ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมเนียม การขอพร และ หลักการให้พร อย่างถูกต้อง ( ประสาชาวพุทธ )  (อ่าน 17962 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ธรรมเนียมการขอพรผู้ใหญ่

                 ธรรมเนียมในการขอพรจากผู้ใหญ่นั้น ก่อนอื่นต้องขอขมาท่านเสียก่อน เพราะว่าขณะทำงานกับท่าน เวลาเกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงขึ้นมา บางครั้งเราก็คิดไม่ค่อยดี กับท่านเหมือนกัน จึงถือโอกาสนี้ขอขมาลาโทษ ที่เคยทำผิดคิดล่วงเกินท่าน ทั้งต่อหน้าก็ดี ทั้งลับหลังก็ดี ขอท่านจงให้อภัย อย่าได้จองเวรจองกรรม อย่าให้เป็นบาปติดตัวเราไปเลย

                 เมื่อขอขมาลาโทษเสร็จ ก็ขอแนวทางในการทำงานที่ถูกต้อง หรือขอแนวทางใน การที่จะละความโลภ ความโกรธ และความหลงจากท่าน เพราะว่าท่านคงเคยพบอุปสรรคในการทำงาน ทำนองเดียวกับเรามาแล้วมากมาย

    เพราะฉะนั้น ความจริง “ การขอพร ” ก็คือ “การขอหลักในการแก้ไขตัวเอง” แต่เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกเป็นทางการจนเกินไป ท่านจึงใช้คำว่า “กราบขอพร” แทน

             หลักการให้พรที่ถูกต้อง

    เมื่อผู้น้อยเข้ามากราบขอพร ผู้ใหญ่ท่านก็จะมีวิธีให้พรดังนี้

             ๑ . อ้างสัจจะในการทำความดี

             ๒ . อธิษฐานให้บุญคุ้มครอง

             ๓ . สอนวิธีทำความดี

             ๔ . ใช้วาจาที่ไพเราะ

             ๕ . ให้พรที่เหมาะสมกับกาละเทศะ

                 ยกตัวอย่าง ท่านจะอ้างสัจจะ คือ ความจริงใจในการทำความดี แม้ข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาก่อนเช่น “ ตลอดชีวิตในการทำงาน ข้าพเจ้า ไม่เคยมีความลำเอียงเลย” จากนั้นก็อธิษฐานจิตว่า

                 “ด้วยบุญที่ข้าพเจ้าทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีความลำเอียง ขอให้บุญนี้จงคุ้มครอง ให้ท่านทั้งหลาย จงมีแต่ความสุข ความเจริญ มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานตามข้าพเจ้ามา” ท่านให้พรเพียงสั้นๆ แค่นี้เราก็ชื่นใจแล้ว

                 ผู้ใหญ่ที่ย่ำโลกมามาก แค่มองหน้าเราท่านก็พอจะรู้ว่า ตลอดเวลาที่ทำงานร่วมกันมา ๑ ปี เรามีความขุ่นข้องหมองใจต่อท่านในเรื่องใดบ้าง เพราะฉะนั้นนอกจากอธิษฐานให้บุญคุ้มครองเราแล้ว ท่านยังยกเรื่องที่ทำให้เราเกิดความขุ่นใจขึ้นมากล่าวอีกด้วย

                 “ ด้วยบุญที่ข้าพเจ้าเคยแก้ไขความขัดแย้ง เรื่องนั้น เรื่องนี้ ในที่ทำงาน ด้วยความจริงใจ ขอให้บุญนั้น จงคุ้มครองให้เขากลับเนื้อกลับตัวเสียใหม่” อย่างนี้เป็นต้น

                 ผู้ใหญ่บางท่าน เมื่อรู้ว่าผู้น้อยจะไปกราบขอพร ท่านก็จะเตรียมถ้อยคำที่ไพเราะ สละสลวย โดยสรุปสั้นๆ แต่ว่าประทับใจผู้ฟัง หรือบางทีท่านก็เตรียมถ้อยคำที่เป็นโคลงกลอน เพื่อผู้ฟังจะได้จำได้ง่าย เตรียมไว้เป็นพรสำหรับให้กับเราเสร็จเรียบร้อยเลย

             เพราะฉะนั้น ถึงคราวที่พวกเราจะต้องให้พรใคร จำหลักการเหล่านี้ไว้ให้ดีก็แล้วกัน

 จากวารสารในบุญ ที่เพื่อนส่งมา

บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การให้พร และ การรับพร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2010, 04:58:25 am »
0
เป็น ความเชื่อกันมานานแล้วว่า  เวลาไปวัดไหว้พระรับศีลรับพรจากพระ  ซึ่งที่จริงแล้วเป็นเช่นนั้นถูกแล้ว  แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับความเป็นจริงว่าพระสมัยนี้ปฏิบัติธรรมกันได้ดี แค่ไหน  คำว่าอนุสัยที่ผู้เขียนได้อธิบายลงในเว็บก็เอามาจากคำสอนแห่งพระพุทธองค์  แล้วพยายามทำความเข้าใจคำว่าอนุสัยให้ได้  หากเราไม่เข้าใจคำว่าอนุสัย  ไม่ให้ความสำคัญ  หรือไม่ใส่ใจบทบาทของอนุสัยที่มีบทบาทในการแสดงพฤติกรรมของตนอย่างไร  ต่อให้มีวัตรปฏิบัติอย่างไรดีแค่ไหน  ก็ถือว่ายังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนในพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง

ผล จากการปฏิบัติธรรมอย่างไม่ถูกต้องตามที่ผู้เขียนว่ามา  เป็นเหตุให้จิตของผู้นั้นไม่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง  หากผู้นั้นไปให้พรผู้อื่น  จะเป็นการให้พรอันไม่บริสุทธิ์ให้ผู้อื่นด้วย  หากเราเป็นผู้รับพรจากผู้ที่ไม่บริสุทธิ์  พรที่เรารับมาก็ไม่บริสุทธิ์แล้วอาจไม่ศักดิ์สิทธิ์พอที่จะทำให้พรที่เราได้ รับนั้นเป็นจริงได้  ในขณะที่ผู้นั้นซึ่งให้พรเรา  ยิ่งให้พรคนอื่นมากขึ้นเท่าใด  ยิ่งทำให้ผู้นั้นเสียบารมีในทางธรรมให้กับผู้อื่นรวมทั้งเราด้วย  หากผู้นั้นไม่มีบารมีในทางธรรมเพียงพอที่จะอธิษฐานจิตให้ผู้อื่นเป็นไปตามคำ อธิศฐานให้พรที่ผู้นั้นได้ให้  ผู้นั้นอาจจะได้รับความเจ็บป่วย  หรือประสบเคราะห์กรรมต่าง ๆ  แล้วมีโอกาสสูงที่ผู้รับพรจะไม่ได้ผลตามพรที่ได้รับจากผู้นั้นด้วย  นี่เป็นอันตรายอีกอย่างที่ทำให้ผู้ที่มีคนยอมรับนับถือจากผู้มีเจตนาเป็นผู้ รับ  ยิ่งมีความนับถือจากผู้มีเจตนาเป็นผู้รับมากขึ้นเท่าใดยิ่งอันตรายมากขึ้น เท่านั้นเป็นเงาตามตัวด้วย

ดัง นั้นการรับศีลรับพร  ผู้ให้ต้องบริสุทธิ์ในการให้ด้วย  ส่วนผู้รับนั้นมีเจตนารับอย่างไร  ผู้รับนั้นจะรับอย่างนั้น  แล้วการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกต้อง  คือขออะไรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยเจตนาอย่างไรก็ได้  เมื่อขอให้ตนเองได้ผู้อื่นจะได้  แล้วถ้าขอให้ผู้อื่นได้ตนเองก็จะได้  ฉะนั้นคนที่ชอบสาปแช่งผู้อื่นตนเองก็จะได้รับผลนั้น  เพราะการสาปแช่งผู้อื่นก็คือการขอให้ผู้อื่นมีอันเป็นไป  ประสบเคราะห์กรรมต่าง ๆ  ส่วนขอให้ตนเองมีความสุข  คำขอนั้นจะส่งให้ผู้อื่นและส่วนรวมมีความสุขยกเว้นตนเอง  นี่จึงภาคบังคับแล้วเบื้องต้นในการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกให้เรารู้จักเป็นผู้ให้  แต่เราทั้งหลายอาจจะไม่รู้ว่าความจริงในการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีกฎ ระเบียบเช่นนี้  ฉะนั้นคนขออะไรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ผู้อื่น  ถ้าจอให้ผู้อื่นได้ดีตนก็จะได้ดีเจริญก้าวหน้า  แต่มิใช่ว่าผู้เขียนได้เขียนไว้อย่างนี้  เราทั้งหลายก็เปลี่ยนพฤติกรรมในการขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสียใหม่  คือขอให้คนอื่นแล้วหวังว่าให้ตนเองได้ตามคำขอ  โดยที่ตนเองไม่มีเจตนาหรือไม่มีใจให้ผู้อื่นที่ตนขอพรให้ได้ตามคำขอนั้น จริง  ถึงแม้จะทำตามคำแนะนำจากผู้เขียนทุกประการแล้วก็ตาม  แต่ขาดใจหรือขาดเจตนา  หรือเจตนายังเปผ็นเหมือนเดิม  คือยังขอพรอะไรให้ตนไม่เปลี่ยนเจตนาอย่างแท้จริง  ก็ใช่ว่าจะได้ผลตามนั้น

หาก การขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีระเบียบไว้ดังนี้  หากเราทั้งหลายสามารถฝึกตนเองให้ทำให้เป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ย่อมเป็น สิ่งดีต่อตนเอง  ลักษณะการแนะนำธรรมะของเทพกับพระพุทธเจ้าต่างกัน  พระพุทธเจ้าจะแนะนำธรรมะด้วยคำอธิบายคำสอนนั้นโดยวิธีทางตรง  คือให้ปฏิบัติตามนั้นให้ปฏิบัติตามนี้  ปฏิบัติแล้วผลที่เกิดจากการปฏิบัตินั้นเป็นอย่างไร  ไม่ปฏิบัติจะส่งผลเสียอย่างไร  แต่ลักษณะของการแนะนำธรรมะแบบเทพ  จะใช้เหตุการณ์มาเป็นตัวบังคับเราโดยทางอ้อมให้เราต้องทำตาม  หากเราไปขสิ่งใดจากเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว  หากจะให้ผลนั้นเกิดขึ้นกับตนเองตามคำขอ  ตนเองต้องปฏิบัติตามสิ่งที่เทพแนะนำอย่างเคร่งครัด  แล้วเมื่อตนเองปฏิบัติตามคำแนะนำจากเทพอย่างเคร่งครัดจะทำให้ตนเข้าใจคำสอน ในพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติตามหลักคำสอนในพุทธศาสนาได้โดยปริยาย  เมื่อสิ่งที่ตนขอนั้นสัมฤทธิ์ผล  สิ่งที่ตนได้โดยที่จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม  คือความประจักษ์แจ้งในสัจธรรมที่มีผลโดยตรงต่อความสำเร็จจากคำขอนั้นนั่นเอง

ฉะนั้น คนที่ขออะไรจากเทพแล้วไม่ได้ตามคำขอ  แล้วออกมาโวยวาย  ผู้เขียนขอใช้คำง่าย ๆ  ในการอธิบาย  ให้ลองพิจารณาตนเองว่า  สิ่งที่ตนปฏิบัติอยู่นั้นผิดหลักคำสอนในพุทธศาสนาหรือไม่  เพราะการไม่ทำตามหลักคำสอนเป็นอุปสรรคโดยตรงต่อการประสบความสำเร็จในคำขอ นั้น  หรือความเร็วหรือช้าในการประสบความสำเร็จ  มีผลโดยตรงมาจากความตั้งใจปฏิบัติตามคำแนะนำจากเทพด้วย  เพราะแท้จริงแล้วเทพเองต้องใช้หลักคำสอนในพุทธศาสนาในการบำเพ็ญเพียรด้วย  แต่อาจจะใช้ด้วยความอดทน  ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติธรรมที่สุดโต่งกว่ามนุษย์ปุถุชนอย่างมาก  จึงทำให้ตนพ้นจากสภาวะความเป็นมนุษย์และเทวดาไปอยู่ในระดับที่สูงกว่านั่น เอง

บท ความนี้ส่วนหนึ่ง  เขียนเพื่อให้มนุษย์มีความเข้าใจในเรื่องของเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น กว่าเดิม  แต่ที่ผู้เขียนได้เขียนทุกบทความ  ถ้าไม่แฝงแง่คิดก็คือให้นำไปปฏิบัติเสมอ  เจตนาในการเขียนบทความทุกบทความของผู้เขียนก็มีเพียงเท่านี้  ไม่ว่าการยกตัวอย่างของผู้เขียนจะมีลักษณะสุดขั้วมากเพียงใดก็ตาม  แต่ทั้งหมดทั้งมวลเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียน  ทั้งวที่เกิดขึ้นกับตนเอง  ทั้งที่ประสบจากการสังเกต  หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะเป็นเรื่องเล่าจากผู้อื่น  แต่เป็นคนที่เชื่อถือได้  หรือหากไม่มีอาจจะเป็นการสมมุติตัวอย่างขึ้นมา  สิ่งที่เขียนไปจะไม่พ้นไปจากนี้นั่นเอง

ที่มาเครดิต
http://www.dhumma.net/index.php?option=com_content&view=article&id=422&Itemid=423

บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒
 
 

เรื่องการให้พร

 

             [๑๘๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า อันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว กำลังทรงแสดงธรรม ได้ทรงจามขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้ถวายพระพรอย่างอึงมี่ว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระชนมายุ ขอพระสุคตจงทรงพระชนมายุเถิดพระพุทธเจ้าข้า ธรรมกถาได้พักในระหว่างเพราะเสียงนั้น จึงพระผู้มีพระภาครับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ถูกเขาให้พรว่า ขอจงเจริญชนมายุในเวลาจาม จะพึงเป็น หรือพึงตายเพราะเหตุที่ให้พรนั้นหรือ
             ภิ. ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าวคำให้พรว่า ขอจงมีชนมายุ ในเวลาที่เขาจาม รูปใดให้พร ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
             [๑๘๖] สมัยนั้น ชาวบ้านให้พรในเวลาที่ภิกษุทั้งหลายจามว่า ขอท่านจงมีชนมายุ ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ มิได้ให้พรตอบ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เมื่อเขาให้พรว่า จงเจริญชนมายุ จึงไม่ให้พรตอบเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านมีความต้องการด้วยสิ่งเป็นมงคล เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ที่เขาให้พรว่า จงเจริญชนมายุ ดังนี้ ให้พรตอบแก่ชาวบ้านว่า ขอท่านจงเจริญชนมายุยืนนาน ฯ


             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  บรรทัดที่ ๑๓๕๔ - ๑๓๖๙.  หน้าที่  ๕๖ - ๕๗.

http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=1354&Z=1369&pagebreak=0
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗
http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๗
http://84000.org/tipitaka/read/?index_



บางท่าน พูดว่า พระพุทธเจ้า ไม่หัวเราะ ไม่แย้มพระสรวล ไม่จาม ไม่ไอ ระหว่างแสดงธรรม เพราะมิใช่วิสัย

ของพระพุทธเจ้า ที่จะพึงมี เรื่องการหัวเราะ ขอยกไว้ก่อน วันนี้เอาเรื่อง จาม กับ ไอ มากอ่นนะคร้า...


บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การให้พรมีผลจริง
ถาม : เรื่องของการให้พร พระที่ให้พรคนที่มาทำบุญ หรือที่เขาบอกว่า คนทั่วไปให้พรกันว่า ขอให้มีความสุข อันนั้นมีผลจริงหรือเปล่า ?
ตอบ: มี ผลจริงๆ อย่าลืมว่าแต่ละคนได้สร้างบารมีมาไม่ใช่น้อย สิ่งที่เขาบอกกล่าวออกไปด้วยความหวังดี ปรารถนาดี อย่าลืมว่าตัวเขาไม่ใช่ตัวคนเดียว แต่ละคนล้วนแล้วแต่มีเทวดาประจำตัว ผู้ที่รักษาตัวทั้งนั้น ในเมื่อเราตั้งใจส่งความปรารถนาดีให้คนอื่นเขา เทวดาประจำตัวของเรา ถ้าเห็นว่าไม่เกินวิสัย ก็จะช่วยสงเคราะห์ให้เขาด้วย

ส่วน เรื่องของพระ ถ้าหากว่ารู้จักจริงๆ รู้วิธีจริงๆ ท่านจะให้โดยลักษณะว่าท่านเป็นตัวแทนเท่านั้น อย่างของหลวงพ่อท่านสอนพระ ท่านบอกเวลาแกให้พร ท่านให้นึกถึงพระพุทธเจ้า ว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ให้พร ตัวเราเป็นผู้ที่ผ่านจากพระองค์ท่าน โดยที่เป็นเสียงของเราเท่านั้นเอง ถ้าหากว่าขนาดพระพุทธเจ้าให้แล้วไม่มีผล ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว

"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"



การให้พร บางท่านว่าเป็นเรื่องให้ กำลังใจ ท่านคิดกันอย่างนี้กันใช่ไหม เจ้า คร้า...

ถ้าหากคิดอย่างนี้ แล้ว ... แสดงว่า ความเลื่อมใส ในพระสงฆ์ นั้นเรามีน้อย และ เราไม่มั่นใจ

ในผลแห่ง ทานและการทำบุญ คร้า ... เพราะอะไร .. นั่นหมายถึงว่า เราไม่เชื่อว่า พระสงฆ์ มีการปฏิบัติ

ได้ผลจริง ไม่เชื่อ ใน อิทธิญาณของพระอริยะ คร้า...

ดังนั้น การให้พรของ พระสงฆ์ โดยเฉพาะที่ปฏิบัติ ภาวนานั้น มีผล คร้า...

หมวยลองสังเกตุ ดู เวลาได้ทำบุญ กับพระที่เราเห็นใกล้บ้าน รู้ว่าท่าน ประพฤติ วัตร อย่างไร เป็นพระนักศึกษา

ทำบุญกับท่าน ถึงหนึ่งพรรษา แต่ พรที่ท่านให้ ก็ให้ทุกวัน ไม่ค่อยรู้สึกอะไร กับการให้พร ...

ในช่วง เข้าพรรษา ได้พบพระอาจารย์ ที่วัดราชสิทธาราม ... และได้ทำบุญ กับท่าน วันนั้นถูกหวยรางวัลที่ 5

ที่เล่าเพราะเรื่องนี้ เคยเล่าไปแล้ว ครั้งหนึ่ง เพียงเพราะบ่นกับท่านว่า ช่วงนี้เดือดร้อนเพราะปลวกเข้ามาทำลาย

อัตคัตขัดสน พระอาจารย์ให้พรว่่า "ขอให้บุญเธอจงสำเร็จตามที่เธอต้องการ ความอัตคัตจงหมดไปพลันในวันนี้"

คนอื่น คิดอย่างไร ก็ไม่รู้่ แต่เรื่องของการให้พร สำหรับพระสงฆ์ที่มีการภาวนาจริงๆ จัง ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควร

มองข้าม คร้า... หรือจะเป็นเรื่อง บังเอิญ... กันคร้า...




คนที่อยู่ใกล้ พระอาจารย์ น่าจะทราบดี คร้า...

ช่วงที่พระอาจารย์อยู่วัด นั้น ได้ทราบว่าโชคดี กัน มาก ๆ บางท่านอุปสรรค ที่มีก็หายไป บางท่านตกงานก็ได้งาน

บางท่าน มีปัญหา ทุกข์ ก็ได้รับการแก้ปัญหาทุกข์ บางท่านปฏิบัติสมาธิไม่ได้ ก็ปฏิบัติสมาธิได้ ใช่ไหมคร้า..

ได้ฟัง กิตติศัพท์ จากเพื่อนหมวยที่ สระบุรี เล่าให้ฟัง

ปัจจุบัน พระอาจารย์ไม่อยู่ ก็ทราบว่า มีผลตรงกันข้าม ใช่ไหม คร้า...


   ดังนั้นอย่าหมิ่น กับพร ของพระที่ภาวนา นะคร้า ไม่ใช่้เป็นเพียงเรื่องการให้กำลังใจ เท่านั้น คร้า...

บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การให้ พร เป็นการปฏิบัติกรรมฐาน ด้วยคร้า...
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2010, 05:40:06 am »
0
นึกถึง เมล พระอาจารย์ ไ้ด้

การให้ พร นั้นเป็นหลักปฏิบัติภาวนา ในพรหมวิหาร 4 อัปปมัญญา 4 ด้วยคร้า...

เมื่อพระอาจารย์ ท่านสอนว่า  การให้พร เป็นการปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับด้วย

  เพราะว่าการให้ พร นั้น คือการภาวนา พรหมวิหารธรรม คือปรารถนา ให้ผู้ือื่นมีความสุข และ เราก็มีความสุข

พระที่มีเมตตาจิต เป็นประจำ มักจะให้พร ดังนั้นผลเบื้องต้น คือการให้กำลังใจ อย่างที่เราท่านทั้งหลายคิดกันไว้

ผลที่ตามต่อมา ก็อยู่บารมีการภาวนาของพระสงฆ์ แล้ว และอยู่ที่บุญและทานที่เราได้ทำอย่างบริสทธิ์ หมดจด

หรือไม่ ? 

  สำหรับ คนที่ทำบุญ โดยไม่หวังรับพร หรือ รับอะไรก็ตามนั้น ถือว่าเป็นผู้ทำบุญ ด้วยกำลังใจสูง

ก็ควรแก่การอนุโมทนา เมื่อท่านสามารถทำบุญได้แบบพระอริยะ

  สำหรับ คนที่ทำบุญ โดยยังมีความหวัง คือ ต้องการรับผลบุญที่ทำนั้น ถึงแม้ว่า จะอาบด้วยน้ำโคลน น้ำหอม

ก็ยิ่งดีกว่าลงไปในที่ไม่สะอาด เพราะบุญเพียงเล็กน้อย นั้นไม่ควรหมิ่น อันพระพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า

  บัณฑิตย่อมไม่หมิ่นในทานและบุญ แต่คนทรามและเขลาย่อมหมิ่นในทานและบุญ


   เพราะอะไร หรือ คร้า... ที่พระอาจารย์แสดงอย่างนั้น ท่านแสดงต่อไปว่า

  การไม่หมิ่นในผลแห่งทานและบุญ นั้นเป็นการทำบุญเรียกว่า ปัตตานุโมทมัย คือการกล่าวแสดงความยินดีใน

บุญและทานที่ผู้อื่นได้ทำ เพราะเหตุผู้ที่กล่าวอย่างนี้ได้แม้ด้วยวาจา และใจย่อมตัดจิตที่เป็นอกุศลคือ ความอิจฉา

ริษยา และโมหะ โทสะ โลภะจากใจเป็นเบื้องต้น


  ลึกซึ้งมากใช่ ไหมคร้า... กับธรรมะที่พระอาจารย์แสดง ที่ยกมาวันนี้ เพราะคิดถึงท่านจริงๆ ที่อุตส่าห์ เผยแผ่

พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อยู่ที่สระบุรี และท่านต้องสู้กับคนทิฏฐิที่คับแคบ อยู่ด้วยการตัดสินใจของท่าน

ที่ออกวิเวกนั้น ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ท่านต้องการภาวนาให้มากขึ้น เพื่อนๆ ลองคิดสิคะ พระอาจารย์ออกมา

ภาวนามากขึ้น ผลแห่งทาน ย่อมมีมากขึ้น จึงไม่ควรประมาทนะคร้า...

ที่สำคัญ การให้พร นั้นเป็นการปฏิบัติ กรรมฐาน ด้วยนะคร้า....

 :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ควรตั้งจิต อย่างไร ในเวลา รับพร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2010, 06:02:48 am »
0
ควรตั้งจิต อย่างไร ในเวลา รับพร เป็นคำถามที่พระอาจารย์ทางเมล คร้า ....

นำมาให้อ่าน เป็นประโยชน์ คร้า...

เวลาที่พระสงฆ์ ให้พร เป็นภาษาบาลี เราควรตั้งจิตอย่างไร ในขณะรับพร คร้า..

  ตอบ ..

  การรับพร ก็เป็นการปฏิบัติธรรม อย่างหนึ่ง คือการฟังธรรม ธัมมัสวนมัย

  ถึงแม้จะมีบัญญัติวินัยว่า ห้ามแสดงธรรมระหว่างบิณฑบาตร แต่การกล่าววาจา

  ให้ระลึกถึงธรรมสั้น ๆ นั้นเป็นสิ่งที่พึงกล่าวได้ ไม่ใช่ยืนแสดงธรรม หรือพูดคุยกัน

  เป็นเวลานานเกินไป เพราะพระบางรูปยืนพูดทักทายญาติโยมนานมาก บางครั้งเลย

 เหมือนประทุษร้ายตระกูล คือ ประจบญาติโยม ดังนั้นการกล่าวหัวข้อธรรมสั้น ๆ นั้น

 จัดเป็นการแสดงธรรม ที่อนุโลมได้ เหมือนพระอัสสชิ กล่าวธรรมแก่ อุปติสสะสั้น ๆ

 ดังนั้นผู้รับฟัง ก็ฟังด้วยความเคารพตั้งสมาธิ น้อมฟัง อย่าส่งจิตออกไปขณะนั้น

 ผลบุญก็มีกำลัง ยิ่งขณะที่จิตกำลังเปี่ยมบุญ และทำการอุทิศส่วนกุศล ในกับผู้วายชนม์

ย่อมมีประสิทธานุภาพ ด้วยพุทธบารมี ทาานที่ทำบุญที่ก่อ ย่อมมีอานิสงค์มากเพราะจิต

จะเป็นสมาธิ เปี่ยมพลังระหว่าง ที่พระให้พรดังนั้น คนไทยนิยม กรวดน้ำให้ผู้วายชนม์

ในขณะฟัง ยถา.... เป็นธรรมเนียมมาถึงปัจจุบัน เพราะ อิทธานุภาพ ของพระปริตร

ย่อมขวางกั้น หมู่มาร ที่คอยขัดขวาง การทำบุญ ได้หยุด และสงบ นิ่ง  ดังนั้น ผู้รับพร

ก็ควรตั้งจิต เป็นสมาธิ น้อมไปในบุญที่ทำ จัดเป็นกรรมฐาน อนุสสติ หลายกองเช่น


   เทวตานุสสติ ระลึกถึงผลบุญและทาน ที่ทำ ให้อิ่มใจพอใจ ในความเป็นเทวดา

   จาคานุสสติ ระลึกถึงผลบุญและทาน ที่ำทำ ให้อิ่มใจพอใจ ในการสละกิเลสเบื้องต้น เป็น จาคานุสสติ

   อุปสมานุสสติ ระลึกถึงผลลุญและทาน ตั้งจิตปรารถนาในพระนิพพาน เป็นอารมณ์

   พุทธานุสสติ ระัลึกถึงผลบุญและทานที่ทำ เพื่อบำรุงพระรัตนตรัย บูชาต่อพระผู้พระภาคเจ้า

   ธรรมานุสสติ ระัลึกถึงผลบุญและทานที่ทำ เพื่อบำรุงพระรัตนตรัย บูชาต่อพระธรรม

   สังฆานุสสติ ระัลึกถึงผลบุญและทานที่ทำ เพื่อบำรุงพระรัตนตรัย บูชาต่อพระผู้พระสงฆ์เนื้อนาบุญของโลก

   สีลานุสสติ ระัลึกถึงผลบุญและทานที่ทำ เพื่อการบำเพ็ญเป็นกำลังของคนดี ในการรักษาศีล มีศีล

   อานาปานุสสติ ระลึกถึงผลบุญและทานที่ทำ อันเกิดเป็นความอิ่มใจ พอใจ หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้

   กายคตาสติ ระลึกถึงผลบุญแห่งทาน น้อมจิตเข้าไปในกาย ว่ากายนี้ต้องแตกดับเป็นธรรมดา มีแต่ผลและ

                ทานเท่านั้นที่จะติดตามเราไปได้ เราต้องเวียนว่ายในวัฏฏะสงสารนี้ เพราะกายและจิตที่เกิด
   
  มรณานุสสติ  ระลึกถึงผลบุญแห่งทาน เมื่อกายนี้แตกทำลายไป จิตต้องกำเนิดใหม่ บุญและทานนั้นเราทำ

               เพียงพอแล้วหรือยัง

 
  อธิบายสั้น ก็เท่านี้นะจ๊ะ เห็นหรือยังว่า แม้การรับพรถ้าตั้งสติถูก ก็เป็นอนุสสติทั้งหมด

  เจริญพร

   ;)

   


  เป็นอย่างไรเจ้า คร้า....

 ได้อ่านแล้ว คงเห็นประโยชน์ นะคร้า....


  วันนี้เป็น วันพระ นะคร้า.... อย่าลืมไปสั่งสมบุญ กันด้วยนะคร้า .....


บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ควรตั้งจิต อย่างไร ในเวลา รับพร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2010, 07:35:01 am »
0
  วันนี้เป็น วันพระ นะคร้า.... อย่าลืมไปสั่งสมบุญ กันด้วยนะคร้า .....

วันนี้วันธรรมสวนะ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๒

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 14, 2010, 07:39:33 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


ภาพนี้ หมวยจ้า ประทับใจ จริง กับหลักธรรม ของพระพุทธศาสนา คร้า...
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

pichai

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้ อ่านแล้ว รู้สึก ดีมาก ๆ ทำให้มีความตั้งใจ ในการรับพรเพิ่มเติม ด้วย

อนุโมทนากุศล ด้วยครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เรื่องนี้อ่าน แล้ว มีเหตุ มีผล ในเรื่องเรียบร้อยแล้ว

ข้อขัดแยังเรื่อง นี้ก็มีแต่เรื่องวินัย เรื่องของการแสดงธรรม ที่ถูกนำมาหยิบยก

แต่ ก็ไม่ได้ผิดหนักหนาสาหัสอะไร เพราะปรับอาบัติ เพียง เสขิยวัตร ไม่ใช่เรื่องที่จะพึงหนักใจ

สำคัญที่ ผู้ให้ ครบองค์ให้ ผู้รับ ครบ ฐานะแห่งผู้รับ ความสมบูรณ์ อยู่ตรงนี้

เจริญพร
 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้อ่านเรื่อง ที่พระพุทธเจ้า จามแล้วนึกถึงเรื่องนี้ ได้บางทีเราชาวพุทธ อาจจะยังไม่รู้ความจริงอีกหลายเรื่อง

ได้แต่จินตนาการ มากกันเกินไป






เซนกับการตอบสนองอารมณ์ของผู้เบื่อคัมภีร์

          เซนมีลักษณะนุ่มนวลอ่อนนอกแข็งใน กิริยานุ่มนวลยากที่จะหยั่งถึง เป็นประเพณีที่สังฆนายกแห่งเซนถือปฏิบัติมาตั้งแต่ในอินเดีย ท่านโพธิธรรมสังฆนายกองค์ที่ ๒๘  (ในอินเดียแต่เป็นองค์ที่ ๑ ในจีน) ได้สืบทอดประเพณีนี้ในจีน ในคัมภีร์เถรวาทมีบาลีว่า สิตัง ปาตฺวากาสิ (ทำการแย้มให้ปรากฏ)

          ถามว่า “แย้มต่างจากยิ้มอย่างไร ?”  พระอรหันต์เวลาท่านแสดงนัยบางอย่าง ท่านจะแย้ม จะไม่ยิ้มและไม่หัวเราะ  เวลาเห็นอะไรหรือประจักษ์อะไรบางอย่างในตัวเอง ท่านจะแย้ม เช่นพระโมคคัลลานะ เห็นเปรตที่มีรูปร่างอัปลักษณ์อาศัยอยู่บริเวณเชิงเขาคิชฌกูฏ ท่านรู้สาเหตุที่ทำให้เปรตมีรูปร่างอัปลักษณ์อย่างนี้ ท่านก็แย้มให้พระลักขณเถระเห็น พระลักขณะถือเป็นลูกคู่ของพระโมคคัลลานะก็ได้ เวลาเห็นพระโมคคัลลานะแย้ม พระลักขณะก็จะถาม แต่พระโมคคัลลานะจะไม่ตอบตอนนั้น จะไปตอบต่อหน้าพุทธองค์ พระพุทธเจ้าก็จะทรงแย้มเช่นเดียวกันในเวลาเห็นอะไรที่เป็นสิ่งที่มีนัย “การแย้มให้เห็นเป็นนัย คือร่องรอยของเซน” กิริยาที่ยิ้มเป็นการสนองต่ออารมณ์   ส่วนกิริยาที่แย้มเป็นการเผยความจริงสูงสุด ซึ่งประจักษ์เฉพาะตน ธรรมคุณบทหนึ่งก็บอกว่า “ธรรมเป็นสิ่งที่วิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน”           

          ตอนที่พระโพธิธรรม(ชาวอินเดียตอนใต้)เดินทางไปจีน ท่านเอาลังการวตารสูตรไปด้วย พระสูตรนี้เป็นหลักการของเซน โพธิธรรมเข้าไปก็ไปสอนวิธีการแบบเซน แต่ชาวบ้านไม่รู้เรื่อง เพราะไม่คุ้นชินกับวิธีการแบบเซน ท่านโพธิธรรมเลยหนีไปอยู่ในป่า สอนเน้นให้พระมีความเข้มแข็งทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีผลทำให้เกิดมวยจีนในวัด เกิดวัดเส้าหลิน ตำนาน ๑๘ อรหันต์ (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) ยุคที่ท่านโพธิธรรมเข้าไปในจีนเป็นยุคที่ประเพณีการสร้างวัดกำลังเฟื่องฟู ประชาชนบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุมาก สร้างโบสถ์หลังหนึ่งได้บุญเท่าไร สร้างพระพุทธรูปตามหน้าผา ได้บุญเท่าไร  ประชาชนคุ้นชินกับวิธีการแบบนี้  ท่านโพธิธรรมเข้าไปอยู่ในป่า นั่งกรรมฐานหันหน้าเข้าหาผนังถ้ำ กลายเป็นประเพณีสร้างพระพุทธรูปตามหน้าผาในจีน ถามว่า “ท่านโพธิธรรมนั่งกรรมฐานหันหน้าเข้าหาหน้าผา เพราะเหตุไร ชาวจีนจึงสร้างพระพุทธรูปตามหน้าผาโดยหันพระพักตร์ออก ? (ซึ่งไม่ตรงกับกิริยาของท่านโพธิธรรม)” สันนิษฐานว่า ชาวจีนโบราณคงอยากให้พระพุทธรูปหันหน้าออกมาโปรดประชาชนบ้าง สรุปว่า พระพุทธรูปตามหน้าผาก็มาจากประเพณีของเซน พระเซนนิยมนั่งกรรมฐานหันหน้าเข้าหาหน้าผา หันหลังออกไม่ให้มองอะไร

          เซนคือผลิตผลเมล็ดพันธุ์พืชแห่งอินเดีย ได้รับปุ๋ยคือเต๋ากับขงจื๊อในจีน แผ่มาถึงญี่ปุ่นก็ได้รับปุ๋ยจากวัฒนธรรมจากชินโต เซนถือเป็นทางเลือกสำหรับผู้แสวงหาการตรัสรู้โดยพึ่งตนเอง ซึ่งแตกต่างตรงกันข้ามกับสุขาวดีที่แสวงหาการตรัสรู้โดยพึ่งผู้อื่น                   

          เซน คือจุดหมายของผู้แสวงหาและผู้ต้องการเล่นกับสิ่งใหม่ๆ เป็นสิ่งที่สามารถตอบสนองความคิดฝันในเชิงพุทธปรัชญาได้ เป็นความคิดฝันทางอารมณ์ คือ ตอบสนองความคิดฝันเหล่านี้ได้  เซน คือ สิ่งที่สามารถตอบสนองคนที่อิ่มคัมภีร์ อิ่มคัมภีร์ถึงขั้น “นิพพิทา(เบื่อหน่าย)” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Fed up”

          เซน คือ บางสิ่งบางอย่างที่คนกำลังแสวงหาสิ่งใหม่ๆ อยากได้ แต่บอกไม่ได้ว่ามันคืออะไร พร้อมที่จะเติมเต็มช่องว่างภายในจิตใจ เพราะฉะนั้นตะวันตกจึงมีลักษณะเช่นนี้ ถูกสอนมาโดยหลักศรัทธาแบบทางตัน เวลาพูดถึงจุดหมายสูงสุดไปแล้วมันตัน มีพระเจ้ายืนตระหง่านขวางอยู่ เป็นทางตันเดินต่อไปไม่ได้ เหมือนกับว่าหนทางข้างหน้าต่อจากพระเจ้าไปเป็นหน้าผาหรือหุบเหว

          ศาสนาในตะวันตกทุกครั้งที่พูดบทสรุป ก็เจอพระเจ้ายืนตระหง่านอยู่แล้วไปต่อไม่ได้ ชาวตะวันตกหลายคนก็เลยหันหลังให้ศาสนาของตน พวกนี้ชอบคิด ชอบฝัน แล้วหาอะไรบางอย่างมาตอบสนองความคิดฝันของตนเอง ทางตะวันตกมีลักษณะอย่างนี้ มีความรู้สึกขาดพร่องในจิตใจ แล้วอยากจะหาอะไรมาเติมเต็มความขาดพร่องของตนเองนี้ ชาวตะวันตกเป็นพวกอิ่มทฤษฎี (Fed up) เพราะฉะนั้น เซน จึงตอบสนองได้ทั้งหมด  ในประเทศจีนมี ๔ สำนัก แต่ท้ายที่สุด ก็เหลือ ๒ สำนัก คือ ลินชิ(ญี่ปุ่น : รินไซ)และเซ้าทง(ญี่ปุ่น : โซโตะ) ต่อมารุ่งเรืองในญี่ปุ่น ทิ้งร่องรอยที่มาจากจีนอย่างสิ้นเชิง เซนในจีนกลายสภาพไปอยู่ในเต๋า

ที่มา ไปอ่านต่อที่นี่นะคะ

http://www.watpaknam.org/knowledge/view.php?id=32
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร