ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การปฏิบัติธรรม คือ การหนีปัญหา หรือ เผชิญปัญหา  (อ่าน 5789 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การปฏิบัติธรรม คือ การหนีปัญหา หรือ เผชิญปัญหา

  หลาย ๆ คน พากันปฏิบัติธรรมด้วยการหนี จากปัญหา

  แท้ที่จริง การปฏิบัติธรรม คือการหนีปัญหา หรือ เผชิญปัญหา จ๊ะ

 ถ้าผู้ชายหนีไปบวชพระกันหมด แล้ว ผู้หญิงต้องหนีตามไปบวชเป็นชี หรือป่าวจ๊ะ

 แต่ถ้าเราประกอบ สัมมาอาชีวะ แล้วเจริญธรรมขั้นสูงได้หรือป่าวคะ

 :88: :58: :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การปฏิบัติธรรม คือ การหนีปัญหา หรือ เผชิญปัญหา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 03, 2011, 11:27:33 am »
0


               ชีวิตทุกผู้ทุกนามต่างล้วนเวียนวนอยู่กับ รัก, โลภ, โกรธ, หลง ไม่ผิดไปจากนี้เลย หากกิเลสสังโยชน์

ส่วนไหนตั้งอยู่ก็ทุกข์ด้วยกับปัญหานั้นๆ สำคัญ ณ วันนี้เราท่านต้องอยู่ด้วยสติรู้พร้อมเท่าทันที่จะรับสถานการณ์

กล่าวคือ ต้องตามให้ทันกิเลสตัวนั้นๆที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ใช่การหนีปัญหา หากแต่เป็นการใช้

ชีวิตอย่างฉลาดตั้งหลักรู้เท่าทันสถานการณ์ของใจ ใจมันมีปกติรับอารมณ์ ปรุงแต่งสุขทุกข์ เราท่านนั้นอย่างหลง

เชื่อไอ้เจ้าตัวกิเลส ตามมันให้ทันเข้าไว้ปัญหาในชีวิตจะเพลาแก้ได้ไม่ยาก แต่คนทุกวันนี้ขาดความฉลาดในการใช้

ชีวิตอยู่ไม่น้อยเราท่านจึงเห็นข่าวคาวของผู้คนที่ต้องแก้ปัญหาชีวิตอย่างผิดๆนำไปสู่เวรภัยทุกข์กรรมอย่างน่า

สังเวชมีอยู่ทุกวัน ทุกข์โทษอุบัติภัยชดใช้เวรกรรมก็มีอยู่ทุกวัน เราท่านที่รู้จักภาวนาถือว่าเหนือกว่ายิ่งกว่าประเสริฐ

กว่าเทียบไม่ได้ เพราะเราท่านรู้จักเข้าหาบัณฑิต (สมณะ, พราหมณ์, มุนี, เถร, ชี) ผู้พร้อมมูลด้วยจรณะ ดังนั้น

เราท่านอย่าประมาทกันเลย อย่ากังขาสงสัยใดใด ชีวิตผู้คนอยู่กันล้น แต่จะพ้นเป็นคนเป็นมนุษย์มีไม่มากน่าเศร้า

กับอีกหลายชีวิตที่ต้องจบชีวิตอย่างมืดบอดเวียนวนทุกข์ซ้ำๆอยู่ล่ำไป คุณรักหนอหากชีวิตต้องเจอะต้องเจอชอบ

หรือไม่ชอบอย่างไรนั่นมันเรื่องของชะตากรรมเลี่ยงไม่ได้ ขอให้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยสติตั้งรับอย่างมั่นคงด้วยใจ นิ่ง

น้อม บริกรรม เราหนักแน่นอยู่ด้วยธรรม ปัญหาร้อยแปดก็แหลกด้วยปัญญา…ครับ !

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 03, 2011, 12:15:42 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติธรรม คือ การหนีปัญหา หรือ เผชิญปัญหา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 02:44:38 pm »
0
ป้าว่า มีทั้งสองอย่างคือ ทั้งหนีและเผชิญปัญหา...
..............................................
การแก้ปัญหาโดยหนีปัญหาก็เป็นวิธิหนึ่งหรือการบรรเทาให้ปัญหาเกิดความรุนแรงน้องลงหรือเปลี่ยนปัญหาไปเป็นปัญหาอื่นๆตามมาภายหลัง....ซึ่งอาจแก้ได้เป็นครั้งๆไป.....เมื่อถึงที่สุดแล้ว การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง.....คือการเผชิญกับปัญหาอย่างไม่หลบหนีอย่างไม่หลีกเลี่ยงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด.......ซึ่งอาจต้องใช้กำลังใจเป็นอย่างมากต้องใช้สติปัญญาเป็นฐานและอาจเจ็บปวดกับผลของปัญหานั้น....แต่ก็คุ้ม...เพราะต่อๆไปเราก็สามารถอยู่กับปัญหาได้โดยที่ปัญหานั้นไม่ทำให้เราต้องเป็นทุกข์เพราะปัญหานั้น...จนกว่าจะแก้ปัญหาได้สำเร็จลุรวงไป......
บันทึกการเข้า

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติธรรม คือ การหนีปัญหา หรือ เผชิญปัญหา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 02:56:25 pm »
0
การแก้ปัญหา สนับสนุน ป้า PRACHABEODEE นะคะ

  ต้องตั้งรับก่อน ก่อน จะรุก คะ

  เพราะถ้าเราแก้ปัญหา โดยการเผชิญปัญหา แล้วอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้

   เช่น สมมุติ เขายืนด่าเราอยู่ เตรียมมีด ไม้ กระบอง ถ้าเราหนีได้ควรจะหนีก่อน

เพราะอารมณ์ของคนกำลังกรุ่นการเผชิญปัญหา จึงไม่ใช่เป็นทางที่ถูกต้องคะ ดังนั้น

หลักการคือต้องถอย เพื่อตั้งรับก่อนคะ เมื่อปัญหาเริ่มที่ไหน เราก็กลับมารุกปัญหาคะ

  อีกตัวอย่าง เช่น ตัวเราเกิดไปตรวจโรค แล้วเจอมะเร็งในร่างกาย การแก้ปัญหาด้วยเชิงรุกนั้น ถ้าไม่ใช่ระยะ

สุดท้ายคุณหมอก็ยังไม่แนะนำให้ ตัด ให้เฉือน นะคะ ต้องเริ่มจากตั้งรับก่อน


  แต่ก็อีกตัวอย่างคือ ปัญหาเฉพาะหน้า ที่ไม่มีทางถอยให้ตั้งรับแล้ว สิ่งสำคัญที่สุด นมัสการพระพุทธคุณ

ลงในใจก่อนนะคะ ก่อนที่จะเผชิญปัญหา เพราะอันนี้เมื่อเผชิญแล้ว ก็แน่ละถ้าแก้ได้ก็ดี ถ้าแก้ไม่ได้ก็ไม่สามารถ

ที่จบปัญหานั้น ได้ อย่าง HAPPY ENDING นะคะ

  ดังนั้นถ้าถาม ว่าการแก้ปัญหา ควรจะหนี หรือ ควรจะเผชิญ นั้นก็ต้องตอบแบบพื้นฐานคะว่า

  ตั้งรับก่อน และ ค่อยเผชิญ เพราะต้องให้สภาวะจิตพร้อมก่อน นะคะ

   :25: :25: :25:

   
บันทึกการเข้า

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติธรรม คือ การหนีปัญหา หรือ เผชิญปัญหา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 03:06:13 pm »
0
ในหลักทุกขตา มีเกณฑ์สำคัญสำหรับกำหนดคุณค่าทางจริยธรรม
อยู่ ๒ อย่าง คือ
   ๑) ทุกข์ที่เป็นธรรมดาของสังขาร ต้องรู้ทันไม่ยึดฉวยเอามาใส่ตัวให้เป็น
ทุกข์ของเรา แต่เป็นภาระที่ต้องจัดการด้วยปัญญาที่รู้เหตุปัจจัย
   ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเกิดจากการประชุมกันเข้าขององค์ประกอบต่างๆ
ที่เป็นส่วนย่อยๆ ลงไป และองค์ประกอบเหล่านั้น แต่ละอย่างล้วนไม่เที่ยง
กำลังตกอยู่ในอาการเกิดขึ้น แปรไป และสลายตัว ตามหลักอนิจจตาอยู่
ด้วยกันทั้งสิ้น สิ่งที่เป็นหน่วยรวมนั้น จึงเท่ากับเป็นที่รวมของความแปร
ปรวนและความขัดแย้งต่างๆ และแฝงเอาภาวะที่พร้อมจะแตกแยกและ
เสื่อมสลายเข้าไว้ในตัวด้วยอย่างเต็มที่
   เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่จะควบคุมองค์ประกอบต่างๆ ที่กำลังเปลี่ยน
แปลงอยู่นั้นให้คุมรูปเป็นหน่วยรวมตามรูปแบบที่ประสงค์ก็ดี การที่จะควบ
คุมการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ดำเนินไปในทิศทางที่ต้องการก็ดี จะต้องใช้พลัง
งานและวิธีการจัดระเบียบเข้ามาร่วมเป็นองค์ประกอบช่วยเป็นเหตุปัจจัย
เพิ่มขึ้นอีกด้วย ยิ่งองค์ประกอบส่วนย่อยๆ ต่างๆ นั้น มีมากและสลับซับ
ซ้อนยิ่งขึ้นเท่าใด ก็ต้องใช้พลังงานมากขึ้นและมีการจัดระเบียบที่ละเอียด
รัดกุมยิ่งขึ้นเท่านั้น
   การปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลาย เพื่อให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะต้องทำที่ตัว
เหตุปัจจัยของมัน และรู้ชัดถึงความสำเร็จผล หรือความผิดพลาดพร้อมทั้ง
ทางแก้ไขต่อไปตามความพร้อมของเหตุปัจจัยเหล่านั้น นี้คือวิธีปฏิบัติต่อสิ่ง
ทั้งหลายอย่างอิสระไม่ผูกมัดตัว และไม่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์
   ส่วนวิธีที่ตรงข้ามจากนี้ ก็คือการกระทำตามความยึดอยากด้วย
ตัณหาอุปาทาน โดยนำเอาตัวเข้าไปผูกมัดให้สิ่งเหล่านั้นบีบคั้น ซึ่งนอกจาก
จะทำให้เกิดความทุกข์แก่ตนเองแล้ว ก็ไม่ช่วยให้เกิดผลดีอย่างใดๆ ขึ้นมา

   ๒) หลักอริยสัจบอกหน้าที่กำกับไว้ว่า ทุกข์สำหรับปัญญารู้ทันและทำให้
ไม่เกิดไม่มี แต่สุขที่คนมุ่งหมายต้องทำให้กลายเป็นชีวิตของเรา
   ตามหลัก “กิจในอริยสัจ” หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อทุกข์ ได้แก่
ปริญญา คือการกำหนดรู้ หรือทำความเข้าใจ หมายความว่า เรื่องทุกข์นี้
บุคคลมีหน้าที่เกี่ยวข้องเพียงแค่กำหนดรู้หรือทำความเข้าใจเท่านั้น
   การปฏิบัติต่อทุกข์โดยถูกต้องตามหลักกิจในอริยสัจนี้ เป็นเรื่อง
สำคัญอย่างยิ่ง แต่เป็นเรื่องที่มักถูกมองข้ามไป พุทธธรรมสอนให้ปฏิบัติต่อ
ทุกข์ด้วยการศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ให้รู้จักทุกข์ คือให้รู้จักปัญหาของ
ตน มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อปฏิบัติต่อมันได้ถูกต้อง แล้วจะได้ไม่มีทุกข์
หรือพูดอย่างง่ายๆ ว่า เพื่อจะได้มีความสุขที่แท้จริงนั่นเอง
   พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ หลักกิจในอริยสัจสอนว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นปัญหา
หรืออาจจะเป็นปัญหาขึ้นแก่ตน มนุษย์จะต้องศึกษาสิ่งนั้นให้รู้ให้เข้าใจ
อย่างชัดเจนที่สุด เพื่อจะได้จัดการแก้ไขป้องกันปัญหานั้นให้ถูกจุด การ
ศึกษาปัญหามิได้หมายความว่าเป็นการสร้างปัญหาหรือหาปัญหามาใส่ตน
แต่เป็นวิธีที่จะทำให้ปัญหาหมดไปหรือไม่มี เหมือนแพทย์จะบำบัดโรครักษา
คนไข้ ก็ต้องรู้จักชีวิตร่างกายและวินิจฉัยโรคให้ถูก ตลอดจนรู้เข้าใจให้ถึงขั้น
ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเป็นโรคขึ้นมา
   ทุกข์นั้น เมื่อเรารู้ทันและปฏิบัติหรือจัดการกับมันอย่างถูกต้อง ก็ทำ
ให้มันไม่มีและไม่เกิดขึ้นมา แต่ถ้ารู้ไม่ทันและปฏิบัติไม่ถูก ก็ได้แต่หนีทุกข์ที่
เอามาใส่ไว้ในตัวหรือสร้างให้แก่ตัวอยู่เรื่อยไป และหนีไม่พ้นสักที
   ในทางตรงข้าม ความสุขที่มนุษย์มุ่งหมาย ถ้าปฏิบัติให้ถูกต้องตาม
หลักกิจในอริยสัจ เราจะไม่ต้องมัวแสวงหา แต่กลายเป็นว่าเรามีความสุข
คือไม่เป็นคนที่ต้องหาความสุข แต่เป็นคนมีความสุข เพราะความสุขกลาย
เป็นชีวิตของเรา หรือเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งในตัวของเรา
   ผู้ที่ไม่รู้หลักกิจในอริยสัจ อาจปฏิบัติต่อทุกข์อย่างผิดพลาด ขาดจุด
หมาย เขวออกไปนอกทาง และอาจกลายเป็นการเพิ่มทุกข์แก่ตนด้วยการ
มองโลกในแง่ร้ายไปก็ได้
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติธรรม คือ การหนีปัญหา หรือ เผชิญปัญหา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 05, 2011, 12:43:39 pm »
0

คุณรักหนอ น่าจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว อย่างน้อยพี่นีย์ที่อยู่ข้้างๆ คงมีคำตอบให้คุณรักหนอบ้าง

ในเมื่อประสงค์จะสนทนา จิตที่เคลือบด้วยกิเลสของผม มันก็อยากจะคุยเป็นเพื่อน



เห็นด้วยกับทุกท่านที่แสดงความเห็น ส่วนตัวผมขอมองมุมนี้ครับ

๑. คุณรักหนอถามว่า  "แท้ที่จริง การปฏิบัติธรรม คือการหนีปัญหา หรือ เผชิญปัญหา จ๊ะ"

ตอบว่า เป็นไปได้ทั้งสองด้าน แท้จริงแล้วมันคือ สิ่งเดียวกัน เหมือนการมองเหรียญคนละด้าน
สุุดท้ายก็รู้ว่ามันเป็นเห็นสิ่งเดียวกัน

อะไรคือ หนี คำว่าหนี เป็นการหนีจากสภาวะ เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือหนีจากสังสารวัฏฏ์ เพื่อเข้าสู่นิพพาน

อะไรคือ เผชิญ คำนี้หมายถึง การเผชิญกับทุกข์ การรู้ทุกขสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อแรกในอริยสัจจ์ ๔

เป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ คือ นิโรธนั่นเอง



๒. คุณรักหนอถามว่า "ถ้าผู้ชายหนีไปบวชพระกันหมด แล้ว ผู้หญิงต้องหนีตามไปบวชเป็นชี หรือป่าวจ๊ะ"

การหนีตามไปบวชชีของผู้หญิง เป็นเรื่องเฉพาะตัว(มีเหตุผลส่วนตัว) ไม่ควรนำมาเป็นบรรทัดฐาน

แต่ถ้าถามว่า การหนีปัญหาทางโลก โดยการหนีไปบวชนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้องรึเปล่า

เรื่องนี้มีหลายมุมให้มอง มุมหนึ่งก็คือ บวชตอนที่ปัญหายังไม่ถูกแก้

และอีกมุมก็คือ บวชตอนที่ปัญหาถูกแก้แล้ว แต่มองเห็นว่า

ปัญหายังต้องมีให้แก้ไม่สิ้นสุด แล้วเกิดความเบื่อหน่าย

มุมแรก อาจถูกสังคมติเตียนได้ และถูกตำหนิว่า "ไม่รับผิดชอบ"

ผมขออนุญาตแสดงความเห็นเฉพาะมุมแรกเท่านั้น กลัวจะยาวเกินไป



๓.คุณรักหนอถามว่า "แต่ถ้าเราประกอบ สัมมาอาชีวะ แล้วเจริญธรรมขั้นสูงได้หรือป่าวคะ"

คุณรักหนอ น่าจะหมายถึง "ไม่ต้องบวชแล้ว จะสำเร็จเป็นอริยบุคคลได้รึเปล่า"

คำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้จำกัดว่า "มีไว้สำหรับพระเท่านั้น"

หากเราไปศึกษาพุทธประวัติหรือพระสูตร ก็จะพบว่า อรหันต์หลายรูป บรรลุธรรมสูงสุด(อรหันตผล)

ในขณะทีเป็นฆราวาส เช่น ยสกุลบุตร พระพาหิยะ สันตติมหาอำมตย์

และหลายคนบรรลุโสดาบัน ในขณะที่เป็นฆราวาส เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นต้น

แต่ถ้าจะเอาตัวอย่างในปัจจุบัน ขอให้ไปดูประวัติของพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช

ท่านเป็น สกทาคามี ต้องแแต่เป็นฆราวาส หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ รับรองเอาไว้


 :58: :58: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ