนความร้อนนั้นได้
ก็ควรจะหาวิธีระบายความร้อนนั้น เช่น กาน้ำ
ยังมีรูระบาย ไอน้ำก็หายไปอย่างรวดเร็ว
เปรียบเหมือนว่า ถ้าเราโกรธ เราก็หาทางระบาย
ทีละนิดทีละหน่อย ในแบบที่เขาทำกัน

ตัวอย่างเช่น

ทำงานหนักขึ้น
ซื้อของ
ร้องเพลง
เล่นกีฬา

บางคนก็มีวิธีแปลกๆ เช่นมีอุบาสิกา 2 คน เขามีที่ระบาย
ความโกรธอยู่บริเวณไร่อ้อย อยู่ไกลออกจากวัดไปสักหน่อย
ปลอดจากผู้คน เวลาที่อุบาสิกาคนหนึ่งโกรธ เขาจะชวนกันไป
ที่ไร่อ้อย แล้วก็ตะโกนดังๆ จนสุดเสียงระบายความโกรธ
หายโกรธแล้วจึงพากันกลับบ้าน

ในประเทศโรมาเนีย มีนักศึกษายากจนคนหนึ่ง
วัย 22 ปี สามารถหารายได้พิเศษได้อาทิตย์ละ 770 บาท
โดยเปิดบริการ “รับจ้างถูกด่า” เพราะเห็นช่องทางว่า
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันทำให้คนมีความเครียด
หงุดหงิดกันมาก จึงเสนอบริการให้นักธุรกิจระบายความโกรธ
โดยการตะโกน ตะคอก โวยวายใส่หน้าตนได้อย่างเต็มที่
ผลปรากฏว่ามีคนสนใจไปใช้บริการเกินความคาดหมาย
แต่ระบายความโกรธด้วยวิธีนี้แล้ว จะสบายใจคลายเครียด
ไปได้สักกี่วันไม่ทราบได้ ถือว่าไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร

ยังดีกว่าบางคนเวลาโกรธแล้วระบายออก
โดยการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ทำร้ายร่างกายผู้ที่อ่อนแอกว่า
หรือบางคนหาทางระบายที่เป็นอบายมุข เป็นโทษ
เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน ตรงกันข้ามกับคนที่ฉลาด
ก็จะหันหน้าเข้าวัด ศึกษาธรรม สวดมนต์ ฟังเทศน์นั่งสมาธิ

เราจัดการกับความโกรธได้อย่างไรบ้าง

(1) เมื่อโกรธ หาทางระบาย

(2) เมื่อโกรธ ให้มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป (หิริโอตตัปปะ)
และข่มใจไว้ (ทมะ)

(3) ระวังไม่ให้เกิดไฟโทสะ สำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ใจ ไม่ยินดียินร้าย (ศีล)

(4) ถอนรากเหง้าแห่งความโกรธ คือ ทำให้น้ำ (โทสะในใจ) แห้ง
โดยการเจริญเมตตาภาวนา (สมาธิ) เจริญวิปัสสนา (ปัญญา) จนสิ้นอาสวะกิเลส

อย่างไรก็ตาม ความโกรธนี้ คือทางเสื่อมที่มีแต่ทุกข์โทษ
เพียงอย่างเดียว ผู้รู้ทั้งหลายมองเห็นโทษของความโกรธแล้ว
จึงกล่าวไว้ว่า เมื่อมีบุคคลโกรธเรา แล้วเราโกรธตอบ
ถือว่าเราโง่กว่าเขาเสียอีก

หากเราสังเกตเห็นคนที่ชี้นิ้วด่าว่ากัน มือที่ชี้นิ้วนี้ก็สอนเรา
ชัดเจนอยู่แล้วว่า นิ้ว 3 นิ้ว ชี้กลับมาที่ตัวเรา
เปรียบเหมือนคำหยาบ คำด่า ที่เราต้องการทำให้เขาเจ็บใจ
หรือทำให้คนที่อยู่รอบตัวเราไม่สบายใจเป็นทุกข์นั้น
ความจริงแล้วตัวเองนั่นแหละ เป็นทุกข์มากกว่าเขาเป็น 3 เท่า

ในหลายๆ กรณี เราอาจจะมีความรู้สึกว่า เรามีเหตุผลสมควร
ที่จะโกรธเขา อย่างไรก็ตาม เมื่อเราโกรธ เท่ากับเราแพ้ตัวเอง
ผู้มีปัญญาย่อมไม่โกรธ ถึงแม้ว่าเขาจะทำอะไรไม่ดีแค่ไหนก็ตาม

ในโลกนี้ไม่มีคำว่า สมควรโกรธ


ตอนที่ ๙
ละความโกรธด้วยความรักและเมตตา

..... ดอกไม้ ..... เมตตาตรงข้ามกับโทสะ และพยาบาท
ซึ่งเป็นความโกรธ ความมุ่งร้าย
เมตตาเป็นความรักความปรารถนาดีให้มีความสุข
เป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่ความรักที่เป็นราคะคือความใคร่
ดังนั้นหากเราหมั่นอบรมจิตให้เมตตาตั้งขึ้นในจิตใจได้
จิตใจก็จะพ้นจากโทสะพยาบาท

เพื่อให้มีเมตตาเป็นพื้นฐานของจิต เราควรพิจารณาว่า

ตัวเรารักสุข เกลียดทุกข์ฉันใด
คนอื่น สัตว์อื่นก็รักสุข เกลียดทุกข์ฉันนั้น

ผู้ที่จะแผ่เมตตาได้ จะต้องทำใจตัวเองให้มีเมตตาก่อน
คือทำจิตใจตัวเองให้อ่อนโยน สงบเย็น
แล้วจึงแผ่เมตตาแก่ผู้อื่น
เพราะการจะแผ่สิ่งใดออกมาได้
จิตใจจะต้องมีคุณสมบัตินั้นอย่างแท้จริง

..... ดอกไม้ ..... การเจริญเมตตาภาวนา
เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ธรรมชาติของจิตเป็นประภัสสร
บริสุทธิ์ผ่องใส โดยธรรมชาติ ความเบิกบานใจ สุขใจ นั้นมีอยู่
เป็นอยู่แต่ดั้งเดิม แต่ทุกวันนี้ ที่พวกเราไม่สบายใจ ทุกข์ใจ
เพราะมีอารมณ์ กิเลสเครื่องเศร้าหมองครอบงำจิต

เราสามารถเจริญสติน้อมเข้าไปสัมผัสกับความเบิกบานใจ
สุขใจที่มีอยู่ได้ หน้าที่ของเราคือ ต้องสร้างกำลังใจ เจริญสติ
สมาธิ ปัญญา รู้จักกุศโลบายที่จะน้อมเข้าไปสู่ธรรมชาติ
ของจิตประภัสสร โดยมีวิธีปฏิบัติ
ในการเจริญเมตตาภาวนา ดังนี้

..... ดอกไม้ ..... วิธีปฏิบัติ

วิธีที่ 1 น้อมเข้ามาที่ลมหายใจ

ข้าศึกต่อความสุข คือ ความคิดผิด ความคิดไม่ดีของตนเอง
ไม่ใช่การที่เขากระทำดีหรือไม่ดีต่อเรา ไม่ว่าเขาจะไม่ดี
ขนาดไหน ถ้าใจเราดีแล้ว ไม่มีปัญหาอะไรเลย
ศัตรูร้ายกาจที่แท้จริงคือ ใจไม่ดี ความคิดไม่ดีของตนนั่นเอง

ผู้เจริญเมตตาภาวนา ควรระวังรักษาใจ
ระวังความคิดผิดให้มากที่สุด อะไรไม่ดี อย่าคิดเลย
สุขภาพไม่ดี อากาศไม่ดี รัฐบาลไม่ดี
ถึงแม้ใครทำอะไรผิดจริงๆ ผิดมากขนาดไหน
ก็ไม่ต้องคิดว่า “ใคร” หรือ “อะไร” ไม่ดี

เริ่มต้นปรับท่านั่งให้สบายๆ หยุดคิด ทำใจสบายๆ
หายใจสบายๆ บางครั้งจิตใจไม่เบิกบาน มีความรู้สึกไม่ดี
เศร้าๆ ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
ทำความรู้สึกคล้ายกับว่า หนีจากความรู้สึกไม่ดี ไม่สบายใจ
ทุกข์ใจ น้อมเข้าไปอยู่กับลมหายใจ เอาลมหายใจเป็นที่พึ่ง
ที่ระลึก ตั้งสติสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัวทั่วถึงลมหายใจ
ปรับลมหายใจสบายๆ หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย
น้อมเข้าไปอยู่กับลมหายใจ ละลายความรู้สึกเข้าไปในลมหายใจ
จนรู้สึกกลมกลืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจ
มีความรู้สึกตัวทั่วถึง ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

พร้อมกับระลึกถึงปีติสุข
ทุกครั้งที่ หายใจเข้า หายใจออก
จิตใจของเราจะเบิกบาน สงบ สบายใจ มีปีติสุข
เท่ากับว่า หายใจเข้า หายใจออกคือ สุขใจ สบายใจ
หายใจเข้าสบายๆ มีปีติสุข สบายใจ สุขใจ
หายใจออกสบายๆ มีปีติสุข สบายใจ สุขใจ

หายใจเข้าสบายๆ มีปีติสุข สบายใจ สุขใจ
หายใจออกสบายๆ มีปีติสุข สบายใจ สุขใจ

วิธีที่ 2 ดึงปีติสุขในใจออกมา

เริ่มต้น ปรับท่านั่งสบายๆ
หยุดคิด ทำใจสงบ ปรับลมหายใจสบายๆ
น้อมเข้าไป ตั้งสติที่กลางกระดูกสันหลัง ระดับหัวใจ
สมมติว่าศูนย์กลางของจิตใจ อยู่ที่นั่น
เป็นจิตประภัสสร บริสุทธิ์ ผ่องใสโดยธรรมชาติ
ความเบิกบานใจ ปีติสุข อยู่ที่นั่น
ทำความรู้สึกว่าจุดนั้นเป็นจุดร้อนๆ
ความรู้สึกร้อนๆ และปีติสุข
ลักษณะเหมือนไอน้ำ ระเหยออกมาจากที่นั่น

หายใจเข้า ดึงเอาปีติสุขออกมา
คล้ายกับว่า ใช้นิ้วค่อยๆ ดึงออกมาเรื่อยๆ
หายใจออก ตั้งสติอยู่ข้างใน
ความรู้สึกที่ดี ดันออกมาข้างหน้าต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
อุปมาเหมือนกับว่ามีหมอนใบหนึ่งมีรูเล็กๆ อยู่ตรงกลาง
เราเอานิ้วจับอยู่ที่ปุยนุ่นแล้วค่อยๆ ดึงออกมาเรื่อยๆ

สมมติให้กลางกระดูกสันหลัง เป็นจุดศูนย์กลางของจิตประภัสสร
เป็นจุดสัมผัสกับพุทธภาวะ คือภาวะแห่งผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
เป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า
และอริยสาวกทั้งหลาย เป็นเมตตา กรุณา ปีติสุข
ที่มีอยู่ในจักรวาล ไหลออกมาผ่านจุดศูนย์กลางจิตของเรา
อุปมาเหมือนท่อที่มีสายน้ำไหลแยกออกมาจากทางน้ำใหญ่

เมื่อเราฝึกจนชำนาญแล้ว จะรู้สึกว่าการหายใจคือปีติสุข
ความรู้สึกไม่สบายใจ ทุกข์ใจ สัมผัสกับเราแต่เพียงส่วนหน้า
เราน้อมเข้าไป ตั้งสติอยู่ที่จุดกลางกระดูกสันหลัง
เมื่อความรู้สึกที่ดี ปีติสุข ไหลออกมาแล้ว
ความรู้สึกที่ไม่ดี ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในใจเราจะมีแต่ปีติสุข
เป็นความรู้สึกที่ดี สบายใจ สุขใจ

วิธีที่ 3 ชำระออกซึ่งความไม่สบายใจ

ทำความเห็นให้ถูกต้องว่า ความไม่สบายใจ ทุกข์ใจนี้ ไม่ใช่เรา
ไม่ใช่ของเรา เมื่อเห็นอะไร ได้ยินอะไร รู้อะไร ที่ไม่ถูกใจ
ไม่ชอบใจ เราจะเกิดความรู้สึกไม่ดี ไม่ชอบ เป็นทุกข์
ก็เป็นเรื่องธรรมดา หรือเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง
ความรู้สึกนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยใหม่ๆ
ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าความรู้สึกทุกข์ ไม่สบายใจติดค้าง
อยู่ในหัวใจนานๆ ก็จะเป็นความผิดปกติ เป็นกิเลส
มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่น ทำให้จิตใจเศร้าหมอง

หากเทียบกับแอ๊ปเปิ้ล ความรู้สึกไม่ชอบใจ ทุกข์ใจ
เปรียบเหมือน ขี้ฝุ่น ขี้ดิน ติดบนเปลือกแอ๊ปเปิ้ล
ความรู้สึกไม่ชอบใจ ทุกข์ใจ ที่ติดในหัวใจนานๆ เป็นตำหนิ
เหมือนแอ๊ปเปิ้ลที่เริ่มเน่าแล้ว ต้องรีบจัดการ
ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะเน่าหมดทั้งลูก

ผู้เจริญเมตตา ภาวนา ให้มีนิสัย ที่รักสะอาดอยู่เป็นประจำ
เมื่อเกิดความรู้สึกไม่ดี ไม่ชอบ ให้หยุดคิด หยุดคิดว่าอะไรไม่ดี
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ความรู้สึกไม่ดีก็จะหายไป
ถ้าไม่หาย ตั้งใจมากขึ้นหน่อย
แทนที่จะคิดว่าใครหรืออะไรไม่ดี
นึกในใจว่า ดีๆ ๆ
ตั้งใจกำหนดลมหายใจยาวๆ

สมมติลมหายใจเป็นมีด ส่วนที่เน่าคือ ความรู้สึกไม่ดี
ไม่สบายใจ เศร้าหมองใจ เอาลมหายใจเข้า หายใจออก เป็นมีด
ตัดความรู้สึกไม่สบายใจ ทุกข์ใจ ทิ้งไป
เหมือนตัดส่วนที่เน่าของแอ๊ปเปิ้ล
ตั้งใจ มีสติกำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้า หายใจออก
ไม่นานความรู้สึกก็จะเบา สงบ สบายใจ
มีลมหายใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับความสุขใจ สบายใจ

วิธีที่ 4 ปล่อยวางความโกรธให้เร็วขึ้น

เมื่อเรามีนิสัย ขี้โกรธ ขี้โมโห เห็นอะไร ได้ยินอะไร
กระทบอารมณ์ คงจะห้ามความโกรธไม่ได้
ก็ไม่ต้องห้าม ให้โกรธตามเคยนั่นแหละ
แต่พยายามปล่อยวางให้เร็วขึ้น ไม่ผูกใจเจ็บ ให้อภัย
ให้อโหสิกรรมเร็วขึ้น เช่นเรารู้อยู่ว่าปกติโกรธขนาดนี้
จะไม่สบายใจอยู่ 3 วัน พยายามปล่อยวางภายใน 2 วัน
จากนั้น ลดให้เหลือ 1 วัน ครึ่งวัน
3 ชั่วโมง จนเหลือ ครึ่งชั่วโมง เป็นต้น
การต่อสู้กับอารมณ์โกรธ ให้เอาหัวใจนักกีฬามาสู้

อย่าเอาจริงเอาจังกับเหตุการณ์จนเกินไป
โอปนยิโก น้อมเข้ามาดูใจ ดูอารมณ์
เอาสติปัญญา ต่อสู้กับอารมณ์ตัวเอง
ให้มีความพอใจ ความสุขในการแก้ปัญหา แก้อารมณ์ของตน
เมื่อเราเห็นความก้าวหน้าในการต่อสู้กับอารมณ์แล้ว
ลึกๆ ภายในใจก็จะมีความพอใจ
ในท่ามกลางความโกรธได้เหมือนกัน

พิจารณาธรรมชาติของอารมณ์โกรธ
ตามสติกำลังของตัวเองก่อน เมื่อเข้าใจดีแล้ว
ปล่อยวางความรู้สึกโกรธ ตั้งสติที่ท้อง หายใจออกยาวๆ
สบายๆ หายใจเข้าตามปกติ เน้นที่หายใจออกยาว สบายๆ
ทำเช่นนี้จะช่วยผ่อนคลาย กายเย็น ใจเย็น อารมณ์สบายๆ
มีความสบายใจ

หายใจออกยาวๆ สบายๆ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2010, 03:29:56 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ทำอย่างไรไม่ให้ใจ เคียดแค้น
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 03:23:47 pm »
0
ผมคิดว่าแค่ มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา ถ้าเข้าใจจุดนี้ เหตุสมควรโกรธก็ไม่มี
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เหตุสมควรโกรธ...ไม่มีในโลก
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 03:31:34 pm »
0
ตอนที่ ๑๐
ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข

ความโกรธ ไม่ว่ามากหรือน้อย โกรธนาน หรือไม่นาน
ล้วนทำลายความสุข ทำลายสุขภาพ เป็นโทษทั้งต่อตัวเอง
และคนรอบข้าง สำหรับผู้มีสติปัญญาแล้วจะเห็นความโกรธ
เป็นอารมณ์ของผู้ไร้ปัญญา ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
ตัดความโกรธด้วยความมีสติข่มใจไว้
และถอนรากเหง้าของความโกรธด้วยเมตตาภาวนา

พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญการฆ่าความโกรธไว้ว่า
บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข
บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมไม่โศกเศร้า



…………………… เอวัง ……………………



 


ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20086

รวมคำสอนพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
http://www.dhammajak.net/book-mitsuoe/2.html
http://www.dhammajak.net/dhamma/dhamma18.php

วัดป่าสุนันทวนาราม-มูลนิธิมายา โคตมี และแผนที่
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=20076

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อย่าหน้าบูดหลาย ทำใจให้ยิ้มได้บ่
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 03:53:05 pm »
0

ขอมอบรูปสวยๆนี้ให้คุณสายฝน เผื่อจะคิดอะไรออกบ้าง

 
คุณสายฝน ควรหางานอดิเรกทำนะครับ เวลาที่รู้สึกว่า

 ตัวเองเคียดแค้นใครบางคนอยู่

 การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่่องดี แต่เวลาโกรธแค้นใคร

 ไม่ควรทำสมาธินะครับ ทำอย่างไงก็ไม่สงบหรอก

 เคล็ดลับก็คือ ความสุขก่อให้เกิดสมาธิ

 หาอะไรทางโลกทำเพลินๆไปก่อน

 ทุกข์ที่คุณเห็นอยู่ตรงหน้า มันเป็นของชั่วคราว

 ผมขอเป็นกำลังใจให้คุณสายฝนทุกเมื่อ นะคร้าบ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ทำอย่างไรไม่ให้ใจ เคียดแค้น
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2010, 02:12:49 pm »
0
  :41:   >:(   :41:          อันดวงจิตพยาบาทนั้นเศร้าหมอง               
เป็นดุจครองมีน้ำหลากขวางกุศล
จงเร่งเพียรใฝ่ศีลทานตัดกังวล                           
ละบุคคลตัวตนเขาเราไม่มี
       สิ่งที่แล้วเป็นด้วยกรรมนำลิขิต                 
อย่าสิ้นคิดโมหะหลงปลงเป็นดี
รักษ์เมตตาแก่ศัตรูหมู่เวรี                                 
ชั่วพ่ายหนีศีลธรรมนำสิ้นกรรมเทอญ.
 
:021: :33: :021:                                    :banghead: ธรรมธวัช...!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2010, 10:32:33 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ทำอย่างไรไม่ให้ใจ เคียดแค้น
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2010, 11:51:30 am »
0
บวชชีเลยจะดีมาก  จะได้มีศีลเป็นเครื่องป้องกัน
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม