ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบความเห็น ครับ ระหว่าง พระพุทธรูป ที่บูชามาจากวัด กับ พระพุทธรูปที่ มา...  (อ่าน 11387 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบความเห็น ครับ ระหว่าง

   พระพุทธรูป ที่บูชามาจากวัด มีพิธีพุทธาภิเษก มีพระนั่งปรกมากมาย หลายรูป จัดจำหน่ายโดยวัดเอง

กับ พระพุทธรูปที่ซื้อ มาจากร้านสังฆภัณฑ์ ต่าง ๆ ที่ยังไม่มีพิธีใด ๆ เลย

  อยากทราบว่า เพื่อน ๆ สหธรรม มีความเคารพ และให้ความสำคัญอย่างไร กับพระพุทธรูป ทั้ง 2 แบบนี้ครับ

   1. ให้ความเคารพ เท่ากันหรือไม่ ?
   2. พระพุทธรูป จะช่วยเราได้อย่างไร บ้างครับ สำหรับผู้ที่เคารพ
   3. จำเป็นนำ พระพุทธรูป ไปทำพิธีพุทธาภิเษก หรือไม่ครับ หรือไม่ต้อง เพราะพระพุทธเจ้าศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว
   4. หรือไม่ต้องสนใจ พระพุทธรูป ทั้งสองแบบนี้เลย

  อยากทราบความเห็นของชาวธรรม และนักภาวนา ทุกท่าน ครับ ....

  ติชม ได้เต็มที่นะครับ  ยินดีรับฟังครับ

   :s_hi: :49:

   



บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระปางมหาปาฏิหาริย์ ที่สราวัสติ ศิลปะคันธาระ พุทธศตวรรษที่ 6-8

เรื่องพระพุทธรูปองค์แรกในพุทธศาสนา มี 2 ทฤษฏี

    เมื่อครั้งพุทธกาล มีพุทธพยากรณ์ไว้ว่า 500 ปี หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว "พระเจ้ามิลินท์" กษัตริย์นักปราชญ์ชาวกรีกผู้มากด้วยบุญบารมีจะกรีธาทัพเข้ามายึดอินเดีย และด้วยอานุภาพปัญญาของตน จะย่ำยีเสียซึ่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยปัญหาอันละเอียดลึกซึ้ง


    แต่จะมีภิกษุนามว่า "นาคเสน" ไปทำลายถ้อยคำของพระเจ้ามิลินท์และตอบข้อสงสัยในเรื่องราวของชีวิตมนุษย์ ทำให้พระองค์เกิดความร่าเริงยินดีด้วยปัญญาที่ก่อเกิดด้วยศรัทธาที่พระเจ้ามิลินท์มีต่อพระศาสนา จึงได้สร้างพระพุทธรูปองค์แรกของโลก


พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปแบบคันธาระ

    1. พระพุทธรูปองค์แรกในพุทธศาสนา สร้างขึ้นภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๗ ปี ในครั้งนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยประทับจำพรรษาอยู่บนสวรรค์นานถึง ๓ เดือน

      พระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพีผู้เคยทรงเฝ้าใกล้ชิดพระพุทธเจ้าทรงรำลึกถึงพระองค์เป็นอย่างยิ่ง จึงทรงอาราธนาพระโมคคัลลาน์ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายผู้ทรงฤทธิ์มาก ให้พานายทุสิทะช่างแกะสลักฝีมือเอกขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อจะได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้วจดจำพระพุทธลักษณะไว้

    เมื่อกลับมายังโลกมนุษย์ นายทุสิทะก็แกะสลักไม้แก่นจันทน์แดงอันหอมและมีค่ามากให้เป็นพระพุทธปฏิมาที่งามสมบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปยืนสูงประมาณ ๖ – ๗ เมตร แล้วอัญเชิญประดิษฐานไว้ในพระวิหาร โดยมีฉัตรศิลาแขวนห้อยอยู่ ณ เบื้องบนองค์พระพุทธรูป

    ในกาลต่อมา ประมาณ พ.ศ. ๑๑๗๒ ผู้ที่ได้เคยพบเห็นพระพุทธรูปองค์แรกนี้ด้วยตาตนเองคือ พระภิกษุเฮี่ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) ซึ่งได้เดินทางไปอินเดีย เมื่อจะกลับจากอินเดียท่านได้จำลองพระพุทธรูปองค์นี้ให้เป็นขนาดเล็ก แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ประเทศจีนพร้อมกับพระไตรปิฎก


พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์


    2. ส่วนพระพุทธรูปองค์ที่สองที่มีชื่อว่า “พระจันทนพิมพ์”นั้น พระเจ้าปเสนทิโกสลแห่งกรุงสาวัตถีเป็นผู้สร้างไว้ก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ๗ ปี สาเหตุแห่งการสร้างเกิดจากเย็นวันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกสลมีพระราชประสงค์จะทรงสดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าดังที่ได้ทรงปฏิบัติมาเป็นนิตย์จึงเสด็จไปเฝ้า แต่ไม่ทรงพบ

    เพราะพระพุทธเจ้าเสด็จไปทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดเวไนยสัตว์นอกเขตพระเชตวัน ยังไม่เสด็จกลับมา พระเจ้าปเสนทิโกสลจึงรู้สึกโทมนัสพระทัยว่า เมื่อใดที่พระพุทธเจ้ามิได้ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหารก็ทำให้รู้สึกว่าขาดพระองค์ไป จึงได้แต่ทรงบูชาพระพุทธอาสน์แทนองค์พระพุทธเจ้าในวันนั้น

    ในวันต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกสลจึงกราบทูล ขอพระอนุญาตพระพุทธเจ้าสร้างพระพุทธปฏิมาไว้ เพื่อว่าเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดสัตว์ที่อื่น บรรดาพุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธาจะได้สักการบูชาพระพุทธรูปแทนพระองค์ตลอดไป พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาต

    พระเจ้าปเสนทิโกสลจึงให้นายช่างสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้แก่นจันทน์แดงอันหาค่ามิได้ เป็นพระพุทธรูปนั่ง องค์พระพุทธรูปสูง ๒๒ นิ้ว กว้าง ๒๓ นิ้วครึ่ง (วัดจากพระอังสาด้านขวาถึงด้านซ้าย) และโปรดให้สร้างพระมณฑปซึ่งล้วนแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วให้อัญเชิญพระพุทธรูปอันงามสมบูรณ์ยิ่งประดิษฐานบนบุษบกเรือนแก้วกลางพระมณฑปนั้น

    พระพุทธรูป “พระจันทนพิมพ์” ที่พระเจ้าปเสนทิโกสลสร้างขึ้นนี้ตามประวัติมีว่า ต่อมาได้ตกทอดมาประดิษฐาน ณ ดินแดนทางเหนือของไทยคือที่จังหวัดตาก ภายหลังมีผู้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดปทุมารามในเมืองพะเยา วัดศรีภูมิ วัดสวนดอก และวัดเจ็ดยอด (วัดมหาโพธาราม) ในจังหวัดเชียงใหม่ตามลำดับ แต่ปัจจุบันนี้ไม่ปรากฏองค์พระพุทธรูปแล้ว



เอกสารอ้างอิง
   ๑. จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน ซึ่งได้ออกจากเมืองจีนท่องเที่ยวไปเพื่อแสวงหาคัมภีร์พระไตรปิฎกในประเทศอินเดียตลอดถึงสิงหล ตั้งแต่ พ.ศ. ๙๔๒ ถึง ๙๕๗. พระยาสุรินทร์ฤาชัย ( จันทร์ ตุงคสวัสดิ์ ) แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับของศาสตราจารย์ เจมส์ เล็กส์. เอ็ม. เอ. แอลแอล. ดี. พมิพ์ครั้งที่ ๓ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๒๒ หน้า ๕ - ๑๐๒
   ๒. ประวัติพระถังซัมจั๋ง แปลจากต้นฉบับภาษาจีนเป็นภาษาไทย โดยนายเคงเหลียน สีบุญเรือง พิมพ์เป็นธรรมานุสรณ์ ในงานฌาปนกิจศพนายเอี่ยงยี่ เจริญ-สถาพร (โยมเตี่ยของท่าน กิตติวุฑโฒ ภิกขุ ขณะนั้น) ๒๕ เมษายน ๒๕๑๕ หน้า ๑-๒๗๖
   ๓. ปัญญาสชาดก. พระนคร : โรงพิมพ์อักษรบริการ, ๒๔๙๙.
ที่มา  http://board.palungjit.com/f10/กำเนิดพระพุทธรูป-127687.html


    กระทู้แนะนำ
    พระพุทธรูป เริ่มมีมาในสมัยใด
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=300.msg1166#msg1166
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2012, 11:19:07 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ดินก้อนเดียว..ก็เป็นพระพุทธรูป

    เจ้าประคุณสมเด็จ(โต พรหมรังสี) ทรงคุณธรรม อีกอย่างหนึ่งคือ ท่านมีสัมมาคารวะ อ่อนน้อม ว่ากันว่า เมื่อท่านเดินทางไปไหนมาไหน พบพระพุทธรูป ท่านจะถอยห่างหลีกออกไปราว ๔ ศอก แล้วจะนั่งกราบ แม้แต่จะไปพบหุ่นแบบสำหรับสร้างพระพุทธรูป ท่านก็ทำอย่างนั้นเหมือนกัน เคยมีคนถามท่านว่า หุ่นแบบสร้างพระนั้น ต้องนับถือด้วยหรือ

ท่านบอกว่า “ดินก้อนแรกที่หยิบขึ้นมาปั้นหุ่น ก็นับเป็นองค์พระแล้ว เพราะผู้ทำตั้งใจมาแต่ต้นที่จะทำพระพุทธรูป”

    อีกคราวหนึ่งไปสวดมนต์ที่บ้านช่างหล่อ ฝั่งธนบุรี ที่บ้านนั้น เขาเอาหุ่นพระพุทธรูปตั้งผึ่งแดดไว้ ห่างจากทางเดินราว ๒ ศอก เมื่อท่านเดินผ่านมาในระยะใกล้ชิด ท่านก้มกายยกมือขึ้นประนมเหนือศีรษะ กระทำคารวะ พระและศิษย์ที่ไปด้วย เห็นท่านทำอย่างนั้นก็ทำตาม

    เมื่อขึ้นบ้านงานและนั่งลงบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว นายเทศผู้ช่วยเจ้าภาพซึ่งคุ้นเคยกับสมเด็จฯได้กราบเรียนถามว่า
    “กระผมสงสัยจริง เพราะไม่เคยเห็นเจ้าคุณสมเด็จฯ กระอย่างนี้”
     ท่านจึงตอบว่า “แต่ก่อนไม่เคยเห็นจริงจ๊ะ แต่วันนี้เป็นเหตุบังเอิญจ๊ะ เพราะฉันเดินผ่านมาในเขตอุปจารของท่าน ไม่เกิน ๔ ศอก จึงต้องทำดังนี้”


     นายเทศจึงเรียนว่า “ยังไม่ยกขึ้นตั้ง และยังไม่เบิกเนตร จะเป็นพระหรือขอรับ”
     ท่านตอบว่า “เป็นจ๊ะ เป็นตั้งแต่ผู้ทำหุ่นยกดินก้อนแรกวางบนกระดานแล้วจ๊ะ เพราะผู้ทำตั้งใจให้เป็นองค์พระอยู่แล้วเรียก อุทเทสิกเจดีย์ยังไงล่ะจ๊ะ
    เมื่อสวดมนต์จบแล้ว ขากลับผ่านมาท่านก็กระทำอย่างนั้นอีก



อ้างอิง
หนังสือ ไขปริศนา ชาติภูมิ พระคาถา ไสยศาสตร์ อารมณ์ขัน
เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) โดย ม.สุปุตฺติโก
ขอบคุณภาพ http://board.palungjit.com/,http://www.xn--72cb4cwapck8a7aq0b2g7f0c6b.com/
ที่มา http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7637.0



 
   ถาม 1. ให้ความเคารพ เท่ากันหรือไม่ ?
   ตอบ 1. ส่วนตัวผมเคารพเท่ากัน หากมองในมุมที่มีพระพุทธรูปไว้ เพื่อพุทธานุสติ และทำพีธีกรรมต่างๆ ในเชิงสัญญลักษณ์ ตามประเพณี


  ถาม 2. พระพุทธรูป จะช่วยเราได้อย่างไร บ้างครับ สำหรับผู้ที่เคารพ
   ตอบ 2. นักปฏิบัติธรรมที่แท้จริง จะไม่ร้องขอให้พระพุทธรูปช่วยหรอกครับ เพราะการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องเฉพาะตน
   ดังพุทธพจน์ที่ว่า "ตนแลเป็นที่พึ่งแห่ง" และ "จงเตือนตนด้วยตนเองเสมอ"
   แต่ในบางกรณีที่มีอุปสรรคมากๆ มันเหลือบ่าฝ่าแรงจริงๆ อาจจะูต้องอธิษฐานขอให้ท่านช่วย
   เรื่องนี้จะต้องทราบว่า พระพุทธรูปองค์ไหนศักดิ์สิทธิ์และขอพรได้ แต่จะไม่ใช่การบนบานศาลกล่าว

   
   ถาม 3. จำเป็นนำ พระพุทธรูป ไปทำพิธีพุทธาภิเษก หรือไม่ครับ หรือไม่ต้อง เพราะพระพุทธเจ้าศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว
   ตอบ 3. เรื่องนี้ขอให้เป็นจุดประสงค์ของแต่ละคน บางคนเอาไปแก้กรรมและถวายวัด ไม่จำเป็นต้องปลุกเสก
   แต่ถ้านำไปเป็นพระประธาน แน่นอนครับต้องเข้าพีธี เพราะหากไม่ทำพีธี ชาวบ้านรู้เข้า ปัญหาก็จะตามมา
   ปุถุชนโดยทั่วไป ยังติดพีธีกรรมอยู่ครับ


   ถาม 4. หรือไม่ต้องสนใจ พระพุทธรูป ทั้งสองแบบนี้เลย
   ตอบ 4. ชอบอะไรก็ทำไปเถิดครับ คนเรามีจริตนิสัยวาสนาต่างกัน ขอให้หลีกเลี่ยงการลบลู่ปรามาส

    :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ผมนั้นเป็นคนเข้าร้านสังฆภัณฑ์บ่อยแต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ชอบคือ องค์พระพุทธปฏิมา เนื่องด้วยว่าถูกมองเป็นสินค้าเท่า

กับขาดความเคารพ ผมว่าน่าจะมีกฏหมายห้ามทำเป็นพุทธพาณิชย์หากแต่มีโรงหล่อเป็นของเอกชนได้สร้างทำ

ตามใบสั่งเท่านั้น แต่เราท่านก็เห็นเกลื่อนชินตากันและแยกแยะเอาตามแต่ศรัทธา ชื่อว่าพระพุทธรูปแล้วผมเคารพ

หมดแม้จะอยู่ตามร้านสังฆภัณฑ์ก็ตามคือเห็นแล้วต้องไหว้ (ไม่ทราบเจ้าของร้านยกมือไหว้บ้างหรือเปล่า นี่สิ!)



มีหลากหลายท่านที่ดวงตกชะตาขาดชอบซื้อหานำพระจากร้านสังฆภัณฑ์ไปสะเดาะเคราะห์ต่อชะตากันทำเป็นพระ

ตุ๊กตุ่นตุ๊กตาเกลื่อนวัดจนรกไม่มีที่เก็บ เฮ้อ! ผมว่ามาขวนขวายสร้างกุศลหล่อองค์พระตามที่มีประชาสัมพันธ์งาน

หล่อสร้างตามโอกาสจะดีกว่าเป็นกิจลักษณะแล้วเสร็จยกขึ้นกราบไหว้จะในอุโบสถหรือวิหารว่ากันไปหรือร่วมสร้าง

แบบพิมพ์ไว้ก็ได้ เพราะกุศลเจตนาอันเริ่มแล้วด้วยความเคารพศรัทธาเนื่องต่อไปสู่เหล่าชนผู้มากได้กราบไหว้เป็น

มงคลมากกว่าครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2012, 12:45:30 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ฏิมาเขื่องเคืองคากราบ

     องค์พระหลากเกลื่อนร้น        หมิ่นหม่น
ใคร่กราบหลากท่านหล่น           เสกร้าง
ปั้นปูนพระนี้กล่น                     ถิ่นหลาก นาท่าน
ไหนอื่นฤาจักค้าง                   จรดคิ้วกังขา.


                                                          ธรรมธวัช.!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2012, 01:51:12 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา