ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อลูกศิษย์ ถามพระอาจารย์ว่า การเจริญ มรณัสสติ ควรเจริญอย่างไร ?  (อ่าน 6215 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

เมื่อลูกศิษย์ ถามพระอาจารย์ว่า การเจริญ มรณัสสติ ควรเจริญอย่างไร ?
 
  นั่นหมายถึง ขณะแห่งจิต ที่ควรอนุโมทนา เพราะเมื่อใดที่ท่านระลึกนึกถึง "ความตาย" แสดงว่าท่านทั้งหลายต้องประสบสภาวะที่เรียกว่า เบื่อ คิดได้ ธรรมเจริญขึ้น

   มรณัสสติ ตั้งแต่ฝึกภาวนามาตั้งแต่เด็ก ก็มักจะถูกสอนว่า ให้นึกถึงความตายอยู่เป็นการประมาท คนที่นึกถึงความชื่อว่าไปประมาท ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย

   นัยนี้เคยนั่งคิด เดินคิด นอนคิด ยืนคิด มาแล้วช่วงหนึ่งว่า
   เมื่อเราระลึกนึกถึงความตาย แล้ว ก็จะทำให้เราไม่ประมาท เมื่อเราไม่ประมาท เราก็จะไม่ตาย แต่พอมาคิดไปคิดมา คิดกลับไปกลับมาหลาย ๆ รอบ ก็มาแจ้งว่า แท้ที่จริงแล้ว เราระลึกนึกถึงความตาย ท้ายที่สุดก็ต้องตาย ถึงจะไม่ประมาท ก็ต้องตายความเป็นจริงของกายสังขาร ก็คือต้องตาย แล้วที่จะไม่ตายคืออะไร ?

   บางท่านก็อธิบาย ความไม่ตาย ก็คือการถึงธรรมที่เป็นอมตะ ชื่อว่า นิพพาน นั่นแหละชื่อว่าไม่ตาย

    อ๋อ อย่างนั้นการระลึกนึกถึงความตาย ก็เพื่อกระทำพระนิพพานให้เกิด เพราะถ้านิพพานก็คือไม่ตาย เป็นอมตะ แล้วทำอย่างไร กับการนึกถึงความตาย

    การนึกถึงความตาย ครูอาจารย์ในปัจจุบันมักจะแนะนำวิธีคือ
    1.สวด
    2.นึก
    3.พยายามระลึก
    4.เขียน
    5.ท่องบ่น
    6.พูดถึง
    7.ตามไปดู

      1.  สวด คือการเจริญสวดมนต์ บทแห่งความตายให้มากเช่น การสวด อภิณหปัจจเวกขณ ทั้ง 5 การเจริญบทสวดติลักขณคาถา ซึ่งมีการเข้าไปพิจารณาด้วยการสวด

      2. นึกหลายท่าน เข้าใจว่า อันนี้แหละคือกรรมฐาน ( แต่ขอบอก่อนว่าไม่ใช่ ) นึกก็คือพยายามนึกถึงความตาย ว่าเราจะต้องตาย เรามีความตายรออยู่เบื้องหน้า เราไม่รู้จะตายตอนไหน แต่ตายแน่ ๆ การนึกอย่างนี้มีทั้งผลดี และผลไม่ดี เพราะบางครั้ง การนึกอย่างนี้ทำให้ขาดปัญญา บางคนเลยกลายเป็นคนขี้เกียจเพราะเห็นว่า ต้องตาย จึงเหมือนคนนอนรอความตาย ไม่ทำอะไรทั้งนั้น

      3. พยายามระลึก อันนี้สูงกว่า นึก เพราะเป็นการย้ำคิด ย้ำทำในเรื่องความตายให้มากขึ้น คือ นึก ไว้ด้วยความเพียรสูง เจอหลายท่านที่ได้คุยพบกัน ก็พยายามทำอย่างนี้แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้เป็นพระก็ลาสึกไปหลายรูป เป็นฆราวาส ก็เลิกเจริญกรรมฐาน ยอมแพ้ ( เพราะไม่ใช่วิถึแห่งกรรมฐาน )

      4. เขียนหลายท่าน ก็พยายามระลึกถึงความตาย ด้วยการเขียนพรรณา ความตายก็เหมือนกับการนึก และ พยายามระลึก เพียงแต่นำออกมาเขียนเป็นเรื่อง เป็นราวลงไปเป็นอักษร แล้วก็นำมาอ่านทบทวน เหมือนกับการสวดท่องบ่น

      5.ท่องบ่น บางท่านนึกไม่ออก จดไม่ทัน ก็ใช้วิธีการท่องบ่น อันนี้ลึกว่าการสวด เพราะการสวดนั้นทำอย่างราบเรียบ แต่การท่องบ่นนั้น ทำบ่อยครั้งและเจาะจงเป็นอย่างมาก ท่านทั้งหลายไม่เข้าใจ ก็วันนี้ลองท่องดูเลยว่า เราตายแน่ เอาแค่นี้ ท่องแค่นี้เดี๋ยวก็รู้ผลแล้วว่า จิตท่านจะร่าเริง หรือหดหู่

      6.พูดถึง ก็คือ การปรารภความตาย ไปที่ไหนก็จะพูดเรื่องนี้ กับทุกคนการพูดถึงนั้น เป็นการช่วยเตือนสติให้แก่เรา
 
      7.ตามไปดู เห็นเขาตาย ตามไปดู ไปงานศพ ตามไปดู มีคนตายที่ไหน ก็ตามไปดู คนที่เห็นคนตายบ่อย ๆ จะมีอารมณ์ อะไร ใหม่ ๆ เป็นยังไง พอนานเข้าไปก็ไม่รู้สึกอะไร เหมือน สัปเหร่อชินผี ที่เขาพูดกัน

      ท่านทั้งหลายอ่านมาถึงตรงนี้คิดว่า แต่ละท่านก็คงจะใช้วิธีการนี้อยู่ อาจะใช้ทั้งหมด หรือใช้บางข้อ ถ้าท่านเจริญอยู่อย่างนี้ ก็อนุโมทนา ด้วยว่าท่านทั้งหลายมีการพยายามฝึก สติ ตามความเข้าใจของท่านอยู่

      แต่ทั้งหมด นี้ไม่ใช่เรียกว่า มรณานุสสติ ในกรรมฐาน ?

      เพราะ มรณานุสสติ นั้นไม่ได้เป็นด้วย 7 วิธีการนั้น.... ตอบไว้เท่านี้


      มรณานุสสติ มีแบบแผนในการเจริญเป็น สติสมาธิ อยู่ วิธีการจะยังไม่ถ่ายทอดให้แก่บุคคลที่เจริญ พุทธานุสสติยังไม่ได้ เพราะถ่ายทอดไปไม่มีประโยชน์ กับผู้ที่ยังไม่ได้ อุปจาระสมาธิ

      คงพอเกริ่นไว้ให้ทราบเพียงเท่านี้

      เจริญธรรม / เจริญพร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 09, 2012, 10:27:34 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คงคลายสงสัยได้จากหลากหลายท่านที่ถาม ไม่แปลกเลยที่ครูบาอาจารย์ท่านเน้นย้ำภาวนาเป็นบาทฐานเพื่ิอเข้าถึงซึ่งธรรมอันกล่าวได้ว่าธรรมะเป็นของยาก ยากเพราะเราท่านคร้านที่จะภาวนา
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


หลวงพ่อปราโมทย์ : เห็นแต่รูปนามทั้งหลายนะกระจายตัวออกไป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตานะ เห็นแล้วเห็นอีกนะดูแล้วดูอีกนะ อย่ากลัวว่าจะไม่บรรลุมรรคผลเลย ถ้าไม่บรรลุก็ไม่เป็นไร ชาตินี้ไม่บรรลุชาติต่อๆไปก็บรรลุเอง

บางคนกังวลนะ เป็นพระโพธิสัตว์หรือเปล่าน้าทำไมภาวนาไม่ดีไม่บรรลุซักที เรามองหน้าแว้บนี่ไม่ใช่โพธิสัตว์หรอกนี่สัตว์เหลวไหล ขี้เกียจน่ะ พอภาวนาไม่ได้บอกเป็นโพธิสัตว์พวกนี้ก็มีนะ โพธิสัตว์เหลวๆไหลๆ ไม่มีหรอก โพธิสัตว์จริงๆไปด้วยมหากรุณานะ ใจกรุณาคนอื่นไม่ใช่อยากใหญ่อยากโตอยากเด่นอะไรหรอก ใจอยากสงสาร อยากช่วยคนเยอะๆ

งั้นเวลาภาวนาเนี่ยไม่ต้องกังวลว่าเราเป็นพระโพธิสัตว์หรือเปล่า ภาวนาให้เต็มที่ ยิ่งเป็นโพธิสัตว์ต้องยิ่งขยันภาวนา โพธิสัตว์โหลยโท่ยแล้วจะเอาอะไรไปสอนคนอื่นเค้าใช่มั้ย ต้องรีบทำให้เต็มที่เลยนะ ศีลสมาธิปัญญาทำให้เต็มที่เลย พอถึงจุดหนึ่งแล้วเนี่ยจิตมันจะแยกเอง ใครจะเดินไปพุทธภูมินะ ใครเห็นเอือมระอาในความทุกข์ของสังสารวัฏก็จะพลิกเข้าไปสู่สาวกภูมิ ใครเกิดมหากรุณาขึ้นมาพลิกไปสู่พุทธภูมิ ไม่ต้องไปกังวลตอนนี้หรอก ตอนนี้ภาวนาให้เต็มที่ไม่ว่าจะเป็นสาวกภูมิหรือพุทธภูมิก็ต้องทำให้เต็มที่เหมือนกัน ยิ่งจะเป็นพุทธภูมินะภาวนาขี้เกียจขี้คร้านจะไปได้กินอะไร

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า




http://www.dhammada.net/
http://www.dhammada.net/2012/01/21/13432/
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/03/Y11790597/Y11790597.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 09, 2012, 12:59:03 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แล้วอย่างไหน จะเป็นการภาวนา มรณานุสสติ ที่ถูกครับ ถ้า 7 วิธีนั้นยังไม่ใช่

 :25: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การเจริญ มรณัสสติ แบบที่พระอาจารย์ที่ต้องการจะสอน คืออย่างไร คะ
เปิดเผยได้หรือไม่คะ

  :c017:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0



      แต่ทั้งหมด นี้ไม่ใช่เรียกว่า มรณานุสสติ ในกรรมฐาน ?

      เพราะ มรณานุสสติ นั้นไม่ได้เป็นด้วย 7 วิธีการนั้น.... ตอบไว้เท่านี้


      มรณานุสสติ มีแบบแผนในการเจริญเป็น สติสมาธิ อยู่ วิธีการจะยังไม่ถ่ายทอดให้แก่บุคคลที่เจริญ พุทธานุสสติยังไม่ได้ เพราะถ่ายทอดไปไม่มีประโยชน์ กับผู้ที่ยังไม่ได้ อุปจาระสมาธิ

      คงพอเกริ่นไว้ให้ทราบเพียงเท่านี้

      เจริญธรรม / เจริญพร

   ถ้าพิจารณา ตรงนี้ก็หมายความว่า ผู้ถามต้องผ่าน ห้องที่ 3 พระพุทธานุุสติ นะคะ

  :25: :c017: :13:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 17, 2012, 06:40:32 pm โดย Akira »
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อย่างนั้นก็หมายถึงว่า จะได้เรียน มรณานุสสติ ก็ควรผ่าน อุปจาระสมาธิก่อนใช่หรือไม่ครับ ตามความเข้าใจจากการอ่าน หรือว่าต้องผ่าน อานาปานสติไปด้วยกัน

   :13: :smiley_confused1: :c017:

 
บันทึกการเข้า

pichai

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อันนี้เป็นข้อดี ของ กรรมฐาน และ เป็นข้อเสียของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ดัวยครับ

   ข้อดี คือ
     ลูกศิษย์ สามารถปฏิบัติ ไปตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง

   ช้อเสีย คือ
     ลูกศิษย์ ที่ไม่ปฏิบัติ ครูอาจารย์ก็ต้องรอไป รอจนกระทั่งจนท่าน มรณะภาพ กรรมฐานก็สูญไปกับท่านด้วย


   จะแก้ส่วนนี้ ครูอาจารย์ ก็ต้องรับศิษย์จำนวนมาก เพื่อให้ศิษย์ที่มีความตั้งใจในการภาวนาจริง ๆ เข้ามาเรียนศึกษาให้จบ แต่ ผมว่ามีน้อยส่วนใหญ่ อย่างผมเองก็หยุดที่ ห้องที่ 2 เป็นต้น เมื่อก่อนมีกำลังคิดว่า จะภาวนาให้ได้สิ้นภพ สิ้นชาติ แต่ตอนนี้เหมือนปลงว่า บุญยังไม่พอ ก็ทำได้แค่ ปีติ สุข อยู่เท่านี้ ก็มีแต่ธรรมก้าวหน้า อย่างที่ละนิด คิดว่าน่าจะไม่ทันการก่อนตายแน่ ๆ


  :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ ก็คือ สอนตามลําดับ ผู้ฝึกก็ต้องฝึกไปตามลําดับ
            ข้อดีและข้อเสียที่แนะนํา นั่น ก็เป็นแค่ความเห็น
        ในเคล็ดวิชชา ทั้งหลาย ที่ครูอาจารย์ ไม่สามารถพิมพ์เป็นตํารา ได้ก็เพราะ...?
          ถึงพิมพ์เป็นตํารา.....ท่านทั้งหลายก็ทําไม่ได้  เหตุก็เพราะท่านไม่ได้เห็นในธรรมเหล่านั้น

                ยกตัวอย่างเช่น.......เคล็ดไม่ลับในสติปัฏฐานสี่ ที่ครูอาจารย์มอบให้เมื่ออาทิตย์ก่อนๆ
    พวกท่านได้อ่านกันแล้วท่าน เห็นธรรมหรือไม่ รู้เรื่องหรือเปล่า เป็นต้น

         ท่านได้เห็นรูป ธรรม ในสติปัฏฐานสี่กันหรือยัง อุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต เห็นหรือยัง ให้ท่านทั้งหลายตอบตัวเอง........


        อย่าง อานาปานสติ ของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเปรียบเทียบไว้กับ
               การเลื่อยไม้ ฟันเลื่อย ที่ลากไปมาไปกลับ และ ตอไม้

          หากพวกท่านอ่านแล้วพวกท่านเข้าใจกันหรือไม่............และทําไมจึงไม่เข้าใจ...........ตรงนั้นตอบให้ไม่ได้ เพราะท่านต้องตอบตัวของท่านเอง

            แม้กระทั่งเรื่อง นายช่างสร้างเรือน ด้วย

        ธรรมสภาวะ คือของจริง ไม่มีเปรียบเทียบ หรือรู้ไปแล้ว เพราะต้องการรู้ แต่ไม่ถึงของจริงและเอาไปเปรียบเทียบ ก็คือ นําไปตีความ ว่าเป็นอย่างนั้น ว่าเป็นอย่างนี้

         บางครั้งครูบาอาจารย์สายนี้ท่าน ก็จะรู้ของท่านอยู่แล้ว  เพราะครูอาจารย์ มีญาณ
         เพราะการทําอะไรไปบางอย่าง อาจทําให้ศาสนาสั้นลง

           การสอนตามลําดับ ก็คือสอน ตามธรรมสภาวะที่เป็นของจริงของลูกศิษย์ท่าน ท่านมีญาณ สามารถตรวจสอบได้ ทั้งรูปทั้งสี   ที่เป็นสภาวะของจริงในตัวศิษย์ ของท่านทุกคน


         เหตุที่เคล็ดวิชชาบางอย่าง ไม่มีการพิมพ์ตํารา ก็เพราะ กลัววิชชาจะสั้นลง และ สูญหาย คําว่าสูญหายนั้น อาจจะไม่หายไปเลย แต่ถูกผู้ที่ไม่รู้จริงทั้งหลาย เปรียบเทียบและ เปลี่ยนแปลงไปต่างๆ นาๆ ตามภูมิธรรมนั้นๆ ที่ไม่ได้เข้าใจจริง

         การเขียนวิชชาใหม่ ที่ไม่รู้จริง โดยเอาอวิชชา แทรกเข้าไปในวิชชาโดยไม่รู้ตัว เป็นเรื่องน่ากลัว เพราะอาจทําให้ความจริงถูกบิดเบือน เปลี่ยน และเคล็ดวิชชาทั้งหลายสั้นลง

        เอาง่าย.......ครูอาจารย์ท่านมีอะไรดีๆมากมาย คงไม่ต้องบอกว่าเป็นอะไร

           ท่านคงไม่เสียเวลาสอน เพราะสอนไปก็ไม่รู้ เพราะไม่ได้ธรรมสภาวะ


           กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ สอนตามลําดับ ตามธรรม

         ไม่ต้องกลัวว่า วิชชาทั้งหลายจะสูญไป เพราะทุกสิ่ง ทุกอย่าง ได้กําหนดไว้หมดแล้ว
     พอศอห้าพัน ก็คือ พอศอห้าพัน

           อยากให้ท่านทั้งหลาย จงมีความตั้งใจ ในการฝึกและปฏิบัติ

              ขอให้ท่านโชคดี
 
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

มหายันต์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 154
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ท่าน aaaa กล่าวได้ดีครับ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า