ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธเจ้า มีกี่ประเภท  (อ่าน 6275 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
พระพุทธเจ้า มีกี่ประเภท
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2011, 07:01:41 am »
0




พระพุทธเจ้า มีกี่ประเภท คะอยากทราบประเภท ของผู้ที่ปรารถนา เป็นพระโพธิสัตว์ด้วยคะ



ในพระไตรปิฎกจะแบ่งประเภทของพระพุทธเจ้าไว้ ดังนี้*

ปัญญาธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๒๐ อสงไขยกับอีก ๑๐๐๐๐๐ มหากัปป์ตั้งความปารถนาเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในใจ ๗ อสงไขย กล่าววาจาปารถนาเป็นพระพุทธเจ้า 9 อสงไขย นับเวลาตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก ๔ อสงไขยกัป กับอีก ๑๐๐๐๐๐ มหากัปป์*

ศรัทธาธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๔๐ อสงไขยกับอีก ๑๐๐๐๐๐ มหากัปป์ตั้งความปารถนาเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในใจ ๑๔ อสงไขย กล่าววาจาปารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ๑๘ อสงไขย นับเวลาตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก ๘ อสงไขยกัป กับอีก ๑๐๐๐๐๐ มหากัปป์*

วิริยะธิกพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ความเพียรเป็นตัวนำ ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๘๐ อสงไขยกับอีก ๑๐๐๐๐๐ มหากัปป์ตั้งความปารถนาเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในใจ ๒๘ อสงไขย กล่าววาจาปารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ๓๖ อสงไขย นับเวลาตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก ๑๖ อสงไขยกัป กับอีก ๑๐๐๐๐๐ มหากัปป์

ส่วนพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระปัญญาธิกพุทธเจ้า

**********************************************************

อนุพุทธ หมายถึง ผู้ได้ตรัสรู้ธรรมโดยอาศัยการสดับคำสอนจากพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติตามจนได้บรรลุ มิใช่ผู้ตรัสรู้ธรรมได้เองตามลำพังหากตรัสรู้ธรรมได้เองเรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้าอนุพุทธ ได้แก่พระสาวกของพระพุทธเจ้าที่เป็นพระอรหันต์ มีทั้งภิกษุและภิกษุณี เช่น พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระอานนท์ มหาปชาบดีโคตมีเถรี ปฎาจาราเถรี เป็นต้น

**********************************************************

พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ได้บำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยกำไรแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ ๔ ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นพระพุทธศาสนา และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ ( คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้ ) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ท่าน จะอุบัติขึ้นในช่วงพุทธันดร กล่าวคือ เป็นช่วงเวลาที่โลกว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ จึงไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้นพระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละองค์มีประวัติคล้ายกัน คือ เป็นมาจากกษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดี ในสมัยโบราณที่เบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติ ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่เขาคันธมาทน์กูฏ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจคุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี ๒ นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถพระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย".

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2011, 07:04:52 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระพุทธเจ้า มีกี่ประเภท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2011, 07:08:14 am »
0
นิยตโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่ได้รับพุทธทำนายแล้ว
อนิยตโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่ยังไม่ได้รับพุทธทำนายแล้ว

พระนิยตโพธิสัตว์นั้น ทุกครั้งที่ได้พบกับพระพุทธเจ้าองค์ต่อๆ มา
ก็จะได้รับพุทธพยากรณ์ซ้ำ ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล
แต่เฉพาะขณะที่ได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกที่เรียกว่าลัทยาเทศนั้น
พระโพธิสัตว์ผู้นั้นต้องสมบูรณ์พร้อมด้วยธรรมสโมธาน ๘ ประการ
จึงจะได้รับพุทธพยากรณ์เป็น พระนิยตโพธิสัตว์


"..ดังนั้น พระโพธิสัตว์ผู้ได้พยากรณ์ในสำนักพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์
ก็ทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรมมีทานบารมีเป็นต้น
ที่พระโพธิสัตว์ผู้รวบรวมธรรม ๘ ประการเหล่านี้ว่าอภินีหารย่อมสำเร็จได้
เพราะรวบรวมธรรม ๘ ประการ คือ
              ๑. มนุสสัตตะ เป็นมนุษย์
              ๒. ลิงคสัมปัตติ เป็นเพศบุรุษ
              ๓. เหตุ มีอุปนิสสยสมบัติบรรลุมรรคผลได้
              ๔. สัตถารทัสสนะ พบพระพุทธเจ้าขณะที่ยังทรงพระชนม์อยู่
              ๕. ปัพพัชชา บวชเป็นดาบสหรือภิกษุอยู่
              ๖. คุณสมบัติ ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕
              ๗. อธิการ อาจสละชีวิตแก่พระพุทธเจ้าได้
              ๘. ฉันทตา มีฉันทะ อุตสาหะ บำเพ็ญพุทธการกธรรม.  .."

ที่มา
อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์
๒๕. โคตมพุทธวงศ์
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.2&i=26



และเมื่อได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว
พระนิยตโพธิสัตว์จะไม่บังเกิดในอภัพฐานะ ๑๘ ประการอีกเลย คือ


"..พระโพธิสัตว์ผู้มีอภินิหารสำเร็จแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่ถึงอภัพฐานะ ๑๘ ประการ.

จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้น จำเดิมแต่นั้นย่อม
ไม่เป็นคนบอดแต่กำเนิด ๑
ไม่เป็นคนหนวกแต่กำเนิด ๑
ไม่เป็นคนบ้า ๑
ไม่เป็นคนใบ้ ๑
ไม่เป็นคนแคระ ๑
ไม่เกิดในชนชาติมิลักขะ ๑

ไม่เกิดในท้องของนางทาสี ๑
ไม่เป็นคนนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑
ไม่เป็นคนกลับเพศ ๑
ไม่ทำอนันตริยกรรมห้าอย่าง ๑
ไม่เป็นคนโรคเรื้อน ๑
อัตภาพสุดท้ายไม่เวียนมาในกำเนิดดิรัจฉาน ๑

ไม่มีอัตภาพใหญ่กว่าช้าง ๑
ไม่เกิดในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌามตัณหิกเปรต ๑
ไม่เกิดในจำพวกกาลกัญชิกาสูรทั้งหลาย ๑
ไม่เกิดในอเวจีนรก ๑
ไม่เกิดในโลกันตริกนรก ๑
ไม่เป็นมารในสวรรค์ชั้นกามาวจร ไม่เกิดในอสัญญีภพในรูปาวจรภูมิ
ไม่เกิดในภพสุทธาวาส ไม่เกิดในอันติมภพ ไม่ก้าวไปสู่จักรวาลอื่น ๑. ..."

ที่มา
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค
ขัคควิสาณสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=296&p=1
จากคุณ    : He-Who-Must-Not-Be-Named
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า มีกี่ประเภท
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2011, 01:03:31 pm »
0
กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตะโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการ คือ
            1. อุสสาโห     คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง
            2. อุมัตโต        คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม
            3. อวัตถานัง   คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน
            4. หิตจริยา      คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจริญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ


อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตะโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี 6 ประการ
            1. เนกขัม   พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา
            2. วิเวก       พอใจอยู่ในที่สงบ
            3. อโลภ      พอใจในการบริจาคทาน
            4. อโทส      พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา
            5. อโมห      พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา
            6. นิพพาน  พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง


ที่มาื http://board.palungjit.com/f13/เล่าเรื่องพระโพธิสัตว์อดีตพระชาติของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน-70495.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระพุทธเจ้า มีกี่ประเภท
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2011, 06:18:49 pm »
0
กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตะโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการ คือ
            1. อุสสาโห     คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง
            2. อุมัตโต        คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม
            3. อวัตถานัง   คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน
            4. หิตจริยา      คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจริญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ


อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตะโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี 6 ประการ
            1. เนกขัม   พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา
            2. วิเวก       พอใจอยู่ในที่สงบ
            3. อโลภ      พอใจในการบริจาคทาน
            4. อโทส      พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา
            5. อโมห      พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา
            6. นิพพาน  พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง


ที่มาื http://board.palungjit.com/f13/เล่าเรื่องพระโพธิสัตว์อดีตพระชาติของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน-70495.html


          
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา