ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าต้องการฝึกกรรมฐาน เพื่อเห็นกรรมของตนเอง ต้องฝึกกรรมฐานอะไรคะ  (อ่าน 8960 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Lux

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 113
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไม่อยากฝึก เพื่อนิพพาน แต่อยากฝึกเพื่อให้จิตมีความสามารถรู้กรรมตนเอง ควรจะเริ่มฝึกจากกรรมฐานอะไรคะ
โปรดแนะนำด้วยคะ เพราะเห็นคนอื่นเห็นกรรมได้ ล่วงรู้กรรมได้แล้วเป็นประโยชน์คะ

 :c017:
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกคนได้มีรอยยิ้ม มีความสุข แม้แบบชาวโลก
อยากให้ทุกคนไม่มีทุกข์ มีแต่สุข ในการภาวนา
อยากหนอ .... ก็ทุกข์หนอ ใช่หรือไม่จ๊ะ

fan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การเรียนกรรมฐาน เพื่อให้ได้สุขภาพ หรือ ได้ฤทธิ์นั้น เป็นการฝึกที่ผิดวิธี คะ

แต่ถึงแม้เราฝึกตามกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ โดยส่วนตัวก็เชื่อว่าน่าจะทำได้

ส่วนที่คุณพูดว่าต้องการนี้

 จัดเป็น ความสามารถพิเศษ คือ เจโตปริยญาณ / ทิพยจักษุ / ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ / อตีตังนาคตังสญาณ

เชียวนะคะ

  การฝึกแบบนี้ จะเอาไปทำอะไรหรือ คะ

  หรือจะเอาไปสแกนกรรม อย่างเขา ......


  เอาเป็นว่า อนุโมทนา ด้วยคะถ้าคุณต้องการอย่างนี้ ไม่อยากพูดกล่าวขัดใจคะ...

 :25:
บันทึกการเข้า

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ก็ดีนะครับ ถ้าฝึกสำเร็จ หลังไมค์ ที่ user ผมเลยนะครับ

จะให้ช่วย สแกนกรรม บ้างนะครับ

 รอนะครับ...


  :s_good:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ไม่อยากฝึก เพื่อนิพพาน แต่อยากฝึกเพื่อให้จิตมีความสามารถรู้กรรมตนเอง ควรจะเริ่มฝึกจากกรรมฐานอะไรคะ
โปรดแนะนำด้วยคะ เพราะเห็นคนอื่นเห็นกรรมได้ ล่วงรู้กรรมได้แล้วเป็นประโยชน์คะ

 :c017:


     รู้เห็นด้วยตัวตน      อย่าสัปดนสแกนกรรม
ใฝ่น้อมรู้หยั่งธรรม      อานาปานตามนี้เลย.


                                                             ธรรมธวัช.!
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ไม่อยากฝึก เพื่อนิพพาน แต่อยากฝึกเพื่อให้จิตมีความสามารถรู้กรรมตนเอง เพราะเห็นล่วงรู้กรรมได้แล้วเป็นประโยชน์คะ

หลับตาทำไม?


                                                                                                                        ชยสาโร ภิกฺขุ


"ความเห็นผิด ไม่ใช่อุปสรรคเดียวที่ควรระวัง ความอยากผิดก็อันตรายเหมือนกัน หลวงพ่อชาท่านสอนลูกศิษย์

ของท่านอยู่เสมอว่า อย่าปฏิบัติเพื่อเอาอะไร อย่าปฏิบัติเพื่อจะได้อะไร จงปฏิบัติเพื่อละ ปฏิบัติเพื่อปล่อย ถ้านั่ง

สมาธิคิดอยากได้นั่น อยากเห็นนี่ อยากมี อยากเป็น การทำสมาธิจะเศร้าหมอง แล้วจะไม่เป็นสมาธิพุทธ เพราะ

การทำสมาธิด้วยตัณหา ไม่ใช่แนวทางเพื่อพ้นทุกข์"




http://www.kanlayanatam.com/Myimage-index/chayasaro.htm
http://www.tairomdham.net/index.php?topic=5566.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2011, 05:23:18 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

sanrak

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เคยได้ยินมาว่า มีสองกรรมฐาน ที่จะสามารถ มีทิพยจักษุ ได้นะคะ
 คือ 1. อาโลกกสิณ 2.อานาปานสติ

  ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ ๆ ขอยืนยันนะคะ
 :86:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
๒. อัชฌาสัยเตวิชโช
    อัชฌาสัยเตวิชโช หมายถึงท่านที่มีอุดมคติในด้านวิชชาสาม คือทรงคุณสามประการ ในส่วนแห่งการปฏิบัติ ได้แก่คุณธรรมดังต่อไปนี้
      ๑. ปุเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติที่แล้วๆ มาได้
     ๒. จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้ว และเกิดมานี้ ตายแล้วไปไหน ก่อนเกิดมาจากไหน
     ๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวกิเลสให้สิ้นไป


     เมื่อพิจารณาตามคุณพิเศษสามประการนี้แล้ว แสดงให้เห็นว่าท่านที่มีอุดมคติในด้านเตวิชโชนี้ ท่านเป็นคน อยากรู้อยากเห็น เมื่อพบเห็นอะไรเข้าก็เป็นเหตุให้คิดนึกถึงสมุฏฐานที่เกิดว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดมาจากอะไร เดิมก่อน จะเป็นอย่างนั้น เป็นอะไรมาก่อน เช่นเห็นของที่มีวัตถุปกปิดก็อยากจะแก้วัตถุที่ปกปิดนั้นออก เพื่อสำรวจตรวจ ดูของภายใน เห็นของภายในว่าเป็นอะไรแล้ว ก็อยากจะรู้ต่อไปว่า ภายในของนั้นมีอะไรบ้าง ทำด้วยอะไร เมื่อรู้ แล้วก็อยากรู้ต่อไปว่า สิ่งนั้น ๆ เกิดมาได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น

     ท่านประเภทเตวิชโชนี้ จะให้ท่านทำตนเป็นคนหวังผลอย่างเดียว โดยไม่ให้พิสูจน์ค้นคว้าเลยนั้น ท่านประเภท นี้ทนไม่ไหว เพราะอัชฌาสัยไม่ชอบประเภทคลุมหน้าเดินโดยที่ไม่ได้พิสูจน์ต้นทางปลายทางเสียก่อน ถ้าต้องทำ แบบคลุมหน้าเดิน


อย่างท่านสุกขวิปัสสโกแล้วท่านก็ทนไม่ไหว รำคาญใจหยุดเอาเฉย ๆ คนประเภทนี้เคยพบมาในขณะสอนสมณธรรมมีจำนวนมาก ประเภทเตวิชโชนั้น ส่วนใหญ่มักชอบรู้ชอบเห็นพอให้วิปัสสนาล้วนเธอเข้า เธอก็บ่นอู้อี้ว่าไม่รู้ไม่ เห็นอะไรเลย ต่อเมื่อให้กรรมฐานประเภททิพยจักษุญาณ หรือมโนมยิทธิ เธอก็พอใจ ทำได้อย่างไม่เห็นแก่เหน็ด เหนื่อย จะยากลำบากก็ทนทำจนสำเร็จผล ทางที่ได้พิสูจน์มาเป็นอย่างนี้

แนวปฏิบัติสำหรับเตวิชโช
     ทราบแล้วว่า เตวิชโชมีอะไรบ้าง ขอนำแนวปฏิบัติมาเขียนไว้ เพื่อรู้แนวทาง หากท่านผู้อ่านประสงค์จะรู้หรือจะ นำไปปฏิบัติก็จะสะดวกในการค้นคว้า เตวิชโชหรือท่านผู้ทรงวิชชาสาม มีปฏิปทาในการปฏิบัติดังต่อไปนี้

     ๑. การรักษาศีลให้สะอาดหมดจด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด
     ๒. ฝึกสมาธิในกรรมฐานที่มีอภิญญาเป็นบาท คือกสิณกองใดกองหนึ่งที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดทิพยจักษุญาณ กสิณที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดทิพยจักษุญาณนั้นมีอยู่สามกองด้วยกัน คือ
     ๑. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
     ๒. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
     ๓. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว


     กสิณทั้งสามอย่างนี้ อย่างใดก็ตาม เป็นพื้นฐานให้ได้ทิพยจักษุญาณทั้งสิ้น แต่ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า ในบรรดากสิณทั้งสามอย่างนี้ อาโลกกสิณเป็นกสิณสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง ท่านว่าเจริญอาโลกกสินั่น แหละเป็นการดี

     วิธีเจริญอาโลกกสิณเพื่อทิพยจักษุญาณ
การสร้างทิพยจักษุญาณด้วยการเจริญอาโลกกสิณนั้น ท่านให้ ปฏิบัติดังนี้ ท่านให้เพ่งแสงสว่างที่ลอดมาทางช่องฝาหรือหลังคาให้กำหนดจิตจดจำภาพแสงสว่างนั้นไว้ให้จำได้ดี แล้วหลับตากำหนดนึกถึงภาพแสงสว่างที่มองเห็นนั้น ภาวนาในใจ พร้อมทั้งกำหนดนึกถึงภาพนั้นไปด้วย

ภาวนา ว่า "อาโลกกสิณัง" แปลว่า แสงสว่างกำหนดนึกไป ภาวนาไป ถ้าภาพแสงสว่างนั้นเลอะเลือนจากไป ก็ลืมตาดูใหม่ ทำอย่างนี้เรื่อยไป จนภาพนั้นติดตา ติดใจ นึกคิดขึ้นมาเมื่อไร ภาพนั้นก็ปรากฏแก่ใจตลอดเวลา ในขณะที่กำหนด จิตคิดเห็นภาพนั้น ระวังอารมณ์จิตจะซ่านออกภายนอก และเมื่อจิตเริ่มมีสมาธิ ภาพอื่น


มักเกิดขึ้นมาสอดแทรกภาพกสิณ เมื่อปรากฏว่ามีภาพอื่นสอดแทรกเข้ามาจงตัดทิ้งเสีย โดยไม่ยอมรับรู้รับทราบ กำหนดภาพเฉพาะภาพกสิณอย่างเดียว ภาพแทรกเมื่อเราไม่สนใจไยดีไม่ช้าก็ไม่มารบกวนอีก เมื่อภาพนั้นติดตา ติดใจจนเห็นได้ทุกขณะจิตที่ปรารถนาจะเห็นได้แล้ว และเป็นภาพหนาใหญ่จะกำหนดจิตให้ภาพนั้นเล็ก ใหญ่ได้ ตามความประสงค์ ให้สูงต่ำก็ได้ตามใจนึก เมื่อเป็นได้อย่างนั้นก็อย่าเพิ่งคิดว่าได้แล้ว ถึงแล้วจงกำหนดจิตจดจำ ไว้ตลอดวันตลอดเวลา

อย่าให้ภาพแสงสว่างนั้นคลาดจากจิต จงเป็นคนมีเวลา คืออย่าคิดว่าเวลานั้นเถอะเวลานี้ เถอะจึงค่อยกำหนด การเป็นคนไม่มีเวลา เพราะหาเวลาเหมาะไม่ได้นั้น ท่านว่าเป็นอภัพพบุคคลสำหรับการฝึก ญาณ คือเป็นคนหาความเจริญไม่ได้ ไม่มีทางสำหรับมรรคผล เท่าที่ตนปรารถนานั่นเอง ต้องมีจิตคิดนึกถึงภาพ กสิณตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ ไม่ยอมให้ภาพนั้นคลาดจากจิต ไม่ว่า กิน นอน นั่ง เดิน ยืน หรือทำกิจการงาน ต่อไปไม่ช้า ภาพกสิณก็จะค่อยคลายจากสีเดิมเปลี่ยนเป็นสีใสประกายพรึกน้อยๆ และค่อย ๆ ทวีความสดใสประกายมากขึ้น

ในที่สุดก็จะปรากฏเป็นสีประกายสวยสดงดงาม คล้ายดาวประกายพรึกดวงใหญ่ ตอนนี้ก็กำหนดใจให้ภาพนั้นเล็ก โต สูง ต่ำ ตามความต้องการ การกำหนดภาพเล็ก โต สูง ต่ำและเคลื่อนที่ไปมาอย่างนี้ จงพยายามทำให้คล่อง จะเป็นประโยชน์ตอนฝึกมโนมยิทธิ คือ ถอดจิตออกท่องเที่ยวมาก

เมื่อภาพปรากฏประจำจิตไม่คลาดเลื่อนได้รวด เร็ว เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์คล่องแคล่วว่องไวดีแล้ว ก็เริ่มฝึกทิพยจักษุญาณได้แล้ว เมื่อฝึกถึงตอนนี้ มีประโยชน์ ในการฝึกทิพยจักษุญาณ และฝึกมโนมยิทธิ คือถอดจิตออกท่องเที่ยว และมีผลในญาณต่างๆ ที่เป็นบริวารของ ทิพยจักษุญาณทั้งหมด เช่น

     ๑. ได้จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้วไปเกิด ณ ที่ใด ที่มาเกิดนี้มาจากไหน
     ๒. เจโตปริยญาณ รู้อารมณ์จิตของคนและสัตว์
     ๓. ปุเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติที่เกิดมาแล้วในกาลก่อนได้
     ๔. อตีตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอดีตได้
     ๕. อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในกาลข้างหน้าต่อไปได้
     ๖. ปัจจุปปันนังสญาณ รู้เหตุปัจจุบันว่า ขณะนี้อะไรเป็นอะไรได้
     ๗. ยถากัมมุตาญาณ รู้ผลกรรมของสัตว์ บุคคล เทวดา และพรหมได้ว่าเขามีสุขมีทุกข์เพราะผลกรรมอะไรเป็นเหตุ


การฝึกกสิณจนถึงระดับดีมีผลมากอย่างนี้ ขอนักปฏิบัติจงอย่าท้อถอย สำหรับวันเวลาหรือไม่นานตามที่ท่านคิด หรอก จงอย่าเข้าใจว่าต้องใช้เวลาแรมปี คนว่าง่ายสอนง่ายปฏิบัติตามนัยพระพุทธเจ้า สั่งสอนแล้ว ไม่นานเลย นับ แต่อย่างเลวจัดๆ ก็สามเดือน เป็นอย่างเลวมาก อย่างดีมากไม่เกินเจ็ดวันเป็นอย่างช้า ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะท่านผู้ นั้นเคยได้ทิพยจักษุญาณมาในชาติก่อนๆ ก็ได้

เพราะท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรรคว่า "ท่านที่เคยได้ทิพยจักษุญาณ มาในชาติก่อนๆ แล้วนั้น พอเห็นแสงสว่างจากช่องฝาหรือหลังคา ก็ได้ทิพยจักษุญาณทันที" เคยพบมาหลายคน เหมือนกัน แม้แต่มโนมยิทธิซึ่งเป็นของยากกว่าหลายร้อยรายที่พอฝึกเดี๋ยวนั้น ไม่ทันถึงชั่วโมงเธอก็ได้เลย ทำเอา ครูอายเสียเกือบแย่เพราะครูเองก็ย่ำต๊อกมาแรมเดือน แรมปี กว่าจะพบดีเอาความรู้นี้มาสอนได้ก็ต้องบุกป่าบุก โคลน ขึ้นเขาลำเนาไม้เสียเกือบแย่ แต่ศิษย์คว้าปับได้บุปอย่างนี้ ครูจะไม่อาย แล้วจะไปรออายกันเมื่อไร แต่ก็ภูมิใจ อยู่นิดหนึ่งว่า ถึงแม้ครูจะทึบ ก็ยังมีโอกาสมีศิษย์ฉลาดพออวดกับเขาได้

     กำหนดภาพถอนภาพ เมื่อรู้อานิสงส์อาโลกกสิณแล้ว ก็จะได้แนะวิธีใช้ฌานจากฌานในกสิณต่อไป การเห็นภาพ เป็นประกายและรักษาภาพไว้ได้นั้นเป็นฌานต้องการจะดูนรกสวรรค์ พรหมโลกหรืออะไรที่ไหน จงทำดังนี้ กำหนด จิตจับภาพกสิณตามที่กล่าวมาแล้วให้มั่นคง ถ้าอยากดูนรก ก็กำหนดจิตลงต่ำแล้วอธิฐานว่าขอภาพนี้จงหายไป ภาพนรกจงปรากฏขึ้นมาแทน เท่านี้ภาพนรกก็จะปรากฏ อยากดูสวรรค์กำหนดจิตให้สูงขึ้น แล้วคิดว่า ขอภาพกสิณ จงหายไป ภาพสวรรค์จงปรากฏแทน ภาพพรหม หรืออย่างอื่นก็ทำเหมือนกัน

ถ้าฝึกกสิณคล่องแล้วไม่มีอะไรอธิบาย อีก เพราะภาพอื่นที่จะเห็นก็เพราะเห็นภาพกสิณก่อน แล้วกำหนดจิตให้ภาพกสิณหายไป เอาภาพใหม่มาแทน การ เห็นก็เห็นทางใจเช่นเดียวกับภาพกสิณ แต่ชำนาญแล้วก็เห็นชัดเหมือนเห็นด้วยตา เล่นให้คล่อง จนพอคิดว่าจะรู้ ก็รู้ได้ทันทีทันใด ไม่ว่าตื่นนอนใหม่ กำลังง่วงจะนอน ร้อน หนาว ปวด เมื่อย หิว เจ็บไข้ได้ป่วยทำได้ทุกเวลาอย่างนี้ ก็ชื่อว่าท่านได้กสิณกองนี้แล้วและได้ทิพยจักษุญาณแล้ว

เมื่อได้ทิพยจักษุญาณเสียอย่างเดียว ญาณต่าง ๆ ที่ กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ไม่มีอะไรจะต้องทำ ได้ไปพร้อมๆ กัน เว้นไว้แต่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ท่านว่าต้องมีแบบ ฝึกต่างหาก แต่ตามผลปฏิบัติพอได้ทิพยจักษุญาณเต็มขนาดแล้ว ก็เห็นระลึกชาติได้กันเป็นแถว ใครจะระลึกได้ มาก ได้น้อยเป็นเรื่องของความขยันและขี้เกียจ ใครขยันมากก็ระลึกได้มาก ขยันน้อยก็ระลึกได้น้อย ขยันมากคล่องมาก ขยันน้อยคล่องน้อย ไหน ๆ ก็พูดมาถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณแล้ว ขอนำวิธีฝึก ปุพเพนิวาสานุสสติญาณมากล่าวต่อกันไว้เสียเลย

      ฝึกปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
การเจริญปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือฝึกวิชาการระลึกชาตินั้น ท่านให้ทำดัง ต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน ๔ ในกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องเป็นฌานในกสิณอย่างอื่นไม่ได้ นี่ว่าเฉพาะคนเริ่มฝึก ใหม่ ไม่เคยได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณมาในชาติก่อนๆ

เมื่อเข้าฌาน ๔ แล้ว ออกจากฌาน ๔ มาพักอารมณ์อยู่ เพียงอุปจารฌาน เรื่องฌานและอุปจารฌานนี้ขอให้ทำความเข้าใจเอาตอนที่ว่าด้วยฌานจะเขียนต่อไปข้างหน้า หากประสงค์จะทราบก็ขอให้เปิดต่อไป


ในข้อที่ว่าด้วยฌาน เมื่อพักจิตอยู่เพียงอุปจารฌานแล้ว ก็ค่อย ๆ คิดย้อน ถอยหลังถึงเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้วในอดีตตั้งแต่เมื่อตอนสายของวัน ถอยไปตามลำดับถึงวันก่อนๆ เดือนก่อนๆ ปี ก่อนๆและชาติก่อนๆ ตามลำดับ ถ้าจิตฟุ้งซ่านก็พักคิดเข้าฌานใหม่ พอจิตสบายก็ถอยออกมา แล้วถอยไปตามที่ กล่าวแล้ว ไม่นานก็จะค่อยๆ รู้ค่อยๆ เห็น การรู้การเห็นเป็นการรู้เห็นด้วยกำลังฌานอันปรากฏเป็นรูปของฌาน คือ

รู้เห็นทางใจอย่างเดียวกับทิพยจักษุญาณเห็นคล้ายดูภาพยนต์ เห็นภาพพร้อมกับรู้เรื่องราวต่างๆ พร้อมกันไป รู้ชื่อ รู้อาการ รู้ความเป็นมาทุกอย่าง เป็นการสร้างความเพลิดเพลินแก่นักปฏิบัติ ทำให้เกิดความรื่นเริงหรรษา มีความ สบายใจเป็นพิเศษ ดีกว่ามั่วสุมกับคนมากที่เต็มไปด้วยกิเลสและตัณหา มีประโยชน์ในการเจริญวิปัสสนาญาณ มาก เพราะรู้แจ้งเห็นจริงว่า การเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด หาที่สุดมิได้นี้เป็นความจริง การเกิดแต่ละครั้งก็เต็มไป ด้วยความทุกข์ทุรนทุรายไม่มีอะไรเป็นสุข

บางคราวเกิดในตระกูลยากจน บางคราวเกิดในตระกูลเศรษฐี บางคราว เกิดในตระกูลกษัตริย์ ทรงอำนาจวาสนา บางคราวเป็นเทวดา บางคราวเป็นพรหม บางคราวเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน รวมความว่าเราเป็นมาแล้วทุกอย่าง ไม่ว่าเกิดเป็นอะไรก็เต็มไปด้วยความทุกข์ หาการ พ้นทุกข์เพราะการเกิดไม่ได้เลย

เมื่อเห็นทุกข์ในการเกิดก็เป็นการเห็นอริยสัจ ๔ จัดว่าเป็นองค์วิปัสสนาญาณ อันดับ สูง การเห็นด้วยปัญญาญาณจัดเข้าในประเภทรู้แจ้งเห็นจริง ไม่ใช่เห็นแบบวิปัสสนึก คือ การคาดคะเนเดาเอาเอง เดาผิดบ้างถูกบ้างตามอารมณ์คิดได้บ้าง หลง ๆ ลืมๆ บ้าง เป็นวิปัสสนึกที่ให้ผลช้าอาจจะเข้าใจในอริยสัจได้แต่ก็นาน มากและทุลักทุเลเกินสมควร ที่เหลวเสียนั่นแหละมาก ส่วนที่ได้เป็นมรรคผลมีจำนวนน้อยเต็มทน

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ผ่อนคลายมานะ นอกจากจะทราบประวัติของตนเองในอดีตชาติแล้ว ยังช่วยทำ ให้มีปัญญาญาณรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจได้โดยง่าย ยิ่งกว่านั้นยังคลายมานะ ความถือตนถือตัว อันเป็นกิเลสตัว สำคัญ ที่แม้พระอนาคามีก็ยังตัดไม่ได้ จะตัดได้ก็ต่อเมื่อถึงอรหัตตผลนั่นแหละ แต่เมื่อท่านได้ญาณนี้แล้ว ถ้าท่าน คิดรังเกียจใคร คนหรือสัตว์ รังเกียจในความโสโครก หรือฐานะ ชาติตระกูล ท่านก็ถอยหลังชาติเข้าไปหาว่า ชาติใด เราเคยเป็นอย่างนี้บ้าง ท่านจะพบว่าท่านเองเคยครองตำแหน่งนี้มาก่อน

เมื่อพบแล้ว จงเตือนใจตนเองว่า เมื่อเราเป็น อย่างเขามาก่อน เขากับเราก็มีสภาพเสมอกัน เราเป็นอย่างนั้นมาก่อน เขากับเรามีสภาพเสมอกัน เราเป็นอย่างนั้น มาก่อนเขาก็ชื่อว่าเราเป็นต้นตระกูล สภาพการณ์อย่างนั้น ที่เขาเป็นอย่างนั้น เพราะเขารับมรดกตกทอดมาจากเรา เราจะมารังเกียจทายาทของเราด้วยเรื่องอะไร ถ้าเรารังเกียจทายาท ก็ควรจะรังเกียจตัวเองให้มากกว่าเพราะทราบ แล้วว่าเป็นอย่างนั้นไม่ดี เป็นที่น่ารังเกียจ เราทำไมจึงไม่ทำลายกรรมนั้นเสีย กลับปล่อยให้เป็นมรดกตกทอดมาให้

บรรดาอนุชนรุ่นหลังต้องรับกรรมต่อ ๆ กันมา เป็นความชั่วร้ายเลวทรามของเราต่างหาก ไม่ใช่เขาเลว คิดตัดใจว่า เราจะไม่ถือเพศ ชาติตระกูล ฐานะเป็นสำคัญ ใครเป็นอย่างไรก็มีสภาพเสมอกันโดยเกิดแล้วตายเหมือนกันหมด ฐานะความเป็นอยู่ ชาติ ตระกูล ในปัจจุบัน เป็นเสมือนความฝันเลื่อนลอย ไม่มีอะไรเป็นของจริง ในที่สุดก็ต้องตก เป็นเหยื่อของมัจจุราชทั้งสิ้น คิดตัดอย่างนี้ จะบรรเทามานะ ความถือทะนงตัวเสียได้ ความสุขสงบใจก็จะมีตลอด วันคืน จะก้าวสู่อรหัตตผลได้อย่างไม่ยากนัก

     มโนมยิทธิ
มโนมยิทธิแปลว่ามีฤทธิ์ทางใจ ในที่นี้ท่านหมายเอาการถอดจิตออกจากร่างแล้วท่องเที่ยวไปในภพ ต่างๆ ความจริงมโนมยิทธินี้ ท่านจัดไว้ในส่วนอภิญญา แต่เพราะท่านที่ทรงวิชชาสาม ก็สามารถจะทำได้ จึงขอนำ มากล่าวไว้ในวิชชาสาม

     เมื่อท่านทรงฌาน ๔ ได้ในกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็เป็นอันว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะทรงมโนมยิทธิได้ เช่นเดียวกับ ได้ทิพยจักษุญาณแล้ว ก็มีสิทธิ์ได้ญาณอีกเจ็ดอย่าง ได้ตามที่กล่าวมาแล้วในข้อว่าด้วยทิพยจักษุญาณท่านประสงค์ จะท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ จะเป็นภพใดก็ตาม นรก สวรรค์ พรหม นิพพาน ดินแดนในมนุษยโลกทุกหนทุกแห่ง ดาวพระอังคาร พระจันทร์ พระศุกร์ ไม่ว่าบ้านใครเมืองใคร เมืองฝรั่ง เมืองแขก เมืองเจ็ก เมืองญวน ท่านไปได้ทุกหนทุกแห่ง

โดยไม่ต้องเสียเวลารอคอยใคร ไม่ต้องยืมจมูกคนขับเคลื่อน หรือเจ้านายเหนือหัวคนใด ที่จะคอยกำหนดเวลาออกเวลาถึงให้ ไม่ต้องเสียค่าพาหนะมากมายอะไร เพียงกินข้าว เสียให้อิ่ม เพียงอิ่มเดียว ซื้อตั๋วด้วยธูปสามดอก เทียนหนึ่งเล่ม ดอกไม้สามดอก ถ้าหาได้ หากหาไม่ได้ท่านก็ให้ไป ฟรี ไม่ต้องเสียอะไร เพราะท่านเอาเฉพาะที่หาได้ ถ้าหาไม่ได้ ท่านอนุญาตใช้เวลาไม่ถึงนาทีก็ไปถึงจุดหมายปลาย ทางได้

จะเข้าบ้านสถานทำงาน ห้องนอนใครก็ตาม เข้าได้ตามความประสงค์ ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของบ้าน สำรวจ ความลับได้ดีมากใครทำอะไร ซุกซ่อนอะไรไว้ที่ไหนมีเมียน้อยเมียเก็บไว้ที่ไหน ก็สำรวจได้หมด ไม่มีทางปกปิด วิธี ทำเพื่อไปทำอย่างนี้

     ท่านให้เข้าฌาน ๔ ทำจิตให้โปร่งสว่างไสวดีแล้ว กำหนดจิตว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรง ก็จะเห็นว่าร่างกายเป็น โพรงใหญ่ ต่อแต่นั้นกำหนดจิตว่า ขอร่างอีกร่างหนึ่งจงปรากฏขึ้นภายในกายนี้ กายอีกกายหนึ่งก็จะปรากฏขึ้น ต่อไป ก็ค่อยบังคับกายนั้น ให้เคลื่อนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย แม้กระทั่งตับไตไส้ปอดลำไส้ทุกส่วน เส้นเลือดทุกเส้น ประสาททุกส่วน

บังคับให้กายนั้นเดินไปตรวจให้ถ้วนทั้งร่างกายจะเห็นว่าแม้เส้นเลือดฝอยเส้นเล็กๆ ร่างนั้นก็เดินไป ได้อย่างสบาย จะเห็นเส้นเลือดนั้นเป็นเสมือนถนนสายใหญ่ เดินได้สะดวก เห็นร่างกายนี้เป็นโพรงใหญ่คล้ายเรือ หรือถ้ำขนาดใหญ่เมื่อท่องเที่ยวในร่างกายจนชำนาญแล้ว ขณะท่องเที่ยวในร่างกาย อย่าหาความชำนาญ อย่างเดียว ควรหาความรู้ไปด้วย รู้สภาพของอวัยวะ และรู้สภาพความสกปรกโสมมในร่างกาย จดจำสภาพเมื่อ ปกติไว้

พอป่วยไข้ไม่สบายตรวจร่างกายภายในได้ว่า มีอะไรชำรุดหรือผิดปกติบ้าง เห็นแจ้งเห็นชัด เป็นแผลหรือ ชอกช้ำ รู้ชัดเจนไม่แพ้เอ็กซเรย์เลยมีประโยชน์ในทางตรวจร่างกายด้วย เมื่อชำนาญการตรวจแล้ว ก็กำหนดจิต ว่าจะไปที่ใด กำหนดจิตว่าเราจะไปที่นั้น พุ่งกายออกไปก็จะถึงถิ่นที่ประสงค์ทันที ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งวินาที เมื่อถึง แล้ว จิตจะบอกเองว่าสถานที่นั้นเป็นเมืองอะไร ใครบ้างที่พบ ไม่ต้องมีคนบอก เพราะสภาพของจิตที่เป็นทิพย์ กิเลสไม่ได้หุ้มห่อไป จึงรู้อะไรได้ตามความเป็นจริงเสมอ โดยไม่ต้องอาศัยใครบอก


     มโนมยิทธินี้ ควรสนใจทำให้คล่อง เพียงกำหนดจิตคิดว่า เราจะไปละ เพียงเท่านี้ก็ไปได้ทันที ทำได้ทุกขณะ เวลา เดิน ยืน นอน นั่งในท่าปกติ ทำงาน กำลังพูด รับประทาน

อาหาร เวลาที่ควรฝึกให้ชำนาญมากก็คือ เวลาป่วย ขณะที่ร่างกายมีทุกขเวทนามาก ตอนนั้นสำคัญมาก ยกจิต ออกไปเสีย ปล่อยไว้แต่ร่างกายเวทนาจะได้ไม่รบกวน ที่ใดเป็นแดนใหม่ สวรรค์ หรือพรหม ไปอยู่ประจำที่นั้น ยามปกติควรไปอยู่พักอารมณ์เป็นประจำ ยามป่วยไปอยู่เป็นปกติ หมายความว่า บอกกับคนพยาบาลว่าเวลาเท่า นั้นถึงเท่านั้น ฉันจะพักผ่อน อย่าให้ใครมากวน แล้วก็เข้าฌาน ๔ ไปสถานที่อยู่ตามกำลังกุศลที่ทำไว้

ถ้าได้วิมุตติ ญาณทัสสนะก็ไปนิพพานเลย นิพพานอยู่ที่ไหน ท่านที่ถึงวิมุตติญาณทัสสนะเท่านั้นที่จะบอกได้ ท่านที่ยังไม่ถึงงง ไปพลางก่อน ขืนบอกไปท่านก็ไม่เชื่อไม่บอกดีกว่า เอาไว้รู้เองเมื่อท่านถึง ผู้เขียนก็งงเหมือนกัน ท่านว่ามาอย่างนี้ ก็เขียนตามท่านไป เมื่อได้แล้วถึงแล้วก็รู้เอง ผู้เขียนเองก็เหมือนกัน เขียนไปเขียนมาก็ชักอยากรู้นักว่านิพพานอยู่ ที่ไหน ประโยชน์ของมโนมยิทธิได้กล่าวมาโดยย่อ พอสมควรแล้ว

มโนมยิทธิ ตามที่กล่าวมานี้เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไป มีอีกแบบหนึ่ง เรียนมาจากท่านอาจารย์สุข บ้านคลองแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ของท่านแปลก ได้ผลเร็วเกินคาด แบบปกติที่กล่าวมาแล้วนั้น กว่าจะชำนาญในกสิณก็เหงือกบวม มีมากรายที่ไม่ได้ปล่อยล่อง ลอยไปเลยคือเลิกเลยมีมาก บางรายทำไม่สำเร็จ เลยกลายเป็นศัตรูพระศาสนาไป ไม่เชื่อผลปฏิบัติแถมค้านเอา เสียอีกด้วย

น่าสงสารท่านเหล่านั้นแต่ก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไรได้ พอได้ของท่านอาจารย์สุขมา ก็รู้สึกว่ามโนมยิทธิเป็น ของง่ายมาก หลายรายพอเริ่มฝึกก็ท่องเที่ยวได้เลย ไม่ข้ามวัน ที่ช้าหน่อยก็ไม่กี่วัน แต่ที่ไม่ได้เลยก็มี เป็นเพราะอะไร ไม่ขอวิจารณ์ บอกไว้แต่เพียงว่า ถ้ารู้จักคุมอารมณ์แล้วไม่นานเลยไปได้และแจ่มใสดีกว่าวิธีปกติธรรมดา แบบของ ท่านมีดังนี้ ใครอยากได้ก็ขอมอบให้เลย ใกล้ตายแล้วไม่หวง

      มโนมยิทธิ แบบอาจารย์สุข
แบบนี้ใครเป็นคนคิดไม่ทราบ ท่านอาจารย์ก็บอกว่า เรียนต่อกันมาหลายรุ่นแล้ว เดิมเป็นใครคิดไม่ทราบ แบบของท่านมีดังนี้

     ๑.ในระยะต้น ท่านเขียนหนังสือลงบนกระดาษที่พับเป็นสามเหลี่ยมเขียนว่า "นะมะพะทะ" สอนคาถาภาวนา ให้ ศิษย์ภาวนาว่า "นะมะพะทะ" เหมือนหนังสือที่เขียนบนกระดาษ แล้วให้ศิษย์เอากระดาษปิดหน้า จุดธูปสามดอก เสียบลงบนกระดาษ ศิษย์ภาวนาว่า นะมะพะทะ ตลอดไป


จนกว่าจะมีอาการสั่น อาจารย์หยิบกระดาษออก ถาม ศิษย์ว่าสว่างไหม ? ถ้าศิษย์บอกว่ามืด ท่านก็เอากระดาษสะอาดมาจุดไฟ แกว่งที่หน้าศิษย์ใช้คาถาว่า "นะโมพุทธายะ ขอแสงสว่างจงปรากฏแก่ศิษย์" ท่านแกว่งไฟ

ประเดี๋ยวเดียวศิษย์ก็บอกว่าสว่าง ท่านถามว่า จะไปสวรรค์หรือนรก ศิษย์บอกตามความพอใจ สวรรค์ หรือนรกก็ ได้ตามต้องการ ท่านบอกว่าไปได้ เท่านั้นศิษย์ก็ไปได้ตามประสงค์ไปถึงไหนถามได้ บอกมาเรื่อยๆว่า ถึงไหน พบ ใคร มีรูปร่างอย่างไร แต่ห้ามถูกตัว ลองไปสอบดูแล้ว เห็นเป็นของจริง ให้ไปบ้านเมืองไหน ประเทศไหนก็ได้บอกได้ ถูกหมด แม้แต่สถานที่เธอไม่เคยไป

เมื่อไปถึงแล้ว ถามว่ามีอะไรบ้างเธอตอบถูกหมด บอกให้ไปต่างประเทศที่เคย รู้จัก เธอไปถึงแล้วก็บอกถูก เป็นของแปลกมาก ได้ขอเรียนมาสอนศิษย์ได้ผลเกินคาด เป็นของเจริญศรัทธาดี และ ส่งเสริมศรัทธาผู้นั่งรับฟังด้วย ตอนแรกจะมีอาการสั่น และออกท่าทางเมื่อจิตตกไป แต่พอสมาธิเข้าจุดอิ่มก็นั่งเงียบ สงัดแบบธรรมดาแต่แจ่มใสมาก รวดเร็วกว่าแบบธรรมดามาก

     ๒. กระดาษปิดหน้า ถ้าศิษย์คนใดท่องเที่ยวได้แล้ว ต่อไปไม่ต้องปิดอีก ใช้เฉพาะเวลาที่ยังไปไม่ได้เท่านั้น
     ๓. เครื่องบูชาครูมี ดอกไม้สามดอก เอาสามสี เทียนหนักบาท ๑ เล่ม ธูปสามดอก เงิน ๑ สลึง สามอย่างนี้ขาดไม่ ได้ เงินต้องซื้อของถวายพระ เอาใช้เองไม่ได้
     ๔. ก่อนที่ศิษย์จะเริ่มภาวนา ครูต้องทำน้ำมนต์ก่อน น้ำมนต์ทำด้วย อิติปิโส ฯลฯ ทั้งบท พรมศิษย์เมื่อเริ่มทำ และ ตอนเลิกทำ ท่านว่ากันอารมณ์ฟั่นเฟือนดีมาก


     คนที่ทำเป็นใครก็ได้ บางรายเป็นคนทำงานหนัก พอทิ้งจอบเสียมก็มาทำเลยเห็นท่องเที่ยวกันได้ไปเป็นคณะก็ได้ เหมือนเที่ยวธรรมดา ออกมาแล้วพูดเหมือนกันหมด น่าแปลก และน่าดีใจที่สมัยนี้ยังมีท่านผู้ทรงมโนมยิทธิอภิญญา อยู่ คิดว่าจะสูญไปเสียหมดแล้ว

    วิธีใช้ญาณต่างๆ
เมื่อเจริญฌานในกสิณจนถึงอุปจารฌานแล้ว ก็เริ่มสร้างทิพยจักษุญาณได้ เพราะทิพยจักษุ ญาณนั้น เริ่มมีผลตั้งแต่จิตเข้าสู่อุปจารฌาน มีผลในการรู้บ้างพอสมควรเช่นรู้สวรรค์นรก และเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ บ้าง ไม่ถึงกับรู้ตายรู้เกิด คือตายแล้วไปเกิดที่ใด ผู้ที่มาเกิดนั้นมาจากไหนรู้เหตุการณ์เพียงผิวเผินกว่านั้น

เช่น รู้โรค ว่าเป็นโรคอะไร หายได้ด้วยวิธีใด คนนี้จะมีเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ประการใด รู้เหตุในอดีตและอนาคตได้บ้างพอสม ควร รู้สวรรค์ นรก ได้บ้าง แต่ไม่แจ่มใสนัก พูดจากับเทวดาและพรหมได้บ้างคำสองคำ ภาพเทวดาและพรหมก็หาย ไป ภาพที่เห็นก็ไม่เยืนเดินได้ชั่วขณะก็ล้มต้องลุกๆ เดินๆ อยู่อย่างนั้น กว่าจะเดินถึงที่หมายก็ต้องล้มลุกบ่อยๆ ทิพยจักษุญาณระดับ อุปจารฌานก็เหมือนอย่างนั้น การเห็นก็ไม่ชัดเจนแจ่มใส ยังเห็นไม่เต็มตัว เห็นบนไม่เห็นล่าง เห็นหน้าไม่เห็นขา อย่างนี้เป็นต้น

ต่อเมื่อได้สมาธิที่ค่อยๆ ฝึกฝนไปนั้นเข้าถึงฌาน ๔ และเข้าฌานออกฌานชำนิชำนาญดีแล้ว ความ ตั้งมั่นมีมาก ดำรงอยู่ได้นานตามความต้องการ ทิพยจักษุญาณก็มีสภาพเข้าเกณฑ์สมบูรณ์ใช้งานได้สะดวก เห็น ภาพเต็มพูดกันได้ตลอดเรื่อง รู้ละเอียดจนถึงผลของการตายการเกิด รู้เหตุรู้ผลครบถ้วน ตอนชำนาญในฌาน ๔ นี้ ท่านเรียกว่า จุตูปปาตญาณ ความจริงก็ทิพยจักษุญาณนั่นเอง แต่เป็นทิพยจักษุญาณที่มีฌานเต็มขั้น ทิพยจักษุ ญาณ ขั้นฌานโลกีย์นี้ แม้จะเป็นญาณที่มีฌานเต็มขั้นก็ตาม

การรู้การเห็นจะให้ชัดเจนแจ่มใสคล้ายกลางวันนั้น ไม่ได้ อย่างดีก็มองเห็นได้มัวๆ คล้ายเห็นภาพเวลาพระอาทิตย์ลับแล้วเป็นเวลาใกล้ค่ำ เห็นภาพดำๆ พอรู้ได้ว่าอะไร เป็นอะไร จะเห็นชัดเจนตามสมควรได้ต่อเมื่อเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ ท่านเปรียบการเห็นด้วยอำนาจทิพยจักษุ ญาณนั้นไว้ดังนี้

     ๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นได้คล้ายดูภาพในเวลากลางวัน ที่มีอากาศแจ่มใส
     ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า เห็นได้คล้ายกลางคืน ที่มีพระจันทร์เต็มดวง ไม่มีเมฆหมอกปิดบัง
     ๓. พระอัครสาวกซ้ายขวา เห็นได้คล้ายคนจุดคบเพลิง
     ๔. พระสาวกปกติ เห็นได้คล้ายตนจุดประทีป คือตะเกียงดวงใหญ่ที่มีแสงน้อยกว่าคบเพลิง
     ๕. พระอริยะเบื้องต่ำกว่าพระอรหันต์ มีการเห็นได้คล้ายแสงสว่างจากแสงเทียน
     ๖. ท่านที่ได้ฌานโลกีย์ เห็นได้คล้ายแสงสลัวในเวลาพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า

     ระดับการเห็นไม่สม่ำเสมอกันอย่างนี้ เพราะอาศัยความหมดจดและกำลังบารมีไม่เสมอกันนำมากล่าวไว้เพื่อ ทราบ เมื่อท่านได้และถึงแล้วจะได้ไม่สงสัย มีนักปฏิบัติส่วนใหญ่ที่ทำได้แล้ว และเกิดเห็นไม่ชัดได้มาถามบ่อยๆ จึง เขียนไว้เพื่อรู้

     การใช้ญาณ ได้กล่าวแล้วว่า ญาณต่างๆ มีความสว่างตามกำลังของฌานหรือสมาธิ ฉะนั้นเมื่อจะใช้ญาณให้ เป็นประโยชน์ ก่อนอื่นถ้าได้ทิพยจักษุญาณเบื้องต้นก็ต้องเพ่งรูปกสิณตามกำลังของสมาธิก่อน เพราะเห็นภาพ กสิณชัดเจนเท่าใด ภาพที่ต้องการจะเห็นก็เห็นได้เท่าภาพกสิณที่เห็นเมื่อเพ่งภาพกสิณจนเป็นที่พอใจแล้ว
ห็นนาน ประเดี๋ยวจึงอธิษฐานให้ภาพกสิณหายไป ขอภาพที่ต้องการจงปรากฏแทนภาพที่ต้องการก็จะปรากฏแทนเห็นได้เท่าภาพกสิณ


ได้ฌาน ๔
     การใช้ญาณเมื่อชำนาญในฌาน ๔ แล้ว ท่านให้เข้าฌาน ๔ ให้เต็มขนาดของฌานก่อนจนจิตสงัดเป็นอุเบกขาดีแล้ว ค่อยๆ คลายจิตออกมาสู่อุปจารสมาธิ แล้วกำหนดจิตอธิษฐานว่า ขอภาพที่ต้องการจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจากฌาน ๔ กำหนดรู้ ภาพที่ต้องการจะปรากฏแก่จิตคล้ายดูภาพยนต์ พร้อมทั้งรู้เรื่องไปตลอดจะใช้ญาณอะไร ก็ตาม ทำเหมือนกันหมดทุกญาณ

จงพยายามฝึกฝนให้คล่องแคล่วว่องไว ต้องการเมื่อไรรู้ได้ทันที การรู้จะคล่องหรือ ฝืดขึ้นอยู่กับฌาน ถ้าเข้าฌานออกฌานคล่องการกำหนดก็รู้ก็คล่อง ทั้งนี้ต้องหมั่นฝึกหมั่นเล่นทุกวันวันละหลายๆ ครั้ง เล่นทั้งวันทั้งคืนยิ่งดี ความเพลิดเพลินจะเกิดมีขึ้นแก่อารมณ์ ความรู้ความฉลาดจะปรากฏ ปัญญารู้แจ้งเห็นจริง

ในส่วนแห่งวิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในการเกิดจะปรากฏแก่จิตอย่าง ถอนไม่ออก ความตั้งมั่นในอันที่จะไปสู่พระนิพพานจะเกิดแก่จิตอย่างชนิดไม่ต้องระวังว่าจิตจะคลายจากพระนิพพาน ผลของญาณแต่ละญาณที่จัดว่าเป็นคุณส่งเสริมให้เกิดปัญญาญาณนั้นจะนำมากล่าวไว้โดยย่อพอเป็นแนวคิด

๑. จุตูปปาตญาณ
     ญาณนี้ เมื่อเล่นบ่อยๆ ดูว่าสัตว์ที่เกิดมานี้มาจากไหน สัตว์ที่ตายไปแล้วไปเกิดที่ไหน รู้แล้วอาศัยยถากัมมุตา ญาณสนับสนุนให้รู้ผลของกรรม ญาณนั้นใช้ในคราวเดียวกันได้คราวละหลายๆ ญาณ เพราะก็เป็นผลของทิพย จักษุญาณเหมือนกัน เมื่อรู้ว่าบางรายมาจากเทวดาบ้าง มาจากพรหมบ้าง มาจากอบายภูมิ มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉานบ้าง สัตว์ที่ไปเกิดก็ทราบว่า ไปเกิดในแดนมนุษย์บ้าง สวรรค์บ้าง พรหมบ้าง และเกิดในอบายภูมิบ้าง คนรวยเกิดเป็นคนจน คนจนเกิดเป็นมหาเศรษฐี สัตว์เกิดเป็นมนุษย์เพราะผลของกรรมดีและกรรมชั่วที่สั่งสมไว้

 เมื่อรู้เห็นความวนเวียนในความตายความเกิดที่เอาอะไรคงที่ไม่ได้อย่างนี้ มองเห็นโทษของสัตว์ที่เกิดในอบายภูมิ เห็น ความสุขในสวรรค์และพรหม และเห็นความไม่แน่นอนในการเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ที่ต้องจุติคือตายจากสภาพ เดิมที่แสนสุข มาเกิดในมนุษย์หรืออบายภูมิ อันเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความทุกข์
ก็หายไป จะเอาเรื่องราวที่เป็นการเป็นงานที่ต้องใช้เวลานาน ๆ ก็ต้องกำหนดจิต กันบ่อยครั้ง ทั้งนี้เพราะสมาธิเพียงอุปจารสมาธิ ยังเป็นสมาธิที่ทรงกำลังให้สงบอยู่ได้ไม่นาน ถ้าจะเปรียบ ก็คงเหมือน เด็กเพิ่งสอนเดิน ยืนไม่ได้นาน

เพราะความไม่แน่นอนผลักดัน เป็นผลของอนัตตาที่เป็นกฎประจำโลกไม่มีใครจะทัดทานห้ามปรามได้ มองดูการ วนเวียนในการตายและเกิดไม่มีอะไรสิ้นสุด ในที่สุดก็มองเห็นทุกข์เป็นการเห็นอริยสัจ มีความเบื่อหน่ายในการเกิด เป็นนิพพิทาญาณในวิปัสสนาญาณ เป็นปัญญาที่เกิดจากญาณในสมถะคือจุตูปปาตญาณ ญาณนี้ได้สร้างปัญญา ในวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้นเพราะผลของสมถะ คือ จุตูปปาตญาณ

เพราะเหตุที่สาวหาต้นสายปลายเหตุจากการ เกิดและการตายในที่สุดก็เกิดการเบื่อหน่ายดังว่ามาแล้ว ถ้าปฏิบัติถึงแล้ว จงแสวงหาความรู้จากความเกิดและ ความตายของตนเองและสัตว์โลกทั้งมวล ทุกวันทุกเวลาจะเป็นครูสอนตนเองได้ดีที่สุด ผลดีจะมีเพียงใด ท่านจะ ทราบเองเมื่อปฏิบัติถึงแล้ว

๒. เจโตปริยญาณและประโยชน์
     เจโตปริยญาณ แปลว่ารู้ใจคน คือรู้อารมณ์จิตใจคนและสัตว์ ว่าขณะนี้เขามีอารมณ์จิตเป็นอย่างไร มีความสุข หรือทุกข์ หรือมีอารมณ์ผ่องใส เพราะไม่มีอะไรมารบกวนจิตใจให้ขุ่นมัว ที่เรียกว่าอุเบกขารมณ์ คืออารมณ์เฉยๆ ไม่มี สุขและทุกข์เจือปน รู้จิตของผู้นั้น แม้แต่จิตของเราเองว่า มีกิเลสอะไรเป็นกิเลสนำ คือมีอะไรกล้าในขณะนี้จิตของ ผู้นั้นเป็นจิตประกอบด้วยกุศลหรืออกุศลเป็นจิตของท่านผู้ทรงฌาน หรือเป็นจิตประกอบด้วยนิวรณ์รบกวน เป็นพระ อริยะชั้นใด

การจะรู้จิตของท่านผู้ใดว่ามีอารมณ์จิตของผู้ทรงฌาน หรือเป็นพระอริยะอันดับใดนั้น เราเองต้องเป็นผู้ ทรงฌานระดับเดียวกันหรือสูงกว่าการจะรู้ว่าท่านผู้นั้นเป็นพระอริยเจ้าหรือไม่และระดับใด เราก็ต้องเป็นพระอริยะ ด้วยและมีระดับเท่า ห
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สีของจิต
     สีของจิตนี้ ในที่บางแห่งท่านเรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัว หรือผ่องใส ท่านโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้

     ๑. จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดงปรากฏ
     ๒. จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมีสีดำ
     ๓. จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งที่มีชีวิต กระแสจิตมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ


     ๔. จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมีสีเหมือนน้ำต้มถั่วหรือน้ำซาวข้าว
     ๕. จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย ใครแนะนำอะไรก็เชื่อ โดยไม่ใคร่จะตริตรองทบทวนหาเหตุผลว่าควร หรือไม่เพียงใด คนประเภทนี้เป็นประเภทที่ถูกต้มถูกตุ๋นเสมอๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือ สีขาว
     ๖. คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่งจดจำได้ดี ปฏิภาณ ไหวพริบ ก็ว่องไว คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึกหรือในบางแห่งท่านว่า คล้ายน้ำที่ปรากฏกลิ้งอยู่ ในใบบัว คือมีสีใสคล้ายเพชร


สีของจิตโดยย่อ
เพื่อประโยชน์ในการสังเกตง่ายๆ แบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่าง คือ
     ๑. จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมีสีแดง
     ๒. จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมีสีดำ
     ๓. จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมีสีผ่องใส


     กายในกาย เมื่อรู้ลักษณะของจิตแล้ว ก็ควรรู้ลักษณะของกายในไว้เสียด้วยในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้า ตรัสถึงกายในกายไว้ สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้นก็ถือเอาอวัยวะภายใน เป็นกายในกาย ส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนี้มีไดอย่างไร ขอตอบว่า เป็นกายประเภทอทิสมานกายคือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกายหรือกายซ้อนกายนี้ก็

ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหน ทำอะไรที่อื่นจากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไป และทำอะไรต่ออะไรอยู่ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริงจำเรื่องราวที่ไปทำได้ บางคราวฝันว่า หนีอะไรมา พอตื่นขึ้นก็เหนื่อยเกือบตาย กายนั้นแหละ ที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐาน ตามที่นักเจโตปริยญาณต้องการรู้ กายในกายนี้แบ่งออกเป็น ๕ ขั้น คือ

     ๑. กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรยหน้าตาซูบซีดไม่ผ่องใส พวกนี้ ตายแล้วไปอบายภูมิ
     ๒. กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา กายมนุษย์นี้ต่างกันบ้างที่ มีส่วนสัดผิวพรรณ ขาวดำ สวยสดงดงามไม่เสมอกัน แต่ลักษณะก็บอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก

     ๓. กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา ชั้นกามาวจรสวรรค์
     ๔. กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลือง แพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็นพรหม
     ๕. กายแก้ว หรือกายธรรม ที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้ เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็น ประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหมและเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะ รู้กายพระอรหันต์ได้ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย


     ตามที่กล่าวมา ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนั้นตายแล้วไปเกิดที่นั้นๆ หมายถึง ว่าท่านพวกนั้น ไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกไปสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตาม กรรมที่ให้ผลแรงกว่า

     เจโตปริยญาณมีผลตามที่กล่าวมาแล้ว การรู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะก็คือ การรู้อารมณ์จิตของ ตนเองนั่นแหละสำคัญมาก จะได้คอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตดูว่าขณะนี้จิตเราจะมีสีอะไร ควรรังเกียจสีทุกประเภท อย่าให้สีทุกอย่างแม้แต่นิดหนึ่ง ปรากฏแก่จิต เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฏนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น

สีที่ต้องการและสนใจเป็นพิเศษก็คือ สีใสคล้ายแก้ว ควรแสวงหาให้มีประจำจิตเป็นอันดับแรก ต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง อย่าให้มีแกน ที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน ๔ ท่านผู้ทรงฌานหนึ่ง หรือที่เรียกว่า ปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบางๆ เคลือบไว้ภายนอก

ท่านที่ทรงฌานสอง หรือที่เรียกว่าทุติยฌานมีเสมือนแก้ว เคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่ง ท่านที่ทรงฌานสาม หรือที่เรียกว่าตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแกนใน สั้นไม่เต็มดวง และเป็นแกนนิดหน่อย ท่านที่ทรงฌานสี่ หรือที่เรียกว่า จตุตถฌาน กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนก้อนแก้วลอยอยู่ในอก

จิตของพระอริยะ
     ๑. ท่านที่มีอารมณ์วิปัสสนาญาณเล็กน้อย เรียกว่าได้เจริญวิปัสสนาญาณพอมีผลบ้าง จะเห็นจิตเริ่มมีประกาย ออกเล็กน้อย เป็นลักษณะบอกชัดว่า ท่านผู้นั้นได้เจริญวิปัสสนาญาณได้ผลบ้างแล้ว
     ๒. พระโสดาบัน กระแสจิตจะเกิดเป็นประกายคลุมจิตเข้ามา ประมาณหนึ่งในสี่
     ๓. พระสกิทาคามี กระแสจิตจะมีประกายออกประมาณครึ่งหนึ่ง
     ๔. พระอนาคามี กระแสจิตจะเป็นประกายเกือบหมดดวง จะเหลือส่วนที่ไม่เป็นประกายนิดหน่อย
     ๕. ท่านได้บรรลุอรหันต์กระแสจิตจะเป็นประกายหมดทั้งดวง คล้ายดาวประกายพรึกลอยอยู่ในอก


กระแสจิต ที่เป็นประกายทั้งดวงนี้ ควรเป็นกระแสจิตที่นักปฏิบัติสนใจและพยายามแสวงหามาให้ได้ ถึงแม้ว่าจะต้องเสียชีวิต เพราะได้มาซึ่งกระแสจิตผ่องใสเป็นประกายแล้ว ก็ควรเอาชีวิตเข้าแลกประกายจิตไว้

เพราะถ้าได้จิตเป็นประกาย ก็จะหมดทุกข์สิ้นกรรมกันเสียที มีพระนิพพานเป็นที่ไป จะพบแต่สุขอย่างประเสริฐ ไม่มีทุกข์ภัยเจือปนเลย ท่านที่ได้ เจโตปริยญาณ มีผลเพื่อเสริมสร้างความบริสุทธิ์ผุดผ่องของจิตอย่างนี้ และสามารถควบคุมจิตให้สะอาดผ่องใส ปราศจากละอองธุลี อันเป็นผลของกิเลสตลอดเวลา

รวมทั้งรู้อารมณ์จิตของผู้อื่นด้วย การรู้อารมณ์จิตของท่านผู้อื่น ก็มีประโยชน์มาก เพราะถ้ารู้ว่าท่านผู้ใดทรงคุณธรรมสูงกว่า เพราะกระแสจิตผ่องใสกว่า จนพยากรณ์ไม่ได้ แสดง ว่าสูงกว่าเราด้วยคุณธรรมแน่แล้ว ก็ควรรีบเข้าไปกราบไหว้ท่าน ขอให้ท่านเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนเพื่อผลต่อไป ถ้าเห็นว่าด้อยกว่า ก็ควรคิดให้อภัยเมื่อผู้นั้นล่วงเกิน หรือพลั้งพลาด ถ้าเป็นครู สอนสมณธรรม ก็ได้ประโยชน์มาก จะได้ให้กรรมฐานที่พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัยและจริตศิษย์ จะได้ผลว่องไวในการปฏิบัติ

     สำหรับทราบกายในกายก็เหมือนกัน กายคือจิต จิตก็คือกาย เพราะเวลาถอดกายในออก ก็มีสภาพเป็นกาย ไม่ใช่เป็นก้อนเป็นแท่งตามที่คนทั่วไปคิด เมื่อถอดกายในกายออก กายในจะปรากฏตามบุญญาธิการที่สั่งสมอบรม ไว้ ถ้าบุญมีผลเพียงเทวดา กายในกายก็จะมีรูปเป็นเทวดา เมื่อออกจากร่างนี้ไปสู่ภพอื่น ถ้ามีฌาน ร่างกายในก็จะ ปรากฏเป็นพรหม ถ้าหมดกิเลส กายในกายก็จะสดสะอาด มีประกายออก ร่างใสคล้ายแก้วสุกสว่างมีแสงสว่างมาก ร่างอย่างนี้จะปรากฏเมื่อถอดกายในกายออกท่องเที่ยว

     เจโตปริยญาณนี้ นอกจากจะรู้ความรู้สึกนึกคิดของตนและสัตว์แล้ว ก็ยังรู้ภาวะของจิตใจคนและสัตว์ที่มีบุญและ บาปสั่งสมไว้มากน้อยเพียงใด ที่มีประโยชน์มากที่สุดก็คือรู้อารมณ์จิตของตนเองว่า ขณะนี้เป็นจิตที่ประกอบด้วย กุศลหรืออกุศล จิตมีกิเลสอะไรสั่งสมอยู่มากน้อยเพียงใด กิเลสที่สำคัญก็คือ กิเลสที่เป็นอนุสัย คือกิเลสที่มีกำลัง น้อยไม่ค่อยจะแสดงอาการปรากฏชัดเจนนัก แต่ก็ฟูขึ้นในบางขณะ ยามปกติก็มีอาการนิ่งสงบ เช่น อารมณ์สมถะที่ เป็น อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ

อารมณ์ของสมถะนั้นจะแสดงอาการสงบแนบนิ่งมาก จนความไหวทางจิตในเรื่อง ความใคร่ ความโกรธแค้นขุ่นเคือง ความสั่งสมผูกพันไม่มีอาการปรากฏ จนเจ้าของเองคิดว่า เรานี่สำเร็จมรรคผลเสีย แล้วหรือ แต่พอนานๆ เข้าก็มีฟูขึ้นน้อยๆ เกิดขึ้นในยามสงัด คือไม่มีวัตถุเป็นเครื่องล่อ เช่น ครุ่นคิดถึงความสวยสด งดงามของรูป ความไพเราะเพราะพริ้งจากเสียง ความหอมหวนจากกลิ่นรสอันโอชะจากรสต่าง ๆ และความนิ่มนวล ของสัมผัส อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในยามที่ว่างจากสิ่งเหล่านั้น

 แต่จิตคิดไปและจะระงับได้ เพราะการพิจารณาใน กรรมฐานที่มีอาการตรงกันข้าม เช่น อสุภะเป็นต้น ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะกำลังฌานในสมถะ ก็มีกำลังที่จะกดขี่กิเลส ให้สงบระงับแนบสนิทได้ แต่มิใช่ว่าทำลายกิเลสให้สิ้นอำนาจเด็ดขาด เป็นแต่ปรามให้สงบระงับไปได้ชั่วคราวเท่านั้น ในยามที่อำนาจสมถะปรามกิเลสให้สงบนี้ ท่านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงหลงผิด คิดว่าสำเร็จมรรคผล ถ้าเราสำรวจตรวจ จิตไว้เสมอตลอดวันเวลาแล้วเราก็จะทราบชัดว่า จิตเราสะอาดจริง หรือยังมีสิ่งโสมมแปดเปื้อนอยู่ จะรู้ได้เพราะสี ของจิต สีจะชัดหรือใสจางก็ตามและจะเป็นสีอะไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าสีจะเป็นสีแดง สีดำ สีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม เว้นไว้

แต่สีใสและสีประกายพรึกเต็มดวงของจิต สีใสที่ไม่มีประกายหรือสีใสมีประกายไม่เต็ม ยังมีสีใสปกติปนอยู่ ก็จงเร่ง ตำหนิตนเองได้แล้วว่า นี่เรายังคบความเลวไว้มากมาย เพราะสีใสชื่อว่าเป็นสีประเสริฐ คือเป็นการแสดงออกของ อุเบกขาจิตแต่ทว่าสีใสธรรมดาที่ไม่มีประกายนั้นเป็นสีใสของฌานโลกีย์ มีอันที่จะสลายตัวกลับมาเป็นสีขุ่นมัวคือสี แดง สีดำเต็มขนาดได้เพราะฌานโลกีย์ยังมีเสื่อม ยังจัดเป็นจิตเลว สำหรับนักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ต่อเมื่อไรชำระจิต ให้ใสสะอาดเป็นปกติ

และมีประกายเต็มดวงโดยที่ไม่ต้องคอยปรับปรุงแก้ไข มองดูด้วยญาณเมื่อไรก็เป็นประกาย แพรวพราว ถึงแม้จะประสบกับศัตรูเก่าที่เคยอาฆาตคุมแค้นกันมาแต่ปางก่อน จะถูกเสียดสีถากถางด้วยวาจาปรา มาสอย่างไรก็ตามจิตสงบระงับ อำนาจโทสะ ไม่ฟูออก จิตใจมีอาการปกติ สม่ำเสมอ ตรวจดูด้วยญาณ ตรวจขณะที่ ถูกด่าก็พบว่าจิตใสประกายแพรวพราว แม้อารมณ์ราคะหรืออื่นใดก็ตามมายั่วเย้า จิตใจก็สดใสเป็นปกติอย่างนี้ใช้ ได้ นักปฏิบัติเพื่อมรรคผลแต่ไม่ชมตัวเอง

แต่ต้องคอยตำหนิตัวเองตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตรวจจิตซ้ำๆ ซากๆ ตลอดวันเวลา อย่างนี้จึงจะสมควร และเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริง หากทำได้อย่างนี้ ท่านมีหวังถึงพระนิพพาน ในชาตินี้ เพราะอารมณ์จิตที่ผ่องใสเป็นประกายเต็มดวงนั้น เป็นจิตที่ชำระกิเลสไม่เหลือ เป็นจิตของพระอรหันต์เท่านั้น

ท่านจึงยกย่องนักปฏิบัติที่ได้เจโตปริยญาณว่า เป็นผู้ใกล้ต่อพระนิพพานมากกว่าการได้ญาณ อย่างอื่น ท่านที่กล่าว อย่างนี้ก็เพราะว่า ญาณนี้สามารถคอยชำระจิต คือตรวจสอบจิตของตนได้ตลอดเวลา แม้แต่อารมณ์กิเลสที่เป็นอนุสัย ก็ยังรู้ ฉะนั้น นักปฏิบัติผู้หวังความพ้นทุกข์แก่ตนแล้ว จงพยายามฝึกฝนตนให้ชำนาญในเจโตปริยญาณนี้และเล่นให้ คล่องแคล่วว่องไวจะได้ผลตามที่กล่าวมาแล้ว

๓. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
     ญาณนี้ เป็นญาณระลึกชาติได้ คือถอยหลังชาติต่างๆ ที่เกิดมาแล้ว เป็นจำนวนหลายหมื่นหลายแสนชาติ ฝึกระลึก ตามลำดับชาติตามลำดับ คือตั้งแต่ชาติที่หนึ่ง เป็นลำดับไปจนถึงชาติที่หมื่นแสน แล้วก็ย้อนจากชาติปลายสุดกลับมา หาชาติปัจจุบัน แล้วพยายามฝึกระลึกชาติสลับชาติ คือคิดว่าจะระลึกชาติในระดับไหนก็ให้ได้โดยฉับพลันทำอย่างนี้ ให้คล่อง จะมีประโยชน์มาก เพราะ

๑. จะกำจัดมานะทิฏฐิ ความถือตัวถือตนว่าเป็นผู้วิเศษเสียได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อพบสัตว์เดียรัจฉานเราก็เอา ญาณนี้ช่วย โดยคิดว่าเราเคยเป็นสัตว์เดียรัจฉานอย่างนี้บ้างหรือไม่ ? เราก็จะพบว่า สัตว์อย่างนี้เราเคยเป็น และ อาจจะเคยเกิดเป็นสัตว์อย่างนี้มาแล้วตั้งหลายครั้งหลายหน เมื่อพบตัวเองว่า เคยเป็นสัตว์เราก็คิดค้นคว้าหากฎของ ความเป็นจริงต่อไปว่า สัตว์อย่างนี้ เราเคยเป็นมาก่อน

บัดนี้เราเป็นมนุษย์ เขายังเป็นสัตว์เขาเอากำเนิดมาจากไหน คิดทบทวนไปก็จะพบว่า เรานี้เองเป็นต้นตระกูลสัตว์ บัดนี้ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ สัตว์นี้ก็ไม่ใช่ใคร คือทายาทของเราเอง เราจะมารังเกียจทายาทของเรา เพื่อประโยชน์อะไร เรารังเกียจเขา เราควรรังเกียจเราเองดีกว่า เพราะเราเลวมาก่อน ถ้าเราไม่เลวมาก่อนจนกระทั่งเป็นต้นตระกูลสัตว์แล้ว สัตว์พวกนี้ก็จะไม่มีในโลก นี่เราเลวมากจนลืมทายาทของตน เอง รังเกียจทายาทของตนเอง พบคนที่น่ารังเกียจโดยสุขภาพ ทุพพลภาพ ชาติ ตระกูล ก็จงระลึกชาติถอยไปหาสมัย เมื่อเราเคยเกิดเป็นอย่างนั้น
 
     ๒. ป้องกันความน้อยเนื้อต่ำใจ เพราะเห็นท่านที่มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ โดยฐานะหรือชาติตระกูล เมื่อเห็นเขาทรง อำนาจราชศักดิ์ เราก็ถอยไปหาชาติที่เคยดำรงความดำรงชีวิตอย่างนั้น เมื่อพบแล้ว ก็สอบต่อไปถึงความสุขความ ทุกข์ที่ได้รับผลในชาตินั้นๆ ตลอดจนต้องพลัดพรากจากฐานะความเป็นอยู่ในสมัยที่ต้องตายจากอัตภาพนั้นๆ ก็จะ เห็นว่าความเป็นผู้ทรงเกียรติทรงอำนาจมีเงินมีทองของให้มาก ๆ ไม่ได้ช่วยให้สิ้นทุกข์ ไม่มีทางจะกีดกันความป่วยไข้ ไม่สบายและห้ามความตายก็ไม่ได้ ต้องมีทุกข์มีความป่วยไข้ไม่สบาย ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ตายจาก อัตภาพนั้นๆ ความจริงเป็นอย่างนี้เราจะทะเยอทะยานไปเพื่ออะไร

ในเมื่อเรากับเขาก็ตายเหมือนกัน ก่อนตายก็ต้อง แก่ต้องป่วยไข้ ต้องประสบกับความกลัดกลุ้มขัดข้องเหมือนเรา เรามีฐานะน้อย ก็มีห่วงกังวลน้อย คนที่มีฐานะใหญ่ ก็มีห่วงมีกังวลมาก เราสบายกว่า เพราะกังวลน้อยกว่า ในเมื่อเกิดมาเพื่อตายจะสะสมไปเพียงไหนให้หนัก เราพอใจ ในความเป็นอยู่ของเรา เรามีเท่านี้พอแล้ว คนที่เขายากจนกว่าเราถมไป แต่ทว่าเราหรือใครก็ตามในโลกนี้ ตาย เหมือนกันหมด เราจะมัวมาหลงติดโลกามิสอยู่เพื่ออะไร เราเกิดมาก็มาก ตายมาก็หลายครั้งหลายคราเกิดแต่ละ คราวก็เต็มไปด้วยความทุกข์ จะกินข้าวสักคำ กินน้ำสักอึก ก็ต้องฝ่าฟันอุปสรรคนานาประการ อาหารก่อนจะได้กิน ก็ต้องเหน็ดเหนื่อย

เพราะการแสวงหาทรัพย์มาเป็นค่าอาหาร กว่าจะได้มาแต่ละบาทก็ต้องทรมานตนทนหนาวทนร้อน คอยหลบหลีกอันตราย นี้เพียงค่าของอาหารมื้อเดียว ทุกข์อย่างอื่นของมนุษย์ยังมีอีกมาก คิดทบทวนถึงค่าเสื้อผ้า ค่าของใช้ ค่ายารักษาโรค รวมความแล้วโลกนี้เป็นโลกของความทุกข์ หาความสุขสดชื่นไม่ได้เลย เมื่อคำนึงถึงทุกข์ เพราะอาศัยญาณนี้เป็นตัวค้นคว้า อย่างนี้เป็นเหตุให้เห็นอริยสัจได้โดยง่าย เมื่อคนใดเห็นอริยสัจคนนั้นก็เป็นคนพ้นทุกข์ เพราะหมดกิเลส มีผลให้เข้าถึงพระนิพพานอย่างไม่ยากนัก

๔. อตีตังสญาณ
     อตีตังสญาณ ญาณนี้เป็นญาณรู้เรื่องในอดีต คือเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้วทั้งในชาติปัจจุบัน และหลายแสนหลาย ล้านชาติ อาการของญาณนี้ดูเป็นญาณที่มีสภาพเช่นเดียวกันกับปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แต่ทว่าปุพเพนิวาสานุสสติญาณนั้น ท่านหมายเอาการรู้เรื่องหนหลังของตนเอง อตีตังสญาณนี้ ท่านหมายเอาการรู้เรื่องหนหลังของคน สัตว์ และสิ่งของ สถานที่ ภายนอกตนออกไป สำหรับกฎการกระทำเพื่อรู้ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกัน เพียงแต่กำหนดจดถามในเรื่องของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่นั้นๆ เท่านั้น

การกำหนดรู้นั้นในขั้นแรกให้กำหนดจิตเพื่อรู้ก่อน ถ้ากำหนดรู้ยังรู้ไม่ชัดเจน ท่านให้กำหนดจิตถาม การกำหนดจิตเพื่อรู้และถามก็ทำดังที่กล่าวมาแล้ว คือเข้าฌาน ๔ ออกจากฌาน ๔มาหยุดอยู่เพียงอุปจารสมาธิ แล้วกำหนดรู้หรือกำหนดถามแล้วเข้าฌาน ๔ ออกจากฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน เท่านี้ก็จะรู้เรื่องละเอียด คือภาพในอดีตจะปรากฏแก่จิตคล้ายดูภาพยนต์ และรู้เรื่องไปตลอดเหมือนกับเราร่วมความเป็น ไปกับภาพนั้น สร้างความเพลิดเพลินเจริญใจเป็นอันมาก พวกฤาษีมุนีไพร

และท่านที่ได้ฌานสมาบัติ จนได้ฌานต่างๆ ที่ท่านอยู่ป่าช้า ป่าใหญ่ ภูเขาถ้ำต่างๆ จัดว่าเป็นสิ่งที่สงัดเงียบ ปราศจากผู้คนอยู่อาศัย ท่านคิดว่าท่านพวกนี้ ท่านอยู่กันอย่างพระพุทธรูป คือหมดเรื่องรู้ และการเพลิดเพลินต่าง ๆ นั้น ตามที่คนส่วนมากเข้าใจกัน ความจริงเป็นความเข้าใจที่ผิดถนัดตามความจริงแล้วท่านเป็นผู้อยู่สงัดจริง แต่เป็นการสงัดจากสังคมที่เป็นบาป คือกลุ่มชนที่หนาด้วยกิเลสและตัณหา แต่ทว่าท่านมีความเพลิดเพลินรื่นเริงในส่วนที่เป็นกุศล คือเพลิดเพลินในญาณเป็นเครื่องรู้

 ท่านสามารถสังคมกับเทวดาและพรหม สนทนาปราศรัยโดยธรรม มีความชื่นบานในการรู้เรื่องในอดีตและกาลต่อไปในอนาคต รู้ความเกิดขึ้นและความสูญสลายตน ของสรรพวัตถุและสิ่งที่มีชีวิต เอาสิ่งเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับตนเพื่อความรู้ แจ้งในอนัตตา เป็นการฝึกฝนสั่งสมอารมณ์

วิปัสสนาญาณให้แจ่มใส ตัดกังวลภายในและภายนอก คือตัดกังวลความห่วงใยในร่างกายจนเกินพอดี รู้สภาพว่า กายนี้ต้องพังทลายแน่นอน และเห็นสภาพภายนอกที่เป็นสรรพวัตถุที่จะต้องสลายตัวเช่นเดียวกัน ตัดความมัวเมา ในตนและสรรพวัตถุภายนอกเสียได้โดยสิ้นเชิง มีความหวังในพระนิพพานได้อย่างแน่นอน ผลของอตีตังสญาณ สร้างความเพลิดเพลินในการรู้เรื่องราวในอดีต และสร้างพลังจิตให้เกิดปัญญาในส่วนวิปัสสนาญาณได้อย่างนี้

ฉะนั้น ท่านจึงนิยมสร้างสมาธิให้ได้ฌาน ๔ และสร้างญาณให้เกิดแก่จิตเพื่อหวังในมรรคผลนิพพาน เพราะการได้ ทิพยจักษุญาณแล้ว ถ้าปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานย่อมเป็นไปได้อย่างถูกต้อง ไม่หลงผิด ทั้งนี้ถ้าคิดสงสัยใน ปฏิปทาของตนว่า จะผิดหรือถูกประการใด ก็เข้าฌาน ออกฌานอธิษฐานถามได้ เป็นการศึกษาโดยตรงจากท่านที่ บรรลุแล้ว เป็นแนวทางที่ถูกที่ตรงและไม่มีอะไรยากอย่างพวกเราสอนกันเองดังที่ท่านอาจารย์ท่านหนึ่งในจังหวัด พระนครในสมัยปัจจุบันนี้ท่านเคยพูดในสถานที่อบรมนักปฏิบัติว่า

การปฏิบัติสมณธรรม ต้องทำไปให้ถึงระดับได้ อาจารย์ที่ไม่ใช่มนุษย์ แล้วคอยรับการสั่งสอนจากท่านนั้น ๆ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานที่เข้าระดับกรรมฐานที่เอาตัว รอดได้ ถ้านักปฏิบัติทั้งหลายยังคอยคำสอนของอาจารย์ที่เป็นมนุษย์ฝ่ายเดียว หรือแกะหนังสือดูตำราเป็นสำคัญ แล้ว ท่านนักปฏิบัติท่านนั้นยังเอาตัวไม่รอด ท่านพูดของท่านอย่างนี้ถูกขอท่านผู้อ่านฟังของท่านไว้ แล้วสนใจปฏิบัติ ให้ได้ถึงจะทราบว่า คำพูดของท่านตรงต่อความเป็นจริงทุกประการ

การถาม
     ท่านผู้อ่านอาจคิดว่า จะถามใคร ในขณะที่สงสัยในความเป็นอดีตของคน สัตว์ และสถานที่ การกำหนดถามนั้นก็ ถามท่านผู้รู้เหตุ จะกำหนดเอาใครก็ได้ตามที่เราคิดว่าท่านจะรู้ แต่ตามที่นักปฏิบัติส่วนใหญ่นิยมถามจะเป็นเรื่องใด ก็ตาม ท่านนิยมถามพระพุทธบารมีของพระพุทธเจ้า เพราะพวกเราเชื่อกันว่า การรู้ทั้งหมดและรู้ไม่ผิดพลาดนั้นมี พระพุทธเจ้าองค์เดียว ท่านอาจสงสัยต่อไปว่า

ก็สมัยนี้พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วจะเอาพระพุทธเจ้าที่ไหนมาบอก? ข้อนี้ขอตอบอย่างนักปฏิบัติว่าท่านทำไปก่อน ทำให้ได้ทิพยจักษุญาณในระดับฌาน ๔ แล้วท่านจะรู้เองว่าการถาม พุทธบารมีนั้น ถ้าถามแล้วจะมีอะไรปรากฏขึ้น การที่ตอบอย่างนี้ไม่ใช่เป็นคำตอบที่เล่นสำนวน เพราะการตอบให้เข้า ใจในสิ่งที่คนถามยังไม่รู้ ไม่มีอะไรเป็นประโยชน์ ตอบไปก็เหนื่อยเปล่า

ในบทพระพุทธคุณตอนหนึ่งว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีผลเป็นปัจจัตตัง คือผู้ปฏิบัติที่มีอารมณ์จิตเข้า ถึงทิพยจักษุญาณแล้วจะรู้เอง ฉะนั้น ถ้าจะนั่งพรรณนาให้คนที่ไม่มีญาณฟังพูดไปก็เหนื่อยเปล่า มีผลไม่คุ้มเหนื่อย ดีไม่ดีก็จะพลอยทำให้อารมณ์เศร้าหมองขุ่นมัว ฉะนั้น ใครอยากรู้ว่าพุทธบารมีเป็นอย่างไร ยังจะช่วยอะไรผู้ที่ปฏิบัติ ดีปฏิบัติชอบได้อยู่หรือประการใด ก็ขอให้พยายามประพฤติปฏิบัติในฌาน และสร้างญาณให้บังเกิดแก่จิตก็จะทราบ ชัดแก่ตนเอง

ถ้ายังขืนคิดว่าไม่ต้องทำฌานให้เกิดก็รู้ได้จากตำราแล้ว ท่านก็เป็นคนที่น่าสงสารมาก เพราะท่านจะ ไม่มีโอกาสเป็นพุทธศาสนิกชนชนิดเนื้อแท้จริงจังตามปากท่านพูดเลย วาจาที่ท่านกล่าวว่า ท่านเป็นพุทธศาสนิกนั้น อาจเป็นวาจาที่พูดกันจนติดปากมากกว่า การพูดด้วยความจริงใจ พูดกันตามภาษาไทยๆ ก็เรียกว่าพูดส่งเดชไป ตามเขาอย่างนั้นเอง

อธิษฐานไว้ก่อน
     การอธิษฐานเพื่อรู้นี้ ส่วนใหญ่ของนักปฏิบัติที่ชำนาญในฌานและญาณ การต้องการทราบเรื่องราวต่างๆ เช่น รู้การตายการเกิดของคนและสัตว์ รู้ผลกรรมของคนและสัตว์ รู้ชาติก่อนๆ ของตนเอง รู้เรื่องอดีตและอนาคต ปัจจุบัน ทั้งของตนและสิ่งภายนอก ท่านนิยมอธิษฐานไว้ก่อน คือพอตื่นนอนจากการหลับเวลาเช้ามืด ท่านอธิษฐานจิตไว้ว่า เหตุใดที่เกี่ยวเนื่องแก่ข้าพเจ้าแล้ว ขอข้าพเจ้าจงรู้เหตุนั้นได้โดยไม่ต้องกำหนดจิต นี่การอธิษฐานอย่างนี้ท่านนิยม ทำไว้เสมอ

เมื่ออธิษฐานแล้วก็เข้าสมาบัติเต็มอัตรา สมาบัติที่ได้ ได้แค่ ๔ ก็เข้าเต็ม ๔ได้หมดทั้ง ๘ ก็เข้าหมด ๘ ถ้าได้มรรคผล ก็เข้าผลสมาบัติตามผลการเข้าสมาบัติตอนเช้ามืดนี้ดีมาก เพราะจะเป็นการตอบสนองความดีของท่าน พุทธศาสนิกชนที่สงเคราะห์ได้เป็นอย่างดี

เพราะผลของสมาบัติให้ผลมีกำลังสูงมาก ย่อมสามารถให้ผลเป็นความ สุขแก่ท่านผู้สงเคราะห์ในชาติปัจจุบัน การอธิษฐานไว้แล้วอย่างนั้น ถ้าเดินไปหรือสนทนาอยู่ ถ้าเหตุอะไรที่เนื่องกับ ตนพึงมีในขณะนั้น ภาพนั้นก็จะปรากฏแก่ใจทันที โดยที่ไม่ต้องเข้าฌานออกฌานตามระเบียบ เป็นผลดีมากแก่นัก ปฏิบัติ

๕. อนาคตังสญาณ และ ๖. ปัจจุปปันนังสญาณ
     ญาณทั้งสองนี้เอามาพูดควบกัน เพราะไม่มีอะไรจะพูดมากนัก ได้พูดมามากในญาณต้นๆ แล้ว พูดมากไปก็ รำคาญท่านผู้อ่านเปล่าๆ อนาคตังสญาณเป็นญาณรู้เรื่องในกาลต่อไปว่า คน สัตว์ สรรพวัตถุเหล่านี้ต่อไปจะเป็นอย่างไร รู้ได้ตามภาพที่ปรากฏ ถ้าภาพปรากฏไม่ชัดก็

อธิษฐานถามก็จะรู้ชัดและไม่ผิด ส่วนใหญ่ท่านนักปฏิบัติระดับสูง ท่านอธิษฐานถามกันเป็นสำคัญ เพราะท่าน ทราบดีว่า ถ้าท่านกำหนดรู้เอง อาจถูกอุปาทานหลอกหลอนเอาได้ ท่านชำระจิตของท่านให้แจ่มใส แล้วท่าน ก็อธิษฐานถามจะได้รับความรู้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด

สำหรับปัจจุปปันนังสญาณ เป็นญาณรู้เรื่องปัจจุบันว่า ขณะนี้ใครทำอะไรอยู่ มีสภาพเป็นอย่างไร อย่างนี้เป็นต้น เป็นการรู้ผลในขณะนั้น การถามหรือกำหนดรู้ก็เป็นไป เช่นเดียวกับญาณอื่นๆ


๗. ยถากัมมุตาญาณ
     ญาณนี้เป็นชื่อของการรู้ผลกรรม คือรู้ว่าใครที่มีความสุขความทุกข์อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นผลกรรมอะไร ตั้งแต่ชาติ ใด จะแก้ไขได้หรือไม่ประการใด การแก้ไขนั้นต้องทำอย่างไร แก้ไขแล้วจะมีผลเป็นอย่างไร ถ้าต้องการรู้ผลในชาติ ต่อไปก็ได้ ใช้อตีตังสญาณตรวจดูอดีต แม้อนาคตก็เช่นเดียวกัน ญาณนี้เป็นประโยชน์ในการรู้ผลกรรม

     มีประโยชน์แก่ตนเองดังนี้ เมื่อเห็นเขามีทุกข์ในการเกิด หรือทุกข์ที่ต้องเกิดในอบายภูมิเพราะผลกรรมอะไร จะได้ ยับยั้งตนเองไม่ให้สนใจในกรรมนั้น ถ้าเห็นท่านที่เสวยผลในทิพยสมบัติ หรือในพรหมโลก หรือท่านที่เข้าสู่พระ นิพพานท่านมีความสุขเพราะผลกรรมที่มีปฏิปทาเป็นประการใด ท่านสร้างสมบุญกุศลไว้อย่างไร เราก็แสวงหา ความดีตาม ก็จะให้ผลตามเช่นท่าน กรรมนี้มีประโยชน์แก่ตนและคนอื่นมากอย่างนี้

ญาณทั้งเจ็ด
     ในผลทางปฏิบัติ ท่านจะเห็นว่า ญาณที่กล่าวมาแล้วทั้งเจ็ดอย่าง คือ
     ๑. จุตูปปตาญาณ การรู้ว่าสัตว์ตายแล้วเกิดที่ใด สัตว์ที่มาเกิดนี้มาจากไหน
     ๒. เจโตปริยญาณ รู้อารมณ์จิตของคนและสัตว์
     ๓. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติในกาลก่อนได้ไม่จำกัดชาติ
     ๔. อตีตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอดีตของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ได้ไม่จำกัดกาลเวลา
     ๕. อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ต่อไปในอนาคตของคน สัตว์ สิ่งของสถานที่ได้โดยไม่จำกัดกาลเวลา ๖. ปัจจุปปันนังสญาณ รู้เหตุปัจจุบันของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ได้ตามความเป็นจริง
     ๗. ยถากัมมุตาญาณ รู้ผลกรรมของคนและสัตว์ได้ ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันญาณทั้งเจ็ดนี้


เมื่อท่านอ่านอยู่ ท่านอาจจะหนักใจว่า ตั้งเจ็ดอย่างมากมายเหลือเกิน ชีวิตนี้ทั้งชีวิตหรือเกิดอีกหลายๆ ชาติอาจไม่มีหวัง ถ้า ท่านคิดอย่างนั้น ผู้เขียนก็เห็นใจท่านทั้งผู้เขียนเองก็มีความรู้สึกอย่างเดียวกับท่านมาก่อน แต่พอได้โอกาสสอบ ทานตามพระไตรปิฎกและได้สนทนาปราศรัยกับท่านผู้ทรงคุณธรรมพิเศษตามที่ท่านได้ญาณทั้งเจ็ด

อย่างในสมัย ผู้ที่เขียนเป็นนักนิยมไพร คำว่า นักนิยมไพรของผู้เขียน ไม่เหมือนนักนิยมไพรของชาวบ้าน ชาวบ้านชอบนิยมทำลาย ไพรและทำลายสัตว์ในไพร แต่ผู้เขียนเป็นนักนิยมเดินในไพรนอนค้างอ้างแรมในไพร และนิยมคอยหลบหลีกหนีสัตว์ ในไพร ไม่ชอบรบราฆ่าฟันสัตว์ในไพร ตั้งแต่เข้าป่ามาแล้วเกินสิบวาระ คราวละไม่น้อยกว่าสามเดือน ไม่เคยทำ ลายต้นหญ้าให้ขาดติดมือมาเลยแม้แต่ต้นเดียว

ทั้งนี้หมายถึงมีเจตนาอย่างนั้น แต่ถ้าเดินไปหญ้าขาดหรือตาย เพราะการเดินไม่คิดเอามารวม นั่นเป็นไปเพราะไม่เจตนา ท่านผู้ทรงญาณที่อยู่ในป่า ท่านพูดตรงตามพระไตรปิฎก ว่า ญาณทั้งเจ็ดอย่างนี้ไม่มีอะไรมากเมื่อได้ฌาน ๔ คล่องแคล่วเสียอย่างเดียว ญาณทั้งเจ็ดก็ได้หมด ทุกท่าน อธิบายเหมือนกันอย่างนี้ ขอท่านผู้อ่านลองทำตามดูบ้างอาจจะมีผล สำหรับผู้เขียนเชื่อแน่ ไม่มีอะไรสงสัย

(ขอยุติวิชชาสามไว้เพียงเท่านี้)

อ้้างอิง คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพระมหาวีระ ถาวโร
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ปกิณณกพจน์
      ปกิณณกะ แปลว่า เล็กๆ น้อยๆ พจน์ แปลว่า พูด ปกิณณกพจน์ รวมความว่า พูดเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นี้ เป็นวิชชาการสมัยโบราณ ที่เคยสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ผู้สนใจจริงปฏิบัติมามาก จนถึงกับมีผู้เขียนขึ้นไว้เป็นตำรา มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน แต่ในที่นี้จะขอเอามาเล่าให้ฟังสัก ๒-๓ อย่าง เพื่อท่านที่สนใจจะได้เอาไปปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตน ของโบราณที่จะนำมากล่าวแถมท้ายหนังสือนี้ก็คือ

      ๑. คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
      ๒. วิธีฝึกเมฆจิต (ทิพยจักษุญาณ) ของอาจารย์เกษม วัดดาวดึงสาวาส
      ๓. วิธีฝึกทิพยจักษุญาณ ตามตำราโบราณ
      ๔. วิธีเรียนหมอดู ให้เด็กดูในกระจกเงา เห็นภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในกระจกเงา ของท่านอาจารย์ทอง วัดราษฎร์สุนทรเจริญ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
      ๕. วิธีเจริญวิปัสสนาญาณ ตามแบบธรรมชาติ ของท่านโบราณาจารย์


คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า
      คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ หลวงพ่อปาน ได้เรียนมาจากครูผึ้งอายุ ๙๙ ปี คาถาให้คุณทางลาภผล และเป็นฌานสมาบัติ มีคุณเป็นทิพยจักษุด้วย และยกฐานะของผู้ปฏิบัติ ไม่ให้ขัดสนจนยากด้วย ศิษย์ของหลวงพ่อปานได้ฝึกคาถานี้ มีฐานะมั่นคงหลายสิบอย่าง ที่รู้จักกันมากก็คือ นายประสงค์ ตั้งตรงจิต เจ้าของห้างขายยาตราใบโพธิ์ ท่าเตียน จังหวัดพระนคร เคยสนทนากับนายประสงค์ ท่านนายห้างบอกถึงวิธีที่ปฏิบัติเกิดผลมหาศาล ท่านเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้

ปฏิปทาของนายประสงค์

      ๑. ทุกเช้าเย็น ท่านสวดมนต์และว่าคาถานี้ต่อหน้าพระพุทธรูปคราวละ ๙ จบ ทุกเช้าและเย็

      ๒. เมื่อสวดคาถานี้แล้ว ท่านนั่งภาวนาคาถานี้จนสบายใจทุกวัน คือตั้งเวลาไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงทำจนจิตเป็นสมาธิ พอสบายใจแล้วก็ไปทำงานตอนเช้า หรือพักผ่อนในตอนค่ำ

      ๓. ใส่บาตรทุกเช้า ก่อนใส่บาตรท่านว่าคาถานี้ ๙ จบก่อนใส่บาตร ถ้าวันใดไม่มีพระมาบิณฑบาตร ท่านใช้เก็บเงินไว้แทนการใส่บาตร ตามแบบที่หลวงพ่อปานสอน ท่านให้เก็บข้าวสารหรือเงินก็ได้เอาไว้แทนการใส่บาตร ก่อนเก็บว่าคาถานี้ ๙ จบ เหมือนก่อนใส่บาตร วันต่อไปให้เอาไปถวายพระเป็นค่าภัตตาหาร

      ๔. ก่อนเอาเงินเก็บตอนเย็น หรือก่อนเอาเงินออกใช้ตอนเช้า ท่านว่าคาถานี้ ๙ จบ คือขณะที่เก็บเงินนั้น ให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้วว่าคาถา ๙ จบ จึงเอาเงินเก็บในที่เก็บ ตอนเช้าก่อนเอาเงินออกใช้ เมื่อจับเงินแล้ว ยังไม่นำออก ว่าคาถานี้ ๙ จบ แล้วนำเงินออก


      ท่านบอกว่าท่านทำอย่างนี้เป็นปกติ จนท่านกลายเป็นคนมีเงินทองมากมาย ทำบุญด้วยจำนวนเงินหลายสิบล้าน หายากนักที่จะศรัทธาเสมอท่าน คาถานี้ว่าดังนี้

      พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ (บทนี้ว่าเที่ยวเดียว)
      วิระธะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานี มามะ พุทธัสสะ สวาโหมฯ

(คาถานี้มีเพียงเท่านี้)

เมฆจิต ของท่านอาจารย์เกษม
      เมฆจิต หรือทิพยจักษุญาณของท่านอาจารย์เกษมนี้ เป็นแบบปฏิบัติที่ให้ผลง่ายๆ มีมารายที่ฝึกตามแบบนี้แล้วได้รับผลเบื้องต้นภายใน ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง แต่ที่ไม่ได้เรื่องก็ไม่น้อยเหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่แก่ความฉลาดและความกล้าของแต่ละบุคคล ที่ท่านทำได้ง่ายๆ นั้น ท่านเหล่านั้นเล่าให้ฟังว่า ท่านทำดังนี้

      ท่านเริ่มทำสมาธิด้วยการกำหนดนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น รูปพระพุทธ เป็นต้น แล้วภาวนาคาถาบริกรรมไปด้วย กำหนดรูปด้วย วันหนึ่ง หรือคราวหนึ่งท่านไม่เอามาก ใช้เวลาคราวละ ๕ นาที บังคับว่าคาถาให้ครบ พร้อมด้วยกำหนดให้เห็นรูปไปด้วย ถ้าจิตพลาดนิดหนึ่ง ท่านตั้งต้นเวลาใหม่ ท่านทำอย่างนี้เพื่อบังคับอารมณ์ตนเอง เพื่อไม่ให้จิตส่ายไปในอารมณ์ภายนอก

แล้วทดลองความรู้จากอารมณ์ คือ กำหนดรู้ทางใจ โดยกำหนดรูเรื่องต่างๆ ตามที่จะหาได้ เช่นเห็นรถแล่นมาแต่ไกล ก็กำหนดจิตเพื่อรู้ว่าคนในรถมีกี่คน เป็นชายเท่าไร หญิงเท่าไร แล้วเชื่ออารมณ์ที่รู้อารมณ์แรก โดยจิตคิดว่ามีคนกี่คน หญิงกี่คน ชายกี่คน ก็เชื่อตามอารมณ์แรก ความรู้นั้นจะถูกต้องตามความเป็นจริงเสมอ เป็นวิชชาฝึกทิพยจักษุญาณระยะต้นดีมาก คาถาภาวนาว่าดังต่อไปนี้

คาถาเมฆจิต
พุทธัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง มะอะอุ ธัมมัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง อุอะมะ สังฆัง เมฆะนิมิตต์ จิตตัง อะมะอุ
(คาถาของท่านมีเท่านี้)
 
ฝึกทิพยจักษุญาณแบบโบราณ
      ท่านวางแบบของท่านไว้ว่า ให้จัดธูป ๗ ดอก เทียนหนัก ๑ บาท ๗ เล่ม ดอกไม้ ๗ กระทง ข้าวตอก ๗ กระทง บาตรใส่น้ำเต็ม ๑ ใบ ท่านให้ภาวนาด้วยคาถานี้ ตามแต่จะสบาย

คาถาภาวนา
      นะมะพะทะ พุทโธ โลกทีปัง อาโลกกสิณัง วิโสธายิ ธัมโม โลกทีปัง อาโลกกสิณัง วิโสธายิ สังโฆ โลกทีปัง อาโลกกสิณัง วิโสธายิ


เมื่อภาวนาจนจุใจแล้ว ท่านให้เอาน้ำมนต์ในบาตรนั้นอาบทุกๆวัน ตามตำราท่านว่า ทำอย่างนี้ ๗ วัน ของท่านได้ทิพยจักษุญาณ จงรักษาสมาธิให้ดี ดูของท่านแล้วก็อาโลกกสิณดีๆ นั่นเอง ถ้าว่าคาถาเป็นนกแก้วนกขุนทองไม่มีหวังแน่ ต้องตั้งอารมณ์ตามแบบกสิณ มีหวังแน่ตามที่ท่านบอกไว้
 
หมอดูภาพของท่านพระอาจารย์ทอง
      หมอดูภาพนี้ ก็เป็นการฝึกสมาบัติเราดีๆ นี่เอง อาจารย์ต้องนั่งภาวนาให้จิตเป็นสมาบัติ ให้เด็กอายุไม่เกิน ๑๒ ปี เป็นคนดูในกระจก เด็กจะเห็นภาพตามที่ผู้ดูต้องการ เหมือนดูภาพโทรทัศน์ ดูได้ทุกอย่าง อะไรก็ได้ แบบของท่านมีดังนี้

      ๑. เงินค่าครู ๖ บาท สำหรับเงินไหว้ครูนี้ เวลาที่มีคนมาขอให้ดู ห้ามเรียกเงินค่าครู เพราะจะกลายเป็นการค้าวิชาไป ไม่ใช่สงเคราะห์ ทั้งนี้การที่ทำอย่างนี้ก็เพื่อฝึกฝนตนเองให้ทรงอยู่ในสมาบัติ ทำเพื่อสงเคราะห์ตนเองเป็นสำคัญ เพราะนักสมาบัติถ้าไม่มีกิจที่ต้องทำเพื่อสมาบัติอยู่แล้วอารมณ์สมาธิอาจจะทรามลงได้ ด้วยจะประมาทด้วยคิดว่าทำได้แล้ว จะมีการละเลยไม่ฝึกฝนไว้เสมอๆ

การที่ละเลยไม่ฝึกฝนบ่อยๆ สมาธิจะคลายตัวฌานจะเสื่อม ญาณที่ได้ไว้จะเศร้าหมอง จนถึงมีอารมณ์มืดจนใช้การไม่ได้ ฉะนั้น ท่านที่ได้ทิพยจักษุญาณเบื้องต้นแล้ว มีมากที่ท่านบำเพ็ญตนเป็นหมอดูสาธารณะเพื่อรักษาญาณ และฌานของท่านไว้ ท่านที่ใช้อารมณ์สมาธิระดับฌานและใช้ญาณบ่อยๆ จะมีความคล่องแคล่วในการใช้ญาณ และฌานก็จะมั่นคง

วิชานี้ถ้าจะให้เด็กดูเห็นภาพได้ ผู้ให้ดูต้องมีสมาธิสูง ถ้าสมาธิพลาดไปตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์นิดเดียว เด็กจะดูไม่เห็น การเล่นฌานแบบนี้จึงเป็นผลดีของนักเล่นฌานสมาบัติ จิตจะว่างจากนิวรณ์ และทรงฌานเป็นปกติเสมอ เป็นก้าวที่ ๒ ที่จะนำตนให้พ้นทุกข์ คือเข้าถึงพระนิพพาน ฉะนั้น การดูต้องดูให้ด้วยเมตตา ไม่ใช่ค่าวิชา โดยตั้งราคาหรือยกค่าครูขึ้นบังหน้า

๒. จัดเครื่องบูชาพระตามสมควรแก่การบูชา เงินค่าครูที่จัดทำแล้ว ให้ซื้อของทำบุญ อย่าเอาไว้ใช้เป็นส่วนตัว เมื่อดูแล้ว ถ้ามีคนให้ด้วยความเต็มใจ รับได้ แต่อย่าอยากได้ก่อนเขาให้ เป็นโลภะ รับไม่ได้

      ๓. บูชาพระแล้ว ชุมนุมเทวดา ๓ จบ วันทาพระ ๓ จบ

      ๔. เอาเหล็ดพืดมาเตรียมไว้ ๑ อัน และกระจกแผ่นย่อมๆ ๑ แผ่น เมื่อเตรียมเรียบร้อยแล้ว ให้เอาเหล็กพืดลนควันเทียนให้ดำ เพื่อเอาเขม่าที่เหล็กพืดนั้นทากระจก เมื่อเหล็กพืดดำแล้ว เริ่มเอาเขม่าทากระจก เมื่อเอาเขม่าทากระจกว่าคาถาดังนี้

      "ปุตตาปุตตัง โลกวิทู" ว่าคาถานี้ ๓ จบ เอาเขม่าวนที่เหล็กพืด ๓ รอบ

      ๕. เอาปากเป่าควันธูปนั้น คือธูปที่บูชาพระ เป่า ๓ ครั้ง ขณะเป่าว่าดังนี้ "ปุตตาปุตตัง" ว่า ๓ จบ

      ๖. แล้วให้เด็กกอบควันธูปลูบหน้า ๓ ครั้ง โดยเด็กไม่ต้องว่าอะไรเลย

      ๗. เมื่อเด็กกอบควันธูปลูบหน้าเสร็จแล้ว อาจารย์กอบควันธูปลูบหน้าเด็กอีก ๓ ครั้ง ขณะกอบควันธูปลูบหน้าเด็ก ว่าคาถานี้ ๓ ครั้ง "ปุตตาปุตตัง"

      ๘. เสร็จแล้ว เอามือแตะมี่ท้ายทอยเด็ก ว่าคาถานี้ "จิตตังละจิตติ"

สอนให้เด็กเชิญครู
      "ขอเชิญครูโต๊ะแซ โต๊ะกาดาม มาให้หมดทั้ง ๔ คน มาเร็วๆ ขอเชิญมามาดูหน่อย" ว่าอย่างนี้ให้เด็กว่าตาม แล้วก็นั่งภาวนาเอง โดยจับอารมณ์ตามแบบเจริญกรรมฐานจนจิตเข้าระดับฌาน ให้เด็กคอยดูที่กระจกตอนที่ทาเขม่าไว้ ถ้าเห็นรูปคนเป็นแขกทั้ง ๔ คนให้เด็กบอก เมื่อเด็กบอกว่ามีรูปคนครบ ๔ คนแล้ว พูดเองว่า "ครูกาดาม ไปจับแพะมาเลี้ยงกินกันเร็วๆ"

      ขณะที่เขาเลี้ยงกัน เราว่าคาถาดังนี้ "เมมะๆ สลาม" จนกว่าเขาจะเลี้ยงกันเวลาพอควร เมื่อเด็กเห็นว่าเขาเลี้ยงกันเสร็จแล้ว บอกว่า "ครูกาดาม กินอิ่มแล้วเอาแพะไปเก็บ"

ต่อนี้ไปก็เริ่มพยากรณ์ได้
      ถ้าผู้ที่มาให้ดูต้องการจะดูอะไร ก็บอกให้ครูกาดามไปอาสิ่งนั้นมา แล้วให้เด็กดูในกระจก จะเห็นภาพปรากฏทุกอย่าง เด็กจะบอกตามภาพที่เห็น ดูโรคได้ทุกชนิด ดูคู่ ดูเหตุการณ์ต่างๆ ได้หมด แม้แต่คนที่ตายไปแล้ว มีสุขทุกข์เพราะกรรมอะไรก็ทราบ ท่านอยากเล่นก็ลองดู

สมัยนี้หมอดูแบบนี้มีมาก แม่นยำดี จะไปไหนก็ทราบล่วงหน้า ดูทัพข้าศึกก็ได้ แต่ถ้าดูเพื่อให้เขาไปรบกันผิดวินัย ระวังอาจารย์ตกนรกไม่รู้ด้วย ของท่านมีเท่านี้ เล่นแล้วเจริญวิปัสสนาด้วยจะดีมาก หรืออย่างน้อยท่านก็ทรงสมาบัติตลอดวัน เท่านี้ผู้เขียนพอใจแล้ว สมภารเจ้าวัดถ้าทำได้ วัดจะสวยงามไม่น้อยเลย

(หมายเหตุ เด็กที่ใช้ดูภาพตามตำรานี้ ต้องเป็นเด็กที่ไม่เคยถูกหมากัดมาก่อนเลยจึงจะดูภาพเห็น)

อ้างอิง  คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพระมหาวีระ ถาวโร


ผมแนบ pdf file คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพระมหาวีระ ถาวโร มาให้

หากไม่ต้องการไปนิพพาน ก็อย่าฝึก"อาสวักขยญาณ" นะครับ

 :49: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

axe

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 187
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา กับข้อมูล ที่คุณ  ณฐพลสรรค์ โพสต์ตอบ น่าจะตรงกับคำถามที่ จขกท. ถามมากที่สุดแล้วนะครับ

 :25:
บันทึกการเข้า
หนุ่มหล่อ ใจดี AXE